ระบบเครือข่าย

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (computer network) คือ ระบบการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปการที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลงการโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผล, หน่วยความจำ, หน่วยจัดเก็บข้อมูล, โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดภาพ (scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้ ชนิดของเครือข่ายเครือข่าย เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกัน เพื่อสะดวกต่อการร่วมใช้ข้อมูล, โปรแกรม หรือเครื่องพิมพ์ และยังสามารถอำนวยความสะดวกในการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องได้ตลอดเวลา ระบบเครือข่ายจะถูกแบ่งออกตามขนาดของเครือข่าย ซึ่งปัจจุบันเครือข่ายที่รู้จักกันดีมีอยู่ 3 แบบ ได้แก่

  • เครือข่ายภายใน หรือ แลน (Local Area Network: LAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกันในพื้นที่ใกล้เคียงกัน เช่นอยู่ในห้อง หรือภายในอาคารเดียวกัน
  • เครือข่ายวงกว้าง หรือ แวน (Wide Area Network: WAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการ เชื่อมโยงกัน ในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็น กิโลเมตร หรือ หลาย ๆ กิโลเมตร
  • เครือข่ายงานบริเวณนครหลวง หรือ แมน (Metropolitan area network : MAN)

และยังมีอีกสองเครือข่ายที่ยังมีเพิ่มเติมอีกคือ

  • เครือข่ายของการติดต่อระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือ แคน (Controller area network) : CAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อกันระหว่างไมโครคอนโทรลเลอร์ (Micro Controller unit: MCU)
  • เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal area network) : PAN) เป็นเครือข่ายไร้สาย

  การจำแนกประเภทของเครือข่าย
   เครือข่ายสามารถจำแนกออกได้หลายประเภทแล้วแต่เกณฑ์ที่ใช้ คล้ายกับการ จำแนกประเภทของรถยนต์ ถ้าใช้ขนาดเป็นเกณฑ์ ก็จะแบ่งได้เป็นรถยนต์ขนาดเล็ก รถสิบล้อ รถไฟ เป็นต้น หรือถ้าใช้ลักษณะการใช้งานเป็นหลักเกณฑ์ก็จะแบ่งได้เป็น รถโดยสารรถบรรทุกสินค้า รถส่วนบุคคล เป็นต้น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็เช่นกัน สามารถจำแนกได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ เช่น ขนาด ลักษณะการแลกเปลี่ยนข้อมูลของคอมพิวเตอร์เป็นต้น โดยทั่วไปการจำแนกประเภทของเครือข่ายมีอยู่ 3 วิธีคือ
   
· ใช้ขนาดทางกายของเครือข่ายเป็นเกณฑ์ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
    - LAN (Local Area Network): หรือเครือข่ายท้องถิ่น
    - WAN (Wide Area Network): หรือเครือข่ายบริเวณกว้าง
   
· ใช้ลักษณะหน้าที่การทำงานของคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเป็นเกณฑ์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
    - Peer-to-Peer Network หรือเครือข่ายแบบเท่าเทียม
    - Client-Server Network หรือเครือข่ายแบบผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ
   
· ใช้ระดับความปลอดภัยของข้อมูลเป็นเกณฑ์ สามารถแบ่งได้ดังนี้คือ
    - Intranet หรือเครือข่ายส่วนบุคคล
    - Internet หรือเครือข่ายสาธารณะ
    - Extranet หรือเครือข่ายร่วม
    แลน (อังกฤษ: Local Area Network หรือ LAN) หรือ ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ถึงกันทั้งหมดโดยอาศัยสื่อกลาง มีการแบ่งแยกเครือข่ายออกเป็น 2 รูปแบบการเชื่อมโยงคือ การเชื่อมโยงภายในพื้นที่ระยะใกล้หรือ แลน (LAN) และการเชื่อมโยงระยะไกลหรือแวน (WAN) โดยการเชื่อมโยงเครือข่ายแบบแลน มี 3 รูปแบบ คือ

  1. Bus มีการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 10-100 MB/sจะเชื่อมต่อกันบนสายสัญญาณเส้นเดียวกัน โดยจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า T-Connector เป็นตัวแปลงสัญญาณข้อมูลเพื่อนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์และ Terminator ในการปิดหัวท้ายของสายในระบบเครือข่ายเพื่อดูดซับข้อมูลไม่ให้เกิดการสะท้อนกลับของสัญญาณ
  2. Star เป็นระบบที่มีเป็นการต่อแบบรวมศูนย์ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต่อสายเข้าไปที่อุปกรณ์ที่เรียกว่า Hub หรือ Switch โดยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Hub หรือ Switch จะทำหน้าที่เปรียบศูนย์กลางที่ทำหน้าที่กระจายข้อมูล โดยข้อดีของการต่อในรูปแบบนี้คือ หากสายสัญญาณเกิดขาดในคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆจะสามารถใช้งานได้ปรกติ แต่หากศูนย์กลางคือ Hub หรือ Switch เกิดเสียจะทำให้ระบบทั้งระบบไม่สามารถทำงานได้ทั้งระบบ
  3. Ring เป็นระบบที่มีการส่งข้อมูลไปในทิศทางเดียวกัน โดยจะมีเครื่อง Server หรือ Switch ในการปล่อย Token เพื่อตรวจสอบว่ามีเครื่องคอมพิวเตอร์ใดต้องการส่งข้อมูลหรือไม่และระหว่างการส่งข้อมูลเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆที่ต้องการส่งข้อมูลจะต้องทำการรอให้ข้อมูลก่อนหน้านั้นถูกส่งให้สำเร็จเสียก่อน

