การท่องเที่ยวต่างประเทศ(เกาหลี)

กระทู้อวดรูปสวยๆ
23897 เล่าเรื่อง พร้อมภาพ เกาหลี หนุ่ม 05/Jan/2007
23664 รูปจากเกาหลีค่ะ อ้วนจัง 20/12/2006
17679 รูปจากเกาหลีค่ะ Mamee
17472 ไปเกาหลี ช่วงสงกรานต์ มีรูปมาฝาก CFC0029
15911 ไปนามิซอม จุงโด พักที่เมืองชุนชอน ไปซกโช ซอรักซาน( ภาพสวย เรื่องสนุก)Maeil
15882 กรุงโซล -6 องศา YoYo

เรื่องราวเกี่ยวกับเกหลี จากเว็บไซต์ต่างๆ
1. เกาหลี - วิกิพีเดีย เกาหลี สามารถหมายถึงได้หลายความหมาย. ประเทศเกาหลี ประเทศรวมของเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ก่อนที่จะแยกออกจากกันในปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) หลังสงครามโลกครั้งที่ ...
2. JKdramas.com : บันเทิงเอเชีย ละครเกาหลี ละครญี่ปุ่น ละครไต้หวัน ...
บันเทิงเอเชีย, เกาหลี, ดาราเกาหลี, ดาราญี่ปุ่น, หนังเกาหลี, หนังญี่ปุ่น , หนังจีน, เพลงเกาหลี, นักร้องเกาหลี, เพลงเกาหลี, ละครไต้หวัน.
3. koreaseries สุดสุดหนังเกาหลี สุดยอดเวบไซต์หนังซีรี่ย์เกาหลี
www.koreaseries.com สุดยอดเวบไซด์เกาหลี หนังเกาหลี ละคร ซีรีย์เกาหลี ดาราเกาหลี อาหารเกาหลี ประเทศเกาหลี สถานที่ท่องเที่ยวเกาหลี วัฒนธรรมเกาหลี ...
4. Korea Tourism Organization: Home page
องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาหลี จัด “การประกวดพัฒนารายการทัวร์เกาหลี” ระหว่างวันที่ 1 พ.ค. – 25 พ.ค. 2551 ร่วมกับ กระทรวงวัฒนธรรม ...

กรุงโซล
ในปีที่ 3 ของการปกครองของราชวงศ์โชซอน (ปี ค.ศ.1394) นั้นได้มีการย้ายเมืองหลวงมาที่กรุงโซลและตั้งแต่นั้นมาเป็นเวลากว่า 600 ปีแล้วที่กรุงโซลกลายเป็นศูนย์กลางทางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการคมนาคม ในปัจจุบันประชาชนชาวเกาหลีจำนวน 1 ใน 4 ใช้ชีวิตอยู่ที่กรุงโซลที่ถือว่าเป็นจุดศูนย์กลางและศูนย์รวมของความรู้ทั้งปวง ที่กรุงโซลมีการเก็บวัตถุโบราณของราชวงศ์โชซอนไว้มากมาย นั่นคือประตูทงแดมุน และนัมแดมุน พระราชวัง 5 แห่ง อันมีชื่อว่า เคียงบกกุง ชางด๊อกกุง ชางเกียงกุง ถ๊อกซูกุง และเคียงฮุยกุง หลุมผังศพกษัตริย์ต่าง ๆ อันรวมถึงฮองเนิง ซอนจองเนิง และซุงเคียนกวัน สถาบันสอนลัทธิขงจื๊อของกรุงโซล มรดกของกรุงโซล แพร่หลายไปทุกหนแห่ง ในเวลาเดียวกัน กรุงโซลก็ผงาดขึ้นโดดเด่นในแง่ของความทันสมัย และสถานที่ที่น่าดึงดูดใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสวนสนุกล๊อตเต้เวิลด์ หรือหอคอยกรุงโซลอันถือเป็นสัญลักษณ์ของกรุงโซลทีเดียว หอคอยติดไฟสว่างไสวตลอดคืน นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์และสวนสาธารณะต่าง ๆ ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าอื่น ๆ สโมสรแจ๊ซซ์ ร้านกาแฟ สถานคาสิโน เป็นต้น ทั้งหมดนี้ทำให้กรุงโซลเป็นสถานที่ที่ท่านจะพบกับความพอใจและความเพลิดเพลินอย่างที่ท่านต้องการ
ทัวร์กรุงโซล
ซื้อตั๋วเพียงใบเดียว ก็สามารถเยี่ยมชมสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในกรุงโซลได้มากมาย รถทัวร์กรุงโซลเป็นที่นิยมทั้งในหมู่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ นักท่องเที่ยวชาวเกาหลีเอง และกระทั่งคู่รักหนุ่มสาว

รถทัวร์จะมีสองเส้นทาง คือรถทัวร์ชมตัวเมือง และรถทัวร์ชมพระราชวัง ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถจะลงจากรถที่ใดก็ได้ หลังจากนั้นก็สามารถขึ้นรถและออกเดินทางต่อไปได้ รถบัสขนาด 35 ที่นั่งนี้จะมีอุปกรณ์หูฟังซึ่งจะให้ข้อมูลการท่องเที่ยวในภาษาเกาหลี อังกฤษ ญี่ปุ่น จีน และฝรั่งเศส รถทัวร์ชมตัวเมือง จะให้บริการตั้งแต่ 9.00 น.– 21.00 น. ส่วนรถทัวร์ชมพระราชวัง จะให้บริการตั้งแต่ 9.00 น. – 17.00 น. โดยจะออกทุก ๆ 30 นาที บริการรถทัวร์นี้จะหยุดให้บริการในวันจันทร์ ผู้โดยสารจะขึ้นรถทัวร์จากที่ใดก็ได้ในเส้นทาง หรือที่ร้านปลอดภาษีดองวา ที่สถานีควางฮ-วามุน (รถไฟใต้ดินกรุงโซลสายที่ 5 ทางออกที่ 6) ตั๋วเที่ยวเดียวราคา 5,000 วอน ส่วนตั๋ววัน (ทัวร์ชมตัวเมืองและพระราชวัง) ราคา 10,000 วอน มีเส้นทางเดินรถดังนี้
ทัวร์ชมตัวเมือง
ควางฮวามุน -> พระราชวังถ็อกซูกุง -> โรงแรมล็อตเต้ -> ตลาดนัมแดมุน -> สถานีรถไฟโซล -> ยูเอสโอ -> อนุสรณ์สถานสงคราม -> ฐานทัพสหรัฐฯ ที่ยงซาน -> โรงแรมอีแทวอน -> โรงแรมคราวน์ -> เมียงดง -> หมู่บ้านนัมซานฮันอก -> โรงแรมโซฟิเทล แอมบาสซาเดอร์ -> โรงละครแห่งชาติ -> หอคอยโซล -> โรงแรมไฮแอท -> โรมแรมทาวเวอร์ -> โรงแรมชิลลา -> ตลาดทงแดมุน -> ถนนเทฮังโน -> พระราชวังชางเกียงกุง -> พระราชวังชางด๊อกกุง -> อินซาดง -> ชองวาแด (ทำเนียบสีฟ้า) -> พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านแห่งชาติ -> พระราชวังเคียงบกกุง -> พิพิธภัณฑ์ตำรวจ -> ศูนย์กลางศิลปการแสดง เซจงเซ็นเตอร์ -> ควางฮวามุน
ทัวร์ชมพระราชวัง
ควางฮวามุน -> พระราชวังถ็อกซูกุง -> ศูนย์ข่าวเกาหลี -> ตึกเคียวโบ -> ถนนอินซาดง -> พระราชวังชางด๊อกกุง -> ถนนแทฮังโน -> พระราชวังชางเกียงกุง -> พระราชวังชางด๊อกกุง -> ถนนอินซาดง -> ชองวาแด (ทำเนียบสีฟ้า) -> พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านแห่งชาติ -> ศูนย์กลางศิลปการแสดง เซจงเซ็นเตอร์ -> ควางฮวามุน

แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
- ชายหาด Songdo เป็นชายหาดแห่งแรกของเมืองปูซาน และเป็นชายหาด ที่ขึ้นชื่อว่ามีหิน ลักษณะแปลกประหลาด ชายหาด Songdo มีสะพานแขวนสำหรับเชื่อมไปยังแผ่นดินใหญ่ด้วย ชื่อของชายหาดสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของชายหาดแห่งนี้มาก เนื่องจากคำว่า song แปลว่า ป่าต้นสน ขณะที่คำว่า do แปลว่าเกาะ

- ชายหาด Dadaepo ตั้งอยู่ระหว่าง Eulsudo ซึ่งเป็นสถานที่อาศัยของนกที่อพยพมานับหลายหมื่นตัว กับ ท่าเรือ Gamcheon ที่ติดกับมหาสมุทร ส่วนบริเวณด้านข้าง ติดกับปากแม่น้ำตอนกว้าง ที่น้ำจืดและน้ำเค็มมาบรรจบกัน

