user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('บัญชีผู้ใช้', 'user/login', '', '3.147.67.48', 0, '1d5788b8f790ee0e902d28c23623e4c3', 114, 1716652012) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

ความน่าจะเป็น

รูปภาพของ stnrojana

 

                                                                                        การทดลองสุ่มและแซมเปิลสเปซ                                           ( Random Experiment and Sample Space )                                      การทดลองสุ่ม คือ การทดลองซึ่งทราบผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นว่าจะเป็นอะไรบ้าง แต่ไม่สามารถที่จะทราบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้ถูกต้องแน่นอนว่าจะเกิดอะไรขึ้น เนื่องจากในการทดลองแต่ละครั้งอาจเกิดผลลัพธ์ หลายอย่าง เช่น                การโยนเหรียญบาท 1 เหรียญ ขึ้นไปในอากาศ แล้วตกลงพื้นอย่างอิสระ สามารถที่จะทำนายว่าจะออกหัว ( H ) หรือออกก้อย ( T) ซึ่งเป็นผลลัพธ์ได้ล่วงหน้า

การโยนลูกเต๋า 1 ลูก ให้ตกลงพื้นอย่างอิสระ ซึ่งเราทราบว่าผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น คือ 1, 2, 3, 4, 5, 6 แต่ว่าผลลัพธ์มีหลายอย่าง เราไม่สามารถทำนายได้ว่าจะออกแต้มอะไร

               แซมเปิลสเปซ ( Sample Space ) คือผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดหรือเซต    ของสมาชิก ( Elements ) ที่เป็นผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดของการทดลองสุ่มใด ๆ ซึ่งมักจะเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ S ในการทดลองสุ่มครั้งหนึ่งอาจจะมีแซมเปิลสเปซหลายอันก็ได้ขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ที่สนใจ  

ตัวอย่างที่ 1

           โยนเหรียญบาท 1 เหรียญ จำนวน 1 ครั้ง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดคือ การเกิดหัว (H) กับการเกิดก้อย (T) จะเขียนแซมเปิลสเปสได้ดังนี้                   S1 = {H,T} 

ตัวอย่างที่ 2

            ทอดลูกเต๋า 1 ลูก จำนวน 1 ครั้ง แต้มที่ปรากฏแซมเปิลสเปสคือ                     S1 = {1,2,3,4,5,6}              ถ้าสนใจผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นว่าจะเกิดแต้มคู่ แซมเปิลสเปสคือ

                      S1 = {2,4,6}  

 

              เหตุการณ์ ( Event )

คือ เซตย่อยหรือสับเซต ( Subset ) ของแซมเปิลสเปส เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ E  

ตัวอย่างที่ 1

                   ทอดลูกเต๋า 1 ลูก จำนวน 1 ครั้ง และสนใจผลลัพธ์คือแต้มที่จะเกิดขึ้นจงหา                   1.แซมเปิลสเปส (S)                  2.เหตุการณ์ที่ได้แต้มที่หารด้วย 3 ลงตัว ( E1 )                   3.เหตุการณ์ที่ได้แต้มคี่ ( E2 ) วิธีทำ 1. S = {1,2,3,4,5,6 } 2. E1 = {3,6} 3. E2 = {1,2,3} ตัวอย่างที่ 2  ในการสอบวิชาวิทยาศาสตร์ของนักศึกษากลุ่มหนึ่ง ซึ่งได้คะแนนสูงสุดเท่ากับ 50 คะแนนต่ำสุด 20 คะแนน แซมเปิลสเปส (S) คือ { 20 < X < 50} เมื่อ X เป็นค่าหนึ่ง ๆ เหตุการณ์ที่นักศึกษาได้น้อยกว่า 30             E1 = { 20 < X < 30}  เหตุการณ์ที่นักศึกษาได้คะแนนสูงกว่า 40             E2 = {40 < X < 50}

