งานเข้า จัดการให้แล้วเสร็จ ในวันที่ 11 ธ.ค. 2552 นะคะ ม.2/5

รูปภาพของ sasrungtip

งานเข้า  จัดการให้แล้วเสร็จ ในวันที่ 11 ธ.ค. 2552 นะคะ  ม.2/5

ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูล ขั้นตอนการจัดทำ.....ในสิ่งที่นักเรียนสนใจ โดยเข้าระบบ สร้างเนื้อหา บล็อก แล้วคัดลอกมาวาง อย่าลืมบอกที่มาข้อข้อมูลด้วย  แล้วส่ง node มาให้ครู ตรงแสดงความคิดว่า node ใด เช่น http://www.thaigoodview.com/node/48784

รูปภาพของ sas14570

« รูปแบบการปกครองสมัยอยุธยา  »             รูปแบบการปกครองสมัยอยุธยานั้นแบ่งได้ 3 ระยะตามลักษณะการปกครอง คือ การปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น  อยุธยาตอนกลาง  อยุธยาตอนปลาย

การปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น   มีลักษณะดังนี้

การปกครองระยะนี้เริ่มเมื่อ (พ.ศ.1893-1991 )สมัยพระเจ้าอู่ทองถึงสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2  แบ่งการปกครองได้ 2 ส่วน

            ส่วนที่ 1)   การปกครองส่วนกลาง  การปกครองในเขตราชธานี   และบริเวณโดยรอบราชธานีโดยได้จัดรูปแบบการปกครองแบบเขมร จัดหน่วยการปกครองเป็น 4 หน่วย แต่ละหน่วยมีเสนาบดีบริหารงาน ได้แก่  กรมเวียง (ดูแลในเขตเมืองหลวง)  กรมวัง(ดูแลพระราชสำนักและพิจารณาคดี)  กรมคลัง(ดูแลพระราชทรัพย์) กรมนา  (จัดเก็บภาษีและจัดหาเสบียงสำหรับกองทัพ)

    ส่วนที่ 2)   การปกครองส่วนหัวเมือง   แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ

        1. เมืองลูกหลวง   หรือเมืองหน้าด่าน       ตั้งอยู่รอบราชธานี 4  ทิศ เช่น ลพบุรี  นครนายก พระประแดง  สุพรรณบุรี ให้โอรสหรือพระราชวงศ์ชั้นสูงไปปกครอง
        2. หัวเมืองชั้นใน  อยู่ถัดจากเมืองลูกหลวงออกไป ได้แก่ พรหมบุรี  สิงห์บุรี ปราจีนบุรี  ฉะเชิงเทรา ชลบุรี  ตะนาวศรี  ไชยา นครศรีธรรมราช ให้ขุนนางที่กษัตริย์แต่งตั้งไปปกครอง
         3.หัวเมืองชั้นนอก   หรือหัวเมืองพระยามหานครคือหัวเมืองขนาดใหญ่ห่างจากราชธานีผู้ปกครองสืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองเดิมหรือตัวแทนที่ราชธานีส่งมาปกครอง
         4. เมืองประเทศราช   เป็นเมืองที่ยังได้ปกครองตนเองเพราะอยู่ไกลที่สุด   มีความเป็นอิสระเหมือนเดิมแต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการตามกำหนดส่งกองทัพมาช่วยเวลาสงคราม เช่นสุโขทัย เขมร เป็นต้น 

การปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง  ( 1991-2231) มีลักษณะดังนี้
                 ช่วงเวลาทางการเมืองสมัยอยุธยาตอนกลางได้มีการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ ทางการเมือง โดยมีสถาบันกษัตริย์เป็นหลักในการปกครองแบ่งได้ 2 ช่วง

        ช่วงที่ 1  เป็นช่วงสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ   ทรงปรับปรุงการปกครองใหม่เนื่องจากปัจจัยหลายๆอย่างเช่น เศรษฐกิจ ควบคุมหัวเมืองได้ไม่ทั่วถึง    และเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่านมีอำนาจมากขึ้น และมักแย่งชิงบัลลังก์อยู่เนืองๆ ประกอบกับอาณาเขตที่กว้างขวางกว่าเดิมพระองค์ได้จัดการแยก ทหารและ   พลเรือนออกจากกัน และจัดการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ทำให้ราชธานีมีอำนาจมากขึ้น มีการควบคุมเข้มงวดมากขึ้น  มีการปฏิรูปการปกครองแยกเป็น 2 ส่วน คือส่วนกลางและหัวเมือง
        สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแยกการปกครองส่วนกลางเป็น  2  ฝ่าย คือ ทหารและพลเรือน    ทหาร มี สมุหกลาโหมดูแล  ส่วนพลเรือนมี  สมุหนายก  ดูแล

         
สมุหนายก มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง สมุหนายก ดูแล ข้าราชการฝ่ายพลเรือนทั้งในราช
         
สมุหกลาโหม มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง

สมุหพระกลาโหมเป็นผู้ดูแลฝ่ายทหาร ทั้งในราชานีและหัวเมือง    และยังได้ปรับปรุงจตุสดมภ์ภายใต้การดูแลของ  สมุหนายก  อัครมหาเสนาบดีผู้ดูแลปรับเปลี่ยนชื่อเป็น ออกญาโกษาธิบดี

การปฏิรูปส่วนหัวเมือง  แยกเป็น 3 ส่วน

        หัวเมืองชั้นใน   ยกเลิกหัวเมืองลูกหลวง จัดตั้งเป็นเมืองชั้นใน  ทรงขุนนางไปครองเรียก  ผู้รั้ง
        หัวเมืองชั้นนอก คือหัวเมืองประเทศราชเดิม ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาเรียกว่า  เมืองพระยามหานคร  จัดการปกครองใกล้ชิด เช่น พิษณุโลก นครศรีธรรมราช เป็นเมืองชั้นเอก โท และตรี
        เมืองประเทศราช  คือเมืองชาวต่างชาติที่ยอมอยู่ใต้อำนาจ เช่น ตะนาวศรี ทะวาย เขมร ให้เจ้านายพื้นเมืองเดิมปกครอง ส่งบรรณาการและกองทัพมาช่วยเวลาเกิดสงคราม
     ช่วงที่ 2  ตรงกับสมัยพระเพทราชา  ถ่วงดุลอำนาจทางทหารโดยให้สมุหกลาโหม  และสมุหนายก ดูแลทั้งทหารและพลเรือน  โดยแบ่ง หัวเมืองใต้ ให้สมุหกลาโหมดูแลหัวเมืองทางใต้และพลเรือน  ส่วนพลเรือนและทหารฝ่ายเหนือให้  สมุหกลาโหมดูแล

การปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย ( ในช่วง 2231-2310)  มีลักษณะดังนี้
            พอถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ครองราชย์ ทรงปรับเปลี่ยนอำนาจทางทหาร เพื่อถ่วงดุลมากขึ้นโดย ให้พระโกษาธิบดีหรือพระคลัง ดูแลทหารและพลเรือนทางใต้ แทนสมุหกลา-โหม     ส่วนสมุหนายก  ยังคงเหมือนเดิม
 การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปกครองสมัยอยุธยาตั้งแต่ตอนต้นจนถึงตอนปลายนั้น กระทำเพื่อการรวมอำนาจสู่ศูนย์กลางให้มากที่สุด เพื่อถ่วงอำนาจ ระหว่างเจ้านาย และ ขุนนาง ไม่ให้เป็นภัยต่อพระมหากษัตริย์นั้นเอง

             เข้าใจชัดแล้วใช่ไหมว่า ทำไมอยุธยาต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปกครองค่อนข้างบ่อยเหตุผลก็เพื่อความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์ที่เป็นหลักในการปกครองนั่นเอง

            สรุป การปกครองสมัยอยุธยามีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางการเมืองโดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือพยายามรวมอำนาจการปกครองสู่ส่วนกลาง และควบคุมการปกครองหัวเมืองต่างๆให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น พร้อมกับพยายามจัดรูปแบบการปกครอง เพื่อถ่วงดุลอำนาจกับกลุ่มเจ้านายและขุนนาง ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการปกครอง ดังนั้น สมัยอาณาจักรอยุธยาจึงเกิดการแย่งชิงอำนายทางการเมืองระหว่างพระมหากษัตริย์  เจ้านาย และขุนนาง  ตลอดจนสิ้นอยุธยา

ส่วนประกอบหลัก

1. ไขมันหรือน้ำมัน ไขมันหรือน้ำมัน ทั้งจากสัตว์และจากพืชหลากหลายชนิด สามารถนำมาเป็นส่วนผสมในการผลิตสบู่ได้ กรดไขมันนี้จะรวมตัวกับสารอื่น อยู่ในรูปของกลีเซอไรด์ เมื่อนำด่างเข้ามาผสมและทำปฏิกิริยากับกรดไขมันจะหลุดออกจากกลีเซอไรด์ มารวมตัวกันเป็นสบู่ สารที่เกาะอยู่กับกรดไขมันก็จะออกมาเป็นกลีเซอรีน น้ำมันแต่ละชนิดก็จะให้สบู่ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป กรดไขมันแต่ละชนิดเมื่อรวมตัวกับด่างแล้ว จะให้สบู่ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน เช่น กรดลอริก (lauric acid) มีมากในน้ำมันมะพร้าว เป็นกรดไขมันที่ทำปฏิกิริยากับด่างแล้วให้สารที่มีฟองมาก เป็นต้น ดังนั้นจึงควรศึกษาคุณสมบัติของสบู่ที่ได้จากไขมันต่างชนิดกัน ดังนี้ ตาราง คุณสมบัติ – อายุการใช้งานของน้ำมันแต่ละชนิด ชื่อน้ำมัน คุณสมบัติ อายุการใช้งาน น้ำมันมะกอก สบู่ที่ได้จะเป็นก้อนแข็ง มีฟองครีมนุ่มนวล มีคุณค่าในการบำรุงผิวมาก มากกว่าสามเดือน น้ำมันงา สบู่ที่ได้จะนิ่ม มีค่าการชำระล้างปากกลาง แต่มีวิตามินอีสูงมาก แต่อาจมีกลิ่นที่บางคนไม่ชอบ มากกว่าสามเดือน น้ำมันมะพร้าว สบู่ที่ได้จะมีก้อนแข็ง มีฟองครีมนุ่มนวลจำนวนมาก แต่ไม่ควรใช้เกิน 30% เพราะมีค่าการชำระล้างสูง อาจทำให้ผิวแห้ง มากกว่าสามเดือน น้ำมันรำข้าว สบู่ที่ได้จะนิ่ม ค่าการชำระล้างปานกลาง แต่มีวิตามินอีมาก เหมาะสำหรับบำรุงผิว มากกว่าสามเดือน น้ำมันถั่วเหลือง สบู่ที่ได้จะนิ่ม ค่าการชำระล้างปานกลาง แต่มีวิตามินอีมาก มีคุณสมบัติช่วยให้ผิวยืดหยุ่นได้ดี เป็นน้ำมันอายุสั้น ทำสบู่แล้วควรใช้ให้หมดภายในสามเดือน น้ำมันเมล็ดทานตะวัน สบู่ที่ได้จะนิ่ม ค่าการชำระล้างปานกลาง มีวิตามินอีมาก เป็นน้ำมันอายุสั้น ทำสบู่แล้วควรใช้ให้หมดภายในสามเดือน น้ำมันปาล์ม สบู่ที่ได้จะเป็นก้อนแข็ง มีฟองปานกลาง ค่าการชำระล้างสูง ควรใช้ไม่เกิน 30% เพราะอาจทำให้ผิวแห้ง มากกว่าหกเดือน ไขมันวัว สบู่ที่ได้จะเป็นก้อนแข็ง มีฟองปานกลาง ค่าการชำระล้างสูง เหมาะสำหรับผสมทำสบู่สำหรับซักล้าง มากกว่าหกเดือน ไขมันหมู สบู่ที่ได้จะมีสีขาวและนิ่ม มีฟองน้อย ค่าการชำระล้างปานกลาง มีคุณสมบัติในการบำรุงผิว มากกว่าสามเดือน

2. ด่าง ชนิดของด่างที่ใช้ มี 2 ชนิด - โซเดียมไฮดรอกไซด์ หรือโซดาไฟ (Sodium hydroxide) ใช้สำหรับทำสบู่ก้อน - โปแตสเซียม ไฮดรอกไซด์ (Potassium hydroxide) ใช้สำหรับทำสบู่เหลว จากตาราง แสดงปริมาณด่างที่ใช้ต่อไขมัน 100 กรัม ภายหลังทำปฏิกิริยาจะมีไขมันเหลือประมาณร้อยละ 5 - 8 อย่างไรก็ดี อาจมีความผิดพลาดเนื่องจากการใช้มาตราชั่ง ตวง วัด และปัจจัยการผลิตอื่น ๆ หรือวิธีการผลิตอื่น ที่ทำให้ปริมาณด่างเหลือมากกว่าที่คำนวณไว้ จึงจำเป็นต้องควบคุมคุณภาพ โดยการวัด pH ทุกครั้งที่ผลิตและหลังจากสบู่แข็งตัวแล้ว ตาราง ปริมาณด่างที่ทำปฏิกิริยากับไขมัน จำนวน 100 กรัม สบู่ที่ได้มีไขมันประมาณ 5 – 8 % ที่ ชื่อน้ำมัน โซดาไฟ (กรัม) โปตัสเซียม ไฮดรอกไซด์ (กรัม) 1 ปาล์ม 13.06 18.32 2 มะพร้าว 16.92 23.74 3 ละหุ่ง 11.83 16.59 4 มะกอก 12.46 17.48 5 งา 12.66 17.76 6 ถั่วเหลือง 12.46 17.48 7 รำข้าว 12.33 17.30 8 เมล็ดทานตะวัน 12.56 17.62 9 ขี้ผึ้ง 6.17 10 ไขมันวัว 12.92 18.12 11 ไขมันหมู 12.76 17.90 12 ไขมันแพะ 12.72 17.85

3. น้ำ น้ำที่ใช้ทำสบู่ได้ต้องเป็นน้ำอ่อน ถ้าเป็นนำกระด้างจะทำให้สบู่ไม่เกิดฟอง น้ำที่เหมาะในการทำสบู่มากที่สุดคือน้ำฝน ปริมาณน้ำที่ใช้ในการทำปฏิกิริยาเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะหากใช้น้ำมากต้องทิ้งไว้หลายวัน สบู่จึงจะแข็งตัว น้ำน้อยเกินไปอาจทำให้ปฏิกิริยาไม่สมบูรณ์ หากใช้ไขมันแต่ละชนิดรวมกันแล้ว 100 กรัม ควรให้น้ำประมาณ 35-38 เปอร์เซ็นต์ หรือเพิ่มตามสัดส่วน

4. ส่วนผสมเพิ่มเติมในสบู่ - บอแร็กซ์ ...สารบอแร็กซ์นี้ไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้ ...แต่สารนี้ช่วยให้สบู่มีสีสันสวยงามและทำให้เกิดฟองมาก... มีจำหน่ายตามร้านขายยาหรือร้านขายของชำ มีชื่อเรียกว่า ผงกรอบ หรือผงนิ่ม ส่วนใหญ่บรรจุในถุงพลาสติก - น้ำหอม.น้ำหอมก็ไม่มีความจำเป็นต้องใช้เช่นกัน แต่ถ้าใช้จะทำให้สบู่มีกลิ่นดีขึ้น ถ้าไขมันที่ทำสบู่นั้นเหม็นอับใช้น้ำมะนาวหรือน้ำมะกรูดผสมจะช่วยให้กลิ่นหอมยิ่งขึ้นและไม่เน่า - สารกันหืน การผลิตสบู่ไว้ใช้เอง ซึ่งใช้หมดในระยะเวลาสั้น จำเป็นต้องใส่สารกันหืนเมื่อต้องการเก็บไว้เป็นเวลานาน - สมุนไพร ใช้เพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ต่อผิวหนังตามคุณสมบัติของสมุนไพรนั้นๆ

วิธีการเติมสมุนไพรลงในสบู่ มี 2 วิธี คือ

o เติมในระหว่างกระบวนการทำสบู่ วิธีการนี้ ผู้ผลิตควรเติมสมุนไพรหลังจากกวนส่วนผสมของสบู่เสร็จเรียบร้อยแล้ว การเติมควรเติมสมุนไพรก่อนเทสบู่ลงแบบ เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับสมุนไพรประเภทสกัดเป็นผงแอลกอฮอล์ และสกัดด้วยน้ำมัน

o ทำสบู่พื้นฐานขึ้นมาก่อน แล้วนำมาหลอมใหม่ หลังจากนั้นจึงเติมสมุนไพรลงไป วิธีนี้เรียกว่า "การทำสบู่สองขั้นตอน" เหมาะสำหรับสมุนไพรที่สกัดด้วยการคั้นหรือการต้ม สัดส่วนการเติมสมุนไพรลงในสบู่

o สมุนไพรผง ควรเติมในปริมาณ 1-5% ของน้ำหนักสบู่

o สมุนไพรที่สกัดด้วยน้ำต้มหรือน้ำคั้น ควรเติมในปริมาณ 10% ของน้ำหนักสบู่ และต้องลดในส่วนของน้ำที่ใช้ละลายด่างออกในปริมาณที่เท่ากัน

o สมุนไพรที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์ ควรเติมได้ไม่เกิน 10% ของน้ำหนักสบู่ และหักลดในส่วนของน้ำที่ใช้ละลายด่างในปริมาณที่เท่ากัน เช่นเดียวกันกับสมุนไพรที่สกัดด้วยน้ำมัน - สารเพิ่มคุณภาพสบู่ ส่วนใหญ่เติมเพื่อให้ความชุ่มชื้น นั้นก็คือกลีเซอรีน ซึ่งในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จะแยกเกล็ดสบู่และกลีเซอรีนไว้ ในกรณีนี้ผู้ผลิตสบู่เอง ไม่จำเป็นต้องเติม กลีเซอรีน เพราะมีอยู่แล้วในสบู่ แต่หากต้องการคุณสมบัติเพิ่มขึ้น ก็อาจเติมได้ 5-10% เครื่องมืออุปกรณ์ในการผลิต อาจใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ได้ทุกชิ้น ยกเว้นในขั้นตอนที่จะต้องสัมผัสกับโซดาไฟ ทุกขั้นตอนภาชนะที่ใช้ต้องหลีกเลี่ยงชนิดที่เป็นโลหะ หรืออลูมิเนียมเพราะอาจเกิดการกัดกร่อนเสียหายทั้งภาชนะและคุณสมบัติบางประการของสบู่ ควรจะใช้ประเภทหม้อเคลือบสแตนเลสหรือแก้วทนไฟแทน

ซึ่งอุปกรณ์ที่จำเป็นแยกได้ดังนี้

1. หม้อสแตนเลส 2 ใบ (ไว้สำหรับตุ๋นน้ำมัน)

2. เทอร์โมมิเตอร์ 2 อัน (อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส)

3. ไม้พาย 1 อัน

4. ทัพพี 1 อัน (สำหรับตักสบู่)

5. ถ้วยตวงแก้ว 1 ใบ (สำหรับผสมสารละลายโซดาไฟ)

6. ถาดใส่น้ำ 1 ใบ (สำหรับหล่อที่ใส่สารละลายโซดาไฟให้อุณหภูมิลดลง)

7. เหยือก 1 ใบ (สำหรับใส่สารสะลายโซดาไฟที่อุ่นลงแล้ว)

8. แท่งแก้ว (สำหรับกวนโซดาไฟ)

9. เตาไฟฟ้า หรือเตาแก๊ส

10. เครื่องชั่งขนาด 1-2 กิโลกรัม

11. ถุงมือ,แว่นตา,เสื้อคลุม,ที่ปิดจมูก

12. แม่พิมพ์สบู่ ใช้กล่องไม้ หรือ กระดาษแข็งรอด้วยกระดาษไข หรือพลาสติด

13. อื่น ๆ ผ้าเช็ดมือ , กระดาษทิชชู ,กระดาษหนังสือพิมพ์ใช้แล้ว, กระดาษวัดค่า pH

การตั้งสูตรสบู่

1. คัดเลือกไขมัน ที่ใช้ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ไขมันตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ตั้งสัดส่วน ปริมาณไขมันแต่ละชนิด

2. คัดเลือกชนิดด่าง ตามวัตถุประสงค์ เช่น ต้องการทำสบู่ก้อนใช้โซดาไฟ ทำสบู่เหลวใช้ โปรตัสเซียมไฮดรอกไซด์

3. คำนวณปริมาณด่าง ที่ใช้สูตร โดยน้ำหนักไขมันแต่ละชนิดมาคำนวณปริมาณด่างโซเดียม ไฮดรอกไซด์ที่ใช้ แล้วเอามารวมกันเป็นปริมาณรวมดังตัวอย่าง ตัวอย่างวิธีคำนวณ น้ำมันมะพร้าว 120 กรัม ใช้โซดาไฟ 20.304 (16.92*120/100) กรัม น้ำมันปาล์ม 80 กรัม ใช้โซดาไฟ 10.448 (13.06*80/100) กรัม น้ำมันมะกอก 300 กรัม ใช้โซดาไฟ 37.38 (12.46*300/100) กรัม รวมไขมัน 500 กรัม รวมโซดาไฟ 68.132 กรัม

4. คำนวณปริมาณน้ำที่ใช้ จากหลักข้อกำหนดปริมาณไขมัน 100 กรัม ควรใช้น้ำ 35 - 38 กรัม ฉะนั้น จากตัวอย่างสูตร จึงควรใช้น้ำ 175 - 190 ซีซี.

วิธีการและเทคนิคการผลิตสบู่

1. เตรียมแม่พิมพ์สบู่

2. เตรียมเครื่องมือทั้งหมด

3. ผู้ผลิตใส่เสื้อกันเปื้อน สวมถุงมือ ผ้าปิดปากและจมูก และแว่นตา

4. ชั่งด่างอย่างระมัดระวัง

5. ชั่งน้ำที่ใช้ ค่อย ๆ เติมด่างลงในน้ำอย่างช้า ๆ ระวังไม่ให้กระเด็น คนจนละลายหมด วัดอุณหภูมิ ประมาณ 40-50 องศาเซลเซียส

6. ชั่งไขมันทั้งหมดผสมรวมรวมกัน วางบนเครื่องอังไอน้ำหรือตุ๋น วัดอุณหภูมิประมาณ 40 - 45 องศาเซลเซียส ยกลง

7. เช็คอุณหภูมิน้ำด่างในข้อ 5 อีกครั้ง

8. เมื่ออุณหภูมิน้ำด่างและไขมันใกล้เคียงกัน ค่อยเทน้ำด่างลงในไขมัน คนเบา ๆ เมื่อเทน้ำด่างหมด ให้คนแรง ๆ ควรคน 15 นาที พัก 5 นาที จนกระทั่งเนื้อของเหลวเป็นสีขุ่นจนหมด เทลงแบบพิมพ์

9. ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ แกะออกจากพิมพ์ ตัดเป็นก้อน

10. ตรวจสอบ pH บริเวณผิวสบู่ และเนื้อในสบู่บริเวณต่ำกว่าผิวประมาณ 2 มิลลิเมตร ถ้ามีค่า pH อยู่ระหว่าง 8 - 10 สามารถนำไปใช้ได้ หากมีค่าเกิน 10 เฉพาะที่บริเวณผิว ให้ตัดเฉพาะผิวนอกทิ้ง หากเนื้อในและผิวมีค่า pH เกิน 10 ทั้งสองบริเวณ แสดงว่าสบู่นั้นมีปริมาณด่างเกินกำหนด ไม่ควรนำไปใช้ เพราะอาจเกิดอันตรายทำให้ผิวเหี่ยว ซีด หรือคัน เมื่อสัมผัส

11. ห่อกระดาษ หรือบรรจุภาชนะแจกจ่ายในชุมชน

ข้อควรระวังในการผลิตสบู่

1. เพื่อความปลอดภัยของผู้ผลิต ควรสวมถุงมือยาง รองเท้า กางเกงขายาว เสื้อแขนยาว ใส่ผ้าปิดปาก ปิดจมูก และแว่นตา ขณะที่ทำการผลิตสบู่

2. อุปกรณ์ทุกชนิดที่ใช้ ห้ามใช้วัสดุ อะลูมิเนียม ดีบุก สังกะสี หรือโลหะอื่น ๆ นอกจากที่แนะนำ เพราะโลหะเหล่านี้ จะทำปฏิกิริยากับโซดาไฟ เป็นอันตรายแก่ผู้ผลิตหรือผู้ใช้

3. เลือกใช้เครื่องชั่งที่เหมาะสม เช่น ชั่งของระหว่าง 1 - 3 กก. ให้ใช้เครื่องชั่งที่รับน้ำหนักได้สูงสุด 3 กก. กรณีที่ชั่งวัตถุต่ำกว่า 1 กก. ให้ใช้เครื่องชั่งที่รับน้ำหนักได้สูงสุด 1 กก. การผลิตสบู่ก้อน ให้ชั่งส่วนผสมทั้งหมดอย่างระมัดระวัง และตรวจสอบความแม่นยำของเครื่องชั่งสม่ำเสมอ

4. การใช้เทอร์โมมิเตอร์อันเดียววัดทั้งอุณหภูมิของน้ำด่าง และไขมันนั้น ต้องล้างน้ำและเช็ดให้สะอาดทุกครั้งที่จะเปลี่ยนชนิดการวัด

5. สถานที่ผลิตควรมีอ่างน้ำ หรือถังใส่น้ำสะอาดประมาณ 10 ลิตร เพื่อใช้กรณีฉุกเฉิน เช่น น้ำด่างกระเด็นถูกผิวหนัง

6. ห้ามเด็กเล็ก อายุต่ำกว่า 12 ปี และสัตว์เลี้ยง เข้าใกล้บริเวณที่ผลิต รวมถึงการให้ความรู้ และทำความเข้าใจถึงอันตรายของสารเคมี แก่สมาชิกที่ร่วมผลิต และบุตรหลาน

