user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('น้ำตกชาติตระการ จ.พิษณุโลก ', 'node/18788', '', '3.149.23.12', 0, '048a0402af70b28adc1d8d95b536f014', 155, 1716100315) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

ภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญอย่างไร

ภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญอย่างไร
                     จากความหมายและขอบข่ายที่สำคัญของวิชาภูมิศาสตร์ที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า  ภูมิศาสตร์เป็นวิชาที่มีพื้นฐานมาจากการสร้างองค์ความรู้ที่ต้องอาศัยความเป็นเหตุเป็นผลระหว่างกัน เพื่อนำความรู้ดังกล่าวมาใช้อธิบายถึงความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างธรรมชาติ  มนุษย์  และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น  เพื่อให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น  จึงต้องอาศัยการนำความรู้ในสาขาวิชาต่างๆมาประกอบเพื่อสร้างเหตุและผลในการสืบค้นจนได้รับคำตอบที่สามารถพิสูจน์ได้  ดังนั้นธรรมชาติและเนื้อหาของวิชาภูมิศาสตร์ถือได้ว่า  เป็นวิชาที่เกิดจาการสังเคราะห์ความรู้ที่มาจากความสัมพันธ์ของประกฎการณ์ที่เกี่ยวข้องระหว่างสิ่งแวดล้อมและมนุษย์

                   พื้นฐานการเกิดองค์ความรู้ของวิชาภูมิศาสตร์ที่กล่าวมา   สามารถวิเคราะห์ความสำคัญของวิชาภูมิศาสตร์ได้  2  ลักษณะ  ได้แก่  ความสำคัญของศาสตร์ในแง่ของการสร้างคุณลักษณะที่ดีให้เกิดแก่ผู้เรียน  และความสำคัญขอศาสตร์ในแง่ของการนำไปใช้ประโยชน์ในสภาพปัจจุบัน
         1. ความสำคัญขอศาสตร์ในแง่ของการสร้างคุณลักษณะที่ดีให้เกิดแก่ผู้เรียน
                การที่วิชาภูมิศาสตร์มีเนื้อหาที่บรรยายและอธิบายภูมิทัศน์ของโลก  เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ทางภูมิศาสตร์  นอกจากผู้เรียนจะได้เรียนรู้ในเนื้อหาของวิชาแล้ว  การใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ต่างๆรวมไปถึงการได้ศึกษาในแหล่งเรียนรู้ที่นำมาใช้ประกอบการศึกษาก็เป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่มีความสำคัญต่อผู้เรียน  และในส่วนของผู้เรียนเองจะต้องรู้จักที่จะฝึกทักษะของกระบวนการคิดให้เกิดขึ้น  โดยรู้จักการสร้างจินตนาการหรือสร้างมโนภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่กำลังศึกษาร่วมไปด้วย  การดำเนินการด้วยวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้การเรียนรู้บรรลุผลและนำไปสู่การศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ที่สมบูรณ์อย่างแท้จริง
                วิธีการเรียนรู้ของวิชาภูมิศาสตร์ที่กล่าวมาข้างต้น   ถือว่าเป็นทักษะและกระบวนการเรียนรู้ที่ถูกต้องและมีความสำคัญ  และหากผู้เรียนได้ศึกษาวิชาภูมิศาสตร์โดยสมบูรณ์โดยพบว่าผู้เรียนจะมีคุณลักษณะที่ดี  ดังนี้
                1.  เป็นผู้ที่มีความรู้และความเข้าใจในข้อเท็จจริงต่างๆที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และธรรมชาติแวดล้อมว่ามีความสัมพันธ์ที่สำคัญต่อกันอย่างไรบ้าง
                ผู้เรียนจะเกอดคุณลักษณะในข้อดังกล่าวนี้ได้ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในพื้นฐานของวิชาภูมิศาสตร์ในทั้งสองสาขา  ซึ่งความรู้ในแต่ละสาขาสามารถนำมาใช้ตอบคำถามเพื่อนำไปสู่ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องอ่างสมบูรณ์และถูกต้อง