แบบฝึกหัดเรื่อง ความน่าจะเป็น

จงเติมคำตอบที่ถูกค้องลงในช่องว่าง
 ถ้านักเรียนซื้อสลากออมสินมา  1  ฉบับ
  - เป็นไปได้หรือไม่ที่จะถูกรางวัลที่หนึ่ง...................................................................
  - โอกาสที่จะถูกรางวัลที่หนึ่งมากหรือน้อย..............................................................
 ในชีวิตประจำวันอาจต้องอาศัยความรู้เรื่อง ความน่าจะเป็น เพื่อการตัดสินใจเหตุการณ์บางอย่าง
 การทดลองสุ่ม  คือการกระทำที่ทำให้ทราบผลทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นว่ามีอะไรบ้าง แต่ไม่สามารถบอกได้อย่างถูกต้องแม่นยำว่าจะเกิดผลอะไรจากผลทั้งหมดที่เป็นไปได้ เช่น การทอดลูกเต๋า 1 ลูก 1 ครั้ง เป็นการทดลองสุ่ม ผลทั้งหมดที่ได้มีอยู่.....................แบบคือ...............................
 ในการทดลองสุ่มนั้นถ้ากำหนดเงื่อนไขต่างกัน ผลของการทดลองสุ่มทั้งหมดที่ได้จะต่างกัน ถ้าเงื่อนไข ไม่คำนึงถึงอันดับ ของสิ่งที่จะเกิดขึ้น ก็เขียนผลของการทดลองสุ่มที่ได้โดย ไม่ใช้คู่อันดับ แต่ถ้าเงื่อนไข คำนึงถึงอันดับ ของสิ่งที่จะเกิดก็จะใช้คู่อันดับ ในการเขียนแสดงผลการทดลองสุ่ม เช่น
 หยิบลูกบอล 2 ลูก  จากกล่องที่มีลูกบอลสีแดง 1 ลูก  สีขาว 1 ลูก  และสีเขียว 1 ลูก โดย
       ก. หยิบทีละลูกโดยหยิบครั้งแรกแล้วไม่ใส่คืน
 ผลทั้งหมดที่ได้มี..............................แบบคือ..........................................................................
       ข. หยิบทีละลูกโดยหยิบครั้งแรกแล้วใส่คืน
 ผลทั้งหมดที่ได้มี..............................แบบคือ..........................................................................
             ................................................................................................................................................
       ค. หยิบพร้อมกันทั้งสองลูก
 ผลทั้งหมดที่ได้มี..............................แบบคือ..........................................................................
 
 การหาผลทั้งหมดที่ได้จากการทดลองสุ่มอาจใช้แผนภาพช่วย เช่น การโยนเหรียญ 1 อัน 3 ครั้ง ในแต่ละครั้ง เหรียญจะขึ้นหัวหรือก้อยเท่านั้น ถ้าให้  H  แทนหัวและ  T แทนก้อย จะใช้แผนภาพช่วยเขียนผลทั้งหมดได้ดังนี้
 ผลที่อาจจะเกิด  ผลที่อาจเกิด          ผลที่อาจเกิด  ผลทั้งหมด
          จากการโยนครั้งที่ 1        จากการโยนครั้งที่ 2      จากการโยนครั้งที่ 3                 ที่อาจเกิดขึ้น

