สมเพช เวทนา ตัวเอง บ้างป่าว

รูปภาพของ lkssompon

 

ที่มาของเนื้อหาและรูปภาพ http://www.nkgen.com/459.htm

อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่

กระดานธรรม ๓

 ความจริงที่น่ารู้ใน "เวทนา"

 คลิกขวาเมนู

หลักการปฏิบัติในเวทนา

สุขเวทนา มีอยู่  แต่ไม่ติดเพลิน ไม่บ่นถึง ด้วยอุเบกขา

ทุกขเวทนา มีอยู่  แต่ไม่พิรี้พิไร ไม่รำพัน ไม่โอดครวญ ด้วยอุเบกขา

อทุกขมสุข มีอยู่  แต่ไม่ฟุ้งซ่านปรุงแต่ง ด้วยอุเบกขา

        เวทนา การเสวยอารมณ์,  การเสพรสชาดของอารมณ์ที่ผัสสะ,  ความรู้สึก(Feeling)เป็นสุขคือถูกใจ ชอบใจ สบายใจสบายกาย, ทุกข์คือไม่ถูกใจ ไม่ชอบใจ ไม่สบายใจไม่สบายกาย, หรือไม่สุขไม่ทุกข์คือเฉยๆ ที่เกิดขึ้นจากอารมณ์ที่ผัสสะ  คำจำกัดความต่างๆเหล่านี้ล้วนมีความหมายเดียวกันว่า ความรู้สึก(Feeling)เป็นสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ ที่ย่อมต้องเกิดขึ้น จากการรับรู้(ผัสสะ)ในอารมณ์นั้นๆ อันเป็นธรรมชาติของชีวิตอย่างหนึ่งเป็นธรรมดา

        เวทนาไม่เป็นอัตตา ที่หมายถึง เวทนาไม่ใช่ตัวตน  เวทนาไม่ใช่ของตัวตน,  แต่เวทนาเป็นอนัตตา  เวทนาจึงควบคุมบังคับด้วยอัตตาหรือตัวตนเองไม่ได้อย่างแท้จริง  เพราะเวทนาทั้งปวงล้วนต้องเกิดขึ้น และต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัย หรืออิงอยู่กับเหตุปัจจัยต่างๆดังต่อไปนี้  กล่าวคือ

อายตนะภายนอก    กระทบกัน เช่น ตาเห็นรูป อายตนะภายใน    การกระทบกันของปัจจัยทั้ง๒ ย่อมเกิด    วิญญาณ๖   การประจวบกันของปัจจัยทั้ง ๓ ข้างต้น เรียกว่า ผัสสะ  ผัสสะ   เป็นปัจจัย จึงมี   สัญญา    เป็นปัจจัย จึงมี   เวทนา คือ ความรู้สึกเป็นสุข, ทุกข์, ไม่สุขไม่ทุกข์ อย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นเป็นธรรมดาหรือตถตา

หรือเขียนอย่างย่นย่อที่สุด ที่ละสัญญาไว้  ดังที่มักกล่าวไว้ในพระไตรปิฎก แต่นำมาเขียนในรูปแบบกระบวนธรรม ก็จักได้ดังนี้

อายตนะภายนอก    กระทบกัน เช่น ตาเห็นรูป อายตนะภายใน    การกระทบกันของปัจจัยทั้ง๒ ย่อมเกิด    วิญญาณ๖   การประจวบกันของปัจจัยทั้ง ๓ ข้างต้น เรียกว่า ผัสสะ  ผัสสะ   เป็นปัจจัย จึงมี   เวทนา คือ ความรู้สึกเป็นสุข, ทุกข์, อทุกขมสุข(ไม่สุขไม่ทุกข์) อย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นเป็นธรรมดาหรือตถตา

