งานอาเซียน

รูปภาพของ pnp34311
รายละเอียดเกี่ยวกับการก่อตั้ง อาเซียน ประเทศสมาชิก สำนักงานใหญ่ และอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง

ประวัติการก่อตั้ง
                    เนื่องจากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 5 ประเทศ คือ ไทย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ต้องการจะสร้างสันติภาพและความมั่นคงให้แก่ประเทศในภูมิภาคนี้ ซึ่งจะต้องใช้ความพยายามร่วมกันขจัดปัญหาความแตกต่างทางการเมือง และการร่วมมือช่วยเหลือกันในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม จึงได้คิดก่อตั้งสมาคมขึ้น โดยไม่มีประเทศมหาอำนาจอยู่เบื้องหลัง และใช้ชื่อสมาคมนี้ว่า สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เมื่อ พ.ศ. 2510 ต่อมาได้ประเทศอื่นๆ เข้าเป็นสมาชิกตามลำดับดังนี้
                    เดือนมกราคม พ.ศ.2527 รับประเทศบรูไนเข้าเป็นสมาชิก
                    เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2538 รับประเทศเวียดนามเข้าเป็นสมาชิก
                    พ.ศ. 2540 รับประเทศพม่า และลาว และวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2542 รับประเทศกัมพูชาเป็นสมาชิกประเทศสุดท้าย รวมประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ
                    มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

วัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง
                    1. เพื่อร่วมมือช่วยเหลือกันในการเร่งรัดพัฒนาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความกว้าหน้าทางสังคม วัฒนธรรมของประเทศสมาชิก
                    2. เพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงให้แก่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
                    3. เพื่อให้ความร่วมมือในการส่งเสริมด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การค้าและการคมนาคมขนส่ง
                    4. เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางด้านการศึกษา วิทยาการ อาชีพ และการบริหาร

ผลการปฏิบัติงาน
                    จากความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกของอาเซียน ตั้งแต่เริ่มมีการก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน อาเซียนได้ปฏิบัติงานตามโครงการเพื่อสนองวัตถุประสงค์ โดยจัดให้มีโครงการดำเนินการผลิตสินค้าทางอุตสาหกรรมเพื่อจำหน่าย ซึ่งแบ่งการรับผิดชอบออกเป็นประเทศ เช่น การผลิตปุ๋ยยูเรียเป็นโครงการของประเทศอินโดนีเซีย และมาเลเซีย การผลิตเวชภัณฑ์เป็นโครงการของประเทศสิงคโปร์ เป็นต้น
                    มีการจัดตั้งหน่วยงานสำรองข้าวยามฉุกเฉินในประเทศสมาชิก เพื่อเตรียมรับภัยพิบัติที่อาจเกิดจากธรรมชาติ เช่น อุทกภัย ภัยแล้ง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโครงการความร่วมมือทางด้านสังคม เช่น ด้านความร่วมมือของสตรี อาเซียนได้จัดตั้งโครงการสตรีอาเซียนขึ้น เพื่อให้สตรีอาเซียนได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ เกี่ยวกับบทบาทของสตรีต่อการพัฒนาสังคม สาธารณสุข และโภชนาการ เพื่อเสริมสร้างพลานามัย และให้ความรู้ด้านต่างๆ เกี่ยวกับเยาวชน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือระหว่างเยาวชนของประเทศสมาชิก โดยจัดทำโครงการต่างๆ เช่น โครงการมหกรรมเยาวชนอาเเซียน โครงการมิตรภาพ โครงการเรือเยาวชนอาเซียน เป็นต้น
                    อาเซียนได้จัดความร่วมมือในด้านวัฒนธรรมและสนเทศ เพื่อรักษามรดกทางวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีเก่าๆ ไว้หลายโครงการ เช่น ด้านภาพยนตร์ จัดให้มีงานมหกรรมภาพยนตร์ประจำปีอาเซียน ด้านดนตรี มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการทางดนตรีสำหรับเยาวชนอาเซียน ด้านศิลปะการแสดงมีการแลกเปลี่ยนนักแสดง และการแสดงวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกตามโครงการแลกเปลี่ยนศิลปิน จัดเป็นงานมหากรรมนาฏศิลป์อาเซียนและงานมหกรรมดนตรีอาเซียน ด้านการต่อต้านยาเสพติด โดยการลงนามในปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยหลักในการต่อต้านการใช้ยาเสพติด