          ตัวอย่างเช่น  ประเด็นข้อสงสัยที่ว่า  “เหตุใดพืชพรรณในแต่ละภูมิภาคจึงมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน”หรือ”สภาพทางภูมิศาสตร์ส่งผลต่อการตั้งถิ่นฐานของคนเราอย่างไร”
                จากตัวอย่างประเด็นข้อสงสัยทั้งสองกรณีดังกล่าว  ผู้เรียนสามารถนำองค์ความรู้ในสาขา ภูมิศาสตร์พืชที่มีแนวคิดสำคัญที่ว่า”สภาพทางภูมิศาสตร์มีความเกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อลักษณะของพืชพรรณ”มาใช้เป็นข้อมูลประกอบการสร้างคำตอบในประเด็นข้อสงสัยดังกล่าวนอกจากนี้ยังสามารุเชื่อมโยงความรู้ไปสู่ภูมิศาสตร์สาขาอื่นๆอีกไม่ว่าจะเป็นสาขาภูมิศาสตร์ดินที่บ่งบอกลักษณะธรรมชาติของดินที่กระจายอยู่ในบริเวณต่างๆของโลก  ซึ่งดินแต่ละชนิด  แต่ละลักษณะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชพรรณในแต่ละชนิด  หรือความรู้ในสาขาภูมิศาสตร์ชีวะ  จะให้ความรู้และความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับหลักการที่ว่า”พืชพรรณแต่ละชนิดมีวิวัฒนาการในการปรับปรุงสายพันธุ์ให้เข้ากับสภาพภูมิประเทศที่พืชพรรณนั่นๆขึ้นอยู่” หรือความรู้ในสาขาอุตุนิยมวิทยา และสาขาอากาศวิทยาสามารถให้ความรู้ที่ว่า  สภาพดินฟ้าอากาศมีอิทธิพลต่อพืชพรรณแต่ละชนิด  และแต่ละภูมิภาค  และเมื่อวิเคราะห์ประเด็นข้อสงสัยที่สอง  ผู้เรียนสามารถที่จะนำองค์ความรู้ในสาขาวิชาภูมิศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน  ที่บ่งขี้ให้ผู้เรียนเกิดความรู้และเช้าใจในหลักการที่ว่า “ลักษณะภูมิประเทศเป็นส่วนหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์”  หรือใช้ความรู้ในสาขาวิชาภูมิศาสตร์ประชากรที่ให้ความรู้เกี่ยวกับลักษณะการย้ายถิ่น การตั้งถิ่นฐานมาใช้เป็นแนวทางในการตอบประเด็นข้อสงสัยดังกล่าวได้
                จากตัวอย่างที่กล่าวมา  ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า  การศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ในสาชาต่างๆสามารถที่จะส่งเสริมคุณลักษณะที่ดีให้แก่ผู้เรียน  โดยเฉพาะการสร้างความรู้  ความเขช้าใจที่จะนำไปสู่ข้อเท็จจริงต่างๆที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์  และธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
                2. เป็นผู้มีทักษะในการนำความรู้ทางภูมิศาสตร์ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในการศึกษาทำความเข้าใจ  และสามารถอธิบายหรือคาดการณ์  และเสนอแนะวิธีหลีกเลี่ยงหรือบรรเทาความรุนแรงจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้
                นอกเหนือจากการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระกว่างมนุษย์กับสิ่งแวดบ้อมทางกายภาพแล้ว  วิชาภูมิศาสตร์ยังมีเป้าหมายาที่จะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นำความรู้  ความเข้าใจดังกล่าวไปใช้เป็นพื้นฐาน  และเป็นแนวทางในการนำมาใช้ศึกษาค้นคว้าความรู้ต่างๆจนสามารถนำความรู้เหล่านั่นมาใช้อธิบายเกี่ยวกับกระบวนการ  ตลอดจนผลกระทบมีความสัมพันธ์กบปรากฏการณ์ทางธรรมชิตที่เกิดขึ้น  ซึ่งถือว่าเป็นอีกเป้าหมายหนึ่งที่วิชาภูมิศาสตร์มุ่งให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียน
                เพื่อให้นักเรียนมองเห็นภาพรวามของความสำคัญของวิชาภูมิศาสตร์ต่อการนำความรู้ในแต่ละสาขามาใช้ประโยชน์เพื่อสร้างคุณลักษณะที่ดีให้ข้อนี้ให้เกิดขึ้น  ขอยกตัวอ่างประเด็นหัวข้อที่เชื่อมโยงความรู้ในวิขาภูมิศาสตร์สาขาต่างๆมาใช้เป็นนาวทางประกอบการศึกษา  และนำมาใช้อธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น
                ตัวอย่างเช่น  หัวข้อเพื่อการเชื่อมโยงแนวคิด  คือ  ธรณีพิพัติภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิ : การเกิดผลกระทบและแนวทางในการเนินการ จากตัวอย่างในหัวข้อข้างต้น กล่าวได้ว่า วิชาภูมิศาสตร์หลายสาขาสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และอธิบายในหัวข้อดังกล่าวได้ เช่น
                ความรู้ในสาขาวิชาธรณีวิทยาเบื้องต้น  จะช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานโครงสร้างของเปลือกโลก  ซึ่งความรู้ดังกล่าวจะนำไปสู่ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการในการเกิดแผ่นดินไหว  หรือปรากฏการณ์ต่างๆรวมทั้งประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเกิดธรณพิบัติภัย  ผลกระทบและแนวทางในการดำเนินการเมื่อเกิดเหตึการณ์ที่สืบเนื่องขึ้น  หรือความรู้ในสาขาอุทกภูมิศาสตร์  จะช่วยให้ผู้เยนเข้าใจและทราบถึงกระบวนการ  ลักษณะของการเกิดปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับน้ำและกระแสน้ำ  ซึ่งเป็นพื้นฐานเชื่อมโยงไปสู่การอธิบายการเคลื่อนที่ของคลื่นสึนามิต่อไป  หรือสาขาวิชาภูมิศาสตร์ภายภาพ  นอกจากจะให้ความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติแวดล้อมแล้ว  ยังเป็นพื้นฐานที่ชี้ให้เห็นแนวคิดที่เกี่ยวเนื่องกับความเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลกที่มนุษย์จะต้องพยายามปรับตัวหรือสร้างแนวทางในการปรับสภาพสิ่งแวดล้อมให้สามารถเอื้อต่อการดำรงอยู่หรืออยู่อาศัย  ดังนั้นการคิดต้นหาแนวทางและวิธีการเตือนภัยเพื่อป้องกันผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิ  จึงถือว่าเป็นการปรับตัวของเราเพื่อให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้
                จากตัวอย่างสาขาวิชาภูมิศาสตร์ที่กล่าวมาชี้ให้เห็นได้ว่า  วิชาภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์ที่สามารถสร้างคุณลักษณะที่ดีตามที่กล่าวไว้ในเบื้องต้น
                3. เป็นผู้ที่มีทัศนคติที่ดีต่อการอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างเหมาะสมและเห็นความสำคัญของการรักษาสภาพแวดบ้อมทั้งในระดับชุมชน  ระดับประเทศ  และระดับโลก
                โดยทั่วไปการเกิดทัศนคติและค่านิยมที่ดีต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือเรื่องหนึ่งเรื่องใดที่จะเกิดขึ้นกับบุคคล  ย่อมจะต้องอาศัยพื้นฐานจากการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง จนเกิดเป็นความตระหนักในความสำคัญต่อสิ่งนั่นหรือเรื่องนั้นโดยเฉพาะขึ้น การมีทัศนคติและค่านิยมที่ดีที่เชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์  คลอดจนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างถูกต้องเหมาะสม  เป็นคุณลักษณะที่ดีอีกประการหนึ่งของผู้เรียนวิชาภูมิศาสตร์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาวิชาการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่ประกอบด้วยหลักการและวิธีการในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติด้วยคามระมัดระวัง  และขาดความระมัดระวัง  ซึ่งความรู้ความเข้าใจดังกล่าวจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดทัศนคติและค่านิยมที่ดีต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
