• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:01e3601b20d6fb8cce095d5536f0a860' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p><span style=\"font-size: x-small; font-family: tahoma,arial,helvetica,sans-serif\"></span></p>\n<p>\n<br />\n          พิพิธภัณฑ์ไทย ถือกำเนิดในยุคสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ เพื่อใช้เป็นพิพิธภัณฑ์สถานส่วนพระองค์ แสดงศิลปวัตถุและโบราณวัตถุ<br />\n          ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปิดหอคองคอเดีย ในพระบรมมหาราชวัง ให้เป็นมิวเซียม แล้วย้ายศิลปวัตถุ โบราณวัตถุและสิ่งของต่าง ๆ จากพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ มาจัดแสดงที่นี่ เพื่อให้ประชาชนเข้าชมอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2417 <br />\n          การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอีกครั้งในปีพ.ศ.2430 รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายมิวเซียมจากหอคองคอเดีย ไปตั้งแสดงในพระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้า บริเวณพระที่นั่งศิวโมขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย นับเป็นการเริ่มต้นของการจัดตั้ง “พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร” <br />\n          ในยุคของกรมพระยาดำรงราชนุภาพ มีบทบาทในการผลักดันให้มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานท้องถิ่นแห่งแรกชื่อว่า “อยุธยาพิพิธภัณฑสถาน” และอีกหลายมณฑล <br />\n          ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานหมู่พระวิมานและพระที่นั่งในวังหน้ายกให้เป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองมีการประกาศตั้งเป็น “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร” โดยกรมศิลปากร ในปีพ.ศ.2477 และเปลี่ยนมาเป็น “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ” ในปีพ.ศ.2504\n</p>\n<p>\n<br />\n          ปัจจุบันสาขาของพิพิธภัณฑสถานในประเทศไทย แบ่งออกเป็นศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประวัติธรรมชาติ ธรรมชาติวิทยาและสิ่งแวดล้อม มานุษยวิทยา ชาติพันธุ์วิทยา ประวัติศาสตร์ ศิลปะ โบราณคดี และพิพิธภัณฑ์เฉพาะทางที่อยู่ตามสถาบันต่าง ๆ เช่น การแพทย์ การเมือง การเงินการธนาคาร การทหาร <br />\n          ดร.ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) พูดถึงบทบาทของพิพิธภัณฑ์ เป็นแหล่งเชื่อมโยงความรู้ มรดกวัฒนธรรมและธรรมชาติในท้องถิ่น  อีกบทบาทเป็นพื้นที่บันทึกความทรงจำที่เล่าเรื่องทุกข์และสุข เช่น สงคราม หรือคุณค่าทางวัฒนธรรม\n</p>\n<p>\n          19 กันยายน วันถือกำเนิดพิพิธภัณฑ์ไทย ปีที่ผ่านสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.)  ร่วมกับชมรมอนุรักษ์โบราณวัตถุสถานและสิ่งแวดล้อม และสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี  จัดมหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นลพบุรี 33 แห่ง ระหว่างวันที่18-22 กันยายน <br />\n          ปีนี้สพร. ใช้โอกาสเดียวกันจัดงานใหญ่ “Museum Festival” ครั้งที่สอง ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใช้ชื่องานว่า  มหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคเหนือ ในรูปแบบนิทรรศการ และเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น กิจกรรมการแสดงและกิจกรรมการเรียนรู้ ระหว่างวันที่ 15-19 กันยายน ที่ผ่านมา\n</p>\n<p>\n<br />\n          เป็นความร่วมมือระหว่างเทศบาลนครเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย<br />\n          มารวมตัวกันมาก ๆ แบบนี้ ยิ่งใหญ่เป็นธรรมดา เผลอ ๆ ในรายชื่อพิพิธภัณฑ์ จำไม่ได้ด้วยซ้ำไปว่ามีอยู่ในเมืองไทยด้วยหรือ เช่น พิพิธภัณฑ์เล่นได้ พิพิธภัณฑ์วิถีแห่งอาข่า พิพิธภัณฑ์ชนเผ่าบ้านจะเล บ้านเสานัก พิพิธภัณฑ์บ้านฝิ่น พิพิธภัณฑ์รถโบราณ พิพิธภัณฑ์แมลงโลกและสิ่งมหัศจรรย์ธรรมชาติ ฯลฯ<br />\n          เสียดายที่การสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐไม่มากเท่าที่ควรแก่ความจำเป็น ทำให้อดคิดไม่ได้ถ้าคอรัปชั่นกันน้อยหน่อย หยุดขโมยผลงานศิลปะ และหันมาเที่ยวพิพิธภัณฑ์ไทยกันบ้าง\n</p>\n<p>\n          ไม่ต้องไปฝันหวานถึงเมืองนอกแล้วมานั่งลุ้นต่อแถวยาว จ่ายค่าตั๋วแพง ๆ เพื่อชะเง้อคอยว่าเมื่อไหร่จะถึงคิว <br />\n \n</p>\n<p></p>\n<p>\n<span style=\"font-size: x-small; font-family: Tahoma\">          </span></p>\n<div style=\"text-align: center\">\n<img width=\"818\" src=\"http://inhouse.ejobeasy.com/html/muse.JPG\" height=\"476\" style=\"width: 635px; height: 403px\" />\n</div>\n<p>\n</p>\n', created = 1719803578, expire = 1719889978, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:01e3601b20d6fb8cce095d5536f0a860' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