    ระบบเครือข่ายแบบ LAN ·                                 ชนิดการเชื่อมต่อของเครือข่าย LAN การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเฉพาะบริเวณแลนนั้น จุดประสงค์หลักอย่างหนึ่งก็คือการแบ่งกันใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ โดยทรัพยากรเหล่านั้นอาจเป็นหน่วยประมวลผลกลาง CPU ความเร็วสูง ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ หรือแม้แต่อุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะเชื่อมอยู่กับคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง วิธีการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดสรรการใช้งานทรัพยากรในระบบเครือข่ายสามารถจำแนกได้เป็น 2 รูปแบบคือ o                                                        เครือข่ายแบบพึ่งเครื่องบริการ (Server - based networking) เป็นการเชื่อมต่อโดยมีเครื่องบริการอยู่ศูนย์กลาง ทำหน้าที่ในการให้บริการต่าง ๆ ที่เครื่องผู้ใช้หรือสถานีงาน (Workstation) ร้องขอ รวมทั้งเป็นผู้จัดการดูแลการจราจรในระบบเครือข่ายทั้งหมด นั่นคือการติดต่อกันระหว่างเครื่องต่าง ๆ จะต้องผ่านเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เครื่องผู้ใช้จะทำการประมวลผลในงานของตนเท่านั้น ไม่มีหน้าที่ในการให้บริการกับเครื่องอื่น ๆ ในระบบเครื่องผู้บริการในระบบเครือข่ายชนิดนี้อาจมีได้ 2 รูปแบบคือ §                                                                                 เครื่องบริการแบบอุทิศ (Dedicated Server) หมายถึงเครื่องบริการทำหน้าที่บริการอย่างเดียวเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในงานทั่ว ๆไปได้ ข้อดีคือทำให้ระบบมีเสถียรภาพและมีประสิทธิภาพสูง ข้อเสียคือไม่สามารถใช้งานเครื่องที่มีราคาสูงได้ §                                                                                 เครื่องบริการแบบไม่อุทิศ (Non - Dedicated Server) หมายถึงเครื่องบริการยังสามารถใช้งานได้ตามปกติเหมือนเครื่องลูกข่าย ซึ่งมีข้อเสียที่สำคัญคือมีประสิทธิภาพของเครือข่ายจะลดลง ทำให้วิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมในการใช้งาน o                                                        เครือข่ายแบบเท่าเทียม (Peer - to Peer networking) เป็นการเชื่อมต่อที่เครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายมีสถานะเท่าเทียมกันหมด โดยเครื่องทุกเครื่องสามารถเป็นได้ทั้งเครื่องผู้ใช้และเครื่องบริการในขณะใดขณะหนึ่ง นั่นคือเครื่องทุกเครื่องเปรียบเสมือนกับเป็นเครื่องบริการแบบไม่อุทิศ (Non - Dedicated Server) นั่นเอง ในระบบเครือข่ายประเภทนี้การติดต่อระหว่างแต่ละเครื่องจะสามารถติดต่อกันได้โดยตรง มีข้อเสียคือประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลด้อยกว่าแบบแรก ทำให้ไม่เหมาะกับระบบที่มีการใช้งานการรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายมาก ๆ

Network Advantages Disadvantages
Server - Based ·                                 มีประสิทธิภาพสูงกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นแบบ Dedicates Server ·                                 การดูแลระบบสามารถทำได้ง่ายกว่า   ·                                 เสียค่าใช้จ่ายสูงสำหรับเครื่อง server โดยเฉพาะอย่างยิ่งหารเป็นแบบ Dedicates Server ซึ่งไม่สามารถนำไปใช้งานอย่างอื่นได้ ·                                 ไม่สามารถใช้งานทรัพยากรที่เชื่อมอยู่กับ Workstation ได้ ·                                 ถ้า Server เสียระบบจะหยุดหมด
Peer - to - Peer ·                                 สามารถใช้งานทรัพยากรซึ่งเชื่อมอยู่กับเครื่องใด ๆ ในเครือข่าย ·                                 ประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของ Server ·                                 สามารถกระจายโปรแกรมประยุกต์ไปไว้ยังเครื่องต่าง ๆ เพื่อลดการจราจรในเครือข่ายได้ ·                                 การดูแลระบบทำได้ยาก เนื่องจากทรัพยากระกระจัดกระจายกันไปในเครื่องต่าง ๆ ·                                 มีประสิทธิภาพที่ต่ำกว่าแบบ Server - based มาก ·                                 เครื่องทุกเครื่องต้องมีหน่วยความจำและประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่อง ในแบบ Server - based

