การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มแบบมีส่วนร่วม

รูปภาพของ bukitpra

บันทึกการดำเนินงาน โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อปฏิรูปการศึกษา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้   เรื่องการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มแบบมีส่วนร่วม     นางนูรีซัน  อิบบรอฮิมครูชำนาญการ   โรงเรียนบูกิตประชาอุปถัมภ์  อำเภอเจาะไอร้อง  จังหวัดนราธิวาสสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 3สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน   บทนำ 1.      ข้อมูลผู้บันทึกการดำเนินงาน -       ประวัติส่วนต้ว 
ชื่อ    นางนูรีซัน   ชื่อสกุล   อิบบรอฮิม                            ชื่อสกุลเดิม  เงาะ

สัญชาติ       ไทย        เชื้อชาติ   ไทย                  ศาสนา  อิสลาม 

เกิดวันที่      1   เดือน  มกราคม   พ.ศ. 2508     เกษียนอายุราชการปี พ.ศ. 2568

ภูมิลำเนา    บ้านเลขที่  36/1               หมู่ที่ 4   ตำบล  มะนังตายอ   อำเภอ  เมือง 

จังหวัด       นราธิวาส    รหัสไปรษณีย์  96000               โทรศัพท์  084-7485929

ชื่อบิดา       นายดอเล๊าะ    เงาะ                                          อาชีพ  เกษตรกรรม

ชื่อมารดา    นางปารีเดาะ   หะยีดอเลาะ                          อาชีพ  แม่บ้าน

ชื่อคู่สมรส  นายอับดุลกอเดร์    อิบบรอฮิม     อาชีพ  ข้าราชการครู

 -       ประวัติการศึกษา
การศึกษาระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตร์บัณฑิต 

สาขาวิชาเอก  อิสลามศึกษา       วิชาโท รัฐศาสตร์  

จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี  

สำเร็จการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2530   

 -       ประวัติการทำงาน
เริ่มรับราชการตำแหน่ง  อาจารย์  1  ระดับ  3                 โรงเรียน บูกิตประชาอุปถัมภ์          

อำเภอ   เจาะไอร้อง                จังหวัด  นราธิวาส            ขั้น  5,560.-          

สังกัด  กองการมัธยมศึกษา   กรม สามัญศึกษา               กระทรวง  ศึกษาธิการ

วันที่เริ่มรับราชการ    29     เดือน   พฤศจิกายน             พ.ศ.  2537  
ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น         อาจารย์ 2  เมื่อวันที่  7  ตุลาคม  พ.ศ. 2546

ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น         ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ  เมื่อวันที่ 1  กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549    

 -       ความภาคภูมิใจ
1. ได้รับการคัดเลือกจากนักเรียนให้เป็นครูดีในดวงใจ  และได้รับเกียรติบัตรจากนายอำเภอเจาะไอร้อง เมื่อวันที่ 16  มกราคม  พ.ศ. 2550  

