.~. เส้นทางของสงคราม .~.

 

            สงครามทางทะเล

 

ในตอนเริ่มต้นของสงคราม  จักรวรรดิเยอรมนีนั้นมีเรือลาดตระเวนเป็นจำนวนประปราย แต่อยู่ทั่วทั้งโลก  ในภายหลังกองทัพเรือเยอรมันได้ใช้เรือรบดังกล่าวเพื่อการจมเรือพาณิชย์ของฝ่ายพันธมิตร กองทัพเรืออังกฤษนั้นได้พยายามตามล่าเรือรบเหล่านี้อย่างเป็นระบบ   แต่ว่ากองเรือเหล่านี้มีความอับอายเนื่องจากเรือรบเหล่านี้ไม่สามารถป้องกันเรือพาณิชย์ได้  จึงได้มีการกระทำบางประการ  เช่น  มีเรือลาดตระเวนเบาอันสันโดษของเยอรมัน  "เอมเดน"  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองเรือเอชียตะวันออก  ประจำการอยู่ในเมืองท่าซิงเทา ถูกเผาและพ่อค้า 15 ตนบนเรือเสียชีวิต รวมไปถึงการจมเรือลาดตระเวนเบาของรัสเซียและเรือพิฆาตฝรั่งเศสอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ด้วยขนาดใหญ่โตของกองเรือเอเชียตะวันออกของเยอรมัน- ซึ่งประกอบด้วยเรือลาดตระเวนหุ้มเกราะ Scharnhorst และ Gneisenau เรือลาดตระเวนเบา Nürnberg และ Leipzig   และเรือบรรทุกอีกสองลำ- นั้นมิได้รับคำสั่งให้เข้าปล่นเรือสินค้าฝ่ายพันธมิตรแต่อย่างใด และกำลังเดินทางกลับสู่เยอรมนีเมื่อกองเรือเหล่านี้ปะทะเข้ากับกองเรืออังกฤษ กองเรือเล็กเยอรมัน พร้อมด้วยเรือเดรสเดน  ได้จมเรือลาดตระเวนหุ้มเกราะไปสองลำในยุทธนาวีโคโรเนลแต่ว่ากองเรือดังกล่าวก็เกือบจะถูกทำลายจนสิ้นในยุทธนาวีหมู่เกาะฟอล์คแลนด์  ในเดือนธันวาคม 1914 เหลือเพียงเรือเดรสเดนเท่านั้นที่สามารถหลบหนีได้

ไม่นานหลังจากการรบทางทะเลเริ่มต้น  อังกฤษก็ได้ทำการปิดล้อมทางทะเลกับเยอรมนี ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่พิสูจน์ว่าได้ผลในสงครามครั้งนี้  การปิดล้อมได้ตัดเสบียงและทรัพยากรของเยอรมนี  แม้ว่าการกระทำดังกล่าวจะเป็นการละเมิดประมวลกฤหมายนานาชาติซึ่งถูกร่างขึ้นโดยทั้งสองประเทศก็ตาม      กองทัพเรืออังกฤษยังได้วางทุ่นระเบิดตามนานน้ำสากล เพื่อป้องกันมิให้กองเรือใดๆ เข้าออกเขตมหาสมุทร ซึ่งเป็นอันตรายแม้แต่กับเรือของประเทศที่เป็นกลาง และเนื่องจากอังกฤษไม่ออกมารับผิดชอบต่อผลเสียที่เกิดจากยุทธวิธีนี้ เยอรมนีจึงได้กระทำแบบเดียวกันกับกลยุทธ์เรือดำน้ำของตนเช่นกัน

               กองเรือรบประจัญบานแห่งกองเรือทะเลหลวงในมหาสมุทรแอตแลนติก

                   http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/6/62/Hochseeflotte_2.jpg  