เปรียบเทียบการเชื่อมต่อแบบ Server - based เทียบกับ Peer - to Peer ·                                 ส่วนประกอบพื้นฐานของระบบ LAN o                                Network Operating System (NOS) ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System) มีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของเครือข่าย เช่นเดียวกับการที่ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง ซึ่งในเครือข่ายแบบ Peer - to - Pear เช่น Windows for Workggroups จะมีระบบปฏิบัติการเครือข่ายอยู่ในเครื่องทุกเครื่องของเครือข่าย ในขณะที่ในเครือข่ายแบบ Serverbased เช่น netware หรือ Window NT นั้น ระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะอยู่ที่เครื่อง Server ในขณะที่ workstation จะใช้ซอร์ฟแวร์ขนาดเล็กอีกตัวในการติดต่อรับ - ส่งข้อมูลกับ Server o                                เครื่องบริการและสถานีงาน (Server and Workstation) ก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบกันเป็นเครือข่ายนั้นเอง โดยเครื่องบริการจะเป็นเครื่องหลักที่มีหน้าที่ให้บริการต่าง ๆ แก่สถานีงานหรือโหนด ซึ่งบริการหลัก ๆ ก็คือบริการแฟ้มข้อมูล บริการเครื่องพิมพ์ บริการแฟกซ์ บริการฐานข้อมูล เป็นต้น ส่วน นั้นก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้ใช้ในการติดต่อเข้าเครือข่ายนั้นเอง o                                แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย (Netwoirk Interface Card - NIC) จะเป็นอุปกรณ์ที่เป็นแผงวงจรสำหรับเสียบเข้าช่องต่อขยาย (expansion bus) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถต่อสายของเครือข่ายเข้ามาและทำการติดต่อส่งข้อมูลกับเครือข่ายได้ o                                ระบบการเดินสาย (Cabling System) ระบบการเดินสายจะเป็นสื่อที่เชื่อมคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายเข้าด้วยกัน ซึ่งอาจจะประกอบด้วยสายต่าง ๆ คือ UTP/STP , Coaxial , Fiber Optic หรือแม้แต่การเชื่อมกันแบบไร้สาย เช่น Infared หรือสัญญาณวิทยุก็ได้ o                                ทรัพยากรและอุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกัน (Shared Resources and Peripherals) จะรวมถึงอุปกรณ์หน่วยความจำถาวร เช่น อาร์ดดิสก์ หรือเทปที่ต่ออยู่กับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ตลอดจนเครื่องพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ซึ่งผู้ใช้ในเครือข่ายที่ได้รับอนุญาตสามารถใช้งานได้ ·                                 โครงสร้างของระบบเครือข่าย (Network Topology) แบบ LAN ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าเป็นระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ (LAN) สามารถออกแบบการเชื่อมต่อกันของเครื่องในเครือข่าย ให้มีโครงสร้างในระดับกายภาพได้ในหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ดังนี้o                                โครงสร้างแบบดาว (Star Topology) เป็นโครงสร้างที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แต่ละตัวเข้ากับคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง การรับส่งข้อมูลทั้งหมดจะต้องผ่านคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเสมอ มีข้อดีคือการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบกระเทือนกับเครื่องอื่นในระบบเลย แต่ข้อเสียคือมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสายสูงและถ้าคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเสียระบบเครือข่ายจะหยุดชะงักทั้งหมดทันทีo                                โครงสร้างแบบบัส (Bus Topology) เป็นโครงสร้างที่เชื่อมคอมพิวเตอร์แต่ละตัวด้วยสายเคเบิลที่ใช้ร่วมกัน ซึ่งสายเคเบิลหรือบัสนี้เปรียบเสมือนกันถนนที่ข้อมูลจะส่งผ่านไปมาระหว่างแต่ละเครื่องได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องผ่านไปที่ศูนย์กลางก่อน โครงสร้างแบบนี้มีข้อดีที่ใช้สายน้อย และถ้ามีเครื่องเสียก็ไม่มีผลอะไรต่อระบบโดยรวม ส่วนข้อเสียก็คือตรวจหาจุดที่เป็นปัญหาได้ยากo                                โครงสร้างแบบแหวน (Ring Topology) เป็นโครงสร้างที่เชื่อมคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเข้าเป็นวงแหวน ข้อมูลจะถูกส่งต่อ ๆ กันไปในวงแหวนจนกว่าจะถึงเครื่องผู้รับที่ถูกต้อง ข้อดีของโครงสร้างแบบนี้คือ ใช้สายเคเบิลน้อย และสามารถตัดเครื่องที่เสียออกจากระบบได้ ทำให้ไม่มีผลต่อระบบเครือข่าย ข้อเสียคือหากมีเครื่องที่มีปัญหาอยู่ในระบบจะทำให้เครือข่ายไม่สามารถทำงานได้เลย และการเชื่อมต่อเครื่องเข้าสู่เครือข่ายอาจต้องหยุดระบบทั้งหมดลงก่อน·                                 วิธีควบคุมการเข้าใช้งานสื่อกลาง (Media Access Control (MAC) Methed) วิธีในการควบคุบการเข้าใช้งานสื่อกลาง (Media Access Control Methed) จะเป็นข้อตกลงที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลผ่านสื่อกลาง (ในที่นี้ก็คือสายเคเบิลของเครือข่ายแบบ LAN) ซึ่งทุกโหนดในเครือข่ายจะต้องใช้มาตรฐานเดียวกัน การทำงานจะเกิดอยู่ในส่วนของแผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย (NIC) และทำงานอยู่ครึ่งท่อนล่างของ Data link Layer คือส่วน MAC Layerวิธีในการเข้าใช้งานสื่อกลางจะมีอยู่หลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีก็จะมีข้อดีข้อเสียและเหมาะสมกับโทโปโลยีต่าง ๆ กันไป ที่นิยมใช้กันในปัจจบันคือo                                CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Acess/Collision Detection) เป็นวิธีที่ทุกโหนดของเครือข่ายสามารถเห็นข้อมูลที่ไหลอยู่ในสายสื่อสารของเครือข่าย แต่จะมีแต่โหนดปลายทางที่ระบุไว้เท่านั้นที่จะทำการคัดลอกข้อมูลขึ้นไป ในการส่งข้อมูลด้วยวิธีนี้ ทุกโหนดที่ต้องการส่งข้อมูลจะต้องทำการตรวจสอบสายสื่อสารว่าว่างหรือไม่ หากสายไม่ว่งวโหนดก็ต้องหยุดรอและทำการสุ่มตรวจเข้าไปใหม่เรื่อย ๆ จนเมื่อสัญญาณตอบกลับว่าว่างแล้ว จึงสามารถส่งข้อมูลเข้าไปได้ แต่อย่างไรก็ดี อาจมีกรณีที่ 2 โหนดส่งสัญญาณเข้าไปพร้อมกัน ทำให้เกิดการชนกัน (collision) ขึ้น หารกเกิดกรณีนี้ทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องหยุดส่งข้อมูล และรออยู่ระยะหนึ่ง ซึ่งโหนดที่สุ่มได้ระยะเวลาที่น้อยที่สุดก็จะทำการส่งก่อน หากชนก็หยุดใหม่ ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะส่งได้สำเร็จ วิธีการใช้สื่อกลางชนิดนี้จะพบมากในโครงสร้างแบบบัสo                                Token Passing เป็นวิธีการที่ใช้หลักการของ ซึ่งเป็นกลุ่มของบิตที่วิ่งวนไปตามโหนดต่าง ๆ รอบเครือจ่าย แต่ละโหนดจะตอยตรวจสอบรับข่าวสารที่ส่งมาถึงตนจากใน และในกรณีที่ต้องการส่งข้อมูลก็จะตรวจสอบว่า ว่างอยู่หรือไม่ หากว่างอยู่ก็จะทำการใส่ข้อมูลพร้อมระบุปลายทางเข้าไปใน นั้น และปล่อยให้ วิ่งวนต่อไปในเครือข่าย วิธีในการเข้าใช้สื่อชนิดนี้จะพบมากในโรงสร้างแบบบัส (Token Bus) และแบบวงแหวน (Token ring)·                                 มาตรฐานระบบเครือข่ายแบบ LAN ชนิดต่าง ๆ โดยปกติแล้ว ในการออกแบบการเชื่อมต่อระบบ Lan จะต้องคำนึงถึงลักษณะโครงสร้าง (Topology) สื่อกลาง (Media) และวิธีในการเข้าใช้สื่อกลาง (Media Access Methed) ซึ่งจะมีความเหมาะสมในการนำมาประกอบกันเพื่อใช้งานแตกต่างกันไป อย่างไรก็ดี เพื่อให้การเชื่อมต่อระบบ มีมาตรฐานและสามารถใช้งานได้อย่างกว้างขวาง ทำให้มีองค์กรกำหนดมาตรฐานได้กำหนดมาตรฐานของระบบเครือข่ายแบบต่าง ๆ ออกมา ซึ่งมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับและมีการใช้งานอย่างกว้างขวางคือo                                IEEE 802.3 และ Ethernet ระบบเครือข่าย Ethernet ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัทซีรอกซ์ในปลายทศวรรษ 1970 และในปี 1980 บริษัท Digital Equipment , Intel และ Xeror ได้ร่วมกันออกระบบ Ethernet I ซึ่งใช้งานกับสาย และต่อมาในปี ก็ได้ทำการพัฒนาเป็น Ethernet II ซึ่งเป็นระบบเครือข่ายที่ถูกใช้งานมากที่สุดแบบหนึ่ง จากนั้นองค์กรมาตรฐาน จึงได้ออกข้อกำหนดมาตรฐาน IEEE 802.3 โดยใช้ Ethernet II เป็นรากฐาน โดยมีจุดแตกต่างจาก เล็กน้อย แต่หลักการใหญ่ ๆ จะคล้ายคลึงกัน คือ ใช้ Access Method และ CSMA/CD และใช้ Topology แบบ Bus หรือ Star (Ethernet II จะเป็น Bus เท่านั้น) นอกจากมาตรฐาน IEEE 802.3 ยังได้ร่างมาตรฐานการใช้สื่อในระดับกายภาพ (Physical) แบบต่าง ๆ ทำให้สามารถใช้สายเคเบิลในระดับการยภาพแบบได้หลายแบบ โดยไม่ต้องเปลี่ยสในส่วยของ Data link ขึ้นไป เช่น 10Base5 , 10BaseT โดย "10" หมายถึงความเร็ว 10 Mbps ส่วน "Baseband" หมายถึง ("Borad" คือ Boardband) และในส่วนสุดท้ายนั้น ในช่วงแรก "5" หมายวถึงระยะไกลสุดที่สามารถเชื่อมต่อมีหน่วยเป็นเมตรคูณร้อย ในที่นี้คือ 500 เมตร แต่ต่อมาได้มีการใช้ความหมายของส่วสนนี้เพิ่มเติมเป็นชนิดของสาย เช่น "T" หมายถึง ใช้สาย Twisted Pair และ "F" หมายถึง Fiber ในปัจจบัน ยังมีมาตรฐาน IEEE 802.3 ซึ่งได้ขยายครอบคลุมความเร็วระดับ 100 Mbps ด้วย นั่นคือ มาตรฐาน Fast Ethernet โดยจะประกอบด้วย 100BaseTX ซึ่งเป็นสาย UTP Category 5 เชื่อมต่อได้ไกล 100 เมตรต่อเซกเมนต์ และ 100BaseFX ซึ่งใช้สาย เชื่อมต่อได้ไกลถึง 412 เมตรต่อเซกเมนต์ นอกจากนี้ ทาง IEEE ยังกำลังพิจารณาร่างมาตรฐาน 802.3z หรือ Gigabit Ethernet โดยการทำการขยายความเร้ซในการเชื่อต่อขึ้นไปถึง 1000 Mbps (1 Gigabit/seconds)o                                IEEE 802.4 และ Token Bus ระบบเครื่อข่ายแบบ Token Bus จะใช้ Access Protocal แบบ Token Passing และ Topology ทางกายภาพเป็นแบบ Bus แต่จะมีการใช้โทโปโลยีทางตรรกเป็นแบบ Ring เพื่อให้แต่ละโหนดรู้จัดตำแหน่งของตนเองและโหนดข้างเคียง จึงทำการผ่าน Token ได้อย่างถูกต้องo                                IEEE 802.5 และ Token Ring ระบบเครือข่ายแบบ Token Ring ได้รับการพัฒนาโดย IBM จะใช้ Access Method แบบ Token Passing และTopology แบบ Ring สามารถใช้ได้กับกับสาย STP,UTP,Coaxial และ Fiber Optic มาตรฐานความเร็วจะมี 2 แบบ คือ 4 Mbps และ 16 Mbpso                                FDDI (Fiber Distributed Data Interface) เป็นมาตรฐานเครือข่ายความเร็วสูงที่พัฒนาขึ้นโดย ANSI (American Nation Stadards Instiute) ทำงานที่ความเร็ว 100 Mbps ใช้สายเคเบิลแบบ Fiber Optic ใช้ Access Method แบบ Token-passing และใช้ Topology แบบ วงแหวนคู่ (Dual Ring) ซึ่งช่วยทำให้ทนทานต่อข้อบกพร่อง (fault tolerance) ของระบบเครือข่ายได้ดีขึ้น โดยอาจใช้ Ring หนึ่งเป็น Backup หรืออาจใช้ 2 Ring ในการรับส่งข้อมูลก็ได้·                                 โปรโตคอลของระบบเครือข่าย (Network Protocal) โปรโตคอลของระบบเครือข่าย (Network Protocal) หรือที่นิยมเรียกกันว่า โปรโตคอลสแตก (Protocal stack) ก็คือชุดชองกฎหรือข้อตกลงในการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อให้แต่ละสถานีในเครือข่ายสามารถรับส่งข้อมูลระหว่ากันได้อย่างถูกต้อง