ฆ้องวงใหญ่

รูปภาพของ bbsprasit

ฆ้องวงใหญ่

เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตีที่ทำด้วยโลหะ

 

 


 
ความเป็นมาของฆ้องวงใหญ่
                ฆ้องจัดได้ว่าเป็นเครื่องดนตรีที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนานชนิดหนึ่ง ในบรรดาเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงกันในปัจจุบัน และเป็นเครื่องดนตรีที่มีความสำคัญมาตั้งแต่โบราณ เป็นเครื่องดนตรีหลักของวงดนตรีไทย ทั้งในวงมโหรี และวงปี่พาทย์ โดยฆ้องได้มีหลักฐานการค้นพบ โดยมุ่งไปที่กลองมโหระทึก กลองมโหระทึก ถูกค้นพบครั้งแรกที่บริเวณตอนใต้ของประเทศจีนแถบมณฑลยูนานและมณฑลใกล้เคียง ต่อเนื่องลงมาถึงเวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย     (สมชาย รัศมี ,๒๕๔๑ : ๑๒)
สิ่งที่ชี้ให้เห็นว่า กลองมโหระทึกเป็นต้นกำเนิดของฆ้องก็เพราะโลหะที่ใช้ใน         การสร้างนั้นเอง โลหะที่ใช้ในการสร้างกลองมโหระทึก    เป็นโลหะผสมแบบเดียวกับฆ้องที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน นอกจากลักษณะของเนื้อโลหะผสมแล้ว เส้นทางวิวัฒนาการของกลองมโหระทึกยังผ่านการพัฒนาเป็นเครื่องดนตรีในตระกูลเดียวกัน แต่เปลี่ยนแปลงรูปร่างที่มีทิศทางมาใกล้ฆ้องมาขึ้นนั้นคือการค้นพบ                 “กังสดาร” ซึ่งสร้างด้วยโลหะผสมแบบเดียวกันแต่รูปร่างเป็นแผ่นกลมขนาดใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ เมตร พบที่วัดพระธาตุหริภุญไชย ในจังหวัดลำพูน คาดว่าน่าจะอยู่ราวศตวรรษที่ ๑๓ (อภิชาต ภู่ระหงษ์, ๒๕๔๐: ๑๖) ซึ่งสุจิตต์ วงษ์เทศ ได้กล่าวถึงต้นกำเนินของฆ้องว่า(สุจิตต์ วงษ์เทศ, ๒๕๓๐ : ๙๔)
                “นักภาษาศาสตร์และนักนิรุกศาสตร์บางท่านกล่าวว่าชื่อ “ฆ้อง” มาจาก”ระฆ้อง” และเป็นคำเดียวกับคำว่า “ระฆัง” แต่ยังไม่มีหลักฐานแหล่งที่มาของคำคู่นี้ พระยาอนุมานราชธน เคยมีหนังสือกราบทูลสมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ (เมื่อพ.ศ.๒๔๘๕ ในหนังสือบันทึกความรู้เรื่องต่าง ๆ) ถึงชื่อ “ฆ้อง” หรือ “ระฆ้อง” โดยไม่แน่ใจว่าจะมาจากคำมลายูว่า ragomg หรือไม่ และภาษาอังกฤษเองก็ยืมคำว่า gong จากคำว่า “ฆ้อง” ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ไปใช้ เพราะตำนานเรื่องฆ้องและระฆังของยุโรปมักระบุว่าไม่ใช้เครื่องมือของตะวันตกมาก่อน แต่ชาวตะวันตกรับแบบแผนไปจากตะวันออกจึงรับเรียกชื่อเรียกไปด้วย”