2.  ได้สอนเสริมนักเรียน เรื่อง เศรษฐกิจและการเงิน เพื่อเข้าร่วมโครงการตอบปัญหาเศรษฐกิจและการเงินกับธนาคารแห่งประเทศไทย จนได้ลำดับที่ 22 ในจำนวน 192 โรงเรียน เมื่อวันที่ 15  สิงหาคม  2552   2.  ข้อมูลโรงเรียน            โรงเรียนบูกิตประชาอุปถัมภ์ตั้งอยู่หมู่ที่ 10 ตำบล บูกิต อำเภอ เจาะไอร้อง จังหวัด นราธิวาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 3 มีเนื้อที่ 35 ไร่ เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง ปีที่ 6 ( เป็นโรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษาเดิม ) มีนักเรียนทั้งสิ้น  260  คน    มีครูทั้งสิ้น 25 คน ซึ่งประกอบด้วย  1. ผู้บริหารโรงเรียน  1  คน                  2. ข้าราชการครู  9 คน  3. พนักงานราชการ  8  คน                   4. วิทยากรอิสลามศึกษา จำนวน  7  คน  5. มีลูกจ้างชั่วคราว ตำแหน่ง นักการภารโรง  จำนวน  1 คน  จำนวนห้องเรียนทั้งสิ้น 8 ห้อง  มีอาคารเรียนอาคารและอาคารประกอบ จำนวน 3 หลัง  ได้แก่  อาคารเรียนถาวร แบบ 216 ล  จำนวน 1 หลัง 16  ห้อง     อาคารโรงอาหาร แบบ  300  ที่นั่ง จำนวน  1  หลัง  อาคารโรงฝึกงาน จำนวน  1  หลัง  สนามฟุตบอล     1  สนาม   สนามบาสเกตบอล 1 สนาม   และสนามตะกร้ออีก 1 สนาม 3.  ปัญหาด้านการเรียนการสอน            จากการที่ได้จัดการเรียนการสอนในรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมเป็นระยะเวลาหนึ่ง ได้ค้นพบปัญหาต่าง ๆ ดังต่อไปนี้            1.  เนื้อหาสาระ   หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544  กำหนดสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ไว้  5 สาระ  ได้แก่  สาระศาสนา   สาระหน้าที่พลเมือง  สาระเศรษฐศาสตร์  สาระภูมิศาสตร์และสาระประวัติศาสตร์   จากการที่หลักสูตรได้กำหนดสาระต่าง ๆ 5 สาระดังกล่าวและในแต่ละสาระมีเนื้อหาที่จะต้องจดจำ  เข้าใจ  เพื่อนำไปสู่การคิด วิเคราะห์ เป็นจำนวนมาก   จึงส่งผลให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่ายและมีความสับสนในการจดจำ               2.  กิจกรรมการเรียนการสอน  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมโดยทั่วไปจะเน้นเนื้อหาสาระ การจดจำ  ความเข้าใจ  ส่วนภาคปฏิบัตินั้นมีน้อยมาก  ด้วยเหตุดังกล่าวจึงส่งผลให้นักเรียนมีสมาธิในการเรียนในช่วงต้นชั่วโมงเท่านั้น  แต่หลังจากที่ได้เรียนเนื้อหาสาระไปสักพัก  นักเรียนส่วนใหญ่จะเกิดความเบื่อหน่ายและเริ่มเสียสมาธิ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคาบวิชาสังคมศึกษาฯ อยู่ในช่วงบ่าย นักเรียนมักจะง่วงนอนและไม่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน3.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  จากปัญหาดังที่กล่าวมา  ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนอยู่ในระดับปานกลางถึงต่ำ   เฉลี่ยอยู่ที่  2.28    มีนักเรียนไม่ผ่านการประเมิน(ติด 0)  ร้อยละ 2-7 ต่อปี   ผลการสอบ O-NET ของนักเรียนชั้น ม.6 ปีการศึกษา 2551 = 27.79            จากปัญหาดังกล่าว ข้าพเจ้าจึงได้คิดวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหลาย ๆ วิธี  โดยแต่ละวิธีข้าพเจ้าได้นำไปใช้  แก้ไขและปรับปรุงเรื่อยมา  ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนุกสนาน  เพลิดเพลิน  จดจำความรู้ เนื้อหาสาระ สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ได้  เพื่อนำความรู้ไปยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในที่สุด 4.  