- ชายหาด Haeundae บนเกาะ Dongbaek แรกเริ่มบริเวณแห่งนี้ มีชื่อเสียงว่าเป็นแหล่งที่ตั้งของน้ำพุร้อน และต่อมา กลายเป็นแหล่งพักผ่อนที่ได้รับความนิยมมากในช่วงฤดูร้อน โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดยาว จะหนาแน่นไปด้วยผู้คน และถึงแม้ว่าในช่วงที่อากาศหนาวเย็น ผู้คนก็ยังคงนิยมเดินเล่นและเล่นว่าวท่ามกลางอากาศที่สดชื่นของชายฝั่ง ลักษณะของชายหาดเป็นหาดโค้งเว้ายาว 2 ก.ม. (1.3 ไมล์) และน้ำไม่ลึกมากชื่อ Haseundae ได้มาจากนามปากกา Hae-un ของนาย Choi-Choi Won นักการเมืองของเกาหลีที่หลงเสน่ห์ของความงามบนเกาะนี้ นอกจากนี้ บริเวณจุดศูนย์กลางของชายหาด ยังเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ใต้น้ำ ซึ่งเพิ่งก่อสร้างเสร็จเมื่อปี 2001 ที่ผ่านมานี้เอง บริเวณชายหาดแห่งนี้ยังคงรายล้อมไปด้วยบ่อน้ำพุร้อน และ สถานที่ที่มีชื่อเสียงอีกมากมาย อาทิ Suyoung Yachting Centre ที่ไม่นานมานี้ ก็ได้เปิดพิพิธภัณฑ์ทางศิลปะและศูนย์กลางนิทรรศการแห่งเมืองปูซานด้วย และผู้ที่นิยมการรับประทานอาหารทะเล ริมหาดด้านหนึ่งจะเป็นแหล่งร้านอาหารทะเลสดๆ ที่คุณสามารถชี้เลือกอาหารสดและให้พ่อครัวทำตามเมนูที่คุณเลือกได้ทั้ง ปิ้ง ย่าง อบ นึ่ง ได้ทันที เทศกาลงานรื่นเริงจัดขึ้นที่นี่ทุกปี รวมทั้งการแข่งขัน ไตรกรีฑาในเดือนมิถุนายนและการร่วมว่ายน้ำแบบหมีขั้วโลกในเดือนมกราคม
- ชายหาด Songjeong ตั้งอยู่บนพื้นที่ 40,000 ตารางกิโลเมตร สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ถึง 144,000 คน ชายหาดแห่งนี้จัดได้ว่าเป็นชายหาดที่เงียบสงบและคงความเป็นธรรมชาติไว้มากที่สุด ชายหาดนี้เป็นที่รู้จักและมีนักท่องเที่ยวไปพักผ่อนตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 1965 แต่นักท่องเที่ยวทั่วไปจะไม่ได้รับอนุญาต ให้เข้าไปท่องเที่ยวที่หาดทรายสีขาวทางชายฝั่งตะวันตก เนื่องจากเป็นเขตที่พักสำหรับทหาร ต่อมาปี 1993 หาดดังกล่าวจึงเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้

- สวนสาธารณะ Geumgang ตั้งอยู่แนวภูเขาฝั่งตะวันออกของภูเขา Geumjeong อุทยาน Geumgang นี้ เต็มไปด้วยป่าสน ล้อมรอบด้วยหิน และหน้าผา เหมือนภาพจำลองของภูเขา Geumjeong ในอดีตอุทยานแห่งนี้ถูกเรียกว่า Sokeumgang (small Geumjeong) อุทยานดังกล่าวเป็นแหล่งอารยธรรมที่สำคัญในอดีต เนื่องจากเต็มไปด้วยโบราณสถานและโบราณวัตถุ นอกจากนี้ ยังเป็นบริเวณที่ออกกำลังกายของผู้ที่เอาใจใส่สุขภาพ รวมไปถึงสวนสัตว์ และสวนพฤกษชาติ อุทยาน Geumgang ยังมีกระเช้าลอยฟ้า สำหรับผู้ที่ไม่กลัวความสูง จะได้ชื่นชมทัศนียภาพในมุมมองจากข้างบน และห่างไปไม่ไกลจากสวน Guamgang เป็นที่ตั้งของสปาที่ชื่อว่า Dongnae

- สวนสาธารณะยองดูซาน ที่นี่จะให้ความประทับใจแก่ท่าน ด้วยความเขียวชอุ่มบนเนินเขาใจกลางเมือง และเป็นสถานที่ตั้งของหอคอยปูซาน ที่ท่านสามารถมองเห็นภาพตัวเมืองปูซานอันตระการตา และในวันที่ท้องฟ้าอากาศแจ่มใส ท่านจะสามารถเห็นชายฝั่งประเทศญี่ปุ่นได้ ที่สวนสาธารณะยองดูซาน ท่านสามารถชมหอคอยที่ตั้งตระหง่านโดดเด่นด้วยความสูงถึง 120 เมตร บนหอคอยจะเป็นจุดพักชมวิว ส่วนด้านหน้าจะเป็นอนุสาวรีย์ของนายพล ยี ชุน ชี วีรบุรุษของคนเกาหลีในสมัยศตวรรษที่ 16 ในช่วงที่ญี่ปุ่นบุกคาบสมุทรเกาหลี โดยรบชนะด้วยการใช้เรือรบพิเศษที่เรียกว่า โคบุกซอน หรือเรือเต่า

- สวนสาธารณะ Daesin เป็นอุทยานที่นักท่องเที่ยวนิยมชมชอบเป็นอย่างมาก ตั้งอยู่บริเวณเทือกเขา Gubong ที่มีชื่อว่าเป็นบริเวณป่าหนาทึบที่อุดมสมบูรณ์ นักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวชมโดยเฉพาะในช่วงที่มีเทศกาลไฟ ซึ่งจะจัดขึ้นทุกปีบนเทือกเขา Gubong บริเวณอุทยานหรือสวนสาธารณะนี้ ยังมีอุปกรณ์การกีฬาและอุปกรณ์เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจไว้บริการประชาชน รวมทั้งบ่อน้ำร้อนที่คุณจะพบได้ทั่วๆ ไป

 

- สวนสาธารณะ Daecheon หรือ (Central Park) อุทยาน Daecheon นี้ ตั้งอยู่ในเขต Yeongju-dong บริเวณตอนเหนือของอุทยาน จะเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์ หรือที่เรียกว่าหอ ที่ระลึกซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกแก่ทหารกล้าและตำรวจที่สละชีพ
เพื่อรักษาเกาหลีไว้ เนื่องจาก ในระหว่างที่เกิดสงครามเกาหลี มีผู้อพยพมาในเมืองปูซานมากมาย ซึ่งต่อมาหลังจากที่สงครามสิ้นสุดลง บริเวณชุมชน ก็ขยายเป็นหมู่บ้านและที่พัก โดยหอดังกล่าวได้สร้างขึ้นเมื่อปี 1948 มีความสูง 70 เมตร และมีลักษณะเป็นเสารูปโดมครึ่งวงกลม 9 เสา

- สวนสาธารณะ Taejongdae ตั้งอยู่บนพื้นที่ 160,000 ตารางกิโลเมตร ทางตอนใต้ ของเมืองปูซาน ภายในสวนแห่งนี้ ประกอบด้วยประภาคาร และดาดฟ้า ที่สามารถชมทิวทัศน์ของเมืองบนเกาะได้ นอกจากนี้ ยังมีป่าทึบ ที่เต็มไปด้วยพืชพรรณแบบกึ่งเขตร้อน ประเภท คามิลเลียน ต้นแม็กโนเลีย และต้นสน อย่างไรก็ดี ป่าแห่งนี้ จะไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวเข้าชมตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - พฤศจิกายนของทุกปี เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าไม้

สวนสาธารณะ Taejongdae ยังมีหน้าผา และหินรูปร่างแปลกประหลาด ที่ถูกล้อมรอบด้วยน้ำทะเลสีฟ้าสวย ถนนวงแหวนที่ล้อมรอบ Taejongdae กลายเป็นสถานที่ออกกำลังกายชั้นดีสำหรับนักวิ่งและนักเดินเล่นทั้งหลาย รวมไปถึงเป็นที่ที่เหมาะแก่การขับรถเล่น นอกจากนี้ ภายในสวนยังมีรถรางที่ให้บริการเชื่อมระหว่างวัด Taejongsa ประภาคาร และจุดชมวิว ราคาค่าโดยสารประมาณ 1,500 วอนสำหรับผู้ใหญ่ 1,000 วอนสำหรับเด็กโต และ 600 วอนสำหรับเด็กเล็ก

วัดโพโมซา (Boemoesa Temple)
เป็นวัดเก่าแก่ของเมืองปูซาน สร้างในปลายคริสศตวรรษที่ 7 ในสมัยอาณาจักรชิลลารุ่งเรือง ซึ่งเป็นยุคทองของศิลปวัฒนธรรมเกาหลี วัดโพโมซานี้ ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาด้านตะวันออกของภูเขาคุมจอง การชมวัดนี้จึงต้องค่อยๆ เดินไปตามบันไดที่สร้างขึ้นบริเวณวัด

วัดทงโดซา (Tongdosa Temple)
ห่างจากเมืองปูซานไปทางตอนเหนือ 46 ก.ม. มีรถประจำทางวิ่งระหว่างเมืองจากสถานีรถ
ปูซาน - ทงบู วัดทงโดซามีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของเกาหลี สร้างขึ้นในสมัยอาณาจักรชิลลา (Shilla Reign) ภายในประกอบด้วยตึกอารามต่างๆ มากกว่า 50 ตึก และด้วยประวัติความเป็นมาที่ยาวนานกว่า 3,000 ปี ของวัด จึงกลายเป็นแหล่งสำคัญทางโบราณสถานและที่สำคัญยังเป็นที่เก็บวัตถุทางพุทธศานาอันมีค่า รวมถึงมีทัศนียภาพอันงดงามด้วย

วัดพุลกุกซา (Bulguksa Temple)
ตั้งอยู่บริเวณเคียงจู ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ใกล้กับเมืองปูซาน ด้านหน้าของวัดจะเป็นสระน้ำแห่งปัญญา ที่มีสะพานหินทอดข้ามสู่ประตูเทพพิทักษ์ทั้ง 4 ด้าน เป็นวัดเก่าแก่ในพุทธศาสนา เริ่มสร้างในปี ค.ศ. 526 ในราชวงศ์ของกษัตริย์ชิลลา หลังจากที่ราชวงศ์ชิลลาได้รับเอาพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำราชวงศ์ จนกระทั่งในปี 1593 วัดแห่งนี้ได้รับความเสียหายอย่างหนักจากการถูกชาวญี่ปุ่นเผาทำลาย

 

