ลิลิตตะเลงพ่าย

ลิลิตตะเลงพ่าย

       ลิลิตตะเลงพ่ายเป็นวรรณคดีไทยที่แต่งด้วยถ้อยคำไพเราะและสามารถถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างลึกซึ้งอย่างยิ่งทั้งนี้เพราะกวีได้ตอบสนองรสนิยมของคนไทย ที่มีจิตใจละเอียดอ่อน ชอบวรรณศิลป์ ชอบใช้ถ้อยคำที่คล้องจอง คมคาย และชวนคิด ลิลิตตะเลงพ่ายเป็นหนังสือที่มีศิลปะการใช้ภาษาที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการแต่งเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ผู้ทรงกอบกู้ชาติความดีเด่นของลิลิตตะเลงพ่ายคือ การเล่นคำและการใช้โวหารอุปมาอุปไมย เพื่อให้เกิดภาพพจน์ จินตนาการ และสะเทือนอารมณ์ กวีได้สอดแทรกความรู้ต่างๆมากมาย เช่น การจัดกระบวนทัพของไทยสมัยอยุธยา และยุทธศาสตร์แต่ไม่เคร่งครัดในด้านภูมิศาสตร์ นอกจากนี้กวียังได้นำชื่อนกและชื่อต้นไม้มาใช้ในบทครวญถึงนางตามแบบอย่างลิลิตยวนพ่าย

       ตะเลง แปลว่า มอญ  พ่าย แปลว่า แพ้ รวมความหมายว่า มอญแพ้  แต่ในที่นี้ หมายถึง รวมพม่าด้วย เพราะเมื่อพม่าได้ครอบครองดินแดนและยึดเมืองหลวงของมอญ คือ กรุงหงสาวดี เป็นเมืองหลวงของตน พระเจ้าแผ่นดินจึงเป็นพระเจ้าแผ่นดินมอญด้วย และทหารที่เกณฑ์มารบก็มีทหารมอญปะปนมาด้วยมากมาย เราจึงเรียกพม่าและมอญรวมๆไปว่า " ตะเลง

http://www.sahavicha.com/UserFiles/Image/a99.jpg

       เนื้อเรื่องย่อ
          แผ่นดินไทยเปลี่ยนกษัตริย์จากพระมหาธรรมราชามาเป็นแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ฝ่ายพม่าขณะนั้นพระเจ้าหงสาวดี(นันทบุเรง) จึงรับสั่งให้พระมหาอุปราชา (มังกะยอชวา) ออกไปดูลาดเลา ถ้าเห็นว่าไทยแย่งราชสมบัติกันระหว่างสมเด็จพระนเรศวรกับสมเด็จพระเอกาทศรถก็ให้ถือโอกาสรบเลย   
พระมหาอุปราชาไม่รับปากในทันที เพราะโหรทำนายว่าพระเคราะห์ถึงฆาต พระเจ้าหงสาวดีจึงตรัสให้พระมหาอุปราชาเกิดขัตติยมานะขึ้น
โดยตรัสว่า ให้ไปสวมเสื้อสตรีจะได้สร่างเคราะห์ พระมหาอุปราชาจึงออกรบทั้งเพราะกลัวพระราชอาญา อับอายหมู่อมาตย์ และเกิดขัตติยมานะ    ทรงออกเดินทางพร้อมกับกองทัพจำนวน ๕๐๐๐๐๐ คน ก่อนออกเดินทางได้ล่ำลานางสนม    พระมหาอุปราชาทรงเดินทางผ่านแม่น้ำ    เมื่อมาถึงที่ลำกระเพินมีรับสั่งให้สร้างสะพานขึ้นมาเพื่อใช้ข้ามฟากมาไทย   เดินทางถึงตำบลพนมทวน ได้เกิดลางร้ายขึ้นแก่องค์พระมหาอุปราชา คือ ลมเวรัมภาพัดฉัตร ๕ ชั้นของพระองค์หัก ทรงเสียขวัญ รับสั่งให้โหรทำนายเกี่ยวกับเหตุที่เกิดขึ้น โหรจำต้องกราบบังคมทูลว่าเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นตอนเย็นจะดี พระมหาอุปราชาก็ไม่ค่อยทรงเชื่อในคำทำนายนั้น   ทรงรำลึกถึงพระราชบิดาและประเทศพม่าเมืองกาญจนบุรีทราบว่ากองทัพพม่ายกมาจึงให้ขุนแผนนำข่าวมาบอกแก่สมเด็จพระนเรศวร แล้วชาวเมืองกาญจนบุรีก็พากันหลบหนีเข้าไปในป่า
        สมเด็จพระนเรศวรทรงตระเตรียมจะยกทัพไปตีเขมร เพราะเขมรชอบต้อนคนไปเป็นเชลย เมื่อเห็นว่าไทยกำลังทำสงครามกับต่างชาติอยู่ทรงเป็นห่วงว่าจะไม่มีใครดูแลพระนคร ทันใดนั้นทูตเมืองกาญจนบุรีก็มาบอกข่าวแก่พระองค์ว่าพม่ายกทัพมาแล้ว สมเด็จพระนเรศวรรู้สึกดีพระทัยมาก ทรงถามหมู่อมาตย์ว่าควรยกทัพไปสู้นอกเมืองดีหรือไม่ ทั้งทหารและพระองค์ต่างก็เห็นพ้องต้องกันว่าควรยกทัพไปสู้นอกเมือง   สมเด็จพระนเรศวรทรงส่งทัพหน้าเดินทางไปก่อนโดย ให้ชาวเมืองราชบุรีทำลายสะพานที่ลำกระเพิน เพราะหมายจะทรงเผด็จศึกภายในประเทศ และกองทัพหน้าตั้งที่หนองสาหร่าย ชัยภูมิพยุหไกสสร (สีหนาม) จัดแบบตรีเสนาเก้ากอง กองทัพของไทยมีทั้งสิ้นห้าหมื่นคน  กองทัพหน้าของไทยปะทะกับพม่าที่ตำบลโคกเผาข้าว สมเด็จพระนเรศวรทรงให้โหรมามหุติฤกษ์ เพื่อยกทัพหลวงตามไป ได้ฤกษ์ รวิวารมหันต์ ๑๑ ค่ำ ย่ำรุ่ง ๒ นาฬิกา เศษสังขยา ๕ บาท เดือนบุษยมาส (วันอาทิตย์ ๑๑ ค่ำ ตอนแปดโมงครึ่ง เดือนมกราคม) ต่อมาทรงยกพลขึ้นบกที่ตำบลป่าโมก คืนนั้นสมเด็จพระนเรศวรทรงพระสุบินว่า ได้สู้กับจระเข้ซึ่งมาพร้อมกับสายน้ำจากทิศตะวันตก พระองค์สามารถฆ่าจระเข้ตายได้ เมื่อทรงตื่นบรรทมให้โทรทำนาย โหรทำนายว่าความฝันครั้งนี้เป็นเพราะเทพสังหรณ์หมายความว่า จะทรงชนะศึกและฆ่าพระมหาอุปราชาได้

