ยานอวกาศ หรือ กระสวยอวกาศ

รูปภาพของ knw32998

 

ยานอวกาศ (Space Craft)

          เทคโนโลยีด้านอวกาศของมนุษย์ชาติเจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว มีการคิดค้นพัฒนายานอวกาศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เดินทางได้ไกลขึ้น และใช้พลังงานน้อยลง เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย ภารกิจของยานอวกาศนี้จะมีทั้ง การทำเส้นทาง การสื่อสาร การสำรวจโลก เป็นต้น สิ่งหนึ่งที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนายานอวกาศก็คือ ความเร็ว ซึ่งยังทำได้อย่างจำกัดอยู่มาก ทำให้การเดินทางแต่ละครั้งอาจจะกินเวลานานเป็นเดือนๆ ทำให้เราไม่สามารถส่งมนุษย์เดินทางไปได้ไกล

กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรี หนึ่งในยานอวกาศที่ใช้ปฏิบัติการเหนือพื้นโลก
กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรี หนึ่งในยานอวกาศที่ใช้ปฏิบัติการเหนือพื้นโลก

 ยานอวกาศออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
          1.  ยานอวกาศที่มีคนบังคับ ซึ่งจะเดินทางในช่วงเวลาสั้นๆ เช่นโคจรรอบโลก ปัจจุบันมนุษย์เดินทางไปในอวกาศได้ไกลสุดเพียงดวงจันทร์เท่านั้น 
          2. ยานอวกาศที่ไม่มีคนบังคับ เนื่องจากการสำรวจบางครั้งต้องใช้เวลาเดินทางไกลมากและอันตรายต่อมนุษย์ จึงเป็นหน้าที่ของยานที่ถูกบังคับจากภาคพื้นดินบนโลก บางที่เราเรียกยานแบบนี้ว่า Robot Scpace Craft 

          ปัจจุบันมีโครงการอวกาศของแต่ละประเทศที่ดำเนินการอยู่ ทั้งของสหรัฐ (Nasa) รัสเซีย ยุโรป (ESA) และ ญี่ปุ่น (JAXA) มีการส่งยานอวกาศไปสำรวจมากมาย โดยจะแบ่งย่อยออกเป็นกลุ่มใหญ่ 3 กลุ่มคือ
          1. ดวงจันทร์ เป็นยานอวกาศที่มีการส่งไปสำรวจดวงจันทร์ตั้งแต่ยุคแรกๆ เพื่อเป็นการเตรียมแผนให้กับการลงเหยียบดวงจันทร์ของโครงการอะพอลโล่ และ โครงการสำรวจดวงจันทร์ยุคหลังอะพอลโล่
          2. ระบบสุริยะ เป็นยานสำรวจนอกเหนือจากดาวเคราะห์ทั้ง 8 ดวง เช่น ยานสำรวจดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์น้อย และ ดาวหาง
          3. ดาวเคราะห์ เป็นยานสำรวจดาวเคราะห์ทั้ง 8 ดวง ซึ่งโครงการไปดาวอังคารเป็นโครงการที่มีการส่งยานอวกาศไปมากที่สุด

ภาพรวมของยานอวกาศ
          ระบบการทำงานของยานอวกาศประกอบไปด้วยระบบย่อยต่างๆ มากมาย เช่น ระบบกำหนดและควบคุมตัวยาน (Attitude Determination and Control: ADAC หรือ ACS), ระบบควบคุมการนำร่องและนำทาง (Guidance,Navigation and Control: GNC หรือ GN&C), ระบบการสื่อสาร (Communication: COMS), ระบบจัดการข้อมูลและคำสั่ง (Command and Data Handling: CDH หรือ C&DH), ระบบพลังงาน (EPS), ระบบควบคุมอุณหภูมิ (Thermal Control: TCS), ระบบการขับเคลื่อน (Propulsion), โครงสร้างและระบบบรรทุกสิ่งของ (Payload)
          ถ้าหากว่าเป็นยานอวกาศประเภทใช้คนบังคับแล้วอาจจะต้องเพิ่มปัจจัยยังชีพต่างๆ ให้กับลูกเรือด้วย