136 ปี พิพิธภัณฑ์ไทย


          พิพิธภัณฑ์ไทย ถือกำเนิดในยุคสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ เพื่อใช้เป็นพิพิธภัณฑ์สถานส่วนพระองค์ แสดงศิลปวัตถุและโบราณวัตถุ
          ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปิดหอคองคอเดีย ในพระบรมมหาราชวัง ให้เป็นมิวเซียม แล้วย้ายศิลปวัตถุ โบราณวัตถุและสิ่งของต่าง ๆ จากพระที่นั่งประพาสพิพิธภัณฑ์ มาจัดแสดงที่นี่ เพื่อให้ประชาชนเข้าชมอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2417
          การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอีกครั้งในปีพ.ศ.2430 รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายมิวเซียมจากหอคองคอเดีย ไปตั้งแสดงในพระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้า บริเวณพระที่นั่งศิวโมขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ และพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย นับเป็นการเริ่มต้นของการจัดตั้ง “พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร”
          ในยุคของกรมพระยาดำรงราชนุภาพ มีบทบาทในการผลักดันให้มีการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานท้องถิ่นแห่งแรกชื่อว่า “อยุธยาพิพิธภัณฑสถาน” และอีกหลายมณฑล
          ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานหมู่พระวิมานและพระที่นั่งในวังหน้ายกให้เป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองมีการประกาศตั้งเป็น “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร” โดยกรมศิลปากร ในปีพ.ศ.2477 และเปลี่ยนมาเป็น “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ” ในปีพ.ศ.2504


          ปัจจุบันสาขาของพิพิธภัณฑสถานในประเทศไทย แบ่งออกเป็นศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประวัติธรรมชาติ ธรรมชาติวิทยาและสิ่งแวดล้อม มานุษยวิทยา ชาติพันธุ์วิทยา ประวัติศาสตร์ ศิลปะ โบราณคดี และพิพิธภัณฑ์เฉพาะทางที่อยู่ตามสถาบันต่าง ๆ เช่น การแพทย์ การเมือง การเงินการธนาคาร การทหาร
          ดร.ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) พูดถึงบทบาทของพิพิธภัณฑ์ เป็นแหล่งเชื่อมโยงความรู้ มรดกวัฒนธรรมและธรรมชาติในท้องถิ่น  อีกบทบาทเป็นพื้นที่บันทึกความทรงจำที่เล่าเรื่องทุกข์และสุข เช่น สงคราม หรือคุณค่าทางวัฒนธรรม

          19 กันยายน วันถือกำเนิดพิพิธภัณฑ์ไทย ปีที่ผ่านสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.)  ร่วมกับชมรมอนุรักษ์โบราณวัตถุสถานและสิ่งแวดล้อม และสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี  จัดมหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นลพบุรี 33 แห่ง ระหว่างวันที่18-22 กันยายน
          ปีนี้สพร. ใช้โอกาสเดียวกันจัดงานใหญ่ “Museum Festival” ครั้งที่สอง ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใช้ชื่องานว่า  มหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคเหนือ ในรูปแบบนิทรรศการ และเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น กิจกรรมการแสดงและกิจกรรมการเรียนรู้ ระหว่างวันที่ 15-19 กันยายน ที่ผ่านมา


          เป็นความร่วมมือระหว่างเทศบาลนครเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
          มารวมตัวกันมาก ๆ แบบนี้ ยิ่งใหญ่เป็นธรรมดา เผลอ ๆ ในรายชื่อพิพิธภัณฑ์ จำไม่ได้ด้วยซ้ำไปว่ามีอยู่ในเมืองไทยด้วยหรือ เช่น พิพิธภัณฑ์เล่นได้ พิพิธภัณฑ์วิถีแห่งอาข่า พิพิธภัณฑ์ชนเผ่าบ้านจะเล บ้านเสานัก พิพิธภัณฑ์บ้านฝิ่น พิพิธภัณฑ์รถโบราณ พิพิธภัณฑ์แมลงโลกและสิ่งมหัศจรรย์ธรรมชาติ ฯลฯ
          เสียดายที่การสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐไม่มากเท่าที่ควรแก่ความจำเป็น ทำให้อดคิดไม่ได้ถ้าคอรัปชั่นกันน้อยหน่อย หยุดขโมยผลงานศิลปะ และหันมาเที่ยวพิพิธภัณฑ์ไทยกันบ้าง

          ไม่ต้องไปฝันหวานถึงเมืองนอกแล้วมานั่งลุ้นต่อแถวยาว จ่ายค่าตั๋วแพง ๆ เพื่อชะเง้อคอยว่าเมื่อไหร่จะถึงคิว
 

         

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 602 คน กำลังออนไลน์