• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:0d5a342d0356e264daa233878c90b343' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p>\n<br />\n          รู้จักมาตั้งแต่เด็ก สมัยถูกหนังจูราสสิคพาร์คหลอกให้ไปเสียเงินดูไดโนเสาร์ฝรั่ง<br />\n          ทั้ง ๆ ที่แหล่งขุดค้นพบหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับไดโนเสาร์ อยู่ที่ภาคอีสานนี่เอง\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<div style=\"text-align: center\">\n<img border=\"0\" width=\"267\" src=\"/files/u20/d-6.jpg\" height=\"200\" />\n</div>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n<a href=\"http://inhouse.ejobeasy.com/html/d-6.jpg\"></a>\n</p>\n<p>\n          ประเทศไทยพบส่วนปลายของกระดูกขาท่อนบนของไดโนเสาร์กินพืชธอโรพอด บริเวณเชิงเขาภูประตูตีหมา ในเขตอุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น (เดิมอำเภอเวียงเก่า เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอภูเวียง ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเมื่อปี 2550)<br />\n          ถ้าไปในฐานะนักท่องเที่ยว น่าจะไปที่พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ตั้งอยู่ก่อนทางที่จะเข้าไปอุทยานแห่งชาติภูเวียง ซึ่งเป็นแหล่งขุดค้นหรือบริเวณหลุมขุดค้น เหมาะสำหรับผู้ที่ไปศึกษาค้นคว้าด้านธรณีวิทยาอย่างจริงจัง<br />\n          การเดินทางใช้เส้นทางกรุงเทพฯ โคราช โผล่มาที่ขอนแก่น ถ้าเลี้ยวขวาเข้าเมือง ต้องเลี้ยวซ้ายไปทางอำเภอชุมแพ เลี้ยวขวาอีกทีตอนเห็นป้ายบอกทางไปอำเภอภูเวียง เลยไปอีกนิดจะถึงจุดหมาย อำเภอภูเวียง <br />\n          เพื่อให้อุ่นใจควรมีน้ำมันติดรถอย่างน้อยครึ่งถัง เพราะระยะทางไปกลับขอนแก่น-เวียงเก่า เกือบ 200 กิโลเมตร แต่ถ้าลืมเติม ในอำเภอภูเวียงมีปั๊มใหญ่ปตท.คอยอำนวยความสะดวกอยู่ หรือขับให้ประหยัดน้ำมัน ปิดแอร์ เปิดหน้าต่าง ช่วยได้เยอะ<br />\n          ก่อนถึงพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ต้องผ่านอุทยานไดโนเสาร์ศรีเวียงก่อน ถ้าให้ดีแวะตอนขากลับ เอาความรู้ที่ได้จากพิพิธภัณฑ์ มาทายสนุก ๆ ที่อุทยาน ตัวไหน พันธุ์อะไรเอ่ย..\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<div style=\"text-align: center\">\n<img border=\"0\" width=\"400\" src=\"/files/u20/d-2.jpg\" height=\"300\" />\n</div>\n<div style=\"text-align: center\">\n</div>\n<p>\n          กระดูกไดโนเสาร์หลุมขุดค้นที่ 1 เริ่มต้นเมื่อปี 2523 และมีการค้นพบหลุมขุดค้นที่ 2 ปี 2530 <br />\n          ปี 2532 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทอดพระเนตรหลุมขุดค้นที่ 2 และปี 2533 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์เสด็จทอดพระเนตรหลุมขุดค้นที่ 2 เช่นกัน ทำให้เกิดการพัฒนาหลุมขุดค้นไดโนเสาร์ และพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียงตั้งแต่นั้นมา<br />\n   \n</p>\n<p>\n          <span style=\"background-color: #ffff00\">ไดโนเสาร์ไทยบนแผ่นดินอีสาน<br />\n</span>          <span style=\"background-color: #ccffff\">อีสานโนซอรัส อรรถวิภัชน์ชิ<br />\n</span>          “อีสานโนซอรัส” หมายถึงสัตว์เลื้อยคลานแห่งอีสาน “อรรถวิภัชน์ชิ” ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่นายปรีชา อรรถวิภัชน์ อดีตอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ผู้สนับสนุนการวิจัยไดโนเสาร์ จากการศึกษาปี 2543 พบว่าอีสานโนซอรัส อรรถวิภัชน์ชิ เป็นไดโนเสาร์ซอโรพอด (ไดโนเสาร์กินพืช คอยาว หางยาว เดิน 4 ขา) เก่าแก่ที่สุดในโลก<br />\n        <span style=\"background-color: #ccffff\">  สเตโกซอร์ <br />\n</span>          ปี 2542 นักบรรพชีวินวิทยาขุดพบกระดูกสันหลังที่มีลักษณะพิเศษในชั้นหินทรายสีเทา คาดว่าเป็นของสเตโกซอร์ เนื่องจากไดโนเสาร์ชนิดนี้มีกระดูกสันหลังที่ต่างไปจากไดโนเสาร์ชนิดอื่นอย่างเห็นได้ชัด นับเป็นครั้งแรกที่พบกระดูกไดโนเสาร์วงศ์นี้ในประเทศไทย สเตโกซอร์เป็นไดโนเสาร์กินพืชที่มีแผ่นกระดูกขนาดใหญ่ เรียงเป็นแถวอยู่บนหลัง มีเดือยแหลมที่ปลายหาง และหัวขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับขนาดตัว<br />\n          <span style=\"background-color: #ccffff\">ฮิปซิโลโฟดอน<br />\n</span>          การค้นพบกระดูขาซ้ายท่อนบนที่มีลักษณะเฉพาะของพวกฮิปซิโลโฟดอน ทำให้รู้ว่ามีไดโนเสาร์กินพืชขนาดเล็กในประเทศไทยด้วย ลักษณะของมันเดิน 2 ขา มีจะงอยปากเหมือนเขาสัตว์ ขากรรไกรและฟันกรามมีรูปร่างคล้ายใบไม้ จึงเหมาะสำหรับการเคี้ยวพืช<br />\n          <span style=\"background-color: #ccffff\">ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่</span>  <br />\n          เป็นไดโนเสาร์ซอโรพอดชนิดแรกของไทย เดิน 4 ขา คอยาว หางยาว ตั้งชื่อถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระเทพฯ ผู้ทรงสนพระราชหฤทัยในงานด้านบรรพชีวินวิทยาเป็นอย่างมาก ชื่อภูเวียงโกซอรัส หมายถึงสัตว์เลื้อยคลานแห่งภูเวียง  <br />\n          <span style=\"background-color: #ccffff\">ซิตตะโกซอรัส สัตยารักษ์กิ</span><br />\n          เป็นไดโนเสาร์พวกเซอราทอปเชียน เป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดเล็ก มีจะงอยปากเหมือนนกแก้ว จัดอยู่ในพวกที่มีแผงเกราะขนาดเล็ก ไม่มีเขา รูปลักษณ์ส่วนใหญ่คล้ายชิตตะโกซอรัสที่พบในประเทศจีน แต่ลักษณะของกรามบางส่วนต่างกัน จึงแยกออกมาเป็นอีกชนิดหนึ่ง ตั้งชื่อว่า สัตยารักษ์กิ เพื่อเป็นเกียรติแก่นายนเรศ สัตยารักษ์ ผู้ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ชนิดนี้เป็นคนแรก <br />\n          <span style=\"background-color: #ccffff\">สยามโมซอรัส สุธีธรนิ</span><br />\n          สยามโมซอรัส หมายถึงสัตว์เลื้อยคลานแห่งสยาม ส่วน “สุธีธรนิ” ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ ดร.วราวุธ สุธีธร ผู้มีส่วนร่วมในการสำรวจขุดค้น สยามโมซอรัส สุธีธรนิ เป็นไดโนเสาร์ที่มีการศึกษาวิจัยเป็นชนิดแรกของไทย ในช่วงแรกมีการค้นพบฟันอย่างเดียวเท่านั้น ต่อมามีการค้นพบชิ้นส่วนหัวกะโหลกและกระดูกบางส่วน ชิ้นส่วนที่น่าสนใจที่สุดคือ กระดูกที่มีลักษณะแบนคล้ายใบพาย ซึ่งเป็นกระดูกของแผงด้านหลัง ทำให้รู้ว่าไดโนเสาร์ชนิดนี้มีแผงหลังที่คล้ายกับไดโนเสาร์สไปโนซอรัส<br />\n          <span style=\"background-color: #ccffff\">กินรีมิมัส</span><br />\n          นักบรรพชีวินวิทยา ขุดพบกระดูกขาของไดโนเสาร์ มีลักษณะเล็กยาวเรียว สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นกระดูกของพวกที่วิ่งเร็วและปราดเปรียว นั่นคือไดโนเสาร์นกกระจอกเทศที่มีปากเป็นจะงอย ไม่มีฟัน วิ่งได้เร็วพอๆ กับนกกระจอกเทศ<br />\n          <span style=\"background-color: #ccffff\">สยามโมไทรันนัส อีสานเอนซิส</span><br />\n          สยามโมไทรันนัส หมายถึง ไดโนเสาร์ไทรัตน์แห่งสยาม ส่วนคำว่า อีสานเอนซิส หมายถึงพบที่ภาคอีสาน จากการศึกษาเมื่อปี 2539 พบว่าเป็นไดโนเสาร์วงศ์ไทรันโนซอริเดที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ทำให้สันนิษฐานได้ว่ากลุ่มของไทรันโนซอร์เริ่มวิวัฒนาการครั้งแรกในเอเชีย แพร่กระจายไปทางเอเชียเหนือ ก่อนที่จะสูญพันธุ์ในอเมริกา<br />\n          <span style=\"background-color: #ccffff\">คอมพ์ซอกเนธัส</span><br />\n          หมายถึงขากรรไกรที่สง่างาม เป็นไดโนเสาร์ขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายนก ลำตัวเพรียว คอยาว หัวเล็ก แขนขายาวเรียว ขาหน้าสั้น เล็บแหลม มี 2 นิ้ว ขาหลังมี 3 นิ้ว  \n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<div style=\"text-align: center\">\n<img border=\"0\" width=\"300\" src=\"/files/u20/d-3.jpg\" height=\"400\" />\n</div>\n<div style=\"text-align: center\">\n</div>\n<p>\n          ที่นี่อนุญาตให้ถ่ายรูปได้ ถ่ายกันเยอะ ๆ ช่วยกันเผยแพร่ ชวนกันไปดูมาก ๆ ของดีมีให้ดูฟรี ดูแล้วได้ความรู้ด้วย<br />\n <br />\n          <span style=\"background-color: #ccffcc\">พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง ตั้งอยู่ที่ตำบลในเมือง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น โทร.0-4343-8204, 0-4343-8206 </span><a href=\"http://www.dmr.go.th/\"><span style=\"background-color: #ccffcc\">www.dmr.go.th</span></a><span style=\"background-color: #ccffcc\"> เปิดอังคาร-อาทิตย์ 09.00-17.00 น. เว้นวันจันทร์นักขัตฤกษ์ เปิดให้บริการ </span>\n</p>\n<hr id=\"null\" />\nby ryo : <a href=\"mailto:watta.ryo@gmail.com\">watta.ryo@gmail.com</a> \n', created = 1719804762, expire = 1719891162, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:0d5a342d0356e264daa233878c90b343' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ของดีขอนแก่น