เส้นทางน้ำ ฮัลยอซูโด
ครอบคลุมอาณาบริเวณ 400 เกาะเลียบชายฝั่งด้านตะวันตกของเมืองปูซาน มีความยาวถึง 93 ไมล์ เริ่มจากโคเจ ด้านใต้ของเมืองไปจนถึงเกาะยอซุ ทางด้านตะวันตก ทะเลส่วนนี้มีเกาะแก่งกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ซึ่งบางทีเข้าใจผิดคิดว่าเป็นทะเลสาบ โดยทะเลถูกแบ่งออกเป็น 6 ส่วน และมีทิวทัศน์ธรรมชาติอันน่าทึ่ง รวมทั้งมีสถานที่น่าสนใจทางประวัติศาสตร์มากมาย และสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการช้อปปิ้ง คุณต้องไม่พลาดที่จะเดินชมตลาดบริเวณชอมยอน ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับโรงแรมล็อตเต้ปูซาน ซึ่งนอกจากจะมีการขายของบนพื้นแล้ว ยังมีช้อปปิ้ง มอลล์ ใต้ดิน ซึ่งอยู่ในบริเวณของสถานีรถไฟใต้ดินของเมืองปูซานด้วย รถไฟของเมืองมีสองสายด้วยกัน สถานีที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คือ นัมโพดง ที่นอกจากบริเวณใต้ดินเป็นช้อปปิง มอลล์แล้ว
ด้านบนยังเป็นประตูสู่ตลาดกุกเจ (Kukje) หรืออินเตอร์เนชั่นแนล ที่เป็นตลาดขายของสารพัดตั้งแต่หลังสงครามเกาหลี บริเวณนี้จะมีสินค้านานาชนิดมาวางขาย ซึ่งบางอย่างก็ราคาใกล้เคียงกับประเทศไทย บางอย่างก็มีราคาถูกกว่า ในบริเวณกุกเจนี้ยังเป็นแหล่งรวมร้านอาหาร ที่มีทั้งแบบให้เลือกกินข้างทาง ยืนกินข้างแผง จนกระทั่งนั่งในร้านย่างๆ ปิ้งๆ โดยตลาดแห่งนี้เปิดตั้งแต่ 09.00 น.-20.00 น. โดยฝั่งตรงข้ามจะเป็นตลาดปลาชากัลชิ (Chagalchi) ที่มีทั้งมีร้านจำหน่ายปลาสดและปลาแห้ง รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากท้องทะเลอื่นๆ นอกจากตลาดกุกเจแล้ว ยังมีตลาดซัวมุน (Saomun) ซึ่งเป็นตลาดท้องถิ่นเก่าแก่ของเมืองแดกู ที่อยู่ใกล้กับเมืองปูซาน บรรยากาศของตลาดที่นี่คล้ายๆ กับตลาดประตูน้ำ หรือ ตลาดบางลำพู ในประเทศไทย คือ มีทั้งเสื้อผ้าโหล รองเท้า กระเป๋าถือ เป้ รวมไปถึงเครื่องเซรามิก หรือแม้แต่อาหารต่างๆ สินค้าของเมืองปูซานที่แนะนำคือ เครื่องจักสานที่ทำจากไม้ไผ่ เสื้อผ้าต่างๆ โดยเฉพาะ ชุดแต่งกายต่างๆที่ทำจากวัสดุนานาชนิดและสีสันต่างๆ รวมทั้งผ้าไหม เครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะโสมที่ใช้สำหรับบำรุงกำลังและสามารถนำมาสกัดเพื่อลดไขมันได้ รวมถึงกิมจิ ที่กลายเป็นอาหารประจำชาติของเกาหลีไปแล้ว เป็นต้น
เทศกาลสำคัญ

เทศกาลภาพยนตร์เมืองปูซาน
ตั้งแต่เดือน ก.ย.-ต.ค. ของทุกปี ผู้ที่ชื่นชอบการชมภาพยนตร์ ต้องไม่พลาดเทศกาลหนังที่เมืองปูซานที่โรงละคร Nampo-dong และเวทีกลางแจ้งบริเวณอ่าว Suyeongman ในเทศกาลนี้ คุณจะได้ชมภาพยนตร์กว่า 200 เรื่องจาก 60 ประเทศ รวมถึงหนังสารคดี และภาพยนตร์เคลื่อนไหวต่างๆ
เทศกาลชายหาดของเมืองปูซาน
ที่หาด Gwangalli ในเดือน ส.ค. ของทุกปี คุณจะได้ชมการแสดง การเต้นโชว์ การแสดงดนตรี อาทิ การแสดงของวงออเคสตร้า รวมไปถึงการเล่นกีฬาทางน้ำ เช่น วินด์เซิร์ฟ และการเล่นเรือใบ ฯลฯ
เทศกาลอาหารที่ตลาด Jagalchi
เดือน ต.ค. ของทุกๆ ปี คุณต้องไม่พลาดที่จะแวะมาที่ตลาด Jagalchi เพี่อร่วมงานเทศกาลอาหารทะเลและชมการสวดมนตของชาวประมงเพื่ออ้อนวอนต่อเทพเจ้าแห่งทะเล เพื่อขอให้จับปลาได้มาก ๆ และขอให้รอดพ้นจากภัยอันตรายทั้งปวง ลิ้มรสขนมประเภทอบ ขนมพายและยังได้สนุกสนานกับการเลือกซื้อสินค้าลดราคาอีกด้วย
สนามบินนานาชาติ Pusan Kimhae สามารถรองรับผู้โดยสารได้ปีละ 15 ล้านคน มีเที่ยวบินระหว่างประเทศ
ไปยัง 10 เมืองสำคัญใน 7 ประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น จีน ไทย ไซปัน ฯลฯ

ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวโดย
เวบท่องเที่ยวประเทศ เกาหลี
สาธารณรัฐเกาหลี
Republic of Korea

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง ตั้งอยู่ตอนใต้ของคาบสมุทรเกาหลี โดยมีเส้นขนานที่ 38 แบ่งกั้นระหว่างสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ)พื้นที่ 99,392 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 45 ของพื้นที่คาบสมุทรเกาหลี
ประชากร 47.7 ล้านคน (2545)
เมืองหลวง กรุงโซล (Seoul)
เมืองที่สำคัญ ปูซาน แตจอน แตกู อินชอน และกวางจู
สมาชิกสหประชาชาติ 17 ก.ย. 2534
GDP ต่อหัว รายได้ต่อหัว 18,000 ดอลลาร์สหรัฐ (2544)
หน่วยเงินตรา ประมาณ 1,200 วอน ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
ภูมิอากาศ มี 4 ฤดู คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว
เดือน มิ.ย.- ส.ค. เป็นช่วงที่ฝนตกชุก อุณหภูมิโดยเฉลี่ย -5 C ในฤดูหนาว และ 33 C ในฤดูร้อน
คสพ.การทูต สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย เมื่อ 1 ต.ค. 2501
ออท. ไทย นายสมบูรณ์ เสงี่ยมบุตร
ประธานาธิบดี นาย Roh Moo-hyun รับตำแหน่งเมื่อ 25 ก.พ. 2546
นายกรัฐมนตรี นาย Goh Kun
รมว.กต.และการค้า นาย Yoon Young-kwam
ศาสนา มีประชากรนับถือศาสนา 54% ของประชากรทั้งหมด
(พุทธ 51.2%โปรเตสแตนท์ 34.4% คาธอลิค 10.6% ขงจื๊อ 1.8%)
การศึกษา ภาคบังคับ 9 ปี
อัตราการรู้หนังสือ ร้อยละ 98
สิทธิเลือกตั้ง ประชาชนทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
พัฒนาการต่างๆ ในเกาหลีใต้ปี 2545

1. การเมืองภายใน สถานการณ์การเมืองในเกาหลีใต้โดยภาพรวมยังคงมีเสถียรภาพ
แต่มีความผันผวนทางการเมืองภายในอันเนื่องมาจากนักการเมืองระดับสูง คนสนิท
รวมถึงญาติและบุตรชายของประธานาธิบดีเป็นผู้ต้องสงสัยมีส่วนพัวพันกรณีรับสินบน
เป็นเหตุให้ประธานาธิบดี คิม แด จุง ต้องปรับคณะรัฐมนตรีและที่ปรึกษาครั้งใหญ่
เมื่อ 29 มกราคม 2545 และเมื่อ 11 กรกฎาคม 2545ประธานาธิบดีคิม แด จุง
ได้ทำการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีเป็นครั้งที่สองโดยได้เปลี่ยนนายกรัฐมนตรี
แต่รัฐสภามีมติไม่ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีที่เสนอโดย
ประธานาธิบดีคิม แด จุง ถึงสองครั้ง

เมื่อ 19 ธันวาคม 2545 ได้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดี ซึ่งนาย Roh Moo-hyun
ผู้สมัครจากพรรครัฐบาล (Millenium Democratic Party-MDP)
ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเกาหลีใต้คนที่ 16ด้วยคะแนนร้อยละ 48.9
ใกล้เคียงกับผู้แข่งขันจากพรรค Grand National Party (GNP)
และได้เข้าพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2546 ทั้งนี้
การเลือกตั้งประธานาธิบดีอยู่ในช่วงที่มีกระแสการต่อต้านสหรัฐฯ ของชาวเกาหลีใต้
ทำให้พรรครัฐบาลซึ่งมีนโยบายเน้นความเสมอภาคและต่างตอบแทนกับสหรัฐฯ ได้รับการเลือกตั้ง

2. การต่างประเทศ เกาหลีใต้ยังคงดำเนินนโยบายตะวันทอแสง (Sunshine Policy)
ในการดำเนินความสัมพันธ์กับเกาหลีเหนือมาโดยตลอด แม้ว่าจะมีเหตุการณ์ที่กระทบถึง
ความสัมพันธ์ของประเทศทั้งสอง เช่น กรณีการปะทะระหว่างเรือลาดตระเวนของทั้งสองฝ่าย
แต่ต่อมาเกาหลีเหนือก็ได้กล่าวขอโทษและรับจะไม่ให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอีก
ทำให้ประเทศในคาบสมุทรเกาหลี ทั้งสองมีความร่วมมือกันต่อไปได้ในระดับหนึ่ง

สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีใต้และญี่ปุ่น แม้จะมีความขัดแย้งกันในการเรียกชื่อทะเล
“Sea of Japan” ซึ่งเกาหลีใต้เห็นว่า ไม่เหมาะสมที่จะใช้ชื่อประเทศใดประเทศหนึ่งในการ เรียกชื่อทะเล
จึงเสนอให้ใช้ชื่อ “East Sea” ควบคู่ไปกับ “Sea of Japan” ซึ่งเรื่องดังกล่าวยังไม่มีข้อยุติ
แต่ประเทศทั้งสองก็ยังคงมีความร่วมมือระหว่างกันด้วยดี เช่น
การที่ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2002 เป็นต้น

ส่วนความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ นั้น จากเหตุการณ์ที่ทหารสหรัฐฯ ขับรถชนเด็กนักเรียนหญิง 2 คนเสียชีวิต
และศาลสหรัฐฯ ตัดสินให้ไม่มีความผิด ทำให้เกิดกระแสต่อต้านฐานทัพสหรัฐฯ
ที่ตั้งอยู่ในเกาหลีใต้และประชาชนยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลแก้ไข
สนธิสัญญาทางทหารที่อนุญาตให้ศาลทหารสหรัฐฯ เป็นผู้ตัดสินคดี

3. เศรษฐกิจ เศรษฐกิจเกาหลีใต้นับว่ามีความแข็งแกร่งโดยมีอัตราการส่งออกเพิ่มขึ้น
เกาหลีใต้มีดุลการค้าเกินดุลหลายปีติดต่อกันมีปริมาณเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ
สูงถึง 116.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มากเป็นอันดับสี่ของโลก และในช่วงปลายปี 2545
สาธารณรัฐเกาหลีได้ลงนามความตกลงว่าด้วยการค้าเสรี (FTA) กับชิลี
หลังจากที่มีการประชุมเพื่อหาข้อยุติร่วมกันหลายครั้งเป็นระยะเวลากว่า 2 ปี

4. สังคม รัฐบาลเกาหลีใต้ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาสังคมที่เป็นผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540
โดยรัฐบาลได้กำหนดมาตรการต่างๆ อาทิ เพิ่มกองทุนรองรับผู้ตกงาน จัดตั้งคณะกรรมการไตรภาคีระหว่างรัฐบาล
นายจ้างและลูกจ้าง นอกจากนั้น ยังส่งเสริมให้ประชาชนมีทัศนคติที่เปิดกว้างมากขึ้นต่อวัฒนธรรมต่างประเทศ
และส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มรายได้เข้าประเทศ

สถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี

นับตั้งแต่ช่วงปลายปี 2545 สถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลีมีความตึงเครียดขึ้นเป็นลำดับ
เนื่องมาจากปัญหาโครงการพัฒนานิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ซึ่งสหรัฐฯ เห็นว่า
เป็นการละเมิดกรอบความตกลงกับสหรัฐฯ เมื่อปี 2537 (Agreed Framework)
ที่จะยุติโครงการพัฒนานิวเคลียร์ เพื่อแลกเปลี่ยนกับความช่วยเหลือก่อสร้างเตาปรมาณ
ู Light Water ในการผลิตกระแสไฟฟ้าแทนเตาปรมาณูเดิม
ในส่วนของเกาหลีเหนือก็กล่าวหาว่า กรอบความตกลงปี 2537 เป็นโมฆะ
เนื่องจากสหรัฐฯ ไม่สามารถก่อสร้างเตาปรมาณู Light Water ได้ทันตามความตกลงฯ
ทำให้ประชาคมระหว่างประเทศต่างวิตกกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดที่เกิดขึ้นบนคาบสมุทรเกาหลี
และได้พยายามโน้มน้าว ให้เกาหลีเหนือยุติการรื้อฟื้นโครงการดังกล่าว
แต่เกาหลีเหนือปฏิเสธข้อเสนอใดๆ นอกจากนั้น เกาหลีเหนือได้ขับเจ้าหน้าที่ IAEA
ออกนอกประเทศและประกาศถอนตัวจากสนธิสัญญา NPT และแจ้งว่า
ปัญหาโครงการพัฒนานิวเคลียร์เป็นปัญหาทวิภาคีระหว่างสหรัฐฯกับเกาหลีเหนือที่จะต้องแก้ไขร่วมกัน
โดยเกาหลีเหนือจะยุติการรื้อฟื้นโครงการฯ หากสหรัฐฯ ยินยอมลงนามความตกลงไม่รุกรานกัน
(Non-Aggression Pact) กับเกาหลีเหนือ ซึ่งในขณะนี้ สหรัฐฯ
กำลังพิจารณาข้อเสนอของเกาหลีเหนือดังกล่าว
แต่เป็นการพิจารณาในลักษณะที่มิได้โอนอ่อนผ่อนปรนให้เกาหลีเหนือ
และพยายามผลักดันให้ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาพหุภาคีที่ทุกประเทศที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันแก้ไข
โดยสหรัฐฯ ยินยอมจะหารือทวิภาคีกับเกาหลีเหนือแต่ขอให้เป็นการหารือในเวทีพหุภาคีเท่านั้น

การเมืองการปกครอง
สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยประมุขของประเทศคือประธานาธิบดี
ซึ่งได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนให้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร โดยมีนายกรัฐมนตรี
ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา
รัฐสภาเป็นองค์กรนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการทำหน้าที่ทางศาลทั้งนี้
เกาหลีใต้มีการแบ่งเขตการปกครองเป็น 9 จังหวัด และ 6 เขตการ ปกครอง
(โซล ปูซาน อินชอน แตกู กวางจู แตชอน)

รัฐธรรมนูญ

เกาหลีใต้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรกเมื่อ 17 ก.ค. 2491 โดยได้มีการปรับปรุงแก้ไขมาโดยตลอดอีก 9 ครั้ง
การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งล่าสุดมีขึ้นในปี 2530 เมื่อรัฐบาลประธานาธิบดีชุน ดู ฮวาน
ต้องประสบกับภาวะกดดันทางการเมืองจากพรรคการเมืองต่าง ๆ ซึ่งเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
เพื่อให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง และในที่สุด ประธานาธิบดีชุน ดู ฮวาน
ก็ยินยอมให้มีการลงประชามติ แก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง
โดยอยู่ในตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว (5 ปี) และให้มีการจัดระบบการปกครองท้องถิ่นอิสระเป็นครั้งแรก
ในรอบ 30 ปี นอกจากนี้รัฐธรรมนูญที่ได้รับการแก้ไข ยังได้ยกเลิกอำนาจการยุบสภาของประธานาธิบดี
และให้รัฐสภามีอำนาจหน้าที่ดูแลและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล
รวมทั้งระบุว่ากองทัพต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมือง

ฝ่ายนิติบัญญัติ

รัฐธรรมนูญกำหนดให้รัฐสภา (National Assembly) เป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ
ซึ่งรัฐสภาของเกาหลีใต้เป็นรูปแบบสภาเดียวประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 273 คน
โดยสมาชิกจำนวน 2 ใน 3 หรือ 227 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และสมาชิกอีก 46 คน
มาจากการแต่งตั้งโดยจัดสรรตามสัดส่วนของพรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้ง
สมาชิกรัฐสภาแห่งชาติอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี (ล่าสุดเลือกตั้งเมื่อ 13 เมษายน 2543)
สภาจะเลือกประธาน (Speaker)และรองประธาน (Vice-Speaker) จำนวน 2 คน

อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญระบุไว้ว่า สามารถถอดถอนนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีได้
หากสมาชิกรัฐสภา 1 ใน 3 เสนอขอและสมาชิกสภาข้างมากเห็นชอบตามเสนอ
ซึ่งในกรณีการถอดถอนประธานาธิบดีนั้น ต้องเสนอโดยเสียงข้างมากและสมาชิกสภา 2 ใน 3 ให้ความเห็นชอบ

ฝ่ายบริหาร

- ประธานาธิบดี เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากผู้มีสิทธิออกเสียง
โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี และไม่สามารถลงสมัครแข่งขันเป็นครั้งที่ 2 ได้
เพื่อเป็นการป้องกัน การขยายอำนาจของประธานาธิบดี หัวหน้ารัฐบาล
ประธานาธิบดีดำรงตำแหน่งประมุขของรัฐ และ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดด้วย
รวมทั้งเป็นผู้มีอำนาจในการประกาศกฎอัยการศึก และมาตรการจำเป็น ในยามฉุกเฉิน
นอกจากนี้ประธานาธิบดีสามารถที่จะเสนอร่างกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาได้
อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีไม่มีอำนาจในการยุบสภา

- คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
โดยประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภานายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยประธานาธิบดีในด้านบริหารประเทศ
รวมทั้งมีอำนาจในการพิจารณานโยบายต่าง ๆ ของประเทศและการเข้าร่วมประชุมรัฐสภา
คณะรัฐมนตรีมีจำนวน 20 คน นอกจากนี้ฝ่ายบริหารยังประกอบด้วย สภาที่ปรึกษาอาวุโส
สภาความมั่นคงแห่งชาติ สภาที่ปรึกษาการรวมประเทศ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจแห่งชาติ
คณะกรรมการวางแผนและงบประมาณ คณะกรรมการเกี่ยวกับสิทธิสตรี
สภาที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะกรรมการเกี่ยวกับธุรกิจขนาดกลางและเล็ก
คณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาล
และสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ โดยประธานของคณะกรรมการชุดต่าง ๆ
ที่ได้กล่าวมาได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี ทั้งนี้
หน่วยงานเหล่านี้ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำต่อคณะรัฐบาลด้วย

