• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:b7389d52858be61a8f81487af738a029' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p>\n          ครีมกันแดดที่ดี ควรจะต้องประกอบไปด้วยสารกรองรังสียูวีเอและสารกรองรังสียูวีบี เพราะในบรรยากาศจะประกอบไปด้วยรังสีทั้งสองชนิดจากดวงอาทิตย์ ที่ตกกระทบถึงพื้นโลก รังสียูวีเอจะมีความรุนแรงต่อผิวหนังและสามารถผ่านทะลุเข้าสู่ผิวหนังชั้นที่อยู่ลึกลงไปได้ ทำให้ผิวหนังปรากฏเป็นริ้วรอยเหี่ยวย่น รอยตีนกา ทำให้ผิวหนังเสื่อมและแก่เร็วกว่าวัย\n</p>\n<p>\n          ส่วนรังสียูวีบีนั้นจะทำให้สีผิวดำคล้ำ ไหม้และอักเสบจากการตากแดดเป็นเวลานานหรือที่เรียกกันว่า &quot;แดดเผา&quot; นั่นเอง รังสีทั้งสองชนิดสามารถทำให้เซลล์ผิวหนังตายโดยการทำลาย &quot;ดีเอ็นเอ&quot; ของเซลล์ผิว และอาจก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ ถ้าผิวหนังได้รับรังสีทั้งสองชนิดมากเกินไป\n</p>\n<p>\nวิธีการเลือกซื้อครีมกันแดด\n</p>\n<p>\n         1. ครีมกันแดดที่มีขายส่วนใหญ่ในท้องตลาดมักจะมีองค์ประกอบหลักคือสารกรองรังสียูวีบี เพื่อป้องกันสีผิวมิให้ดำคล้ำหรือแดดเผา แต่โดยความเป็นจริงแล้วการทาครีมกันแดดสามารถปกป้องไม่ให้ผิวหนังเกิดอาการอักเสบจากแดดเผาได้เท่านั้น แต่ไม่สามารถป้องกันผิวหนังจากการเปลี่ยนสีได้ เนื่องจากเซลล์สร้างเม็ดสีคือ เมลานินจะทำหน้าที่สร้างเม็ดสีให้เพิ่มมากขึ้นเพื่อเป็นการโต้ตอบรังสี และเป็นวิธีการปกป้องผิวหนังจากการถูกทำลายโดยรังสีดวงอาทิตย์\n</p>\n<p>\n          หากเราทาครีมกันแดดที่มีสารกรองรังสียูวีบีเพียงชนิดเดียว จะเป็นการเปิดช่องให้รังสียูวีเอ ทะลุเข้าสู่ผิวหนังมากขึ้น ดังนั้นจึงควรพิจารณาเลือกซื้อชนิดที่มีสารกรองรังสีทั้งเอและบีเป็นองค์ประกอบ สารบางชนิดมีประสิทธิภาพทั้งกรองรังสียูวีเอและยูวีเอ เช่น ไทเทเนี่ยมไดออกไซด์ (Titanium dioxide micronized) ซิงค์ออกไซด์ (Zinc oxide micronized) ออกซีเบนโซน (Oxybenzone)\n</p>\n<p>\n          สารกรองรังสียูวีเอ เช่น อโวเบนโซน (Avobenzone)\n</p>\n<p>\n          สารกรองรังสียูวีบี เช่น ออกทิวไดเมททิว พาบา (Octyl dimethyl PABA) ออกทิว เมททอกซีซินนาเมท (Octyl methoxycinnamate) ฯลฯ\n</p>\n<p>\n          2. ควรเลือกซื้อชนิดที่สามารถกันน้ำได้หรือที่ระบุบนฉลากว่า ‘Water proof or water resistant’ เนื่องจากประเทศไทยมีภูมิอากาศที่ร้อนชื้น เหงื่อออกง่าย เมื่อทาครีมกันแดดแล้ว อาจถูกเหงื่อชะออกไป ทำให้ประสิทธิภาพลดลงหรือไม่ได้ผลในการกันแดดตามระยะเวลาที่ต้องการ\n</p>\n<p>\n          3. ควรเลือกซื้อค่ากันแดดหรือค่า’เอสพีเอฟ SPF’ ตามความเหมาะสมของการใช้งาน