เวทนา จึงขึ้นหรืออิงอยู่กับเหตุอันคือสิ่งดังกล่าวข้างต้น ที่มาเป็นปัจจัยกัน กล่าวคือปรุงแต่งกัน จึงย่อมต้องเป็นสังขารในธรรมนิยาม(พระไตรลักษณ์) อันย่อมมี อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นสามัญญลักษณะ,  เวทนาจึงย่อมไม่ได้ขึ้นกับอัตตาหรือตัวตนดังความเข้าใจกันโดยผิวเผินทั่วไป  เวทนาไม่ใช่อัตตา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของตัวตน  แต่ด้วยความไม่รู้ด้วยอวิชชาแต่ทารก จึงมักเข้าไปหลงยึดเอาเวทนาความรู้สึกสุขทุกข์หรือเวทนาว่าเป็นสมบัติของตัวตนหรือเราอยู่เสมอๆ โดยไม่รู้ตัว เราสุข เราทุกข์  จึงเกิดการสั่งสมนอนเนื่องในสันดานมาช้านาน ไม่รู้ว่าสักกี่ภพกี่ชาติมาแล้วนั้น (ถ้าพิจารณาโดยโลกุตตระให้พิจารณาภพชาติในปฏิจจสมุปบาทธรรม)  หรือก็คือการเกิดขึ้นของกิเลสอันคือตัณหาต่อเหล่าเวทนาความรู้สึกสุขทุกข์นั่นเอง

        เวทนา มี ๓ คือ สุขเวทนาที่ครอบคลุมทั้งทางใจหรือกาย๑  ทุกขเวทนาทั้งทางใจหรือกาย๑  อทุกขมสุขเวทนาไม่สุขไม่ทุกข์หรือเฉยๆ๑   แต่อรรถกถาในพระไตรปิฎก ก็มีการจำแนกแตกละเอียดขึ้นโดยพระอรรถกถาจารย์ ในภายหลังๆ คือ แบ่งเวทนาออกเป็นฝ่ายจิตและฝ่ายกาย จึงแบ่งออกได้เป็น ๕ อันมี  สุข-สบายกาย๑  ทุกข์-ไม่สบายกาย๑  โสมนัส-สบายใจ๑  โทมนัส-ไม่สบายใจ๑  อุเบกขา-เฉยๆ๑  รวมเป็น ๕

        พระองค์ท่านได้ตรัสไว้เป็นอเนกว่า เวทนาทั้งปวง เพราะมีความไม่เที่ยงทรงตัวอยู่ไม่ได้  จึงล้วนไม่น่าเพลิดเพลิน  ไม่น่าหมกมุ่น  ไม่น่าแสวงหา,  เมื่อนำมาโยนิโสมนสิการ ย่อมแลเห็นความเกิดขึ้นแลเป็นไปในเหล่าเวทนาทั้งปวงว่า ล้วนเกิดขึ้นและเป็นไปดังนั้นทั้งหมดทั้งสิ้นจริงๆ  เมื่อไม่รู้ด้วยอวิชชา,ทั้งไม่มีสติเท่าทัน จึงพากันไปติดเพลินหมกมุ่น จึงเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏหรือกองทุกข์อยู่อย่างนี้ทุกภพทุกชาติไป  จึงควรหมั่นพิจารณาในเวทนาต่างๆโดยอาการดังนี้ อยู่เนืองๆ อยู่เสมอๆ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจจนเกิดนิพพิทาญาณต่อเวทนาต่างๆที่เกิดดับๆๆ..อยู่ตลอดเวลา กล่าวคือ ทั้งพิจารณาและแลเห็นอยู่เนืองๆในเหล่าเวทนาที่เกิดขึ้นว่าเป็นไปดังนี้

 สุขเวทนา หรือสุข โดยความเป็นทุกข์

 ทุกขเวทนา หรือทุกข์ โดยความเป็นลูกศร

 อทุกขมสุขเวทนา หรือเฉยๆ โดยความเป็นของไม่เที่ยง

ล้วนเพื่อนิพพิทา เพื่อการปล่อยวางเวทนา

        โยนิโสมนสิการด้วยความเพียรยิ่งให้เกิดธรรมสามัคคีหรือมรรคสามัคคี จนเกิดนิพพิทาญาณต่อเหล่าเวทนา กล่าวคือเกิดความหน่ายในเวทนาจากการรู้ความจริงในเวทนา ย่อมเป็นปัจจัยให้คลายกำหนัด หรือการดับตัณหานั่นเอง  อันเป็นการตัดทำลายวงจรปฏิจจสมุปบาทลงไปเสียนั่นเอง

