ลักษณะและรูปร่างของเซลล์สิ่งมีชีวิต

รูปภาพของ trmjiraporn
ลักษณะและรูปร่างของเซลล์สิ่งมีชีวิต
 สิ่งมีชีวิตต่างประกอบด้วยเซลล์ ภายในเซลล์จะมีกระบวนการต่าง ๆที่ทำให้เซลล์สิ่งมีชีวิตอยู่ได้ และในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะมีโครงสร้างบางอย่างที่เหมือนและแตกต่างกัน
 สิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์เพียงเซลล์เดียว เรียกว่า สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น อะมีบา พารามีเซียม สิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
 ส่วนสิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์หลายเซลล์มารวมกันเป็นรูปร่าง โดยแต่ละเซลล์จะมีรูปร่างและหน้าที่แตกต่างกัน เรียกสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ว่า สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เช่น คน ช้าง ม้า วัว เซลล์ที่ประกอบกันเป็นรูปร่างจะมีหน้าที่เฉพาะและมีขนาดเล็กมาก มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ได้แก่ เซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์ประสาท เซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์คุมในพืช
โครงสร้างและส่วนประกอบของเซลล์พืช
 1.  ผนังเซลล์ (Cell Wall) เป็นส่วนที่นอกสุด ประกอบด้วยส่วนที่ไร้ชีวิตของเซลล์ ได้แก่ เซลลูโลส ลิกนิน แพคติน คิวติน ส่วนที่กล่าวถึงนี้สร้างให้ผนังเซลล์มีความเหนียวและความแข็งแรง ช่วยป้องกันอันตรายให้แก่เนื้อเยื่อของเซลล์
 2.  เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane)  เป็นเยื่อบาง ๆ ทำหน้าที่ห่อหุ้มเซลล์และควบคุมการผ่านเข้าออกของสารบางอย่าง เช่น น้ำ อาหาร อากาศ และสารละลายต่าง ๆ
 3.  ไซโทพลาซึม (Cytoplasm)  เป็นของเหลวที่มีสิ่งต่าง ๆ ปนอยู่ เช่น ส่วนประกอบอื่นๆ ของเซลล์  อาหาร ซึ่งได้แก่ น้ำตาล ไขมัน โปรตีน และของเสีย
 4.  นิวเคลียส (Nucleus)  มีลักษณะก้อนค่อนข้างกลมอยู่ในไซโทพลาซึม นิวเคลียส
มีส่วนประกอบสำคัญ 2 อย่าง คือ
4.1  นิวคลีโอลัส (Nucleolus)  เป็นหน่วยเล็ก ๆ มีรูปร่างกลมอยู่ภายในนิวเคลียส ไม่มี
เยื่อหุ้ม ประกอบด้วยสารพันธุกรรม
4.2  โครมาติน (Chromatin)  มีลักษณะเป็นเส้นใยเล็ก ๆ พันกันเป็นร่างแห เรียกว่า
โครโมโซม (Chromosome) ประกอบด้วย DNA หรือยีน (Gene) และโปรตีนอีกหลายชนิด บนยีนจะมีรหัสพันธุกรรม อยู่รหัสนี้ทำหน้าที่ควบคุมการสร้างโปรตีน สำหรับจะเป็นตัวควบคุมการแสดงออกของลักษณะต่าง ๆ เช่น สีของดอก ลักษณะของใบ
 5.  คลอโรพลาสต์ (Chloroplast) พบเฉพาะในเซลล์ที่มีสีเขียวและเซลล์โปรตีสต์บางชนิด เช่น สาหร่ายภายในคลอโลพลาสต์มีโมเลกุลของสารสีเขียว เรียกว่า คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll)
 6.  แวคิวโอล (Vacuole) มีลักษณะคล้ายถุงใส ๆ ภายในมีน้ำและสารอื่น ๆ เช่น
 ก๊าซออกซิเจน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำตาล
ส่วนประกอบและหน้าที่ของเซลล์สัตว์
1. เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane) เป็นส่วนนอกสุดของเซลล์ ประกอบด้วยโปรตีนและ
ไขมัน
 2.  นิวเคลียส (Nucleus)  มีลักษณะค่อนข้างกลมอยู่บริเวณกลางเซลล์  เป็นศูนย์กลางควบคุมกิจกรรมภายในเซลล์ ในนิวเคลียสบรรจุด้วยสารควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม
 3.  ไซโทพลาซึม (Cytoplasm) เป็นส่วนที่อยู่ระหว่างเยื่อหุ้มเซลล์กับนิวเคลียส ประกอบด้วยไรโบโซม(Ribosome) กอลจิบอดี (Golgi Body)ไมโทคอนเดรีย(Mitochondria) และแวคิวโอล (Vacuole)          
ตารางแสดงการเปรียบเทียบส่วนประกอบของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์
สร้างโดย: 
จิราภรณ์ ภาณุพินทุ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 499 คน กำลังออนไลน์