เช่น หากต้องการทาผิวหน้าเพื่อทำงานในออฟฟิส ควรเลือกซื้อค่าที่ต่ำๆ เช่น SPF 2, 4 , 6 ,8 แต่ถ้าต้องทำงานนอกสถานที่ ต้องเดินตากแดด หรือต้องการไปทะเลหรือภูเขาที่ต้องได้รับแสงแดดจัด ควรเลือกซื้อค่าเอสพีเอฟที่สูงๆ เช่น SPF 30 หรือมากกว่า\n</p>\n<p>\n<br />\nวิธีการทาครีมกันแดดให้ได้ผล<br />\n          ปัญหาของครีมกันแดดที่ทาแล้วไม่ได้ผล ไม่สามารถป้องกันผิวตามระยะเวลาที่ระบุไว้บนฉลาก เช่น SPF 10 ควรจะสามารถปกป้องผิวหนังจากแดดเผาได้นานเป็นระยะเวลา 10 เท่าเมื่อเทียบกับผิวหนังที่โดนแดดโดยไม่ได้ทาครีมกันแดด ซึ่งโดยทั่วไป ผิวคนไทยถ้าไม่ได้ทาครีมกันแดดเลยและไปยืนตากแดด จะเริ่มเห็นผิวหนังมีสีแดงภายในระยะเวลาเพียง 10-15 นาที ดังนั้นหากทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 10 ควรจะป้องกันผิวหนังจากแดดได้นานถึง 100-150 นาที แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ได้ผลเช่นนั้น เพราะมีหลายปัจจัย ที่สำคัญคือ\n</p>\n<p>\n           1. วิธีทาครีมกันแดดที่ถูกต้องและได้ผล ต้องทาครีมหนาเพื่อปกปิดผิวหนังทุกรูขุมขน ซึ่งเป็นวิธีการที่ผ่านการทดสอบในห้องทดลองจากนักวิทยาศาสตร์ แต่โดยทั่วไปผู้บริโภคมักจะนิยมทาเพียงเบาบาง ทำให้รังสีดวงอาทิตย์สามารถกระทบและทะลุเข้าสู่ผิวหนังได้บางส่วน นักวิชาการจึงแนะนำว่าหากต้องการทาแล้วได้ผลควรทาบ่อยๆ ทุก 1-2 ชั่วโมง\n</p>\n<p>\n           2. ภายหลังจากการทาครีมกันแดด สภาวะความเป็นจริงคือ ผู้บริโภคมักจะมีกิจกรรมต่างๆ เช่น ออกกำลังกายด้วยการตีกอล์ฟ ว่ายน้ำ วิ่ง เดิน หรืออื่นๆ ทำให้เหงื่อออกทางผิวหนังและแน่นอนครีมกันแดดจะถูกชะออกโดยง่าย ทำให้ประสิทธิภาพของครีมกันแดดลดลงหรือหมดไปในบางกรณี\n</p>\n<p>\n           3. สารกรองรังสียูวีที่เป็นองค์ประกอบในครีมกันแดดหลายชนิดไม่คงตัว สลายตัวเมื่อโดนความร้อน ทำให้ครีมกันแดดเสื่อมประสิทธิภาพไป สินค้าบางตัวอาจเสื่อมไปตั้งแต่ยังไม่ทันได้ใช้ก็มี ในกรณีที่ผู้ขายเก็บไว้ในร้านค้าที่ร้อนหรือผู้บริโภคเองซื้อไปเก็บไว้ในที่ร้อน ทำให้สารกันแดดเสื่อมประสิทธิภาพก่อนเปิดใช้ ดังนั้นจึงควรเลือกซื้อจากร้านค้าที่น่าเชื่อถือซึ่งสินค้าจะถูกเก็บรักษาในสถานที่ปรับอากาศ และพิจารณาฉลากถึงวันเดือนปีที่ผลิตว่าเก่าเก็บหรือไม่ เพราะนอกจากครีมกันแดดจะหมดประสิทธิภาพแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดพิษระคายเคืองต่อผิวหนังได้อีกด้วยกรณีที่ทาครีมกันแดดหมดอายุ\n</p>\n', created = 1715635995, expire = 1715722395, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:b7389d52858be61a8f81487af738a029' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

