Heartavarage



http://healthy.in.th/files/200902/heartrate.jpg

อัตราการเต้นของหัวใจ ปกติเป็นอย่างไร?
heart rate pulse ชีพจร


ปกติ
ในผู้ใหญ่ อัตราเต้น เฉลี่ย ประมาณ 72 ครั้งต่อนาที (ประมาณ ช่วง 60-80
ครั้งต่อนาที) หรือ ถ้าเอาง่ายๆ คือ ไม่เกิน 100 ถือว่าใช้ได้ แต่ถ้าเกิน
ต้องระวังโรคต่างๆเช่นโรคหัวใจ โรคไทรอยด์เป็นพิษ 

ถ้าเต้นช้า แต่ไม่มีอาการหรือโรคอะไร ไม่เป็นไร เช่นนักกีฬา ที่ฟิตมากๆ
บางครั้งอัตราการเต้นหัวใจลดเหลือแค่ 40-50 ครั้ง
ต่อนาทีเท่านั้น(พวกนี้จะเหนื่อยยากกว่าคนปกติ) 

แต่เด็กทารก เล็กๆ จะมีอัตราการเต้นสูงกว่าคนโต 


ทุกจังหวะการเต้นของหัวใจ คือสัญญาณวัดสุขภาพของคุณ


เป็น ความจริงที่ว่า...ตลอดช่วงชีวิตของคนเรา นับตั้งแต่ยังเป็นทารกอยู่ในครรภ์ จนกระทั่งลมหายใจสุดท้ายสูญสิ้นไป ทุกวินาทีเราผูกพันอยู่กับ ‘ จังหวะ ' เป็นจังหวะที่สม่ำเสมอ พอดี ไม่ช้า ไม่เร็วจนเกินไป เรียกว่าเป็นจังหวะแห่งชีวิต นั่นคือ “ จังหวะของหัวใจ ”

โดย ปกติอัตราการเต้นของหัวใจในผู้ใหญ่ทั่วไปเฉลี่ยประมาณ 72 ครั้งต่อนาที หรือหากนับเป็นช่วงคืออยู่ในช่วงระหว่าง 60 – 100 ครั้งต่อนาที ไม่ช้าหรือเร็วเกินกว่านี้มากนัก แต่เด็กทารกเล็กๆ จะมีอัตราการเต้นสูงกว่าคนที่โตแล้ว หากเมื่อใดเกิดภาวะที่หัวใจเต้นช้าหรือเร็ว หรือเต้นผิดจังหวะมากจนเกินไป เราเรียกว่า “ ภาวะการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ ” ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงแต่เนิ่นๆ เพื่อหาทางรักษาที่ถูกต้อง

ภาวะ การเต้นของหัวใจผิดจังหวะ เป็นโรคหัวใจที่พบได้บ่อย ส่วนมากมักพบในผู้ใหญ่ โดยผู้ป่วยจะมีอาการหัวใจเต้นแรง ใจสั่น หัวใจเต้นสะดุด หรือบางครั้งมีอาการเหมือนกับหัวใจหยุดเดินไป 1-2 จังหวะ หัวใจเต้นเร็ว ในบางรายมีอาการใจหวิว วูบ ในรายที่เป็นรุนแรงอาจมีอาการเป็นลม หมดสติ บางรายอาจมีอาการเหนื่อยง่าย หรือเจ็บหน้าอก ภาวะการเต้นหัวใจผิดจังหวะ สามารถพบได้ในผู้ป่วยที่การทำงานหัวใจปกติหรือผิดปกติก็ได้ ในกรณีที่การทำงานหัวใจปกติ การรักษาด้วยยา หรือการจี้ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง สามารถทำให้หายเป็นปกติได้

การ ตรวจวินิจฉัยภาวการณ์เต้นของหัวใจว่าผิดจังหวะหรือไม่นั้น สามารถทำได้หลายวิธี อาทิ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะที่มีอาการ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพาขณะมีอาการ การตรวจโดยฝังเครื่องบันทึกการเต้นของหัวใจ และการตรวจทางสรีระวิทยาไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งมักทำร่วมไปกับการจี้ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงผ่านสายสวนหัวใจ


นอก จากนั้น การตรวจในภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจต้องตรวจดูว่าผู้ป่วยมีโรคหัวใจชนิดอื่น ร่วมด้วยหรือไม่ ซึ่งได้แก่ การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง การตรวจโดยวิธี Tilt Table Test การตรวจหัวใจโดยใช้ Computer ชนิด CT64 Slice และ Cardiac MRI รวมทั้งการฉีดสีผ่านสายสวนหัวใจ เป็นต้น