        สุขเวทนา หรือสุข โดยความเป็นทุกข์ แม้เพลิดเพลินเป็นสุข หรือแม้แต่สุขยิ่งๆก็จริงอยู่ แต่ด้วยอนัตตาจึงควบคุมบังคับบัญชาให้คงอยู่,เป็นไปไม่ได้  เป็นของไม่เที่ยงด้วยอนิจจัง จึงต้องทุกขังดับไป  แต่ด้วยสภาวธรรมหรือธรรมชาติของชีวิต ที่เมื่อชรา-มรณะย่อมมีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส หรืออาสวะกิเลสนอนเนื่อง ที่จักย่อมผุดขึ้นมาซึมซาบย้อมจิตเมื่อประสบอารมณ์มาเร้าในภายหน้า จึงเกิดการโหยไห้อาลัยหา จนกำเริบเสิบสานเป็นทุกข์อันเผาลนใจหรือเจ็บดั่งต้องศรขึ้นอย่างแน่นอนเป็นที่สุด เป็นธรรมดาหรือตถตา   สุขเวทนา หรือสุข โดยความเป็นทุกข์ที่แฝงอยู่

        ทุกขเวทนา หรือทุกข์ โดยความเป็นลูกศร ว่าช่างเร่าร้อนเผาลนใจ,หรือเจ็บดั่งต้องศร ถึงแม้จะไม่เที่ยงด้วยอนิจจังจึงต้องทุกขังดับไปเช่นสังขารทั้งปวงก็จริงอยู่แต่เร่าร้อนไม่ทันใจ และเพราะความที่ต้องสั่งสมเป็นอาสวะกิเลส  จึงสั่งสมแล้วกำเริบเสิบสานโดยอาการผัสสะหรือพิรี้พิไรรำพันหรือโดยธรรม ให้เป็นทุกข์ดุจศร ที่ย้อนกลับมาทิ่มแทงอยู่เสมอๆ จึงย่อมเวียนว่ายตายเกิดในกองทุกข์ ถูกทิ่มแทงเผาลนอยู่เสมอๆ   ทุกขเวทนา หรือทุกข์ โดยความเป็นลูกศร ที่เจ็บปวดและวนเวียนทิ่มแทง

        อทุกขมสุขเวทนา หรือเฉยๆ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ด้วยละเอียดอ่อนนอนเนื่องและด้วยอวิชชาจึงยิ่งไม่รู้ว่า ด้วยอนิจจังอันไม่เที่ยง จึงแปรปรวนเผลอจิตไปปรุงแต่งจนเป็นสุขหรือทุกขเวทนาในที่สุด  จึงต้องเป็นทุกข์อันเผาลนหรือเจ็บปวดดั่งต้องศรเป็นที่สุดเช่นกัน   อทุกขมสุขเวทนา หรือเฉยๆ โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงแปรปรวนมาทิ่มแทงเป็นที่สุด