                จากตัวอย่างที่กล่าวมาชี้ให้เห็นว่า วิชาภูมิศาสตร์มีความสำคัญ  และส่งผลต่อการสร้างคุณลักษณะที่ดีดังกล่าวให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนได้อย่างชัดเจน
        2. ความสำคัญของศาสตร์ในแง่ของการนำไปใช้ประโยชน์ในสภาพปัจจุบัน
                ในระยะเริ่มต้นของการศึกษาวิชาภูมิศาสตร์  นักภูมิศาสตร์ศึกษาลักษณะเฉพาะของสถานที่ต่างๆในโลกอย่างคร่าวๆซึ่งข้อมูลที่ได้อาจไม่มีความละเอียดชัดเจนมากนัก  แต่ในปัจจุบันความก้าวหน้าของวิทยาการอที่เอื้อต่อการเก็บรวบรวมข้อมูลที่นำมาใช้ประกอบการศึกษา  ส่งผลให้นักภูมิศาสตร์ปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการศึกษา  จากการศึกษาลักษณะพื้นที่อย่างคร่าวๆมาสู่การศึกษาเฉพาะเจาะลึกลงไปในรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้นๆ  ซึ่งได้ได้ว่าเป็นวิธีการสร้างความเช้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในเชิงพื้นที่  นอกจากนี้หากพิจารณาเป้าหมายในการศึกษาของวิชาภูมิศาสตร์ก็จะเปลี่ยนไปจากเดิม   จาการสามารถอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น  รวมไปถึงวิธีการแก้ปัญหาตลอดจนการวางแผนในการตัดสินใจเพื่อดำเนินการ
                จากรูปแบบวิธีการและเป้าหมายของวิชาภูมิศาสตร์ที่กล่าวมา  เมื่อวิเคราะห์ความสำคัญในการนำหลักการทางภูมิศาสตร์มาใช้ประโยชน์ในสภาพปัจจุบัน จะพบว่าวิชาภูมิศาสตร์นำมาใช้ทั้งในกระบวนการทางด้านสังคมศาสตร์และทางด้านวิทยาศาสตร์  โดยครอบคลุมการดำเนินการที่สำคัญใน2ลักษณะ ประกอบด้วย การน้ำมาใช้แก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกับข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์
 
        1. การน้ำมาใช้แก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ต่างๆ  ที่เกี่ยวเนื่องทางภูมิศาสตร์
                ปัญหาวิกฤตการณ์ต่างๆที่เกี่ยวเนื่องทางภูมิศาสตร์ในภูมิภาคต่างๆของโลก  แบ่งปัญหาที่สำคัญออกได้ 2 ลักษณะ  ประกอบด้วย  ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับวิกฤตการณ์ทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  และปัญหาที่เกี่ยวข้องกีบวิกฤตการด้านภูมิรัฐศาสตร์
                1. วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เกอดขึ้นในสภาพปัจจุบัน  จากการศึกษาค้นคว้าและผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องต่างๆในหลายภูมิภาคของโลกต่างมีแนวโน้มและผลสรุปของประเด็นปัญหาดังกล่าวตรงกันว่า  วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าวมีผลสืบเนื่องมาจากการใช้ทรัพยากรอย่างขาดความระมัดระวัง  ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติลดลง  และเชื่อมโยงไปสู่การเกิดภาวะมลพิษในสิ่งแวดล้อมขึ้น  โดยเป็นผลมาจากของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิตและการใช้ของมนุษย์ที่ได้สร้างและปลดปล่อยของเสียออกไปสู่สภาพแวดบ้อมจนก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ดังกล่าวขึ้น