ความต้องการที่จะแก้ไขปรับปรุง            สิ่งที่ข้าพเจ้าต้องการปรับปรุงแก้ไขคือวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ   เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนและเพื่อให้นักเรียนสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันและสามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข  มีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์                การดำเนินการ 1.  แนวความคิดหรือทฤษฎีที่ใช้            “ครู” มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการจัดการเรียนการสอนโดยครูควรตระหนักเสมอว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองที่แตกต่างกันและ “ผู้เรียนสำคัญที่สุด”  และเป้าหมายของการจัดการเรียนการสอนนั้นคือ “ความสำเร็จของผู้เรียน”              ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือกิจกรรมการเรียนรู้  ข้าพเจ้าได้นำหลักทฤษฏีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (STAD) โดยมีแนวคิดว่าในการเรียนรู้ของผู้เรียน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนมี 3 ลักษณะ ได้แก่ ลักษณะแข่งขันกัน  ลักษณะต่างคนต่างเล่นและลักษณะร่วมมือกันหรือช่วยเหลือกันในการเรียนรู้   แต่ในการเรียนการสอนในปัจจุบันนี้มีการส่งเสริมการเรียนรู้แบบแข่งขันและรายบุคคลอยู่แล้ว  ข้าพเจ้าจึงนำวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้  ซึ่งมีองค์ประกอบ 3 ประการ  ได้แก่  การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน   การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิดและความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละคน                        2.  การวางแผนการดำเนินงานในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญด้วยกระบวนการกลุ่มแบบมีส่วนร่วม  ข้าพเจ้าได้วางแผนการดำเนินการ ดังต่อไปนี้            2.1  สำรวจสภาพปัญหา   โดยเริ่มจาก2.1.1  วิเคราะห์ผู้เรียน  ในการวิเคราะห์ผู้เรียน  ข้าพเจ้าได้วิเคราะห์จากผลการเรียนในรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ในปีที่ผ่านมา  โดยแบ่งออกเป็น                        เกรด        0 – 1             =          กลุ่มเรียนอ่อน                        เกรด     1.5 – 2.5          =          กลุ่มเรียนปานกลาง                        เกรด       3 – 4              =          กลุ่มเรียนเก่ง                        นอกจากนั้น  ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อวัดความรู้พื้นฐานที่นักเรียนได้เคยเรียนมาแล้ว   ถ้านักเรียนทำแบบทดสอบได้ดีหรือทำไม่ได้  ก็จะมีการปรับกลุ่มผู้เรียนทั้ง 3 กลุ่มที่ได้แบ่งไว้แล้ว  มาปรับใหม่อีกครั้งตามสภาพความเป็นจริง ณ เวลานั้น                                     2.1.2   แบบสอบถาม    วิธีการสำรวจปัญหาอีกประการหนึ่งคือสอบถามข้อมูลต่าง ๆ จากนักเรียนโดยใช้แบบสอบถาม เช่น -          ข้อมูลทั่วไปของนักเรียนด้านครอบครัว เศรษฐกิจ สังคมและอารมณ์-          ข้อมูลด้านการเรียนการสอน           เช่น แบบเรียน  เวลาที่นักเรียนใช้ในการทำการบ้าน อ่านหนังสือ  และศึกษาค้นคว้า-          ทัศนคติต่อวิชาสังคมและข้อเสนอแนะ             2.2  แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  เมื่อได้วิเคราะห์ผู้เรียนและสำรวจข้อมูลจากผู้เรียนแล้ว ข้าพเจ้าจึงได้เขียนแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  โดยปรับเปลี่ยนวิธีการสอนแบบเน้นครูเป็นศูนย์กลาง  เช่น ครูอธิบาย  ครูเล่าเรื่อง  ครูสาธิตให้นักเรียนดู  ครูอ่านข่าว ฯลฯ  