 

http://topicstock.pantip.com/writer/topicstock/2009/08/W8196583/W8196583-3.jpg


       เช้าวันรุ่งขึ้น ระหว่างรอฤกษ์เดินทัพ สมเด็จพระนเรศวรและเหล่าพลได้เห็นนิมิต คือ พระบรมสารีริกธาตุลอยมาจากทิศใต้เวียนขวา ๓ ครั้งแล้วหายไปทางทิศเหนือขณะที่กองทัพไทยกำลังทำพิธีโขลนทวาร ก็ได้ยินเสียงปืนดังขึ้น สมเด็จพระนเรศวรให้คนไปสืบลาดเลาได้ตัวทหารมานายหนึ่ง สืบถามได้ว่ากองทัพหน้าของไทยแตก หมู่อมาตย์แนะนำว่าควรยกทัพไปหนุนช่วยกองทัพหน้า แต่สมเด็จพระนเรศวรไม่ทรงเห็นด้วย ทรงเห็นว่า ควรใช้อุบายลวงพม่าโดยให้กองทัพหน้าหนีมาเรื่อยๆจนกองทัพหน้าเกิดความชะล่าใจ แล้วกองทัพหลวงคอยยกทัพหน่วงเข้ามา    เมื่อช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและช้างทรงของสมเด็จพระเอกาทศรถได้ยินเสียงปืนก็เกิดตกมันวิ่งฝ่าเข้าไปในกองทัพหม่า  ทันใดนั้นก็เกิดฝุ่นเต็มสนามรบเพราะเทวดา ทหารพม่าแม้นจะยิงอาวุธเท่าไหร่ก็ไม่สามารถมาถูกต้องพระวรกายของสองพระองค์ได้ สมเด็จพระนเรศวรทรงอธิษฐานขอเทพให้ฝุ่นเหล่านี้หมดไป เมื่ออธิษฐานเสร็จ ฝุ่นก็จางหายไป   พระมหาอุปราชาให้คนแต่งตัวแบบพระองค์ถึง ๑๖ คน แต่พระนเรศวรสังเกตจากเครื่องยศและทหารแวดล้อมจึงทรงทราบว่าพระมหาอุปราชาคือคนไหน     สมเด็จพระนเรศวรชวนสมเด็จพระมหาอุปราชามาชนช้าง ในพระราชดำรัสครั้งนั้นแสดงให้เห็นว่าทรงชื่นชมการชนช้างมาก พระมหาอุปราชาทรงเกิดขัตติยมานะออกรบ สมเด็จพระนเรศวรชนช้างกับพระมหาอุปราชา ทรงใช้พระแสงดาบพลพ่ายฟันสมเด็จพระมหาอุปราชาขาดคอช้าง ฝ่ายสมเด็จพระเอกาทศรถก็ทรงสู้กับมางจาชโร และทรงฆ่ามางจาชโรตายสมเด็จพระนเรศวรทรงสร้างสถูปประกาศวีรกรรมให้อนุชนได้ทราบที่ตำบลตระพังตรุ ทรงให้เจ้าเมืองมล่วนกลับไปทูลข่าวสารการสิ้นพระชนม์ของพระมหาอุปราชาแก่พระเจ้ากรุงหงสาวดี และทรงปูนบำเหน็จรางวัลเกียรติยศแก่เจ้าราราฆะและขุนศรีคชคง และให้บำเหน็จรางวัลแก่ครอบครัวของหมื่นภักดีควรและนายมหานุภาพ
        สมเด็จพระนเรศวรจะทรงคาดโทษผู้ไม่ตามเสด็จเข้าไปในกองทัพพม่าตามกฎอัยการศึก แต่สมเด็จพระวันรัต วัดป่าแก้วและพระราชาคณะเดินทางมาขอพระราชทานอภัยโทษแก่มวลทหาร โดยกล่าวว่าพระองค์สามารถรบชนะด้วยตนเอง และควรให้โอกาสทหารเหล่านี้แก้ตัว

 

  

สร้างโดย: 
นส.อารียาและอ.เกวลิน โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 282 คน กำลังออนไลน์