สำนวน สุภาษิต คำพังเพย

รูปภาพของ sss27615

สำนวน สุภาษิต คำพังเพย

http://www.noknoi.com/magazine/pics/pic_no_1242_1_34418.jpg

ความสำคัญของสำนวนไทย
สำนวนเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งของภาษาไทย เพราะเป็นคำพูดที่กลั่นกรองขึ้น เพื่อความสละสลวยของภาษาเป็นถ้อยคำที่คมคายกว่าคำพูดธรรมดา เป็นคำพูดที่รวมใจรวมความยาวๆให้สั้นลงได้ ก็จะทำให้ผู้ฟังสามารถเข้าใจง่าย ๆ ฉะนั้นการศึกษาถ้อยคำประเภทนี้ไว้ เพื่อใช้ให้ถูกต้องเหมาะสมกับเนื้อเรื่องที่จะพูดจึงมีความจำเป็น

ลักษณะของสำนวน
  สำนวนไทยไม่ว่าจะเป็นสำนวนทั่วไป สุภาษิตหรือคำพังเพยล้วนมีความไพเราะสละสลวยอยู่ในตัว ถ้อยคำที่นำมาเรียบเรียงเป็นสำนวน มักใช้คำที่คล้องจองกัน ฟังดูเหมือนกับบทร้อยกรอง หรือบทเพลง เช่น การกินการอยู่ใครไม่สู้พ่อการพ่ายการถ่อพ่อไม่สู้ใคร น้ำมาปลากินมดน้ำลดมดกินปลา เป็นต้น
          ธรรมชาติของภาษาไทย เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ หรือมี"ระดับเสียง" คือมีเสียงสูงเสียงต่ำ เป็นระดับเหมือนเสียงดนตรี ดังนั้นเมื่อเวลาพูด คนที่มาจาก ภาษาที่ไม่มีระดับเสียง เขาจึงฟังภาษาของเราว่าคล้ายกับภาษาเสียงดนตรี คือมีเสียงสูง เสียงต่ำหลายระดับ ซึ่งแตกต่างจากภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาอังกฤษ เป็นต้น ในภาษาอังกฤษ เขาไม่มีวรรณยุกต์บอกระดับเสียงสูงเสียงต่ำ เขาจึงใช้การเน้นพยางค์ในคำ หรือเน้นคำในประโยคเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ฝรั่งใช้การพูดของเขาเช่นนั้น ดังนั้นเวลาที่เราจะพูดภาษาอังกฤษ เราจำเป็นต้องเลิกนึกถึงเสียงสูงเสียงต่ำ แล้วคิดถึงแต่การเน้นคำเน้นพยางค์แทน จึงจะพูดกับเขารู้เรื่อง
          การพูดภาษาไทยนั้น ไม่ได้ใช้คำคล้องจองเพื่อความไพเราะเพราะพริ้งอยู่เฉพาะเพียงสำนวนเท่านั้น แม้ในการพูดจาปรกติธรรมดาทั่วไป คนไทยสมัยก่อนก็มักจะใช้คำคล้องจองโดยการเติมสร้อยคำเข้าไป เช่น เมื่อต้องการพูดคำว่า "บ้าน" ก็พูดว่า บ้านช่อง หรือ บ้านช่องห้องหอ ฯลฯ ลักษณะการพูดแบบนี้เป็นการพูดปกติวิสัยของคนทั่วไป แต่ในปัจจุบัน ลักษณะการพูดแบบนี้ได้ลดน้อยลงและสูญหายไปเกือบหมดแล้ว ยังอาจพบได้บ้างตามหมู่บ้านในชนบท ซึ่งน่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง สมัยก่อนเมื่อได้ฟังคนเฒ่าคนแก่นั่งคุยกัน ทำให้รู้สึกว่าฟังไม่น่าเบื่อ ไม่ใช่เพราะว่าคนแก่เหล่านั้นพูดเสียงอ่อนเสียงหวาน แต่ท่านพูดกันด้วยถ้อยคำสำนวนแบบไทยๆ ฟังรื่นหูกว่าภาษาใดๆในโลกนี้ หากพวกเราช่วยกันอนุรักษ์เอาไว้ให้อยู่ยืนยาวไปได้ ก็เสมือนหนึ่งเราได้ช่วยกันรักษาเอกลักษณ์ความเป็นไทย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญเอาไว้ได้นั้นเอง ชาติไทยเราก็คงจะไม่ถูกกลืนโดยวัฒนธรรมของต่างชาติเป็นแน่


มูลเหตุที่ทำให้เกิดสำนวนไทย
๑.) เกิดจากธรรมชาติ เช่น ตื่นแต่ไก่โห่ น้ำซึมบ่อทราย ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น ปลาหมอตายเพราะปาก , แมลงเม่าบินเข้ากองไฟ เป็นต้น
๒.) เกิดจากการกระทำ เช่น แกว่งเท้าหาเสี้ยน ปลูกเรือนคร่อมตอ พายเรือคนละที ชุบมือเปิบ ปากว่ามือถึง ปิดทองหลังพระ เป็นต้น
๓.) เกิดจากศาสนา เช่น ขนทรายเข้าวัด ตักบาตรถามพระ ทำคุณบูชาโทษ คว่ำบาตร ผ้าเหลืองร้อน แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร เป็นต้น
๔.) เกิดจาก นิยาย นิทาน ตำนาน และ พงศวดาร เช่น ลูกทรพี ปากพระร่วง กบเลือกนาย กระต่ายตื่นตูม เห็นกงจักรเป็นดอกบัว ชักแม่น้ำทั้งห้า กิ้งก่าได้ทอง เป็นต้น
๕.) เกิดจากแบบแผนประเพณีและความเชื่อ เช่นผีซ้ำด้ำพลอย กงกำกงเกวียน กระดูกร้องได้ กรรมตามทัน คนตายขายคนเป็น เป็นต้น
๖.) เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น ตกกระไดพลอยโจน ตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ ดับไฟต้นลม เป็นต้น
๗.) เกิดจากการละเล่นหรือกีฬา เช่น รุกฆาต ไม่ดูตาม้าตาเรือ เข้าตาจน ไก่รองบ่อน เป็นต้น
๘.) เกิดจากความประพฤติ เช่น หาเช้ากินค่ำ กินข้าวร้อนนอนตื่นสาย ตำข้าวสารกรอกหม้อ ขี้เกียจสันหลังยาว เป็นต้น
๙.) เกิดจากอวัยวะ เช่น เส้นใหญ่ ตาเหลือง ตีนแมว ปากบอน ตีนเท่าฝาหอย หัวหกก้นขวิด เป็นต้น

รูปภาพของ ssspoonsak

ทำต่อไปเรื่อยๆนะ 

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน

รูปภาพของ ssspoonsak

ทำต่อไปเรื่อยๆนะ 

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน

รูปภาพของ ssspoonsak

ใส่รูปตัวเองด้วย

เป็นกำลังใจ ขอมอบลูกไก่ให้ไปเลี้ยงจ้า

 

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 494 คน กำลังออนไลน์