7. ซื้อโซเดียมไฮดรอกไซด์ เฉพาะที่ใช้ หรือเหลือเก็บเล็กน้อยเท่านั้น เก็บไว้ให้ห่างไกลจากเด็กและสัตว์เลี้ยง หากสามารถใส่กุญแจจะเพิ่มความปลอดภัยอีกชั้นหนึ่ง ภาชนะที่ใส่ต้องปิดให้สนิท โซเดียมไฮดรอกไซด์ ที่เหลือเก็บต้องมีฉลากและวิธีการแก้ไข หรือวิธีการปฐมพยาบาลที่ภาชนะบรรจุทุกครั้ง การตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานสบู่ ตรวจสอบค่า pH โดยตัดชิ้นสบู่เล็กน้อย เป็นแผ่นบาง ๆ ประมาณ 5 กรัม นำมาละลายย้ำ 10 มล. จุ่มกระดาษวัด pH วัดประมาณ 30 วินาที จนสีกระดาษคงที่ นำกระดาษ pH มาเทียบกับสีมาตรฐาน ที่กล่อง ถ้าสีเหมือนกับช่องใด ซึ่งมีค่า pH กำกับไว้ ทำให้ทราบค่า pH ของสบู่ได้ เช่น ดูจากลักษณะ ภายนอก เช่น การเกิดฟอง การล้างน้ำออก การทดสอบฟอง ความนุ่มหลังจากการใช้

วิธีการแก้ไขเมื่อถูกน้ำด่าง

1. เมื่อน้ำด่างกระเด็นสัมผัสผิวหนัง หรือนัยน์ตา - หากกระเด็นถูกผิวหนังหรือร่างกาย ให้ราดบริเวณผิวที่สัมผัสด้วยน้ำส้มสายชู หรือน้ำมะนาวผสมน้ำสะอาดอย่างละเท่ากัน เพื่อทำให้โซเดียมไฮดรอกไซด์เปลี่ยนสภาพจากด่างเป็นกลาง ลดความระคายเคือง แล้วห้างด้วยน้ำเย็นหลายๆ ครั้ง จนไม่รู้สึกคัน แสบร้อน หากยังมีอาการให้ล้างน้ำต่อไปเรื่อยๆ แล้วนำส่งโรงพยาบาล - หากกระเด็นเข้าตา ให้ล้างน้ำสะอาดหลายครั้ง ตลอดเวลาที่นำส่งโรงพยาบาล

2. หากเกิดอุบัติเหตุกลืนกินโซเดียมไฮดรอกไซด์ ให้รีบดื่มนม แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลโดด่วน การทดสอบว่าสบู่จะดีหรือไม่ สบู่ที่ดีควรจะแข็ง สีขาว สะอาด กลิ่นดีและไม่มีรส สามารถขุดเนื้อสบู่ออกเป็นแผ่นโค้ง ๆ ได้ ไม่มันหรือลื่นจนเกินไป เมื่อใช้ลิ้นแตะดูไม่หยาบหรือสาก

วิธีการแก้ไขและการปรับปรุงสบู่ให้ดีขึ้น

1. เมื่อสบู่เป็นด่างเกินกำหนด ให้นำสบู่มาขูดเป็นฝอย ละลายใหม่ ด้วยน้ำ ครึ่งเท่าที่เคยใช้เดิม นำไปตั้งบนลังถึง ไม่ต้องคน เมื่อละลายหมด เติมกรดซิตริก คนเบาๆ วัดค่า pH จนได้ค่าตามต้องการ สบู่ที่ได้จะมีลักษณะเนื้อไม่แน่น ควรนำมาทำสบู่น้ำดีกว่า

2. ถ้าส่วนผสมไม่ข้น แสดงว่า ด่างน้อยไป แก้โดยเพิ่มด่างเข้าไปอีก เล็กน้อย แล้วกวนต่อไป

3. ส่วนผสมเป็นก้อนและแยกชั้น แสดงว่า ใช้ด่างมาก ให้เติมน้ำมันหรือกรดไขมัน ลงไปทีละน้อย แล้วตีต่อไป

4. สบู่ที่ได้เปราะ ตัดไม่สวย ให้เติมกรดไขมันหรือน้ำมันอีกตาม 5-10 เปอร์เซ็นต์

5. ถ้าสบู่ที่ผ่านขั้นตอนตามเวลาที่ทำทุกช่วงแล้ว แต่ยังมีส่วนผสมบางส่วนไม่แข็งตัวหรือแยกกันอยู่ หรือไม่ดีเพราะสาเหตุใดก็ตาม อาจแก้ไขให้ดีขึ้นดังนี้ - ตัดสบู่ออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ลงในหม้อที่มีน้ำมันบรรจุอยู่ 2.8 ลิตร พร้อมทั้งเทส่วนที่เป็นของเหลวที่เหลืออยู่ในแบบพิมพ์.....ลงไปด้วย - นำไปต้มนานประมาณ10นาที อาจเติมน้ำมะนาวหรือน้ำมันอื่น ๆ ที่มีกลิ่นหอมลงไปในส่วนผสมประมาณ 2 ช้อนชา.....( ถ้ายังไม่ได้เติม ) ต่อจากนั้นจึงเทส่วนผสมลงในแบบพิมพ์ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ปล่อยไว้ 2 วัน แล้วดำเนินการตามที่.....กล่าวมา การทำสบู่จากน้ำด่างที่ได้จากขี้เถ้า เริ่มด้วยการทำน้ำด่างขึ้นเองจากขี้เถ้า สรุปแล้ว สบู่ก้อนและสบู่เหลวผสมสมุนไพร เป็นผลิตภัณฑ์จากน้ำมันพืชและน้ำมันสัตว์ ซึ่งหาได้ง่ายในท้องถิ่น ประเทศไทยสามารถผลิตเองได้ และหาซื้อได้ง่าย อีกทั้งยังมีสมุนไพรอีกมากมาย ในประเทศ วิธีการผลิตสบู่ก้อนและสบู่เหลวสมุนไพรก็ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน เกษตรกร ประชาชน สามารถผลิตได้ โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือ เครื่องจักรที่มีราคาแพง เพียงแต่ต้องฝึกฝนให้มากแล้วจะได้สบู่ที่มีคุณภาพ และสามารถส่งออกมาได้ในราคาสูงเป็นการเพิ่มรายได้ ช่วยเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิต ได้อีกทางหนึ่งด้วย

ตัวอย่างสูตรสบู่ก้อน สูตรที่ 1

สบู่สูตรนี้เป็นสบู่แข็ง มีสีขาว และให้ฟองมาก สบู่สูตรนี้ยังเหมาะเป็นสบู่พื้นฐานที่จะนำไปใส่ส่วนผสมต่างๆ เพื่อทำเป็นสบู่เอนกประสงค์อื่นๆ สำหรับใช้บ้านเรือน

ส่วนผสม 1. น้ำมันมะพร้าว 200 กรัม 2. น้ำมันปาล์ม 200 กรัม 3. โซเดียมไฮดรอกไซด์ 60 กรัม 4. น้ำ 150 กรัม

วิธีทำ

1. เตรียมแม่แบบทำสบู่ตามขนาดและรูปร่างตามที่ต้องการ

2. ค่อย ๆ เทโซเดียมไฮดรอกไซด์ลงในน้ำ ผสมให้เข้ากันตั้งทิ้งไว้ให้อุณหภูมิเหลือ 40 องศาเซลเซียส

3. ผสมน้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม ใส่ภาชนะตั้งบนลังถึง หรือใช้วิธีการตุ๋น คนให้เข้ากันจนได้อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส แล้วยกลงจากไฟ

4. เทสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (ข้อ 2) ลงในน้ำมัน(ข้อ 3) คนให้เข้ากัน

5. คนไปเรื่อยๆ จนสบู่จับตัวเหนียวข้น สังเกตเนื้อข้นเหมือนนมข้น แล้วจึงเทลงพิมพ์ที่เตรียมไว้

6. ตั้งพิมพ์ไว้ประมาณ 4 - 8 ชั่วโมง จนสบู่จับตัวเป็นก้อนแข็ง ลองใช้นิ้วมือกดดู แล้วจึงเอาออกจากแบบเช็คค่า pH ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 9.5 - 10 เก็บต่อไปอีกนาน 6 - 8 สัปดาห์ เช็คค่า pH ซ้ำอีกครั้ง ซึ่งควรจะอยู่ระหว่าง 8 - 9 จึงนำไปใช้

สูตรที่ 2 สบู่สูตรนี้เป็นสบู่สีขาวขุ่น แข็ง และให้ฟองมาก สามารถนำไปใช้เป็นสบู่ถูกตัว สบู่ใช้ในบ้านเรือน สบู่ซักผ้า สบู่ล้างจาน

ส่วนผสม 2. น้ำมันมะพร้าว 120 กรัม 3. น้ำมันปาล์ม 80 กรัม 4. น้ำมันมะกอก 200 กรัม 5. โซเดียมไฮดรอกไซด์ 56 กรัม 6. น้ำ 140 กรัม

วิธีทำ

1. เตรียมแม่แบบทำสบู่ตามขนาดและรูปร่างตามที่ต้องการ

2. ค่อย ๆ เทโซเดียมไฮดรอกไซด์ลงในน้ำ ผสมให้เข้ากันตั้งทิ้งไว้ให้อุณหภูมิเหลือ 40 องศาเซลเซียส

3. ผสมน้ำมันทั้งหมดเข้าด้วยกัน ใส่ภาชนะตั้งบนลังถึง หรือใช้วิธีการตุ๋น คนให้เข้ากันจนได้อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส แล้วยกลงจากไฟ

4. เทสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (ข้อ 2) ลงในน้ำมัน(ข้อ 3) คนให้เข้ากัน

5. คนไปเรื่อยๆ จนสบู่จับตัวเหนียวข้น สังเกตเนื้อข้นเหมือนนมข้น แล้วจึงเทลงพิมพ์ที่เตรียมไว้

6. ตั้งพิมพ์ไว้ประมาณ 4 - 8 ชั่วโมง จนสบู่จับตัวเป็นก้อนแข็ง ลองใช้นิ้วมือกดดู แล้วจึงเอาออกจากแบบเช็คค่า pH ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 9.5 - 10 เก็บต่อไปอีกนาน 6 - 8 สัปดาห์ เช็คค่า pH ซ้ำอีกครั้ง ซึ่งควรจะอยู่ระหว่าง 8 - 9 จึงนำไปใช้

สูตรที่ 3 สบู่สูตรนี้มีน้ำมันมะพร้าวเปอร์เซ็นต์สูง จึงมีฟองมาก น้ำมันละหุ่งและน้ำมันรำข้าว ทำให้เพิ่มความชุ่มชื้นผิว สามารถนำไปปรับปรุงเป็นสบู่บำรุงผิว เพิ่มความชุ่มชื้น โดยการเติมสมุนไพรเพิ่มความชุ่มชื้นลงไปได้อีก

ส่วนผสม 1. น้ำมันมะพร้าว 120 กรัม 2. น้ำมันปาล์ม 60 กรัม 3. น้ำมันมะกอก 80 กรัม 4. น้ำมันละหุ่ง 100 กรัม 5. น้ำมันรำข้าว 40 กรัม 6. โซเดียมไฮดรอกไซด์ 55 กรัม 7. น้ำ 140 กรัม

วิธีทำ

1. เตรียมแม่แบบทำสบู่ตามขนาดและรูปร่างตามที่ต้องการ

2. ค่อย ๆ เทโซเดียมไฮดรอกไซด์ลงในน้ำ ผสมให้เข้ากันตั้งทิ้งไว้ให้อุณหภูมิเหลือ 40 องศาเซลเซียส

3. ผสมน้ำมันทั้งหมดเข้าด้วยกัน ใส่ภาชนะตั้งบนลังถึง หรือใช้วิธีการตุ๋น คนให้เข้ากันจนได้อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส แล้วยกลงจากไฟ

4. เทสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (ข้อ 2) ลงในน้ำมัน(ข้อ 3) คนให้เข้ากัน

5. คนไปเรื่อยๆ จนสบู่จับตัวเหนียวข้น สังเกตเนื้อข้นเหมือนนมข้น แล้วจึงเทลงพิมพ์ที่เตรียมไว้

6. ตั้งพิมพ์ไว้ประมาณ 4 - 8 ชั่วโมง จนสบู่จับตัวเป็นก้อนแข็ง ลองใช้นิ้วมือกดดู แล้วจึงเอาออกจากแบบเช็คค่า pH ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 9.5 - 10 เก็บต่อไปอีกนาน 6 - 8 สัปดาห์ เช็คค่า pH ซ้ำอีกครั้ง ซึ่งควรจะอยู่ระหว่าง 8 - 9 จึงนำไปใช้

สูตรที่ 4 สบู่สูตรนี้เป็นสบู่สีขาวให้ฟองนุ่ม และฟองทนนาน เนื้อสบู่นุ่ม สบู่สูตรนี้ใช้น้ำนมแพแทนที่น้ำ

ส่วนผสม 1. น้ำมันมะพร้าว 120 กรัม 2. น้ำมันปาล์ม 40 กรัม 3. น้ำมันมะกอก 240 กรัม 4. โซเดียมไฮดรอกไซด์ 56 กรัม 5. น้ำนมแพะ 160 กรัม

วิธีทำ

1. เตรียมแม่แบบทำสบู่ตามขนาดและรูปร่างตามที่ต้องการ

2. ผสมน้ำมันทั้งหมดเข้าด้วยกัน ใส่ภาชนะตั้งบนลังถึง หรือใช้วิธีการตุ๋น คนให้เข้ากันจนได้อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส แล้วยกลงจากไฟ

3. ค่อย ๆ เทโซเดียมไฮดรอกไซด์ลงในน้ำนมแพะ ผสมให้เข้ากันตั้งทิ้งไว้ให้อุณหภูมิเหลือ 40 องศาเซลเซียส

4. เทสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (ข้อ 2) ลงในน้ำมัน(ข้อ 3) คนให้เข้ากัน

5. คนไปเรื่อยๆ จนสบู่จับตัวเหนียวข้น สังเกตเนื้อข้นเหมือนนมข้น แล้วจึงเทลงพิมพ์ที่เตรียมไว้

6. ตั้งพิมพ์ไว้ประมาณ 4 - 8 ชั่วโมง จนสบู่จับตัวเป็นก้อนแข็ง ลองใช้นิ้วมือกดดู แล้วจึงเอาออกจากแบบเช็คค่า pH ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 9.5 - 10 เก็บต่อไปอีกนาน 6 - 8 สัปดาห์ เช็คค่า pH ซ้ำอีกครั้ง ซึ่งควรจะอยู่ระหว่าง 8 - 9 จึงนำไปใช้

ตัวอย่างสูตรสบู่สมุนไพร สบู่ขมิ้น

ส่วนผสม 1. น้ำมันมะพร้าว 140 กรัม 2. น้ำมันปาล์ม 60 กรัม 3. โซเดียมไฮดรอกไซด์ 32 กรัม 4. สารสกัดขมิ้น 10 กรัม 5. น้ำ 70 กรัม

วิธีทำ

1. เตรียมแม่แบบทำสบู่ตามขนาดและรูปร่างตามที่ต้องการ

2. ค่อย ๆ เทโซเดียมไฮดรอกไซด์ลงในน้ำ ผสมให้เข้ากันตั้งทิ้งไว้ให้อุณหภูมิเหลือ 40 ๐c

3. เตรียมสารสกัดขมิ้น

4. ผสมน้ำมันมะพร้าวกับน้ำมันปาล์ม แล้วผสมในน้ำมันมะกอก

5. เทสารละลายด่าง(ข้อ 2) ลงในน้ำมัน(ข้อ 4) คนสักครู่ จึงเติมสารสกัดขมิ้นลงไป สี, กลิ่นคนให้เข้ากัน

6. เมื่อเริ่มเกิดเป็นสบู่ สังเกตเนื้อข้นเหมือนนมข้น เทลงพิมพ์

7. ตั้งพิมพ์ไว้ประมาณ 4 - 8 ชั่วโมง จนสบู่จับตัวเป็นก้อนแข็ง ลองใช้นิ้วมือกดดู แล้วจึงเอาออกจากแบบเช็คค่า pH ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 9.5 - 10 เก็บต่อไปอีกนาน 6 - 8 สัปดาห์ เช็คค่า pH ซ้ำอีกครั้ง ซึ่งควรจะอยู่ระหว่าง 8 - 9 จึงนำไปใช้

สูตรสบู่สารสกัดมังคุด

ส่วนผสม 1. น้ำมันมะพร้าว 50 กรัม 2. น้ำมันปาล์ม 25 กรัม 3. น้ำมันทานตะวัน 20 กรัม 4. น้ำมันมะกอก 5 กรัม 5. โซเดียมไฮดรอกไซด์ 17 กรัม 6. สารสกัดมังคุด 5 กรัม 7. น้ำ 40 กรัม

วิธีทำ

1. เตรียมแม่พิมพ์แบบสบู่ตามขนาดและรูปร่างที่ต้องการ

2. ค่อย ๆ เทโซเดียมไฮดรอกไซด์ลงในน้ำ ผสมให้เข้ากัน ตั้งทิ้งไว้ให้ อุณหภูมิเหลือ 40 - 45 องศาเซลเซียส

3. เตรียมสารสกัดมังคุด

4. สมน้ำมันมะพร้าวกับน้ำมันปาล์ม น้ำมันทานตะวันและน้ำมันมะกอก รวมกันนำไปอุ่นให้อุณหภูมิ 40 - 50 องศาเซลเซียส

5. เทสารละลายด่างลงใน (ข้อ 4) คนให้เข้ากัน เติมกลิ่นตามต้องการ

6. เมื่อเริ่มเกิดเป็นสบู่ สังเกตจากเนื้อจะข้นเหมือนนมข้น เทลงพิมพ์

7. ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 4 - 8 ชั่วโมง จนสบู่จับตัวเป็นก้อนแข็ง ลองใช้นิ้วมือกดดู แล้วจึงเอาออกจากพิมพ์ เช็คค่า pH ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 9.5 - 10 เก็บต่อไปอีกนาน 6 - 8 สัปดาห์ เช็คค่า pH ซ้ำอีกครั้ง ซึ่งควรจะอยู่ระหว่าง 8 - 9 จึงนำไปใช้

สบู่ชาเขียว

ส่วนผสม 1. น้ำมันมะพร้าว 100 กรัม 2. น้ำมันปาล์ม 100 กรัม 3. น้ำมันมะกอก 200 กรัม 4. โซเดียมไฮดรอกไซด์ 48 กรัม 5. น้ำ 100 กรัม 6. สารสกัดชาเขียว 50 กรัม (ชาเขียวใส่น้ำต้ม) 7. น้ำมันหอมระเหยหรือน้ำหอม 1 ซีซี.

วิธีทำ

1. เตรียมแบบหรือแม่พิมพ์

2. ชั่งน้ำ 100 กรัม เทใส่ภาชนะแก้ว

3. ใส่โซเดียมไฮดรอกไซด์ 58 กรัม ใช้แท่งแก้วคนจนด่างละลายหมด อุณหภูมิสูงมาก ทิ้งไว้ให้เย็น ณ อุณหภูมิห้อง จะได้สารสกัดใส ไม่มีสี

4. ชั่งน้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม และน้ำมันมะกอกผสมในภาชนะสแตนเลส อุ่นน้ำมัน 40 องศาเซลเซียส แล้วยกลง ทิ้งให้เย็น

5. เท 2 ลงใน 3 กวนให้เข้ากัน ใส่สารสกัดชาเขียว จนส่วนผสมเริ่มข้น คล้ายครีมสลัด ใส่น้ำหอมหรือน้ำมันหอมระเหย กวนต่อ และเทลงแบบพิมพ์

6. สบู่จะจับเป็นก้อนแข็ง ทิ้งไว้ 3 สัปดาห์ สบู่จะจับตัวสีข้น ตรวจสารวัดความเป็นกรดเป็นด่าง pH ประมาณ 8 - 9 จึงนำไปใช้ได้

สมุนไพรที่นำมาเป็นส่วนผสมของสบู่ สมุนไพรที่นำมาเป็นส่วนผสมของสบู่มีคุณประโยชน์ต่อผิวดังต่อไปนี้

1. ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง ได้แก่ ว่านหางจระเข้ ส่วนที่ใช้ วุ้นจากใบ การนำมาใช้ ตัดเอาช่วงโคนใบ ล้างน้ำจนยางเหลืองหมด แช่ทิ้งไว้ 15 นาที ปอกเปลือกออกแล้วล้างวุ้นให้สะอาด นำไปใส่เครื่องปั่น กรองด้วยผ้าขาวบาง นำน้ำที่ได้มาใช้ กล้วย ส่วนที่ใช้ ผลสุกนำไปตากแห้ง การนำมาใช้ นำผลกล้วยสุกหั่นเป็นชิ้นบางๆ นำไปตากแดดให้แห้ง แล้วนำไปใส่เครื่องบดหรือใช้ครกตำบด ให้เป็นผงละเอียด มะละกอ ส่วนที่ใช้ ผล การนำมาใช้ นำผลสุกปอกเปลือกและปั่นให้ละเอียด จนเป็นน้ำแล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง 2 ครั้ง ส้ม ส่วนที่ใช้ น้ำคั้นจากผล การนำมาใช้ คั้นน้ำจากผล แล้วกรองให้สะอาด รำข้าว ส่วนที่ใช้ รำแห้ง การนำมาใช้ นำรำแห้งมาบดเป็นผงละเอียด

2. มีกรดบำรุงผิว ได้แก่ ส้มป่อย ส่วนที่นำมาใช้ ใบ การนำมาใช้ นำใบส้มป่อยล้างให้สะอาดหั่นหยาบๆ แล้วนำไปต้มในน้ำ มะขาม ส่วนที่ใช้ ฝักสุก การนำมาใช้ นำมาขามฝักสุกมากระเทาะเปลือกออก นำไปต้มกับน้ำ มะนาว มะเฟือง มะดัน มะไฟ สับปะรด ส้มแขก ส่วนที่ใช้ ผลสด การนำมาใช้ คั้นเอาน้ำจากผลสดไม้ต้องนำไปต้ม เอาไปใช้ได้เลย ใบบัวบก ส่วนที่ใช้ ใบสด การนำมาใช้ ใช้วิธีสกัดด้วยแอลกอฮอล์ ขมิ้นชัน ส่วนที่ใช้ หัว การนำมาใช้ ใช้วิธีสกัดด้วยแอลกอฮอล์หรือนำมาบดเป็นผงแห้ง

3. รักษาผิวหนังผื่นคัน ฝรั่ง ส่วนที่ใช้ ใบที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป การนำมาใช้ นำใบมาตากให้แห้ง แล้วบดเป็นผงหรือนำใบตากแห้งแล้วมาต้ม กรองเอาแต่น้ำ ทับทิม, มังคุด ส่วนที่ใช้ เปลือก การนำมาใช้ นำเปลือกไปตากแห้งแล้วนำมาบดเป็นผง หรือนำเปลือกไปตากแล้วมาต้มกรองเอาแต่น้ำ สะระแหน่ ส่วนที่ใช้ ใบ การนำมาใช้ นำใบตากแห้งแล้วบดเป็นผง หรือสกัดด้วยแอลกอฮอล์ กานพลู ส่วนที่ใช้ ดอก การนำมาใช้ นำดอกไปตากแห้ง แล้วนำไปสกัดด้วยแอลกอฮอล์ ฟ้าทลายโจร เสลดพังพอน ส่วนที่ใช้ ใบ การนำมาใช้ นำใบแห้งมาสกัดด้วยแอลกอฮอล์ เหงือกปลาหมอ สำมะงา ส่วนที่ใช้ ใบแห้ง การนำมาใช้ นำใบแห้งมาต้มกับน้ำกรอง ใบหนาด ส่วนที่ใช้ ใบ การนำมาใช้ นำใบแห้งมาสกัดด้วยแอลกอฮอล์ ว่านหางช้าง ส่วนที่ใช้ เหง้า การนำมาใช้ ล้างให้สะอาดนำมาต้มกับน้ำแล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง

4. ขัดผิว ขิง ขมิ้น ส่วนที่ใช้ หัว เหง้า การนำมาใช้ นำเหง้าไปผึ่งให้แห้งแล้วนำมาบดเป็นผงละเอียด ไปทำดูนะคะ)

โรงภาพยนต์การตูน

ด.ช.บุญญฤทธิ์  เลาคำ ม.2/5 เลขที่ 10

รูปภาพของ sas14570
ที่มาของปลา

          

              ก่อนที่คุณจะซื้อปลานอกจากจะต้องดูความสมบูรณ์ของปลาแล้ว ก็เลือกดูที่มาของปลาน้อยๆ เหล่านี้ด้วยว่ามาจากไหน อย่าให้ปลาทะเลที่เคยว่ายอยู่ในมหาสมุทรกว้างต้องพลัดพรากจากครอบครัวอย่างในภาพยนต์เรื่องนีโม่เลยน่ะค่ะ บาปเปล่าๆ

 

บ้านของปลา

          

              แหล่งที่มาของปลาที่ผู้เลี้ยงจะต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษแล้ว วงจรชีวิตของพวกเขาก็เป็นสิ่งที่คุณต้องเรียนรู้ด้วย สำหรับปลาการ์ตูนโดยปกติเขาจะอาศัยอยู่ในดอกไม้ทะเล ซึ่งดอกไม้ทะเลที่มีพิษเหล่านี้ไม่สามารถทำร้ายเขาได้ เพราะปลาการ์ตุนมีเมือกปกคลุมทั่วผิวกาย เป็นสารป้องกันพิษ ดังนั้นหากคุณคิดที่จะเลี้ยงปลาการ์ตูนไว้ที่บ้านก็อย่าลืมใส่ดอกไม้ทะเลลงไปให้ปลาการ์ตูนได้มีบ้านด้วย

 

ปลาการ์ตูนปลาทะเลที่ใกล้จะสูญพันธุ์

การจับคู่พ่อ-แม่พันธุ์ปลาการ์ตูน
              ปลาการ์ตูนทั้ง 7 ชนิด ที่พบในประเทศไทย สามารถที่จะผสมพันธุ์ วางไข่ในตู้เลี้ยงได้ทุกชนิด การเพาะพันธุ์ปลาการ์ตูนนั้น ต้องเริ่มจากการจับคู่พ่อ-แม่พันธุ์ที่จะผสมพันธุ์วางใข่ เพศของปลาการ์ตูนนั้นไม่สามารถบอกได้จากลักษณะภายนอก อีกทั้งผลาการ์ตูนสามารถที่จะเปลี่ยนเพศได้ โดยเพศของปลาการ์ตูนจะถูกกำหนดโดยโครงสร้างของสังคม และเมื่อเปลี่ยนเป็นเพศเมียแล้วจะไม่สามารถกลับมา เป็นเพศผู้ได้อีก ทำให้การจับคู่ปลาการ์ตูนมีความสลับซับซ้อนมากสำหรับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ การเลี้ยงปลาการ์ตูนเพื่อเป็นพ่อ-แม่พันธุ์สำหรับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ จึงควรเริ่มจากปลาที่มีขนาดยังไม่ถึงวัยเจริญพันธุ์ และควรใช้ปลาที่ได้จากการเพาะเลี้ยงมากกว่าปลาธรรมชาติ เพราะจะมีความทนทานมากกว่า โดยควรนำปลามาเลี้ยงรวมกันเป็นฝูง ประมาณ 6-8 ตัว หรือมากกว่าขึ้นอยู่กับขนาดตู้เลี้ยง เมื่อปลาเริ่มจับคู่จะสังเกตว่าทั้งสองตัวจะแยกตัวออกจากฝูงและหวงอาณาเขต ให้แยกปลาคู่นั้นออกจากตู้ไปเลี้ยงในตู้ที่เตรียมไว้สำหรับเลี้ยงพ่อ - แม่พันธุ์