ครีมกันแดด ทำไมจึงกันแดดไม่ได้ผล?

รูปภาพของ wantida

          ครีมกันแดดที่ดี ควรจะต้องประกอบไปด้วยสารกรองรังสียูวีเอและสารกรองรังสียูวีบี เพราะในบรรยากาศจะประกอบไปด้วยรังสีทั้งสองชนิดจากดวงอาทิตย์ ที่ตกกระทบถึงพื้นโลก รังสียูวีเอจะมีความรุนแรงต่อผิวหนังและสามารถผ่านทะลุเข้าสู่ผิวหนังชั้นที่อยู่ลึกลงไปได้ ทำให้ผิวหนังปรากฏเป็นริ้วรอยเหี่ยวย่น รอยตีนกา ทำให้ผิวหนังเสื่อมและแก่เร็วกว่าวัย

          ส่วนรังสียูวีบีนั้นจะทำให้สีผิวดำคล้ำ ไหม้และอักเสบจากการตากแดดเป็นเวลานานหรือที่เรียกกันว่า "แดดเผา" นั่นเอง รังสีทั้งสองชนิดสามารถทำให้เซลล์ผิวหนังตายโดยการทำลาย "ดีเอ็นเอ" ของเซลล์ผิว และอาจก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ ถ้าผิวหนังได้รับรังสีทั้งสองชนิดมากเกินไป

วิธีการเลือกซื้อครีมกันแดด

         1. ครีมกันแดดที่มีขายส่วนใหญ่ในท้องตลาดมักจะมีองค์ประกอบหลักคือสารกรองรังสียูวีบี เพื่อป้องกันสีผิวมิให้ดำคล้ำหรือแดดเผา แต่โดยความเป็นจริงแล้วการทาครีมกันแดดสามารถปกป้องไม่ให้ผิวหนังเกิดอาการอักเสบจากแดดเผาได้เท่านั้น แต่ไม่สามารถป้องกันผิวหนังจากการเปลี่ยนสีได้ เนื่องจากเซลล์สร้างเม็ดสีคือ เมลานินจะทำหน้าที่สร้างเม็ดสีให้เพิ่มมากขึ้นเพื่อเป็นการโต้ตอบรังสี และเป็นวิธีการปกป้องผิวหนังจากการถูกทำลายโดยรังสีดวงอาทิตย์

          หากเราทาครีมกันแดดที่มีสารกรองรังสียูวีบีเพียงชนิดเดียว จะเป็นการเปิดช่องให้รังสียูวีเอ ทะลุเข้าสู่ผิวหนังมากขึ้น ดังนั้นจึงควรพิจารณาเลือกซื้อชนิดที่มีสารกรองรังสีทั้งเอและบีเป็นองค์ประกอบ สารบางชนิดมีประสิทธิภาพทั้งกรองรังสียูวีเอและยูวีเอ เช่น ไทเทเนี่ยมไดออกไซด์ (Titanium dioxide micronized) ซิงค์ออกไซด์ (Zinc oxide micronized) ออกซีเบนโซน (Oxybenzone)

          สารกรองรังสียูวีเอ เช่น อโวเบนโซน (Avobenzone)

          สารกรองรังสียูวีบี เช่น ออกทิวไดเมททิว พาบา (Octyl dimethyl PABA) ออกทิว เมททอกซีซินนาเมท (Octyl methoxycinnamate) ฯลฯ

          2. ควรเลือกซื้อชนิดที่สามารถกันน้ำได้หรือที่ระบุบนฉลากว่า ‘Water proof or water resistant’ เนื่องจากประเทศไทยมีภูมิอากาศที่ร้อนชื้น เหงื่อออกง่าย เมื่อทาครีมกันแดดแล้ว อาจถูกเหงื่อชะออกไป ทำให้ประสิทธิภาพลดลงหรือไม่ได้ผลในการกันแดดตามระยะเวลาที่ต้องการ