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
                    การที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกของอาเซียน นับว่าเป็นผลดีต่อนโยบายด้านเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถต่อรองทางด้านทางการค้ากับประเทศสมาชิก นอกจากนี้การค้าระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกัน ได้ยึดหลักความถนัดในการผลิต หรือการแบ่งประเภทอุตสาหกรรมให้ประเทศสมาชิกทำการผลิตโดยไม่มีการผลิตแข่งขันกัน ประเทศไทยได้รับประโยชน์จากการเป็นสมาชิกกลุ่มอาเซียน ดังนี้
                    1. ด้านการค้า ได้รับสิทธิพิเศษทางด้านการค้าด้วยการได้ลดหย่อนอัตราภาษีศุลกากร หรือยกเว้นภาษีที่ประเทศไทยส่งไปขายยังประเทศสมาชิกสำหรับสินค้าบางประเภท เช่นเดียวกับที่ประเทศสมาชิกได้รับจากประเทศไทย ภายใต้ข้อตกลงของเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ อาฟตา (AFTA : ASEAN Free Trade Area)
                    2. ด้านอุตสาหกรรม ได้ร่วมกับอาเซียนในการจัดตั้งโครงการอุตสาหกรรมเพื่อผลิตสินค้าสำหรับทดแทนสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ อาเซียนได้เลือกอุตสาหกรรมหลักให้ประเทศสมาชิกเลือกทำการผลิต คือ ประเทศไทยผลิตเกลือหินและโซดาแอช อินโดนีเซียและมาเลเซียผลิตปุ๋ยยูเรีย   สิงคโปร์ผลิตเครื่องยนต์ดีเซล และฟิลิปปินส์ผลิตปุ๋ยฟอสเฟต   โครงการนี้ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลง คือ ไทยเปลี่ยนเป็นผลิตแร่โพแทช   สิงคโปร์ยกเลิกโครงการ   ฟิลิปปินส์เปลี่ยนเป็นผลิตทองแดงแปรรูป   ส่วนอินโดนีเซียและมาเลเซียยังคงผลิตปุ๋ยยูเรียตามเดิม ซึ่งการร่วมมือนี้เป็นการร่วมมือระดับรัฐบาล ส่วนภาคเอกชนก็มีการร่วมมือกันในอุตสาหกรรมรถยนต์ โดยการแบ่งการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ตามความถนัดของแต่ละประเทศ และต่อมามีโครงการแบ่งผลิตสินค้าอุตสาหกรรม โดยผู้ผลิตจะต้องเป็นบริษัทเอกชนอย่างน้อย 2 บริษัท จากประเทศสมาชิกอย่างน้อย 2 ประเทศ
                    3. ด้านการคลังและการธนาคาร นโยบายด้านการคลังและการธนาคาร ประเทศสมาชิกได้ตกลงร่วมมือกันในด้านการจัดตั้งตลาดตั๋วเงินที่ธนาคารรับรอง จัดตั้งบรรษัทการเงินอาเซียน จัดตั้งคณะกรรมาธิการว่าด้วยการประกันภัยแห่งอาเซียน จัดตั้งกลไกยกเว้นการเก็บภาษีและป้องกันการเก็บภาษีซ้ำซ้อน และร่วมมือกับประชาคมยุโรปในการจัดตั้งกองทุนร่วมเพื่อการพัฒนาระหว่างอาเซียนกับอีอีซี
                    4. ด้านการเกษตร อาเซียนได้มีการร่วมมือกันทางด้านการเกษตรที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศสมาชิก นโยบายด้านการเกษตรได้ดำเนินการไปหลายโครงการ เช่น โครงการการสำรองอาหารเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันในยามขาดแคลนในเวลาฉุกเฉิน โครงการจัดตั้งศูนย์วางแผนพัฒนาการเกษตรของอาเซียน โครงการจัดการเกี่ยวกับอาหารภายใต้ความร่วมมือของอาเซียน-ออสเตรเลีย โครงการเทคโยีการประมงภายใต้ความร่วมมือของอาเซียน-แคนาดา โครงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำภายใต้ความร่วมมือของอาเซียน-อีซี โครงการจัดตั้งด่านกักกันโรคพืชและสัตว์ในภูมิภาคอาเซียน โครงการตั้งศูนย์เมล็ดพันธุ์ไม้ป่า โครงการอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำลำธาร โครงการปลูกป่า และโครงการตลาดของทรัพยากรป่าไม้ นอกจากนี้ยังมีโครงการอื่นที่อยู่ในระหว่างการเจรจาตกลงอีกมาก
                    5. ด้านการขนส่งและคมนาคม เป็นนโยบายที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวางนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเฉพาะทางด้านการขนส่งทางบก การเดินเรือและการท่าเรือ การบินพลเรือน การไปรษณีย์และโทรคมนาคม
                    6. ด้านการเมือง ความสามัคคีระหว่างประเทศสมาชิกของอาเซียนในการแก้ปัญหาอินโดจีน ทำให้ทั่วโลกหันมาสนใจและช่วยเหลืออินโดจีนมากขึ้น และยังช่วยแบ่งเบาภาระของประเทศไทยเกี่ยวกับปัญหาผู้อพยพอีกด้วย
                    7. ด้านวัฒนธรรม ความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด ทำให้เกิดโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งเป็นการส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันมากขึ้น