ปี 1916 ยุทธนาวีแห่งคาบสมุทรจัตแลนด์ ได้กลายเป็นยุทธนาวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในสงครามโลกครั้งนี้ ซึ่งเป็นการปะทะกันเต็มอัตราศึกของกองทัพเรือทั้งสองฝ่าย ซึ่งกินเวลาตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน 1916 บริเวณทะเลเหนือห่างจากคาบสมุทรจัตแลนด์ กองเรือทะเลหลวงของกองทัพเรือเยอรมันบัญชาการโดยพลเรือโท Reinhard Scheer เผชิญหน้ากับกองเรือหลวงของกองทัพเรืออังกฤษภายใต้การนำของพลเรือเอก เซอร์ John Jellicoe ผลชองยุทธนาการครั้งนี้คือเสมอกัน ฝ่ายเยอรมันนั้นมีชัยชนะเชิงเล่ห์เหลี่ยมเหนือกองทัพอังกฤษที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งกองเรือเยอรมันวางแผนที่จะหลบหนีและได้สร้างความเสียหายต่อกองทัพเรืออังกฤษมากกว่าที่กองเรือเยอรมันได้รับ แต่ทางยุทธศาสตร์แล้ว กองทัพเรืออังกฤษยังคงครองความเป็นเจ้าสมุทรเหนือมหาสมุทรต่อไป และกองทัพเรือบนผิวน้ำก็ถูกกักให้อยู่แต่ในท่า (ไม่สามารถปฏิบัติการได้) อีกเลยตลอดช่วงเวลาของสงคราม

 

 

      เรือรบหลวงไลออนระหว่างยุทธนาวีคาบสมุทรจัตแลนด์ ภายหลังถูกระดมยิงอย่างหนักจากเรือรบเยอรมัน

         http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/9/93/HMS_Lion_%281910%29.jpg

  

เรืออูของเยอรมันนั้นมีความพยายามที่จะตัดเส้นทางสนับสนุนระหว่างสหรัฐอเมริกากับอังกฤษ และเป็นธรรมชาติของกลยุทธ์เรือดำน้ำที่จะทำการโจมตีโดยไม่มีการกล่าวตักเตือน เรือสินค้าที่ถูกจมจึงมีความหวังน้อยมากที่ลูกเรือจะมีชีวิตรอด สหรัฐอเมริกาจึงประท้วง เยอรมนีจึงปรับปรุงรูปแบบการทำการรบ ภายหลังจากการจมเรือโดยสารลูซิทาเนียอันโด่งดัง ในปี 1915 เยอรมนีสัญญาว่าจะไม่โจมตีเส้นทางของเรือพาณิชย์อีก ขณะที่อังกฤษได้ติดอาวุธให้กับเรือพาณิชย์ของตน ในที่สุดแล้ว ต้นปี 1917 เยอรมนีได้กักนโยบายกลยุทธ์เรือดำน้ำแบบไม่จำกัด เนื่องจากกลัวว่าสหรัฐอเมริกาจะเข้าสู่สงคราม ด้านแยอรมนีพยายามที่ค้นหาเส้นทางการเดินเรือของฝ่ายพันธมิตรก่อนที่สหรัฐอเมริกาจะขนส่งกองทพขนาดใหญ่ข้ามทะเลมาได้

ภัยขากเรืออูนั้นเริ้มลดลงเมื่อปี 1917 เมื่อเรือพาณิชย์ของอังกฤษได้เข้าร่วมกับขบวนเรือคุ้มกันซึ่งประกอบไปด้วยเรือพิฆาต ยุทธวิธีดังกล่าวทำให้เป็นการยากที่เรืออูของเยอรมันจะสามารถค้นหาเป้าหมาย ทำให้เกิดความสูญเสียน้อยลง ภายหลังการเปิดตัวไฮโดรโฟนและระเบิดน้ำลึก ทำให้เรือพิฆาตมีความหวังที่จะโจมตีเรือดำน้ำซึ่งยังปฏิบัติการอยู่ได้ แต่ว่าการใช้ระบบขบวนเรือดังกล่าวก็ทำให้เกิดความล่าช้าในการขนส่งเสบียง เนื่องจากต้องใช้เวลานานในการรวบรวมเรือเข้าจัดตั้งเป็นขบวน เหตุการณ์ดังกล่าวได้นำไปสู่การสร้างเรือบรรทุกสินค้าแบบใหม่ จากนั้นเรือทหารก็ไม่สามารถตกเป็นเป้าของเรือดำน้ำเยอรมนีได้อีกต่อไป 

 

 

                                                      

 

 

สร้างโดย: 
น.ส. พิชาภพ รัตนางกูร และ อาจารย์กัญฐินีภรณ์ ประถมด้วง โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 281 คน กำลังออนไลน์