        สภาวะของเวทนาต่างๆ โดยอาการดังที่กล่าวข้างต้น ดังเช่น  สุขเวทนาหรือสุข โดยความเป็นทุกข์  ให้พิจารณาอยู่เนืองๆ  หรือคิดนึกเห็นอยู่เนืองๆจนกว่าจะเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งหรือธรรมสามัคคี หรือแม้แต่เข้าใจแจ่มแจ้งแล้วก็ตามทีเพราะความที่เป็นเวทนานุปัสสนาอันดีงามแบบหนึ่งนั่นเองที่สามารถยังให้เกิดนิพพิทาญาณขึ้นได้ ที่แสดงว่า  ความสุขทั้งหลายหรือสุขเวทนา(ทางโลก) ล้วนมีอาการของความทุกข์แฝงตัวอยู่ตลอดเวลาเสมอ เป็นของคู่กันโดยธรรมหรือธรรมชาติ  เป็นไปดังที่กล่าวนี้จริงโดยการเจริญวิปัสสนา ใช้การโยนิโสมนสิการในปฏิจจสมุปบาทธรรมในองค์ธรรมชรา-มรณะ พร้อมด้วยโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปาทายาส กล่าวคือ พิจารณาว่าเมื่อเกิดสุขทุกข์ต่างๆแล้ว ก็ย่อมต้องชราคือเปลี่ยนแปลงคือแปรปรวนไปมา  แล้วย่อมต้องมรณะดับไปพร้อมกับการสั่งสมเป็นอาสวะกิเลสในรูปแบบต่างๆข้างต้นเป็นธรรมดาหรือตถตา,  ที่เมื่อผุดขึ้นมาด้วยเหตุอันใดก็ดีในภายหน้า ที่ย่อมต้องร่วมกับองค์ธรรมอวิชชา แล้วย่อมกำเริบเสิบสานเป็นองค์ธรรมสังขารที่ย่อมเจือกิเลสที่นอนเนื่อง เพื่อภพชาติหน้าอันเป็นทุกข์ อันเป็นไปตามปฏิจจสมุปบาทธรรม

        ก็เป็นสุขอยู่  จะเสพความสุขเสียก่อน แล้วมีปัญหาได้อย่างไร? แล้วมากล่าวว่า มีทุกข์แอบแฝงอยู่ได้อย่างไร?  ก็แลดูว่าเป็นแค่สุขธรรมดาๆนี่เอง

เพราะย่อมต้องเกิดทุกข์ขึ้นจากสุขเหล่านี้ ในภายภาคหน้าอย่างแน่นอน เพราะโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส  ด้วยอาการของปฎิจจสมุปบาทธรรมดังนี้

๑.ทุกข์ เกิดขึ้นจากการที่ต้องขวนขวายแสวงหามาปรนเปรออีก ในภายหน้านั่นไง!  ดังเช่น อาหารอร่อยๆ,เสื้อผ้าใหม่,รถใหม่,หน้าที่การงานให้ก้าวไปอีก ฯ. !

๒.ทุกข์ เกิดขึ้นจากการต้องบำรุงดูแล,ต้องรักษาสุขนั้นๆให้คงอยู่ในสภาพ ในภายหน้า!  บุตร,ทรัพย์สมบัติ,คนรัก,บ้าน,รถ,ตำแหน่ง,หน้าที่การงาน ฯ. !

๓.ทุกข์ อันเกิดจากความไม่สมปรารถนาดังเดิมได้อีกเมื่อใด  ก็ย่อมแปรไปเป็นทุกข์อันเร่าร้อนเผาลน ได้ในภายหน้า!  ครานี้ทำไมไม่เป็นดังนั้น,ครานั้นเป็นอย่างนี้,ทำไม,อย่างไร,ต้องอย่างนี้อย่างนั้น ฯ. !

        หรือจากการพิจารณาเวทนาในพระไตรลักษณ์ดังแสดงไว้โดยอเนก ที่มีเจตนาเพื่อนิพพิทาญาณว่า  เวทนาไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นย่อมเป็นทุกข์  สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา  จึงควรเห็นด้วยสัมมาญาณว่า สุขหรือทุกข์นั่นก็ไม่ใช่ของเรา  สุขหรือทุกข์นั่นก็ไม่ใช่เป็นเรา  สุขหรือทุกข์ไม่ใช่อัตตาตัวตนเรา.

        หรือแม้แต่ความเข้าใจในปฏิจจสมุปบาทธรรมหรือพระไตรลักษณ์ จนเกิดความเห็นแจ้งจนเกิดนิพพิทา เห็นจริงดังที่ท่านวชิราภิกษณี ได้กล่าวไว้

ความจริงทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น  จึงมีแต่ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่  และมีแต่ทุกข์เท่านั้นที่ดับเสื่อมไป

ดังนั้น นอกจากทุกข์แล้ว จึงไม่มีอะไรเกิดขึ้นได้อีก,  นอกจากทุกข์แล้ว จึงไม่มีอะไรดับ.