การจับคู่ของปลาการ์ตูน

การเลี้ยงพ่อ - แม่พันธุ์

              ตู้ที่ใช้เลี้ยงพ่อ - แม่พันธุ์ ควรมีขนาดความจุอย่างต่ำ ประมาณ 100 ลิตร มีระบบกรองภายในหรือภายนอกตู้ เลี้ยงปลาแยกกันตู้ละ 1 คู่ ในตู้ให้จัดหาวัสดุสำหรับให้ปลาหลบซ่อน และสำหรับวางไข่ได้ เช่น แผ่นกระเบื้องปูพื้น กระเบื้องทะเลเข้าไปในตู้ เพราะปลาสามารถวางไข่ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีดอกไม้ทะเลอาหารที่ใช้เลี้ยงพ่อ - แม่พันธุ์ ให้ใช้อาหารสดที่มีคุณภาพดี เช่นเนื้อหอยลายสับ เนื้อกุ้ง ไรน้ำเค็มที่เสริมกรดไขมัน ไข่ตุ๋น ฯลฯ สลับกัน ให้อาหารวันละ 1 - 2 ครั้ง ระวังอย่าให้มีอาหารตกค้างอยู่ในตู้ ควบคุมคุณภาพน้ำโดยการทำความสะอาดก้นตู้ เปลี่ยนถ่ายน้ำครั้งละ 10-20% ทุก 2 อาทิตย์

การดูแลและการฟักไข่

              พ่อ - แม่ปลาจะทำการดูแลไข่ในระหว่างการฟัก ซึ่งส่วนใหญ่ตัวผู้จะรับหน้าที่ไข่ใช้เวลาฟักประมาณ 7 วัน แต่ในช่วงอากาศหนาวจะใช้เวลาประมาณ 5-9 วัน หรือในช่วงทีอากาศร้อนจะใช้เวลาประมาณ 6 วัน การนำไข่ออกมาฟัก สามารถกระทำได้แต่จะให้ผลไม่ดีเท่ากับปล่อยให้พ่อ - แม่ปลาฟักไช่เอง การสังเกตว่าลูกปลาจะฟักหรือยัง สังเกตได้จากตาของลูกปลาที่อยู่ในถุงไข่ จะกลายเป็นสีน้ำเงินสะท้อนแสง ซึ่งแสดงว่าลูกปลาพร้อมที่จะฟักออกเป็นตัวแล้ว ลูกปลาจะฟักในช่วงหัวค่ำประมาณ 1-2 ชั่วโมง หลังจากมืดสนิท
การอนุบาลปลา
              หลังจากลูกปลาฟักออกเป็นตัวให้แยกลูกปลาออกจากตู้ โดยใช้กระชอนผ้ารวบรวมลูกปลาและตักออกมาพร้อมน้ำ ระวังอย่าให้ลูกปลาสัมผัสกับอากาศ นำไปอนุบาลในตู้กระจกขนาดเล็ก ความหนาแน่นสูงสุดไม่ควรเกิน 10 ตัวต่อลิตร ให้อากาศแรงพอประมาณ ระหว่างการอนุบาลใช้ โรติเฟอร์ ไรน้ำเค็ม และสาหร่ายชนาดเล็ก เช่น ไอโซโครซิส เป็นอาหารในระยะ 2-3 วันแรกอาจใช้วิธีเพิ่มน้ำ ในตู้ปลาอนุบาลหลังจากนั้นจึงทำการดูดตะกอน เปลี่ยนถ่ายน้ำมันทุกวัน วันละ 20-50% ลูกปลาจะเริ่มเปลี่ยนแปลงรูปร่างโดยจะมีลวดลาย สีสันบนลำตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนมีลักษณะเหมือนกับพ่อ - แม่โดยสมบูรณ์ เมื่อมีอายุได้ 3-4 สัปดาห์ และลูกปลาจะลงไปอาศัยอยู่ที่พื้นกันตู้ ถือว่าสิ้นสุดระยะของการอนุบาล จึงย้ายลูกปลาไปเลี้ยงต่อในตู้ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น อัตรารอดของลูกปลาเฉลี่ยประมาณ 10-20% และลูกปลาจะมีขนาดความยาวประมาณ 8-10 มม.

การเลี้ยงปลาการ์ตูน
              เมื่อพ้นระยะอนุบาล ให้นำปลามาเลี้ยงในตู้เลี้ยงในตู้เลี้ยงที่ใหญ่าขึ้น ความหนาแน่น ประมาณ 1 ตัวต่อลิตร และเริ่มเปลี่ยนอาหารมาเป็นอาหารสด เช่น หอยลายสับหรือเนื้อกุ้งสับ หรือจะให้อาหารที่ผสมขึ้นเอง โดยค่อยๆ ลดไรน้ำเค็มลง ตู้ที่ใช้เลี้ยงต้องมีระบบกรองภายในหรือภายนอกมีการทำความสะอาดและเปลี่ยนถ่ายน้ำเป็นระยะ เข่น มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ 20% ทุก 2 สัปดาห์สิ่งที่ต้องระมัระวังมากในการเลี้ยงปลาการ์ตูน คือ คุณภาพน้ำและความหนาแน่น ถ้าให้อาหารมากเกินไป มีสิ่งสกปรกหมักหมมอยู่ในตู้เลี้ยงหรือมีความหนาแน่นมาก มักจะเกิดโรค โดยเฉพาะโรคที่เกิดจาก Amyloodinium Ocellatum ซึ่งเมื่อเกิดแล้วลูกปลาจะตายเกือบหมด ดังนั้นการดูแลรักษาความสะอาดและคุณภาพน้ำเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง และความต้องการจับคู่ พ่อ-แม่พันธุ์ ควรจะนำปลาที่มีอายุประมาณ 4-6 เดือน แยกเลี้ยงเป็นพ่อ - แม่พันธุ์ต่อไป โดยปลาจะถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่อมีอายุได้ประมาณ 8-12 เดือน
การให้อาหาร

               

                การเลี้ยงปลาทะเลเพื่อเลี้ยงดูสวยงามนั้น ไม่ควรให้กินอาหารเกินวันละครั้งและควรให้กินแต่พออิ่ม ไม่ควรให้ตามที่ปลาต้องการ เพราะจะทำให้เกิดของเสียมาก บางช่วงถ้าปลาไม่กินอาหารเช่นในช่วยที่อากาศเย็น จะต้องงดให้อาหารหรือลดปริมาณของอาหารลง อาหารที่ให้อาจเป็นเนื้อกุ้งสับ หอยลานสับ กุ้งเคย อาหารสำหรับปลาทะเล ฯลฯ สลับกันไป และเมื่อมีอาหารเหลือตกอยู่ก้นตู้ต้องกำจัดออก ห้ามปล่อยทิ้งไว้กับตู้โดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้น้ำเกิดการเน่าเสีย

 

ประวัติตระกร้อ 
ประเทศพม่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 2310 พม่ามาตั้งค่ายอยู่ที่โพธิ์สามต้น ก็เลยเล่นกีฬาตะกร้อกัน ซึ่งทางพม่าเรียกว่า "ชิงลง"

ทางมาเลเซียก็ประกาศว่า ตะกร้อเป็นกีฬาของประเทศมาลายูเดิมเรียกว่า ซีปักรากา (Sepak Raga) คำว่า Raga หมายถึง ตะกร้า

ทางฟิลิปปินส์ ก็นิยมเล่นกันมานานแล้วแต่เรียกว่า Sipak

ทางประเทศจีนก็มีกีฬาที่คล้ายกีฬาตะกร้อแต่เป็นการเตะตะกร้อชนิดที่เป็นลูกหนังปักขนไก่ ซึ่งจะศึกษาจากภาพเขียนและพงศาวดารจีน ชาวจีนกวางตุ้งที่เดินทางไปตั้งรกรากในอเมริกาได้นำการเล่นตะกร้อขนไก่นี้ไปเผยแพร่ แต่เรียกว่าเตกโก (Tek K'au) ซึ่งหมายถึงการเตะลูกขนไก่

ประเทศเกาหลี ก็มีลักษณะคล้ายกับของจีน แต่ลักษณะของลูกตะกร้อแตกต่างไป คือใช้ดินเหนียวห่อด้วยผ้าสำลีเอาหางไก่ฟ้าปัก

ประกาศไทยก็นิยมเล่นกีฬาตะกร้อมายาวนาน และประยุกต์จนเข้ากับประเพณีของชนชาติไทยอย่างกลมกลืนและสวยงามทั้งด้านทักษะและความคิด
 

หนุมาน เป็นลิงเผือก (กายสีขาว)  มีลักษณะพิเศษ คือ มีเขี้ยวแก้วอยู่กลางเพดานปาก มีกุณฑลขนเพชร สามารถแผลงฤทธิ์ให้มีสี่หน้าแปดมือ แลหาวเป็นดาวเป็นเดือนได้  ใช้ตรีเพชร (สามง่าม) เป็นอาวุธประจำตัว (จะใช้เมื่อรบกับยักษ์ตัวสำคัญๆ)  มีความเก่งกล้ามาก สามารถแปลงกายหายตัวได้ ทั้งยังอยู่ยงคงกระพัน แม้ถูกอาวุธของศัตรูจนตาย เมื่อมีลมพัดมาก็จะฟื้นขึ้นได้อีก
        เมื่อนางสวาหะถูกมารดาสาปให้ไปยืนตีนเดียวเหนี่ยวกินลม พระอิศวรจึงบัญชา ให้พระพายนำเทพอาวุธของพระองค์ไปซัดเข้าปากของนาง นางจึงตั้งครรภ์และคลอดบุตรเป็นลิงเผือก เหาะออกมาจากปาก ได้ชื่อว่า หนุมาน  หนุมานจึงถือว่าพระพายเป็นพ่อของตน
        หนุมานได้ถวายตัวเป็นทหารเอกของพระราม ช่วยทำการรบจนสิ้นสงคราม

เครื่องปรุง

เนื้อหมูสันนอก 1 กิโลกรัม
หมูสามชั้น 500 กรัม
ซีอิ๊วดำ 1 ช้อนโต๊ะ น้ำ 4 ถ้วย
กระเทียมปลอกเปลือก 1/4 ถ้วย
ขิงสดหั่นเป็นเส้นบาง 1/4 ถ้วย
น้ำมะขามเปียก 3-4 ช้อนโต๊ะ
ผงแกงฮังเล หรือผงกะหรี่ 1 ช้อนโต๊ะ

เครื่องแกง

พริกแห้ง 5 เม็ด ข่าหั่นละเอียด 1 ช้อนชา
ตะไคร้หั่นบาง 1 ช้อนโต๊ะ
กระเทียมปอกเปลือกหั่นเล็ก 1 ช้อนโต๊ะ
หอมแดงปอกเปลือกหั่นบาง 2 ช้อนโต๊ะ
กะปิ เกลือป่น อย่างละ 1 ช้อนชา
โขลกเครื่องแกงทั้งหมดรวมกันให้ละเอียด

วิธีทำ

1. หั่นหมูทั้งสองอย่างเป็นชิ้นสี่เหลี่ยม 2x2 นิ้ว เคล้าด้วยซีอิ๊วดำหมักไว้
2. เคล้าเครื่องแกงกับหมูเข้าด้วยกัน หมักไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง
3. ใส่หมูลงในหม้อ ใช้ไฟอ่อนๆผัดพอหมูตึงตัว ใส่น้ำลงในหม้อ ปิดฝา ตั้งเคี่ยวไปเรื่อยๆ
4. ใส่ขิงซอย กระเทียมที่ปอกเปลือกเป็นกลีบ ใส่ผงแกงฮังเลหรือผงกะหรี่ ตั้งเคี่ยวจนหมูนุ่ม และน้ำงวด
5. ปรุงรสด้วยน้ำมะขามเปียก ชิมรสให้ได้ 3 รส เปรี้ยว เค็ม เผ็ด ถ้าอ่อนเค็มให้เติมเกลือ

ลักษณะของแกง

น้ำแกงควรจะข้นคล้ายแกงมัสมั่น ใช้เป็นอาหารหลัก บางตำราจะใส่กระท้อนลงในแกง โดยหั่นเป็นชิ้นหนา หรือหั่นสี่เหลี่ยมขนาด 1 นิ้ว หรือบางตำราจะใส่สันปะรดหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยม 1x1 นิ้ว แกงฮังเลเป็นแกงของพม่า แพร่หลายเข้ามาทางภาคเหนือ พม่าเจ้าของตำรับจะรับประทานแกงฮังเลกับกล้วยไข่

ประวัติศาลาเฉลิมกรุง



 

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ภาพยนตร์เป็นมหรสพและ การสื่อสารมวลชนที่มีบทบาทสำคัญยิ่ง สามารถเทียบได้กับการโทรทัศน์ในปัจจุบัน โรงภาพยนตร์ในสยามสมัยรัชกาลที่ 7 นั้นมีประมาณ 20 โรง กระจายอยู่ทั่วเขตพระนครและธนบุรี จัดฉายภาพยนตร์นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งนั้นเป็นภาพยนตร์จากสหรัฐ หรือจาก ฮอลลีวู้ดนั่นเอง

โรงภาพยนตร์สยามในสมัยนั้น มักเป็นโรงภาพยนตร์ขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายอาคารโรงไม้ หลังคามุงสังกะสี ไม่มีโรงขนาดใหญ่และหรูหรา จนกระทั่ง พ.ศ. 2475 ปีแห่งมหามงคลสมัยเฉลอมฉลองพระนครมีอายุครบ 150 ปี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้จัดสร้างโรงมหรสพขนาดใหญ่ขึ้น เนื่องด้วย พระองค์ทรงโปรดภาพยนตร์เป็นพิเศษ โรงภาพยนตร์แห่งใหม่ที่ทันสมัยและโอ่โถงหรูหรา ขนาดจุผู้ชมได้มากว่า 2,000 คน และนับเป็น โรงมหรสพ โรงแรก ในเอเซียที่มีเครื่องปรับอากาศ ระบบไอน้ำ ( Chilled Water System ) ถูกสร้างขึ้นบริเวณหัวถนนเจริญกรุงตัดกับถนนตรีเพชร มีหม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร เป็นสถาปนิกออกแบบและควบคุมงานก่อสร้าง นายนารถ โพธิปราสาท เป็นวิศวกร ใช้สถาปัตยกรรมแบบเรียบง่าย ระหว่างตะวันตกผสมผสานกับไทย และได้รับพระราชทานนามว่า " ศาลาเฉลิมกรุง " เปิดฉายปฐมฤกษ์ครั้งแรกเมื่อ วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2476 ภาพยนตร์เรื่องแรกที่จัดฉาย คือ " เรื่องมหาภัยใต้สมุทร "

ปัจจุบัน ศาลาเฉลิมกรุง ยังคงเปิดดำเนินการอยู่ ภายใต้การบริหารของบริษัทเฉลิมกรุงมณีทัศน์ จำกัด แต่มิได้ฉายภาพยนตร์เหมือนโรงภาพยนตร์ทั่วไปในยุคปัจจุบัน แต่ถูกยกระดับให้เป็นโรงมหรสพแห่งชาติ จัดฉายภาพยนตร์และเปิดการแสดงมหรสพสำคัญ ๆ ในโอกาสต่าง ๆ

ศาลาเฉลิมกรุง โรงมหรสพหลวงที่ยังเปิดดำเนินการมาจนปัจจุบันนี้ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 66 ถนนเจริญกรุง แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200


 NK THX

NK THX เป็นโรงภาพยนตร์ในเครือของบริษัทนนทนันท์ เอนเตอร์เทนเมนต์ เปิดสาขาแรกในปี พ.ศ. 2539 ที่ห้างสรรพสินค้านิว เวิร์ลด รัตนาธิเบศร์ นนทบุรี จำนวนทั้งสิ้น 6 โรง ใช้ชื่อว่า " NK6 THX " นับเป็นโรงภาพยนตร์แห่งแรกในประเทศไทยที่เป็นโรงภาพยนตร์ในระบบ THX ทั้งหมด (ปิดตัวไปในปี พ.ศ. 2547 พร้อมกับห้างสรรพสินค้าแห่งนี้)

และในปี พ.ศ. 2540 ได้มีการเปิดอีก 4 โรงที่ห้างสรรพสินค้าเดอะ มอลล์ ท่าพระ ในกลางเดือนตุลาคม ใช้ชื่อว่า " NK THX เดอะมอลล์ ท่าพระ " โดยจัดฉายภาพยนตร์เรื่อง " Air Force One " และ " SPAWN " เป็นรอบปฐมทัศน์ และในเวลาต่อมาก็ได้เปิดเพิ่มอีกที่ศูนย์การค้านวนคร ใช้ชื่อว่า " NK THX นวนคร "

ปัจจุบัน โรงภาพยนตร์แต่ละแห่งล้วนไม่ได้ใช้ระบบ THX อีกแล้ว เนื่องจากต้องเสียค่าลิขสิทธิ์เป็นรายปี แต่โรงภาพยนตร์ในเครือ NK THX ยังคงมีอยู่เพียงเครือเดียวในประเทศไทย อีกทั้งราคาค่าตั๋วก็นับว่าถูกมากเมื่อเทียบกับที่อื่น โดยมีค่าตั๋วเพียง 90 บาท เท่านั้น



 

โรงภาพยนตร์ลิโด้

เครือเอเพ็กซ์

จุดก่อกำเนิดของโรงภาพยนตร์ ที่ สยามสแควร์ เนื่องจากคุณพิสิฐ ตันสัจจา โชว์แมนคนสำคัญของเมืองไทย ในขณะนั้นหลังจากที่ประสบผลสำเร็จอย่างมากในการทำโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย จากที่เคยเป็นโรงละครมาเป็นโรงภาพยนตร์ ศาลาเฉลิมไทย ที่ทำรายได้มากมาย เป็นผู้ริเริ่มคนแรก ในการนำเข้าระบบการฉายภาพยนตร์ในแบบต่าง ๆ เช่น
- ระบบสามมิติ - ระบบ ทอคค์ - เอ โอ
- ซีเนมาสโคป - ซีเนรามา (เลนส์เดียว)
- 70 ม.ม. - ซีเนรามา ฉายพร้อมกัน 3 เลนส์

จากความสามารถที่ปรากฏให้เห็นในด้านธุรกิจบันเทิงของคุณพิสิฐ ตันสัจจา จึงทำให้ได้รับการติดต่อจากคุณกอบชัย ซอโสตถิกุล เจ้าของบริษัท เซาท์ อีสเอเซีย ก่อสร้าง จำกัด ซึ่งเป็นผู้เช่าที่ดินบริเวณนี้มาปรับปรุงให้กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยบริษัท เซาท์ อีสเอเซีย ก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้ออกแบบ และก่อสร้างอาคารต่าง ๆ บนที่ดินผืนนี้

คุณพิสิฐ ตันสัจจา มาร่วมด้วยโดยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโรงภาพยนตร์ทั้งสามโรง เดิมแต่แรกตอนเริ่มต้นก่อสร้างใหม่ ๆ บริเวณนี้เป็นที่อยู่อาศัยจำนวนมาก ยังไม่มีร้านค้าใดเลย สมัยที่โรงภาพยนตร์โรงแรกเสร็จ ยังต้องส่งปิ่นโตให้กับพนักงานทาน เพราะแถวนี้ไม่มีร้านอาหารเลย จะต้องไปไกลถึงสามย่าน ซึ่งสมัยนั้นกว่าจะถึงสามย่าน ก็ต้องใช้เวลานานมากมีรถเมล์น้อยสาย ไม่ทันที่จะกลับมาทำงาน ตามรอบได้ทันเวลา แสงสว่างรอบ ๆ โรงภาพยนตร์ จะต้องใช้ไฟของโรงภาพยนตร์ ต่อไปใช้ตามที่จอดรถ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มาชมภาพยนตร์รอบค่ำ และสมัยนั้นค่าชมภาพยนตร์ราคาตั้งแต่ 10 บาท 15 บาท สูงสุด 30 บาท โรงภาพยนตร์สยาม 800 ที่นั่ง เปิดฉายเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2509 ด้วยเรื่อง "รถถังประจัญบาน" (BATTLE OF THE BULGE) ของบริษัทภาพยนตร์ วอร์เนอร์ บราเดอร์สฯ นำแสดงโดย เฮนรี่ ฟอนด้า, โรเบิร์ต ชอว์ และเป็น โรงภาพยนตร์ที่ทันสมัยที่สุด มีบันได้เลื่อนขึ้นลง เป็นแห่งแรก

ต่อมาวันที่ 27 มิถุนายน 2511 เปิดโรงภาพยนตร์ลิโด ที่นั่ง 1,000 ที่ ด้วย ภาพยนตร์เรื่อง "ศึกเซบาเตียน" (GAMES FOR SAN SEBASTIAN) ของ บริษัท เมโทร โควิลด์ฯจำกัด นำแสดงโดย แอนโธนี่ ควินส์ ฯลฯ และต่อมา วันที่ 31 ธันวาคม 2512 เปิดโรงภาพยนต์ สกาลา จำนวนที่นั่ง 1,000 ที่ ด้วย ภาพยนตร์เรื่อง "สองสิงห์ตะลุยศึก" นำแสดงโดยจอห์น เวนย์, ร็อค ฮัดสัน และ ไท ฮาดีน ฯลฯ เป็นโรงภาพยนตร์ซีเนรามาที่สมบูรณ์ขั้น มาตรฐานโลก แห่งที่ 3 ณ บริเวณศูนย์การค้าแห่งนี้

โรงภาพยนตร์ "สยาม" เดิมทีเดียว ตั้งใจจะใช้ชื่อว่าโรงภาพยนตร์ "จุฬา" แต่มีผู้ใหญ่คัดค้านเข้าใจว่าจะเป็น
ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมทย์ บอกว่าเป็นชื่อของ พระมหากษัตริย์ และเป็นชื่อของมหาวิทยาลัย ไม่สมควรจะใช้ชื่อเดียวกัน จึงเปลี่ยนเป็น "สยาม"

โรงภาพยนตร์ทั้ง 3 โรงนี้ เป็นผู้นำในการจัดฉายภาพยนตร์เพื่อการกุศล โดยไม่หักค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น รายได้ ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ โดยทูลเชิญเสด็จล้นเกล้าทั้งสองพระองค์ เสด็จพระราชดำเนินรอบปฐมทัศน์อาทิ เช่น เรื่อง "OLIVER" และเรื่อง "HELLO DOLLY" และ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีเสด็จรอบปฐมทัศน์ รายได้สมทบทุน "ประชาธิปก" ภาพยนตร์เรื่อง "LOST HORIZON" ฯลฯ

การโฆษณาให้คนรู้จักโรงภาพยนตร์ทั้ง 3 มากขึ้น ทางผู้บริหารโรงภาพยนตร์ ได้จัดพิมพ์หนังสือ ซึ่งเรียกว่า "สูจิบัตร" ข่าวภาพยนตร์ขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2513 เรียกตุลาบันเทิง เพราะในสมัยนั้น จัดว่าเป็นโรงภาพยนตร์ที่โก้ที่สุดในเมืองไทย สูจิบัตรนี้แจกฟรีกับผู้ที่มาดูภาพยนตร์จะมีข้อมูลทุกอย่าง ออกเป็นรายเดือน เล่มใหญ่ มีเนื้อหาสาระมาก เกี่ยวกับภาพยนตร์ และคำว่า "สยามสแควร์" ที่เป็นที่รู้จักกันมาจนทุกวันนี้ มาจากคุณพอใจ ชัยเวฬ เขียนคอลัมน์ ซุบซิบเกี่ยวกับคนบันเทิง และผู้ที่มีชื่อเสียง รู้จักมักคุ้น เขียนเป็นคอลัมน์ "สยามสแควร์" ในหนังสือสูจิบัตร ข่าวภาพยนตร์นี้เอง โดยจะมีผู้มีเกียรติเขียนลงในหนังสือเล่มนี้ อาทิเช่น สันตศิริ หรือครูสงบ สวนสิริ, ประมูล อุณหธูป,วิลาศ มณีวัตร, บัวบาน , สุจิตต์ วงษ์เทศ สายัณห์ แห่ง เดลินิวส์, ขรรค์ชัย บุนปาน, เวทย์ บูรณะ, ประจวบ ทองอุไร ฯลฯ

จากหนังสือแจกฟรี ก็มีจดหมายติชม ขอบคุณ ที่ทางผู้บริหารโรงภาพยนตร์ได้มอบสิ่งดี ๆ ตอบแทนให้กับผู้มาใช้บริการโรงภาพยนตร์ และจากวันนั้นจนถึงวันนี้ สยามสแควร์ ก็ยังคงเป็นความทันสมัย เป็นสีสรรบันเทิงของคนกรุงเทพฯ เป็นสถานที่สำหรับวัยรุ่นพบปะกัน เป็นแหล่งซื้อหาเสื้อผ้าที่นำสมัย อยู่ตลอดระยะเวลา 36 ปี ทุกอย่างยังคงดำเนินไป และคงเอกลักษณ์ของตัวเอง ไม่เหมือนกับแห่งอื่น คือเป็นผู้นำตลอดมา โดยความร่วมมือ ร่วมกันของชาวสยามสแควร์ และรวมถึงการสนับสนุนจากทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย

ทุกอย่างมีผู้บริหารคิดทำขึ้น ก็เพื่อต้องการให้ผู้รับบริการของเราได้ในสิ่งที่ดี ไม่ถูกการเอาเปรียบ แม้แต่การเลือกภาพยนตร์ในสมัยก่อน จะต้องศึกษาอย่างจริงจัง และล่วงหน้าว่าบริษัทฯไหนมีภาพยนตร์ที่ดี, ใหญ่ ก็จะเซ็นสัญญาล่วงหน้ากันไว้ การที่มีโรงภาพยนตร์หลายโรงก็เพื่อต้องการให้มีความหลากหลาย ไม่เหมือนการจัดหนังในปัจจุบันนี้ทุกโรงฉายเหมือนกันหมด

