.=. มติอ่าวตังเกี๋ย .=.

                     

                มติอ่าวตังเกี๋ย

           วันที่ 2 สิงหาคม 1964 เพื่อเป็นการโต้ตอบต่อความพยายามในการก่อวินาศกรรมของอเมริกาและเวียดนามใต้บริเวณพื้นที่ชายฝั่ง เวียดนามเหนือได้โจมตีเรือรบของอเมริกาบริเวณอ่าวตังเกี๋ย การโจมตีครั้งที่สองก็เกิดขึ้นในวันที่4 ถึงแม้หวอ เงวียน ย๊าป และผู้นำทางทหารของเวียดนามเหนือ รวมไปถึงรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯคือ โรเบิร์ต เอส แม็คนามาร่า จะสรุปก่อนหน้านี้ว่าจะไม่มีการโจมตีครั้งที่สองก็ตาม รัฐบาลของจอห์นสันก็ได้ใช้การโจมตีในวันที่สี่นี้ในการขอมติของรัฐสภาในการให้อำนาจอย่างเต็มที่ต่อประธานาบดี มติซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า"มติอ่าวตังเกี๋ย"ได้ผ่านทั้งสภาล่างและสภาวุฒิสมาชิกโดยมีเสียงคัดค้านเพียงสองเสียง  ( นั้นคือวุฒิสมาชิกมอร์สจากโอเรกอนและเกรนนิ่งจากอลาสก้า )       มตินั้นได้ให้มีการโจมตีทางอากาศอย่างจำกัดเพื่อเป็นการตอบโต้เวียดนามเหนือ

 

(ภาพเรือรบกำลังโจมตีเวียดนามเหนือในปฏิบัติการอ่าวตังเกี๋ยในนิตยสารไลฟ์)


             ตลอดช่วงฤดูใบไม้ผลิตและช่วงหน้าหนาวของปี 1964 รัฐบาลของจอห์นสันได้ถกเถียงกันถึงกลยุทธที่เหมาะสมในเวียดนาม เสนาธิการทหารต้องการขยายสงครามทางอากาศไปถึงเวียดนามเหนืออย่างรวดเร็วในการช่วยให้รัฐบาลของใหม่ของกรุงไซง่อนมีเสถียรภาพ ฝ่ายพลเรือนในเพนตากอนต้องการให้มีการทิ้งระเบิดที่จำกัดและเลือกเป้าเพื่อเป็นการเพิ่มแรงกดดันทีละเล็กทีละน้อย มีเพียงรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศคือจอร์จ บอลล์ที่คัดค้านโดยบอกว่านโยบายของจอห์นสันนั้นเป็นการยั่วยุเกินไปสำหรับผลตอบแทนที่มีไม่มาก ในช่วงต้นปี 1965 เอ็นเอลเอฟได้โจมตีเอ็นเวียดนามใต้รวมไปถึงฐานทัพของสหรัฐฯที่ประจำอยู่ ดังนั้นจอห์นสันได้สั่งให้มีการทิ้งระเบิดเหนือเวียดนามเหนือซึ่งเสนาธิการกองทัพได้แนะนำตลอดมา 

             ภาระกิจการทิ้งระเบิดซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า "ปฏิบัติการสายฟ้าฟาด"และการนำกองกำลังสหรัฐฯเข้ามาในปี 1965 ทำให้พรรคคอมมิวนิสต์ต้องประเมินยุทธวิธีในสงครามเสียใหม่ ในช่วงปี 1960 จนไปถึงปลายปี 1964 พรรคเชื่อว่าตนสามารถรบเอาชนะเวียดนามใต้ได้ใน"ช่วงเวลาเพียงสั้นๆ "   การพยากรณ์แบบมองโลกในแง่ดีจนเกินไปนี้   ตั้งอยู่บนสถานการณ์สงครามที่มีพื้นที่จำกัดในเวียดนามใต้และไม่ได้นับการเข้ามาเกี่ยวข้องของกองทัพสหรัฐฯ    อย่างไรก็ตามเมื่อพบกับศัตรูคนใหม่ พรรคก็เปลี่ยนเป็นสงครามแบบยืดเยื้อ    ความคิดก็คือต้     องทำให้สหรัฐฯติดหล่มในสงครามที่ไม่สามารถเอาต่อสู้ได้และต้องสร้างเงื่อนไขที่ไม่เอื้อต่อชัยชนะของอเมริกา พรรคคอมมิวนิสต์เชื่อว่าตนจะสามารถเอาชนะในสงครามแบบยืดเยื้อเพราะสหรัฐฯนั้นไม่อาจมีกลยุทธที่ชัดเจน ดังนั้นเอือมละอาต่อสงครามและต้องการเจรจาสงครามศึก ดังนั้นการพยากรณ์ที่สอดคล้องกับความเป็นจริงของกรุงฮานอยในปี 1965 จึงขึ้นกับกลยุทธเช่นนี้

 

 

   

สร้างโดย: 
น.ส. พิชาภพ รัตนางกูร และ อาจารย์กัญฐินีภรณ์ ประถมด้วง โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 433 คน กำลังออนไลน์