 ดังนั้นผลทั้งหมดที่ได้จากการโยนเหรียญ 1 อัน 3 ครั้ง มี........................แบบคือ...................
.............................................................................................................................................................
แบบฝึกหัดที่ 1
เขียนผลทั้งหมดที่ได้จากการทดลองสุ่มต่อไปนี้
1. หยิบไพ่ 1 ใบจากไพ่ 1 สำรับ
 ผลทั้งหมดที่ได้มี....................แบบคือ....................................................................................
.............................................................................................................................................................
2. ทำข้อสอบซึ่งมีคำตอบจริงหรือเท็จจำนวน 2 ข้อ
 ผลทั้งหมดที่ได้มี....................แบบคือ....................................................................................
.............................................................................................................................................................
3. สำรวจเพศของบุตรในครอบครัวที่มีบุตร 3 คน
 ผลทั้งหมดที่ได้มี....................แบบคือ....................................................................................
.............................................................................................................................................................
4. จัดการแข่งขันแบบพบกันทั้งหมดรอบแรกของทีมสีเหลือง
  สีชมพู  สีม่วง  สีแสดและสีฟ้า
 ผลทั้งหมดที่ได้มี....................แบบคือ....................................................................................
.............................................................................................................................................................
5. เขียนจำนวน 2 หลัก จากเลข 0
, 2, 5, 7 , 9 โดยใช้เลขซ้ำกันได้
 ผลทั้งหมดที่ได้มี....................แบบคือ....................................................................................
.............................................................................................................................................................
6. เลือกตัวอักษร 2 ตัว โดยเลือกตัวแรกจากคำว่า
สายและเลือกอีก 1 ตัวจากคำว่า เสมอ
 ผลทั้งหมดที่ได้มี....................แบบคือ....................................................................................
.............................................................................................................................................................
7. ทอดลูกเต๋า 2 ลูกพร้อมกัน
 ผลทั้งหมดที่ได้มี....................แบบคือ....................................................................................
.............................................................................................................................................................
 เหตุการณ์ คือ ผลของการทดลองสุ่มบางอย่างที่เราสนใจ เช่น จากการทอดลูกเต๋า 2 ลูกพร้อมกัน
1. สนใจเหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มเป็น 7
      เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มเป็น 7 มี....................แบบคือ.................................................
.............................................................................................................................................................
2. สนใจเหตุการณ์ที่ได้แต้มเป็นเลขคี่ทั้งสองลูก
      เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มเป็น 7 มี....................แบบคือ.................................................
.............................................................................................................................................................
3. สนใจเหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มเป็นจำนวนที่ 3 หารลงตัว
      เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มเป็น 7 มี....................แบบคือ.................................................
.............................................................................................................................................................
4. สนใจเหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มไม่เกิน
  12
      เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มเป็น 7 มี....................แบบคือ.................................................
.............................................................................................................................................................
5. สนใจเหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มน้อยกว่า
  2
      เหตุการณ์ที่ได้ผลรวมของแต้มเป็น 7 มี....................แบบคือ.................................................
.............................................................................................................................................................
 จะเห็นว่าเหตุการณ์โดยทั่วไปเป็นบางส่วนของผลทั้งหมดที่ได้จากการทดลองสุ่ม แต่เหตุการณ์ในข้อ 4 เป็นผลที่ได้ทั้งหมดจากการทดลองสุ่ม เรียกเหตุการณ์ชนิดนี้ว่า  เหตุการณ์ที่แน่นอน และเรียกเหตุการณ์ในข้อ 5 ซึ่งไม่อาจเกิดขึ้นได้จากการทดลองสุ่มดังกล่าวว่า เหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้
แบบฝึกหัดที่ 2
1. จากการทดลองสุ่มหยิบไพ่ 1 ใบ จากไพ่ 1 สำรับ
 ก. เหตุการณ์ที่หยิบได้  K โพแดงมี.....................แบบคือ
                  ...........................................................................................................................................
 ข. เหตุการณ์ที่หยิบได้ข้าวหลามตัดมี....................แบบคือ
                  ...........................................................................................................................................
 ค. เหตุการณ์ที่หยิบได้  7 มี...........................แบบคือ
                  ...........................................................................................................................................
 ง. เหตุการณ์ที่หยิบได้ไพ่สีดำมี.......................แบบคือ
                  ...........................................................................................................................................
 จ. เหตุการณ์ที่หยิบได้ A โพแดงและ A โพดำมี.......................แบบคือ
                  ...........................................................................................................................................
2. จากการทดลองสุ่มในการสำรวจเพศของบุตรในครอบครัวที่มีบุตร 3 คน
 ก. เหตุการณ์ที่ได้บุตรชายอย่างน้อย 2 คนมี............................แบบคือ
                  ...........................................................................................................................................
 ข. เหตุการณ์ที่ได้บุตรคนแรกเป็นหญิงมี..........................แบบคือ
                  ...........................................................................................................................................
 ค. เหตุการณ์ที่ได้บุตรเป็นเพศเดียวกันทั้งหมดมี.........................แบบคือ
                  ...........................................................................................................................................
3. จากการทดลองสุ่มในการเขียนจำนวน 2 หลัก จากเลข 0
, 2 , 5 , 7 , 9 โดยใช้เลขซ้ำกันได้
 ก. เหตุการณ์ที่ได้จำนวนซึ่ง 2 หารได้ลงตัวมี........................แบบคือ
                  ...........................................................................................................................................
 ข. เหตุการณ์ที่ได้จำนวนเป็นเลขคี่ทั้งสองหลักมี 9 แบบคือ
                  ...........................................................................................................................................
 ค. เหตุการณ์ที่ได้จำนวนซึ่งมีผลรวมของเลขหลักทั้งสอง ไม่เกิน 5 ปีมี....................แบบคือ
                  ...........................................................................................................................................
4. จากการทดลองสุ่มในการเลือกตัวอักษร 2 ตัว โดยเลือกตัวแรกจากคำว่า
สายและเลือกอีก 1 ตัวจากคำว่า เสมอ
 ก. เหตุการณ์ที่ได้พยัญชนะทั้ง 2 ตัวมี........................แบบคือ................................................
                  ...........................................................................................................................................
 ข. เหตุการณ์ที่ได้พยัญชนะตัวเดียวกันมี....................แบบคือ................................................
                  ...........................................................................................................................................
 ค. เหตุการณ์ที่ได้สระทั้ง 2 ตัวมี........................แบบคือ.........................................................