อนึ่ง เมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2546 ประธานาธิบดี Roh Moo-hyun
ได้ประกาศรายชื่อคณะรัฐมนตรีเกาหลีใต้ชุดใหม่ โดยยกเว้น
ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ที่ประธานาธิบดียังไม่ตัดสินใจ และคงนาย Jeong Se-hyun
ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีการรวมประเทศดังเดิม โดยมีรายชื่อคณะรัฐมนตรี ดังนี้

1) นาย Goh Kun นายกรัฐมนตรี
2) นาย Kim Jin-pyo รองนายกรัฐมนตรีด้านการคลังและเศรษฐกิจ
3) ว่าง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
4) นาย Jeong Se-hyun รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการรวมประเทศ
5) นาย Yoon Yong-kwam รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้า
6) นาง Kim Kum-sil รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
7) นาย Cho Young-kil รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
8) นาย Kim Doo-kwan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
9) นาย Park Ho-goon รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
10) นาย Lee Chang-dong รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว
11) นาย Kim Young-jin รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและป่าไม้
12) นาย Yoon Jin-shik รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อุตสาหกรรมและพลังงาน
13) นาย Chin Dae-je รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสารสนเทศและสื่อสาร
14) นาย Kim Hwa-joong รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ
15) นาง Han Myung-sook รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม
16) นาย Kwon Ki-hong รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
17) นาง Ji Eun-hee รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความเสมอภาคทางเพศ
18) นาย Choi Jong-chan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงก่อสร้างและขนส่ง
19) นาย Huh Sung-kwan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์นาวีและประมง
20) นาย Park Bong-heum รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผนและงบประมาณ

2.4 ฝ่ายตุลาการ
ประกอบด้วยศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา โดยประธานาธิบดีแต่งตั้ง
ประธานศาลฎีกาด้วยความเห็นชอบของรัฐสภา
การพิจารณาของศาลกำหนดให้เปิดเผยแก่สาธารณชนทั่วไปได้ยกเว้นใน
กรณีที่เห็นว่าจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาต
ิหรือเป็นเรื่องที่จะสร้างปัญหาในด้านความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย ของประชาชนหรือเป็นภัยต่อขวัญของประชาชน
คำพิพากษาจำเป็นต้องปิดเป็นความลับนอกจากนี้ ยังมีศาลรัฐธรรมนูญ
ซึ่งมีหน้าที่ในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
โดยให้ความ คุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน และมีอำนาจ
ในการพิจารณาว่ากฎหมายฉบับใดที่ขัดต่อ
รัฐธรรมนูญให้ถือเป็นโมฆะ (โดยมีขั้นตอนการดำเนินการเริ่มจากศาลรัฐธรรมนูญได้รับการร้องขอ
จากศาลชั้นต้นหรือจากกลุ่มบุคคลที่ข้อร้องเรียนได้รับการพิจารณา
จากศาลชั้นต้น ให้พิจารณากฎหมายดังกล่าว)
อนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญยังเป็นองค์กรที่มีหน้าที่ตัดสินความถูกต้องทางกฎหมาย
ของการดำเนินกระบวนการถอดถอนเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐ
ได้แก่ ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และผู้พิพากษา
รวมทั้งมีอำนาจในการสั่งยุบพรรคการเมืองตามข้อเสนอของฝ่ายบริหาร
หากพบว่าพรรคการเมืองดังกล่าวดำเนินกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย

2.5 พรรคการเมือง
เมื่อ ธ.ค. 2538 เกิดการรวมตัวของ 3 พรรคใหญ่ คือ
1) พรรค Democratic Justice Party-DJP
2) พรรค Reunification Democratic Party-RDP
3) พรรค New Democratic Republican Party-NDRP
และตั้งชื่อว่าพรรค New Korean Party-NKP
ก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อ ธ.ค. 2540 ได้เกิดพรรคใหม่คือ
1) พรรค Grand National Party -GNP
(ซึ่งเป็นการรวมตัวของพรรค NKP กับพรรค New Party by the People)
2) พรรค Millennium Democratic Party-MDP ซึ่งมีนาย คิม แด จุง เป็นหัวหน้าพรรค และ
3) พรรค United Liberal Democrats-ULD ซึ่งมีนาย คิม จอง พิล เป็นหัวหน้าพรรค
โดยพรรค MDP กับพรรค ULD ได้ร่วมกันส่งนายคิม แด จุง
เข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีและได้รับชัยชนะ โดยนาย คิม จอง พิล
ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี
แต่ต่อมาพรรค ULD ได้ถอนตัวจากการร่วมรัฐบาล
ปัจจุบันมีพรรคฝ่ายค้าน (Grand National Party-GNP)
และพรรครัฐบาล (Millennium Democratic Party-MDP)
และพรรคฝ่ายค้านเสียงส่วนน้อย (United Liberal Democrats-ULD)
ทั้งนี้ พรรคฝ่ายค้าน GNP สามารถคุมเสียงข้างมากเด็ดขาดในสภารวม 139 ที่นั่ง

 

เศรษฐกิจการค้า
การส่งออก ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (2542-2545) การส่งออก
มีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 1,204.82 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.91 ต่อปี ในปี 2545 มีมูลค่าส่งออก 1,398.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
คิดเป็นร้อยละ 2.03 หรือเพิ่มขึ้นจากปี 2544 ร้อยละ 13.31

สำหรับปี 2546 (ม.ค.-เม.ย.) การส่งออกมีมูลค่า 538.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปี 2545ร้อยละ 25.08
โดยเกาหลีใต้เป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 13 ของไทย สินค้าออกของไทยที่สำคัญ ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า
ยางพารา เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
น้ำมันดิบ อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด
เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ
ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง และมอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

การนำเข้า ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (2542-2545) การนำเข้ามีมูลค่าเฉลี่ยปีละ
2,137.57 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.62 ต่อปี ในปี 2545
มีมูลค่านำเข้า 2,509.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปี 2544 ร้อยละ 26.5

 

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐเกาหลี
ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-เกาหลีใต้ดำเนินไปด้วยดีทั้งในระดับทวิภาคีและ
พหุภาคี โดยในระดับทวิภาคีนั้น
ไทยและเกาหลีใต้มีความร่วมมือด้านความมั่นคงและการทหารก่อนการ
สถาปนาความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ
ได้แก่ ความสัมพันธ์ทางการทูตระดับอัครราชทูตเมื่อ 1 ตุลาคม 2501
ซึ่งต่อมาได้ยกขึ้นเป็นระดับเอกอัครราชทูตเมื่อ 1 ต.ค. 2503

ในระดับพหุภาคีนั้น แม้ไทยและเกาหลีใต้จะเป็นสมาชิกในองค์การหรือในเวที
การเจรจาระหว่างประเทศต่างๆ เช่น APEC, ASEM, WTO ฯลฯ เช่นเดียวกัน แต่ความสัมพันธ์อันใกล้ชิดเกิดขึ้นในกรอบอาเซียนซึ่งเกาหลีใต้ได้เป็นคู่เจรจามาตั้งแต่ก.ค.2538
โดยเฉพาะเมื่อมีการจัดตั้ง ASEAN+3 ในปี 2540 เพื่อเป็นเวทีหารือ
ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้

1.1 ความสัมพันธ์ด้านการทหารและความมั่นคง

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเกาหลีใต้เริ่มขึ้นจากความร่วมมือด้านการทหารและ
ความมั่นคง โดยในช่วงสงครามเกาหลีระหว่างปี 2493-2496 นั้น
ไทยได้ส่งทหารเข้าร่วมกองกำลังสหประชาชาต
ิซึ่งได้รับความสนับสนุนจากสหรัฐฯ และพันธมิตรฝ่ายตะวันตก
เพื่อป้องกันเกาหลีใต้จากการรุกรานของเกาหลีเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีนและสหภาพโซเวียต

เมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดลงอันเกิดจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 2534
ความสัมพันธ์ด้านการทหารและความมั่นคงระหว่างประเทศทั้งสองยังคงดำรงอยู่
หากเกาหลีใต้เป็นฝ่ายกระตือรือร้นในการริเริ่มกิจกรรมความร่วมมือมากกว่า
ฝ่ายไทยเนื่องจากเกาหลีใต้ยังคงรู้สึกไม่มั่นคงต่อสถานการณ์ต่างๆ ในคาบสมุทรเกาหลี
รวมทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเกาหลีใต้ได้พยายามแสวงหาความสนับสนุนจากไทย
ทั้งที่เป็นรูปธรรมและสัญลักษณ์ในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี

ตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นว่าเกาหลีใต้ยังต้องการการสนับสนุนในด้านความมั่นคง
แม้ความสนับสนุนดังกล่าวจะมีความหมายในเชิงสัญลักษณ์มากกว่าในเชิงสารัตถะ
ได้แก่กรณีทหารประจำกองบัญชาการร่วมสหประชาชาติ
(UNC: United Nations Command) ณ กรุงโซล ซึ่งมีทหารไทยประจำ
เพื่อทำหน้าที่กองทหารเกียรติยศ ฝึกซ้อมรบ เชิญธงชาติไทยขึ้นสู่ยอดเสา
ตลอดจนร่วมพิธีเกี่ยวกับสงครามเกาหลี

นอกเหนือจากความสัมพันธ์ในเชิงสัญลักษณ์แล้ว ไทยกับเกาหลีใต้มีการสัมมนาแลกเปลี่ยนข่าวกรองประจำปี
รวมทั้งมีความร่วมมือในการฝึกอบรมทางทหาร นอกจากนี้ ไทยและเกาหลีใต้ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ
ว่าด้วยการส่งกองกำลังบำรุงเมื่อ 4 พ.ย. 2534 ซึ่งเป็นกรอบการดำเนินความร่วมมือฝึก
ในเรื่องของการแลกเปลี่ยนข่าวสารและข้อมูลการส่งกองกำลังบำรุง