โดยโปรโตคอลของระบบเครือข่ายส่วนมากจะทำงานอยู่ในระดับ และ ใน และทำหน้าที่ในการประสานงานระหว่าแผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย (NIC) กับ ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (NOS)ระบบเครือข่ายที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน จะมีโปรโตคอลสแตกที่ได้รับความนิยมใช้งานกันอยู่หลายโปรโตคอล ซึ่งแต่ละโปรโตคอลก็จะใช้จัดการในงานของเครือข่ายคล้าย ๆ กัน และในกรณีที่ระบบเครือข่ายเชื่อมอยู่กับคอมพิวเตอร์หลายแบบ จะสามารถใช้งานหลาย ๆ โปรโตคอลแสตก พร้อมกันผ่านเครือข่ายได้ เช่น ใช้ IPX/SPX สำหรับ Network และใช้ TCP/IP ในการติดต่อกับ UNIX ผ่าน LAN แบบ Ethernet พร้อม ๆ กัน เป็นต้นตัวอย่างของโปรโตคอลแสตกที่มีใช้งานอยู่ในปัจจุบัน คือ o                                NetBIOS และ NetBUIE โปรโตคอล NetBIOS (Network Basic INput/Output System) พัมนาร่วมกันโดย IBM และ Microsoft มีการใช้งานอยู่ในเครือข่าย หลาย ๆ ชนิด อย่างไรก็ดี NetBIOS เป็นโปรโตคอลที่ทำงานอยู่ในระดับ Session Layer เท่านั้น จึงไม่ได้เป็นโปรโตคอลสำหรับเครือข่ายโดยสมบูรณ์ จึงได้พัฒนาโปรโตคอล NetBUIE (Network Extended User Interface) ซึ่งเป็นส่วนขยายเพิ่มเติมของ NetBIOS ที่ทำงานอยู่ใน Network Layer และ Transport Layer จะพบการใช้งานได้ใน Windows for Workgroups และ Windows NTo                                IPX/SPX เป็นโปรโตคอลของบริษัท Novell ซึ่งพัฒนาขึ้นมาใช้กับ Netware มีพื้นฐานมาจากโปรโตคอล XNS (Xerox Network Services) ของบริษัท Xerox โปรโตคอล IPX (Internerworl Packet Exchange) จะเป็นโปรโตคอลที่ทำงานอยู่ใน Network Layer ใช้จัดการการแลกเปลี่ยน packet ภายใน Network ทั้งในส่วนของการหาปลายทางและการจัดส่ง packet ส่วน SPX (Sequenced Packet Exchange) จะเป็นโปรโตคอลที่ทำงานอยู่ใน Transport Layer โดยมีหน้าที่ในการจัดการให้ข้อมูลส่งไปถึงจุดหมายได้อย่างแน่นอน o                                TCP/IP เป็นโปรโตคอลที่ได้รับการพัฒนามาจากทุนวิจัยของ U.S. Department of Defense's Advanced Research Project Agency (DARPA) ได้รับการใช้งานกันมากใน Internet และระบบ UNIX แบบต่าง ๆ ทำให้อาจกล่าวได้ว่าเป็นโปรโตคอลที่ได้รับความนิยมสูงสุดในขณะนี้ โดยมีการใช้งานมากทั้งใน LAN และ WAN โปรโตคอล TCP/IP จะเป็นชุดของโปรโตคอลซึ่งรับหน้าที่ในส่วนต่าง ๆ กัน และมีการแบ่งเป็น 2 ระดับ (layer) คือ§                                 IP Layer เป็นโปรโตคอลที่อยู่ในระดับต่ำกว่า TCP อาจเทียบได้กับ Network Layer ใน OSI Referance MOdel ตัวอย่างโปรโตคอลที่อยู่ในระดับนี้คือ IP(Internet Protocal) , ARP (Address Resolution Protocal) , RIP (Roution Information Protocal) เป็นต้น §                                 TCP Layer เป็นโปรโตคอลที่อยู่ในระดับสูงกว่า IP เทียบได้กับ Transport Layer ของ OSI Referance MOdel ตัวอย่างโปรโตคอลใน Layer นี้ TCP (Transport Control Protocal) , UDP (User Datagram Protocal) เช่น เป็นต้น   แวน หรือ ข่ายงานบริเวณกว้าง (อังกฤษ: Wide area network หรือ WAN) คือ ข่ายงานที่อยู่ห่างไกลกันมาก อาจจะอยู่ระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศ เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายของสำนักงานสาขาย่อยเข้ากับเครือข่ายของสำนักงานใหญ่ที่อยู่ห่างกันไกล อาจจะอยู่กันคนละที่หรือคนละเมืองกัน แต่ติดต่อกันด้วยระบบการสื่อสารทางไกลความเร็วสูง หรือโดยการใช้การส่งสัญญาณ ผ่านดาวเทียมเพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ให้ติดต่อถึงกันได้ ข่ายงานแต่ละข่ายงานจะอยู่ห่างกันประมาณ 2 ไมล์ซึ่งไกลกว่า ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ แลน ที่อาจอยู่ภายในอาคารหรือบริเวณมหาวิทยาลัยเดียวกัน แวนไร้สาย (wireless wide area network) ข่ายงานบริเวณกว้างไร้สายผู้รับผิดชอบทางด้านเครือข่ายขององค์การต้องขอใช้บริการต่างๆ เช่น บริการเชื่อมต่อผ่านทางเฟรมรีเลย์ (Frame Relay) คู่สายวงจรเช่า (Leased Line) หรือ ISDN ผู้ให้บริการในประเทศไทยก็มีอยู่หลายที่เหมือนกันที่สามารถให้บริการได้เช่น บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน), ดาต้าเน็ด, องค์การโทรศัพท์, บริษัทคอม, บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นต้นเทคโนโลยีแวน แตกต่างจากแลนมาก แลนส่วนใหญ่จะมีมาตรฐานรองรับส่วนเทคโนโลยีแวน จะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่สร้างมาจากหลายบริษัทบางส่วนก็มีมาตรฐาน บางส่วนก็เป็นเทคโนโลยีเฉพาะของบริษัทนั้นๆ ก็แตกต่างกันไปทางด้านลักษณะ ด้านคุณภาพ ด้านประสิทธิภาพ และก็ราคาด้วย สิ่งที่คิดว่ายากที่สุดในการสร้างเครือข่ายแวน ก็คือการเลือกใช้เทคโนโลยีที่สามารถทำงานร่วมกันได้ และสามารถตอบสนองความต้องการของธุรกิจต่างๆ ในปัจจุบันได้ข่ายงานวิทยุสำหรับคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งเครื่องรับที่ใช้ในการรับและส่งข้อความไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การกระจายเสียงข่าว และแฟ้มข้อมูล ถึงแม้ในขณะนี้ข่ายงานลักษณะนี้จะมีการทำงานได้ในวงจรจำกัด เพียงในเนื้อที่เมืองหลวงก็ตาม แต่ในอนาคตเมื่อมีการนำระบบการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมเข้ามาใช้ ก็จะทำให้ข่ายงานบริเวณกว้างไร้สายนี้สามารถสื่อสารข้อมูลได้ครอบคลุมกว้างขวางมากยิ่งขึ้นเทคโนโลยีแวน มีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้