                  ...........................................................................................................................................
 ความน่าจะเป็นหรือโอกาส คือ จำนวนที่บอกให้ทราบว่าเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งจะเกิดขึ้นมากหรือน้อยเพียงใด เช่น  การทอดลูกเต๋า 2 ลูกพร้อมกันนั้น  โอกาสที่จะได้ผลรวมของแต้มเป็น 7 มีอยู่......................แบบจากผลทั้งหมด.....................................แบบ
 ดังนั้น ความน่าจะเป็นของการได้ผลรวมของแต้มเป็นเป็น  7  เท่ากับ...................................
 - ความน่าจะเป็นของการที่ได้แต้มเป็นเลขคี่ทั้งสองลูก  เท่ากับ.............................................
    ............................................................................................................................................
 - โอกาสที่จะได้ผลรวมของแต้มเป็นจำนวนที่ 3 หารลงตัว เท่ากับ.........................................
                  ...........................................................................................................................................
 - ความน่าจะเป็นของการได้ผลรวมของแต้มไม่เกิน  12   เท่ากับ...........................................
                  ...........................................................................................................................................
 - โอกาสที่จะได้ผลรวมของแต้มน้อยกว่า  2  เท่ากับ..............................................................
                  ...........................................................................................................................................
** ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ใด ๆ เท่ากับ จำนวนผลที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์นั้นๆ หารด้วย จำนวนผลทั้งหมดที่ได้จากการทดลองสุ่ม ทั้งนี้ผลที่จะเกิดแต่ละตัวต้องมีโอกาสเกิดเท่าๆกัน
 จะเห็นว่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่แน่นอนมีค่าเป็น........................และความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้มีค่าเป็น............................
** ดังนั้นความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ใดๆมีค่าตั้งแต่...........................ถึง..........................**
แบบฝึกหัดที่ 3
1.
  จากแบบฝึกหัดที่ 2 ข้อ 1 จงหา
 ก. โอกาสที่จะหยิบได้ K โพแดง   =........................................................
 ข. ความน่าจะเป็นที่หยิบได้ข้าวหลามตัด  =........................................................
 ค. ความน่าจะเป็นที่หยิบได้  7   =........................................................
 ง. โอกาสที่จะหยิบได้ไพ่สีดำ   =........................................................
 จ. ความน่าจะเป็นที่หยิบได้ A โพแดงและ A โพดำ   =....................................................
2. จากแบบฝึกหัดที่ 2 ข้อ 2
  จงหา
 ก. โอกาสที่จะได้บุตรเป็นชายอย่างน้อย 2 คน  ................................................
 ข. ความน่าจะเป็นที่ได้บุตรคนแรกเป็นหญิง  ................................................
 ค. โอกาสที่จะได้บุตรเป็นเพศเดียวกันทั้งหมด  ................................................
3. จากแบบฝึกหัดที่ 2 ข้อ 3
 ก. ความน่าจะเป็นที่ได้จำนวนซึ่ง 2 หารลงตัว  ................................................
 ข. โอกาสที่จะได้จำนวนเป็นเลขคี่ทั้งสองหลัก  ................................................
 ค. โอกาสที่ได้จำนวนซึ่งมีผลรวมของเลขหลักทั้งสองไม่เกิน 5 ..................................
4. จากแบบฝึกหัดที่ 2 ข้อ 4
 ก. ความน่าจะเป็นที่ได้พยัญชนะทั้ง 2 ตัว    ................................................
 ข. โอกาสที่จะได้พยัญชนะตัวเดียวกัน   ................................................
 ค. โอกาสที่ได้สระทั้ง 2 ตัว    ................................................
 ในการโยนเหรียญ 2 อันพร้อมกัน นักเรียนคนหนึ่งตอบว่า ผลทั้งหมดที่จะเกิดมี 3 แบบคือ หัว , ก้อย ,กลาง และโอกาสที่จะเกิดกลางคือ    ส่วนนักเรียนอีกคนหนึ่งตอบว่าผลทั้งหมดที่จะเกิดมี 4 แบบคือ (H , H) , (H , T) , (T , H) , (T , T) และโอกาสที่จะเกิดกลางคือ  
              - นักเรียนคนแรกหรือคนหลังที่หาค่าความน่าจะเป็นได้ถูกต้อง...........................................
 - เพราะเหตุใด.......................................................................................................................
แบบฝึกหัดที่ 4
1. ใส่ลูกเต๋า 1 ลูกลงในถ้วยแก้ว เขย่าแล้วเทออก จงหา
 ก. โอกาสที่จะได้แต้มเป็น 6 .........................................................................................