ซึ่งหลักฐานที่มาของฆ้องได้มีปรากฏดังต่อไปนี้คือ  ภาพจำหลักหินพบที่ปราสาทหินนครวัด เป็นรูปขบวนแห่ มีฆ้องเป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่อยู่ร่วมกับขบวนแห่นั้นด้วย (อภิชาต ภู่ระหงษ์ , ๒๕๔๐ : ๑๘)
๑. ศิลาจารึกวัดพระยืน มีความว่า (จำปา เยื้องเจริญ , ๒๕๒๒ :๗๙)
 “วันท่านเจ้าจักเถิง วันนั้น ตนท่านพระยาธรรมิกราชบริพารด้วยฝูงราชโยธา มหาชนพลลูกขุนมนตรีทั้งหลาย ยายกัน ให้ถือกระทงข้างตอก ดอกไม้ ไต้ เทียน ตีพาทย์ ดังพิณ ฆ้อง กลอง ปี่สรไน พิสเนญชัย ทะเทียด กาหล แตรสังข์ มรทงค์ ดงเดือด เสียงเลิศเสียงก้อง อีกทั้งคนโห่อื้อดาสะท้านทั่วทั้งนครหริภุญไชย”
๒.จารึกหินขอน พบที่บ้านหินขอน อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา จารึกลงบนเสาสี่เหลี่ยม กว้าง ๓๒ เซนติเมตร ยาว ๒๑ เซนติเมตร สูง ๘๐ เซนติเมตร ภาษาสันกฤตและเขมร มีข้อความกล่าวถึงการสร้างสิ่งของต่าง ๆ ถวายไว้กับวัดเพื่อให้ผลบุญนำไปสู่พุทธภูมิ บรรทัดที่ ๑๒-๑๓ ระบุว่ามี ฆ้องสัมฤทธิ์ ๓ ใบ (สุจิตต์ วงษ์เทศ , ๒๕๓๒ : ๙๖)
๓. จดหมายเหตุของ มองซิเอร์ เดอ ลา ลูแบร์ บันทึกไว้เมื่อ พ.ศ.๒๒๓๑ โดยได้
กล่าวถึงฆ้องไว้ว่า (สุจิตต์ วงษ์เทศ , ๒๕๓๒ : ๑๒๖)
“ลูกฆ้องนั้นล้วนผูกไว้ต่อ ๆ กันกับไม้สั้น ๆ ติดตั้งในทางราบอยู่บน ขอนไม้รูปครึ่งวงกลม คล้ายกับกงล้อรถม้า ผู้เล่นเครื่องดนตรีชนิดนี้นั่งขัดสมาธิอยู่ตรงศูนย์กลางหรือตรงที่ตั้งดุมล้อ  แล้วตีลูกฆ้องนั้นด้วยไม้สองอัน   ข้าพเจ้า เหมือนว่าเครื่องดนตรีชนิดนี้จะมีเพียงห้าระดับเสียงเป็นคู่กันไปเท่านั้น”
                สรุปได้ว่า ฆ้องได้มีต้นกำเนิดมาจากกลองมโหระทึกเพราะโลหะที่ใช้ในการสร้างนั้นเอง โลหะที่ใช้ในการสร้างกลองมโหระทึก เป็นโลหะผสมแบบเดียวกับฆ้องที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน นอกจากลักษณะของเนื้อโลหะผสมแล้ว เส้นทางวิวัฒนาการของกลองมโหระทึกยังผ่านการพัฒนาเป็นเครื่องดนตรีในตระกูลเดียวกัน แต่เปลี่ยนแปลงรูปร่างที่มีทิศทางมาใกล้ฆ้องมาขึ้น โดยลูกฆ้องนั้นล้วนผูกไว้ต่อ ๆ กันกับไม้สั้น ๆ ติดตั้งในทางราบอยู่บนขอนไม้รูปครึ่งวงกลมคล้ายกับกงล้อรถม้า อีกทั่งชื่อ “ฆ้อง” ได้สันนิฐานว่าน่าจะมาจากคำว่า”ระฆ้อง” ซึ่งเป็นคำเดียวกับคำว่า “ระฆัง” แต่ยังไม่มีหลักฐานแหล่งที่มาของคำคู่นี้ เพียงแต่มีหลักฐานว่ามีฆ้องเกิดขึ้นเพียงเท่านั้น
      

