ภูมิปัญญาไทยกับความเชื่อทางด้านศาสนา

รายงาน

 

วิชา ประวัติศาสตร์

 

เรื่อง ภูมิปัญญาไทยทางด้านความเชื่อทางศาสนา

                                      

เสนอ

                                                                

อาจารย์ วัชรี กมลเสรีรัตน์

 

จัดทำโดย

                            นางสาว  วรัณญา    เวสูงเนิน  ม.4/3 เลขที่21

                                               นางสาว  ออดลา    คงศรีดี ม.4/3 เลขที่22

                                                นาวสาว  อลิสสา  โมอ่อน ม.4/3 เลขที่ 24

                                               นางสาว   จิราภรณ์   ประทุมทอง ม.4/3 เลขที่ 23

                                              นางสาว ประภาภรณ์  เวสูงเนิน ม.4/3 เลขที่31

                                                  โรงเรียน ศีลาจารพิพัฒน์


 

                               คำนำ 

                รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาประวัติศาสตร์ จัดทำขึ้นเพื่อให้ได้เข้ามาศึกษาหาความรู้ โดยมีเนื่อเรื่องเกี่ยวกับภูมิปัญญาและด้านความเชื่อางศาสนาเกี่นวข้องเข้ามาด้วย หากว่ารายงานเล่มนี้ผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย


                  

สารบัญ

 

ภูมิปัญญาไทย

ลักษณะความสัมพันธ์ของภูมิปัญญาไทย

คุณค่าของภูมิปัญญาไทย

ประเพณีไหลเรือไฟ


   ภูมิปัญญาไทย ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Wisdom หมายถึง ความรู้ความสามารถ วิธีการผลงานที่คนไทยได้ค้นคว้า รวบรวม และจัดเป็นความรู้ ถ่ายทอด ปรับปรุง จากคนรุ่นหนึ่งมาสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง จนเกิดผลิตผลที่ดี งดงาม มีคุณค่า มีประโยชน์ สามารถนำมาแก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตได้แต่ละหมู่บ้าน แต่ละชุมชนไทย ล้วนมีการทำมาหากินที่สอดคล้องกับภูมิประเทศ มีผู้นำที่มีความรู้ มีฝีมือทางช่าง สามารถคิดประดิษฐ์ ตัดสินใจแก้ปัญหาของชาวบ้านได้ ผู้นำเหล่านี้ เรียกว่า ปราชญ์ชาวบ้าน หรือผู้ทรงภูมิปัญญาไทย


                             ลักษณะของภูมิปัญญาไทย

1. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเป็นทั้งความรู้ ทักษะ ความเชื่อ และพฤติกรรม

2. ภูมิปัญญาไทยแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ

3. ภูมิปัญญาไทยเป็นองค์รวมหรือกิจกรรมทุกอย่างในวิถีชีวิตของคน

4. ภูมิปัญญาไทยเป็นเรื่องของการแก้ปัญหา การจัดการ การปรับตัว และการเรียนรู้ เพื่อความอยู่รอดของบุคคล ชุมชน และสังคม

5. ภูมิปัญญาไทยเป็นพื้นฐานสำคัญในการมองชีวิต เป็นพื้นฐานความรู้ในเรื่องต่างๆ

6. ภูมิปัญญาไทยมีลักษณะเฉพาะ หรือมีเอกลักษณ์ในตัวเอง

7. ภูมิปัญญาไทยมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อการปรับสมดุลในพัฒนาการทางสังคม


   ทางด้านการสร้างความภาคภูมิใจและศักดิ์ศรี เกียรติภูมิแก่คนไทย

 

        คนไทยในอดีตที่มีความสามารถปรากฏในประวัติศาสตร์มีมาก เป็นที่ยอมรับของนานาอารยประเทศ เช่น นายขนมต้มเป็นนักมวยไทยที่มีฝีมือเก่งในการใช้อวัยวะทุกส่วน ทุกท่าของแม้ไม้มวยไทย สามารถชกมวยไทย จนชนะพม่าได้ถึงเก้าคนสิบคนในคราวเดียวกัน แม้ในปัจจุบันมวยไทยก็ยังถือว่า เป็นศิลปะชั้นเยี่ยม เป็นที่นิยมฝึก และแข่งขันในหมู่คนไทยและชาวต่างประเทศ ปัจจุบันมีค่ายมวยไทยทั่วโลกไม่ต่ำกว่า 30,000 แห่ง ชาวต่างประเทศที่ได้ฝึกมวยไทยจะรู้สึกยินดีและภาคภูมิใจ ในการที่จะใช้กติกาของมวยไทย เช่น การไหว้ครูมวยไทย การออกคำสั่งในการชกเป็นภาษาไทยทุกคำ เช่น คำว่า "ชก" "นับหนึ่งถึงสิบ" เป็นต้น ถือเป็นมรดกภูมิปัญญาไทย นอกจากนี้ ภูมิปัญญาไทยที่โดดเด่นยังมีอีกมากมาย เช่น มรดกภูมิปัญญาทางภาษาและวรรณกรรม โดยที่มีอักษรไทยเป็นของตนเองมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และวิวัฒนาการมาจนถึงปัจจุบัน วรรณกรรมไทยถือว่าเป็น วรรณกรรมที่มีความไพเราะ ได้อรรถรสครบทุกด้าน วรรณกรรม หลายเรื่องได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษา ด้านอาหาร อาหารไทยเป็นอาหารที่ปรุงง่าย พืชที่ใช้ประกอบอาหารส่วนใหญ่เป็นพืชสมุนไพร ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นและราคาถูก มีคุณค่าทางโภชนาการ และยังป้องกันโรคได้หลายโรค เพราะส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นพืชสมุนไพร เช่น ตะไคร้ ขิง ข่า กระชาย ใบมะกรูด ใบโหระพา ใบกะเพรา เป็นต้น


