การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการกลุ่ม

รูปภาพของ bukitpra

1. ที่มาและความสำคัญคณิตศาสตร์เป็นวิชาพื้นฐานเบื้องต้นแห่งการคิดคำนวณ ซึ่งมีบทบาทสำคัญยิ่งในการศึกษาทุกสาขา ทางด้านวิทยาศาสตร์ได้ใช้วิชาคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการค้นคว้าข้อเท็จจริง ส่วนในด้านสังคมวิทยามีความจำเป็นต้องใช้หลักการทางคณิตศาสตร์ในการศึกษาเรื่องราวต่างๆ และคณิตศาสตร์ยังเป็นพื้นฐานสำหรับการค้นคว้าวิจัยทุกประเภท อาจกล่าวได้ว่าวิชาคณิตศาสตร์เป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะนำสังคมไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสังคม นอกจากนี้วิชาคณิตศาสตร์ยังให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ ยังช่วยเสริมคุณลักษณะด้านการสังเกต ความมีสมาธิ ความประณีต แม่นยำ ความละเอียดถี่ถ้วน ตลอดจนการตัดสินใจที่ดี พัฒนาความคิดของผู้เรียนให้คิดอย่างเป็นระบบมีเหตุผลและสามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นวิชาคณิตศาสตร์เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาศักยภาพทางการศึกษา แต่การเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่งอาจกล่าวได้ว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ต่ำ ซึ่งอาจเนื่องมาจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น วิธีการสอนของครู สภาพแวดล้อม ความแตกต่างระหว่างบุคคล วิธีการเสริมแรงเพื่อจูงใจให้นักเรียนเกิดความกระตือรือร้น สนใจเรียน ลักษณะของเนื้อหาวิชาที่กว้าง ซับซ้อน และเป็นวิชาที่มีลักษณะเป็นนามธรรม ที่ต้องใช้ความคิดอย่างมีเหตุผลนักเรียนส่วนมากจึงมีเจตคติที่ไม่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ เพราะคิดว่าวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ยาก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ต่ำจากการที่ข้าพเจ้าได้จัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้วิธีแบบบรรยาย พบว่านักเรียนส่วนหนึ่งตั้งใจเรียนดี และส่วนหนึ่งไม่สนใจเรียน การสอนแบบบรรยายจะทำให้นักเรียนเกิดพฤติกรรมทางการเรียนที่ไม่เหมาะสม นั่นคือ นักเรียนจะคอยฟังข้อมูลความรู้จากครูผู้สอนเพียงอย่างเดียวทำให้นักเรียนขาดความกระตือรือร้น ขาดกระบวนการฝึกทักษะทางด้านการคิด พูด และเขียน ขาดการค้นคว้าหาความรู้ด้วยต้นเอง ไม่กล้าแสดงออก ขาดความรับผิดชอบ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้นักเรียนไม่เข้าใจเนื้อหาที่เรียน ถ้าปล่อยให้นักเรียนมีพฤติกรรมนี้อีกต่อไป จะทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ต่ำ ข้าพเจ้าในฐานะครูผู้สอนตระหนักและเห็นความสำคัญในการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก และเพื่อที่จะให้นักเรียนเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมดังกล่าว ข้าพเจ้าจึงคิดหาวิธีการต่างๆหลายวิธี แต่วิธีที่ข้าพเจ้าคิดว่าดีที่สุดและเหมาะสมกับการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ คือ การสอนโดยใช้กระบวนการกลุ่ม และการเสริมแรงด้วยเบี้ยคะแนน

เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนให้สูงขึ้น โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในการแบ่งกลุ่ม และเสริมแรงทุกครั้งในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

 

