user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('บัญชีผู้ใช้', 'user/login', '', '18.188.147.53', 0, 'db17a4ba1f0f8e792462effc95009f02', 117, 1716877023) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

กิจกรรมนันทนาการการเต้นรำ (Dances)

รูปภาพของ silverrose

ทักทาย

      การเต้นรำนั้นเป็นกิจกรรมการแสดงออกผ่านการเคลื่อนไหว  เป็นการแสดงของมนุษย์ในความสามารถที่จะเคลื่อนไหว  ซึ่งท่าทางต่าง ๆ ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของกิจกรรมในชีวิตโดยมนุษย์และวัฒนธรรม  การเต้นรำเป็นการแสดงออกถึงอารมณ์และเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น ความสุข เสียใจ ความรัก สงคราม การบูชา ฯลฯ  ซึ่งนักวิชาการได้จำแนกระหว่างการเคลื่อนไหวและการเต้นไว้ ดังนี้คือ
การเคลื่อนไหว เป็นทั้งการแสดงกิริยาแบบรู้ตัว หรือไม่รู้ตัว ที่มาจากการตอบสนองภายในต่อ          สัญชาตญาณ
การเต้นรำ เป็นการเคลื่อนไหวอย่างเป็นชุด ที่แสดงถึงปฏิกิริยาตอบสนองการกระตุ้นจากภายใน      หรือภายนอก
ดังนั้น  การเคลื่อนไหวปกติของมนุษย์ ก็เป็นการเคลื่อนไหวที่นำมาใช้ในการเต้นรำด้วย เช่น           การกระโดด การหัน การยืดตัว การย่อตัว การหมุน การยกขึ้น และการสไลด์
รูปแบบการจัดกิจกรรม
  

      กิจกรรมนันทนาการประเภทเต้นรำ (Dances) หรือที่มักนิยมเรียกกันว่า กิจกรรมเข้าจังหวะนั้น ในปัจจุบันมีรูปแบบให้เลือกมากมาย  โดยแต่ละกิจกรรมให้คุณค่าและความสนุกสนาน แตกต่างกันในปัจจุบัน มีดังนี้
           

            1. การลีลาศ (Ballroom Dancing) กิจกรรมลีลาศ หรือที่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเรียกว่ากีฬาลีลาศ (Dance Sport) นั้น เป็นกิจกรรมนันทนาการประเภทเต้นรำกิจกรรมหนึ่ง  ที่เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ  เนื่องจากใช้ในการเข้างานสังคมต่าง ๆ ให้เกิดความสนุกสนาน ได้พบปะรู้จักผู้คนมากมาย ผู้เต้นได้ออกกำลังกายประกอบกับเสียงดนตรี ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน มีอารมณ์สุนทรีย์ หรือจนถึงการฝึกเพื่อการแข่งขันก็ได้ การเต้นจะเต้นเป็นคู่ ชาย – หญิง  ฝ่ายชายจะเป็นผู้นำให้ผู้หญิงแสดงท่าทาง หรือลีลาต่าง ๆ ตามจังหวะดนตรี แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ
                  1.1 ประเภทบอลรูม (Ballroom) หรือ สแตนดาร์ด (Standard)
การลีลาศในประเภทบอลรูมนั้น จะมีลักษณะการเต้นที่สง่างาม ชายและหญิงจะเคลื่อนไหวไปพร้อมกัน  การเคลื่อนที่จะเคลื่อนที่เป็นบริเวณกว้าง  จังหวะในประเภทบอลรูมนี้  ได้แก่ วอลซ์  แทงโก  ควิกสเต็ป  สโลว์  ฟอกซ์ทรอต  และควิกวอลซ์
                  1.2 ประเภทลาตินอเมริกัน (Latin American)
การลีลาศในประเภทลาตินอเมริกันนี้ จะมีลักษณะการเต้นที่สนุกสนาน จังหวะดนตรีค่อนข้างเร้าใจ แต่ก็ยังคงแสดงความสวยงามอ่อนช้อยด้วยเช่นกัน การเต้นจะใช้บริเวณน้อยกว่าประเภทบอลรูม  การก้าวเท้าจะก้าวเพียงสั้น ๆ จังหวะในการลีลาศประเภทนี้  ได้แก่ คิวบันรัมบ้า ชะชะช่า ไจฟว์ แซมบ้า พาโซโดเบิล ฯลฯ
           

            2. นาฏศิลป์สากลการเต้นรำแบบนาฏศิลป์สากลนี้ มีกิจกรรมให้เลือกหลายประเภท เป็นกิจกรรมการเต้นที่ช่วยพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว  การใช้กล้ามเนื้อในลักษณะต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง สวยงาม รวมทั้งสร้างให้เกิดความมีสุนทรีย์ทางดนตรี ให้ฟังและเคลื่อนไหวตามเสียงดนตรีได้อย่างกลมกลืน  ผู้เต้นอาจเต้นคนเดียว เป็นคู่หรือเป็นหมู่ก็ได้  แต่ละกิจกรรมของนาฏศิลป์สากลนี้ ต่างก็จะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไป  ตัวอย่างกิจกรรมประเภทนี้ ได้แก่  แจ๊ส  บัลเล่ต์  โมเดอร์นด๊านซ์  ครีเอทีฟมูฟเมนต์  แท็บ ฯลฯ
           

            3. ระบำพื้นเมือง (Folk Dance) ระบำพื้นเมืองเป็นกิจกรรมประเภทเต้นรำ (Dance) ประเภทหนึ่งที่สามารถแสดงถึงศิลปวัฒนธรรมของชาตินั้น ๆ เช่น  การรำของไทย ลาว พม่า ต่างก็มีลักษณะการร่ายรำที่แตกต่างกันออกไป  การเต้นรำของต่างชาติ เช่น ชาวสกอตแลนด์  อิสราเอล  รัสเซีย ฯลฯ ต่างก็มีลักษณะการเต้น และการแต่งกายแตกต่างกัน ทั้งท่าในการร่ายรำ หรือการเต้น และเครื่องแต่งกาย  สามารถแสดงถึงวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละชาติได้เป็นอย่างดี  ดังนั้น กิจกรรมนันทนาการประเภทระบำพื้นเมืองนี้  นอกจากจะให้ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน เป็นการเข้าสังคมอย่างหนึ่งแล้ว  ยังช่วยให้ผู้เข้าร่วมได้รู้ถึงลักษณะนิสัยของคนในแต่ละชาติ  รวมถึงศิลปวัฒนธรรมของชาตินั้น ๆ ด้วย
           

            4. กิจกรรมการชมการแสดงประเภทเต้นรำ  การเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการประเภทการเต้นรำ (Dance) นี้ นอกจากผู้เข้าร่วมจะเป็นผู้เต้นรำในประเภทต่าง ๆ ด้วยตนเองแล้ว  ผู้เข้าร่วมยังสามารถเข้าร่วมกิจกรรมนี้ได้โดยการเป็นผู้ชมการแสดงประเภทเต้นรำนี้ เช่น ชมการแสดงบัลเล่ต์ แจ๊ส รำประเภทต่าง ๆ ชมการโชว์ลีลาศ ฯลฯ อันทำให้เกิดการผ่อนคลายความเครียด  ได้รับความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และได้รับความรู้ด้วยเช่นกัน

สร้างโดย: 
อังศุธร ซึมโรจน์ประเสริฐ และ นาย สมาน ถวิลกิจ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 269 คน กำลังออนไลน์