(ท่านวชิราภิกษุณี ได้กล่าวกะมารผู้มีบาปใน วชิราสูตร ไว้ในลักษณะนี้)

        จึงสามารถใช้ธรรมต่างๆเหล่านี้เป็นเครื่องเจริญวิปัสสนา ดังเช่น ปฏิจจสมุปบาทธรรม  ขันธ์ ๕  พระไตรลักษณ์ ฯลฯ.  เมื่อเกิดธรรมสามัคคีก็ย่อมเห็นได้อย่างแจ่มแจ้งในที่สุดด้วยตนเองว่า เวทนาทั้งปวงล้วนเป็นไปดังที่กล่าวข้างต้นนั้นจริงๆ  จึงมิใช่เป็นไปโดยสักแต่ว่าตามคัมภีร์,ตำรา หรือสักแต่ว่าพูดๆกันไปเท่านั้น  

        เมื่อเห็นดังนี้ได้แจ่มแจ้ง ย่อมเกิดนิพพิทาญาณความหน่ายเป็นที่สุด  เห็นว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ฯลฯ. จึงย่อมไม่ควรเห็นว่าเป็นอัตตา เป็นตัวตน เป็นของตน  จึงย่อมคลายความกำหนัดหรือคลายตัณหา ตามควรแห่งฐานะของตน  จนถึงดับสนิทแห่งทุกข์ อันเป็นสุขยิ่ง.

จึงควรมีสติอยู่เนืองๆ  ประกอบอีกด้วยว่า

เวทนาเป็นอนัตตา จึงควรเห็นด้วยสัมมาปัญญาว่า "นั้นก็ไม่ใช่ของเรา  นั่นก็ไม่ใช่เป็นเรา  นั่นก็ไม่ไช่อัตตาตัวตนเรา"

พระอริยเจ้าจึงรู้ว่า เมื่อมีชีวิตอยู่ เวทนาทั้งปวงนั้นไม่เที่ยง ไม่น่าหมกมุ่น ไม่น่าเพลิดเพลิน ไม่น่าแสวงหา

เวทนาย่อมไม่เที่ยง  อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น  อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น  มีความสิ้นไป  เสื่อมไป  คลายไป  ดับไปเป็นธรรมดา (เวทนาปริคคหสูตร)

ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อตายไป  เวทนาทั้งปวง อันไม่น่าเพลิดเพลิน จักเป็นความเย็นในโลกนี้ทีเดียว ฯ (เคลัญญสูตร)

พระสารีบุตร ท่านได้ฟังธรรม ในลักษณะดังกล่าวนี้ใน เวทนาปริคคหสูตร ก็พลันบรรลุพระอรหัตตผลเป็นพระอรหันต์โดยพลัน

พระอริยเจ้า จึงล้วนมีความหน่ายจากนิพพิทาญาณต่อเหล่าเวทนาอันไม่เที่ยงเหล่านี้

จึงไม่ยึดมั่นถือมั่นเวทนาที่ล้วนไม่น่าเพลิดเพลิน ไม่น่ายินดี ไม่น่าหมกมุ่น ดังเหตุข้างต้นนี้

จึงปล่อยวาง ไม่ยินดีไม่ยินร้ายในเวทนาทั้งปวง

 สุขเวทนาก็ไม่เที่ยง ต้องดับไป  แต่อยากให้คงอยู่นานๆ หรือไม่ดับไป  ก็เป็นทุกข์

ทุกขเวทนาก็ไม่เที่ยง แม้ต้องดับไป  แต่อยากให้ดับไปเร็วๆขึ้นอีก หรือไม่อยากให้เกิดขึ้นเลย  ก็เป็นทุกข์

อทุกขมสุขเวทนา ด้วยไม่รู้ จึงปล่อยให้ปรุงแต่ง เกิดๆดับๆ ด้วยอวิชชา  ก็เป็นทุกข์

 <!--pagebreak-->

เวทนาสูตร

 

Thailand Web Stat

hit counter

นับคน . คอม : Realtime counter สำหรับคนไทย

 

 

---------------------------------------------------------------

 

