สารัตถะของเสภา ขุนช้างขุนแผน

     เรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณคดีที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับชีวิตชาวบ้านตลอดทั้งเรื่อง  มีบางตอนกล่าวถึงพระมหากษัตริย์ 
แต่เนื้อความและจุดมุ่งหมายสำคัญไม่ได้ต้องการแสดงเรื่องราวของพระมหากษัตริย์  ดังนั้น  การแต่งเรื่องนี้เป็นกลอนเสภา
จึงเหมาะกับการบรรยายความรู้สึก  หรือบทสนทนาของตัวละครในเรื่องที่เป็นคนสามัญ  การบรรยายสภาพความเป็นอยู่ของชาวเมือง  สภาพบ้านเมือง สภาพธรรมชาติ  นอกจากนี้การแต่งเป็นกลอนเสภายังเหมาะกับเนื้อเรื่องที่เกียวกับปัญหาความรัก  ตัวละครมีลักษณะเป็นคนธรรมดา  มีกิเลส  มีตัณหา  มีการชิงรักหักสวาท  เนื้อเรื่องแปลกไปจากวรรณคดีเรื่องอื่นๆ 

                เรื่องขุนช้างขุนแผนมีคุณสมบัติเป็น สัจนิยม  คือ เนื้อเรื่องมีความสมจริง  ลักษณะอุปนิสัยของตัวละครก็เหมือนมนุษย์จริงๆ 
การบรรยายเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ  และการใช้คาถาอาคมก็เป็นจริงเป็นจัง  ทำให้เราได้มองเห็นภาพชีวิตในสมัยนั้นในด้านต่างๆ  คือ

1.  ด้านขนบธรรมเนียม  ประเพณี  วัฒนธรรม
ได้มีการกล่าวถึง ขบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทยแทรกไว้ในเนื้อเรื่อง นับตั้งแต่การเกิดจนกระทั่งตายเลยทีเดียว

ประเพณีบวชเณร
สมัยก่อนนั้นไม่มีโรงเรียน พ่อแม่จึงมักพาลูกชายไปบวชเรียน เพื่อฝากให้พระสั่งสอนวิชาการต่าง ๆ และอบรมศีลธรรม เพราะถือกันว่าวัดเป็นแหล่งรวมวิชาความรู้ โดยมีพระภิกษุเป็นผู้สอน วิชาที่เรียนก็มี วิชาล่องหนหายตัว อยู่ยงคงกระพัน คาถาอาคมต่าง ๆ ปลุกผีและตำรับพิชัยสงคราม เป็นต้น

ประเพณีการทำศพ
การแห่นั้น จะมีเครื่องดนตรีประโคม คือ ปี่ชวาและกลองชนะ มีพระสวดนำหน้าศพ มีการโปรยข้าวตอกไปตลอดทาง
กล่าวกันว่าการโปรยข้าวตอก คือ ปริศนาธรรม ว่าข้างตอกนั้นไม่อาจงอกเป็นต้นข้าวได้อีก คนที่ตายไปแล้วก็ไม่อาจฟื้นขึ้นได้อีกเช่นเดียวกัน ส่วนพวกญาติพี่น้องก็สวมเสื้อผ้าสีขาวเดินตามไป

ประเพณีการเทศน์มหาชาติ
การเทศน์มหาชาติถือว่าเป็นงานทำบุญประจำปีที่สำคัญมาก เรื่องที่จะใช้เทศน์ก็คือเรื่อง พระเวสสันดรชาดก ซึ่งมีทั้งหมด
๑๓ กัณฑ์ ผู้ที่รับเป็นเจ้าของกัณฑ์แต่ละกัณฑ์ จะต้องจัดเตรียมเครื่องบูชากัณฑ์เทศน์ให้เข้ากับกัณฑ์ของตนด้วย ซึ่งมักจะ
เป็นผลไม้จำพวกกล้วย ส้ม มะพร้าวอ่อน ตลอดจนของแห้งต่าง ๆ และอ้อย เป็นต้น           

2.  สภาพทางภูมิศาสตร์

เรื่องขุนช้างขุนแผนนี้อาศัยสถานที่จริงเป็นฉากประกอบในการดำเนินเรื่อง  เช่น  จังหวัดสุพรรณบุรี  จังหวัดกาญจนบุรี  วัดวาอารามต่างๆ  สถานที่ที่ระบุไว้ระหว่างทางจากอยุธยาไปเชียงใหม่  ทำให้ผู้อ่านนึกวาดภาพและกำหนดสถานการณ์ต่างๆ  ตามท้องเรื่องให้เกิดขึ้นในมโนภาพได้

3.  ค่านิยมเกี่ยวกับไสยศาสตร์และโหราศาสตร์

เรื่องขุนช้างขุนแผนแสดงค่านิยมทำนองนี้ไว้มากมายเกือบจะตลอดทั้งเรื่อง  ตัวละครดำเนินชีวิตไปภายใต้อิทธิพลของไสยศาสตร์และโหราศาสตร์  เหมือนเรื่องเก่าๆของชาติต่างๆมากมาย  ความรู้สึกนึกคิดของตัวละครในบางครั้งขึ้นอยู่กับความเชื่อทางด้านนี้  และแสดงให้เห็นในเนื้อเรื่องว่าความรู้ทางด้านนี้ก็ทำให้เกิดความสำเร็จในการประกอบกิจกรรมหลายประการ

4.  ลักษณะของสังคมไทย

                ความเป็นอยู่  แบบแผนของการดำเนินชีวิต  ในเรื่องนี้มีปรัชญาและความจริงของชีวิตปรากฎอยู่มากสภาพการดำเนินชีวิตของคนในเมืองหลวงและในชนบทเป็นอย่างไร  ในเรื่องขุนช้างขุนแผนกล่าวไว้อย่างละเอียด  แสดงแนวความคิดของคนโบราณทั้งชายและหญิง  ซึ่งเราอาจยึดถือเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตปัจจุบันได้ดี  เช่น  ชายมีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์  หญิงมีความซื่อสัตย์จงรักภักดีและเชื่อฟังอยู่ในโอวาทของสามี  การเป็นคนมีความกตัญญูรู้คุณ  เห็นคุณค่าของการศึกษา  การรู้จักกาลเทศะ ฯลฯ

สร้างโดย: 
น.ส.ณัฐนิช มณีวรรณกุล และ ครู จิราวรรณ สังวรปทานสกุล โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 225 คน กำลังออนไลน์