ส่วนประกอบฆ้องวงใหญ่
       

1. ร้านฆ้อง
            ร้านฆ้อง ทำด้วยหวายเป็นต้น 4 เส้น ดัดโค้ง เป็นวงกลม ใช้ 2 เส้นดัดเป็นโค้งเป็นวงนอก อีก 2 เส้นโค้งเป็นวงใน ยึดติดกับลูกมะหวด
                ลูกมะหวด ทำด้วยไม้กลึงให้กลมเป็นลอนขนาบด้วย ลูกแก้ว หัวท้ายบากและปาดโค้ง รับกับต้นหวายเป็นระยะตลอดทั้งวง
                โขนฆ้อง ทำด้วยไม้หนา มีลักษณะตอนกลางนูนเป็นสันเรียวแหลมเหมือนใบโพธิ์ข้างปาดเรียวลง ยึดติดติดกับต้นหวายทั้งสองข้าง ข้างหนึ่งใหญ่ อีกข้างหนึ่งเล็ก
                ไม้ค่ำล่าง เป็นไม้ลักษณะสี่เหลี่ยมทรงแบน ยึด ติดกับหวายคู่ล่างโดยรอบ ระยะห่างพอสมควร บางวงจะใช้แผ่นโลหะตอกตะปูคลุมอีกทีหนึ่ง
                ไม้ตะคู้ คือไม้ไผ่เล็กๆเจาะฝังเข้าไปในลูก มะหวด เพื่อกั้นสะพานหนู
                สะพานหนู เป็นเส้นลวดสอดโค้งเป็นวงใต้ไม้ตะคู้ เพื่อไว้ผูกหนังลูกฆ้อง ด้านในและด้านนอก
                ไม้ค้ำบน หรือ ไม้ถ่างฆ้อง เป็นไม้แผ่นบางๆปาดหัวท้ายเว้าตามเส้นหวาย เพื่อใช้ถ่างให้วงฆ้อง ให้อยู่ในสภาพเป็นวงสวยงาม ปกติลูกฆ้อง 4 ลูกจะ ใส่ไม้ถ่างฆ้อง 1 อัน ฆ้องวงใหญ่มี  16 ลูก จึงมีไม้ถ่างฆ้องวงหนึ่ง 4 อัน ที่ต้นหวายทั้ง 4 ต้นจะมีหวายผ่าซีก 2 หรือ 3 เส้นประกบโดยรอบ เพื่อรองรับหนังผูกฆ้อง และเพื่อให้สวยงาม จะกลึงเป็นเม็ดติดไว้ที่ปลายต้นหวายทั้งสี่ต้น สำหรับสมัยโบราณจะกลึงเม็ดเป็นขา ติดอยู่ที่ใต้ไม้ถ่างล่างอีกทีหนึ่ง
                วงฆ้องบางวงได้ประดิษฐ์ขึ้นให้สวยงาม โดยการประกอบงา แกะลวดลายฝังงา หรือมุขที่โขน บางครั้งที่ลูกมะหวดประกอบงา หรือเป็นงาทั้งอัน หรือแกะลวดลาย ลงรักปิดทองสวยงาม

 2.ลูกฆ้อง
            ทำด้วยโลหะที่เรียกว่า ทองเหลือง หลอม ตี หรือกลึงเป็นลูกๆทรงกลม ด้านบนกลึงตรงกลางให้นูนเป็นปุ่มเรียกว่า ปุ่มฆ้อง สำหรับตีให้เกิดเสียง ด้าน ข้างกลึงเป็นขอบงุ้มลงเรียกว่า ฉัตร เพื่อให้เสียงดังกังวานยาวขึ้น ที่ฉัตรเจาะรู 4 รูสำหรับร้อยหนังเลียด ซึ่งทำด้วยหนังเส้นเล็ก ร้อยผ่านรูที่ฉัตร ไปผูกยังสะพานหนู วงหนึ่ง มี 16 ลูกลดหลั่นกันตามลำดับ แต่ละลูกจะติดตะกั่วผสมขี้ผึ้งใต้ปุ่มฆ้อง เพื่อให้ได้เสียง สูงต่ำเรียงตามลำดับ 16 เสียง ลูกที่มีเสียงต่ำสุดจะ เรียกว่า ลูกทวน และลูกที่มีเสียงสูงสุดจะเรียกว่า ลูกยอด