ศูนย์การค้าแต่ละแห่งที่ผ่าน ๆ มา ก็จะหยุดหายกันไป ไม่มีใครอยู่ได้นาน เท่ากับสยามสแควร์ แห่งนี้ มองจาก โรงภาพยนตร์ทั้ง 3 โรงดังกล่าวข้าง ต้นนั้นแล้ว จะเห็นความสวยงามกันคนละแบบ เป็นโรงภาพยนตร์ที่ใหญ่
มีความงามในตัวของเขาเอง แม้ 36 ปีล่วงมาแล้ว โรงภาพยนตร์สกาลายังคงความสวยงามในด้านสถาปัตยกรรม ผสมผสาน ระหว่างตะวันตก และตะวันออก และยังคงเป็นที่กล่าวถึงมาจนทุกวันนี้ ซึ่งผู้บริหารโรงภาพยนตร์มีความภาคภูมิใจมาก แม้มีโรงภาพยนตร์ขึ้นมาอีกมากมาย ก็ไม่สามารถสร้างได้

ใหญ่ และสวยเท่า ยิ่งไปกว่านั้นการ ดำเนินงานปรับปรุง และเสริมสิ่งใหม่ ๆ ให้กับโรงภาพยนตร์ทั้ง 3 โรง ในสยามสแควร์นี้ก็เป็นไปอย่างไม่หยุดนิ่ง ไม่ว่าจะเป็นบรรยากาศหน้าโรงให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของถนนพระราม 1 การติดตั้ง"DOLBY DIGITAL" ที่ได้ติดตั้งก่อนผู้อื่นตามด้วยระบบ SRD DTS SDDS รวมทั้ง SURROUND ที่ติดตั้งก่อนผู้อื่นเช่นกัน และล่าสุดติดตั้ง "OZONE" ให้อากาศสดชื่นบริสุทธิ์ เพื่อความสุขอีกระดับของผู้ชม สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ โรงภาพยนตร์ทั้ง 3 โรงในสยามสแควร์ ยังคงตรองใจในการให้ความสุขครบถ้วน แก่ผู้ชมภาพยนตร์ทุกท่าน

โรงภาพยนตร์ทั้ง 3 แห่ง นอกจากจะเป็นผู้นำระบบต่าง ๆ แล้วยังมีความเป็นผู้นำในการทำร้านเล็ก ๆ เพื่อให้คนรุ่นใหม่ที่มีทุนน้อยเริ่มทำงานใหม่ เริ่มต้นจากการเช่าร้านเล็ก ๆ จากใต้ถุนโรงภาพยนตร์ของเรา ต่อมาเขาสามารถ เป็นผู้ส่งออกได้ หรือทำเป็นร้านขายส่งได้ หลายคนที่ประสพความสำเร็จจากการริเริ่มของเรา และต่อมาได้มีคนมาเอาอย่างของเราไปทำกันมากมาย ในศูนย์การค้าอื่น


 

user posted image

ประวัติโรงภาพยนตร์ EGV

บริษัท EGV Entertain Plc.,Ltd. ก่อต้งขึ้นในช่วงยุคที่โรงหนัง Stand Alone ในกรุงเทพฯ และประเทศไทย ต่างทยอยปิดตัวลงจากตลาดวิดีโอที่แพร่หลายมากขึ้น รวมถึงการมาของมินิเธียเตอร์ จนเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2537 โรงหนังมัลติเพล็กซ์* ภายใต้ชื่อ "อีจีวี" ซึ่งตกแต่งอย่างหรูหราทันสมัย ตั้งบนพื้นที่กว่า 1 หมื่นตารางเมตร ณ ห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์ปาร์ค บางแค ซึ่งทำให้ช่วยต่ออายุของโรงหนังในไทยได้อีก

จุดเริ่มต้นของ EGV ต้องย้อนไปที่การประกอบกิจการโรงหนังของตระกูล "พูลวรลักษณ์" ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น "ราชาโรงหนัง" ในยุคที่โรง Stand Alone เฟื่องฟู เมื่อ เจริญ แซ่โกว ซึ่งเติบโตในตระกูลชาวสวนย่านตลาดพลู แต่มีความรักหนังเป็นชีวิตจิตใจ จนอยากประกอบกิจการโรงหนัง โดยเริ่มจากทำงานเป็นเด็กฉายหนัง ลูกจ้างร้านกาแฟ จนได้เปิดร้านกาแฟ ก่อนจะเก็บ เข้าหุ้นกับเพื่อน 4 คน ทำโรงหนังเฉลิมเกียรติ ที่วงเวียนใหญ่

ภายหลังความเห็นไม่ตรงกัน เจริญ จึงออกมาเปิดบริษัท Co Brother(โกว บราเธอร์) กับพี่น้องด้วยกันคือ เจริญ จำเริญ จรูญ และ จรัญ ในปี 2504 ที่โรงหนังตลาดศรีพลู ถ.เทอดไท ถิ่นเกิด (ต่อมาทั้งสี่เปลี่ยนนามสกุลเป็น พูลวรลักษณ์) ก่อนจะขยายไปสู่ฝั่งพระนคร อาทิ เมโทร, เพชรรามา, ฮอลิเดย์, เซ็นจูรี่, เมืองทอง, แมคเคนนา ฯลฯ ซึ่งตั้งอยู่ในที่ดินของตนเอง ซึ่งแม้ตระกูลพูลวรลักษณ์จะมีธุรกิจอื่นๆ ที่ทำควบคู่ไปด้วย แต่ลักษณะที่โดดเด่นของธุรกิจนี้คือไม่มีหนี้เสีย ได้รับเงินสดทุกวัน และยังทำให้พวกเขาได้สร้างโรงพยาบาล, โรงเรียน, ถนน ตอบแทนสังคม จนถึงขั้นที่คุณเจริญ พูลวรลักษณ์ บอกครอบครัวว่า "โรงหนังคืออาชีพที่มีบุญคุณต่อครอบครัว"

เมื่อเกิดวิกฤตโรงหนังซบเซา ตระกูลพูลวรลักษณ์ถือเป็นเจ้าแรกที่ปรับเปลี่ยนเป็นโรงมินิเธียเตอร์ที่แฝงกับห้างสรรพสินค้า ก่อนที่ วิชัย พูลวรลักษณ์ ทายาทรุ่นสองของกิจการภายใต้ชื่อบริษัท เอ็นเตอร์เทน เธียเตอร์ เนตเวิร์ค จะเดินทางไปทั่วโลกเพื่อค้นหารูปแบบที่เหมาะสมกับเมืองไทย และพบว่ามัลติเพล็กซ์คือทางออก จึงเริ่มจับจองสถานที่ห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ ในชานเมือง ซึ่งเชื่อว่าเป็นกลยุทธที่ปลอดภัยที่สุด พร้อมๆ กับการมาของ บริษัท โกลเด้น วิลเลจ (การร่วมทุนของบริษัท โกลเด้น ฮาร์เวสต์ จากฮ่องกง และ วิลเลจ โรดโชว์ จาก ออสเตรเลีย) กำลังวางแผนจะบุกตลาดในแถบนี้ และวางแผนจะสร้างมัลติเพล็กในเมืองไทย ความร่วมมือจึงเกิดขึ้นภายใต้ชื่อบริษัท เอ็นเตอร์เทน โกลเด้นวิลเลจ จำกัด หรือ อีจีวี

หลังจากขยายสาขาอีกหลายโรง ในเดือนพฤษภาคม 2545 คุณวิชัย ได้ซื้อหุ้นของวิลเลจ โรดโชว์ พร้อมเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น อีจีวี เอ็นเตอรเทนเม้นต์ จำกัด เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในปีเดียวกัน(ก่อนหน้านี้ บริษัท วิลเลจ โรดโชว์ ก็ได้ซื้อกิจการ โกลเด้น ฮาร์เวสต์ เช่นกันในปี 2543) กลายเป็นโรงหนังที่ดำเนินงานโดยคนไทยเต็มรูปแบบ ปัจจุบัน อีจีวีมีสาขาคือ อีจีวี บางแค, อีจีวี รังสิต, อีจีวี ลาดพร้าว, แกรนด์ อีจีวี สยามดิสคัฟเวอรี่, แกรนด์ อีจีวี ปิ่นเกล้า, แกรนด์ อีจีวี ซีคอน สแควร์, อีจีวี โคราช, อีจีวี อ้อมใหญ่(นครปฐม), อีจีวี ศรีราชา, และ อีจีวี เมโทรโพลิส ที่ บิ๊กซี ราชดำริ เป็นสาขาล่าสุด โดยในปี 2548 บริษัท อีจีวี ได้รวมกิจการกับบริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ซึ่งเป็นกิจการของ วิชา พูลวรลักษณ์ ตระกูลเดียวกัน

หมายเหตุ : โรงหนังมัลติเพล็กซ์ หมายถึง โรงหนังครบวงจรที่มีตั้งแต่ 6 โรงขึ้นไปในบริเวณเดียวกัน มีระบบอำนวยความสะดวกแก่ผู้ชม ทั้งการจองตั๋ว-ขายตั๋วผ่านระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเสียง และห้องฉาย พร้อมกับร้านค้าต่างๆ โดยเริ่มกำเนิดขึ้นที่อเมริกา แต่พัฒนาอย่างสมบูรณ์แบบที่ออสเตรเลีย

 

มีการปลูกกล้วยหินเป็นจำนวนมากเพื่อนำไปจำหน่ายแต่ผลผลิตที่ปลูกมีมากเกินไปจึงทำให้กล้วยมีราคาถูก ดังนั้นกลุ่มแม่บ้านจึงนำกล้วยมาแปรรูปในลักษณะต่าง ๆ เช่นกล้วยกอบแก้ว กล้วยกรอบเค็ม กล้วยทรงเครื่อง เป็นต้น เพื่อยกระดับของผลิตภัณฑ์ให้มีราคาสูงขึ้น และการแปรรูปกล้วยของกลุ่มแม่บ้านในครั้งนี้ ได้รับการยอมรับจากลูกค้าและผู้บริโภคจึงทำให้

ผลิตภัณฑ์ได้รับคัดเลือกเป็น “สินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์

ส่วนผสม (สำหรับ 5-6 คนรับประทาน)
สาคูเม็ดเล็ก
1 ถ้วย
น้ำ
2 1/2 ถ้วย
น้ำตาลทราย
1/2 ถ้วย
เนื้อมะพร้าวอ่อนหั่นเส้น
1 ถ้วย
เนื้อมะพร้าวอ่อนหั่นเส้นสำหรับตกแต่ง
ถั่วดำแกงบวด
ถั่วดำต้มสุก
2 ถ้วย
กะทิ
2 ถ้วย
เกลือสมุทร
1 ช้อนชา
น้ำตาลปี๊บ (น้ำตาลมะพร้าว)
3/4 ถ้วย
หัวกะทิ
หัวกะทิ
3/4 ถ้วย
เกลือสมุทร
1/2 ช้อนชา
แป้งข้าวเจ้า
1/2 ช้อนโต๊ะวิธีทำ1. ล้างสาคู เทใส่กระชอนพักให้สะเด็ดน้ำ2. ต้มน้ำในหม้อด้วยไฟกลางให้เดือด ใส่สาคู ต้มพอสุกเป็นตากบ (ยังมีไตแป้งขาวขุ่นอยู่ด้านใน)3. ใส่น้ำตาล คนให้ทั่วและน้ำตาลละลาย ต้มต่อจนเม็ดสาคูใส ปิดไฟ เทใส่ชาม ใส่เนื้อมะพร้าวอ่อน คนพอทั่ว4. ทำถั่วแดงแกงบวดโดยใส่ถั่วดำต้มสุก กะทิ เกลือและน้ำตาลปี๊บ ลงในหม้ออีกใบ คนให้ทั่ว ยกขึ้นตั้งไฟกลาง พอเดือดทั่วยกลง5. ทำหัวกะทิโดยผสมหัวกะทิกับเกลือลงในหม้อ ยกขึ้นตั้งบนไฟอ่อนพอเดือดจึงละลายแป้งข้าวเจากับน้ำ 2 ช้อนโต๊ะ เทใส่ในหม้อ คนให้ทั่ว เคี่ยวพอกะทิมีลักษณะข้น ปิดไฟ เทใส่ถ้วย พักไว้6. ตักสาคูใส่แก้ว ตักถั่วดำแกงบวดใส่ราดด้วยกะทิ ตกแต่งด้วยเนื้อมะพร้าวอ่อน พร้อม

[แก้] ม้าก้านกล้วย

ดูบทความหลักที่ ขี่ม้าก้านกล้วย

เป็นการละเล่นที่สนุกสนาน เป็นที่ชื่นชอบของเด็กผู้ชาย วัสดุที่นำมาประดิษฐ์เป็นม้าคือ ก้านกล้วย ตัด-ดัดเลียนแบบหัวและคอม้า อาจทำสายบังเหียนให้ดูคล้ายของจริง เด็กๆ จะขึ้นไปขี่บนหลังม้าก้านกล้วย ทำท่าเหมือนขี่ม้าจริง อาจจะแข่งขันว่าใครวิ่งเร็วกว่ากัน หรืออาจขี่ม้าก้านกล้วยวิ่งไปรอบบริเวณลานกว้างๆก็ได้

[แก้] กระโดดเชือก / กระโดดหนังยาง / กระโดดหนังสติ๊ก

การกระโดดเชือกมี 2 แบบ คือ การกระโดดเชือกเดี่ยว และการกระโดดเชือกหมู่ ใช้หนังสติ๊ก (หนังยาง) ถักร้อยจนเป็นเส้นยาว หรือ เชือกปอ ยาวพอที่จะตวัดพ้นศีรษะ ขมวดหัว - ท้ายเพื่อกันเชือกลุ่ย เวลาเล่นแกว่งเชือกด้วยมือทั้งสองข้าง แล้วกระโดขึ้นลงตรงกลาง การกระโดดเชือกหมู่จะใช้เชือกที่ยาวกว่า มีผู้เล่นสองคนจับหัวท้ายข้างละคน คอยแกว่ง(หรือไกว)เชือก สามารถกระโดดได้พร้อมกันหลายๆ คน

[แก้] กระต่ายขาเดียว

ดูบทความหลักที่ กระต่ายขาเดียว

การเล่นไล่จับชนิดหนึ่ง โดยคนที่เป็นกระต่าย ยืนด้วยขาข้างเดียว แล้วกระโดด เขย่ง เคลื่อนที่ไล่จับ(แตะถูกตัว)เด็กคนอื่น ภายในพื้นที่ที่กำหนด ถ้าใครโดนจับได้ก็ต้องออกจากการแข่งขันเพื่อรอรอบต่อไป

[แก้] ตั้งเต

การกระโดดขาเดียวไปภายในช่องสี่เหลี่ยมที่ขีดขึ้นบนพื้น ขนาด 5 แถว คูณ 2 คอลัมน์ (รวม 10 ช่อง) ทีละช่อง

[แก้] บอลลูน / บอลลูนโป้ง

เด็กแบ่งเป็นสองทีม เป็นทีมดักจับ กับทีมหนี โดยที่ทีมจับ แต่ละคนจะตั้งด่านวิ่งได้เฉพาะตามแนวเส้นตั้ง และเส้นนอน ของพื้นถนน ส่วนทีมหนี จะหลบหลีกวงแขนดักจับ วิ่งผ่านลงไปจนสุดด่าน แล้ววิ่งย้อนกลับขึ้นไปยังจุดเริ่มต้น ถ้าผ่านหมดทุกด่านก็ชนะ

[แก้] โบราณเรียกชื่อ

ใช้ลูกปิงปอง โยนขึ้นฟ้าสูงเหนือหัวราวหนึ่งช่วงตัว แล้วเอ่ยชื่อคนอื่น ให้เข้ามารับลูกปิงปอง ที่ตกกระเด้งขึ้นมาจากพื้น หนึ่งครั้งเท่านั้น หากวิ่งมารับไม่ทันในการกระดอนหนึ่งครั้ง ถือว่ารับไม่ได้ ให้จับลูกปิงปอง แล้วขว้างให้โดนเด็กคนอื่น โดนใคร คนนั้นก็เสียหนึ่งแต้ม ถ้าไม่โดนคนอื่น ตัวเองก็เสียหนึ่งแต้ม เมื่อครบ 3 หรือ 5 แต้ม (แล้วแต่กำหนด) ก็ถูกทำโทษ จากเด็กทั้งกลุ่ม เรียกว่า ถูกจับ"ขึ้นแท่น" ยึนหันหน้าเข้าผนัง หันหลังออกมา ขาชิดกัน ให้เด็กคนอื่น เอาลูกปิงปองขว้างใส่น่อง ซึ่งมักจะเจ็บแปล๊บๆ และเป็นดวงกลมๆ แดงๆ จบรอบล้างแต้ม เริ่มเล่นกันใหม่

ข้อควรระวังของผู้แพ้ที่ถูกจับ ขึ้นแท่น หากยืนขาไม่ชิดกัน จนลูกปิงปองที่ถูกปามา รอดหว่างขา หรือคาระหว่างขา จะถูกทำโทษเพิ่ม โดยมีคำฮิตว่า รอด 5 คา 10 หมายถึงว่า ถ้าปาลูกปิงปอง รอดขา จะได้รับรางวัลให้ปาเพิ่มอีก 5 ครั้ง ส่วน คา 10 ก็เช่นกัน ถ้าปาแล้วติดคาหว่างขา จะโดนเพิ่มอีก 10

ความสนุกของการละเล่นนี้อยู่ที่ เด็กทั้งกลุ่มจะฮือล้อมวงก่อนโยนลูกปิงปอง เพราะตัวเองอาจจะโดนเรียกชื่อต้องวิ่งมารับให้ทัน เมื่อเรียกชื่อแล้ว เด็กที่เหลือ ก็จะฮือหนีออกห่างลูกปิงปอง เพราะกลัวโดนปาถูก หากเด็กที่ถูกเรียกชื่อรับลูกปิงปองได้ในการกระเด้งหนึ่งครั้ง ทุกคนก็จะฮือกลับมาล้อมวงรอเรียกชื่อใหม่อีกครั้ง รวมถึงจำชื่อเพื่อนๆ ที่ร่วมเล่นได้ไปในตัว

[แก้] โป้งแปะ / ซ่อนหา

การหา และการซ่อนตัว โดยมีเด็กหนึ่งคน หลับตานับเลข ให้เด็กคนอื่นๆ หนีไปหลบหาที่ซ่อน เมื่อนับเลขครบจำนวน หรือเด็กคนอื่นๆ ซ่อนเสร็จแล้ว ตะโกนบอกว่าเริ่มได้ เด็กที่มีหน้าที่"หา" จะเริ่มเดินหา ถ้ามองเห็นในสายตา ก็ยกนิ้วโป้ง พร้อมตะโกนว่า "โป้ง..." ตามด้วยชื่อของเด็กที่ถูกหาเจอ ไปเรื่อยๆ จนครบทุกคน โดยไม่ต้องแตะถูกตัว และเรียกชื่อให้ถูกต้อง แต่ก็มีเงื่อนไขว่า ถ้าเด็กที่ซ่อนตัวคนอื่นๆ แอบย่องเข้ามาข้างหลัง แล้ว"แปะ" หรือแตะถูกตัว คนเดินหา ก็แพ้ เป็น(คนหา)ซ้ำอีก คนเดินหา จึงต้องมองรอบๆ ตัว เหลียวซ้ายแลขวา คอย"โป้ง"คนอื่น และไม่ให้ตัวเองถูก"แปะ" ถ้าคนเดินหา ร้อง"โป้ง"จับได้ครบทุกคน เด็กคนที่ถูก"โป้ง"คนแรก ต้องเปลี่ยนมา ปิดตา เป็นคนเดินหา ให้เด็กคนอื่นๆ ซ่อน

ในกรณีที่คนเดินหา ถูก"แปะ" หรือ"โป้ง"เรียกชื่อผิด เด็กคนอื่นๆ มักจะดีใจ และตะโกนบอกให้รู้ทั่วๆ กันว่า "ไข่แตก" (ราวกับว่า คนเดินหา ทำไข่ไก่ตกแตก) เปรียบเสมือนได้ชัยชนะ และมีการทำโทษ โดยให้ผู้ที่ทำไข่แตก เอาสองมือประสานถักสิบนิ้วเข้าด้วยกัน หงายมือเหมือนแห เด็กคนอื่น ก็จะกำสองมือเหมือนฆ้อน แล้วตีลงบนแหนั้น ถ้ามือที่ถักประสานสิบนิ้วไว้หลุดออกจากกัน ก็คือแพ้ซ้ำสอง แต่ถ้าทนเจ็บมือไม่หลุดจากกันก็รอดพ้นการทำโทษอื่น

[แก้] งูกินหาง

การละเล่นนี้ต้องมีพ่องูแม่งู ส่วนผู้เล่นอื่นๆ เป็นลูกงู เอามือจับเอวแม่งูเป็นแถวยาว เริ่มเล่นด้วยการสนทนาระหว่างแม่งูกับพ่องู เมื่อสนทนาจบพ่องูจะพยายามไล่จับลูกงู ถ้าแตะถูกลูกงูคนใด คนนั้นจะต้องออกมาจากแถว แม่งูจะต้องปกป้องลูกงู การหนีของลูกงูต้องไม่ให้ขาดตอนจากกัน ต้องเลื้อยให้สวยงามเป็นกระบวนเหมือนงู

[แก้] เล่นห่วง

"ห่วง" เป็นอุปกรณ์การเล่นที่ประดิษฐ์จากไม้ไผ่ ซึ่งเหลาจนไม่มีคมเหลืออยู่ นำปลายทั้งสองข้างมาผูกเป็นวงกลม เล่นโดยการนำเข้ามาร่อนที่เอว เช่นเดียวกับการเล่นห่วงในปัจจุบัน นิยมเล่นกันเป็นกลุ่ม การละเล่นนี้จะทำให้เด็กๆ สนุกกับการออกกำลังกาย และได้พบปะเพื่อนฝูง

[แก้] ขี่ม้าส่งเมือง

แบ่งผู้เล่นออกเป็นสองฝ่าย แล้วเลือกผู้เล่น 1 คน มาเล่นเป็นเจ้าเมือง ฝ่ายที่เริ่มก่อนจะกระซิบความลับให้เจ้าเมืองทราบ (อาจจะเป็นชื่อคนหรือเรื่องที่ตกลงกันไว้) ถ้าฝ่ายตรงข้ามทายถูกเจ้าเมืองจะบอกว่า "โป้ง" ฝ่ายที่ทายถูกก็จะชนะ และได้ฝ่ายแรกเป็นเชลย ถ้าทายผิดก็จะต้องตกเป็นเชลย ฝ่ายใดตกเป็นเชลยหมดก่อน ต้องเป็นม้าให้อีกฝ่ายหนึ่งขี่หลังไปส่งเมือง

[แก้] กาฟักไข่

บางแห่งเรียกกว่า "ซิงไข่เต่า" ผู้เล่นเป็นอีกาหรือเต่าจะเข้าไปอยู่ในวงกลมที่ขีดไว้ คนอื่นๆอยู่นอกวงกลม พยายามแย่งเอาก้อนหินที่สมมุติว่าเป็นไข่มาให้ได้ อีกาหรือเต่าจะปัดป่ายแขนขาไปมา ถ้าโดนผู้ใดผู้นั้นจะต้องมาเล่นเป็นอีกาแทนทันที แต่ถ้าไข่ถูกแย่งหมด อีกาหรือเต่าจะต้องไปตามหาไข่ที่ผู้อื่นซ่อนไว้ หากหาไม่พบจะถูกจูงหูไปหาไข่ที่ซ่อนไว้ เป็นการลงโทษ

  • โทกเทก

อาจเรียกชื่อแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น เป็นการละเล่นที่ใช้อุปกรณ์ที่ทำมาจากไม้ไผ่ ประกอบด้วยท่อนไม้สั้นซึ่งเป็นที่เหยียบสำหรับยืน มีผ้าพันเพื่อไม่ให้เจ็บง่ามเท้า ไม้ท่อนยาวสำหรับใช้เป็นตัวยืนจับ เวลาเล่นต้องพยายามทรงตัวเดินจะทำให้รู้สึกว่าขายาวขึ้น เด็กๆ อาจจะแข่งขันกันว่าใครสามารถเดินได้เร็วกว่ากัน

[แก้] มอญซ่อนผ้า

ทุกคนนั่งล้อมวงช่วยกันร้องว่า "มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง ไว้โน่นไว้นี่ ฉันจะตีก้นเธอ" มอญจะถ์อผ้าเดินรอบวงแล้วแอบหย่อนผ้า ไว้ข้างหลังผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง หากผู้เล่นคนนั้นรู้ตัวก่อนก็จะหยิบผ้ามาไล่ตีมอญ แล้ววิ่งมานั่งที่เดิม แต่หากว่ามอญเดินกลับมาอีกรอบหนึ่ง แล้วผู้เล่นคนนั้นยังไม่รู้ตัว ก็จะถูกมอญเอาผ้าตีหลัง และต้องเล่นเป็นมอญแทน

[แก้] หมาไล่ห่าน

เลือกผู้เล่นคนหนึ่งเป็นหมาวิ่งไล่ อีกคนหนึ่งเป็นห่านวิ่งหนี ผู้เล่นนอกนั้นจับมือล้อมกันเป็นวง เมื่อห่านจวนตัวก็จะวิ่งลอดเข้าไปในวงล้อม ผู้ที่เล่นเป็นประตูต้องพยายาม กันไม่ให้หมาเข้าไปในหรือนอกวงทันห่าน กติกามีอยู่ว่าช่วงใดที่ผู้เล่นเป็นประตูพากันนั่งลง ถทอเป็นการปิดประตู หากห่านใดไล่ทันและโดนจับได้ก็ถือว่าแพ้

[แก้] ลิงชิงหลัก

เลือกผู้เล่นคนหนึ่งสมมุติว่าเป็นลิงไม่มีหลัก ยืนอยู่กลางวง ผู้เล่นที่เหลือยืนเกาะหลักของตน (ใช้คนสมมุติเป็นหลักก็ได้) อยู่รอบวง กติกาคือผู้เล่นเป็นลิงมีหลักจะต้องสลับหลักเรื่อยๆ ลิงตัวที่ไม่มีหลักก็จะต้องพยายามแย่งหลักของตัวอื่นให้ได้ ถ้าวิ่งเร็วกว่าก็จะได้หลักไปครอง ลิงที่ช้ากว่าก็จะกลายเป็นลิงชิงหลัก คอยแย่งหลักคนอื่นต่อไป

