ขุนช้างเป็นโทษ,พระไวยขอพิสูจน์,ขุนช้างเข้าคุก,พระไวยทูลขอโทษขุนช้าง

          วันต่อมาขุนช้างเข้าเฝ้าสมเด็จพระพันวษา  ทูลว่าตนได้มาเป็นมหาดชามากว่าแปดปีแล้ว ไม่เคยต้องโทษแม้แต่น้อย แต่มาบัดนี้ จมื่นไวยได้ทำร้ายตน จนเกือบถึงชีวิต  สมเด็จพระพันวษาจึงให้ตำรวจใน ไปตามตัวจมื่นไวยมา  เมื่อมาถึงแล้ว พระองค์จึงสอบถาม พระไวยกราบทูลเรื่องราวที่เกิดขึ้นทั้งหมดให้ทรงทราบ พร้อมทั้งกราบทูลเรื่องแต่หนหลัง เมื่อตนอายุได้เจ็ดปี ถูกขุนช้างนำไปฆ่าในป่าเดชะบุญที่ไม่ตาย ขุนช้างได้ฟังความเก่าก็ตกใจ กลัวอาญาจึงแข็งใจกราบทูลว่า ที่พระไวยกราบทูลนั้นไม่จริง สมเด็จพระพันวษาจึงตรัสถามบรรดาขุนนาง ที่เห็นเหตุการณ์ในวันนั้น ว่าความจริงเป็นอย่างไร อย่าได้เข้าใครออกใคร เหล่าขุนนางก็กราบทูลไปตามจริงสมเด็จพระพันวษาได้ฟังแล้ว จึงตรัสถามพระไวยว่า เมื่อตอนขุนช้างมันเอาไปฆ่า เหตุใดจึงไม่นิ่งไว้ไม่กล่าวหา เพิ่งมาบอกเมื่อเขาฟ้อง พระไวยก็กราบทูลว่า ตอนนั้นยังเด็กนัก เหตุเกิดกลางป่าไม่มีผู้รู้เห็น ไม่รู้ว่าจะไปฟ้องใคร เพราะไม่รู้จักโรงศาล เมื่อเป็นเช่นนี้จึงขอพิสูจน์ด้วยการดำน้ำ

 

พระไวยขอพิสูจน์

          สมเด็จพระพันวษาจึงตรัสถามขุนช้างว่าจริงหรือไม่  ขุนช้างกราบทูลว่าไม่จริง และบรรดาขุนางต่างก็เข้ากับพระไวย ดังนั้นจึงยอมพิสูจน์ สมเด็จพระพันวษา ทรงพิจารณาเห็นว่าขุนช้างพูดเท็จ แต่เพื่อมิให้เป็น ที่ครหานินทา ว่าพระองค์เข้าข้างพระไวย จึงตรัสสั่งให้สี่พระครู ไปดูโจทย์จำเลย จัดหาเครื่องดำน้ำและกำกับดูแล โดยให้ปักหลักที่หน้าตำหนักแพ ผลการพิสูจน์ด้วยการดำน้ำ ขุนช้างแพ้ทั้งสองครั้ง  สมเด็จพระพันวษา จึงตรัสสั่งให้ประหารชีวิตขุนช้าง ด้วยการผ่าอก แล้วเอาไปเสียบประจานไว้ที่ป่าที่พระไวยถูกนำไปฆ่า  ขุนช้างแกล้งทำเป็นบ้า แต่ทำมรงรู้ทันใช้หวายเฆี่ยนให้หายบ้า แล้วนำไปเข้าคุก

 

 ขุนช้างเข้าคุก

          ฝ่ายนางวันทอง คอยฟังข่าวขุนช้างอยู่ที่สุพรรณ เมื่อรู้ข่าวว่าขุนช้างแพ้ความเข้า คุกและได้รับโทษถึงตายก็ตกใจ รีบไปไขกำปั่นเอาเงินตราและทอง พร้อมทั้งจัดของกำนัลให้บ่าวไพร่บรรทุกเรือ รีบเดินทางเข้ากรุง  นำของกำนัลไปให้พัศดี ขอเข้าพบขุนช้าง พัศดีก็ให้ทำมรงพาไปพบ เห็นสภาพในคุก เมื่อพบขุนช้างแล้ว ทำมรงก็ให้ถอดขื่อคา มากินอาหารที่นางวันทองนำไปให้ ขุนช้างขอให้นางวันทอง ติดสินบนท่านข้างใน ให้ช่วยเพ็ดทูลขอพระราชทานโทษ  นางวันทองบอกว่า จะให้ใครช่วยคงไม่ได้ แต่จะอ้อนวอนพระไวยให้ช่วย จากนั้นก็ไปหาพระไวย อ้อนวอนให้ช่วยทูลขอชีวิตขุนช้างไว้ จนพระไวยใจอ่อนด้วยความสงสารมารดา

 

 พระไวยทูลขอโทษขุนช้าง

          วันรุ่งขึ้นเมื่อสมเด็จพระพันวษาออกว่าราชการ พระไวยรอโอกาสเมื่อหมดเรื่องราชการแล้ว ทูลขอโทษให้ขุนช้าง ด้วยเหตุผลเพื่อสนองคุณมารดา  สมเด็จพระพันวษาทรงดำริเห็นว่า ถ้าไม่ไว้ชีวิตขุนช้าง  นางวันทองคงตรอมใจตาย ลูกชายคือพระไวยย่อมระคายเคือง จึงให้ถอดขุนช้างออกจากคุก แล้วส่งตัวให้พระไวย พระรองเมืองรับพระราชโองการแล้ว ก็รีบไปดำเนินการ จากนั้นก็พาขุนช้างไปเรือนพระไวย พระไวยสั่งสร้อยฟ้าศรีมาลา ให้จัดอาหารเลี้ยงนางวันทอง และขุนช้าง ขุนช้างเอาเงินยี่สิบชั่งให้พระไวย หวังตอบแทนคุณ แต่พระไวยไม่รับ เพราะเหมือนกับเอาสินบนจากมารดาตน พอตกค่ำ นางวันทองกับขุนช้างก็ลาพระไวย ลงเรือกลับสุพรรณ แล้วนิมนต์พระมาสวดสะเดาะเคราะห์ อาบน้ำมนต์อยู่สามวัน

           

         

         

   

สร้างโดย: 
นางสาวรัชนี ทองถาวรีย์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 477 คน กำลังออนไลน์