พรรณไม้ในวรรณคดีไทย

รูปภาพของ uns30157

ไม้ในวรรณคดีไทย 

           พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้นิยามคำว่า วรรณคดี ว่าหมายถึงเรื่องหรือหนังสือที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดี และคณาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้คำอธิบายเพิ่มเติมไว้ในหนังสือวรรณคดีทัศนา พ.ศ. ๒๕๓๘ ว่า วรรณคดีเป็นศิลปะประเภทหนึ่งซึ่งเกิดจากจินตนาการของผู้แต่งที่มุ่งจะให้ความรู้ ความบันเทิง ประสบการณ์ และแง่คิดต่างๆ โดยใช้ภาษาเป็นสื่อ ดังนั้น วรรณคดีไทยจึงหมายถึง หนังสือของไทยที่ได้รับการยกย่องว่า แต่งขึ้นด้วยความประณีต ด้วยศิลปะของการประพันธ์ มีเนื้อเรื่องและลีลาการดำเนินเรื่องที่โน้มน้าวให้ผู้อ่านคล้อยตามได้ อาจเรียกว่า วรรณคดีประจำชาติไทยก็ได้
           วรรณคดีส่วนใหญ่มีรูปแบบคำประพันธ์ ๒ รูปแบบ คือ ร้อยกรอง และร้อยแก้ววรรณคดีแบบร้อยกรองจะเน้นการเลือกสรรถ้อยคำมาเรียบเรียงให้สัมผัสคล้องจอง มีรูปแบบที่ชัดเจน และแตกต่างกันไป เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ซึ่งผู้แต่งสามารถแสดงความรู้สึกจินตนาการ และอารมณ์ได้อย่างลึกซึ้ง จดจำง่ายและถ่ายทอดสืบต่อกันมาได้ง่ายแบบปากต่อปากเพราะภาษาพูดมีขึ้นก่อนภาษาเขียน และบทร้อยกรองยังมีท่วงทำนองที่ช่วยให้จดจำง่ายยิ่งขึ้นด้วย ส่วนวรรณคดีแบบร้อยแก้วนั้นเป็นคำประพันธ์ที่นำถ้อยคำมาเรียบเรียงเป็นเรื่องราวไม่มีสัมผัสคล้องจอง และท่วงทำนองต่างๆ ถึงแม้ว่าจะเลือกสรรถ้อยคำให้สื่อความหมายได้ดีและไพเราะเพียงใด การจดจำและถ่ายทอดก็ยังยากกว่าร้อยกรองมาก
          

สร้างโดย: 
กัญญาภัค ใหม่ตาจักร์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 331 คน กำลังออนไลน์