ประวัติผู้ประพันธ์เพลง

รูปภาพของ sss28790
 
ประวัติผู้ประพันธ์เพลง 
 

1. อาร์โนลด์ โชนเบิร์ก (Arnold Schoenberg,1874-1951)
          เกิดที่กรุงเวียนนาประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 13 กันยายน 1874 
ซึ่งเป็นผู้ประพันธ์เพลงไว้หลายรูปแบบตามแนวความคิดในช่วง 
ปลายสมัยโรแมนติก โดยเริ่มต้นในฐานะผู้ที่เดินตามรอยของ 
วากเนอร์ (Wagner) สเตราส์ (R.Strauss) มาห์เลอร์ (Mahler) 
และบราห์มส์ (Brahms) โชนเบิร์กได้ศึกษาดนตรีกับครูอย่างจริง
จังเพียงเครื่องไวโอลินเท่านั้น ส่วนเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ เขาใช้
เวลาว่างในการฝึกหัดเล่นเอาเองทั้งนั้น ไม่ได้เรียนจากใครเลย
แต่เขาก็สามารถเล่นได้ดีทุกอย่างสไตล์การแต่งเพลงของโชนเบิร์กเป็น
         เอกลักษณ์เฉพาะตัวโดยเขาได้ริเริ่มคิดการแต่งเพลงโดยใช้แนวคิดใหม่คือใช้ระบบทเว็ลฟ-โทน 
(Twelve Tone System) คือการนำเสียงสูง – ต่ำทั้งหมด 12 เสียง
มาเรียงกันเป็นลำดับที่แน่นอนโดยหลีกเลี่ยงไม่ให้มีเสียงหลัก (Tonic) ซึ่งหลักสำคัญคือ
ทฤษฏีที่ว่าด้วยเสรีภาพของเสียงและความสำคัญเท่าเทียมกันของเสียงทุกเสียง


          ในดนตรี (The Freedom of Musical Sound : The Atonality) อันเป็นจุดเริ่มต้นและ
เป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งของดนตรี “เซียเรียล มิวสิก” (Serial Music) ซึ่งพัฒนาความคิดรวบยอด
ของมนุษย์ในปรัชญาดนตรีแห่งศตวรรษที่ 20 ให้ก้าวไกลควบคู่ไปกับวิทยาการสมัยใหม่
          โชนเบิร์กใช้ “ระบบทเว็ลฟ - โทน” ในผลงาน หมายเลขสุดท้ายของ Five Pieces for Piano ในปี 
1923 และในท่อนที่ 4 ของ Serenade ในปีเดียวกัน ผลงานการประพันธ์ชิ้นแรกของโชนเบิร์กที่สร้างขึ้นด้วย 
“ระบบทเว็ลฟ - โทน” โดยตลอดคือ Suite for Piano ในปี 1924 ระบบ “ระบบทเว็ลฟโทน” กลายเป็นเครื่องมือ
การทำงานของโชนเบิร์กที่เขาใช้ด้วยความชำนาญอย่างน่าพิศวงและไม่ซ้ำซากจำเจ นอกจากประสบความ
สำเร็จในด้านการต้อนรับของผู้ฟัง แล้วยังก่อให้เกิดประโยชน์การนำไปสู่แนวคิดความเข้าใจเรื่องดนตรีซึ่งแตกต่างไปจากเดิมที่ยึดถือ
กันมากว่า 300 ปี นอกจากผลงานด้านดนตรีแล้วโชนเบิร์กยังมีผลงานเขียนด้วย ได้แก่ “ทฤษฎีแห่งเสียง
ประสาน” (Harmonielehre) ในปี 1911 ซึ่งได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ (Theory of Harmony) 
ในปี 1947 และยังเป็นอาจารย์สอนการประพันธ์ดนตรีในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยหลาย ๆ แห่ง 
ถือว่ามีคุณค่าต่อวงการดนตรีต่อ ๆ มา ในบั้นปลายชีวิตของโชนเบิร์กเปลี่ยนสัญชาติเป็นอเมริกันและใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย
จนถึงแก่กรรมในปี 1951 ขณะอายุได้ 77 ปี (ไพบูลย์ กิจสวัสดิ์, 2535 : 260) 
 
2. เบลา บาร์ตอค (Bela Bartok, 1881-1945)
 
          เกิดวันที่ 25 มีนาคม 1881 ตำบล Nagyszentmiklos ประเทศฮังการี
บิดาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนกสิกรรมประจำตำบล 
มารดา เป็นครู ทั้งพ่อและแม่มีความสามารถทางด้านดนตรีแต่
บาร์ตอคไม่ มีโอกาสที่จะได้เรียนจากพ่อเนื่องจากพ่อถึงแก่กรรม
เมื่อบาร์ตอคอายุได้ 8 ขวบเพลงที่บาร์ตอคประพันธ์ขึ้นมีแนวการประพันธ์เพลง
สมัยใหม่โดยใช้เพลงพื้นเมืองของฮังการีและรูมาเนียเป็นวัตถุดิบเป็นส่วนใหญ่
ซึ่งท้ายที่สุดทำให้เขามีกิตติศัพท์เลื่องลือไปทั่วนานาชาติว่าเป็นผู้รอบรู้ใน
ดนตรีพื้นเมืองอย่างดียิ่งบาร์ตอคเป็นอีกผู้หนึ่งที่มีหลักการประพันธ์เพลงเป็น 
เอกลักษณ์ของตนเองซึ่งทำให้มีชื่อเสียงในฐานะผู้ประพันธ์เพลง ชั้นแนวหน้าผู้หนึ่งในสมัยศตวรรษที่ 20

          ผลงานของบาร์ตอคที่น่าสนใจมีมากมายได้แก่ โอเปร่า 
Duke Bluebeard’s Castle, บัลเลท์ The Miraculous Mandarin 
เปียโนคอนแชร์โต 3 บท ไวโอลินคอนแชร์โต 2 บท 
สตริงควอเตท 6 บทและดนตรีสำหรับเปียโนอีกมากมาย โดยเฉพาะชุด 
Mikrokosmos บทเพลงสำหรับฝึกเทคนิคการเล่นเปียโนกว่า150 บท 

          ชีวิตในบั้นปลายของบาร์ตอคมีลักษณะเช่นเดียวกับ 
โมสาร์ท และ ชูเบิร์ท กล่าวคือ มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้น ยาก
จน ในปี 1944 บาร์ตอคต้องเผชิญกับโรคร้ายคือมะเร็งโลหิตแพทย์
ยับยั้งได้ก็แต่เพียงให้ยาและถ่ายเลือด จนกระทั่งเดือนกันยายน ปี 1945
ขณะที่กำลังประพันธ์เพลงวิโอลาคอนแชร์โตให้ วิลเลียม พริมโรส
อาการของโรครุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงขั้นต้องส่ง
โรงพยาบาลจนในที่สุดก็สิ้นใจเมื่อเวลาเกือบเที่ยงวันของวันที่ 
26 กันยายน 1945 หลังจากการสิ้นชีวิตของบาร์ตอคไม่นานนักชื่อเสียง
 
 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 506 คน กำลังออนไลน์