1. บทนำข้าพเจ้า นางซูไรน๊ะ ลือบาสูลา ตำแหน่ง ครู ( พนักงานราชการ )ประวัติการศึกษาม.3 โรงเรียนบ้านกาลิซา อ.ระแงะ จ.นราธิวาส 96130ม.6 โรงเรียนตันหยงมัส อ.ระแงะ จ.นราธิวาส 96130ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต อ.เมือง จ.ภูเก็ต สาขาวิชา คณิตศาสตร์ วิชาโท นันทนาการ ความภาคภูมิใจในอดีต คือ · เป็นครูสอนโครงงานคณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3 -4 และเป็นครูที่ปรึกษาโครงงานคณิตศาสตร์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 การแข่งโครงงานคณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3 ระดับภาค ที่จังหวัดสงขลา ได้เหรียญทองแดง ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ข้อมูลโรงเรียนโรงเรียนบูกิตประชาอุปถัมภ์ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 10 ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 3 เปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีบุคลากร รวมทั้งสิ้น 25 คน ประกอบด้วยข้าราชการครู 10 คน พนักงานราชการ 8 คน และวิทยากรอิสลามศึกษา 7 คนมีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 260 คน ปัญหาการเรียนการสอนที่พบ1. นักเรียนส่วนใหญ่ไม่มีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์2. นักเรียนขาดทักษะการคิด พูด และเขียน3. นักเรียนขาดความรับผิดชอบ4. นักเรียนขาดความกระตือรือร้น5. นักเรียนไม่กล้าแสดงออก6. นักเรียนไม่ชอบศึกษาค้นคว้าความรู้ด้วยตนเอง7. นักเรียนมีเจตคติที่ไม่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ ความต้องการที่จะแก้ไขปรับปรุง1. การมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์2. ฝึกให้นักเรียนมีทักษะการคิด พูด และเขียน3. ความรับผิดชอบนักเรียน4. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองของนักเรียน5. การมีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ดี6. ความกล้าแสดงออกของนักเรียน7. ความกระตือรือร้นของนักเรียน2. เนื้อเรื่องได้ทำอะไรเพื่อปรับปรุง / พัฒนา จากการที่ข้าพเจ้าได้จัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีแบบบรรยาย พบว่า นักเรียนขาดทักษะการคิด การพูด การเขียน ขาดความกระตือรือร้น ไม่กล้าแสดงออก ขาดความรับผิดชอบ ไม่ชอบค้นคว้าด้วยตนเอง ขาดความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และมีเจตคติที่ไม่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ เป็นต้นซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ในวิชาคณิตศาสตร์ต่ำ ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงได้ศึกษาค้นคว้าและคิดหาวิธีการต่างๆ หลายวิธี แต่วิธีที่ข้าพเจ้าคิดว่าดีที่สุด และเหมาะสมกับนักเรียน คือ การสอนโดยวิธีการใช้กระบวนการกลุ่ม และการเสริมแรงด้วยเบี้ยคะแนน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เพราะวงการศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เชื่อว่าจะมีความเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนคณิตศาสตร์อยู่เนืองๆ คุณลักษณะของผู้เรียนที่น่าศึกษา ได้แก่ คุณลักษณะด้านต่างๆ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่1. คุณลักษณะเชิงปัญญา ได้แก่ IQ ความคิดสร้างสรรค์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบคิด การคิดเชิง ตรรกศาสตร์ ความจำ และยังอาจมีคุณลักษณะอื่นๆ อีกนอกเหนือไปจากนี้2. คุณลักษณะที่ไม่ใช่เชิงสติปัญญา ได้แก่ ร่างกาย ทัศนะคติ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความวิตกกังวล ภูมิหลังครอบครัว และอื่นๆ การจัดกิจการการเรียนการสอนเพื่อสนองตามความแตกต่างระหว่างบุคคล จาการเห็นความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อสนองตอบต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล นักการศึกษาจึงได้แสวงหาแนวทางในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบต่างๆ เช่น1. การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กสามารถพิเศษ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนที่มีความสามารถเด่นกว่าเด็กปกติ ซึ่งจัดทำกันอยู่หลายรูปแบบ เช่น1.1 จัดชั้นเรียนคณิตศาสตร์เป็นพิเศษ ให้เฉพาะเด็กสามารถพิเศษ การจัดชั้นเรียนแบบนี้เป็นการจัดกลุ่มตามความสามารถ โดยแยกกลุ่ม อาจจะเป็นเต็มวัน ครึ่งวัน หรือเฉพาะบางเวลา โดยการจัดหลายครั้งต่อสัปดาห์ หรือเพียงสัปดาห์ละครั้ง1.2 โรงเรียนฤดูร้อน ท เป็นการใช้เวลาว่างช่วงฤดูร้อนส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กสามารถพิเศษ ซึ่งทำในรูปการเร่งเรียน คือ เรียนหลักสูตรที่สูงกว่าระดับหรืออาจเป็นการเสริมหลักสูตรปกติ2. การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กด้อยกว่าปกติ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กด้อยกว่าปกติทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม ตัวอย่างเช่น การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ สำหรับ2.1 เด็กเรียนช้า ( IQ ระหว่าง 80 – 95 )2.2 เด็กปัญญาทึบ ( IQ ระหว่าง 60 – 80 )2.3 เด็กที่บกพร่องทางสายตา2.4 เด็กที่บกพร่องทางการฟัง

 

 

1. การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปกติ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่อยู่ในชั้นเรียนทั่วไป ตัวอย่างเช่น1.1 การแบ่งกลุ่มตามความสามารถ ซึ่งอาจทำโดยแยกเด็กเป็น 3 กลุ่ม คือ เก่ง กลาง อ่อน แล้วจัดให้เด็กมีความสามารถใกล้เคียงกันอยู่กลุ่มเดียวกัน 1.2 การสอนแบบเอกัตภาพ เป็นการจัดการเรียนการสอนมุ่งให้เด็กแต่ละคนเรียนก้าวหน้าตามความสามารถของตนเอง ตัวอย่างเช่น โปรแกรม IPI ( Individually Prescribed Instruction ) ซึ่งพัฒนาโดยศูนย์วิจัย และพัฒนาการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยพิตสเบิร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา โปรแกรมนี้ประกอบด้วยชุดการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดคำนวณ ซึ่งประกอบด้วยสื่อการสอนหลายประเภท เช่น แบบเรียน แผ่นปลิว สำหรับฝึกทักษะ แบบสอบ ครูมีหน้าที่บันทึกความก้าวหน้าของเด็ก วินิจฉัยการเรียน และกำหนดโปรแกรม นอกจากนี้ครูอาจสอนเพิ่มเติมเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มย่อย ตามความต้องการของเด็ก เมื่อเด็กสอบผ่านเกณฑ์ที่กำหนดก็เรียนเรื่องต่อไปอีกการสอนตามเอกัตภาพมักได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในแง่ของการค่อนข้างเน้นทักษะการคิดคำนวณ และภาระหนักของครูไปอยู่ที่งานธุรการ เช่น การเตรียมการ การจดบันทึก รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามเอกัตภาพ IPI จึงเสื่อมความนิยมลง แต่หลักการยังคงอยู่ โดยมีนักการศึกษาพยายามแสวงหารูปแบบใหม่อยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น การจัดการเรียนการสอนแบบ IGE (Individually Guided Education ) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย Wisconsin Research and Development Center for Cognitive Learning การจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบ IGE ยึดหลักสำคัญ 2 ประการ คือ1. โปรแกรมการสอนคณิตศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพต้องคำนึงถึงความต้องการของเอกัตภาพ2. การเรียนการสอนคณิตศาสตร์อย่างมีประสิทธิผลเกิดขึ้นได้จากการใช้รูปแบบโปรแกรมการสอนแบบ IGE ( IGE Intructional Programming Model ) ซึ่งมีหลักการสำคัญ 5 ประการ ได้แก่2.1 อิงจุดประสงค์ ( objective referenced )2.2 นักวิชาการเป็นผู้วางแผนการสอน2.3 การประเมินเด็กแต่ละคนใช้การประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ ( criterion referenced ) ควบคู่กับการจดบันทึกความก้าวหน้า2.4 