  1. ระบบส่งสัญญาณ (Transmission Facility)
  2. อุปกรณ์เครือข่าย เช่น Switch, Router, CSU/DSU (Channel Dervice Unit/Data Service Unit)
  3. ระบบจัดการที่อยู่ (Internet work Addressing)
  4. โพรโทคอลจัดเส้นทาง (Routing Protocol)

   1.ระบบส่งสัญญาณ (Transmission Facility)  วงจรสวิตซ์ (Circuit Switching) นั้นมีหน้าที่ในการสื่อสารข้อมูล มันจะสร้างสถานีรับข้อมูลและสถานีส่งข้อมูลก่อน จากนั้นมันก็จะทำการส่งข้อมูลออกไป พอมันสร้างทั้ง 2 สถานีเสร็จ มันก็จะสามารภใช้ส่งหรือรับข้อมูลได้แค่ 2 สถานีนี้เท่านั้นเช่น ระบบโทรศัพท์ ปกติโทรศัพท์ทุกหมายเลขจะมีสายสัญญาณเชื่อมมายังชุมสายโทรศัพท์ส่วนกลางมีสวิตซ์ติดตั้งอยู่ ระหว่างชุมสายโทรศัพท์นั้นมันจะมีการเชื่อมต่อกัน สามารถโทรไปเบอร์อื่นๆได้ เวลาที่เราใช้โทรศัพท์ จะมีเส้นทางเสั นทางสัญญาณจะถูกจองไว้สำหรับใช้ในการสนทนา แต่พอเวลาที่วางสายไปหรือเลิกใช้โทรศัพท์ เส้นทางนี้ก็จะถูกยกเลิกไปด้วย สัญญาณมันก็จะรอให้สายอื่นมาใช้งานต่อไป    ระบบส่งสัญญาณแบบวงจรสวิตซ์ที่ใช้ในเครื่อข่าย Wan มีดังนี้  - สายคู่เช่า (Leased Line)- โมเด็มและระบบโทรศัพท์ (Modem and Telephone System)- ISDN (Integrated Services Digital Network)