เปลี่ยนเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  โดยมีผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นที่ปรึกษา2.3  สื่อการสอน  ข้าพเจ้าตระหนักดีว่าในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นั้น  ถึงแม้ว่าแผนการสอนจะเขียนได้ดีเพียงใด  หากครูผู้สอนไม่ได้จัดเตรียมสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ตามแผนฯ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ย่อมไม่บรรลุผลตามที่ได้วางไว้  ข้าพเจ้าจึงได้เตรียมสื่อต่าง ๆ ตามที่ได้ระบุไว้ในแผนการสอนให้ครบทุกประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนการสอนที่เน้นกระบวนการกลุ่มแบบมีส่วนร่วมที่ข้าพเจ้าเขียนไว้นั้น  สื่อที่ข้าพเจ้าใช้บ่อยที่สุดคือ  ใบงาน  ใบความรู้  แบบประเมิน  แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคลและกระดาษพรู้ฟข้าพเจ้าได้ทดลองวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญหลายๆวิธีมาแล้ว  เช่น  การใช้บทเรียนโปรแกรม   บทเรียนหน้าเดียว   เอกสารประกอบการสอน ฯลฯ  แต่ผลปรากฏว่า  การสอนแบบกระบวนการกลุ่มแบบมีส่วนร่วมนั้นนักเรียนจะมีความสนุกสนาน เพลิดเพลินกว่าวิธีที่กล่าวมาข้างต้น  3.  กระบวนการดำเนินงานข้าพเจ้าขอยกตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาฯ สาระภูมิศาสตร์  เรื่อง สถานการณ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติโดยเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง  ซึ่งข้าพเจ้าเลือกใช้วิธีการสอนแบบกระบวนการกลุ่มแบบมีส่วนร่วมโดยใช้กระดาษพรู้ฟเป็นสื่ออุปกรณ์  มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมดังต่อไปนี้    3.1   ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน-              ครูแจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง หรือ จุดประสงค์การเรียนรู้-              ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน  เพื่อวัดความรู้เดิม-              ให้นักเรียนดูภาพเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ  เช่น  ภาพการพังทลายของภูเขา     ภาพปัญหาจากขยะ  ภาพไฟป่า ฯลฯ  แล้วพูดคุยซักถามและให้นักเรียนแสดงความรู้สึกต่อภาพเหล่านั้น 3.2   ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้-              แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆ ละ 5-6 คน  คละตามความสามารถ  แต่ละกลุ่มเลือกประธาน  รองประธาน  และเลขานุการ-              ตัวแทนกลุ่มรับใบงาน  ใบความรู้   แบบประเมิน  วัสดุอุปกรณ์ ได้แก่  กระดาษพรู้ฟ  ปากกาเคมีหรือสีเมจิก  -              นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมตามคำชี้แจงในใบงาน   ได้แก่ กิจกรรมระดมพลังสมอง  ช่วยค้น  ช่วยคิด  ช่วยเขียนและช่วยเหลือ   ในขั้นตอนนี้  นักเรียนจะต้องเขียนลงในกระดาษพรู้ฟ   ครูจะแนะนำวิธีการสรุปความรู้ลงในกระดาษพรู้ฟให้น่าสนใจ -              นักเรียนนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน  ในขั้นตอนนี้นักเรียนทุกกลุ่มจะต้องนำสื่อจากการปฏิบัติกิจกรรมระดมพลังสมอง  ช่วยค้น  ช่วยคิด  ช่วยเขียน  ออกมาประกอบการนำเสนอหน้าชั้นเรียนด้วย    ก่อนการปฏิบัติกิจกรรมตามคำสั่งในใบงานข้าพเจ้าจะชี้แจงว่าครูจะสังเกตพฤติกรรมรายบุคคลด้านใดบ้างและในแต่ละด้านคะแนนเต็มกี่คะแนน  คะแนนรวมทั้งหมดกี่คะแนนในขณะที่นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมในขั้นตอนนี้  ข้าพเจ้าจะคอยให้คำแนะนำและโน้มน้าวให้นักเรียนเกิดความคิด  