 โดยเฉพาะท้องถิ่นที่มีชัยภูมิเหมาะสม คือ มีแม่น้ำหรือลำน้ำ เท่าที่ปรากฏจะมีแนวทางที่คล้ายกันและอยู่บนพื้นฐานความเชื่อต่าง ๆ อาทิ ความเชื่อเกี่ยวกับการบูชารอยพระพุทธบาท ความเชื่อเกี่ยวกับการบวงสรวงพระธาตุจุฬามณีบนสวรรค์ ความเชื่อเกี่ยวกับการขอฝน ความเชื่อในการเอาไฟเผาความทุกข์ ความเชื่อเกี่ยวกับการขอขมาและระลึกถึงพระคุณพระแม่คงคา เป็นต้น เรือไฟในสมัยโบราณนั้นมีรูปแบบที่เรียบง่าย โดยทำจากต้นกล้วยและลำไม้ไผ่ที่หาได้มาจัดทำเป็นโครงเรือไฟง่าย ๆ พอที่จะทำให้ลอยน้ำได้

การรประดับตกแต่งเรือไฟภายในเรือไฟจะประดับด้วยดอกไม้ ธูป เทียน ตะเกียง ขี้ไต้ สำหรับจุดให้สว่างไสว ก่อนจะปล่อย เรือไฟลงกลางลำน้ำโขง ปัจจุบันได้จัดทำเรือไฟรูปแบบต่างๆ โดยมีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาใช้ประกอบในการจัดทำ และประดับตกแต่งให้วิจิตรตระการตามากยิ่งขึ้น เมื่อปล่อยเรือไฟเหล่านี้ลงกลางลำน้ำโขงภายหลังการจุดไฟให้ลุกโชติช่วง แล้วจะเป็นภาพที่งดงามและติดตาตรึงใจตลอดไป

 

ปรากฏการณ์ “บั้งไฟพญานาค” เป็นความเชื่อและศรัทธาอย่างยิ่ง ของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขง ในเขตจังหวัดหนองคาย ตามพระพุทธประวัติว่า ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันปวารณาออกพรรษา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จฯ กลับจากการไปแสดง พระธรรมเทศนาโปรดพระพุทธมารดา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเวลาตลอดพรรษา (3เดือน) เมื่อทั้งสามโลกทราบข่าว กำหนดการเสด็จฯ กลับในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นเทวดา มนุษย์ แม้แต่พญานาค ต่างก็มีความยินดี และเตรียมการต้อนรับตามศรัทธาของตน


โดยเหล่าเทวดาทั้งหลาย ได้เนรมิตบันได ทอง เงิน และแก้ว ทอดลงมาส่งเสด็จฯ ถึงพื้นโลก ชาวมนุษย์ได้จัดถวายอาหาร คาว หวาน และของแห้ง รวมทั้งดอกไม้ ธูป เทียน ในพิธีทำบุญตักบาตรที่เรียกว่า “ตักบาตรเทโวโรหนะ” ส่วนเหล่าพญานาค ที่จำพรรษาอยู่เมืองบาดาล ได้ร่วมกันพ่นลูกไฟถวาย เป็นพุทธบูชา มีลักษณะเป็นดวงกลมสีแดงอมชมพู พวยพุ่งขึ้นจากลำน้ำโขง ไม่มีเสียง ไม่มีควัน และไม่มีกลิ่น เหมือนดอกไม้ไฟหรือพลุ โดยทุกท่านสามารถที่จะสัมผัสปรากฏการณ์ที่มหัศจรรย์นี้ได้ด้วยตัวท่านเอง


ความเชื่อในเรื่อง “พญานาค” ในพระพุทธประวัติ ยังคงแนบแน่นอยู่ในจิตใจของชาวอีสาน โดยเชื่อกันว่า ที่ คำชะโนด (พรุลอยน้ำแห่งเดียวในอีสาน) จังหวัดอุดรธานี หนึ่งใน Unseen Thailand คือ เมืองบาดาล เป็นที่ตั้งของ วังนาคินทร์ ที่ประทับของ “ศรีสุทโธ” พญานาคราช และการที่จะเกิด “บั้งไฟพญานาค” มากหรือน้อยในแต่ละปี ผู้เฒ่าผู้แก่เชื่อว่า จะต้องมาสังเกตดูที่บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ใน คำชะโนด ที่ถือกันว่าเป็นปากทางสู่เมืองบาดาล ถ้าปีใดมีสัตว์น้ำลอยคอเป็นจำนวนมาก แสดงว่าปีนั้นจะเกิดบั้งไฟพญานาคมาก เพราะเมืองบาดาลเปิด ส่วนบั้งไฟพญานาค จะพุ่งขึ้นที่ห้วย หนอง ในเส้นทางไปสู่ลำน้ำโขง ที่อำเภอโพนพิสัย  อำเภอรัตนวาปี อำเภอปากคาด  อำเภอบึงกาฬ อำเภอศรีเชียงใหม่  อำเภอสังคม เป็นต้น

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 346 คน กำลังออนไลน์