ระบบย่อยต่างๆของยานอวกาศ
          ระบบควบคุมการนำร่องและนำทาง
          การนำร่อง หมายถึง การคำนวณค่าจากชุดคำสั่งเพื่อใช้นำยานอวกาศไปยังที่ที่ต้องการ ส่วนการนำทาง หมายถึง การกำหนดจุดตำแหน่งที่ที่ยานอวกาศจะเดินทางไป โดยทั้งสองปัจจัยนี้จะถูกควบคุมอีกทีหนึ่งจากระบบเพื่อใช้เส้นทางที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของภารกิจมากที่สุด
          ระบบกำหนดและควบคุมตัวยาน
          ยานอวกาศต้องการระบบนี้เพื่อให้ทำงานในอวกาศได้โดยเกี่ยวข้องและตอบสนองกับปัจจัยภายนอกยาน ระบบนี้ประกอบไปด้วย เซ็นเซอร์ และตัวบังคับ ซึ่งทำงานร่วมกันโดยใช้โปรแกรมควบคุมอีกทีหนึ่ง ระบบกำหนดและควบคุมหลักๆ ใช้เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์การทำงานทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างเหมาะสม เช่น แผงรับแสงอาทิตย์จะหันไปทางดวงอาทิตย์อัตโนมัติ หรือ การหันหน้าไปทางโลกเมื่อมีการทำงานเกี่ยวกับการสื่อสาร เป็นต้น
          ระบบจัดการข้อมูลและคำสั่ง
          คำสั่งต่างๆ ที่ได้รับมาจากระบบการสื่อสารจะถูกนำมาที่ระบบนี้ เพื่อทำการตรวจสอบความถูกต้อง,แปลความหมายของคำสั่ง และส่งคำสั่งเหล่านี้ไปยังระบบย่อยอื่นๆของยานอวกาศ ระบบนี้ยังใช้รวบรวมข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ ที่ได้จากระบบย่อยอื่นๆของยานอวกาศ ส่งกลับไปยังพื้นโลกผ่านทางระบบการสื่อสารอีกด้วย ส่วนหน้าที่อื่นๆ ของระบบนี้ เช่น คอยตรวจสอบดูแลสถานะของยานอวกาศ
          ระบบการสื่อสาร
          ระบบนี้เป็นส่วนที่เชื่อมต่อการสื่อสารข้อมูลต่างๆระหว่างยานอวกาศ กับพื้นโลก หรือระหว่างยานอวกาศกับยานอวกาศด้วยกันเอง
        ระบบพลังงาน
          การขับเคลื่อนตัวยานอวกาศจะเริ่มใช้พลังงานตั้งแต่ออกตัวจากพื้นโลก สู่ชั้นบรรยากาศ จนถึงการทำงานนอกโลก โดยระบบนี้มีหน้าที่ในการควบคุมดูแลระดับพลังงานให้เป็นไปอย่างเหมาะสมที่สุด และนำพลังงานบางส่วนกลับมาใช้ใหม่ด้วย (reusable)
          ระบบการขับเคลื่อน
          ยานอวกาศอาจจะมีหรือไม่มีระบบการขับเคลื่อนนี้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับภารกิจที่ต้องทำว่าจำเป็นต้องใช้หรือไม่ สำหรับระบบนี้จะประกอบไปด้วยเชื้อเพลิง, ถังเก็บเชื้อเพลิง, ท่อเปิดปิด (valves), ท่อส่ง เป็นต้น
          ระบบควบคุมอุณหภูมิ
          ปกติแล้วยานอวกาศจะต้องมีการปรับแต่งให้สามารถคงอยู่ในสภาวะต่างๆได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นสภาวะที่ชั้นบรรยากาศของโลก หรือในอวกาศก็ตาม ยานอวกาศนี้ยังต้องทำงานในสภาวะสุญญากาศซะเป็นส่วนมากและต้องเผชิญกับอุณหภูมิหลายระดับขึ้นอยู่กับภารกิจ ซึ่งอาจจะเป็นการสำรวจพื้นผิวของดาวเคราะห์อื่นๆ ดังนั้น ระบบนี้จึงมีความจำเป็นต่อยานอวกาศมากที่จะคอยดูแลสภาวะอุณหภูมิของยานให้เป็นไปอย่างปกติตลอดการดำเนินงาน
          โครงสร้าง
          สำหรับโครงสร้างของยานอวกาศนี้จะต้องมีการปรับแต่งให้คงทนต่อการบรรทุกของต่างๆ รวมถึงเครื่องมือของระบบต่างๆด้วย ซึ่งขึ้นอยู่กับภารกิจของยานอวกาศเองว่าจะกำหนดโครงร่างอย่างไร
          ระบบบรรทุก
          การบรรทุกอุปกรณ์สิ่งของต่างๆ นี้ก็ขึ้นอยู่กับภารกิจของยานอวกาศ โดยปกติแล้วยานจะบรรทุกพวก เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ (กล้อง,กล้องดูดาว หรือ เครื่องมือตรวจจับ), คลังสินค้า หรือมนุษย์อวกาศ

จรวด Proton Rocket นี้ถูกปล่อยเพื่อนำยานอวกาศหรือดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรของโลก
จรวด Proton Rocket นี้ถูกปล่อยเพื่อนำยานอวกาศหรือดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรของโลก

ของเค้า ๆๆ

 

รูปภาพของ knw33007

ยานของเค้า ๆ

 

^^

รูปภาพของ knw32998

อ๊าก

 

เม้น ๆ ๆ ๆ

รูปภาพของ knw33316

น่าเข้าไปเล่นในยานจัง มันส์น่าดู

รูปภาพของ knw32998

ว๊าวว

 

สวยมั๊กๆ เล๊ยยย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 299 คน กำลังออนไลน์