          3. ควรเลือกซื้อค่ากันแดดหรือค่า’เอสพีเอฟ SPF’ ตามความเหมาะสมของการใช้งาน เช่น หากต้องการทาผิวหน้าเพื่อทำงานในออฟฟิส ควรเลือกซื้อค่าที่ต่ำๆ เช่น SPF 2, 4 , 6 ,8 แต่ถ้าต้องทำงานนอกสถานที่ ต้องเดินตากแดด หรือต้องการไปทะเลหรือภูเขาที่ต้องได้รับแสงแดดจัด ควรเลือกซื้อค่าเอสพีเอฟที่สูงๆ เช่น SPF 30 หรือมากกว่า


วิธีการทาครีมกันแดดให้ได้ผล
          ปัญหาของครีมกันแดดที่ทาแล้วไม่ได้ผล ไม่สามารถป้องกันผิวตามระยะเวลาที่ระบุไว้บนฉลาก เช่น SPF 10 ควรจะสามารถปกป้องผิวหนังจากแดดเผาได้นานเป็นระยะเวลา 10 เท่าเมื่อเทียบกับผิวหนังที่โดนแดดโดยไม่ได้ทาครีมกันแดด ซึ่งโดยทั่วไป ผิวคนไทยถ้าไม่ได้ทาครีมกันแดดเลยและไปยืนตากแดด จะเริ่มเห็นผิวหนังมีสีแดงภายในระยะเวลาเพียง 10-15 นาที ดังนั้นหากทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 10 ควรจะป้องกันผิวหนังจากแดดได้นานถึง 100-150 นาที แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ได้ผลเช่นนั้น เพราะมีหลายปัจจัย ที่สำคัญคือ

           1. วิธีทาครีมกันแดดที่ถูกต้องและได้ผล ต้องทาครีมหนาเพื่อปกปิดผิวหนังทุกรูขุมขน ซึ่งเป็นวิธีการที่ผ่านการทดสอบในห้องทดลองจากนักวิทยาศาสตร์ แต่โดยทั่วไปผู้บริโภคมักจะนิยมทาเพียงเบาบาง ทำให้รังสีดวงอาทิตย์สามารถกระทบและทะลุเข้าสู่ผิวหนังได้บางส่วน นักวิชาการจึงแนะนำว่าหากต้องการทาแล้วได้ผลควรทาบ่อยๆ ทุก 1-2 ชั่วโมง

           2. ภายหลังจากการทาครีมกันแดด สภาวะความเป็นจริงคือ ผู้บริโภคมักจะมีกิจกรรมต่างๆ เช่น ออกกำลังกายด้วยการตีกอล์ฟ ว่ายน้ำ วิ่ง เดิน หรืออื่นๆ ทำให้เหงื่อออกทางผิวหนังและแน่นอนครีมกันแดดจะถูกชะออกโดยง่าย ทำให้ประสิทธิภาพของครีมกันแดดลดลงหรือหมดไปในบางกรณี

           3. สารกรองรังสียูวีที่เป็นองค์ประกอบในครีมกันแดดหลายชนิดไม่คงตัว สลายตัวเมื่อโดนความร้อน ทำให้ครีมกันแดดเสื่อมประสิทธิภาพไป สินค้าบางตัวอาจเสื่อมไปตั้งแต่ยังไม่ทันได้ใช้ก็มี ในกรณีที่ผู้ขายเก็บไว้ในร้านค้าที่ร้อนหรือผู้บริโภคเองซื้อไปเก็บไว้ในที่ร้อน ทำให้สารกันแดดเสื่อมประสิทธิภาพก่อนเปิดใช้ ดังนั้นจึงควรเลือกซื้อจากร้านค้าที่น่าเชื่อถือซึ่งสินค้าจะถูกเก็บรักษาในสถานที่ปรับอากาศ และพิจารณาฉลากถึงวันเดือนปีที่ผลิตว่าเก่าเก็บหรือไม่ เพราะนอกจากครีมกันแดดจะหมดประสิทธิภาพแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดพิษระคายเคืองต่อผิวหนังได้อีกด้วยกรณีที่ทาครีมกันแดดหมดอายุ

สร้างโดย: 
wantida

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 323 คน กำลังออนไลน์