          รู้จักมาตั้งแต่เด็ก สมัยถูกหนังจูราสสิคพาร์คหลอกให้ไปเสียเงินดูไดโนเสาร์ฝรั่ง
          ทั้ง ๆ ที่แหล่งขุดค้นพบหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับไดโนเสาร์ อยู่ที่ภาคอีสานนี่เอง

 

 

 

          ประเทศไทยพบส่วนปลายของกระดูกขาท่อนบนของไดโนเสาร์กินพืชธอโรพอด บริเวณเชิงเขาภูประตูตีหมา ในเขตอุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น (เดิมอำเภอเวียงเก่า เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอภูเวียง ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเมื่อปี 2550)
          ถ้าไปในฐานะนักท่องเที่ยว น่าจะไปที่พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ตั้งอยู่ก่อนทางที่จะเข้าไปอุทยานแห่งชาติภูเวียง ซึ่งเป็นแหล่งขุดค้นหรือบริเวณหลุมขุดค้น เหมาะสำหรับผู้ที่ไปศึกษาค้นคว้าด้านธรณีวิทยาอย่างจริงจัง
          การเดินทางใช้เส้นทางกรุงเทพฯ โคราช โผล่มาที่ขอนแก่น ถ้าเลี้ยวขวาเข้าเมือง ต้องเลี้ยวซ้ายไปทางอำเภอชุมแพ เลี้ยวขวาอีกทีตอนเห็นป้ายบอกทางไปอำเภอภูเวียง เลยไปอีกนิดจะถึงจุดหมาย อำเภอภูเวียง
          เพื่อให้อุ่นใจควรมีน้ำมันติดรถอย่างน้อยครึ่งถัง เพราะระยะทางไปกลับขอนแก่น-เวียงเก่า เกือบ 200 กิโลเมตร แต่ถ้าลืมเติม ในอำเภอภูเวียงมีปั๊มใหญ่ปตท.คอยอำนวยความสะดวกอยู่ หรือขับให้ประหยัดน้ำมัน ปิดแอร์ เปิดหน้าต่าง ช่วยได้เยอะ
          ก่อนถึงพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ต้องผ่านอุทยานไดโนเสาร์ศรีเวียงก่อน ถ้าให้ดีแวะตอนขากลับ เอาความรู้ที่ได้จากพิพิธภัณฑ์ มาทายสนุก ๆ ที่อุทยาน ตัวไหน พันธุ์อะไรเอ่ย..

 

          กระดูกไดโนเสาร์หลุมขุดค้นที่ 1 เริ่มต้นเมื่อปี 2523 และมีการค้นพบหลุมขุดค้นที่ 2 ปี 2530
          ปี 2532 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทอดพระเนตรหลุมขุดค้นที่ 2 และปี 2533 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์เสด็จทอดพระเนตรหลุมขุดค้นที่ 2 เช่นกัน ทำให้เกิดการพัฒนาหลุมขุดค้นไดโนเสาร์ และพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียงตั้งแต่นั้นมา
   

