user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('บัญชีผู้ใช้', 'user/login', '', '18.224.96.239', 0, '8ff7de0cedd5d74d8b4d33965a924310', 159, 1716005923) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

องค์การระหว่างประเทศ (องค์การทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ),(องค์การทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ-WTO)

องค์การทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ     

           องค์การทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ หมายถึง องค์การที่มีบทบาทและอิทธิพลในการกำหนดนโยบายทางด้านเศรษฐกิจของสังคมโลก  ซึ่งองค์การเหล่านี้จะทำหน้าที่ดูแลให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตามกติกาของสังคมโลก อีกทั้งผลักดันให้ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเสรีนิยม  และมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการให้เหมาะสมขณะเดียวกันส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีบทบาททางเศรษฐกิจตลอดทั้งมีการถ่ายโอนการผลิตไปสู่เอกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งส่งเสริมให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในแต่ละประเทศเพื่อให้ระบบทุนนิยมโลกขยายตัวและเป็นองค์การที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางทางการเงิน  ตลอดจนอำนวยความสะดวกทางด้านการเงินระหว่างประเทศ องค์การทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในปัจจุบันมีจำนวนมากในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะองค์การที่กำลังมีบทบาทในปัจจุบัน  

 

 

องค์การค้าโลก 
     (World  Trade  Organization  :  WTO)

(ที่มาของภาพ  http://human.tru.ac.th/elearning/local/global03/pic/wto.jpg)

              องค์การค้าโลก  เป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีพัฒนาการมาจากข้อตกลงทั่วไป ว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า หรือ แกตต์  (General  Agreement  on Tariffs and Trade : GATT) เมื่อปี  ค.ศ1947 แต่ไม่มีสถานะเป็นสถาบันจนกระทั่งประเทศสมาชิกได้เปิดการประชุมครั้งที่ 8 ใน ค.ศ.1986 ที่เรียกว่าการเจรจาการค้ารอบอุรุกวัย และผลของการประชุมส่วนหนึ่งคือ  การก่อตั้งองค์การค้าโลกขึ้นในปี ค.ศ.1995  องค์การนี้สังกัดอยู่ในสมัชชาแห่งสหประชาชาติสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงเจนีวาประเทศสวิตเซอร์แลนด์ปัจจุบันมีสมาชิก148  ประเทศ  โดยประเทศไทยเป็นสมาชิกอันดับที่  59

 

วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งองค์การค้าโลก 

            องค์การค้าโลก จัดตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะลดอุปสรรคและหามาตรการลดการกีดกันทางการค้าต่อกันเพื่อให้เกิดการค้าเสรีระหว่างประเทศ โดยออกกฎเกณฑ์ที่จะสร้างความเป็นธรรม โปร่งใส เปิดกว้างไปสู่การค้าเสรีต่อกัน เพราะการค้าเสรีจะช่วยให้ประชาชาติทั่วโลกสามารถพัฒนาความเจริญได้ทัดเทียมกัน มาตรการเดียวที่สหประชาชาติยังให้ประเทศต่างๆ  คงไว้คือ มาตรการด้านภาษีศุลกากรเท่านั้นเมื่อเกิดองค์การค้าโลกขึ้นมาแล้วบรรยากาศทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศดีขึ้นมาก การกีดกันทางการค้า การเลือกปฏิบัติ  และการใช้แรงกดดันต่างๆ ลดลงมาก


ผลกระทบต่อประเทศไทย  

           คือ  สินค้าออกของไทยจะได้ราคาสูงขึ้นและถูกกีดกันน้อยลง สามารถขยายตลาดได้มากขึ้น  แต่ไทยจะต้องเปิดตลาดบริการในสาขาการเงิน  การคมนาคมขนส่ง ให้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา  เข้มงวดในเรื่องสิทธิบัตรยา  ลิขสิทธิ์คอมพิวเตอร์ซอฟแวร์  และสื่อบันเทิงมากขึ้น ต้องยกเลิกมาตรการด้านการลงทุนต่างๆ  เช่น บังคับใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการส่งเสริม   บังคับให้ใช้ชิ้นส่วนในประเทศ เป็นต้น  

การเปิดการค้าเสรี

ี           ระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้นทำให้องค์การค้าโลกถูกกล่าวหาว่าควบคุมระบบการค้าของโลกเพื่อผลประโยชน์ของประเทศมหาอำนาจที่ร่ำรวย ซึ่งมีอยู่ในราว  20 – 30  ประเทศเท่านั้น  ประเทศร่ำรวยเหล่านี้ได้อาศัยการค้าเสรีแอบดูดดึงวัตถุดิบราคาถูกจากประเทศอื่นมากอบกินเป็นความมั่งมีศรีสุขของตน มันเป็นโลกที่ชาติด้อยพัฒนาจำนวนมากตกเป็นเหยื่อของประเทศร่ำรวย

 

(ที่มาของภาพ http://human.tru.ac.th/elearning/local/global03/pic/scan~WTO~protest2003.jpg)

 

 

หน้าหลัก


 

สร้างโดย: 
น.ส.วริศรา วิชญะเถลิงศักดิ์ ม.6/2 เลขที่ 45

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 253 คน กำลังออนไลน์