ที่มาของเนื้อหาและรูปภาพ   http://www.nkgen.com/402.htm

 

  กลับสารบัญ   

<!--pagebreak-->

เวทนาสูตร

พุทธพจน์ และ พระสูตร

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕

 คลิกขวาเมนู

๓. เวทนาสูตรที่ ๑

             [๒๓๐] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้  ๓ ประการเป็นไฉน

คือ สุขเวทนา๑  ทุกขเวทนา๑  อทุกขมสุขเวทนา๑  

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้แล ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น

พระผู้มีพระภาค ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

             สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้มีจิตตั้งมั่น ผู้รู้ทั่ว มีสติ

             ย่อมรู้ชัดซึ่งเวทนา

             เหตุเกิดแห่งเวทนา

             ย่อมรู้ชัดซึ่งธรรมเป็นที่ดับแห่งเวทนา

             และมรรคอันให้ถึงความสิ้นไปแห่งเวทนา

             ภิกษุหายหิวแล้ว ดับรอบแล้ว เพราะความสิ้นไปแห่งเวทนาทั้งหลาย ฯ

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ มาแล้ว ฉะนี้แล ฯ

(อ่านความในขันธ์ ๕ หรือปฏิจจสมุปบาท ก็จะตอบปัญหาเหล่านี้ได้)

จบสูตรที่ ๓

  <!--pagebreak-->

พุทธพจน์ และ พระสูตร

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕

 คลิกขวาเมนู

             [๒๓๑] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน

คือ สุขเวทนา ๑  ทุกขเวทนา ๑  อทุกขมสุขเวทนา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงเห็นสุขเวทนา โดยความเป็นทุกข์

(เพราะสุขนั้นไม่เที่ยง ย่อมแปรปรวนดับไปเป็นธรรมดา แล้วก่อให้เกิดทุกข์ขึ้นในภายหน้าด้วยอาการของการโหยไห้อาลัยหาในสุขนั้นๆ หรือก็คือ อาสวะกิเลส ที่เก็บจำแบบนอนเนื่องที่ย่อมต้องผุดขึ้น รอวันกำเริบเสิบสานในวงจรปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง จึงเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ขึ้นในภายหน้าจากการต้องขวยขวายแสวงหาใหม่ และเมื่อเป็นที่สุดจนได้)

พึงเห็นทุกขเวทนาโดยความเป็นลูกศร

(ทุกขเวทนา ย่อมเจ็บปวดอยู่แล้วโดยธรรมของเขา ดังลูกศรต้องกาย แล้วก็ยังเก็บนอนเนื่องเก็บจำเป็นอาสวะกิเลสได้อีกเช่นกัน  จึงเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ในภายหน้าขึ้นอีก)

พึงเห็นอทุกขมสุขเวทนา โดยความเป็นของไม่เที่ยง

(เมื่อไม่เที่ยง ไม่เท่าทัน จึงปรุงแต่งหรือฟุ้งซ่านจนเป็นทุกข์ในที่สุดเช่นกัน  แล้วย่อมเก็บจำเป็นอาสวะกิเลสเช่นกัน จึงเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ขึ้นในภายหน้าขึ้นอีก)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ภิกษุเห็นสุขเวทนา โดยความเป็นทุกข์(ว่าสามารถเป็นทุกข์ได้ภายหน้า โดยไม่รู้ตัว)

เห็นทุกขเวทนาโดยความเป็นลูกศร (อันแสนปวดร้าว  และยังกำเริบเสิบสานด้วยความเป็นลูกศรแล้ว จึงกลับมาทิ่มแทงได้อีกเป็นธรรมดา)

เห็นอทุกขมสุขเวทนา โดยความเป็นของไม่เที่ยง (จึงแปรไปเป็นทุกข์ได้ง่ายๆ ถ้าเผลอจิตไปปรุงแต่ง)

เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นพระอริยะผู้เห็นโดยชอบ ตัดตัณหาขาดแล้ว ล่วงสังโยชน์แล้ว

ได้กระทำแล้วซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ เพราะการละมานะโดยชอบ ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