1.2 การแลกเปลี่ยนการเยือน

ไทยและเกาหลีใต้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับต่างๆ ค่อนข้างต่อเนื่อง โดยในระดับราชวงศ์
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์เสด็จฯ
เยือนเกาหลีใต้เมื่อ มี.ค.2534 พ.ค.2535 และ เม.ย. 2536 ตามลำดับ

ในระดับหัวหน้ารัฐบาล ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เดินทางเยือนเกาหลีใต้
ระหว่าง 8-10 พ.ย. 2534 จากนั้น นายชวน หลีกภัย
ได้เดินทางไปเยือนเกาหลีใต้สองครั้ง (23-26 มิ.ย. 2537 และ 25-27 เม.ย.2542)
และเข้าร่วมการประชุม ASEM ครั้งที่ 3 (20-21 ต.ค. 2543) ที่เกาหลีใต้

การเยือนเกาหลีใต้ของผู้นำและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของไทย ในช่วงตั้งแต่ปี 2535 ที่สำคัญ
ได้แก่ นายอุทัย พิมพ์ใจชนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เข้าร่วมประชุม
Joint Trade Commission ครั้งที่ 10 (10-11 ส.ค. 2535)
นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (7-9 ต.ค. 2536)
นายสุขวิช รังสิตพล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (มิ.ย. 2539)
นายกร ทัพพะรังสี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (ส.ค. 2540)
นายแพทย์กระแส ชนะวงศ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศเยือนในฐานะ
นายกสมาคมไทยเพื่อส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประเทศ(ระหว่าง 9-11 ก.ค. 2541)
นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ (21-23 ก.ค. 2541)
นายขจัดภัย บุรุษพัฒน์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หารือด้านความมั่นคง
และต่อต้านการก่อการร้าย (20 – 23 ม.ค. 2545)
นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เพื่อเข้าร่วมประชุม
Joint Trade Commission ครั้งที่ 12 (31 ม.ค.–1 ก.พ. 2545)
นายสนธยา คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
สังเกตการณ์การการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 14 ที่เมืองปูซาน
(11-13 ต.ค.2545) นายกร ทัพพะรังสี รองนายกรัฐมนตรีสังเกตการณ์การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์
ครั้งที่ 14 ที่เมืองปูซาน (9-13 ต.ค. 2545)
นายสุรเกียร์ติ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเพื่อเข้าร่วมประชุม
The 2nd Ministerial Conference of the Community of Democracies ณ กรุงโซล
(ระหว่าง 10-11 พ.ย. 2545)

สำหรับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเกาหลีใต้ที่ได้เดินทางมาเยือนไทย ได้แก่ ประธานาธิบดี
Chun Doo-hwan (3-5 ก.ค. 2524) นาย Lee Sang-ock รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
(ก.ค. 2534) นาย Han Sung-joo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศเยือนไทยในฐานะแขกกต.
(24-28 ก.ค. 2537) และเข้าร่วมการประชุมรมว.กต.อาเซียน (17-19 พ.ค. 2537)
นาย Lee Young-ho รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พ.ค. 2539)
นาย Han Duck-soo ประชุม Joint Trade Commission (JTC) ครั้งที่ 11 (2 พ.ย. 2542)
และเข้าร่วมประชุม UNCTAD ครั้งที่ 10 (12-19 ก.พ. 2543)
นาย Chun Doo-hwan อดีตประธานาธิบดีเยือนไทยเป็นการส่วนตัว (6-8 มี.ค. 2543)
นาย Lee Joung-binn รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้าประชุมPMC/ARF (25-30 ก.ค. 2543)
นาย Choi Sung-hong รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้าเพื่อเข้าร่วมประชุม
Asia Cooperation Dialogue (ACD) ครั้งที่ 1 (18-19 มิ.ย. 2545)
นาย Yoon Young-kwanรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้าเข้าร่วมประชุม
คณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือทวิภาคีไทย-เกาหลีใต้ ครั้งที่ 1 และการประชุม ACD ครั้งที่ 2 (21-22 มิ.ย. 2546)

1.3 ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ

ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับเกาหลีใต้ดำเนินไปค่อนข้าง
ราบรื่นโดยมีกรอบในการดำเนินความสัมพันธ์ได้แก่
1) ความตกลงทางการค้าซึ่งลงนามเมื่อปี 2504
2) ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน ลงนามเมื่อปี 2532

แม้จะมีความตกลงต่างๆ เป็นกรอบในการดำเนินความสัมพันธ์ไทยและเกาหลีใต้
แต่ก็มีปัญหาด้านเศรษฐกิจต่อกันอยู่บ้าง ที่สำคัญ ได้แก่
ปัญหาการกีดกันสินค้าไทยโดยเฉพาะสินค้าเกษตรของเกาหลีใต้

เกาหลีใต้ได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจจนกลายเป็นประเทศ
อุตสาหกรรมใหม่ในตอนกลางทศวรรษ 1980 และก้าวไปสู่การเป็น
ประเทศอุตสาหกรรมเมื่อได้รับการยอมรับเข้าเป็นสมาชิก
กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว (OECD) ในปีพ.ศ. 2539
ซึ่งต่อมาเกาหลีใต้ได้ประสบวิกฤตทางเศรษฐกิจในปี ค.ศ. 2540 จนต้องกู้ยืมเงินจาก IMF
แต่ก็สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจและคืนเงินกู้ทั้งหมดให้แก่ IMF งวดสุดท้ายเมื่อเดือนก.ย. 2544
ในขณะเดียวกัน องค์การการค้าโลก (WTO) ได้กล่าวว่า ปัจจุบัน
เกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีมูลค่าทางการค้าใหญ่เป็นอันดับที่ 13 ของโลกโดยในปี 2544
(เคยอยู่ในลำดับที่ 11 เมื่อปี 2539)และจะไต่ลำดับสูงขึ้นต่อไปในอนาคต

ทางด้านโครงสร้างทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้นั้นยังคงเน้นอุตสาหกรรมหนัก
และเทคโนโลยีระดับสูงที่กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่(Chaebol) ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นสำคัญ
ทำให้สินค้าของเกาหลีใต้ เช่น เรือเดินสมุทร รถยนต์ เครื่องจักร
สินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องมือสื่อสารมีจำหน่ายในท้องตลาดของประเทศต่างๆ ทั่วโลก
รวมทั้งตลาดในไทย ในทางตรงกันข้าม โครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยยังคงเป็นเกษตรกรรม และเป็นสินค้าที่ส่งออกไปขายในตลาดเกาหลีใต้แม้ว่าจะมีสินค้า
บางชนิดที่เป็นสินค้าอุตสาหกรรม เช่น แผงวงจรไฟฟ้า
แต่ก็เป็นสินค้าที่ผลิต โดยกลุ่มอุตสาหกรรมต่างชาติ ทำให้ไทยขาดดุลการค้ากับเกาหลีใต้เรื่อยมานับเป็นสิบปี ซึ่งฝ่ายไทยได้พยายามเรียกร้องให้เกาหลีใต้เพิ่มปริมาณและมูลค่าในการซื้อสินค้าไทยให้มากขึ้น แต่เกาหลีใต้ก็ได้ยกตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้ที่เดินทางมาไทยราวปีละประมาณ 5-600,000 คน
ขึ้นเป็นประเด็นต่อรองว่า เกาหลีใต้ได้ใช้จ่ายเงินไปกับการท่องเที่ยวจำนวนมหาศาลให้กับไทยเป็นการทดแทนแล้ว
ในขณะที่นักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปเกาหลีใต้เพียงปีละประมาณ 6-90,000 คน

1.3.1 การค้า

ก่อนปี 2532 การค้าระหว่างไทยและเกาหลีใต้มีมูลค่าไม่มากนัก แต่ได้ขยายตัวขึ้นอย่างมาก
เกาหลีใต้เป็นประเทศคู่ค้าอันดับที่ 8 ของไทย โดยไทยเป็นฝ่ายขาดดุลมาโดยตลอด

การขาดดุลที่ไทยมีกับเกาหลีใต้เพิ่มมากขึ้นนับตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา
ไทยและเกาหลีใต้ได้จัดประชุมระดับรัฐมนตรีเพื่อความร่วมมือทางการค้า
(JTC: Joint Trade Commission)ครั้งแรกเมื่อก.ค.พ.ศ.2518ที่กรุงโซลJTC
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายมีโอกาสเจรจาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการค้า
และกำหนดเป้าหมายที่จะซื้อสินค้าระหว่างกันเป็นปี ๆ
ในระดับรัฐบาล เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2518 ทั้งสองประเทศได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วม
ทางการค้า(Joint Trade Commissionหรือ JTC) เพื่อเป็นกลไกทางการค้า
ที่เปิดโอกาสให้ทั้งสองฝ่ายร่วมมือกันในการแสวงหาลู่ทางขยายการค้า
รวมทั้งแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางการค้าที่มีอยู่ระหว่างกัน โดยได้มีการประชุมมาแล้ว 12 ครั้ง
ทั้งนี้การประชุม JTC ครั้งที่ 12 (ล่าสุด) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 ม.ค.-1 ก.พ.2545 ณ กรุงโซล
ส่วนในภาคเอกชน ทั้งสองประเทศได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-เกาหลี
( Korea-Thai Economic Cooperation Committee)
ระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกับสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเกาหลีใต้
เมื่อ 20 พฤษภาคม 2518 โดยได้มีการประชุมมาแล้ว 9 ครั้ง