ประเทศที่เป็นสมาชิก

มีทั้งหมด 11 ประเทศ
1.ไทยแลนด์
2.พม่า
3.ลาว
4.กัมพูชา
5.เวียตนาม
6.มาเลเซีย
7.อินโดนีเซีย
8.สิงค์โปร์
9.ติมอร์
10.ฟิลิปปิลป์
11.บรูไน

 


 

MYANMAR  
ธงชาติของ ประเทศ MYANMAR 
ตราแผ่นดิน
แผนที่
 

 

เพลงชาติ
เพลง คาบา มาจี
เป็นชื่อเพลงของสหภาพพม่า เเปลว่า "พม่าจักคงอยู่ชั่วนิรันดร์"
kam.bha ma.kye / mran.ma prany /
tui. bhui: bwa: a.mwe cac mui. hkyac mrat nui: pe //
prany htaung su. kui a.sak pe: lui. tui. ka kwai ma.le /
da tui. prany da tui. mre to. puing nak mre //
tui. prany tui. mre a.kyui: kui
nyi nya cwa tui. ta.twe htam: hsaung pa sui. le
to. ta wan pe a. hpui: tan mre //
คำแปล
ตราบโลกแหลกสลาย แผ่นดินพม่าจงคงอยู่ต่อไป
เรารักและเทิดทูนบ้านเมือง เพราะนี่คือมรดกที่แท้จริงจากบรรพชน
เราจักสละชีพ เพื่อปกป้องสหภาพของเราไว้
นี่คือชาติของเรา แผ่นดินของเรา ซึ่งพวกเราเป็นเจ้าของ
เราจะแบกรับภาระเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติและแผ่นดิน
นี่คือหน้าที่ที่เราพึงทำเพื่อแผ่นดินอันทรงคุณค่าแห่งนี้
ภาษาถิ่นและสำเนียง
 

ภาษาพม่ามาตรฐานคือสำเนียงย่างกุ้ง ภาษาถิ่นในพม่าภาคเหนือและภาคใต้จะต่างจากภาษากลาง ภาษาถิ่นในเขตยะไข่หรืออารกัน ยังมีเสียง /ร/ แต่สำเนียงย่างกุ้งออกเสียงเป็น /ย/ ภาษาพม่าแบ่งอย่างกว้างๆได้ 2 ระดับ คือระดับทางการใช้งานวรรณคดี งานราชการและวิทยุกระจายเสียง ระดับไม่เป็นทางการใช้ภายในครอบครัวและกับเพื่อน พระภิกษุชาวพม่ามักพูดกันเองด้วยภาษาบาลี ซึ่งได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา

คำคุณศัพท์

คำคุณศัพท์มาก่อนคำนาม เช่น chuo-dé lu (สวยงาม + dé + คน = คนสวย) หรือตามหลังนาม เช่น lu chuo (คนสวย) การเปรียบเทียบใช้คำอุปสรรค à-คำคุณศัพท์-ปัจจัย zon คำคุณศัพท์บอกจำนวน ตามหลังคำนาม

คำกิริยา  

รากศัพท์ของคำกริยามักเติมปัจจัยอย่างน้อย 1 ตัว เพื่อบอกกาล ความสุภาพ รูปแบบกริยา เป็นต้น ไม่มีการใช้คำสันธาน รูปกริยาไม่เปลี่ยนตามบุคคล จำนวน หรือเพศของประธาน ตัวอย่างเช่น คำกริยา sá (กิน) เป็น

  • sá-dè = กิน ปัจจัย dè ใช้แสดงปัจจุบันกาลหรือใช้เน้นย้ำ
  • sá-gè-dè = กินแล้ว ปัจจัย gè/kè แสดงอดีตแต่ไม่จำเป็นต้องใช้เสมอไป ปัจจัย dè ในที่นี้เป็นการเน้นย้ำ
  • sá-nei-dè = กำลังกิน nei เป็นอนุภาคแสดงว่าการกระทำนั้นกำลังเกิดขึ้น
  • sá-bi = กำลังกินอยู่ ปัจจัย bi นี้ใช้กับการกระทำที่ประธานเริ่มกระทำและยังไม่เสร็จสิ้น
  • sá-mè = จะกิน อนุภาค mè นี้ใช้แสดงอนาคตและยังไม่เกิดขึ้น
  • sá-daw-mè = จะกิน(ในไม่ช้า) อนุภาค daw ใช้กับเหตุการณ์ที่ใกล้จะเกิดขึ้น

