Lysosome

 

 

http://www.uic.edu/classes/bios/bios100/summer2006/lysosome.jpg

 

     ไลโซโซมเป็นออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มทีมีลักษณะเป็นถุงบรรจุ hydrolytic enzyme ซึ่งเซลล์จะใช้เอนไซม์ในการย่อยสลายสาร

โมเลกุลใหญ่ โดยเอนไซม์ที่อยู่ภายในไลโซโซมมีทั้ง เอนไซม์ที่สามารถแยกสลายโปรตีน, โพลีแซคคาไรด์, ไขมันและกรดนิวคลีอิค

และสารโมเลกุลใหญ่ทั้งหลาย โดยที่เอนไซม์ทั้งหมดจะทำงานได้ดีในสภาพที่เป็นกรด (pHประมาณ5)

     เป็นออร์แกเนลล์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโตคอนเดรีย มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.15-0.8 ไมครอน จึงไม่สามารถ มองเห็นได้ด้วย

กล้องจุลทรรศน์ธรรมดา พบเมื่อปี พ.ศ. 2495 โดยดูจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน คล้ายถุงลม ซึ่ง ภายในมีเอนไซม์หลายชนิดทำ

หน้าที่เกี่ยวกับการย่อยสลาย เยื่อหุ้มเซลล์เป็นเยื่อชั้นเดียวซึ่งไม่ยอมให้เอนไซม์ต่าง ๆ ผ่านออก แต่ เป็นเยื่อที่สลายตัวหรือรั่วได้่ง่าย

 เมื่อเกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อหรือขณะที่มีการเจริญเิติบโต เยื่อหุ้มชั้นนี้มีความทนทานต่อ ปฏิกิริยาการย่อยของเอนไซม์ที่อยู่ภายใน

ได้ เอนไซม์ที่อยู่ในถุงของไลโซโซมนี้เชื่อกันว่าเกิดจากไรโบโซมที่อยู่บน ERE สร้าง เอนไซม์ขึ้นแล้วส่งผ่านไปยังกอลจิบอกดี

และหลุดเป็นถุงออกมา  ปัจจุบันไลโซโซมแบ่งเป็น 4 ชนิด ได้แก่

     1) ไลโซโซมระยะแรก (primary lysosome) ซึ่งมีน้ำย่อยที่สังเคราะห์มาจากไรโบโซมระยะแรกและเก็บไว้ในกอลจิบอดี แล้ว

หลุดออกมาเป็นถุง

     2) ไลโซโซมระยะที่สอง (secondary lysosome) เกิดจากไลโซโซมระยะแรกรวมกับสิ่งแปลกปลอม ที่เข้า มาในเซลล์โดย

วิธีฟาโกไซโตซิส (phagocytosis) หรือ พิโนไซโตซิส (pinocytosis) แล้วมีการย่อยต่อไป

     3) เรซิดวล บอดี (residual body) เป็นส่วนที่เกิดจากการย่อยอาหารในไลโซโซมระยะที่สองไม่สมบูรณ์ มีกาก อาหารเหลืออยู่

ในเซลล์บางชนิดเช่น อะมีบา โปรโตซัว จะขับกากอาหารออกทางเยื่อหุ้มเซลล์โดยวิธีเอกโซไซโตซิส (exocytosis) หรือในเซลล์

บางชนิดอาจสะสมไว้เป็นเวลานาน

     4) ออโตฟาจิค แวคิวโอล หรือ ออโตฟาโกโซม (Autophagic vacuole or Autophagosome) เป็นไลโซโซม ที่เกิด

ในกรณีพิเศษ เนื่องจากกินส่วนต่าง ๆ ของเซลล์ตัวเอง ออโตไลซิส (autolysis)

     หน้าที่ของไลโซโซม ในการย่อยสลายภายในของเซลล์ อะมีบา และโปรตีนอื่นๆ โดยมักจะกินสิ่งมีชีวิตที่มีขนตาดเล็กกว่าโดย

วิธีที่เรียกว่า ฟาโกไซโตซีส (phagocytosis ) ซึ่งจะทำให้เกิด food vaccuole ขึ้นภายในเซลล์ และแวคคิวโอลที่เกิดขึ้นนี้จะไป

รวมตัวกับไลโซโซมทำให้เอนไซม์ที่อยู่ภายในไลโซโซมย่อยอาหารที่อยู่ในแวคควโอลได้

 

 

สร้างโดย: 
อาจารย์กวิสรา ชาลาภคำ และ นางสาวกมลวรรณ ไชยศรีษะ โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 203 คน กำลังออนไลน์