          ไดโนเสาร์ไทยบนแผ่นดินอีสาน
          อีสานโนซอรัส อรรถวิภัชน์ชิ
          “อีสานโนซอรัส” หมายถึงสัตว์เลื้อยคลานแห่งอีสาน “อรรถวิภัชน์ชิ” ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่นายปรีชา อรรถวิภัชน์ อดีตอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ผู้สนับสนุนการวิจัยไดโนเสาร์ จากการศึกษาปี 2543 พบว่าอีสานโนซอรัส อรรถวิภัชน์ชิ เป็นไดโนเสาร์ซอโรพอด (ไดโนเสาร์กินพืช คอยาว หางยาว เดิน 4 ขา) เก่าแก่ที่สุดในโลก
          สเตโกซอร์
          ปี 2542 นักบรรพชีวินวิทยาขุดพบกระดูกสันหลังที่มีลักษณะพิเศษในชั้นหินทรายสีเทา คาดว่าเป็นของสเตโกซอร์ เนื่องจากไดโนเสาร์ชนิดนี้มีกระดูกสันหลังที่ต่างไปจากไดโนเสาร์ชนิดอื่นอย่างเห็นได้ชัด นับเป็นครั้งแรกที่พบกระดูกไดโนเสาร์วงศ์นี้ในประเทศไทย สเตโกซอร์เป็นไดโนเสาร์กินพืชที่มีแผ่นกระดูกขนาดใหญ่ เรียงเป็นแถวอยู่บนหลัง มีเดือยแหลมที่ปลายหาง และหัวขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับขนาดตัว
          ฮิปซิโลโฟดอน
          การค้นพบกระดูขาซ้ายท่อนบนที่มีลักษณะเฉพาะของพวกฮิปซิโลโฟดอน ทำให้รู้ว่ามีไดโนเสาร์กินพืชขนาดเล็กในประเทศไทยด้วย ลักษณะของมันเดิน 2 ขา มีจะงอยปากเหมือนเขาสัตว์ ขากรรไกรและฟันกรามมีรูปร่างคล้ายใบไม้ จึงเหมาะสำหรับการเคี้ยวพืช
          ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่ 
          เป็นไดโนเสาร์ซอโรพอดชนิดแรกของไทย เดิน 4 ขา คอยาว หางยาว ตั้งชื่อถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระเทพฯ ผู้ทรงสนพระราชหฤทัยในงานด้านบรรพชีวินวิทยาเป็นอย่างมาก ชื่อภูเวียงโกซอรัส หมายถึงสัตว์เลื้อยคลานแห่งภูเวียง 
          ซิตตะโกซอรัส สัตยารักษ์กิ
          เป็นไดโนเสาร์พวกเซอราทอปเชียน เป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดเล็ก มีจะงอยปากเหมือนนกแก้ว จัดอยู่ในพวกที่มีแผงเกราะขนาดเล็ก ไม่มีเขา รูปลักษณ์ส่วนใหญ่คล้ายชิตตะโกซอรัสที่พบในประเทศจีน แต่ลักษณะของกรามบางส่วนต่างกัน จึงแยกออกมาเป็นอีกชนิดหนึ่ง ตั้งชื่อว่า สัตยารักษ์กิ เพื่อเป็นเกียรติแก่นายนเรศ สัตยารักษ์ ผู้ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ชนิดนี้เป็นคนแรก
          สยามโมซอรัส สุธีธรนิ
          สยามโมซอรัส หมายถึงสัตว์เลื้อยคลานแห่งสยาม ส่วน “สุธีธรนิ” ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ ดร.วราวุธ สุธีธร ผู้มีส่วนร่วมในการสำรวจขุดค้น สยามโมซอรัส สุธีธรนิ เป็นไดโนเสาร์ที่มีการศึกษาวิจัยเป็นชนิดแรกของไทย ในช่วงแรกมีการค้นพบฟันอย่างเดียวเท่านั้น ต่อมามีการค้นพบชิ้นส่วนหัวกะโหลกและกระดูกบางส่วน ชิ้นส่วนที่น่าสนใจที่สุดคือ กระดูกที่มีลักษณะแบนคล้ายใบพาย ซึ่งเป็นกระดูกของแผงด้านหลัง ทำให้รู้ว่าไดโนเสาร์ชนิดนี้มีแผงหลังที่คล้ายกับไดโนเสาร์สไปโนซอรัส
          กินรีมิมัส
          นักบรรพชีวินวิทยา ขุดพบกระดูกขาของไดโนเสาร์ มีลักษณะเล็กยาวเรียว สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นกระดูกของพวกที่วิ่งเร็วและปราดเปรียว นั่นคือไดโนเสาร์นกกระจอกเทศที่มีปากเป็นจะงอย ไม่มีฟัน วิ่งได้เร็วพอๆ กับนกกระจอกเทศ
          สยามโมไทรันนัส อีสานเอนซิส
          สยามโมไทรันนัส หมายถึง ไดโนเสาร์ไทรัตน์แห่งสยาม ส่วนคำว่า อีสานเอนซิส หมายถึงพบที่ภาคอีสาน จากการศึกษาเมื่อปี 2539 พบว่าเป็นไดโนเสาร์วงศ์ไทรันโนซอริเดที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ทำให้สันนิษฐานได้ว่ากลุ่มของไทรันโนซอร์เริ่มวิวัฒนาการครั้งแรกในเอเชีย แพร่กระจายไปทางเอเชียเหนือ ก่อนที่จะสูญพันธุ์ในอเมริกา
          คอมพ์ซอกเนธัส
          หมายถึงขากรรไกรที่สง่างาม เป็นไดโนเสาร์ขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายนก ลำตัวเพรียว คอยาว หัวเล็ก แขนขายาวเรียว ขาหน้าสั้น เล็บแหลม มี 2 นิ้ว ขาหลังมี 3 นิ้ว  

 

          ที่นี่อนุญาตให้ถ่ายรูปได้ ถ่ายกันเยอะ ๆ ช่วยกันเผยแพร่ ชวนกันไปดูมาก ๆ ของดีมีให้ดูฟรี ดูแล้วได้ความรู้ด้วย
 
          พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง ตั้งอยู่ที่ตำบลในเมือง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น โทร.0-4343-8204, 0-4343-8206 www.dmr.go.th เปิดอังคาร-อาทิตย์ 09.00-17.00 น. เว้นวันจันทร์นักขัตฤกษ์ เปิดให้บริการ


by ryo : watta.ryo@gmail.com

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 602 คน กำลังออนไลน์