          3.ไม้ตีฆ้อง
            ก้านทำด้วยไม้ไผ่ เหลาให้กลมเล็ก ยาวพอประมาณ ไม้ที่ดีนิยมไม้ที่มี 5 ข้อขึ้นไปจนถึง 9 ข้อ  หัวไม้ ทำด้วยหนังช้าง ตัดเป็นวงกลม ทุบปลายบานเป็นขอบ เล็กน้อย เพื่อให้นุ่มสำหรับตีลงที่ปุ่มฆ้องได้เสียงที่นุ่ม ไพเราะ ปัจจุบันหนังช้างหายาก จึงใช้ไม้ฆ้องที่หัวพัน ด้วยผ้า เคียนด้วยด้ายสีต่างๆด้วยวิธีกรรมที่ประณีตสวยงาม เรียกว่า ไม้นวม เสียงจะนุ่มนวล แต่ไม่คมคายเท่าหนังช้าง เหมาะสำหรับไว้ฝึกซ้อม

 Credit: http://www.banrakthai.com/index.php.step=viewproduct&catn= 11&subn=3& pcode=rakthai024
                 ศิลปินแห่งชาติ
ครูสุดจิตต์เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๑ เติบโตในครอบครัวนักดนตรีไทยย่านบางลำพู เล่นเครื่องดนตรีไทยเป็นทุกชิ้นตั้งแต่อายุเพียง ๘ ขวบ พออายุ ๑๐ ขวบก็ชนะ  การประกวดขับร้องเพลงไทยหลายรายการ ด้วยเสียงร้องที่มีสำเนียงไทยแท้จนกลายเป็นนักร้องประจำวงดนตรีไทยหลายวง ทั้งยังเป็นนักร้องประจำคณะหุ่นกระบอกของนายเปียก ประเสริฐกุล ที่โด่งดังในช่วงเวลานั้น ดนตรีไทยอยู่รอดได้จนถึงทุกวันนี้เพราะบารมีของสมเด็จพระเทพฯ พระองค์ท่านทรงสนพระทัยด้านนี้อย่างจริงจัง สังคมไทยจึงเห็นความสำคัญอยู่บ้าง
“เครื่องดนตรีไทยชิ้นแรกที่ครูจับคือฆ้อง หลักการดั้งเดิมของการเรียนดนตรีไทยคือต้องเรียนฆ้องวงก่อนเครื่องดนตรีชิ้นอื่น ถ้าได้วิชาฆ้องแล้วพื้นฐานจะแน่น การตีฆ้องจะช่วยฝึกทักษะการวางมือและเรื่องจังหวะ เพราะขณะเล่นเป็นวงฆ้องจะ คุมจังหวะเครื่องดนตรีไทยทุกชิ้น คนตีฆ้องจึงไม่ธรรมดา”
ในทัศนะของครูสุดจิตต์ การเรียนดนตรีไทยจึงต้องมีการปรับรูปแบบให้เข้ากับยุคสมัยด้วย
                “เราปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนได้ เริ่มจากเครื่องดนตรีชิ้นไหนก่อนก็ได้ เอาเข้าจริงแล้วโน้ตที่ใช้ก็ตัวเดียวกัน เล่นได้ชิ้นหนึ่งเดี๋ยวก็เล่นได้ทุกชิ้น เริ่มจากขิม อีกหน่อยก็ตีระนาดเป็น ถ้าผู้สอนมัวแต่ยึดรูปแบบโบราณว่าต้องตีฆ้องก่อน คงไม่ต้องส่งต่อมรดกดนตรีไทยให้เด็กรุ่นใหม่พอดี มาเถอะ เด็กตัวเล็กๆ อยากเรียนระนาดเอก เอาเลย ครูพร้อมจะสอนให้

อ้างอิง:http://www.sarakadee.com/web/modules. php?name=Sections&op =printpage&artid=690
Next: example.jpg
reply share

 
สร้างโดย: 
นายประสิทธิ์ ดนตรี โรงเรียนบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 477 คน กำลังออนไลน์