                ปัญหาที่สืบเนื่องวิกฤตการณ์ดังกล่าวที่ทั่วโลกให้ความสนใจและเรียกร้องให้ประชาคมโลกช่วยกันแก้ไข  ได้แก่  ปัญหาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่สูงขึ้น  ปัญหาชั้นโอโซนของโลกที่ถูกทำลาย  ปัญหาเกี่ยวกับการขยายตัวของพื้นที่แห้งแล้งของโลก  และปัญหาความเสื่อโทรมของแหล่งน้ำส่วนต่างๆของโลก  ปัญหาต่างๆเหล่นี้เป็นวิกฤตการณ์ที่ความรู้วิชาภูมิศาสตร์นำมาใช้ประยุกต์ในการแก้ปัญหา  หรือนำความรู้ในบางสาขาของภูมิศาสตร์เช้าไปบูรณาการให้เกิดองค์ความรู้และแนวทางในการแก้ไข
        ตัวอย่างเช่น  การศึกษาเกี่ยวกับปัญหาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่สูงขึ้นและผลกระทบต่างๆเป็นการนำความรู้ทางด้านภูมิศาสตร์ในหลายสาขามาประยุกต์ใช้  เช่น  อุตุนิยมวิทยา  ภูมิศาสตร์อากาศวิทยา  ตลอดจนการอ่านแผนที่และรูปถ่าย(map and photo reading) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และแปลผลในสิ่งที่เกิดขึ้น และหากพิจารณาเฉพาะในส่วนเนื้อหาของวิชาภูมิศาสตร์  เนื้อหาหลักได้บรรจุความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม  ปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์  การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  สิ่งต่างๆเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจ  แนวคิดตลอดจนสร้างความตระหนักในเรื่องดังกล่าวให้แก่ผู้ที่ศึกษา  จึงถือได้ว่า  วิชาภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์อีกแขนงหนึ่งที่มีส่วนสำคัญสามารถนำมาใช้แก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ต่างๆที่เกี่ยวเนื่องทางด้านภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นในโลกได้
                2. ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับวิกฤตการณ์ด้านภูมิศาสตร์  ในที่นี้หมายถึง  ปัญหาที่เกิดจากสภาพพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของรัฐ  ทั้งที่เป็นปัญหาภายในประเทศและปัญหาระหว่างประเทศ
                ปัญหาภายในประเทศที่เป็นปัญหาภูมิศาสตร์ เช่น  ปัญหาการออกเอกสารสิทธ์ของหน่วยราชการให้แก่ประชาชน  ปัญหาการรุกล้ำที่ดินทำกินของประชาขนในพื้นที่เขตอนุรักษ์  เป็นต้น
                ปัญหาระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นมักพบว่า   เป็นปัญหามาจากปัญหาพรมแดนระหว่างประเทศ  เช่น  ปัญหาในการกำหนดแนวเขตแดนระหว่างประเทศ  หรือปัญหาการอ้างถึงเอกสิทธิ์ในการครอบครองดินแดนที่อยู่นอกทวีป  ได้แก่  เกาะ  หรือพื้นที่ที่อยู่ในเขตทะเลหรือมหาสมุทร  เป็นต้น  ในการแก้ไขปัญหาทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ  นอกจากพิจารณาจากเอการที่ภาครัฐได้ทำไว้ที่ผ่านมาแล้ว  การใช้แผนที่ที่แสดงพิกัดทางภูมิศาสตร์เป็นวิธีการสำคัญที่นำมาใช้ในการตัดสินปัญหา โดยเฉพาะในกรณีที่สภาพภูมิประเทศในปริเวณดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม  ซึ่งถือได้ว่าเป็นความสำคัญอีกประการหนึ่งของวิชาภูมิศาสตร์ที่นำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาด้านภูมิศาสตร์อย่างชัดเจน
       2. การมาใช้วางแผนเพื่อดำเนินการในกระบวนการการตัดสินใจที่เกี่ยวเนื่องกับข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์