ปัญหาและอุปสรรคทางการค้าที่สำคัญ คือในขณะที่ไทยมีนโยบายการค้าแบบ
เสรี เกาหลีใต้ยังใช้มาตรการต่างๆ ในการปกป้องตลาด แม้ว่าการเข้าเป็นสมาชิกของ WTO
และการเข้าเป็นสมาชิกของ OECD จะทำให้เกาหลีใต้ต้องเปิดตลาดขึ้นเรื่อยๆ แต่ในปัจจุบันเกาหลีใต้ยังคงปกป้องตลาดภายในประเทศของตนด้วยมาตรการภาษีและมิใช่ภาษี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดมาตรฐานสุขอนามัยต่อสินค้าเกษตรกรรมของประเทศอื่นรวมทั้งของไทย
มูลค่าการค้ารวมระหว่างกันในปี 2545 มีมูลค่ารวม 3,907.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ซึ่งไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ากับเกาหลีใต้ในอัตราสูงตลอดมากว่า 10 ปี
โดยในช่วงระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (2542-2545)
ไทยขาดดุลการค้ากับเกาหลีใต้เฉลี่ยปีละ 932.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เนื่องจากไทยนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมจากเกาหลีใต้เป็นส่วนใหญ่
ในขณะที่สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยไปเกาหลีใต้เป็นสินค้าเกษตร นอกจากนี้ ไทยยังประสบกับมาตรการกีดกันทางการค้าของเกาหลีใต้ทั้งในด้านภาษีและมิใช่ภาษี

การค้ารวม ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (2542-2545) การค้ารวมมีมูลค่า
เฉลี่ยปีละ 3,342.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.46 ต่อปี
ในปี 2545 มีมูลค่าการค้ารวม 3,907.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
(คิดเป็นร้อยละ 2.93 ของมูลค่าการค้ารวมของไทย) เพิ่มขึ้นจากปี 2544 ร้อยละ 16.76

สำหรับปี 2546 (ม.ค.-เม.ย.) การค้ารวมมีมูลค่า 1,380.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2545 ร้อยละ 7.94
(คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.87 ของมูลค่าการค้ารวมของไทย)

การส่งออก ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (2542-2545) การส่งออกมีมูลค่า
เฉลี่ยปีละ 1,204.82 ล้านดอลลาร์สหรัฐเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.91 ต่อปี
ในปี 2545 มีมูลค่าส่งออก 1,398.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 2.03
หรือเพิ่มขึ้นจากปี 2544 ร้อยละ 13.31

สำหรับปี 2546 (ม.ค.-เม.ย.) การส่งออกมีมูลค่า 538.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปี 2545ร้อยละ 25.08
โดยเกาหลีใต้เป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 13 ของไทย สินค้าออกของไทยที่สำคัญ
ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า ยางพารา เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันดิบ
อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอดเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ
เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์
ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง และมอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

การนำเข้า ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (2542-2545) การนำเข้ามีมูลค่าเฉลี่ยปีละ
2,137.57 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.62 ต่อปี ในปี 2545
มีมูลค่านำเข้า 2,509.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปี 2544 ร้อยละ 26.5

สำหรับปี 2546 (ม.ค.-เม.ย.) การนำเข้ามีมูลค่า 842.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2545 ร้อยละ 0.75 โดยเกาหลีใต้เป็นแหล่งนำเข้าอันดับที่ 7 ของไทย
สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์
เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรมหลอดภาพโทรทัศน์ เหล็กและเหล็กกล้า
แผงวงจรไฟฟ้า ผ้าผืน ผลิตภัณฑ์โลหะ สินแร่โลหะอื่นๆ และเศษโลหะ และเครื่องใช้ไฟฟ้า

ดุลการค้า ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้าต่อเกาหลีใต้มาโดยตลอด ในระยะ 4 ปี
ที่ผ่านมา (2542-2545) ไทยขาดดุลเฉลี่ยปีละ 932.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2545
ไทยขาดดุลมูลค่า 1,111.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2544 ร้อยละ 26.5
สำหรับปี 2546 (ม.ค.-เม.ย.) ไทยขาดดุลการค้ามูลค่า 304.2 ล้านดอลลาร์
สหรัฐ ลดลงจากปี 2545 ร้อยละ 27.3

1.3.2 การลงทุน

ปัจจุบัน การลงทุนจากเกาหลีใต้ในไทยมีแนวโน้มดีขึ้น จากข้อมูลการลงทุน
ของเกาหลีใต้ในปี 2544 มีการลงทุนเพิ่มขึ้นมากเกือบเท่าตัว เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2543 อย่างไรก็ตาม ปริมาณเงินลงทุนของเกาหลีใต้ในไทยมีจำนวนไม่มากนัก เนื่องจากอุตสาหกรรมที่เกาหลีใต้สนใจมาลงทุน
ยังคงเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่ใช้เงินลงทุนน้อย (ต่ำกว่า 50 ล้านบาท)
โดยประเภทกิจการที่เกาหลีใต้สนใจมากที่สุด ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า

ปัจจุบัน เกาหลีใต้เข้ามาลงทุนในไทยเป็นอันดับที่ 7 โดยปี 2545 มีทั้งสิ้น 37 โครงการ
(โครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนจำนวน 33 โครงการ)
เป็นเงินมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 2956.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2544 จำนวน 11 โครงการ สาขาอิเลคทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นสาขาที่มีเม็ดเงินลงทุนและจำนวนโครงการ
ที่ได้รับอนุมัติมากเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาเป็นสาขาผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร
และอุปกรณ์ขนส่ง สาขาเคมีภัณฑ์ กระดาษและพลาสติก

1.3.3 แรงงานไทย

ปัจจุบัน คนงานต่างชาติ รวมทั้งคนงานไทย สามารถเข้าไปทำงานในเกาหลีใต้
โดยถูกต้องตามกฎหมายของเกาหลีใต้ได้ 2 วิธี คือ เข้าไปทำงานในรูปของการฝึกงาน (training)
ผ่านการจัดสรรโควต้าของสมาพันธ์ธุรกิจขนาดกลาง และขนาดเล็กของเกาหลี (KFSB) เป็นเวลา 2 ปี และเข้าไปทำงานโดยผ่านการนำเข้าของสมาคมก่อสร้างเกาหลีโดยได้รับอนุญาตให้ทำงาน 1 ปี
และต่ออายุได้ 1 ปี โดยที่การเข้าไปทำงานในรูปของการฝึกอบรม หรือผ่านสมาคมก่อสร้าง
คนงานจะได้ค่าจ้างต่ำกว่าราคาค่าจ้างในตลาดแรงงานทั่วไปร้อยละ 25-50
คนงานต่างชาติที่เข้าไปทำงานโดยถูกกฎหมายร้อยละ 85
จึงพากันผละหนีการทำงานในที่ทำงานเดิมไปหาที่ทำงานใหม่ จากข้อมูลที่ได้รับ
คนงานประเภทฝึกงานของไทยได้ค่าจ้างเดือนละ 474,600 วอน (ประมาณ 20,000 บาท)
แต่ถ้าไปทำงานในโรงงานโดยทำงานประเภทเดียวกันจะได้รับค่าจ้างเดือนละ 760,000 วอน
(ประมาณ 30,000 บาท)

ทางด้านตลาดแรงงานไทยในเกาหลีใต้ มีรายงานข่าวจากทางการเกาหลีใต้
ว่า นโยบายด้านแรงงานของเกาหลีใต้กำลังเปลี่ยนแปลงไปโดยทางการเกาหลีใต้ กำลังพิจารณาเปิดตลาดแรงงานอุตสาหกรรมบางประเภทแก่แรงงานต่างชาติบางส่วน
โดยได้เริ่มมีผลตั้งแต่เดือนมิ.ย.2545 นโยบายการเปิดตลาดแรงงานบางส่วนได้รับการสนับสนุน
จาก กระทรวงแรงงาน และทำเนียบประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ขณะที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง
และ KFSB (สมาพันธ์ธุรกิจขนาดกลางและย่อมของเกาหลีใต้)
ไม่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบเดิมที่ใช้อยู่มากนัก
โดยเฉพาะด่านตรวจคนเข้าเมืองของเกาหลีใต้เกรงจะเกิดปัญหาอาชญากรรม
ปัญหาสังคม และปัญหาความไม่พอใจของแรงงานในเกาหลีใต้
ที่อาจมีตามมาจากผลของการเปิดตลาดแรงงานให้ต่างชาติ จากการตรวจสอบ
กับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโซล ทราบว่ารายงานข่าวดังกล่าวเป็นเพียงแค่แนวคิด แต่มีความเป็นไปได้ที่ทางการเกาหลีใต้จะแก้ไขระบบเข้าไปทำงานผ่านการฝึกงาน
โดยให้คนงานสามารถทำงานในเกาหลีใต้ได้ต่อ 2 ปี หลังจากผ่านการฝึกงานมาแล้ว 1 ปี
ซึ่งล่าสุด ยังไม่พบว่าการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเรื่องระยะเวลาการฝึกงานที่ใช้อยู่ในปัจจุบันแต่อย่างใด
(ฝึกงาน 2 ปี ทำงานต่อ 1 ปี) และรัฐบาลเกาหลีใต้ประกาศรับผู้ฝึกงานต่างชาติอีกจำนวน 20,000 คน
โดยได้เริ่มรับในเดือน พ.ย. 2545ผู้ฝึกงานเหล่านี้จะทำงานในภาคอุตสาหกรรมก่อสร้าง
เกษตรกรรม ปศุสัตว์ และประมง