            ภิกษุใดได้เห็นสุขโดยความเป็นทุกข์

            (กล่าวคือรู้แจ้งเห็นจริงและเท่าทันว่า สุขนั้นไม่เที่ยง ย่อมดับไป เป็นปริเทวะ ที่จักโหยไห้อาลัยหา จึงเป็นเหตุให้เป็นทุกข์ขึ้นในภายหน้า)

            ได้เห็นทุกข์โดยความเป็นลูกศร

            (เห็นทุกข์ ว่าแหลมคมและเจ็บปวดดังต้องศร  เมื่อดับไปก็เป็น โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ ที่รอวันกำเริบเสิบสานขึ้นอีก)

            ได้เห็นอทุกขมสุขอันละเอียด(หมายถึง เห็นได้โดยยาก)โดยความเป็นของไม่เที่ยง

             แม้ไม่สุขไม่ทุกข์อันแสนแผ่วเบา แต่เมื่อไม่เที่ยง เมื่อเกิดการปรุงแต่งขึ้น จึงเกิดอาการแปรปรวนไปเป็น สุข หรือ ทุกข์ ด้วยอวิชชาในที่สุด

             ภิกษุนั้นแลเป็นผู้เห็นโดยชอบ ย่อมหลุดพ้นในเวทนานั้น

             ภิกษุนั้นแลอยู่จบอภิญญา ระงับแล้ว ก้าวล่วงโยคะได้แล้ว ชื่อว่าเป็นมุนี

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล ฯ

จบสูตรที่ ๒

๔. เวทนาสูตร

พุทธพจน์ และ พระสูตร

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖

 คลิกขวาเมนู

             [๓๓๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี

ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ

ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ

ก็ความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน  จักขุธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ นี้เราเรียกว่า ความต่างแห่งธาตุ ฯ

             [๓๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัย ความต่างแห่งธาตุ

ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ เป็นไฉน

จักขุสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุธาตุ จักขุสัมผัสสชาเวทนาบังเกิด ขึ้นเพราะอาศัยจักขุสัมผัส ฯลฯ

มโนสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนธาตุ มโนสัมผัสสชาเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนสัมผัส

ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้น เพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ความต่างแห่งเวทนาบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งผัสสะ อย่างนี้แล ฯ

จบสูตรที่ ๔

๕. เวทนาสูตร

พุทธพจน์ และ พระสูตร

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖

 คลิกขวาเมนู

             [๖๐๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ...

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส ... เวทนาที่เกิดแต่ โสตสัมผัส ... เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส ... เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส ... เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ...

เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ

             ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ... ฯ

             [๖๐๙] ดูกรราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในเวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส

ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในเวทนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในเวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส

ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในเวทนาที่เกิด แต่ชิวหาสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในเวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส

ย่อมเบื่อหน่ายทั้ง ในเวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด ฯลฯ ฯ

จบสูตรที่ ๕

เวทนาสูตร

พุทธพจน์ และ พระสูตร

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙

 คลิกขวาเมนู

เจริญอริยมรรคเพื่อกำหนดรู้เวทนา

             [๘๔] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน?

คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑ เวทนา ๓ ประการนี้แล.

             [๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ บุคคลพึงเจริญ

เพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนี้ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน?

คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ บุคคลพึงเจริญ เพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนี้แล.

จบ สูตรที่ ๙

เวทนาสูตร

เวทนา ๓

พุทธพจน์ และ พระสูตร

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙

 คลิกขวาเมนู

             [๘๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน?

คือ สุขเวทนา ๑  ทุกขเวทนา ๑  อทุกขมสุขเวทนา ๑  ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้แล.

             [๘๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนี้  สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ย่อมพิจารณาเห็นธรรมใน ธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ เพื่อกำหนดรู้เวทนา ๓ ประการนี้แล.

 

กลับหน้าเดิม

กลับสารบัญ

 

 

Thailand Web Stat 

hit counter

นับคน . คอม : Realtime counter สำหรับคนไทย

 

 

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 195 คน กำลังออนไลน์