- DSL (Digital Subscriber Line)

 - เคเบิลโมเด็ม (Cable Modem) 1.1สายคู่เช่า (Leased Line)               สายคู่เช่าเป็นระบบส่งสัญญาณแบบวงจรสวิตซ์ที่ยืดหยุ่นและทนทาน ทีเราเรียกกันว่า สายคู่เช่า ก็เพราะว่าเป็นการเช่าสัญญาณจากบริษัทหรือองค์กรที่ให้บริการเช่น องค์การโทรศัพท์ เป็นต้นสายคู่เช่านั้นทำหน้าที่ส่งสัญญาณโทรศัพท์แบบดิจิตอลแทนอะนาล็อก มันสามารถช่วยลดทอนสัญญาณ และสามารถส่งสัญญาณได้หลายช่องสัญญาณในเวลาเดียวกันได้               เทคนิคการมัลติเพล็กซ์สัญญาณ               สายคู่เช่าถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถรวมการสื่อสารหลายๆ การสื่อสารให้สามารถแชร์สัญญาณหรือลิงก์เดียวกันได้ ดังนั้นจึงรวมเอาหลายๆสัญญาณมารวมกันเป็นสัญญาณเดียวกัน แล้วก็ส่งไปที่ช่องสัญญาณ พอถึงปลายทางก็ทำการแยกสัญญาณออก เพื่อส่งต่อไปปลายทางการรวมสัญญาณเราเรียกว่า "การมัลติเพล็กซ์ (Multiplexing)" ส่วนการแยกสัญญาณเราเรียกว่า "การดีมัลติเพล็กซ์ (DeMultiplexing)"               การทำมัลติเพล็กซ์ทำได้ 2 วิธี คือ                1) TDM (Time Division Multiplexing) คือการแชร์แบนด์วิธแบบช่องเวลา               2) FDM (Frequency Division Multiplexing) คือการแชร์แบนวิธแบบช่องความถี่               Time Division Multiplexing                แบบนี้จะเป็นการแบ่งใช้แบนด์วิธของช่องสัญญาณออกเป็นช่วงเวลา แต่ละสถานีจะแชร์ช่องสัญญาณสลับกับการส่งข้อมูล โดยส่งได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ช่วงเวลานี้จะถูกแชร์กัน ขึ้นอยู่กับอัลกอริทึมที่เราใช้               การแชร์แบนด์วิธแบบ TDM ก็มีโอเวอร์เฮด หรือการแบนด์วิธที่ต้องใช้ในการควบคุมการมัลติเพล็กซ์หรือที่ใช้ในการซิงโครไนเซชันสัญญาณ   การซิงโครไนเซชันก็คือ การทำให้เครื่องที่รับและเครื่องที่ส่งเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับเรื่องของเวลาในการรับส่งข้อมูล ถ้าไม่มีการซิงโครไนเซชันอาจจะทำให้ข้อมูลเดินทางไปถึงสถานีปลายทางเกิดข้อผิดพลาดได้               Frequency Division Multiplexing               FDM เป็นเทคนิคในการแบ่งแบนด์วิธออกเป็นหลายช่องของความถี่ ซึ่งแต่ละช่องจะถูกกำหนดให้ใช้ในการรับส่งข้อมูลได้ เฉพาะสถานีใดสถานีหนึ่งเท่านั้น ส่วนใหญ่นิยมใช้การแชร์แบนด์วิธแบบ TDM มากกว่าแบบ FDM               มาตรฐานสัญญาณดิจิตอลที่นิยมใช้ก็มี               1) Digital Signal Hierarchy (DSH)                2) ITU's Digital Signal Hierarchy                3) SONET's Optical Carrier System                4) SONET's Synchronous Transport Signal Sysytem 1.2โมเด็มและระบบโทรศัพท์               โมเด็มทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณดิจิตอล (Digital) ไปเป็นสัญญาณอนาล็อก (Analog) หรือสัญญาณเสียงแล้วส่งสัญญาณนี้ผ่านไปทางระบบโทรศัพท์ทำให้เราสามารถคุยกันทางโทรศัพท์แล้วได้ยินเสียง ฝั่งที่ทำหน้าที่รับก็จะมีโมเด็มที่คอยทำหน้าที่แปลงสัญญาณอะนาล็อก ไปเป็นสัญญาณดิจิตอลเหมือนเดิมเพื่อให้คอมพิเตอร์นั้นประมวลผลข้อมูลได้ คอมพิวเตอร์มันรู้สัญญาณดิจิตอลเป็น 0 กับ 1 เท่านั้น ส่วนระบบโทรศัพท์มันรู้จักสัญญาณอะนาล็อกเป็นเสียงเท่านั้น               ความแตกต่างที่สำคัญของ Lan กับ Wan ก็คือระยะความห่างระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายการส่งข้อมูลไปบนสายโทรศัพท์ระยะที่มันส่งจะไกลกว่าการใช้ UTP ที่ใช้ในระบบ Lan               ประเภทของการแปลงสัญญาณ (Modulation Type)                1) การแปลงความถี่ของคลื่น (Freguency Modulation)               2) การแปลงกำลังของคลื่น (Amplitude Modulation)               3) การแปลงเฟสของคลื่น (Phase Modulation)               มาตรฐานของโมเด็ม มาตรฐานโมเด็มบางส่วนของ ITU-T มีดังนี้ - V.22 เป็นมาตรฐานโมเด็มแบบดูเพล็กซ์ อัตราข้อมูลอยู๋ที่ 1,200 bps ใช้กับระบบโทรศัพท์สาธารณะและระบบสายคู่เช่า - V.22 bis ถูกปรับปรุงมาจาก V.22 สามารถส่งข้อมูลได้ 2,400 bps ใช้เทคนิคในการหาความถี่ - V.32 มีความเร็วที่ 9,600 bps โมเด็มประเภทนี้ใช้เทคนิคในการเข้ารหัสแบบ QAM ส่งข้อมูลได้ทีละ 4 บิต - v.32 bis ปรับปรุงมาจาก V.32 ส่งข้อมูลได้ถึง 14,000 bps ใช้เทคนิคในการเข้ารหัสแบบ QAM - V.90 สามารถรับข้อมูลได้ถึง 53,000 bps สามารถส่งข้อมูลได้ 33,600 bps               ปัจจุบันโมเด็มมีความเร็วสูงสุดที่ 56 kbps ที่สามารถส่งได้ แต่ตอนนี้ได้มีการผลิตโมเด็มประเภทใหม่ขึ้นมาที่สามารถส่งข้อมูลได้ในระดับ Mbps เช่น ADSL ยังคงใช้สายโทรศัพท์เหมือนเดิม