สำหรับ การรักษาผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะ กรณีที่การเต้นของหัวใจช้ากว่าปกติ โดยผู้ป่วยอาจมีอาการเป็นลม หรือเหนื่อยง่าย สามารถรักษาได้ด้วยการฝัง เครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker) เป็น เครื่องมือขนาดเล็กๆ กว้างยาวประมาณ 4-5 เซนติเมตร หนาประมาณ 1/2 เซนติเมตร ภายในจะประกอบด้วย ส่วนรับรู้การเต้นของหัวใจ ส่วนส่งพลังงานไฟฟ้าไปกระตุ้นหัวใจ ซึ่งเมื่อพบว่าหัวใจเต้นช้ากว่าความต้องการของร่างกาย จะทำหน้าที่กระตุ้นให้หัวใจเต้นในอัตราที่ปกติ และสุดท้ายส่วนของแบตเตอรี่ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักให้พลังงานได้ 8-10 ปี แล้วแต่ปริมาณการใช้งาน

ก่อน ทำการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ ( Pacemaker) แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วย งดน้ำงดอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนทำ วิธีการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ อาจจะทำได้ทั้งที่ห้องผ่าตัดหรือห้องสวนหัวใจ ที่มีเครื่องเอกซเรย์พิเศษ เพราะเป็นการผ่าตัดเล็ก ไม่ต้องดมยาสลบ ใช้เพียงยาชาเฉพาะที่เท่านั้น มักใส่สายเข้าทางหลอดเลือดดำบริเวณใต้กระดูกไหปลาร้า ฝั่งของแขนข้างที่ไม่ถนัด เช่น แขนซ้าย เป็นต้น ส่วนตัวเครื่องจะฝังไว้ใต้ชั้นไขมันฝั่งเดียวกัน


หลัง ใส่เครื่องเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะแนะนำผู้ป่วยไม่ให้ขยับแขนด้านนั้นมาก ประมาณ 24 ชั่วโมง จากนั้นสามารถกลับบ้านได้ โดยพยายามดูแลแผลให้แห้งดี อย่างน้อย 1 สัปดาห์ หลังจากนั้น ผู้ป่วย ควรมาพบแพทย์เป็นระยะๆ โดยเฉพาะ 3 เดือนแรกหลังใส่เครื่อง เพราะจะได้รับการตรวจเช็ค เครื่องอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ มีการปรับพลังงานและ โปรแกรมของเครื่องให้เหมาะสม เพื่อเป็นการยืดอายุของแบตเตอรี่อีกทางหนึ่งด้วย หากในกรณีที่ต้องเดินทางผ่านเครื่องตรวจจับโลหะในสนามบิน ต้องแสดงบัตรประจำตัวผู้ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ เพื่อจะได้ไม่เป็นการยุ่งยากในการตรวจค้น
นอกจากนี้ มีสิ่งที่ควรระมัดระวังคือ ไม่อนุญาตให้ผู้ป่วยที่ฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ ใช้เครื่องตรวจสมอง แบบ MRI เพราะเครื่องจะถูกแรงแม่เหล็กเหนี่ยวนำ ทำให้เสียหายได้ หากต้องมีการเข้ารับการผ่าตัด ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบเสมอ รวมทั้งการฉายแสง รักษามะเร็งด้วย
ส่วนการรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ในกรณีที่ หัวใจเกิดอาการเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแรง หัวใจจะหยุดสูบฉีดเลือด และอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาไม่กี่นาที การรักษาที่ให้ผลดีที่สุด คือการส่งไฟฟ้าพลังงานสูงผ่านหัวใจ เพื่อให้สัญญาณไฟฟ้าหัวใจที่ผิดจังหวะกลับมาปกติในทันที ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวผิดปกติมากๆ มีโอกาสสูงที่จะเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะขั้นรุนแรง ซึ่งหากเกิดขึ้นนอกโรงพยาบาลโอกาสที่จะได้รับการักษาด้วยเครื่องช็อคไฟฟ้า ในทันทีนั้นมีน้อย ผู้ป่วยเหล่านี้ควรได้รับการผ่าตัดใส่ เครื่องช็อคไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ ชนิดผ่าตัดฝังติดตัวผู้ป่วย (AICD : Automatic Implantable Cardioverter Defibrillator)

