ทศพิธราชธรรม 10

รูปภาพของ stnrachadaporn

 

ทศพิธราชธรรม

หลัก"ทศพิธราชธรรม" หรือ กิจวัตรของพระราชา 10 ประการ ความจริงแล้วไม่ได้จำเพาะเจาะจงสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน หรือผู้ปกครอง

แผ่นดินเท่านั้น แต่บุคคลธรรมดาหรือบุคคลที่เป็นผู้บริหารระดับสูงในทุกองค์กรธุรกิจ ก็ควรพึงใช้หลักธรรมเหล่านี้ ไปใช้ในกิจวัตรประจำวัน

ของแต่ละตัวบุคคลด้วย หลักทศพิธราชธรรม ทั้ง 10 ประการ มีดังนี้

       1. ทาน (charity ; generosity ; liberality) หมายถึง การให้สิ่งของหรือวัตถุภายนอก โดยต้องมีผู้รับโดยตรง เป็นการให้ที่ไม่คิดเอากลับคืน ด้วยคิดบูชาคุณก็ดี หรือด้วยคิดจะอนุเคราะห์ก็ดี เช่นให้ข้าวปลา อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ตลอดจนให้กำลังกาย เช่น ช่วยขวนขวายกระทำในกิจการต่าง ๆ ที่เป็นบุญเป็นกุศล ให้กำลังวาจา เช่น ช่วยพูดให้กิจการดำเนินสำเร็จลุล่วงไปได้ ช่วยพูดไกล่เกลี่ยให้คู่พิพาทตกลงประนีประนอมกันได้โดยสันติวิธี ให้กำลังความคิด เช่น ช่วยคิดช่วยแนะในกิจการต่าง ๆ ให้ปัญญา เช่น ให้ความรู้เพื่อให้เขาช่วยตัวเองได้ด้วยกุศลเจตนา

     2. ศีล (high moral character ; morality) หมายถึง เจตนาที่จะรักษากายกรรมและวจีกรรม ให้ตั้งอยู่เป็นปรกติดี คือ เว้นจากการประพฤติชั่วทั้งทางกายและวาจา มีความประพฤติที่ดีงามในด้านการปกครอง ศีลยังรวมถึงการปฏิบัติตามตัวบทกฎหมาย จารีตธรรมเนียม และขนบประเพณีอันดีงามทั้งปวง ในทางพุทธศาสนาก็หมายถึง ศีล 5 เป็นอย่างต่ำ

     3. บริจาค (self sacrifice) หมายถึง การเสียสละความสำราญส่วนตัว เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและความสงบเรียบร้อยของประเทศชาติ เป็นการให้ภายในทางจิตใจ ไม่ต้องมีผู้รับก็ได้ รวมทั้งบริจาคคือสละสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์หรือมีประโยชน์น้อยกว่าแคบกว่าเพื่อสิ่งที่มีประโยชน์ยิ่งใหญ่กว่ากว้างกว่า ดังพุทธภาษิตที่ว่า "ผู้มีปัญญา พึงสละสุขพอประมาณเสียเพื่อเห็นแก่สุขอันไพบูลย์" และว่า "พึงสละทรัพย์ เพื่อรักษาอวัยวะอันประเสริฐไว้ พึงสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิตไว้ และพึงสละทรัพย์อวัยวะ และแม้กระทั่งชีวิต เพื่อรักษาธรรมะ"

      4. อาชชวะ (honesty ; integrity) หมายถึง ความซื่อตรง ความเปิดเผย คือ มีความซื่อตรงต่อตนเอง ต่อหน้าที่ และต่อประชาชน ไม่มีลับลมคมใน ไม่มีมายาสาไถย ปฏิบัติราชกิจด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ที่เรียกว่า "ใจซื่อ มือสะอาด" มีความจริงใจและจริงจังต่อประชาชน ไม่หลอกลวงประชาชน 

      5. มัททวะ(kindness and gentleness ; softness) หมายถึง ความอ่อนโยน มีอัธยาศัยละมุนละม่อม สุภาพอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่เย่อหยิ่ง กระด้างหยาบคาย ไม่ถือเนื้อถือตัว มีความสง่าอันเกิดจากท่วงทีกิริยาที่สุภาพนุ่มนวลละมุนละไม ลักษณะของความอ่อนโยนนั้น มีทั้งอ่อนยนภายนอกและอ่อนโยนภายใน ที่ว่าอ่อนโยนภายนอกนั้นคือ ความเป็นผู้กิริยามารยาทสุภาพอ่อนน้อมต่อบุคคลที่มาเกี่ยวข้องด้วย เป็นการสร้างสรรค์ความรักความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่คณะ ในสังคม และประเทศชาติ ส่วนอ่อนโยนภายใน หมายถึง ความมีจิตใจอ่อนโยน คือมีจิตใจที่ได้รับการฝึกฝนอบรมมาดีแล้วพร้อมที่จะทำหน้าที่รับใช้ประชาชนด้วยความเต็มอกเต็มใจ ความอ่อนโยนหรือความอ่อนน้อมถ่อมตนนั้นนับว่าเป็น "มงคลอันสูงสุด" ประการ 1 ในมงคล 38 ประการ ในเรื่องนี้ เล่าจื๊อ นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของจีนได้เคยสอนไว้ว่า "บางสิ่งเพิ่มขึ้นด้วยการทำให้น้อยลง บางสิ่งน้อยลงด้วยการเพิ่มขึ้น"

สร้างโดย: 
รัชดาพร

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 572 คน กำลังออนไลน์