[แก้] ลูกช่วง

ใช้ผ้าเช็ดหน้าผืนใหญ่หรือเศษหญ้าแห้งมาผูกปมเป็นลูกช่วง แบ่งผู้เล่นเป็น 2 ฝ่าย เท่ากัน เริ่มเล่นด้วยการโยนลูกช่วงให้อีกฝ่ายหนึ่งรับ ถ้าฝ่ายตรงข้ามรับได้ก็จะต้องเอาลูกช่วงนั้นปากลับ มายังฝ่ายที่โยนมา ถ้าปาถูกตัวผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง ฝ่ายที่โยนมาก็จะได้คะแนน ความสนุกจะอยู่ที่ลีลาในการหลอกล่อ ชิงไหวชิงพริบ ของการหลบและการปาลูกช่วง ซึ่งอาจจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งสับสน

[แก้] โพงพาง

ผู้ที่เล่นเป็น "ปลา" จะถูกผูกตาแล้วหมุน 3 รอบ ผู้เล่นอีกคนอื่นล้อมวงร้องว่า "โพงพางเอ๋ย สำเภาเข้าลอด ปูปลาตาบอด เข้าลอดโพงพาง" จบแล้วถามว่า "ปลาเป็นหรือปลาตาย?" ถ้าปลาตอบว่า "ปลาตาย" แปลว่าห้ามขยับ แต่ถ้าตอบว่า "ปลาเป็น" ก็ขยับได้ หากผู้เล่นเป็นปลา แตะถูกตัวคนใดคนหนึ่งแล้วทายชื่อถูก ผู้นั้นจะต้องกลายเป็นปลาแทน ถ้าไม่ถูกก็ให้ทายใหม่

โพงพาง คือ ชื่อของกับดักปลาชนิดหนึ่ง

[แก้] รีรีข้าวสาร

ให้ผู้เล่นสองคน ใช้สองมือจับกัน แล้วยกโค้งขึ้นเสมือนซุ้มประตู ผู้เล่นที่เหลือเอามือจับเอวเดินเป็นแถวลอดประตูนั้นไป พร้อมกับร้องว่า "รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก (เด็กน้อยตาเหลือก) เลือกท้องใบลาน คดข้าวใส่จาน เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน พานเอาคนข้างหลังไว้" เมื่อถึงคำสุดท้าย ซุ้มประตูก็จะลดมือลง กักตัวผู้เล่นที่เดินผ่านมา ผู้เล่นที่ถูกกักตัวจะถูกคัดออก หรืออาจจะถูกลงโทษด้วยการให้รำหรือทำท่าทางอะไรก็ได้

[แก้] ตี่จับ

แบ่งผู้เล่นเป็นสองฝ่าย มีเส้นแดนตรงกลาง ตัวแทนฝ่ายที่รุกจะต้องส่งเสียง "ตี่" ไม่ให้ขาดเสียง และจะต้องพยายามแตะตัวคนใดคนหนึ่ง ของฝ่ายรับมาเป็นเชลย ส่วนฝ่ายรับหากเห็นว่าคนที่รุกมากำลังจะหมดแรงหายใจ จะถอยกลับก็จะพยายามจับตัวไว้ให้ได้ หากคนที่รุกเข้ามาขาดเสียง "ตี่" ก่อนกลับเข้าแดนของตน ก็จะต้องตกเป็นเชลยของอีกฝ่าย

[แก้] ชักเย่อ

ใช้เชือกเส้นใหญ่ยาวพอประมาณกับจำนวนผู้เล่น แบ่งผู้เล่นเป็นสองฝ่าย มีเส้นแดนตรงกลาง เมื่อสัญญาณเริ่ม ทั้งสองฝ่ายจะเริ่มออกแรงดึงเชือก โดยพยายามดึงฝ่ายตรงข้ามให้เข้ามาในแดนของตน หากผู้แข่งขันเป็นชายหนึ่งฝ่ายและหญิงฝ่ายหนึ่ง อาจจะกำหนดให้ฝ่ายหญิงมีจำนวนมากกว่าชายก็ได้ เป็นการละเล่นไทยสอนให้รู้จักความสามัคคีและเป็นการออกกำลังกายไปในตัวด้วย

[แก้] อ้างอิง

ประวัติฟุตซอล ความเป็นมาของฟุตซอล ที่มาที่ไป

เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว ประเทศในบางทวีปของโลกที่ประสบกับปัญหาหิมะตกและสภาพอากาศที่หนาวมากจนไม่สามารถจัดการแข่งขันกีฬากลางแจ้งต่างๆ ได้ รวมทั้งกีฬาฟุตซอลด้วย จึงถือเป็นช่วงสิ้นสุดฤดูกาลแข่งขันแต่เนื่องจากฤดูหนาวมีระยะเวลาที่ยาวนานและสภาพอากาศกลางแจ้งไม่เอื้ออำนวยต่อการเล่นกีฬาฟุตบอล จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนหันมาเล่นกีฬาในร่มแทน และนี่คือที่มาของกีฬาฟุตบอลในร่ม 5 คน หรือที่เรียกว่า “ ฟุตซอล” (FUTSAL )

FUTSAL มาจากภาษาสเปน หรือ โปรตุเกส ที่เรียกว่าฟุตบอล ว่า “FUTbol” หรือ “FUTTEbol” ตามด้วยภาษาฝรั่งเศสและสเปน คือ “SALa หรือ SALon ที่แปลว่า อินดอร์ หรือในร่ม เมื่อรวมกัน จึงเป็นคำว่า “FUTSAL” หมายถึง การเตะบอลในสนามขนาดย่อมในร่ม กลายเป็นคำที่เรียกขานกันแทนคำว่า “Five-A-Side” หรือบอล 5 คนในปัจจุบัน

ฟุตซอลมีการแข่งขันมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1930 ณ กรุงมอนเตวิเดโอ ประเทศอุรุกวัย เป็นเกมที่ชาวอเมริกาใต้นิยมเล่นกันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศบราซิล ซึ่งประชากรมีทักษะความสามารถเฉพาะตัวในการเล่นฟุตบอลสูง ด้วยลีลาอันเร้าใจจากนักเตะชื่อก้องโลกอย่าง เปเล่ โซครา-เตส หรือซิโก้ ซึ่งต่างเคยเข้าแข่งขันฟุตบอลมาแล้วทั้งสิ้น ซึ่งต่างเคยเข้าแข่งขันฟุตบอลมาแล้วทั้งสิ้น

การแข่งขันฟุตบอล 5 คน ในระดับนานาชาติ

ค.ศ.1965 จัดการแข่งขันครั้งแรกในอเมริกาใต้ ประเทศปารากวัยได้แชมป์ทวีปอเมริกาใต้

ค.ศ.1979 มีการแข่งขันชิงแชมป์ทวีปอเมริกาใต้อีก 6 ครั้ง โดยนักเตะแซมบ้า ประเทศบราซิลได้แชมป์ทุกครั้ง

ค.ศ.1980 และ ค.ศ.1984 การแข่งขัน แพนอเมริกาคัพ โดยนักเตะแซมบ้า ประเทศบราซิลได้แชมป์ทั้งสองครั้ง

ค.ศ.1982 การแข่งขันชิงแชมป์โลก (อย่างไม่เป็นทางการ) ครั้งแรก ณ กรุงเซาเปาโล ประเทศบราซิล และแชมป์ในปีนี้ก็คือ เจ้าถิ่นประเทศบราซิล นั่นเอง

ค.ศ.1985 การแข่งขันชิงแชมป์โลก (อย่างไม่เป็นทางการ) ครั้งที่ 2 ณ ประเทศสเปน ประเทศบราซิลได้แชมป์

ค.ศ.1988 การแข่งขันชิงแชมป์โลก (อย่างไม่เป็นทางการ) ครั้งที่ 3 ณ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศบราซิลเสียแชมป์ให้แก่ประเทศปารากวัยเป็นครั้งแรก

ค.ศ.1989 ต่อมาสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) ได้เข้ามาดูแลการแข่งขันชิงแชมป์โลกเป็นครั้งแรก ซึ่งจัดการแข่งขัน ณ ประเทศฮอลแลนด์ และประเทศบราซิลยังครองเป็นแชมป์ รองแชมป์ประเทศสเปน อันดับสามประเทศรัสเซีย

ค.ศ.1992 การแข่งขันชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 2 ณ ประเทศฮ่องกง ประเทศบราซิลยังครองความเป็นแชมป์ รองแชมป์ประเทศสหรัฐอเมริกา อันดับสามประเทศสเปน

ค.ศ.1996 การแข่งขันชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 3 ประเทศสเปน ประเทศบราซิลยังครองความเป็นแชมป์ ของโลกอย่างเหนียวแน่น รองแชมป์ประเทศฮอลแลนด์ อันดับสามประเทศสหรัฐอเมริกา

ค.ศ.2000 การแข่งขันชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 4 ณ ประเทศกัวเตมาลา ประเทศสเปนสามารถล้มแชมป์เก่าสามสมัยอันดับหนึ่งของโลก รองแชมป์ประเทศบราซิล อันดับสามโปรตุเกส

ค.ศ.2004 การแข่งขันชิงแชมป์โลกครั้งที่ 5 ณ ประเทศไต้หวัน ประเทศสเปน ยังครองความเป็นแชมป์ รองชนะเลิศประเทศอิตาลี อันดับสามประเทศบราซิล

กีฬาฟุตบอลจัดได้ว่าเป็นเกมกีฬาที่ยิ่งใหญ่และมีผู้ชมคลั่งไคล้กีฬาชนิดนี้มากที่สุดในโลก เนื่องจากฟุตบอลเป็นเกมที่สนุก ดูง่าย มีสีสันในการเชียร์ โดยเฉพาะในเกมสนามใหญ่ที่เราเรียกว่า เกม 11 คน นั้นเป็นที่นิยมทั้งในระดับสโมสร ในลีกของแต่ละประเทศและระดับนานาชาติ นั่นคือ การแข่งขันฟุตบอลโลก ซึ่งในปัจจุบันนี้กีฬาฟุตบอลไม่แข่งขันเพียงแค่ในสนามใหญ่เท่านั้นยังมีการจัดการแข่งขันฟุตบอลในร่มที่เราเรียกว่า “ ฟุตบอล 5 คน” หรือ “ ฟุตซอล” (FUTSAL ) นั่นเอง

การแข่งขันฟุตบอล 5 คน ในประเทศไทย

ประเทศไทยได้มีการจัดการแข่งขันฟุตบอล 5 คน ขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.2540 ด้วยความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่ายที่ช่วยกันผลักดันกีฬาชนิดนี้ให้ได้รับความนิยมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร การกีฬาแห่งประเทศไทย และเดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ร่วมกันจัดการแข่งขันฟุตบอล 5 คน ในรายการ “STAR IN DOOR SOCCER 1997” เมื่อวันที่ 12 – 21 กรกฎาคม 2540 ณ เดอะมอลล์ บางกะปิ โดยมี 12 ทีมสโมสรชั้นนำจากไทยแลนด์ลีกเข้าร่วมการแข่งขัน และทีมการท่าเรือแห่งประเทศไทยชนะเลิศ

ในปีต่อมาได้จัดการแข่งขันฟุตบอล 5 คน ขึ้นอีกเป็นครั้งที่ 2 ในครั้งนี้ “ ทีมกรุงเทพมหานคร” ชนะแชมป์เก่าการท่าเรือแห่งประเทศไทย

ปี พ.ศ.2543 ได้มีการจัดการแข่งขันฟุตซอลขึ้นเป็นครั้งที่ 3 โดยมีการแข่งขันรอบคัดเลือกในแต่ละภาคเพื่อนำทีมชนะเลิศและรองชนะเลิศมาแข่งขันกับทีมสโมสรชั้นนำจากไทยลีก ในการแข่งขันฟุตซอลชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ซึ่งจากความสำเร็จในการแข่งขันครั้งนี้ทำให้กีฬาฟุตซอลเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้น

ต่อมาประเทศไทยได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย และจากการแข่งขันดังกล่าวทำให้ประเทศไทยได้อันดับสามและได้สิทธิ์เดินทางไปแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกรอบสุดท้าย ระหว่างวันที่ 18 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2543 ณ ประเทศกัวเตมาลา

ในปัจจุบันฟุตซอล ( FUTSAL ) เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมและสนใจจากทุกเพศทุกวัย เนื่องจากเป็นเกมกีฬาที่ตื่นเต้น สนุกสนานในทุกๆ นาทีของการแข่งขัน และสามารถเล่นได้ตลอดปี ทุกสภาพอากาศทำให้ ฟุตซอล (FUTSAL ) กลายเป็นกีฬายอดนิยมรับสหัสวรรษใหม่นี้

เครื่องเคียง

ผักกาดดองหั่น ถั่วงอก ต้นหอม ผักชีซอย กระเทียมเจียว พริกทอด
วิธีทำ
1 โขลกเครื่องแกงให้ละเอียด นำลงผัดในน้ำมันพืช พอหอม ใส่หมูสับ
2 เทลงในหม้อน้ำต้มกระดูกหมู ใส่ซี่โครงหมู แล้วใส่เลือดหมู และมะเขือเทศ
3 ปรุงรสด้วยเกลือ พอเดือดอีกครั้ง ยกลง เสร็จขั้นตอนทำน้ำเงี้ยว
4 จัดขนมจีนใส่จานพร้อมเครื่องเคียง ราดด้วยน้ำเงี้ยวที่ทำไว้

วิธีทำ

1 โขลกเครื่องแกงให้ละเอียด นำลงผัดในน้ำมันพืช พอหอม ใส่หมูสับ
2 เทลงในหม้อน้ำต้มกระดูกหมู ใส่ซี่โครงหมู แล้วใส่เลือดหมู และมะเขือเทศ
3 ปรุงรสด้วยเกลือ พอเดือดอีกครั้ง ยกลง เสร็จขั้นตอนทำน้ำเงี้ยว
4 จัดขนมจีนใส่จานพร้อมเครื่องเคียง ราดด้วยน้ำเงี้ยวที่ทำไว้

โขลกเครื่องแกงให้ละเอียด นำลงผัดในน้ำมันพืช พอหอม ใส่หมูสับ
2 เทลงในหม้อน้ำต้มกระดูกหมู ใส่ซี่โครงหมู แล้วใส่เลือดหมู และมะเขือเทศ
3 ปรุงรสด้วยเกลือ พอเดือดอีกครั้ง ยกลง เสร็จขั้นตอนทำน้ำเงี้ยว
4 จัดขนมจีนใส่จานพร้อมเครื่องเคียง ราดด้วยน้ำเงี้ยวที่ทำไว้

เครื่องปรุง

เนื้อหมูสันนอก 1 กิโลกรัม
หมูสามชั้น 500 กรัม
ซีอิ๊วดำ 1 ช้อนโต๊ะ น้ำ 4 ถ้วย
กระเทียมปลอกเปลือก 1/4 ถ้วย
ขิงสดหั่นเป็นเส้นบาง 1/4 ถ้วย
น้ำมะขามเปียก 3-4 ช้อนโต๊ะ
ผงแกงฮังเล หรือผงกะหรี่ 1 ช้อนโต๊ะ

เครื่องแกง

พริกแห้ง 5 เม็ด ข่าหั่นละเอียด 1 ช้อนชา
ตะไคร้หั่นบาง 1 ช้อนโต๊ะ
กระเทียมปอกเปลือกหั่นเล็ก 1 ช้อนโต๊ะ
หอมแดงปอกเปลือกหั่นบาง 2 ช้อนโต๊ะ
กะปิ เกลือป่น อย่างละ 1 ช้อนชา
โขลกเครื่องแกงทั้งหมดรวมกันให้ละเอียด

วิธีทำ

1. หั่นหมูทั้งสองอย่างเป็นชิ้นสี่เหลี่ยม 2x2 นิ้ว เคล้าด้วยซีอิ๊วดำหมักไว้
2. เคล้าเครื่องแกงกับหมูเข้าด้วยกัน หมักไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง
3. ใส่หมูลงในหม้อ ใช้ไฟอ่อนๆผัดพอหมูตึงตัว ใส่น้ำลงในหม้อ ปิดฝา ตั้งเคี่ยวไปเรื่อยๆ
4. ใส่ขิงซอย กระเทียมที่ปอกเปลือกเป็นกลีบ ใส่ผงแกงฮังเลหรือผงกะหรี่ ตั้งเคี่ยวจนหมูนุ่ม และน้ำงวด
5. ปรุงรสด้วยน้ำมะขามเปียก ชิมรสให้ได้ 3 รส เปรี้ยว เค็ม เผ็ด ถ้าอ่อนเค็มให้เติมเกลือ

ลักษณะของแกง

น้ำแกงควรจะข้นคล้ายแกงมัสมั่น ใช้เป็นอาหารหลัก บางตำราจะใส่กระท้อนลงในแกง โดยหั่นเป็นชิ้นหนา หรือหั่นสี่เหลี่ยมขนาด 1 นิ้ว หรือบางตำราจะใส่สันปะรดหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยม 1x1 นิ้ว แกงฮังเลเป็นแกงของพม่า แพร่หลายเข้ามาทางภาคเหนือ พม่าเจ้าของตำรับจะรับประทานแกงฮังเลกับกล้วยไข่
บลูเบอร์รี่ชีสเค้ก

ส่วนผสมวานิลลาสปองจ์


แป้งเค้ก 115 กรัม
ผงฟู 2 กรัม
ไข่ไก่ 4 ฟอง
น้ำตาลทราย 135 กรัม
เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
นมข้นจืด 35 กรัม
เนยละลาย 80 กรัม
น้ำเปล่า 45 กรัม
S.P. 1 ช้อนโต๊ะ
กลิ่นวานิลลา

วิธีทำวานิลลาสปองจ์
1. ร่อนแป้งเค้กและผงฟูเข้าด้วยกัน พักไว้
2. ตีไข่ไก่ เกลือป่น น้ำตาลทราย และ S.P. ด้วยหัวตีตะกร้อใช้ความเร็วต่ำพอเข้ากัน
3. เติมส่วนผสมแป้งในข้อที่ 1 ลงผสม ตีต่อด้วยความเร็วปานกลางกระทั่งส่วนผสมขึ้นฟูจนเป็นสีขาว
4. เติมนมข้นจืด เนยละลาย น้ำเปล่า และกลิ่นวานิลลาลงในส่วนผสม ตะล่อมให้เข้ากันโดยใช้ตะกร้อมือ
5. เทส่วนผสมที่ได้ใส่ถาดที่รองด้วยกระดาษรองอบแล้วปาดให้เนียนเรียบเสมอกัน
6. นำเข้าเตาอบที่อุณหภูมิ 220 องศาเซลเซียส นานประมาณ 20 นาที หรือจนเนื้อสปองจ์สุก
7. รอจนเนื้อสปองจ์เย็นตัวลง จึงใช้พิมพ์กดและใช้รองเป็นฐาน

ส่วนผสมชีสเค้ก

ครีมชีส 500 กรีม
น้ำตาลทราย 175 กรัม
ไข่ไก่ 2 ฟอง
ไข่แดง 2 ฟอง
แป้งเค้ก 24 กรัม
ครีมสด 120 มิลลิลิตร
น้ำมะนาว 2 ผล
บลูเบอร์รี่กระป๋อง 1 กระป๋อง

วิธีทำ
1. ตีครีมชีสด้วยหัวตีใบไม้โดยใช้ความเร็วต่ำ เมื่อครีมชีสเริ่มนิ่มจึงค่อยๆใส่น้ำตาลทรายและแป้งเค้ก ตีต่อจนน้ำตาลทรายผสมเข้ากันดีกับครีมชีส
2. ค่อยๆใส่ไข่ไก่ทีละฟองจนหมด ตามด้วยไข่แดงทีละฟองเช่นกัน ตีต่อด้วยความเร็วต่ำ จนเนื้อขนมเนียน
3. เติมครีมสดและน้ำมะนาวลงในส่วนผสม ตีส่วนผสมทั้งหมดต่อจนกระทั่งเนื้อเนียนสวย จึงตักใส่พิมพ์ที่รองด้วยวานิลลาสปองจ์เป็นฐาน
4. นำเข้าเตาอบที่อุณหภูมิ 160 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที หรือจนกระทั่งขนมสุก สังเกตได้จากเมื่อกดที่ผิวขนมไม่เละติดมือ
5. ตกแต่งหน้าขนมด้วยบลูเบอร์รี่กระป๋อง

เหลืองหางขาว มีลักษณะเด่นๆ พอที่จะสังเกตได้ดังนี้
สี ออกเหมือนดอกโสน ขาวอมแดง ขาวอมเหลือง
ปาก ปากใหญ่ขาว คือ ปากสีขาวอมเหลืองหรือสีงาช้าง ปากยาวอวบใหญ่คล้ายกับปากนกแก้ว มีร่องน้ำเห็นได้อย่างชัดเจน ตรงกลางนูนเป็นสันราง
ตา ตาขาวจะมีเส้นสีแดงๆ เรียกว่าตาเพชร ตาเป็นลักษณะตาเหยี่ยว หัวตาแหลม ตาดำคว่ำ เล็กหรี่ รอบตาดำสีขาวอมเหลือง
หาง ขนหางกระรวยมีสีขาว พุ่งออกยาวมองเห็นได้เด่นชัด ถ้ายิ่งขาวและยาวมากๆ จะดีมาก ขนหางควรพุ่งตรงและยาว ปลายหางโค้งตกลงเพียงเล็กน้อย
ขาแข้งและเดือย มีสีขาวอมเหลือง เป็นสีเดียวกับปาก เกล็ดมีลักษณะแข็งและหนาแน่นเรียบ เดือยใหญ่แข็งแรง นิ้วยาว เล็บสีขาวอมเหลืองทุกเล็บ ไม่มีสีอื่นๆปนเลย
หงอน ด้านบนของหงอนจะบาง เรียบ ปลายหงอนยาวเลยตา โคนหงอนที่ติดกับหนังศรีษะหนาแน่น อาจมีลักษณะเป็นหงอนแจ้ หงอนหิน หงอนบายศรี
ตุ้มหู จะมีสีแดงสีเดียวกับหงอน ไม่มีสีขาวเลย ตุ้มหูมีขนาดเล็ก รัดรับกับใบหน้า ไม่หย่อนยาน
เหนียง เล็ก รัดติดกับคาง ไม่ยานหรือไม่มีเหนียง
รูปหน้า เล็ก แหลม ยาว มีเนื้อแน่น ผิวหน้าเรียบเป็นมัน กะโหลกศรีษะหนาและยาว
อก อกไก่จะแน่นกลม มีเนื้อเต็ม กระดูกอกหนา ยาว และตรง
หลัง เป็นแผ่นกว้าง มีกล้ามเนื้อมาก มองดูแล้วเรียบตรง ไม่โค้งนูน
ไหล่ ตั้ง ยกตรง มีความกว้างพอสมควร
คอ ยาว ใหญ่ กระดูกข้อถี่
ปั้นขา จะใหญ่แข็งแรง มีเนื้อมาก กล้ามเนื้อแน่น
สร้อยคอ เหลือง หรือเหลืองแกมส้ม สร้อยคอยาวต่อกับสร้อยหลัง
สร้อยหลัง เป็นสีเดียวกับสร้อยคอ ควรเรียงกันเต็มแผ่นหลัง เริ่มตั้งแต่โคนคอจนถึงโคนหาง เส้นขนละเอียดยาวเป็นระย้า
สร้อยปีก สีเดียวกับสร้อยคอ เรียงกันแน่นเต็มบริเวณหัวปีกจนถึงปีกชัย มองดูเป็นแผ่น

 

--------------------------------------------------------------------------------

ไก่เหลืองหางขาว สมาคมฯได้กำหนดอุดมทัศนีย์ไว้ และประกาศรับรองพันธุ์ไปแล้ว 6 ชนิด คือ
1. เหลืองใหญ่พระเจ้า 5 พระองค์ ขนพื้นตัวสีดำ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง สีเหลืองแก่ดังสีทองแท่ง ขนปีกในสีดำ ขนปีกนอกสีขาว ขนหางพัดสีดำปลายขาว ขนหางกะลวยสีขาวปลายดำ คู่กลางขาวปลอด ปาก-แข้ง-เล็บ-เดือย สีขาวอมเหลือง แบบสีงาช้าง ตาสีตาปลาหมอตาย (ขาวอมเหลืองอ่อน) ขนปิดรูสีเหลืองแบบสร้อย มีหย่อมกระพระเจ้า 5 พระองค์
2. ไก่เหลืองรวกพระเจ้า 5 พระองค์ ลักษณะเหมือนไก่เหลืองใหญ่ทุกประการ แต่ต่างกันตรงสีขน สร้อยคอ สร้อยหลัง สร้อยปีก เป็นสีเหลืองกลางดังสีทองทา หรือสีไม้รวกแก่แห้ง
3. ไก่เหลืองโสนพระเจ้า 5 พระองค์ ลักษณะเหมือนไก่เหลืองใหญ่ทุกประการ แต่ต่างกันตรงสีขน สร้อยคอ สร้อยหลัง สร้อยปีก เป็นสีเหลืองอ่อนดังสีทองเปลว(ทองปิดพระ) หรือสีดอกโสน หรือดอกคูณ
4. เหลืองเลาพระเจ้า 5 พระองค์ ลักษณะเหมือนเหลืองใหญ่ เหลืองรวก เหลืองโสนทุกประการ ต่างกันตรงสร้อคอ สร้อยหลัง สร้อยปีก โดยโคนสร้อยจะเป็นสีขาว ปลายสร้อยจะเป็นสีเหลือง ส่วนไก่เหลืองพระเจ้า 5 พระองค์ตัวอื่นๆ โคนสร้อยจะเป็นสีดำปลายเหลือง
5. ไก่เหลืองทับทิม ลักษณะจะเหมือนเหลืองทั้ง 4 ที่กล่าวมา ต่างกันตรงสร้อยคอ สร้อยหลัง สร้อยปีก โคนสร้อย สีดำปลายสร้อยสีเหลืองมีจุดขาวอมเหลืองอยู่ปลายสร้อย เรียกว่า "ทับทิม หรือ ดาวเรือง" ไม่มีหย่อมกระพระเจ้า 5 พระองค์
6. ไก่เหลืองเอกา หรือบางทีเรียกเหลืองธรรมดา ลักษณะเหมือนไก่เหลืองทั้ง 5 ต่างกันตรงที่ไม่มีหย่อมกระ พระเจ้า 5 พระองค์ ไม่มีจุดทับทิมหรือดาวเรืองในสร้อย สีสร้อยมีทั้งแก่ กลาง อ่อน
ในไก่เหลืองหางขาวทั้ง 6 ชนิดนี้ เราถือว่าเป็นไก่เหลืองหางขาวเหมือนกันหมด ไม่มีตัวใดเหนือตัวใด แต่ในกลุ่ม พระเจ้า 5 พระองค์จะเป็นที่นิยมในคนเลี้ยงมากกว่า
ในการประกวดไก่เหลืองหางขาว ตามกฎ กติกา การประกวดและการตัดสิน ถือว่าไก่เหลืองหางขาวทุกตัวมี คุณค่าเท่าๆกัน จะแพ้ชนะกันอยู่ที่ความสวยงาม 5 ประการ คือ
1. หน้าตา ตัวสวยงามหน้าจะแหลม กลมยาว หัว 2 ตอน ปากใหญ่ จมูกเรียบ หงอนหินกอดกระหม่อม เหนียงคางรัดเฟ้ด ขอบตา 2 ชั้นโค้งรี สีตาปลาหมดตาย จะเป็นไก่ฉลาด
2. สีสัน ตัวสวยงาม สีขนพื้นตัว ขนปีกขนหางต้องถูกต้อง ขนสร้อยต้องเหลืองรับกันตลอดอย่างสม่ำเสมอ ขนแห้งสมบูรณ์มีน้ำขนจะเป็นไก่มีสกุล
3. รูปร่าง ตัวสวยงาม ต้องรูประหง สูงใหญ่ จับกลมยาว 2 ท่อน ใหล่หน้าใหญ่บั้นท้ายโตแบน ปั้นขาใหญ่ คอยาวปล้องคอชิดแน่นวงเดียว หางยาว พัดคืบกะลวยศอก อุ้งหางชิด ปีกใหญ่แน่นยาวไม่แกว่ง จะเป็นไก่แข็งแรง
4. แข้งขา-เกล็ด ตัวสวยงามต้องแข้งกลมเป็นลำเทียน ลำหวายหรือไม้คัด เกล็ดแข้งเรียงเป็นระเบียบ เป็นแถว เป็นแนว เป็นดอกเป็นดวง นิ้วยาวเรียวมีเกล็ดแตก เหน็บ แซม ที่นิ้วมาก เป็นเกล็ดพิฆาต เสือซ่อนเล็บ เหน็บใน ไชบาดาล ผลาญศัตรู งูจงอาอง กากบาท ดอกจัน จักรนารายณ์ ขุนแผนสะกดทัพ จะเป็นไก่ตีเจ็บ
5. กิริยาชั้นเชิง ตัวสวยงาม ต้องยืน เดิน วิ่ง ท่าทางสง่าผ่าเผย เดินกำนิ้ว กระพือปีก เล่นสร้อย ส่งเสียงขัน ตลอดเวลา สัมผัสร่างจะมีเชิงนิยมจะเป็นไก่เหนือชั้นกว่าไก่อื่น
ไก่ทุกตัวไม่ว่าเหลืองไหน ถ้ามีคุณสมบัติความงามครบ 5 ประการ หรือมีมากที่สุด ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ เช่น คอดอก เห็บเสี้ยน เท้าหน่อ ขี้ขาว หวัด จะเป็นไก่ชนะได้รับรางวัล