ผลการประเมินนำไปใช้ในการจัดเด็กเป็นกลุ่มตามความสามารถ2.5 ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นระบบให้เหมาะกับเด็กแต่ละกลุ่มการเกิดเจตคติ เป็นที่ยอมรับกันว่าเจตคติไม่ใช่เป็นสิ่งที่มีแต่กำเนิด แต่เกิดจากการเรียนรู้และประสบการณ์ เจตคติบางอย่างมีขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่อยากให้ตนเองเป็นที่ยกย่องยอมรับของสังคม ดังนั้นอาจกล่าวถึงการสร้างเจตคติโดยพิจารณาองค์ประกอบทั้ง 3 ด้านของเจตคติดังนี้ ( ยงยุทธ งวศ์ภิรมย์ศานต์ , 2539 : 181-183) 1. ความรู้และความเชื่อ การเกิดความรู้และความเชื่อนั้น เป็นกระบวนการจัดระเบียบข้อมูลของสิ่งที่เรารับรู้ และเรียนรู้ให้เข้ากันเป็นหมู่พวก เรื่องที่คล้ายกันก็จะจัดเป็นประเภทเดียวกันเพื่อประโยชน์ในการจดจำและสามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาอื่นต่อไปได้ และถ้าการจัดระเบียบข้อมูลนั้นเกิดจากประสบการณ์โดยตรงซ้ำกันหลายๆครั้งก็จะเป็นความเชื่อที่คงทนมากขึ้น2. ความรู้สึก การเกิดความรู้สึกประกอบความรู้ความเชื่อจำแนกเป็น 2 ทิศทาง คือ ทางบวก ( ชอบ พอใจ ประทับใจ ) หรือทางลบ ( รังเกียจ ไม่พอใจ ไม่ประทับใจ )3. พฤติกรรมการแสดงออก โดยทั่วไปการแสดงออกตามเจตคติจะไดรับอิทธิพลมาจากบรรทัดฐานทางสังคมที่กลุ่มคาดหวังให้ปฏิบัติตาม รวมทั้งยังเป็นกรอกกว้างๆในการแสดงออกด้วย บรรทัดฐานนี้จะได้รับการเลียงแบบจากพ่อ แม่ และบุคคลอื่น การเปลี่ยนแปลงเจตคติ ในการเปลี่ยนแปลงเจตคตินี้ ประภาเพ็ญ สุวรรณ ( 2530 : 84-85 ) ได้สรุปว่า เจตคติของบุคคลสามารถจะทำให้ถูกเปลี่ยนแปลงได้หลายวิธีดังนี้1. ข่างสาร หรืออุปกรณ์สื่อ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของเจตคติทางด้านความรู้หรือการรับรู้ เป็นที่เชื่อกันว่าถ้าส่วนประกอบส่วนหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบด้านอื่นจะมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงด้วย2. การได้รับประสบการณ์ตรง เช่น ถ้านักเรียนไม่ชอบครูสอนคณิตสาสตร์แต่ถ้าเขาได้มีประสบการณ์ตรงจากการได้พบปะ พูดคุยกันกับครูคนนั้นที่มีความประพฤติเรียบร้อย พูดดี ฉลาด สิ่งเหล่านี้จะทำให้ความเชื่อหรือไม่ชอบดังเดิมเปลี่ยนแปลงได้3. การับรู้ การเปลี่ยนแปลงการรับรู้นี้เกิดจากองค์ประกอบหลายๆ อย่าง เช่น อิทธิพลจากผู้อื่น การโฆษณาชวนเชื่อ เป็นต้น4. ภาวะแรงจูงใจ โดยปกติแล้วเนื้อหาใหม่และการรับรู้จะช่วยให้ภาวะจูงใจในตัวบุคคลเปลี่ยนแปลง และในทางตรงกันข้ามการเปลี่ยนแปลงภาวะจูงใจของบุคคลจะทำให้ภาวการณ์รับรู้ของบุคคลที่มีต่อสถานการณ์หนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย5. การบังคับให้บุคคลปฏิบัติบางสิ่งบางอย่าง 6. โดยหาวิธีการที่จะทำให้บุคคลเข้าใจอย่างทะลุปรุโปร่งเกี่ยวกับเหตุผลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการที่เขามีเจตคติต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดในทางบวก ซึ่งจะทำให้เกิด insight ในตัวบุคคลนั้นจะทำโดยการให้รางวัล หรือสิ่งตอบแทนต่างๆ ที่นำความพอใจให้บุคลนั้น หรืออาจทำโดยการสร้างสิ่งเร้าบางอย่างที่ก่อให้เกิดความกังวลใจ ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการเสริมแรง ทฤษฏีการเสริมแรงของ บี เอฟ สกินเนอร์ อธิบายไว้ว่า “ ถ้าต้องการเปลี่ยนแปลงเจตคติของบุคคลให้ชอบหรือพอใจต่อสิ่งใด เราต้องให้สิ่งตอบแทนที่เขาพอใจ ”ความหมายของการเสริมแรง การเสริมแรง คือ การทำให้พฤติกรรมหนึ่งของบุคคลเพิ่มขึ้นอันเป็นผลมาจากการได้รับผลกรรมที่พึ่งพอใจหลังจากแสดงพฤติกรรมนั้น หรืออันเป็นผลเนื่องมาจากความสำเร็จ หรือการหนีจากสิ่งเร้าที่บุคคลไม่พอใจ การให้การเสริมแรง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท1. การเสริมแรงทางบวก