คำนาม

คำนามภาษาพม่าทำให้เป็นพหูพจน์โดยเติมปัจจัย dei (หรือ tei ถ้ามีเสียงตัวสะกด) อาจใช้ปัจจัย myà ที่แปลว่ามากได้ด้วย ตัวอย่างเช่น nwá = วัว nwá- dei = วัวหลายตัว จะไม่ใช้ปัจจัยแสดงพหูพจน์เมื่อมีการแสดงการนับคำนาม เช่น เด็ก 5 คน ใช้ว่า kelei (เด็ก) ngá (5) yauk (คน)

ลักษณะนาม

ภาษาพม่ามีลักษณนามเช่นเดียวกับภาษาจีน ภาษาไทย และภาษามาเลย์ คำลักษณนามที่ใช้ทั่วไปได้แก่

  • bá ใช้กับคน (เฉพาะพระสงฆ์และแม่ชี)
  • hli ใช้กับสิ่งที่เป็นชิ้น เช่น ขนมปัง
  • kaung ใช้กับสัตว์
  • ku ใช้กับสิ่งไม่มีชีวิตโดยทั่วไป
  • kwet ใช้กับสิ่งที่บรรจุของเหลวเช่น ถ้วย
  • lóun ใช้กับวัตถุรุปกลม
  • pyá ใช้กับวัตถุแบน
  • sin หรือ zín ใช้กับสิ่งที่มีล้อ เช่นรถ
  • su ใช้กับกลุ่ม
  • ú ใช้กับคน (เป็นทางการ)
  • yauk ใช้กับคน (ไม่เป็นทางการ)

คำสรรพนาม

คำสรรพนามที่เป็นรูปประธานใช้ขึ้นต้นประโยค รูปกรรมจะมีปัจจัย –go ต่อท้าย ตัวอย่างคำสรพนาม เช่น

  • ฉัน เป็นทางการ ผู้ชายใช้ kyaw-naw ผู้หญิงใช้ kyaw-myaไม่เป็นทางการใช้ nga พูดกับพระสงฆ์ใช้ da-ga หรือ da-be-daw (หมายถึง นักเรียน)
  • เธอ ไม่เป็นทางการใช้ nei หรือ min เป็นทางการใช้ a-shin หรือ ka-mya
  • เรา ใช้ nga-do
  • พวกคุณ ใช้ nei-do
  • เขา ใช้ thu
  • พวกเขา ใช้ thu-do
  • มัน หรือ นั่น ใช้ (ai)ha

คำศัพท์

คำศัพท์ส่วนใหญ่มาจากภาษาตระกูลทิเบต-พม่า ศัพท์เกี่ยวกับศาสนา การศึกษา ปรัชญา รัฐบาลและศิลปะ ได้มาจากภาษาบาลีเป็นส่วนใหญ่ คำยืมจากภาษาอังกฤษมักเกี่ยวกับธุรกิจหรือการปกครองสมัยใหม่ คำยืมจากภาษาฮินดีมักเกี่ยวกับอาหารและการปรุงอาหาร

ศาสนาประจำชาติ
 ศาสนาประจำชาติพม่าคือ ศาสนาพุทธ ส่วนใหญ่ชาวพม่านับถือศาสนาพุทธ 90% ศาสนาคริสต์ 4% ศาสนาอิสลาม 3% ศาสนาฮินดู 0.7% นับถือผีไสยศาสตร์ 2.3%

เมืองหลวง
เนปิตอ
 
สกุลเงิน
พม่าใช้สกุลเงินคือ จั๊ด ซึ่งมีอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ประมาณ 25-30 จั๊ด ต่อ 1 บาท
 
อาหารที่เป็นยอดนิยมและที่เป็นที่รู้จักของชาติ
แกงฮังเล
ดอกไม้ประจำชาติ
ดอกประดู่
ชุดประจำชาติ
อื่นๆที่น่าสนใจ
 
สถานที่ท่องเที่ยวของพม่า 
พม่าแม่สะเรียง(ไก่ชน)

ทามโทตรสวยเลย

รูปภาพของ pnpwan

 

ดีจังเลยมีภาพคลิปวิดีโอให้ดูเลย

ไอเดียดีอ่ะ

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

รูปภาพของ pnp32062

ทำไมขยันจังฟ่ะ เพี่อนนนนนนน

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 522 คน กำลังออนไลน์