<<BACK

Thailand Web Stat

  

บายศรี หรือ บาศรี

             การทำบายศรี ใหญ่ที่สุด ซึ่งมีความสูงมาก ถ้าหากเปรียบกับตึก หรืออาคารบ้านเรือน จะสูงประมาณ อาคาร 3-4 ชั้น จังหวัดสกลนครได้จัดทำเพื่อสนับสนุนงานประเพณีออกพรรษาแห่ปราสาทผึ้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 จนถึงปัจจุบันรวม 9 ปี และจะทำต่อไปเรื่อย ๆ เพื่ออนุรักษ์วัฒธรรมที่ดีงาม

             บายศรี คือ ภาชนะที่จัดตกแต่งให้สวยงามเป็นพิเศษด้วยใบตองและดอกไม้สดเพื่อเป็นสำรับใส่อาหาร หวาน คาว ในพิธีสังเวยบูชา และพิธีทำขวัญต่างๆ ทั้งของพระราชพิธีและของราษฎร เช่น

             1. พระราชพิธีบวงสรวงสังเวยเทพเทวดา

             2. พระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต

             3. พระราชพิธีสมโภชพระพุทธรูป

             4. พระราชพิธีสมโภชรับพระขวัญ

             5. พระราชพิธีสมโภชช้าง

             6. พิธีตั้งศาลพระภูมิ

             7. พิธียกเสาเอก

             8. พิธีทำขวัญต่างๆ ทำขวัญวัน ทำขวัญเดือน ทำขวัญนาค ทำขวัญเมื่อหายป่วยแล้ว ทำพิธีสู่ขวัญคู่บ่าวสาว

             การทำบายศรีสู่ขวัญเป็นประเพณีโบราณ ที่บรรพบุรุษได้เคยปฏิบัติกันสืบ ๆ มา ถือกันว่าเป็นสิริมงคลอันดีแก่การเป็นอยู่ คือการสวัสดิภาพในการดำรงชีวิตของมนุษย์ แต่การทำบายศรีสู่ขวัญนั้นต้องอาศัยนักปราชญ์ผู้ฉลาดในวิธีการกระทำจึงเป็นสิริมงคลได้ ถ้าทำไปสักว่าทำ ไม่มีพิธีการก็จะมีผลน้อย เพราะการกระทำทั้งนี้เกี่ยวกับจิตวิทยาอย่างหนึ่ง ถ้าผู้ทำเป็นผู้ฉลาดในพิธีการตั้งอกตั้งใจทำจริง ๆ อย่างนี้ จึงได้รับประโยชน์ในการกระทำนั้น              โบราณ ถือว่า บายศรีมีครูแรง ถ้าใครไม่ได้ครอบ (อนุญาต) ห้ามทำบายศรีอัปรีย์จะกิน ทำให้คนทั้งหลายกลัวไม่กล้าฝึกทำตามลำพัง หรือตามอย่างครู โดยครูไม่บอกอนุญาตให้เรียน ทั้งนี้คงมีจุดมุ่งหมายที่แฝงอยู่คือ ให้เรียนหรือฝึกหัดทำด้วยความตั้งใจอย่างดี เพื่อให้ได้สวยงามทำได้ดีที่มีครูสอน เพราะบายศรีเป็นของสูง เป็นเครื่องสังเวยเทพเทวดา ไม่ควรทำสุกเอาเผากิน จึงได้มีการปรามเอาไว้ กันคนที่ไม่ค่อยประณีตไม่ตั้งใจจริงไม่ให้ทำ              อีกประการหนึ่ง เป็นการปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดีให้เกิดขึ้นแก่ลูกหลาน ให้รู้จักเครารพครูอาจารย์ มีกตัญญู ไม่ลบหลู่คุณครูอาจารย์ จะเรียนอะไร ทำอะไร ต้องได้ชื่อว่าศิษย์มีครู จึงจะเกิดความมั่นใจและทำได้ดี สมัยโบราณจึงมีพิธีครอบการทำบายศรี              พิธีครอบของครูบายศรี ไม่มีอะไรมากมายนัก เพียงให้จุดธูปอธิษฐานถึงครูบายศรี ตั้งแต่ครูคนแรกที่เป็นผู้คิดประดิษฐ์ทำ และผู้รักษาสืบต่อมาจนถึงครูของเราปัจจุบันนี้ ขอคุณครูจงช่วยอวยพรชัยให้ทำบายศรีได้สวยงามดี สำเร็จเป็นศิริมงคล ถ้าแม้นว่าจะทำผิดพลาดประการใดขอคุณครูได้เมตตา อภัยให้ด้วยเถิน

             การทำบายศรี นั้น นักปราชญ์โบราณเคยทำสืบ ๆ กันมา มี 2 วิธี คือ

วิธีที่ 1 จะนิมนต์พระสงฆ์ 4 รูป รับศีลรับพร และประพรมน้ำมนต์

วิธีที่ 2 ตั้งเครื่องบูชาพาขวัญ (บายศรี) ตามประเพณีนิยม มีข้าวสาร กล้วย ข้าวต้ม ขนม ธูปเทียน ผ้าแพรวา (ถ้าสู่ขวัญคน จะมี เครื่องสำอางค์ด้วย) ฝ้ายผูกแขน เทียนรอบหัวและเท่าตัว ยอดกล้วย ยอดอ้อย ด้ายขาว 1 ในขันโตก ขันทองเหลือง

การทำบายศรี มี 2 อย่าง คือ

บายศรีหลัก บายศรีปากชาม

1. บาศรีหลัก จะทำในงานทั่วไป เช่น งานมงคลต่าง ๆ แขกมาเยี่ยมบ้านแต่งงาน ทำขวัญผู้ใหญ่ ฯลฯ

2. บายศรีปากชาม นั้นมักจะมีคู่ซ้าย ขวา จะทำในพิธีบวงสรวงหลักเมือง หรือเจ้าที่เจ้าทาง หรือยกครู ไหว้ครู ทางไสยศาสตร์ ในสมัยโบราณ การทำบายศรีจะทำในงานสำคัญเท่านั้น และทำเป็นสี่หลักข้างต้น แต่เมื่อล่วงนานมาประมาณ พ.ศ.2500 ทางพุทธให้มีหลักสูตรสอนศาสนาพิธีนั้น พานบายศรีก็มีการเปลี่ยนแปลง ไปตามกาลสมัย มี 3 ชั้น 5 ชั้น 7 ชั้น 9 ชั้น ตามคำสวดที่อัญเชิญเทพมาในงานพิธีนั้น ๆ

 

 
 

ประวัติฟุตบอลในประเทศไทย

 

กีฬาฟุตบอลในประเทศไทย ได้มีการเล่นตั้งแต่สมัย "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสิทร์ เนื่องจากสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ได้ส่งพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าหลานยาเธอ และข้าราชบริพารไปศึกษาวิชาการด้านต่างๆ ที่ประเทศอังกฤษ และผู้ที่นำกีฬาฟุตบอลกลับมายังประเทศไทยเป็นคนแรกคือ "เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)" หรือ ที่ประชนชาวไทยมักเรียกชื่อสั้นๆว่า "ครูเทพ" ซึ่งท่านได้แต่งเพลงกราวกีฬาที่พร้อมไปด้วยเรื่องน้ำใจนักกีฬาอย่างแท้จริง เชื่อกันว่าเพลงกราวกีฬาที่ครูเทพแต่งไว้นี้จะต้องเป็น "เพลงอมตะ" และจะต้องคงอยู่คู่ฟ้าไทย

เมื่อปี พ.ศ. 2454-2458 ท่านได้ดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการครั้งแรก เมื่อท่านได้นำฟุตบอลเข้ามาเล่นในประเทศไทยได้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆมากมาย โดยหลายคนกล่าวว่า ฟุตบอลเป็นกีฬาที่ไม่เหมาะสมกับประเทศที่มีอากาศร้อน เหมาะสมกับประเทศที่มีอากาศหนาวมากกว่า และเป็นเกมที่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้เล่นและผู้ชมได้ง่าย ซึ่งข้อวิจารณ์ดังกล่าวถ้ามองอย่างผิวเผินอาจคล้อยตามได้ แต่ภายหลังข้อกล่าวหาดังกล่าวก็ได้ค่อยหมดไปจนกระทั่งกลายเป็น กีฬายอดนิยมที่สุดของประชาชนชาวไทยและชาวโลกทั่วทุกมุมโลก ซึ่งมีวิวัฒนาการดังกำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูลต่อไปนี้

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
 

ประวัติ พระนเรศวร

 สถานที่ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว
   
ท่องเที่ยว

   สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  หรือ พระองค์ดำ เสด็จพระราชสมภพ ณ เมืองพิษณุโลก เมื่อปีเถาะ พุทธศักราช 2098  พระองค์เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชา และพระวิสุทธิกษัตรี ราชธิดาในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ และสมเด็จพระศรีสุริโยทัย  ดังนั้น พระองค์จึงมีพระชาติ ทั้งราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัยทางพระราชบิดา และราชวงศ์อยุธยาทางพระราชมารดา  พระองค์ทรงมีพระพี่นาง พระนามว่า  พระสุวรรณเทวีหรือพระสุพรรณกัลยา และพระน้องยาเธอ พระนามว่า สมเด็จพระเอกาทศรถ
 สถานที่ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว
   
ท่องเที่ยว

รูปปั้นปูชาในศาลา

 สถานที่ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว
   
ท่องเที่ยว

พระตำหนัก

 สถานที่ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว
  อนุสาวรีย์พระนางสุพรรณกัลยา  
ท่องเที่ยว

พระสุพรรณกัลยา

สมเด็จพระนเรศวรฯประทับอยู่ที่หงสาวดีได้ ๖ พรรษา พระเจ้าหงสาวดียกกองทัพมาตีไทยอีก ในปลายปี พ.ศ ๒๑๑๑ สาเหตุของสงครามครั้งนี้ เพราะพระเจ้าหงสาวดียังไม่ได้เมืองไทย สมดังความ ปรารถนาอย่างเด็ดขาด สมเด็จพระนเรศวรฯได้เสด็จตามมาในกองทัพหลวงของ พระเจ้าหงสาวดี ด้วย ขณะนั้นพระชนมพรรษาได้ ๑๕ พรรษา กำลังทรงหนุ่มแน่นและการเสด็จ ตามกองทัพพม่าครั้งนี้ พระองค์ ได้รู้ ได้เห็นข้อคิดการจัดกองทัพ การเคลื่อน ย้ายการส่งกำลัง บำรุงตลอดทั้งการรบในบางพื้นที่ ศึกครั้งนี้พระเจ้าหงสาวดีได้กำหนดให้พระมหาธรรมราชา พระราชบิดาของสมเด็จพระนเรศวรฯ จัดกองทัพจากเมืองพิษณุโลกมาร่วมด้วย โดยให้ไปสมทบ กับกองทัพพระมหาอุปราชาทำหน้าที่ กองเสบียง พาหนะ ในพงศาวดารไม่ได้บันทึกไว้ว่า สมเด็จ พระนเรศวรฯ กับพระราชบิดาได้พบปะ หรือสนับสนุนการรบให้กับพระเจ้าหงสาวดีหรือไม่ พระเจ้าหงสาวดี

พยายามทุก วิถีทางที่จะทำลาย กำแพงเมืองให้ได้แต่ทหารของสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิที่รักษากำแพงเมืองอยู่ได้ พยายามต่อสู้ อย่างเข้มแข็ง จนกระทั่งพระเจ้าหงสาวดี หมดปัญญาที่จะต่อสู้ จึงหาอุบายโดยใช้ไส้ศึกซึ่งเป็นคนไทย กองทัพพม่าล้อมกรุงอยู่ได้ ๙ เดือน ลุวันอาทิตย์ แรม ๑๑ ค่ำ ปีมะเส็ง พ.ศ.๒๑๑๒ ไทยก็เสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่ข้าศึก ฝ่ายพม่าได้ ยึดเอาทรัพย์สมบัติ จับเอาตัวชาวเมืองทั้งหญิงทั้งชายไปเป็นเชลย ตลอดจนสมเด็จพระมหินทร์ฯ และขุนนางทั้งปวง ก็ให้นำตัวไปด้วย เหลือขุนนางและ พลเมืองไว้รักษา พระนครรวมกันหมื่นคน และให้กองทัพหงสาวดีจำนวนสามพันคนอยู่รักษาพระนคร ให้ทำพิธีปราบดาภิเษกพระมหา ธรรมราชาขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินครองกรุงศรีอยุธยา เมื่อพระมหาธรรมราชาเสด็จ ขึ้นครองราชย์ แล้ว ทรงทูลขอพระนเรศวรฯ คืนจากพระเจ้าหงสาวดี เพื่อให้กลับมาช่วยราชการบ้านเมือง สถาปนาให้เป็น "พระนเรศวร" ตำแหน่งสมเด็จพระโอรสผู้เป็นมหาอุปราชเสด็จไปครองเมือง พิษณุโลก และถวายพระสุพรรณเทวีพระราชธิดาให้กับพระเจ้า หงสาวดีแทน

*-*....อิอิอิอิ

รูปภาพของ sas14466

วิธีทำกระทง วิธีทํากระทงใบตอง


           แบบที่ 1 กลีบผกา

          วิธีทำ

          1. ตัดใบตองขนาดความกว้าง 1.5 นิ้ว ยาว 6 นิ้ว โดยประมาณ 

          2. พับตามรูป จำนวน 3 กลีบ จากนั้นนำมาวางซ้อนให้ลดหลั่นกันไปตามภาพ ซึ่งจะนับเป็น 1 ตับ 

          3. นำไปติดโดยรอบที่ขอบของฐานกระทง ซึ่งเป็นต้นกล้วยตัดเป็นแว่น ความหนา 1.5 - 2 นิ้ว โดยประมาณ ทั้งนี้ปริมาณของกลีบกระทงที่ใช้จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของตัว ฐาน  

          4. จากนั้นประดับด้วยดอกไม้ตามความชอบ และปักธูปเทียนลงไป เป็นอันเสร็จ 


เรื่องย่อละคร รอยรักรอยบาป

          หลวงวิสุทธิ์ ได้ทาสชื่อ ทองเกลียว เป็นเมีย ต่อมาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นพระยาจึงแต่งงานกับระย้า และพาเข้ามาอยู่ที่เรือน ทำให้ทองเกลียวอาละวาดรับไม่ได้ ด้วยภาพภายนอกที่ระย้าสร้างภาพว่าเป็นคนดีทำให้ได้รับความไว้ใจจากพระยาวิสุทธิ์และได้รับความนับถือจากพวกทาส

          จนวันหนึ่ง พระยาวิสุทธิ์ ได้ทาส อิ่ม เป็นเมียเพิ่มอีก 1 คน ซึ่งทาสอิ่มมีคนรักอยู่แล้วชื่อ ยิ่ง ทำให้ระย้าโกรธมาก จึงสร้างเรื่องยุแยงทองเกลียวเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกำจัดอิ่ม ทองเกลียวเข้าไปทำร้ายอิ่มขณะที่อิ่มตั้งท้องได้สามเดือน เมื่อพระยาวิสุทธิ์รู้เรื่องจึงโกรธมาก ปลดทองเกลียวกลับไปเป็นทาสตามเดิม ทำให้ทองเกลียวรู้ตัวว่าที่ผ่านมาถูกระย้าหลอกใช้ จึงพยายามเล่าความร้ายกาจของระย้าให้คนอื่น ๆ ฟัง

          เมื่อระย้ารู้ว่าทองเกลียวนำเรื่องไม่ดีของตัวเองไปโพนทะนา จึงคิดกำจัด ออกอุบายว่าทองเกลียวเป็นคนเอายาสมุนไพรพิษมาให้อิ่มกินจนตกเลือดเกือบแท้ง พระยาวิสุทธิ์รู้เลยสั่งโบยทองเกลียวปางตาย  ทองเกลียวจึงลั่นวาจาว่าชาตินี้จะจองล้างจองผลาญระย้าไปจนตาย พระยาวิสุทธิ์สั่งโบยอีกจนทองเกลียวเป็นบ้า

          ต่อมาพระยาวิสุทธิ์ก็ได้ทาส จวน มาเป็นเมียเพิ่มอีก 1 คน ซึ่งทาสจวนมีคนรักอยู่แล้ว คือ บุญ จวนกับอิ่มแตกคอกันถึงขั้นไม่เผาผี เพราะจวนคิดว่าอิ่มเป็นคนวางแผนที่ทำให้ตนต้องตกมาเป็นเมียของพระยาวิสุทธิ์ ทั้งที่เรื่องทั้งหมดเป็นแผนการของระย้า หนำซ้ำยังเข้าใจผิดคิดว่าอิ่มไปรักกับบุญ

          ต่อมาจวนตั้งท้องกับพระยาวิสุทธิ์ ระย้าแค้นมากที่จวนและอิ่มกำลังจะมีลูกให้กับพระยาวิสุทธิ์ จึงคิดแผนกำจัดจวนและอิ่ม โดยการเอายาพิษใส่ในจานอาหารทั้งคู่ แต่จวนกินคนเดียวจึงเกิดแท้งลูก ส่วนอิ่มโดนระย้าใส่ร้ายเอายาพิษไปซ่อนไว้ในห้องนอนของอิ่ม พระยาวิสุทธิ์จับได้จึงไล่อิ่มกลับไปเป็นทาส อิ่มมาอยู่กินกับบุญ

          หลังจากนั้นพระยาวิสุทธ์ก็มีภรรยาอีกคน คือ พริ้ง ระย้าโกรธมากจึงยุจวน จนจวนตั้งตัวเป็นศัตรูกับพริ้ง พริ้งตั้งท้องไล่เลี่ยกับระย้า ซึ่งหมอตำแยบอกว่าพริ้งจะได้ลูกผู้ชายและระย้าจะได้ลูกผู้หญิง ระย้าจึงวางแผนกำจัดพริ้งเพราะอยากให้ลูกของตัวเป็นผู้สืบสกุลเพียงคนเดียว จึงวางแผนเอายาพิษให้พริ้งกินโดยบอกว่าเป็นฝีมือของจวน ยายทอง คนใช้ของระย้าทนพฤติกรรมของระย้าไม่ไหว จึงคิดจะเปิดเผยความจริงแต่ถูกฆ่าตายซะก่อน

          พระยาวิสุทธิ์คิดว่าจวนเป็นคนวางยาพริ้ง จึงสั่งโบยจวนจนตาย ก่อนตายจวนกล่าวอาฆาตพยาบาทจะจองเวรจองกรรมกับอิ่มและพระยาวิสุทธิ์ให้ถึงที่สุด ประจวบกับระย้าเจ็บท้องจะคลอด วิญญาณของจวนจึงเข้ามาอยู่ในท้องของระย้า ระย้าคลอดลูกสาวชื่อว่า หนูยิ้ม พริ้งไปขอลูกชายของพี่สาวมาเลี้ยงตั้งชื่อว่า เภา ส่วนอิ่มคลอดลูกสาวของพระยาวิสุทธิ์ชื่อ แก้ว และมีลูกชายกับบุญชื่อ กล้า ระย้ามีคนใช้คนใหม่ชื่อ พุดซ้อน ซึ่งมีลูกสาวชื่อ รุ้ง หนูยิ้มเป็นคนอารมณ์รุนแรง เกรี้ยวกราด และที่สำคัญเกลียดอิ่มและเกลียดพระยาวิสุทธิ์โดยที่ไม่รู้สาเหตุ

          ทุกครั้งที่ทองเกลียวเห็นหนูยิ้มจะเรียกว่าจวนตลอด จนระย้า หาว่าฟั่นเฟือนให้เอาไปขังไว้ แต่ทองเกลียวก็ลักลอบออกมาและพยายามบอกให้ระวังระย้าไว้ ระย้าโกรธมากจึงให้คนมาลักพาตัวทองเกลียวไปฆ่า ทองเกลียวบาดเจ็บสาหัส กล้ามาพบเข้าจึงพาไปอยู่ที่วัดแห่งหนึ่ง กล้าเป็นไม้เบื่อไม้เมาหนูยิ้มมาตลอด จนนึกสงสัยว่าทำไมหนูยิ้มถึงเป็นคนแบบนี้ เลยตามสืบหาความจริง

          ในขณะที่ มนตรี เพื่อนสนิทของกล้า แอบรักหนูยิ้ม รุ้งหมั่นไส้จึงให้ พัน ลวงหนูยิ้มไปทำร้าย แต่กล้าก็มาช่วยได้ทัน และคอยเตือนหนูยิ้มให้ทำดีอยู่เสมอ แต่จิตใจหนูยิ้มก็ยังร้อนรุ่มเหมือนเดิม และนับวันก็เริ่มทวีความเกลียดชังอิ่มมากขึ้น แต่คนที่รับบาปคือแก้ว หนูยิ้มสั่งให้เพื่อนชายขืนใจแก้วแต่เภามาช่วยไว้ทัน เภารู้สึกถูกชะตาและชื่นชอบแก้ว แต่ก็ถูกหนูยิ้มคอยขัดขวางด้วยความอิจฉาริษยาและหาว่าเป็นสาวแก่ขึ้นคานทอดสะพานให้หญ้าอ่อน

          แก้วกลุ้มใจ จึงไปปรึกษา มั่น รุ้งมาเห็นก็เอาไปโพนทะนาว่าแก้วกับมั่นแอบมีความสัมพันธ์กัน แต่ความจริงแล้วมั่นแอบชอบรุ้งอยู่ เมื่อรุ้งรู้ว่ามั่นแอบชอบ จึงหลอกใช้ต่าง ๆ นานา จนมั่นเสียใจและเลิกชอบรุ้งในที่สุด ทำให้รุ้งยิ่งเกลียดหนูยิ้มมากขึ้นเรื่องราวจะลงเอยอย่างไรติดตามต่อใน ละครรอยรักรอยบาป ละครช่อง7 ได้ทุกวัน ศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ เวลา 20.25 น. ทางช่อง 7 สี รอยรักรอยบาป เริ่มออกอากาศตอนแรก ศุกร์ที่ 14 สิงหาคม นี้


เรื่องย่อละคร รอยรักรอยบาป

          หลวงวิสุทธิ์ ได้ทาสชื่อ ทองเกลียว เป็นเมีย ต่อมาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นพระยาจึงแต่งงานกับระย้า และพาเข้ามาอยู่ที่เรือน ทำให้ทองเกลียวอาละวาดรับไม่ได้ ด้วยภาพภายนอกที่ระย้าสร้างภาพว่าเป็นคนดีทำให้ได้รับความไว้ใจจากพระยาวิสุทธิ์และได้รับความนับถือจากพวกทาส

          จนวันหนึ่ง พระยาวิสุทธิ์ ได้ทาส อิ่ม เป็นเมียเพิ่มอีก 1 คน ซึ่งทาสอิ่มมีคนรักอยู่แล้วชื่อ ยิ่ง ทำให้ระย้าโกรธมาก จึงสร้างเรื่องยุแยงทองเกลียวเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกำจัดอิ่ม ทองเกลียวเข้าไปทำร้ายอิ่มขณะที่อิ่มตั้งท้องได้สามเดือน เมื่อพระยาวิสุทธิ์รู้เรื่องจึงโกรธมาก ปลดทองเกลียวกลับไปเป็นทาสตามเดิม ทำให้ทองเกลียวรู้ตัวว่าที่ผ่านมาถูกระย้าหลอกใช้ จึงพยายามเล่าความร้ายกาจของระย้าให้คนอื่น ๆ ฟัง

          เมื่อระย้ารู้ว่าทองเกลียวนำเรื่องไม่ดีของตัวเองไปโพนทะนา จึงคิดกำจัด ออกอุบายว่าทองเกลียวเป็นคนเอายาสมุนไพรพิษมาให้อิ่มกินจนตกเลือดเกือบแท้ง พระยาวิสุทธิ์รู้เลยสั่งโบยทองเกลียวปางตาย  ทองเกลียวจึงลั่นวาจาว่าชาตินี้จะจองล้างจองผลาญระย้าไปจนตาย พระยาวิสุทธิ์สั่งโบยอีกจนทองเกลียวเป็นบ้า