ให้กำลังใจด้วยการชื่นชมในความสามารถโดยเฉพาะนักเรียนที่เรียนอ่อนข้าพเจ้าจะคอยกระตุ้นและดูแลเป็นพิเศษเพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาตนเองทางด้านการคิด  วิเคราะห์และเขียนตามศักยภาพ   พร้อมกับคอยสังเกตพฤตกรรมของนักเรียนแต่ละคนและบันทึกผลการสังเกตให้ครอบคลุมทุกตัวชี้วัดเมื่อสิ้นสุดการจัดกิจกรรม        3.3  ขั้นสรุป -        นักเรียนแต่ละกลุ่มอภิปรายและสรุปบทเรียนโดยนำผลงาน  จากการระดมความคิด(กระดาษพรู้ฟ) ของทุกกลุ่มติดไว้บริเวณที่ทำกิจกรรม จากนั้นเปิดโอกาสให้ทุกกลุ่มแสดงความติดเห็นเพิ่มเติมได้ทุกหัวข้อ-        นักเรียนช่วยกันสรุปบทเรียนที่ได้เรียนมาในคาบนี้ 3.4  ขั้นประเมินผลในการประเมินผล  ในบทเรียนนี้ข้าพเจ้าจะประเมินผู้เรียนครบทั้ง 3 ด้าน  ได้แก่  ด้านความรู้ความเข้าใจ   ด้านทักษะกระบวนการและด้านเจตคติ    -       ด้านความรู้ความเข้าใจ   จะประเมินโดยใช้แบบทดสอบหลังเรียน  -       ด้านทักษะกระบวนการ  จะประเมินโดยการสังเกตการณ์นำเสนอหน้าชั้นเรียน  ให้นักเรียนเป็นผู้ประเมินด้วยกันเอง  -       ด้านเจตคติ  จะประเมินโดยสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล  ครูเป็นผู้ประเมิน                 บทสรุป ผลที่เกิดขึ้น             การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มแบบมีส่วนร่วม  สามารถสรุปผลที่ได้รับดังต่อไปนี้1.      นักเรียนมีความสนุกสนานในการปฏิบัติกิจกรรมระดมความคิด  มีความกระตือรือร้นในการสืบค้นหาคำตอบ2.      นักเรียนรู้จักคิดนอกกรอบหรือคิดนอกเหนือจากใบความรู้หรือตำราเรียน3.      นักเรียนมีการพัฒนาทางด้านการคิดวิเคราะห์และเขียน  เนื่องจากในช่วงการปฏิบัติกิจกรรม  ครูและเพื่อน ๆ จะคอยชี้แนะวิธีเขียน การสะกดคำและการผูกประโยคที่ถูกต้อง4.      นักเรียนที่เรียนอ่อนจะมีการพัฒนาตน เพราะมีเพื่อน ๆ ในกลุ่มคอยให้กำลังใจและกระตุ้นให้ปฏิบัติกิจกรรมร่วมกัน5.      นักเรียนที่เรียนเก่งมีโอกาสแสดงน้ำใจแบ่งปันความรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน6.      วิชาสังคมศึกษา ที่ข้าพเจ้ารับผิดชอบสอนอยู่จะมีบรรยากาศที่สนุกสนาน มีเสียงพูดคุยแสดงความคิดเห็นของนักเรียนดังเป็นระยะๆ  ไม่มีนักเรียนคนใดหลับในระหว่างเรียนอีกต่อไป เมื่อได้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มแบบให้ทุกคนมีส่วนร่วม7.      ระหว่างครูและนักเรียนและระหว่างนักเรียนด้วยกันเองจะมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีตลอดชั่วโมงเรียน  มีการช่วยเหลือกันซึ่งกันและกันด้วยความเต็มใจซึ่งแสดงถึงนักเรียนมีความสามัคคีกัน8.      นักเรียนได้มีโอกาสฝึกฝนและเรียนรู้วิถีประชาธิปไตยโดยทุกคนมีสิทธิมีเสียงเท่าเทียมกัน  มีการยอมรับเสียงส่วนใหญ่และเคารพเสียงส่วนน้อยในขณะปฏิบัติกิจกรรมร่วมกัน9.      นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ดีขึ้น  สามารถทำแบบทดสอบเชิงคิดวิเคราะห์ได้ดีขึ้น สรุปบทเรียนที่ได้            การเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนจากเน้นครูเป็นศูนย์กลางเปลี่ยนเป็นจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญนั้น  ข้าพเจ้าพบข้อสังเกตหลายประการ ดังนี้   1.      