เนื่องจากคนไทยสามารถเดินทางเข้าเกาหลีใต้ได้โดยไม่ต้องมีวีซ่าเพราะมี
ความตกลงยกเว้นการตรวจลงตราระหว่างประเทศทั้งสอง
ทำให้แรงงานไทยอาศัยเป็นช่องทางเพื่อหลบเข้าไปทำงานในเกาหลีใต้เป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ทางการเกาหลีใต้จึงเพิ่มความเข้มงวดในการอนุญาตให้คนไทยเข้าประเทศ
ตามรายงานของกองตรวจคนเข้าเมือง ของเกาหลีใต้อ้างใน Migration News ปี 2544
พบว่าในปี 2543 ชาวต่างชาติจำนวนประมาณ 1,500 คน ถูกตำรวจตรวจคนเข้าเมือง
ปฎิเสธการเข้าเมืองเนื่องจากเกรงว่าจะลักลอบเข้าไปทำงานในเกาหลีใต้
ซึ่งเพิ่มจากจำนวน 1,000 คนในปี 2542 ตามรายงานดังกล่าว
ยังแจ้งด้วยว่าคนไทยเป็นคนต่างชาติที่ถูกปฎิเสธการเข้าเมืองมากที่สุด คือ
ประมาณครึ่งหนึ่งของคนต่างชาติทั้งหมด ตามมาด้วยคนชาติปากีสถานและบังคลาเทศ
ในปี 2544 คนไทยถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าเมืองถึง 5,000 คน

นอกจากนี้ ในระหว่างการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2545 ที่เกาหลีใต้เป็นเจ้าภาพร่วมกับญี่ปุ่น ได้มีนายหน้าและคนงานไทยพยายามลักลอบเข้าเกาหลีใต้โดยผ่านการซื้อตั๋วฟุตบอล
โดยอ้างว่าเป็นแฟนกีฬาเพื่อลักลอบหลบหนีเข้าเมืองเกาหลีใต้ แต่หลายคนถูกจับได้ที่สนามบินและส่งกลับ การปฏิเสธมิให้คนไทยเข้าเมืองของทางการเกาหลีใต้มีแนวโน้มสูงขึ้น

ทางการไทยได้ทราบปัญหาเรื่องนักท่องเที่ยวไทยถูกปฏิเสธการเข้าเมืองเกาหลีใต้ดังกล่าวและ
พยายามสกัดกั้นมิให้คนงานไทยลักลอบเดินทางไปเกาหลีใต้เพื่อหางานทำ
โดยมีการตรวจตราที่ด่านแรงงานที่ท่าอากาศยานดอนเมือง แต่นายหน้าและ
คนงานก็เปลี่ยนเส้นทางบินโดยเดินทางเข้าทางหาดใหญ่-มาเลเซียเพื่อเดินทางจากมาเลเซียไปเกาหลีใต้

1.3.4 การท่องเที่ยว

ประเทศไทยจัดเป็นอันดับที่ 4 ที่ชาวเกาหลีใต้นิยมเดินทางมาท่องเที่ยว
โดยนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้ได้เดินทางมาไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี
แม้ว่าจะซบเซาลงไปบ้างในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในเกาหลีใต้
ระหว่างปี 2540-2541 แต่กลับฟื้นตัวขึ้นตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา
เหตุการณ์ก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ เมื่อ 11 ก.ย.2544
ก็ไม่กระทบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้ที่เดินทางมาไทย
โดยแหล่งท่องเที่ยวของไทยที่นักท่องเที่ยวเกาหลีใต้นิยมได้แก่ กรุงเทพฯ พัทยา และภูเก็ต
ทั้งนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้มาไทยในปี 2545 มีจำนวนประมาณ 700,000 คน
สำหรับนักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางไปเกาหลีใต้มีจำนวนประมาณ 50,000 คน
การเดินทางไปเกาหลีใต้ได้รับความนิยมจากคนไทยเป็นอันดับที่ 9
นักท่องเที่ยวเกาหลีใต้นิยมใช้มัคคุเทศก์ที่มีความรู้ภาษาเกาหลี
ซึ่งไทยมีจำนวนมัคคุเทศก์ดังกล่าวประมาณ 500 คน อย่างไรก็ตาม
เนื่องจากนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้มาไทยเป็นจำนวนมากและปัจจุบัน
รัฐบาลไทยกำลังแสวงหาหนทางในการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวเกาหลีใต้
โดยการพิจารณาให้ใช้ล่ามชาวเกาหลีใต้แปลควบคู่กับมัคคุเทศก์ชาวไทย

1.3.5 การจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับเกาหลีใต้

ที่ประชุมรัฐมนตรีการค้าไทย-เกาหลีใต้ ครั้งที่ 11 เมื่อ 2 พ.ย.2542
มีมติให้ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับเกาหลีใต้
ซึ่งเกาหลีใต้ได้มอบหมายให้ The Korean Institute for International Economic Policy
(KIEP) เป็นผู้ศึกษาวิจัย และไทยมอบหมายให้กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์
ทำการศึกษาวิจัยเรื่องดังกล่าว โดยทั้งสองฝ่ายได้จัดตั้งคณะ
ทำงานของแต่ละฝ่ายร่วมกันศึกษาความเป็นไปได
้ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างกัน โดยใช้เวลาศึกษาวิจัยประมาณ 1 ปี (2543)
ซึ่งผลการศึกษาวิจัยในภาพรวมได้ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อ มี.ค.2544
ต่อมาฝ่ายเกาหลีใต้มีความกังวลเกี่ยวกับประเด็นเรื่องสินค้าเกษตร
ทำให้เกาหลีใต้ขอยุติการดำเนินการร่วมกับฝ่ายไทยไว้เพียงการศึกษาวิจัยในภาพรวม
โดยเกาหลีใต้จะรอผลการดำเนินการค้าเสรีกับชิลีก่อนจึงจะเริ่มพิจารณา
จัดทำเขตการค้าเสรีกับประเทศอื่น รวมทั้งประเทศไทยต่อไป

1.4 ความสัมพันธ์ด้านอื่นๆ

1.4.1 ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ขณะนี้ ไทยและเกาหลีใต้ได้มีการจัดทำความตกลงและบันทึกความเข้าใจ
ระหว่างหน่วยราชการระดับต่าง ๆ
อยู่แล้วทั้งสิ้น 3 ฉบับ คือ
1) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(ลงนามเมื่อ 11 มิ.ย. 2528) ระหว่างรัฐบาลทั้งสองฝ่าย
ซึ่งเห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไทย-เกาหลีใต้
2) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร
์และวิชาการระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์ของทั้งสองประเทศ (ลงนามเมื่อ 25 มี.ค. 2525) 3) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ระหว่าง
มูลนิธิวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมแห่งชาติเกาหลี และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติของไทยเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความร
ู้และเปิดโอกาสให้นักวิจัยของทั้งสองฝ่ายได้ทำการวิจัยร่วมกัน
ในสาขาวิชาการ ต่าง ๆ (ลงนามเมื่อ 9 มี.ค. 2535)

1.4.2 การประชุมคณะกรรมาธิการร่วม (Joint Commission-JC)
หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบร่วมกันในหลักการให้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วม
(Joint Commission-JC)เพื่อเป็นกลไกและติดตามการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกัน เมื่อ ก.ค. 2541
การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมครั้งที่ 1ได้มีขึ้นระหว่าง 20-21 มิ.ย.2546 ที่จว.เชียงใหม่
โดยทั้งสองได้หารือกันเกี่ยวกับความร่วมมือในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านการค้า
โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับการลดอุปสรรคการเข้าสู่ตลาดของกันและกัน
ด้านความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวด้านแรงงานไทย ความร่วมมือด้านวัฒนธรรม
ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตลอดจนการหารือในประเด็นปัญหาภูมิภาคต่างๆ เช่น สถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี
การบูรณะฟื้นฟูอิรักภายหลังสงคราม และการต่อต้านการก่อการร้าย เป็นต้น

1.4.3 ความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรม

ไทยและเกาหลีใต้ยังไม่มีความตกลงทางวัฒนธรรมระหว่างกัน
แต่ประเทศ ทั้งสองก็ได้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกันอย่างใกล้ชิด
ความร่วมมือทางวัฒนธรรมส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับการแสดงทางวัฒนธรรม
การประชุมสัมมนาทางวิชาการ การแลกเปลี่ยนบุคลากรทางวัฒนธรรม
และการเยือนของผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

กระทรวงวัฒนธรรมกำหนดกรอบการให้ความร่วมมือทางวัฒนธรรมด้านต่างๆ
ระหว่างไทย-สาธารณรัฐเกาหลี ประกอบด้วย
1) การแลกเปลี่ยนการเยือน
เพื่อศึกษาดูงานของผู้บริหารงานวัฒนธรรมทั้งระดับสูงและระดับกลาง
2) การสร้างและส่งเสริมความสัมพันธ์ระดับประชาชนกับประชาชน
3)การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านทัศนศิลป์ ศิลปะการแสดง ด้านภูมิปัญญาชาวบ้าน
การจัดนิทรรศการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม
4) ความร่วมมือด้านวัฒนธรรม อาทิ วรรณคดี ห้องสมุด หอจดหมายเหตุ
โบราณคดี จิตรกรรม หัตถกรรม และความร่วมมือด้านพิพิธภัณฑ์ โบราณสถาน
5) ความร่วมมือเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยด้านความร่วมมือ
ในการจัดโครงการนิทรรศการด้านศิลป์ ภาพยนตร์ แฟชั่น หรือดนตรี
ความร่วมมือในการจัดอบรม สัมมนาปฏิบัติการเชิงวิชาการด้านการบริหารจัดการ
ทางด้านวัฒนธรรม การจัดการพิพิธภัณฑ์ ศิลปะสมัยใหม่งานออกแบบเชิงพาณิชย
์สำหรับเครื่องแต่งกาย อบรมด้านนาฏศิลป์ ดนตรีร่วมสมัย และ
6) กิจกรรมอื่น ๆ อันมีลักษณะทางวัฒนธรรม
* * * * * * *
กองเอเชียตะวันออก 4 กรมเอเชียตะวันออก กรกฎาคม 2546
เรียบเรียงโดย โดย กองเอเชียตะวันออก 4 กรมเอเชียตะวันออก โทร. 02-643-5209-10 E-mail: div1105@mfa.go.th

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 691 คน กำลังออนไลน์