                    ข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์  หมายถึง  รายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวช้องกับการศึกษาด้านภูมิศาสตร์โดยมีองค์ประกาอบที่สำคัญ 3 ลักษณะ ได้แก่  ข้อมูลเชิงพื้นที่  กำแน่งหรือสิ่งที่ปรากฏอยู่บนผิวโลก  ข้อมูลลักษณะประจำ  สิ่งที่อยู่บนพื้นโลกว่าสิ่งนั้นคืออะไร  และข้อมูลที่เกี่ยวกับช่วงเวลา  ซึ่งจะบอกให้ทราบว่าขณะรวบรวมข้อมูลหรือจัดระบบข้อมูลอยู่ช่วงเวลาใด
                ข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์แต่เดิมมักเป็นการบันทึกในรูปแบบของแผนที่เฉพาะเรื่อง  ปัจจุบันการสำรวจข้อมูลเขิงภูมิศาสตร์ได้นำภาพถ่ายทางอากาศ  และภาพจากดาวเทียม   มาประกอบการจัดทำแผนที่ซึ่งช่วยให้ได้ข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์ที่ครบถ้วนสมบูรณ์  และมีความละเอียดมากขึ้น  นอกจากนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลที่รวดเร็ว  มีความถูกต้องมายิ่งขึ้น  ปัจจุบันนักภูมิศาสตร์ได้นำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการประมวลผล  และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์  ซึ่งเรียกวิธีการนำเสนอและวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะนี้ว่า  ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์   หรือ  จีไอเอส  (Geographic Information  System – GIS)
                   ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์  เป็นวิทยาการทางภูมิศาสตร์ที่ช่วยในการว่างแผนและการตัดสินใจในงานหรือกิจการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์  เช่น  ใช้ในการจัดการด้านป่าไม้  ของกรมป่าวไม้  ยังมีการน้ำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาช่วยจัดทำแผนที่ป่าไม้  ข่วนให้เห็นภาพรวมที่เป็นปัจจุบันของป่าไม้ของประเทศได้อย่างชัดเจน  เป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายป่าไม้ของชาติ  ตลอดจนถึงการวางแผนการจัดการป่าไม้ได้อย่างเหมาะสมตรงตามสภาพความเป็นจริงในสภาพภูมิประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่คลอดเวลา  นอกจากกรมป่าไม้ที่ได้นำจีไอเอสไปใช้แล้ว  ยังมีหน่วยงานอีกหลายหน่วยงานได้นำเอาวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในงานที่เกี่ยวข้อง  โดยแม้แต่การบริหารงานของรัฐบาลในปัจจุบันยังได้ให้ความสำคัญต่อการประสานเชื่อมโยงข้อมูลจีไอเอสจากหน่วยงานต่างๆของประเทศ เมื่อมีการรายงานข้อมูลและเชื่อมโยงข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์  เช่น  กรณีการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆของประเทศ  เมื่อมีการรายงานข้อมูลและเชื่อมโยงข้อมูลมายังกระทรวงมหาดไทย  โดยอาศัยภาพจากดาวเทียมผ่านระบบสนับสนุนการตัดสินใจ  จะช่วยให้รัฐบาลได้รับข้อมูลที่ชัดเจน  และมองเห็นภาพรวมของสถานการณ์ในขณะนั้นได้ในเชิงลึก  เป็นผลให้รัฐบาลสามารถตัดสินใจวางแผนบรรเทาภัยพิบัติ  ตลอดจนกำหนดนโยบายอื่นๆ  ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม  และทันท่วงที เป็นต้น
                   จากความสำคัญของการนำวิทยาการทางภูมิศาสตร์มาใช้ในการวางแผนหรือตัดสินใจในการบริหารงานของหน่วยงานต่างๆหรือแม่แต่ของรัฐบาลเอง  เป็นข้อบ่งชี้ให้เห็นได้อีกประการหนึ่ง ถึงความสำคัญของวิชาภูมิศาสตร์ที่นำมาประยุกต์กับงานต่างๆในสภาพปัจจุบันได้อย่างชัดเจน

สร้างโดย: 
naree52

....

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 298 คน กำลังออนไลน์