.~. เบื้องหลัง .~.

  สมดุลแห่งอำนาจ

 

ภาพล้อเลียนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างประเทศในทวีปยุโรป ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/f/f3/WorldWar1-WebAlliance.jpg

 

หนึ่งในเป้าหมายของประเทศมหาอำนาจก่อนที่จะเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งก็คือ การรักษา "สมดุลแห่งอำนาจ" ในทวีปยุโรป ทำให้ต่อมาได้กลายเป็นระบบที่ประณีตของข้อตกลงและสนธิสัญญาต่าง ๆ ทั้งต่อหน้า (เผยแพร่ต่อสาธารณชน) และลับหลัง (เป็นความลับ) ตัวอย่างเช่น หลังจากสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย อังกฤษก็ได้ให้ความช่วยเหลือแก่เยอรมนีอันแข็งแกร่ง ซึ่งอังกฤษหวังว่าจะช่วยรักษาสมดุลกับศัตรูทางวัฒนธรรมของอังกฤษ นั่นคือ ฝรั่งเศส แต่ว่าภายหลังจากที่เยอรมนีเริ่มที่จะสร้างกองทัพเรือขึ้นมาแข่งขันกับอังกฤษ ก็ทำให้สถานภาพนี้เปลี่ยนไป ฝรั่งเศสผู้กำลังหาพันธมิตรใหม่เพื่อรักษาความปลอดภัยจากอันตรายของเยอรมนี คือ จักรวรรดิรัสเซีย ส่วนจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งเผชิญกับภัยจากรัสเซีย ได้รับความช่วยเหลือจากเยอรมนี

เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งปะทุ สนธิสัญญาเหล่านี้เป็นแค่ตัวตัดสินว่าพวกเขาจะเข้าร่วมสงครามกับฝ่ายใด อังกฤษผู้ไม่มีสนธิสัญญาผูกพันกับฝรั่งเศสและรัสเซีย แต่ก็เข้าร่วมสงครามกับฝ่ายพันธมิตร ทางด้านอิตาลีมีทั้งสนธิสัญญาผูกพันกับทั้งเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี แต่ก็ไม่ได้เข้าร่วมสงครามกับฝ่ายมหาอำนาจกลาง กลับเป็นฝ่ายพันธมิตร บางที สนธิสัญญาที่น่าสังเกตที่สุดน่าจะเป็นสนธิสัญญาการป้องกันร่วมกันระหว่างเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งเยอรมนีได้ร่างขึ้นในปี 1909 โดยได้กล่าวไว้ว่า เยอรมนีจะยืนเคียงข้างจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี แม้ว่าพวกเขาจะเป็นฝ่ายเริ่มสงครามก่อนก็ตาม 

 

  การกีดกันทางการค้า  คอร์เดล คูล ซึ่งเป็นเลขานุการของประธานาธิบดี แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ เชื่อว่าการกีดกันทางการค้าเป็นทั้งสาเหตุของทั้งสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี 1944 เขาได้มีส่วนในการร่วมร่างระบบเบร็ตตัน วูดส์เพื่อลดการกีดกันทางการค้าและกำจัดสิ่งที่เขาเห็นว่าเป็นต้นเหตุของความขัดแย้ง 

 

  การแข่งขันทางการเมืองและมนุษยชาติ

 

ความขัดแย้งของยุโรปในปี 1914   สีเหลือง: ประเทศเป็นกลาง
สีแดง: ฝ่ายมหาอำนาจกลาง   สีเขียว:ฝ่ายพันธมิตร

 สงครามบนคาบสมุทรบอลข่าน ระหว่างจักรวรรดิออสเตรีย - ฮังการี และเซอร์เบียนั้นถูกพิจารณาว่าไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ด้วยอิทธิพลของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีได้เสื่อมถอยและการเจริญเติบโตของลัทธิรวมเชื้อชาติสลาฟ  และความเจิรญขึ้นของลัทธิชาตินิยมภายใน ประจวบกับการเจริญเติบโตของเซอร์เบีย  ซึ่งความรู้สึกต่อต้านชาวออสเตรียอาจจะมีความรุนแรงมากที่สุด  จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีนั้นได้ยึดครองแคว้นบอลเนีย - เฮอร์เซโกวิเนียของจักรวรรดิออตโตมาน    ซึ่งมีจำนวนประชากรชาวเซิร์บเป็นจำนวนมากในปี 1878 และจากนั้นก็ได้ถูกยุบรวมเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีในปี 1908 ความรู้สึกรักชาติที่เพิ่มมากขึ้นพร้อมกับที่จักรวรรดิออตโตมาน รัสเซียนั้นได้สนับสนุนการเคลื่อนไหวเพื่อการรวมเชื้อชาติสลาฟ และกระตุ้นโดยมนุษยธรรมและความจงรักภักดีต่อศาสนาและการแข่งขันกับจักรวรรดิออสเตรีย - ฮังการีย้อนกลับไปยังสงครามไครเมีย  เหตุการณ์ปัจจุบันอย่างเช่น สนธิสัญญาล้มเหลวระหว่างออสเตรีย - ฮังการีกับรัสเซีย  และความฝันเก่าตั้งแต่ต้นศตวรรษเรื่องท่าเรือน้ำอุ่นก็ได้ถูกกระตุ้นในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

นอกจากในบอสเนียแล้ว ก็ยังมีเจตนาอยู่ในสถานที่อื่น ๆ อีกเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่นการสูญเสียแคว้นอัลซาซ และแคว้นลอร์เรน  ภายหลังสงครามฝรั่งเศส - ปรัสเซีย  ได้ก่อให้เกิดความรู้สึกต่อต้านในกลุ่มประชากรไปโดยปริยาย  ในที่สุด ฝรั่งเศสก็ได้รัสเซียเป็นพันธมิตร และได้สร้างสิ่งที่ตั้งเค้าว่าจะกลายเป็นบศึกสองด้านกับเยอรมนี

                                                           

สร้างโดย: 
น.ส. พิชาภพ รัตนางกูร และ อาจารย์กัญฐินีภรณ์ ประถมด้วง โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 396 คน กำลังออนไลน์