ด้านการเตรียมการสอน    -       ครูต้องขยันศึกษาค้นคว้าวิธีการสอนที่แปลกใหม่อยู่เสมอ  -       ครูต้องคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ และควรให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการคิดนวัตกรรมด้วย-       ครูควรหาเวลาพูดคุยแลกเปลี่ยนวิธีการสอนกับเพื่อนครูด้วยกัน-       ครูต้องวางแผนและเตรียมการสอนล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์  -       ครูต้องจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์  ใบความรู้  ใบงาน และแบบประเมินให้ครบ-       ควรเปลี่ยนบรรยากาศการเรียนการสอนจากในห้องเรียนเป็นนอกห้องเรียนบ้าง  เช่น  ใต้ถุนอาคารเรียน  ใต้ต้นไม้  ในศาลา  ในสนามหญ้า  ในห้องสมุด  ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ฯลฯ-       ครูต้องเตรียมวิธีการแก้ปัญหาที่อาจเกิดจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ล่วงหน้า  ไม่ว่าทางด้านสถานที่  วัสดุอุปกรณ์หรือแม้แต่กิจกรรมการเรียนรู้2.      ด้านตัวผู้เรียน-       ผู้เรียนมีความแตกต่างทางด้านทักษะการเรียนรู้  ครูจึงควรวิเคราะห์ผู้เรียนก่อนจัดการเรียนการสอน   -       ในการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้  ครูผู้สอนจะต้องมีความอดทนในการพัฒนาทักษะทางด้านการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคนและจะต้องคิดเสมอว่านักเรียนแต่ละคนล้วนมีทักษะการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน   นักเรียนบางคนมีการเรียนรู้ที่เร็วมากในขณะที่บางคนนั้นเรียนรู้ได้ช้ามาก  -       นักเรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้ดี  ถ้านักเรียนมีโอกาสคิด  วิเคราะห์  ร่วมกัน-       ครูต้องมีความเชื่อมั่นว่านักเรียนทุกคนเรียนรู้ได้  แต่วิธีการเรียนรู้ของแต่ละคนอาจต่างกัน-       ควรหาคำพูดหรือเทคนิคการชื่นชมนักเรียนให้เหมาะสมกับระดับชั้น(ม.ต้นหรือ ม.ปลาย)  และไม่ควรใช้คำพูดหรือวิธีการชมแบบเดิมๆ 3.      ด้านการประเมินผล-       ประเมินให้ครบทุกด้าน ( K P A )  และประเมินตามสภาพจริง-       ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน-       แจ้งผลการประเมินทุกครั้งเมื่อเรียนจบแต่ละหน่วย-       ให้โอกาสนักเรียนแก้ตัว-       จัดแสดงผลงานนักเรียนและมอบรางวัลหรือเกียรติบัตรสำหรับผลงานที่ดีเด่น-       เชิญผู้ปกครองมาเยี่ยมชมผลงานนักเรียน-       รับฟังข้อเสนอแนะของผู้บริหาร   ผู้ปกครอง   นักเรียนและเพื่อนครู                       ประโยชน์ที่ได้รับ            การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางแบบเน้นกระบวนกลุ่ม  มีประโยชน์หลาย ๆ ด้าน  คือ1.      ประโยชน์ต่อผู้เรียน-          ผู้เรียนมีการเรียนรู้อย่างมีความสุข-          ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาสังคมศึกษา-          ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นกว่าเดิม-          ผู้เรียนมีความสามัคคีปรองดองกัน-          ผู้เรียนกล้าแสดงออกมากขึ้น2.      ประโยชน์ต่อผู้สอน-          ผู้สอนมีความตระหนักในหน้าที่ของการเป็นครูมากขึ้น-          ผู้สอนมีกำลังใจในการศึกษาค้นคว้าแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้และคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ -          ผู้สอนมีความใกล้ชิดและมีความเข้าใจในความแตกต่างของผู้เรียนมากขึ้น3.      ประโยชน์ต่อโรงเรียน-          โรงเรียนเล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ  โดยสนับสนุนส่งเสริมให้ครูมีการพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ   สนับสนุนในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน-          ผู้ปกครองและชุมชนให้การยอมรับในการจัดการศึกษาของโรงเรียนโดยการส่งบุตรหลานเข้าศึกษาในโรงเรียนเพิ่มขึ้น

สร้างโดย: 
นายบูรฮัน เจ๊ะเด๊ะ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 589 คน กำลังออนไลน์