 ข. โอกาสที่จะได้แต้มเป็นจำนวนคี่  .............................................................
 ค. โอกาสที่จะได้แต้มเป็นจำนวนที่ไม่น้อยกว่า  3      ........................................................
 ง. โอกาสที่จะได้แต้มเป็นจำนวนเฉพาะที่เป็นจำนวนคู่.........................................................
 จ. โอกาสที่จะได้แต้มเป็นจำนวนที่ไม่ใช่ 4  .............................................................
 ฉ. โอกาสที่จะได้แต้มเป็นจำนวนไม่มากกว่า 2 .............................................................
2. ถุงใบหนึ่งมีลูกกวาดสีแดง 5 เม็ด สีเหลือง 2 เม็ด หยิบขึ้นมารับประทาน 1 เม็ดโดยไม่ดู จงหา
 ก. ความน่าจะเป็นที่จะหยิบได้ลูกกวาดสีเหลือง .............................................................
 ข. ความน่าจะเป็นที่จะหยิบได้ลูกกวาดสีแสด .............................................................
 ค. ความน่าจะเป็นที่จะหยิบได้ลูกกวาดที่ไม่ใช่สีเหลือง ...............................................
3. ทำสลาก
  10  ใบ เขียนเลข 1 ถึง 10 แล้วม้วนใส่ไว้ในกล่อง หยิบสลาก 1 ใบขึ้นมาโดยไม่ดู จงหา
 ก. โอกาสที่จะหยิบได้สลากเป็นเลขน้อยกว่า 8 ............................................................
 ข. โอกาสที่จะหยิบได้สลากเป็นจำนวนคู่  .............................................................
 ค. โอกาสที่จะหยิบได้สลากเป็นจำนวนคี่เฉพาะ .............................................................
 จ. โอกาสที่จะหยิบได้สลากเป็นจำนวนที่มากกว่า 6 .............................................................
4. จากการโยนเหรียญ 1 อันและลูกเต๋า 1 ลูกพร้อมกัน จงหา
 ก. ผลทั้งหมด..........................................................................................................................
 ข. โอกาสที่เหรียญออกก้อยและลูกเต๋าขึ้นแต้มคี่....................................................................
 ค. ความน่าจะเป็นที่เหรียญจะออกหัวและลูกเต๋าขึ้นแต้มมากกว่า 4 ......................................
5. ปัญญามีกางเกง 3 ตัวสีเขียว
, เทา , ดำ และเสื้อ 2 ตัวสีเทา , ฟ้า จงหา
 ก. ผลทั้งหมดที่เขาจะเลือกแต่งตัว  ...........................................................................
 ข. โอกาสที่เขาจะใส่กางเกงและเสื้อสีต่างกัน     ....................................................................
 ค. โอกาสที่เขาจะใส่เสื้อผ้าสีฟ้า  ...........................................................................
 ง. โอกาสที่เขาจะใส่กางเกงสีดำ  ...........................................................................
 จ. โอกาสที่เขาจะใส่กางเกงและเสื้อสีเดียวกัน    ...................................................................
6. ก
, ข และ ค ยืนถ่ายรูปเรียงแถวหน้ากระดานทั้ง 3 คน  จงหา
 ก. ผลทั้งหมด  ......................................................................................................
 ข. ความน่าจะเป็นที่ ก จะยืนหัวแถว หรือท้ายแถว    ............................................................
 ค. โอกาสที่ ก และ ค ยืนติดกัน   .............................................................
7. ในการจำหน่ายตั๋วชิงรางวัล 100 ใบ ควรจะซื้อตั๋วกี่ใบ
 ก. เพื่อให้โอกาสที่จะถูกรางวัลเป็น    จะต้องซื้อตั๋ว...................................................ใบ
             ข. เพื่อให้ความน่าจะเป็นที่จะถูกรางวัลมีค่า 10% จะต้องซื้อตั๋ว........................................ใบ
             ค. เพื่อให้โอกาสที่จะถูกรางวัลเป็น 0.25    จะต้องซื้อตั๋ว...................................................ใบ
             ง. เพื่อให้ความน่าจะเป็นที่จะถูกรางวัลมีค่า         จะต้องซื้อตั๋ว........................................ใบ
             จ. เพื่อให้โอกาสที่จะถูกรางวัลเป็น 0          จะต้องซื้อตั๋ว...................................................ใบ
         ฉ. เพื่อให้ความน่าจะเป็นที่จะถูกรางวัลมีค่า 100% จะต้องซื้อตั๋ว.......................................ใบ

8. กล่องใบหนึ่งบรรจุลูกบอลสีแดง 12 ลูกและลูกบอลสีเหลืองจำนวนหนึ่ง ถ้าความน่าจะเป็นที่จะหยิบลูกบอลลูกหนึ่ง เป็นสีเหลืองเท่ากับ    จงหาจำนวนลูกบอลสีเหลืองในกล่องนี้
....................................................................... ............................................................................................................................................

............................................................................................................................................................................................... ....................

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 244 คน กำลังออนไลน์