เครื่อง AICD นี้ เป็นอุปกรณ์อิเลคทรอนิค เช่นเดียวกับเครื่องกระตุ้นหัวใจเทียม (Pacemaker) แต่มีขนาดใหญ่กว่า 2 เท่า เพราะต้องใช้ไฟฟ้าพลังงานสูง ส่วนของแบตเตอรี่จึงมีขนาดใหญ่กว่ามาก แต่อายุแบตเตอรี่จะใช้งานได้ 5 - 7 ปี เช่นเดียวกับเครื่องกระตุ้นหัวใจเทียม (Pacemaker) แพทย์จะใส่สายเข้าไปในห้องหัวใจ โดยผ่านทางหลอดเลือดดำ สายนี้จะรับสัญญาณไฟฟ้าหัวใจส่งไปที่เครื่อง เมื่อมีสัญญาณที่บ่งถึงหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง เครื่องจะส่งไฟฟ้าพลังงานสูง มาที่หัวใจผ่านสายดังกล่าวให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจกลับมาเป็นปกติได้ในเวลาไม่กี่ วินาที ก่อนที่ผู้ป่วยจะหมดสติ

เครื่อง AICD นี้ ทำหน้าที่ปรับหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรงให้กลับคืนอย่างรวดเร็ว แต่ไม่ใช่ลดหรือป้องกันภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง ผู้ป่วยจึงต้องได้รับการรักษาจากแพทย์โรคหัวใจ ตามอาการและสภาพโรคหัวใจ โดยทั่วไปแพทย์จะนัดผู้ป่วยทุก 3-6 เดือน เพื่อตรวจเช็คและสอบถามอาการต่างๆ ตรวจผิวหนังบริเวณที่ฝังเครื่อง หรืออาจปรับเปลี่ยนโปรมแกรมตามความเหมาะสม

สำหรับ การรักษาภาวะการเต้นหัวใจผิดจังหวะ ในกรณีที่การทำงานหัวใจปกติ สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ โดยสามารถใช้ยาควบคุมการเต้นหัวใจ และโดยวิธีการจี้ด้วยไฟฟ้าผ่านคลื่นเสียงความถี่สูง ( Electro Physiologic Study and Radiofrequency Ablation) เป็นการรักษาโดยไม่ต้องทำการผ่าตัด ไม่มีแผลจากการผ่าตัด ไม่ต้องใช้ยาสลบและการใส่ท่อช่วยหายใจไว้ แต่เป็นการรักษาโดยผ่านสายสวนหัวใจ โดยใช้ยาให้ผู้ป่วยหลับแบบครึ่งหลับครึ่งตื่น เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายไม่ต้องกังวล และไม่เจ็บตัวขณะที่ทำการรักษา


วิธี การคือ แพทย์จะทำการสวนสายสวนหัวใจ จากบริเวณขาหนีบ หลังจากฉีดยาชาเฉพาะที่ (เช่นเดียวกับการตรวจสวนหัวใจเพื่อดูเส้นเลือดหัวใจโดยการฉีดสี) สายสวนหัวใจชนิดพิเศษดังกล่าวจะมีขั้วโลหะที่ส่วนปลาย จึงสามารถบันทึกกระแสไฟฟ้าในหัวใจ แสดงให้เห็นบนจอ Monitor ซึ่งแพทย์ผู้รักษาจะขยับสายสวนหัวใจดังกล่าวไปยังตำแหน่งต่างๆ ของหัวใจ เพื่อหาตำแหน่งของวงจรไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติ ซึ่งอาจทำร่วมกับการกระตุ้นหัวใจช่วงสั้นๆ เมื่อพบตำแหน่งแล้ว จะส่งคลื่นเสียงความถี่สูงไปยังตำแหน่งดังกล่าวเป็นระยะเวลา 30 - 60 วินาที คลื่นเสียงความถี่สูงดังกล่าวจะทำให้เกิดความร้อนขึ้นที่ปลายสายสวนหัวใจ ทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นจาก 37 องศา เป็น 55 องศา ซึ่งเท่ากับอุณหภูมิของน้ำอุ่น การรักษาโดยวิธีดังกล่าวได้ผล 95% โดยมีผลแทรกซ้อนน้อยกว่า 1% และใช้เวลาพักฟื้นในโรงพยาบาลเพียง 1 คืนหลังจากทำเสร็จ และภาวะการเต้นหัวใจผิดปกติ ที่พบร่วมกับโรคของหัวใจ ควรรักษาโรคของหัวใจดังกล่าวร่วมด้วย

ผู้ ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ควรมีการดูแลรักษาตนเอง โดยการพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด ออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์ หลีกเลี่ยงชา กาแฟ แอลกอฮอล์ หรือยากระตุ้นบางชนิด ยาบางชนิดอาจมีผลต่อการเต้นของหัวใจ ถ้าไม่แน่ใจควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาก่อนรับประทานยา

คุณตรวจสุขภาพหัวใจครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่...หัวใจของคุณยังคงเต้นในจังหวะที่ปกติหรือไม่?




                            


มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 462 คน กำลังออนไลน์