คือ การที่บุคคลแสดงความถี่ของพฤติกรรมเพิ่มขึ้น อันเป็นผลเนื่องมาจากการที่บุคคลได้รับสิ่งที่พึ่งพอใจ หลังจากแสดงพฤติกรรมนั้นทั้งที่ สิ่งที่บุคคลพึ่งพอใจเรียกว่า “ ตัวเสริมแรงทางบวก”2. การเสริมแรงทางลบ คือ การที่บุคคลแสดงความถี่ของพฤติกรรมเพิ่มขึ้น โดยการถอน หรือเอาสิ่งที่ไม่ต้องการออกไปหลังแสดงพฤติกรรมนั้นทันทีจะเห็นว่าทั้งตัวเสริมแรงทางบวกและการเสริมแรงทางลบนั้นเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการแสดงพฤติกรรมของบุคคล แต่เนื่องจากว่าการใช้ตัวเสริมแรงทางลบอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น ความเครียดทางอารมณ์ ดังนั้นจึงควรใช้ตัวเสริมแรงทางบวกในการปรับพฤติกรรมมากกว่าตัวเสริมแรงทางลบ ตัวเสริมแรงทางบวกที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไปมี 6 ชนิด ดังนี้1. อาหารและสิ่งเสพได้ เช่น อาหาร น้ำ ขนม เป็นต้น2. ตัวเสริมแรงทางสังคม อาจทำได้ทั้งทางวาจาและท่าทาง เช่น การชมเชย การให้ความสนใจ เป็นต้น3. การใช้วัตถุสิ่งของมาเสริมแรงต่อพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์ของผู้เรียน4. การใช้กิจกรรมที่ผู้เรียนชอบกระทำที่สุดหรือน้อยกว่า เช่น การให้ไปดูภาพยนตร์มาเป็นตัวเสริมแรงกิจกรรมการทำความสะอาด เป็นต้น5. การให้ข้อมูลย้อนกลับ เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำของผู้เรียน ซึ่งทำให้รู้ว่าตนได้ทำพฤติกรรมที่เหมาะสมหรือไม่ และเป็นการเสริมแรงต่อการกกระทำพฤติกรรมที่เหมาะสมขึ้นไป6. เบี้ยอรรถกร เป็นตัวเสริมแรงที่ต้องมีเงื่อนไข เช่น เงิน แต้ม คะแนน หรือ ประกาศนียบัตร ซึ่งสามารถนำไปแลกเป็นตัวเสริมแรงอื่นๆ ที่ต้องการ เช่น ขนม ของเล่น เป็นต้น จากการปรึกษาหารือกับอาจารย์กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระ อื่นๆ และจากการศึกษาจากเอกสาร เพื่อค้นหาวิธีการแก้ปัญหาการเรียนของนักเรียนตามพฤติกรรมที่กล่าวมาตามสาเหตุที่พบ จะเห็นว่าการสอนโดยใช้กระบวนการกลุ่ม และการเสริมแรงด้วยเบี้ยคะแนน เป็นวิธีการที่จะสามารถช่วยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนได้ การวางแผนการทำงาน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนนั้น ควรจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ทั้งสามด้าน คือ ด้านความรู้ ด้านทักษะ/กระบวนการ และด้านคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม กล่าวคือ ให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีความเข้าใจเนื้อหาระ มีทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์ มีเจตคติที่ดี ตระหนักในคุณค่าของคณิตศาสตร์ และสามารถนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ไปพัฒนาชีวิตให้มีคุณภาพตลอดจนใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ และเป็นพื้นฐานในการศึกษาในระดับสูงต่อไป ข้าพเจ้าได้ดำเนินการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามขั้นตอนต่อไปนี้1. ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 25442. ศึกษาสาระ และมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 กระทรวงศึกษาธิการ3. ศึกษาสาระในส่วนที่เป็นเนื้อหา แนวความคิดหลักคณิตศาสตร์ และกระบวนการ ตลอดจนวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น4. ศึกษากรอบความคิดในการจัดทำสาระการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 5. ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษา ศึกษาคำอธิบายรายวิชาของสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์6. กำหนดเนื้อหาสาระและจุดประสงค์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชาและกรอบความคิดในการจัดทำสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์7. วางแผนการออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและจุดประสงค์การเรียนรู้8. จัดทำแผนการเรียนรู้ โดยมีส่วนประกอบของการจัดการเรียนรู้เป็นไปตามความสามารถของผู้เรียน การบูรณาการทั้งในกลุ่มสาระการเรียนรู้และนอกกลุ่มสาระการเรียนรู้9. นำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้และประเมินการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อปรับปรุงและพัฒนา และทำการวิจัยกระบวนการดำเนินงาน การจัดกระวนการเรียนรู้สำหรับกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์นั้น ข้าพเจ้าจัดให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลรวมทั้งวุฒิภาวะของนักเรียนทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนมีทักษะการคิดคำนวณพื้นฐาน ให้นักเรียนมีความรู้ความสามารถทางคณิตศาสตร์ได้อย่างเต็มศักยภาพ นอกจากนี้ถือว่านักเรียนมีความสำคัญ คือ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เป็นวิธีการสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะต่างๆ ที่พึ่งประสงค์ วิธีการสอนของข้าพเจ้าที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางโดยใช้กระวนการกลุ่ม และการเสริมแรงด้วยเบี้ยคะแนนนั้นมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดังนี้ 1. ขั้นนำเข้าสู้บทเรียน นอกจากการเกริ่นเนื้อหาแล้ว ข้าพเจ้ายังมีการสร้างความสนใจให้แก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีสมาธิ สนุก พร้อมที่จะเรียน โดยวิธีการหลายอย่างเช่น· แบ่งกลุ่มเล่นเกม หรือทำกิจกรรม· ตั้งคำถาม ถาม - ตอบ· สนทนาซักถาม · เล่าเรื่อง นิทาน ข่าว เป็นต้นข้าพเจ้ามีสื่อการสอนต่างๆ มาเร้าความสนใจให้นักเรียน พร้อมทั้งป้อนคำถาม ให้นักเรียนได้รู้จักคิดวิเคราะห์ตามอย่างมีเหตุผล เพื่อกระตุ้นเข้าสู่บทเรียน คำถามที่ใช้จะขึ้นต้นด้วยคำว่า ทำไม.......... อย่างไร........ อะไร......... เมื่อไร............. ที่ไหน ........... เป็นต้น 2. ขั้นดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ หลังจากนำเข้าสู่บทเรียนแล้วข้าพเจ้าได้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้1. แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้เป็นการชี้แนะให้นักเรียนไดรู้ทิศทางหรือเป้าหมายของการเรียนรู้ ให้ชัดเจน 2. แบ่งกลุ่มนักเรียน โดยในแต่ละกลุ่มให้มีนักเรียนที่มีความสามารถทางคณิตศาสตร์ค่อนข้างต่ำ ปานกลาง ค่อนข้างสูง และสูง แล้วแจกใบความรู้ ใบกิจกรรม ใบงาน สื่อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา เป็นต้น เพื่อให้นักเรียนในกลุ่มศึกษาค้นคว้าความรู้ด้วยต้นเอง โดข้าเจ้าให้โอกาสนักเรียนสร้างความสัมพันธ์กันในกลุ่มกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน ส่งเสริมให้นักเรียนได้คำตอบด้วยตนเอง ข้าพเจ้าค่อยให้คำปรึกษา แนะนำ และคอยบันทึกความก้าวหน้าของนักเรียน3. ในขณะทำกิจกรรมการเรียนการสอนข้าพเจ้ามีการเสริมแรงตลอดเวลา ไม่ว่า คำชม ขนม เบี้ยคะแนน เป็นต้นขั้นกิจกรรมนี้จัดว่าเป็นหัวใจสำคัญที่ต้องคำนึงถึงลำดับขั้นของการเรียนรู้ โดยข้าพเจ้าได้จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนจากประสบการณ์จริง รวมทั้งปลูกฝังให้นักเรียนรักที่จะเรียนและแสวงหาความรู้ทางคณิตศาสตร์อย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงหลักสำคัญดังต่อไปนี้ 1. ให้นักเรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ตามลำดับ จากง่ายไปยาก 2. นักเรียนในกลุ่มมีโอกาสปฏิสัมพันธ์ มีกิจกรรมร่วมกันในกระบวนการเรียนรู้3. ให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน ตลอดจนร่วมกันแก้ปัญหาและปฏิบัติงานร่วมกัน4. กิจกรรมที่จัดส่งเสริมให้นักเรียนได้ค้นหาคำตอบ5. กิจกรรมที่จัดผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัวและสภาพแวดล้อม เพื่อสร้างประสบการณ์ตรง และผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน6. กิจกรรมที่นักเรียนมีส่วนร่วมทางกาย สติปัญญา และอารมณ์ โดยคำนึงถึงความแตกต่างของนักเรียน ทั้งความสามารถทางสติปัญญา สังคม และอารมณ์7. เนื้อหาสาระของการเรียนรู้เหมาะสมกับนักเรียนและความต้องการของนักเรียน8. มีสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย 3. ขั้นสรุป ข้าพเจ้าได้เน้นเป็นการสรุปผลจากการดำเนินกิจกรรมตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการเรียนรู้ และตรวจสอบดูว่าบรรลุตามจุดประสงค์การเรียนรู้หรือไม่ และเพื่อให้นักเรียนมีความรู้ที่คงทนข้าพเจ้าให้นักเรียน สรุปสาระสำคัญโดยการทำผังมโนทัศน์ แผ่นสามพับ การ์ตูนคณิตศาสตร์ และโครงงานคณิตศาสตร์ ( Mimi Project ) เป็นต้นการวัดและประเมินผล ในการวัดและประเมินผล ข้าพเจ้าจะไม่มุ่งวัดด้านความรู้เพียงอย่างเดียว จะวัดด้านทักษะ /กระบวนการ และด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมด้วย โดยให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ในการวัดข้าพเจ้าได้ใช้วิธีการที่หลากหลายและเหมาะกับนักเรียน และวัตถุประสงค์ เช่น วัดจากใบงาน หรือใบกิจกรรม การเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม แบบทดสอบก่อน - หลังเรียน วัดผลตามสภาพจริง ( Authentic Test ) วัดจากผลงาน แฟ้มสะสมผลงาน ( Portfolio) สังเกตพฤติกรรมทางการเรียนการสอน โครงงานคณิตศาสตร์ ( Mathematics Project ) สัมภาษณ์ ( Interview ) เป็นต้น ในการวัดและประเมินผลข้าพเจ้าปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมกับลักษณะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามสภาพจริง และโดยรวมของนักเรียนเป็นหลัก ( performance Examination ) และข้าพเจ้าถือว่าการวัดและประเมินผลเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพราะการเรียนรู้คณิตศาสตร์นั้นหัวใจของการวัดผลและประเมินผล ไม่ใช่อยู่ที่การวัดผลเพื่อประเมินตัดสินได้ หรือตกของผู้เรียนเพียงอย่างเดียว แต่อยู่ที่การวัดผลเพื่อหาจุดบกพร่อง ตลอดจนวัดผลเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอนของข้าพเจ้า ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้สามารถเรียนรู้ คณิตศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ และเต็มศักยภาพ การประเมินผลที่ดีนั้นต้องมาจากการวัดผลที่ดี กล่าวคือ จะต้องเป็นการวัดผลที่มีความถูกต้อง ( Validity ) และมีความเชื่อมั่น( Releability ) และการวัดผลนั้นต้องวัดด้วยวิธีต่างๆ ที่หลากหลายตามสภาพ และวัดให้ต่อเนื่อง คลอบคลุมและทั่วถึง เพื่อนำผลการวัดทั้งหลายมารวม สรุป ก็จะทำให้การประเมินผลนั้นถูกต้องและใกล้เคียงตามสภาพจริง 4. บทสรุป 4.1 ผลที่เกิดขึ้น ( ความสำเร็จของครู ) 1. สามารถเปลี่ยนทัศนคติของนักเรียนให้รักในวิชาคณิตศาสตร์มากขึ้น2. ข้อมูลที่ได้สามารถไปปรับปรุงแก้ไข การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน3. ได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายในกาแก้ปัญหานักเรียน4. นักเรียนมีความรู้สึกที่ดีต่อผู้สอน5. ผู้สอนได้รู้ปัญหาของนักเรียนมากขึ้น6. นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ทำให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ได้ง่ายขึ้น7. สามารถวัดผลประเมินผลตามสภาพจริงมากขึ้นเพราะนักเรียนได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี( ความสำเร็จของนักเรียน )1. นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์2. นักเรียนมีความกระตือรือร้นมากขึ้น3. นักเรียนเกิดกระบวนการฝึกทักษะทางด้านการคิด พูด และเขียน มากขึ้น4. นักเรียนรู้จักค้นคว้าด้วยตนเอง5. นักเรียนมีความรับผิดชอบมากขึ้น6. ผลการประเมินของนักเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี7. นักเรียนมีสมาธิมากขึ้นในการเรียนการสอน8. นักเรียนรู้จักแก้ปัญหาต่างๆได้9. นักเรียนรู้จักตัดสินใจด้วยตนเอง10. การรู้จักทำงานเป็นกลุ่ม มีความสามัคคีกัน11. นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น4.2 สรุปบทเรียนที่ได้( ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น ) 1.ได้รู้วิธีการแก้ปัญหานักเรียน 2. การรู้จักใช้สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหาและนักเรียน 3. การวัดผลประเมินผลที่ดีนั้นจะต้องวัดผลที่ความถูกต้องและมีความเชื่อมั่น และการ วัดผลนั้นต้องวัดด้วยวิธีต่างๆ ที่หลากหลายตามสภาพ และวัดให้ต่อเนื่อง คลอบคลุมและทั่วถึง เพื่อนำผลการวัดทั้งหลายมารวม สรุป ก็จะทำให้การประเมินผลนั้นถูกต้องและใกล้เคียงตามสภาพจริง 4. การเรียนรู้คณิตศาสตร์นั้นหัวใจของการวัดผลและประเมินผล ไม่ใช่อยู่ที่การวัดผลเพื่อประเมินตัดสินได้ หรือตกของผู้เรียนเพียงอย่างเดียว แต่อยู่ที่การวัดผลเพื่อหาจุดบกพร่อง ตลอดจนวัดผลเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอน ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้สามารถเรียนรู้ คณิตศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ และเต็มศักยภาพ 5. การวัดและประเมินผล จะต้องไม่มุ่งวัดด้านความรู้เพียงอย่างเดียว จะวัดด้านทักษะ /กระบวนการ และด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมด้วย โดยให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร 6. วิธีการที่จะทำให้นักเรียนมีความรู้ที่คงทนโดยให้นักเรียน สรุปสาระสำคัญ โดยการทำผังมโนทัศน์ แผ่นสามพับ การ์ตูนคณิตศาสตร์ และโครงงานคณิตศาสตร์ ( Mimi Project ) เป็นต้น ( ได้แรงบันดาลใจเพื่อการดำเนินงาน)1. ความตั้งใจของข้าพเจ้าที่หวังจะให้นักเรียนที่รัก ได้เห็นถึงความสำคัญของวิชาคณิตศาสตร์ และคณิตศาสตร์ไม่ยากอย่างที่นักเรียนหลายคนได้คิด และฝั่งใจมาตลอดว่าคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ยาก2. ความตั้งใจของนักเรียนที่พยามค้นคว้า เรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์3. ได้จากผู้บริหารที่คอยสนับสนุนและให้กำลังใจมาตลอด4. จากเพื่อนครูที่คอยช่วยเหลือในการให้ข้อมูล มาตลอด 4.3 ประโยชน์ที่ได้รับ (ที่เกิดกับตนเอง)1. ข้อมูลที่ได้สามารถไปปรับปรุงแก้ไข การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน2. ได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายในกาแก้ปัญหานักเรียน3. นักเรียนมีความรู้สึกที่ดีต่อผู้สอน4. ผู้สอนได้รู้ปัญหาของนักเรียนมากขึ้น5. นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ทำให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ได้ง่ายขึ้น ( แนวการพัฒนานักเรียน)1. นำประสบการณ์ที่ได้รับแก้ปัญหานักเรียนอื่นๆต่อไป2. เปลี่ยนหาวิธีการใหม่ในการจัดการเรียนการสอน3. นำสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆให้กับนักเรียน4. หาวิธีการที่หลากหลายเพื่อให้นักเรียนมีความรู้ที่คงทน( การเผยแพร่กับบุคคลอื่นต่อไป)1. เลาสู่กันฟังถึงวิธีการให้กับเพื่อนครู2. นำสื่อการเรียนการสอนที่สามารถบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นทดลองไปใช้3. แลกเปลี่ยนความคิดกับกลุ่มสาระอื่นๆ

สร้างโดย: 
นายบูรฮัน เจ๊ะเด๊ะ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 472 คน กำลังออนไลน์