          ต่อมาพระยาวิสุทธิ์ก็ได้ทาส จวน มาเป็นเมียเพิ่มอีก 1 คน ซึ่งทาสจวนมีคนรักอยู่แล้ว คือ บุญ จวนกับอิ่มแตกคอกันถึงขั้นไม่เผาผี เพราะจวนคิดว่าอิ่มเป็นคนวางแผนที่ทำให้ตนต้องตกมาเป็นเมียของพระยาวิสุทธิ์ ทั้งที่เรื่องทั้งหมดเป็นแผนการของระย้า หนำซ้ำยังเข้าใจผิดคิดว่าอิ่มไปรักกับบุญ

          ต่อมาจวนตั้งท้องกับพระยาวิสุทธิ์ ระย้าแค้นมากที่จวนและอิ่มกำลังจะมีลูกให้กับพระยาวิสุทธิ์ จึงคิดแผนกำจัดจวนและอิ่ม โดยการเอายาพิษใส่ในจานอาหารทั้งคู่ แต่จวนกินคนเดียวจึงเกิดแท้งลูก ส่วนอิ่มโดนระย้าใส่ร้ายเอายาพิษไปซ่อนไว้ในห้องนอนของอิ่ม พระยาวิสุทธิ์จับได้จึงไล่อิ่มกลับไปเป็นทาส อิ่มมาอยู่กินกับบุญ

          หลังจากนั้นพระยาวิสุทธ์ก็มีภรรยาอีกคน คือ พริ้ง ระย้าโกรธมากจึงยุจวน จนจวนตั้งตัวเป็นศัตรูกับพริ้ง พริ้งตั้งท้องไล่เลี่ยกับระย้า ซึ่งหมอตำแยบอกว่าพริ้งจะได้ลูกผู้ชายและระย้าจะได้ลูกผู้หญิง ระย้าจึงวางแผนกำจัดพริ้งเพราะอยากให้ลูกของตัวเป็นผู้สืบสกุลเพียงคนเดียว จึงวางแผนเอายาพิษให้พริ้งกินโดยบอกว่าเป็นฝีมือของจวน ยายทอง คนใช้ของระย้าทนพฤติกรรมของระย้าไม่ไหว จึงคิดจะเปิดเผยความจริงแต่ถูกฆ่าตายซะก่อน

          พระยาวิสุทธิ์คิดว่าจวนเป็นคนวางยาพริ้ง จึงสั่งโบยจวนจนตาย ก่อนตายจวนกล่าวอาฆาตพยาบาทจะจองเวรจองกรรมกับอิ่มและพระยาวิสุทธิ์ให้ถึงที่สุด ประจวบกับระย้าเจ็บท้องจะคลอด วิญญาณของจวนจึงเข้ามาอยู่ในท้องของระย้า ระย้าคลอดลูกสาวชื่อว่า หนูยิ้ม พริ้งไปขอลูกชายของพี่สาวมาเลี้ยงตั้งชื่อว่า เภา ส่วนอิ่มคลอดลูกสาวของพระยาวิสุทธิ์ชื่อ แก้ว และมีลูกชายกับบุญชื่อ กล้า ระย้ามีคนใช้คนใหม่ชื่อ พุดซ้อน ซึ่งมีลูกสาวชื่อ รุ้ง หนูยิ้มเป็นคนอารมณ์รุนแรง เกรี้ยวกราด และที่สำคัญเกลียดอิ่มและเกลียดพระยาวิสุทธิ์โดยที่ไม่รู้สาเหตุ

          ทุกครั้งที่ทองเกลียวเห็นหนูยิ้มจะเรียกว่าจวนตลอด จนระย้า หาว่าฟั่นเฟือนให้เอาไปขังไว้ แต่ทองเกลียวก็ลักลอบออกมาและพยายามบอกให้ระวังระย้าไว้ ระย้าโกรธมากจึงให้คนมาลักพาตัวทองเกลียวไปฆ่า ทองเกลียวบาดเจ็บสาหัส กล้ามาพบเข้าจึงพาไปอยู่ที่วัดแห่งหนึ่ง กล้าเป็นไม้เบื่อไม้เมาหนูยิ้มมาตลอด จนนึกสงสัยว่าทำไมหนูยิ้มถึงเป็นคนแบบนี้ เลยตามสืบหาความจริง

          ในขณะที่ มนตรี เพื่อนสนิทของกล้า แอบรักหนูยิ้ม รุ้งหมั่นไส้จึงให้ พัน ลวงหนูยิ้มไปทำร้าย แต่กล้าก็มาช่วยได้ทัน และคอยเตือนหนูยิ้มให้ทำดีอยู่เสมอ แต่จิตใจหนูยิ้มก็ยังร้อนรุ่มเหมือนเดิม และนับวันก็เริ่มทวีความเกลียดชังอิ่มมากขึ้น แต่คนที่รับบาปคือแก้ว หนูยิ้มสั่งให้เพื่อนชายขืนใจแก้วแต่เภามาช่วยไว้ทัน เภารู้สึกถูกชะตาและชื่นชอบแก้ว แต่ก็ถูกหนูยิ้มคอยขัดขวางด้วยความอิจฉาริษยาและหาว่าเป็นสาวแก่ขึ้นคานทอดสะพานให้หญ้าอ่อน

          แก้วกลุ้มใจ จึงไปปรึกษา มั่น รุ้งมาเห็นก็เอาไปโพนทะนาว่าแก้วกับมั่นแอบมีความสัมพันธ์กัน แต่ความจริงแล้วมั่นแอบชอบรุ้งอยู่ เมื่อรุ้งรู้ว่ามั่นแอบชอบ จึงหลอกใช้ต่าง ๆ นานา จนมั่นเสียใจและเลิกชอบรุ้งในที่สุด ทำให้รุ้งยิ่งเกลียดหนูยิ้มมากขึ้นเรื่องราวจะลงเอยอย่างไรติดตามต่อใน ละครรอยรักรอยบาป ละครช่อง7 ได้ทุกวัน ศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ เวลา 20.25 น. ทางช่อง 7 สี รอยรักรอยบาป เริ่มออกอากาศตอนแรก ศุกร์ที่ 14 สิงหาคม นี้


          ประเพณีลอยกระทง เป็นประเพณีโบราณของไทย แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าทำกันมาตั้งแต่เมื่อไร เท่าที่ปรากฏ กล่าวได้ว่ามีมาตั้งแต่สุโขทัยเป็นราชธานี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสันนิษฐาน ว่า เดิมทีเดียวเห็นจะเป็นพิธีของพราหมณ์ กระทำเพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้ถือตามแนวทางพระพุทธศาสนา มีการชักโคมเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุพระจุฬามณีในชั้นดาวดึงส์ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระพุทธบาท ซึ่งประดิษฐาน ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทา ในสมัยสุโขทัย นางนพมาศพระสนมของพระร่วงได้คิดทำกระทงถวาย เป็นรูปดอกบัวและรูปต่างๆให้ทรงลอยตามสายน้ำไหล

          พระร่วงเจ้าทรงพอพระราชหฤทัยกระทงดอกบัวของนางนพมาศมาก จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และปฏิบัติสืบต่อกันมา จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาและสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยเหตุนี้ กระทงรูปดอกบัวจึงปรากฏมาจนทุกวันนี้ แต่เปลี่ยนชื่อเรียกว่า "ลอยกระทงประทีป" ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงตัดพิธีต่าง ๆ ที่เห็นว่าสิ้นเปลืองออก ต่อมาในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้อีก ปัจจุบันนี้ การลอยพระประทีปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำเป็นการส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย แต่พิธีของชาวบ้านยังทำกันอยู่เป็นประจำตลอดมา

          การลอยกระทงนั้น จะมีการจุดธูป จุดเทียน ปักบนสิ่งที่ไม่จมน้ำ และจะประดิษฐ์ เป็นรูปต่างๆ เช่น กระทงเรือ แพ ดอกบัว แล้วนำไปปล่อยให้ลอย ไปตามน้ำ สมัยก่อนกระทงทำด้วยใบตอง ใบพลับพลึง กาบมะพร้าว ปัจจุบันนิยมใช้โฟมและพลาสติก ซึ่งย่อยสลายยาก ทำให้เป็นผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม และยังทำให้ท่อระบายน้ำอุดตัน ทำให้น้ำท่วมขังและสิ่งที่ควบคู่ไปกับการลอยกระทง ก็คือ การจุดดอกไม้ไฟชนิดต่างๆซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน ซึ่งดูเหมือนจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี เพราะนอกจากเกิดเสียงรบกวนแล้ว ยังอาจเกิดอันตราย เมื่อระเบิดถูกร่างกายหรือเกิดเพลิงไหม้ได้ และยังเป็นการ สิ้นเปลืองเงิน โดยเปล่าประโยชน์อีกด้วย ในการเล่นดอกไม้ไฟเราจึงควรระวัง อย่าให้ประเพณีที่มีแต่ความดีงามต้องกลายเป็นความน่ากลัวไป

          การลอยกระทง เป็นประเพณีที่อยู่ควบคู่กับคนไทยมาช้านาน ตั้งแต่สมัยสุโขทัย เราในฐานะลูกหลานคนไทยจึงควรช่วยกันรักษาไว้อย่าให้ประเพณีนี้ ต้องเสื่อมและหมดคุณค่าลงเพราะเรา เพื่อทำให้ การลอยกระทง เป็นประเพณี ที่คงไว้ซึ่งความเป็นไทยและงดงามคงอยู่สืบไป นานเท่านาน..

คติที่ถือกันมา เกี่ยวกับการลอยกระทง

          คติที่มาเกี่ยวกับวันลอยกระทงถือว่ามีอยู่มากมายหลายตำนานแตกต่างกันไป แต่ที่เพื่อนๆ ควรจะทราบไว้ประดับความรู้ จะได้เอาไว้โม้ให้เพื่อนคนอื่นๆ ฟังได้ มีดังนี้ค่ะ

          1. การลอยกระทง เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา
          2.การลอยกระทง เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าตามคติพราหมณ์
          3.การลอยกระทง เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันที่เสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา
          4.การลอยกระทง เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า ที่หาดทรายริมแม่น้ำนัมมทานที เพื่อคราวเสด็จไปแสดงธรรมโปรด ในนาคพิภพ
          5.การลอยกระทง เพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า
          6.การลอยกระทง เพื่อบูชาท้าวพกาพรหม บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
          7.การลอยกระทง เพื่อบูชาพระอุปคุดตเถระ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล

เครื่องปรุงแกงเผ็ดไก่ใส่หน่อไม้ เนื้อไก่ หน่อไม้เส้น น้ำพริกแกงเผ็ด ใบโหระพา ใบมะกรูด พริกสด

 

 

เครื่องปรุง
เนื้ออกไก่ 300 กรัม
หน่อไม้ซอยหั่นเส้น 1 กระป๋อง
น้ำพริกแกงเผ็ด 2 ช้อนโต๊ะ
ซีอิ้วขาว (หรือน้ำปลา) 1 ½  ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ
ใบโหระพา ¼ ถ้วย
ใบมะกรูด 5 ใบ
พริกสด 2 เม็ด

วิธีทำ
1. นำเนื้อไก่มาล้างน้ำให้สะอาด สะเด็ดน้ำแล้วหั่นเป็นชิ้นๆ ขนาดพอดีคำ
วิธีทำแกงเผ็ดไก่ นำเนื้อไก่มาล้างน้ำให้สะอาด สะเด็ดน้ำแล้วหั่นเป็นชิ้นๆ ขนาดพอดีคำ

2. เปิดเตาที่ไฟแรง นำน้ำเปล่าใส่หม้อประมาณ 3 ถ้วย รอจนน้ำเดือด นำหน่อไม้เส้นลงไปต้มประมาณ 15 นาที
วิธีทำแกงเผ็ดไก่ ต้มน้ำให้เดือด นำหน่อไม้เส้นลงไปต้มประมาณ 15 นาที

3. เทน้ำที่ต้มหน่อไม้ทิ้ง เปิดน้ำล้างอีกที สะเด็ดน้ำและพักไว้ จากนั้น นำใบโหระพา ใบมะกรูด และพริกสดไปล้างน้ำให้สะอาด สะเด็ดน้ำแล้วเด็ดใบโหระพาเป็นใบๆ ฉีกใบมะกรูดเอาเส้นกลางใบออก และหั่นพริกเฉียงๆ พักไว้
วิธีทำแกงเผ็ดไก่ เทน้ำต้มหน่อไม้ทิ้ง สะเด็ดน้ำ พักไว้ จากนั้น เด็ดใบโหระพาเป็นใบๆ ฉีกใบมะกรูดเอาเส้นกลางใบออก และหั่นพริกเฉียงๆ พักไว้

4. เปิดเตาที่ไฟปานกลาง นำหัวกะทิใส่ลงในหม้อประมาณ ½ ถ้วย (ไม่ต้องคนกะทิก่อนเทนะคะ จะได้ส่วนบนเป็นหัวกะทิ) รอจนหัวกะทิเดือดก็ใส่น้ำพริกแกงเผ็ดลงไป ผัดให้น้ำพริกกับกะทิเข้ากัน รอจนกะทิแตกมัน (หมั่นคนเป็นระยะนะคะ ไม่งั้นเดี๋ยวก้นจะไหม้)
วิธีทำแกงเผ็ดไก่ใส่หน่อไม้ 4 ผัดน้ำพริกแกงเผ็ดกับหัวกะทิให้เข้ากัน หมั่นคนเป็นระยะและรอจนกะทิแตกมัน

5. เมื่อกะทิแตกมันได้ที่แล้วจึงใส่เนื้อไก่ที่หั่นไว้ลงไป ผัดจนไก่สุก ทะยอยเติมกะทิที่เหลือลงไปครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะประมาณ 3 ครั้ง
วิธีทำแกงเผ็ดไก่ใส่หน่อไม้ 5 เมื่อกะทิแตกมันก็ใส่เนื้อไก่ลงไปและผัดจนเนื้อไก่สุก

6. นำหน่อไม้เส้นที่ต้มแล้วลงไป คนให้เข้ากัน ใส่กะทิที่เหลือลงไปจนหมด ปรุงรสด้วยซีอิ้วขาว (หรือน้ำปลา) และน้ำตาลทราย จากนั้น รอจนกะทิเดือดอีกครั้ง จึงใส่ใบมะกรูด ใบโหระพา และพริกหั่นลงไป คนให้เข้ากัน ปิดเตาและยกลง
วิธีทำแกงเผ็ดไก่ใส่หน่อไม้ 6 ใส่หน่อไม้ลงไป คนให้เข้ากัน ปรุงรสและรอจนกะทิเดือดอีกครั้งจึงใส่ใบมะกรูด ใบโหระพาและพริกสดลงไป คนให้เข้ากันก็ปิดเตาได้

7. ตักแกงเผ็ดไก่ใส่หน่อไม้ใส่ชาม จากนั้นก็ยกเสิร์ฟได้เลยค่ะ

ตักแกงเผ็ดไก่ใส่หน่อไม้ใส่ชามและยกเสิร์ฟได้

Tip: อาจจะเปลี่ยนจากเนื้อไก่ไปใช้เนื้อหมูหรือเนื้อวัวแทนก็ได้ ตามความชอบค่ะ

พิธีสู่ขวัญ บางทีเรียกว่า "พิธีบายศรี" หรือ "บายศรีสู่ขวัญ" เป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของชาวอีสาน  ประเพณีสู่ขวัญทำกันแทบทุกโอกาส ทั้งในมูลเหตุแห่งความดีและไม่ดี ชาวอีสานถือว่าเป็นประเพณีเรียกขวัญ ให้มาอยู่กับตัว พิธีสู่ขวัญนี้เป็นได้ทั้งการแสดงความชื่นชมยินดี และเป็นการปลอบใจให้เจ้าของขวัญจากคณะ ญาติมิตรและบุคคลทั่วไป

ผู้ได้ดีมีโชคหรือผู้หลักผู้ใหญ่ที่เราเคารพนับถือมาเยี่ยมเราก็ยินดีจัดพิธีสู่ขวัญให้ ประเพณีสู่ขวัญจึงเป็น ประเพณีทำกันอย่างกว้างขวาง คำว่า"ขวัญ"นั้นเชื่อว่าเป็นสิ่งไม่มีตัวตนคล้ายกับจิตหรือวิญญาณแฝง อยู่ในตัวคนและสัตว์ ตั้งแต่เกิดมาทุกคนมีขวัญกันทั้งนั้นและในบางแห่งเรามักแปลว่า "กำลังใจ" ก็มีคำว่า "ขวัญ" ยังมีความหมายอีกว่าเป็นที่รักที่บูชา เช่นเรียกเมียที่รักว่า "เมียขวัญ" หรือ "จอมขวัญ" เรียกลูกรักหรือลูกแก้วว่า "ลูกขวัญ" สิ่งของที่ผู้เคารพรักใคร่นับถือกันนำมาฝาก นำมาให้เพื่อเป็นการทะนุ ถนอมน้ำใจกันเราก็เรียกว่า "ของขวัญ"

"ขวัญ" อีกความหมายหนึ่ง หมายถึง ขน หรือผม ที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย พิธีสู่ขวัญเป็นพิธีเก่า แก่ของชาวไทยเราแทบทุกภาค การทำพิธีก็ผิดเพี้ยนกันไปบ้างแต่ก็ยังยึดหลักใหญ่อยู่เหมือนกัน   พิธีสุ๋ขวัญในบทความนี้ จะกล่าวถึงพิธีของชาวอีสานเป็นส่วนใหญ่ การทำพิธีสู่ขวัญเราอาจทำได้ถึง ๒ วิธีพร้อม ๆ กัน คือวิธีทางพุทธศาสนาและวิธีทางพราหมณ์ศาสนา

วิธีทางพุทธศาสนา โดยการนิมนต์พระสงฆ์อย่างน้อย ๕ รูป มาเจริญพระพุทธมนต์ ตั้งบาตรน้ำมนต์ เสร็จแล้วประพรมน้ำมนต์ พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถาถ้ามีศรัทธาพอจะถวายภัตตาหารเช้า หรือเพลพระสงฆ์ด้วยก็ได้  ส่วนพิธีทางพราหมณ์ ก็คือการสู่ขวัญซึ่งจะได้อธิบายให้ละเอียดต่อไป

การทำพิธีสู่ขวัญต้องเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ หลายอย่างดังนี้...

พาขวัญหรือพานบายศรี
คำว่า "บายศรี" นี้น่าจะมาจากภาษาเขมร คือคำว่า บาย + ศรีข้าว (สุก) ที่เป็นมงคลข้าวนี้จะ เป็นส่วนประกอบของการจัดพานบายศรี จะขาดไม่ได้  การจัดพาขวัญนี้ ปกติต้องจัดด้วยพาน ทองเหลืองและมีสัมฤทธิ์ (ขันลงหิน) หลาย ๆใบ ซ้อนกัน มีใบตอง ดอกไม้สด ด้ายสำหรับผูกข้อมือ (ผูกแขน) ปัจจุบันเริ่มมีการนำเอากระดาษสีต่างๆ แต่ก็ผิดธรรมเนียมของท้องถิ่นไป

พาขวัญอาจจัดเป็นชั้นๆ จะเป็น ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้น แล้วแต่ความสามารถ แต่คนเก่าคนแก่ของเมืองอุบล ฯ กล่าวว่าพาขวัญ ๓ ชั้น ๕ ชั้น เป็นของบุคคลธรรมดา ส่วน ๗ ชั้น และ ๙ ชั้นนิยมจัดเฉพาะสำหรับเชื้อพระวงศ์ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ชั้นล่างของพาขวัญจะเป็นพานมีบายศรี (ทำด้วยใบตอง) ดอกไม้ ข้างต้ม ไข่ต้ม ขนม กล้วย อ้อย ปั้นข้าว เงินฮาง มีดด้ามแก้ว ชั้น ๒ , ๓, ๔ จะได้รับการตกแต่งด้วยใบศรี และ ดอกไม้ซึ่ง มักจะเป็นดอกฝาง ดอกดาวเรือง ดอกรัก ใบเงิน ใบคำ ใบคูณ ใบยอป่า อย่างสวยงาม ส่วนชั้นที ๕ จะมีใบศรี และด้ายผูกข้อมือ เทียนเวียนหัว (ทำด้วยขี้ผึ้ง) ของเจ้าของขวัญ นอกจากพาขวัญแล้วจะมีเครื่องบูชาและอื่นๆ เช่น ขันบูชา มีพานขนาดกลางสำหรับวางผ้า ๑ ผืน แพร ๑ วา หวี กระจกเงา น้ำอบ น้ำหอม สร้อย แหวน ของผู้เป็นเจ้าของขวัญ

ด้ายสำหรับผูกข้อมือ (ด้ายผูกแขน) นั้นต้องเป็นด้ายดิบนำมาจับเป็นวงยาวพอที่จะพันรอบข้อมือได้ โบราณถือว่า คนธรรมดา วงละ ๓ เส้นผู้ดีมีศักดิ์ตระกูล ๕ เส้น (อาชญา ๕ ขี้ข้า ๓)เมื่อวงแล้วให้เด็ดหรือดึงให้ขาด เป็นเส้นๆห้ามใช้มีดตัดจะใช้มีดตัดได้เฉพาะด้ายที่มัดศพเท่านั้น ถ้าเป็นพาขวัญงานแต่ง คนจะเริ่มจัดพาขวัญต้อง เป็นคนบริสุทธิ์ (ปลอด) คือเป็นคนดีผัวเดียวเมียเดียว ถ้าจัดไม่เป็นเพียงมาจับพอเป็นพิธีแล้วให้คนอื่นๆจัดต่อ ไปจนเสร็จต้องจัดทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง พาขวัญฝ่ายชายจะให้หญิงบริสุทธิ์ (เด็กหญิงยังไม่มีประจำเดือน) หาบด้วยไม้ม้วนผ้าทอหูกเพราะถือเคล็ดเอาความสามัคคีรักใคร่ของผ้าและไม้ และการสูตรขวัญต้องสูตรเวลา ค่ำประมาณ ๓ - ๔ ทุ่มหลังรับประทานอาหารค่ำเสร็จถือว่าเป็นเวลาหนูเข้ารู (ยามหนูเข้าฮู) พาขวัญงานแต่ง จะต้องมีอาหารคาวหวานเป็นส่วน ประกอบอีกด้วย

พาขวัญแต่งเสร็จแล้วจะตั้งวางไว้ในที่อันเหมาะสมก่อนพอได้เวลาสูตรขวัญ คือจะทำพิธีจึงให้ยกไป ตั้งท่ามกลางญาติมิตรบนผ้าห่มหรือผ้าเช็ดตัวของเจ้าของขวัญ ข้างๆพาขวัญนอกจากจะมีอุปกรณ์ต่างๆ ดังกล่าวแล้ว ยังต้องมีแก้วน้ำเย็น แก้วใส่น้ำส้มป่อย (กระถินป่า) และแก้วเหล้าสำหรับหมอสูตรขวัญจะได้ดื่ม หรือพ่นหรือจุ่ด้วยดอกไม้สลัดใส่พาขวัญซึ่งเรียกว่า "ฮดฟาย"

การสวดหรือการสูตรขวัญ
เจ้าภาพผู้จัดพิธีสู่ขวัญจะต้องจัดหาหมอนวดหรือสูตรขวัญซึ่งมักเรียกว่า "พราหมณ์" หรือ"พ่อพราหมณ์" ไว้ล่วงหน้า ปกตินี้พ่อพราหมณ์มักจะเป็นผู้ที่ทราบประเพณีสู่ขวัญเป็นที่นับถือของ ชาวบ้านในหมู่บ้านนั้น หมอสูตรขวัญสมัยก่อนๆ นุ่งห่มธรรมดาเพียงให้มีผ้าขาวหรือให้มีผ้าขาวม้าพาดบ่า ก็พอปัจจุบันนิยมนุ่งขาวห่มขาว นับว่าเป็นการพัฒนาให้เหมาะ สมกับสังคมสมัยใหม่

ก่อนลงมือสวด เจ้าภาพต้องเตรียม "ด้ายผูกแขนพราหมณ์" ไว้เป็นด้ายผูกข้อมือธรรมดาเป็นแต่เพียง มัดธนบัตรเป็นค่าบูชาพราหมณ์จำนวนมากหรือน้อยแล้วแต่เจ้าภาพจะเห็นสมควร และเจ้าภาพจะเป็นคนผูกข้อ มือพราหมณ์ด้วยด้ายผูกแขนพิเศษนี้

พราหมณ์จะจัดให้เจ้าของขวัญนั่งให้หันหน้าไปในทิศทางต่างๆ ตามตำรา เจ้าของขวัญนั่งลงแล้วยกมือไหว้ พราหมณ์เสร็จแล้วใช้มือขวาจับพาขวัญตั้งจิตรอธิฐานขอให้เทวดาบันดาลให้เป็นไปดังหมอขวัญหรือพราหมณ์สูตร ญาติพี่น้องจะนั่งล้อมเป็นวงด้านหลังตั้งจิตรอธิฐานให้เจ้าของขวัญมีความสุขความเจริญ จงเกิดแก่เจ้าของขวัญแล้ว อ้อนวอนเทวดาเป็นภาษาบาลีว่า "สัค เค กา เม จ รูเป" … จบแล้วว่านโม ๓ จบแล้วกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย ครั้นจบแล้วจะสู่ขวัญอะไรก็เลือกว่าเอาตามต้องการให้เหมาะกับงาน การสวดต้องให้เสียงชัดเจน สละสลวย ไพเราะฟังแล้วเกิดความดีใจ ศรัทธาอุตสาหะ ในการทำความดียิ่งขึ้นจึงจะเป็นสิริมงคลแก่เจ้าตัวถ้าป่วยไข้ ไข้จะหาย ถ้าได้ดีได้เลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่งก็จะรักษาความดีไว้ให้คงทนไม่ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมจนลืมตัวเมื่อสวดเสร็จ จะว่า " สัพพพุทธานุภาเวน สัพพธัมมานุภาเวน สัพพสังฆานุภาเวนสัพพโสตถี ภวันตุ เต ยถา สัพพี ภวตุ สัพ " ฯลฯ การเข้านั่งล้อมพาขวัญถ้าเป็นการแต่งงานคู่บ่าวสาวพร้อมด้วยเพื่อนเจ้าบ่าวเจ้าสาวจะเข้าร่วมพิธีด้วย จะจัดให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวนั่งชิดกันเวลาจับพาขวัญให้แขนเจ้าบ่าวทับแขนเจ้าสาวเพื่อนๆ เจ้าบ่าวจะ พยายามเบียดให้เจ้าสาวนั่งชิดกับเจ้าบ่าวให้มากๆ จะมีการแกล้งเจ้าบ่าวต่างๆ นานาเป็นที่สนุกสนาน

