ศัพท์สังคีตทางดนตรี

ศัพท์สังคีต 

กรอ เป็นวิธีบรรเลงเครื่องดนตรีประเภทตี (เช่น ระนาด ฆ้องวง) อย่างหนึ่ง ซึ่งใช้วิธีตี ๒ มือ สลับกันถี่ ๆ เหมือนรัวเสียงเดียว (ดูคำว่า รัว) หากแต่วิธีที่เรียกว่า "กรอ" นี้ มือทั้งสอง มิได้ตีอยู่ที่ลูกเดียวกัน 


ทางกรอ เป็นคำเรียกทางของการดำเนินทำนองเพลงอย่างหนึ่งที่ดำเนินไปโดยใช้เสียงยาว ๆ ช้า ๆ เพลงที่ดำเนินทำนองอย่างนี้ เรียกว่า "ทางกรอ" ที่เรียกอย่างนี้ก็ด้วยเหตุที่เพลงที่มีเสียง ยาว ๆ นั้น เครื่องดนตรีประเภทตีไม่สามารถจะทำเสียงให้ยาวได้ จึงต้องตีกรอ (ดูคำว่า กรอ) ให้ได้ความยาวเท่ากับความประสงค์ของทำนองเพลง เพลงทางกรอนี้ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เป็นต้นคิดขึ้น เป็นทางเพลงที่นิยมมาก 


กวาด คือ วิธีปฏิบัติอย่างหนึ่งของเครื่องดนตรีประเภทตี (เช่น ระนาด ฆ้องวง) โดยใช้ไม้ตี ลากไปบนเครื่องดนตรี (ลูกระนาดหรือลูกฆ้อง) ซึ่งมีกิริยาอย่างเดียวกับใช้ไม้กวาด กวาดผง การกวาดนี้จะกวาดจากเสียงสูงมาหาเสียงต่ำหรือจากเสียงต่ำไปหาเสียงสูงก็ได้


เก็บ ได้แก่ การบรรเลงที่เพิ่มเติมเสียงสอดแทรกแซงให้มีพยางค์ถี่ขึ้นกว่าเนื้อเพลงธรรมดา ถ้าจะเขียนเป็นโน้ตสากลในจังหวะ ๒/๔ ก็จะเป็นจังหวะละ ๔ ตัว ห้องละ ๘ ตัว (เขบ็ต ๒ ชั้นทั้ง ๘ ตัว) อธิบาย : การบรรเลงที่เรียกว่า เก็บ นี้ เป็นวิธีการบรรเลงของระนาดเอก และ ฆ้องวงเล็ก ส่วนเครื่องดนตรีอื่น ๆ ใช้เป็นตอน ๆ ตัวอย่างโน้ต "เก็บ" รวมบันทึก เปรียบเทียบไว้กับ "สะบัด" (ดูคำว่าสะบัด)


ขยี้ เป็นการบรรเลงที่เพิ่มเติมเสียงแทรกแซงให้มีพยางค์ถี่ขึ้น ไปจาก "เก็บ" อีก ๑ เท่า ถ้า จะเขียนเป็นโน้ตสากลในจังหวะ ๒/๔ ก็จะเป็นจังหวะละ ๘ ตัว ห้องละ ๑๖ ตัว (เขบ็ต ๓ ชั้นทั้ง ๑๖ ตัว) อธิบาย : การบรรเลงที่เรียกว่าขยี้นี้ จะบรรเลงตลอดทั้งประโยคของเพลง หรือ จะบรรเลงสั้นยาวเพียงใดแล้วแต่ผู้บรรเลงจะเห็นสมควร วิธีบรรเลงอย่างนี้บางท่านก็ เรียกว่า "เก็บ ๖ ชั้น" ซึ่งถ้าจะพิจารณาถึงหลักการกำหนดอัตรา (๒ ชั้น ๓ ชั้น) แล้ว คำว่า ๖ ชั้นดูจะไม่ถูกต้อง ตัวอย่างโน้ต "ขยี้" รวมบันทึกเปรียบเทียบไว้กับ "สะบัด" (ดูคำว่า สะบัด)


ขับ คือ การเปล่งเสียงออกไปอย่างเดียวกับร้อง (ดูคำว่า ร้อง) แต่การขับมักใช้ในทำนอง ที่มีความยาวไม่แน่นอน การเดินทำนองเป็นเพียงแนวทางเท่านั้น และถือถ้อยคำเป็น สำคัญ ทำนองต้องน้อมเข้าหาถ้อยคำ เช่น ขับเสภา เป็นต้น การขับกับร้องมีวิธีการที่ คล้ายคลึง และมักจะระคนปนกันอยู่ จึงมักจะเรียกรวม ๆ กันว่า "ขับร้อง"

 

ครวญ เป็นวิธีร้องอย่างหนึ่งซึ่งสอดแทรกเสียงเอื้อนยาว ๆ ให้มีสำเนียงครวญคร่ำรำพัน และ เสียงเอื้อนที่สอดแทรกนี้มักจะขยายให้ทำนองเพลงยาวออกไปจากปรกติ อธิบาย: เพลงที่จะแทรกทำนองครวญเข้ามานี้ ใช้เฉพาะแต่เพลงที่แสดงอารมณ์ โศกเศร้า เช่น เพลงโอ้ปี่ และเพลงร่าย (ในบทโศก) เป็นต้น และบทร้องทำนองครวญ ก็จะต้องเป็นคำกลอนสุดท้ายของบทนั้น ซึ่งเมื่อร้องจบคำนี้แล้วปี่พาทย์ก็จะบรรเลง เพลงโอดประกอบกิริยาร้องไห้ติดต่อกันไป


  คร่อม คือ การบรรเลงทำนองหรือบรรเลงเครื่องประกอบจังหวะ หรือร้องดำเนินไปโดยไม่ ตรงกับจังหวะที่ถูกต้อง เสียงที่ควรจะตกลงตรงจังหวะกลายเป็นตกลงในระหว่าง จังหวะซึ่งกระทำไปโดยไม่มีเจตนา และถือว่าเป็นการกระทำที่ผิด เรียกอย่างเต็มว่า "คร่อมจังหวะ"


ครั่น เป็นวิธีที่ทำให้เสียงสะดุดสะเทือน เพื่อความไพเราะเหมาะสมกับทำนองเพลงบางตอน อธิบาย : การทำเสียงให้สะดุดและสะเทือนที่เรียกว่าครั่นนี้ ใช้เฉพาะกับการขับร้อง หรือเครื่องดนตรีประเภทเป่า เช่น ปี่ ขลุ่ย และเครื่องดนตรีประเภทสี เช่น ซอต่าง ๆ เท่านั้น การขับร้องคั่นด้วยคอ เครื่องดนตรีประเภทเป่า ครั่นด้วยลมจากลำคอและเครื่อง ดนตรีประเภทสีครั่นด้วยคันสี (หรือคันชัก)

Home

สร้างโดย: 
น.ส. อนันตพร โอตตัปปะวงศ์ เเละ อ.เพ็ญศรี รอดจากภัย โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 340 คน กำลังออนไลน์