การมาร่วมพิธีสู่ขวัญนี้คนโบราณได้เล่าว่าเมื่อครั้ง ๗๐ ปีก่อนบ้านเมืองอุบลฯ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยการเลี้ยงไหมของขวัญผู้มาร่วมพิธีขวัญจึงเป็นไหมเส้นเป็นไจๆนับว่าเป็นของขวัญที่พอ เหมาะพอควรและไม่เคยมีการนำเอาเงินมาเป็นของขวัญไหมที่เจ้าของขวัญรับไว้ก็จะนำไปทอเป็นผ้าได้ภายหลัง

การเชิญขวัญ ก่อนสูตรขวัญถ้ามีเวลาพอก็ให้ว่าคำเชิญขวัญเสียก่อนทุกครั้งการเชิญขวัญเป็นพิธีที่ดีอย่าง หนึ่งคือเราขอความสำเร็จความศักดิ์สิทธิ์จากพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทวดา อินทร์ พรหม ผู้มีอิทธิฤทธิ์มาประสิทธิ์ประสาทพรให้จะได้มีวาจาศักดิ์สิทธิ์เพราะผู้สวดและผู้ฟังไม่ใช่คนมีอิทธิฤทธิ์เมื่อ เราขอท่านท่านก็คงเมตตาประทานให้ตามคำขอ

คำเชิญขวัญ คำเชิญขวัญนั้นมีหลายสำนวนไม่มีแบบตายตัว ต่างหมอต่างสรรหาสำนวนที่เห็นว่า เหมาะกับเหตุการณ์เช่น คำเชิญขวัญสำหรับบุคคลธรรมดา ก็อีกสำนวนหนึ่ง สำหรับเชื้อพระวงศ์ก็อีกสำนวน หนึ่งเป็นต้น 

การผูกแขนหรือข้อมือ
เมื่อพราหมณ์สูตรขวัญจบแล้วญาติพี่น้องจะเอาข้าว ไข่ กล้วย ใส่มือเจ้าของขวัญมือซ้ายหรือมือขวา ก็ได้ให้พราหมณ์ผูกข้อมือให้ก่อนปกติจะผูกข้อมือซ้ายเพราะแขนซ้ายถือเป็นแขนขวัญ เป็นแขนที่อ่อนแอใช้งาน หนักไม่ได้ เป็นแขนที่น่ารักทะนุถนอม ในเวลาผูกข้อมือนั้นทุกคนยื่นมือขวาออกไปพยุง (โจม) แขนของเจ้าของ ขวัญที่พราหมณ์กำลังทำพิธีผูกข้อมือให้ถ้าอยู่ห่างก็ยื่นมือจับแขนหรือแตะตัวกันต่อๆ มาเป็นเส้นสายเหมือน เชือกส่อแสดงถึงความสัมพันธ์ทางกายและใจเป็นอย่างยิ่ง แล้วตั้งจิตอธิฐานขอให้เจ้าของขวัญมีความสุขความเจริญเมื่อผูกข้อมือเสร็จแล้วให้ผู้เป็นเจ้าของขวัญมีความ สุขความเจริญเมื่อผูกข้อมือเสร็จแล้วให้ผู้เป็นเจ้าของขวัญประนมมือไหว้ผู้ให้พร เป็นการรับเอาพร เมื่อพราหมณ์ผูก เสร็จแล้ว ต่อไปก็เป็นโอกาสของญาติมิตรทั่วๆไปจะเข้ามาผูกข้อมือให้กับเจ้าของขวัญ

ด้ายผูกแขน (ด้ายผูกข้อมือ) ถือเป็นของดี ของศักดิ์สิทธิ์ควร รักษา ไว้อย่าพึ่งดึงทิ้ง ให้ล่วง ๓ วันเสียก่อนจึงดึงออกเวลาทิ้งอย่าทิ้ง ลงที่สกปรก เพราะด้ายผูกแขนเป็นของขาวของบริสุทธิ์ เป็นจุดรวมแห่งจิตใจบริสุทธิ์หลาย ดวงจึงควรรักษาไว้ให้ดี ผู้เฒ่าผู้แก่เคยเล่าให้ฟังว่าด้ายผูกแขนที่เก็บรักษา ไว้เป็นของศักดิ์สิทธิ์ ป้องกันอันตรายได้เช่น มีโจรมาปล้น อธิฐานขอให้จิต ทุกดวงช่วยก็ปลอดภัยจากอันตรายได้และเป็นเสน่ห์ดึงดูดจิต ใจให้คนรัก-ใคร่ชอบ พอได้

การผูกแขน (ผูกข้อมือ) การผูกแขนที่จะอำนวยประโยชน์สุขให้แก่เจ้าของ ขวัญควรประกอบ
ด้วยองค์ ๔ คือ :-

- ผู้ผูก หรือพราหมณ์
- ผู้รับผูก หรือเจ้าของขวัญ
- ผู้เกี่ยวข้อง คือญาติมิตร
- คำกล่าวขณะที่ผูก

คำกล่าวขณะที่ผูกเป็นคำเรียกร้องเชิญขวัญซึ่งเป็นคำที่ไพเราะ อ่อนหวาน สุภาพ เรียบร้อยมีความหมาย ไปในทางที่ดีงาม

โอกาสจัดพิธีสู่ขวัญ มีหลายโอกาสเช่น คารวะพระพุทธรูป บายศรีพระสงฆ์ สู่ขวัญแม่ออกกรรม (คลอดบุตรออกไฟ) สู่ขวัญเด็กน้อย สู่ขวัญเฮือน สู่ขวัญคนธรรมดา สู่ขวัญแต่งงาน สู่ขวัญหลวง สู่ขวัญเกวียน สู่ขวัญขึ้นเล้า (ยุ้ง) สู่ขวัญน้อยก่อนแต่งงาน สู่ขวัญคนป่วย สู่ขวัญขึ้นบ้านใหม่ สู่ขวัญวัวขวัญควาย

จะเห็นได้ว่าพิธีสู่ขวัญนี้เป็นประเภท "ขนบประเพณี" คือประเพณีชาวอีสานได้เคยตั้งหรือร่างเป็นระเบียบแบบ แผนขึ้นไว้เป็นธรรมดาของประเพณีที่อาจมีส่วนปลีกย่อย แปลก แตกต่างกันออกไปบ้างในลักษณะของการพัฒนาเป็นลักษณะของความเจริญให้เหมาะสมกับกาลสมัยแต่ส่วนสำคัญ อันเป็นมูลฐานของประเพณีนี้ก็ยังคงอยู่และเป็นหน้าที่ของพวกรุ่นต่อไปจะเป็นผู้รับช่วงระวังรักษาไว้ให้มรดก อันสำคัญนี้ยั่งยืนสืบไป เพื่อแสดงความเก่าแก่ของชาติบ้านเมืองเรา...ฯ

แกงเผ็ด

แกง หมายถึง วิธีการผสมอาหารหลาย ๆ อย่างรวมกับน้ำ สามารถแยกออกเป็น แกงเผ็ด กับ แกงจืด

แกงเผ็ดเป็นแกงที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ก็เพราะสามารถนำไปทำเป็นแกงหลากหลาย สามารถใช้เนื้อสัตว์และผักมารวมได้หลายประเภท แกงเผ็ดถือเป็นแม่แกงของแกงอื่น ๆ เพียงแค่เปลี่ยนสมุนไพรบางอย่าง เช่น แกงที่ไม่ใช้กะทิจะเป็นแกงป่า

ส่วนประกอบ

กระเทียม หอมแดง พริกแห้ง ข่า กะปิ เกลือ ผิวมะกรูด ตะไคร้

เครื่องปรุง

ใบโหระพา น้ำปลา น้ำตาล มะเขือเจ้าพระยา เนื้อสัตว์ 300 กรัม กะทิ 300 กรัม

วิธีปรุง

ต้มเนื้อสัตว์กับหางกะทิ จากนั้น ผัดน้ำพริกแกงเผ็ดกับหัวกะทิจนแตกมัน ปรุงรส เติมน้ำปลาและน้ำตาล ใส่เนื้อสัตว์ที่ต้มแล้วผัดจนเดือด จากนั้นใส่มะเขือและหางกะทิ

สำหรับมังสะวิรัต สามารถใช้เต้าหู้แทนได้ แต่ให้ใส่เป็นอย่างสุดท้าย ผักทุกชนิดสามารถใช้ได้ เช่น มะเขือเทศ ฟักทอง และถั่วเหลือง สำหรับสัตว์เนื้อแดง ลูกชิ้นปลา และเนื้อไก่ เข้ากันได้ดีกับแกงเผ็ด และสามารถน้ำนมถั่วเหลืองสามารถใช้แทนกะทิได้

 

 ที่  มา  www.google.com

 

  ด.ช.วิษณุพงษ์  นฤเดช  ม.2/5  เลขที่  5 

 

 

 

 

                                      พระเจ้าตากนามเดิมว่า สิน เชื้อสายเป็นชาวจีนเกิดในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา

รับราชการศครั้งหลังสุดคือพระยาวชิรปราการในแผ่นดินของพระเจ้าเอกทัศน์ ถูกเรียกมารับศึกพม่าในเมืองอยุธยา   แต่เห็นว่า

ในเมืองมีวามวุ่นวายจากสาเหตุดังนี้
                     
1. การแย่งชิงอำนาจกันระหว่างกษัตริย์ทำให้ทหารที่มีฝีมือถูกฆ่าเพราะ.ไม่ใช่พวกตนเอง
                     
2. อยุธยาร้างศึกมานานทำให้เกิดการประมาท กษัตริย์พระองค์สุดท้ายของอยุธยา คือพระเจ้าเอกทัศน์ไม่มี

ความสามารถด้าน การรบ

                      3. พม่าเปลี่ยนกลยุทธทางการศึกโดยตีจากหัวเมืองประเทศราช .เป็นการตัดกำลังและเสบียงอาหาร เมื่อถูกล้อม

เป็นเวลานานทำให้อ่อนแอเพราะขาดเสบียง
      
                             กล่าวโดยสรุปว่าเหตุสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้ไทยเราเสียกรุงศรีอยุธยาประมาทและขาดความสามัคคี.

.พระเจ้าตากทรงรวบรวมทหารประมาณ 500 คนโดยมุ่งหน้าไปยังหัวเมืองตะวันออกโดยในที่สุดได้ไปตั้งมั่นอยู่ที่..จันทบุรี

.รวมรวมกองทัพ.เรือยกมาตีธนบุรีและอยุธยาคืน นับว่าเป็นการกอบกู้ราชธานีภายในเวลาเพียง 7 เดือน
                                   งานของพระเจ้าตากทรงย้ายราชธานีจากอยุธยามาเป็นธนบุร โดยทรงเห็นว่าอยุธยาเป็นเมืองใหญ่ และ

ทรุดโทรมมากด้วยกำลังคนที่มีอยู่ไม่สามารถบูรณะเมืองปกป้องราชธานีได้จึงย้ายราชธานีมาอยู่ที่ธนบุรีเนื่องจากอยู่ใกล้ทะเล

ทำใหสะดวกกับการค้าขาย  และมี.ป้อมปราการในการป้องกันพระนครอยู่แล้ว
                                 หลังจากที่กอบกู้เอกราชได้จากการตีทัพสุกี้ที่ค่ายโพธิ์สามต้นแล้ว ทรงมุ่งรวบรวมอาณาจักรเป็น
ปึกแผ่นด้วยการรวมรวมชุมนุมต่างดังนี้
 
                   
1. ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก หัวหน้าชื่อเจ้าพระยาพิษณุโลก  .มีเมือง.พิชัย..เป็นเมืองเอก
                   
2. ชุมนุมเจ้าพระฝาง               หัวหน้าชื่อเจ้าพระฝาง               มีเมือง..แพร่,น่าน.เป็นเมืองเอก
                    3. ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช หัวหน้าชื่อเจ้านครศรีธรรมราช.มีเมืองนครศรีธรรมราช เป็นเมืองเอก
                    4. ชุมนุม.เจ้าพิมาย                 หัวหน้าชื่อกรมหมื่นเทพพิพิธ.  มีีเมืองพิมายเป็นเมืองเอก
                            หลังจากกู้เอกราชพระยาตากได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์   การปกครองธนบุรียึดตามอย่างของสมัยอยุธยา

ตอนปลาย ยกเว้นการปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือทรงไว้วางพระราชหฤทัยมอบให้สมุหนายกเป็นผู้ดูแล  
                           ด้านกฎหมายและการศาลจะใช้พราหมณ์ทำหน้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญการตัดสินใช้ลูกขุน กฎหมายที่ออกในสมัย

ธนบุรีคือการสักเลก.เป็นกฎหมายที่ลงโทษประหารไพร่ที่หนีการเกณฑ์ไพร่มาใช้แรงงาน
                          พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงให้แต่งตั้งพระสังฆราชดูแลพระสงฆ์ ชำระความความบริสุทธิ์ของพระสงฆ์ทางภาคเหนือ

มีการคัดลอกพระไตรปิฏกจากหัวเมือนครศรีธรรมราช        อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางมาจากเวียงจันทน์ประดิษฐานไว้ที่

วัดอรุณราชวราราม     วัดสำคัญในสมัยธนบุรีคือวัดบางหว้าใหญ่ ( วัดระฆังโฆสิตาราม )    วัดแจ้ง( วัดอรุณราชวราราม )      
วัดบางยี่เรือใต้( วัดอินทาราม )

                           วรรณกรรมที่พระเจ้าตากสินทรงแต่งได้แก่ รามเกียรติบางตอน.   .กวีเอกในสมัยนั้นหลวงสรวิชิต (หน)

แต่งเรื่องลิลิตเพชรมงกุฎ   กฤษณาสอนน้องแต่งโดยพระภิกษุอินเมืองนครศรีธรรมราช   นิราศกวางตุ้งแต่งโดย..เจ้าพระยา

มหานุภาพ  ด้านจิตรกรรมมีสมุดภาพไตรภูมิเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับบาลี         ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ.
 

รูปภาพของ sas14471

ช็อคโกแล็ต" ขนมหวานแสนอร่อย

พูดถึง “ช็อคโกแล็ต" หลายคนคงจะนึกถึงขนมหวานแสนอร่อยๆ แต่จะมีใครรู้บ้างว่า ช็อคโกแล็ต ทำมาจากอะไร และมีกระบวนการทำอย่างไร วันนี้ เราคำตอบมาบอกกันค่ะ

ช็อคโกแล็ตนั้นทำมาจาก เมล็ดของต้นโกโก้ (cocoa) ซึ่งเป็นต้นไม้ในเขตร้อน สูงไม่เกิน 25 ฟุต จะออกดอกเล็กๆเป็นพวงห้อยตามกิ่ง ที่น่าแปลกก็คือจะมีดอกขึ้นมาตามลำต้นด้วย หลังจากนั้นไม่นานดอกก็จะกลายเป็นผลไม้ลูกยาวๆ คือผลโกโก้ที่มีเปลือกแข็ง สีเหลืองปนม่วง ภ ายในมีเมล็ดที่เรานำมาใช้ทำช็อคโกแล็ต

ส่วนกรรมวิธีการทำช็อคโกแล็ต เริ่มจากการนำเอาเมล็ดโกโก้มาหมักนานราว 12 วัน เพื่อให้ความขมลดลง เมล็ดโกโก้จะกลายเป็นสีน้ำตาลและส่งกลิ่นหอม จากนั้นก็จะนำมาตากแห้ง แล้วนำไปอบอีกครั้ง และหลังจากอบจนแห้งดีแล้ว ก็จะนำเมล็ดที่ได้มาบดให้แตกละเอียด แรงบดจะทำให้เกิดน้ำเหนียวๆออกมา ซึ่งเรียกว่า "ช็อคโกแล็ตลิเคอร์" (Chocolate Liquor) ซึ่งเป็นสิ่งที่นำมาใช้ทำช็อคโกแล็ต

โดยนำโกโก้ที่ได้มาผสมกับเนย น้ำตาลและส่วนประกอบต่างๆ เพื่อให้ได้ช็อคโกแล็ตชนิดต่างๆ ดังนี้ Plain chocolate ประกอบด้วย cocoa powder,cocoa liquor,cocoa butter and sugar Milk chocolate ประกอบด้วย cocoa powder,cocoa liquor,cocoa butter,milk or milk powder and sugar White chocolate ประกอบด้วย cocoa liquor,cocoa butter,milk or milk powder and sugar

จากนั้นนำส่วนผสมที่ได้ ใส่ลงในภาชนะที่มีอุณหภูมิพอเหมาะที่จะสามารถ เก็บช็อคโกแล็ตให้อยู่ในรูปของเหลวได้โดยไม่เสียคุณภาพ ระยะเวลานานเท่าใดนั้นขึ้นกับคุณภาพของช็อคโกแล็ต ซึ่งช็อคโกแล็ตที่มีคุณภาพดีจะเก็บไว้นานอย่างน้อย 1 อาทิตย์เลยทีเดียว

ขั้นตอนสุดท้ายคือการปรับอุณหภูมิ เป็นการค่อยๆ ลดอุณหภูมิของช็อคโกแล็ตลงอย่างระมัดระวัง เพื่อให้เนยโกโก้แข็งตัวลงอย่างเสถียร ช็อคโกแล็ตที่ได้จึงจะมีคุณภาพ โดยจะค่อยๆลดอุณหภูมิจาก 45 ฐc เป็น 27 ฐc หลังจากนั้นจึงเพิ่มอุณหภูมิขึ้นเป็น 37 ฐc และลดลงจนช็อคโกแล็ตที่ได้เป็นก้อนแข็ง

ถ้าใครสนใจอยากจะลองทำ ช็อคโกแล็ ไว้ทานกันก็ลองทำได้เลยนะคะ แต่จะอร่อยหรือไม่อร่อยก็ขึ้นอยู่ฝีมือคนทำแล้วค่ะ

พูดถึง “ช็อคโกแล็ต" หลายคนคงจะนึกถึงขนมหวานแสนอร่อยๆ แต่จะมีใครรู้บ้างว่า ช็อคโกแล็ต ทำมาจากอะไร และมีกระบวนการทำอย่างไร วันนี้ เราคำตอบมาบอกกันค่ะ

ช็อคโกแล็ตนั้นทำมาจาก เมล็ดของต้นโกโก้ (cocoa) ซึ่งเป็นต้นไม้ในเขตร้อน สูงไม่เกิน 25 ฟุต จะออกดอกเล็กๆเป็นพวงห้อยตามกิ่ง ที่น่าแปลกก็คือจะมีดอกขึ้นมาตามลำต้นด้วย หลังจากนั้นไม่นานดอกก็จะกลายเป็นผลไม้ลูกยาวๆ คือผลโกโก้ที่มีเปลือกแข็ง สีเหลืองปนม่วง ภ ายในมีเมล็ดที่เรานำมาใช้ทำช็อคโกแล็ต

ส่วนกรรมวิธีการทำช็อคโกแล็ต เริ่มจากการนำเอาเมล็ดโกโก้มาหมักนานราว 12 วัน เพื่อให้ความขมลดลง เมล็ดโกโก้จะกลายเป็นสีน้ำตาลและส่งกลิ่นหอม จากนั้นก็จะนำมาตากแห้ง แล้วนำไปอบอีกครั้ง และหลังจากอบจนแห้งดีแล้ว ก็จะนำเมล็ดที่ได้มาบดให้แตกละเอียด แรงบดจะทำให้เกิดน้ำเหนียวๆออกมา ซึ่งเรียกว่า "ช็อคโกแล็ตลิเคอร์" (Chocolate Liquor) ซึ่งเป็นสิ่งที่นำมาใช้ทำช็อคโกแล็ต

โดยนำโกโก้ที่ได้มาผสมกับเนย น้ำตาลและส่วนประกอบต่างๆ เพื่อให้ได้ช็อคโกแล็ตชนิดต่างๆ ดังนี้ Plain chocolate ประกอบด้วย cocoa powder,cocoa liquor,cocoa butter and sugar Milk chocolate ประกอบด้วย cocoa powder,cocoa liquor,cocoa butter,milk or milk powder and sugar White chocolate ประกอบด้วย cocoa liquor,cocoa butter,milk or milk powder and sugar

จากนั้นนำส่วนผสมที่ได้ ใส่ลงในภาชนะที่มีอุณหภูมิพอเหมาะที่จะสามารถ เก็บช็อคโกแล็ตให้อยู่ในรูปของเหลวได้โดยไม่เสียคุณภาพ ระยะเวลานานเท่าใดนั้นขึ้นกับคุณภาพของช็อคโกแล็ต ซึ่งช็อคโกแล็ตที่มีคุณภาพดีจะเก็บไว้นานอย่างน้อย 1 อาทิตย์เลยทีเดียว

ขั้นตอนสุดท้ายคือการปรับอุณหภูมิ เป็นการค่อยๆ ลดอุณหภูมิของช็อคโกแล็ตลงอย่างระมัดระวัง เพื่อให้เนยโกโก้แข็งตัวลงอย่างเสถียร ช็อคโกแล็ตที่ได้จึงจะมีคุณภาพ โดยจะค่อยๆลดอุณหภูมิจาก 45 ฐc เป็น 27 ฐc หลังจากนั้นจึงเพิ่มอุณหภูมิขึ้นเป็น 37 ฐc และลดลงจนช็อคโกแล็ตที่ได้เป็นก้อนแข็ง

ถ้าใครสนใจอยากจะลองทำ ช็อคโกแล็ ไว้ทานกันก็ลองทำได้เลยนะคะ แต่จะอร่อยหรือไม่อร่อยก็ขึ้นอยู่ฝีมือคนทำแล้วค่ะ

แกงเผ็ดเป็ดย่าง เป็นแกงที่นิยมใส่ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวลงไปในแกงด้วย เพื่อช่วยให้น้ำแกงมีรสหวานกลมกล่อม ผลไม้ที่นิยมก็คงจะได้แก่ สับปะรด มะปรางสุก องุ่น แอปเปิลเขียว ฯลฯ หรือถ้าหาผลไม้ไม่ได้จริง ๆ ก็ใช้ มะเขือส้มหรือมะเขือเทศสีดาแทนได้

เนื้อเป็ดย่างหั่นเป็นชิ้นพอคำ สัก 1/ 2 ตัว
หัวกะทิ 1 ถ้วย
หางกะทิ 4 ถ้วย
สับปะรด(เลือกแบบเปรี้ยว)หั่นเป็นชิ้นพอคำสัก 10 ชิ้น
มะเขือส้มหรือมะเขือเทศสีดา 7 ลูก
น้ำพริกแกงเผ็ด 3 ช้อนโต๊ะ
โหระพาเด็ดเป็นใบ 1/ 2 ถ้วย
ใบมะกรูด 5 ใบ
พริกชี้ฟ้าแดงหั่นแฉลบ 3 เม็ด
พริกเหลืองหั่นแฉลบ 2 เม็ด
น้ำตาลปีบ 2 ช้อนชา
น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำมะขามเปียก 2 ช้อนโต๊ะ

เริ่มด้วยนำหางกะทิใส่ลงในหม้อ แล้วยกขึ้นตั้งไฟกลางพอร้อน จึงใส่เนื้อเป็ด พอกะทิแตกมันยกลง จากนั้นตักกะทิที่แตกมันในหม้ออกมาใส่ในกระทะ 1/ 4 ถ้วย ใส่น้ำพริกแกงเผ็ดลงผัดให้หมอ แล้วตักเนื้อเป็ดในหม้อกะทิใส่ลงไป ผัดพอทั่ว ใส่น้ำมะขามเปียก ตักทั้งหมดใส่หม้อกะทิตามเดิม

ยกหม้อกะทิขึ้นตั้งไฟอีกครั้ง คนพอทั่ว ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาล ใส่หัวกะทิ คนให้เข้ากัน เมื่อเดือดใส่ สับปะรด มะเขือส้ม พอเดือดอีกครั้ง ฉีกใบมะกรูดใส่ ตามด้วยพริกชี้ฟ้าแดงและพริกเหลือง ใบโหระพา จากนั้นปิดไฟ ก็เป็นอันเสร็จ

** น้ำพริกแกงเผ็ด ใช้พริกแห้งแกะเมล็ดออกแช่น้ำ 7 - 9 เม็ด หอมแดงซอย 5 หัว กระเทียมซอย 10 กลีบ ข่าหั่นละเอียด 1 ช้อนชา ตะไคร้ซอย 1 ช้อนโต๊ะ ผิวมะกรูดหั่นละเอียด 1 /2 ช้อนชา รากผักชีหั่นละเอียด 1 ช้อนชา พริกไทย 5 เม็ด ลูกผักชีคั่ว 1 ช้อนโต๊ะ ยี่หร่าคั่ว 1 ช้อนชา เกลือป่น 1 ช้อนชา และกะปิ 1 ช้อนชา

พระยาพิชัยดาบหัก เดิมชื่อ จ้อย เกิดที่บ้าน ห้วยคา อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อปี พ.ศ. 2284 ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา ศึกษาอยู่กับท่านพระครูวัดมหาธาตุหรือวัดใหญ่ เมืองพิชัย ภายหลัง จ้อยได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นทองดี หรือ ทองดีฟันขาว มีความสามารถทั้งทางเชิงมวยและเชิงดาบ

เข้ารับราชการกับพระเจ้าตากสิน ตั้งแต่ครั้งดำรงตำแหน่งเป็นพระยาตาก ต่อมานายทองดีได้รับแต่งตั้งเป็นองค์รักษ์มีบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงพิชัยอาสา" เมื่อรับราชการมีความดีความชอบจึงได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าหมื่นไวยวรนาถ พระยาสีหราชเดโช และพระยาพิชัย ผู้สำเร็จราชการครองเมืองพิชัย ซึ่งรับพระราชทานเครื่องยศเสมอเจ้าพระยาสุรสีห์ ตามลำดับ

ภายหลังพม่ายกทัพมาตีเมืองพิชัย 2 ครั้ง ในการรบครั้งที่ 2 พระยาพิชัยถือดาบสองมือ ออกต่อสู้จนดาบหักไปข้างหนึ่ง และรักษาเมืองไว้ได้ ดังนั้นจึงไดัรับสมญานามว่า " พระยาพิชัยดาบหัก "

 

ที่  มา  www.google.com

  ด.ช.วิษณุพงษ์  นฤเดช  ม.2/5  เลขที่  5 

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 308 คน กำลังออนไลน์