2.อุปกรณ์เครือข่าย (
Channel Dervice Unit/Data Ser ce Unit) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ทำหน้าที่ในการจัดการเกี่ยวกับการรับส่งข้อมูลบนเครือข่าย ใช้สำหรับทวนสัญญาณ เพื่อให้การรับส่งข้อมูลที่อยู่ห่างไกลกันมีประสิทธิภาพที่ดี อุปกรณ์เครือข่ายก็เช่น Hub, switch , Router CSU/DSU เป็นต้น--Tangmo1728 14:17, 23 พฤศจิกายน 2007 (ICT)   ระบบเครือข่ายแบบ WAN·         ประเภทของเครือข่ายระยะไกล เครือข่าย สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือo        เครือข่ายส่วนตัว (Private Network) เป็นการจัดตั้งระบบเครือข่ายซึ่งมีการใช้งานเฉพาะองค์การที่เป็นเจ้าของเครือข่ายอยู่ เช่น องค์การที่มีสาขาอาจทำการสร้างระบบเครือข่าย เพื่อเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานใหญ่กับสาขาที่มีอยู่ เป็นต้น อย่างไรก็ดี ในระดับกายภาพ (Physical Layer) ของการเชื่อมต่อแบบเครือข่ายส่วนตัวจะยังคงต้องใช้ช่องทางการสื่อสารข้อมูลสาธารณะ เช่น สายโทรศัพท์ สายเช่า ดาวเทียม เป็นต้นการจัดตั้งระบบเครือข่ายส่วนตัวมีจุดเด่นในเรื่องของการรักษาความลับของข้อมูล สามารถควบคุมดูแลเครือจ่ายและขยายเครือข่ายไปยังจุดที่ต้องการ ส่วยจ้อเสียคือในกรณีที่ได้ได้มีการส่งข้อมูลต่อเนื่องตลอดเวลา จะเสียค่าใช้จ่ายสูงมากเมื่อเทียบกับการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายสาธารณะและหากมีการส่งข้อมูลระหว่างสาขาต่าง ๆ จะต้องมีการจัดหาช่องทางสื่อสารเชื่อมโยงระหว่างแต่ละสาขาด้วย รวมทั้งอาจไม่สามาถจัดหาช่องทางการสื่อสารไปยังพื้นที่ที่ต้องการได้o        เครือข่ายสาธารณะ (Public Data Network) เครือข่ายสาธารณะ (PDNs) หรือที่บางครั้งเรียกว่า เครือข่ายมูลค่าเพิ่ม (Value Assed) เป็นระบบเครือข่ายระยะไกล (WAN) ซึ่งองค์กรที่ได้รับสัมปทานทำการจัดตั้งขึ้น เพื่อให้บุคคลทั่วไปหรือองค์กรอื่น ๆ ที่ไม่ต้องการวางเครือข่ายเองสามารถแบ่งกันเช่าใช้งานได้ โดยการจัดตั้งอาจทำการวางโครงข่ายช่องทางการสื่อสารเอง หรือเช่าใช้ช่องทางการสื่อสารสาธารณะก็ได้ ระบบเครือข่ายสาธารณะ จะนิยมใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายแบบ WAN กันมาก เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการจัดตั้งเครือข่ายส่วนตัว สามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาในการจัดตั้งเครือข่ายใหม่ รวมทั้งมีบริการให้เลือกอย่างหลาย ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปทั้งในส่วนของราคา ความเร็ว ขอบเขตพื้นที่บริการ และความเหมาะสมกับงานแบบต่าง ๆ·         เครือข่ายแบบสลับวงจร (Circuit-Switching Network) เป็นบริการระบบเครือข่ายสาธารณะขั้นพื้นฐาน เช่น ระบบโทรศัพท์และระบบสายเช่า (leased line) ระบบเครือข่ายแบบสลับวงจรจะเป็นการเชื่อมต่อทางกายภาพของวงจรระหว่างจุด 2 จุด เพื่อให้สามารถติดต่อส่งข้อมูล (หรือเสียง) กัน โดยการเชื่อมวงจรอาจเชื่อมอยู่ตลอดเวลา เช่น สายเช่าหรือเชื่อมต่อเมื่อมีการติดต่อเช่าโทรศัพท์ก็ได้ รวมทั้งอาจเป็นเครือข่ายอนาลอก เช่น โทรศัพท์หรือเครือข่ายดิจิตอล เช่น ISDN ก็ได้ระบบเครือข่ายแบบสลับวงจรจะเป็น การเชื่อมต่อระหว่างจุดต่อจุด (point-to-point) จึงมีข้อดีคือมีอัตราความเร็วในการสื่อสารที่คงที่ตลอดเวลา เนื่องจากไม่ต้องทำการแบ่งช่องทางกับผู้อื่น แต่จุดด้อยคือต้งมีการเชื่อต่อกันทุก ๆ จุดที่มีการติดต่อกัน·         เครือข่ายแบบสลับแพคเกต (Packet Switching Data Network) เป็นระบบเครือข่ายที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน มีการทำงานโดยใช้วิธีแบ่งข้อมูลที่ต้องการส่งระหว่างจุด 2 จุด ออกเป็น ชิ้น (packet) เล็ก ๆ เพื่อทำการส่งไปยังจุดหมายที่ต้องการ การเแบ่งข้อมูลออกเป็นแฟกเกตมีข้อดี คือ ทำให้สามารถใช้ช่องทางการสื่อสารข้อมูลเพียงช่องทางเดียวในการเชื่อมเข้าสู่เครือข่าย ไม่ว่าวจะมีการติดต่อกันระหว่างกี่จุดก็ตาม รวามทั้งสามารถส่งแต่ละแพกเกตด้วยเส้นทางต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกันเป็นตาข่าย และทำการรวมแต่ละแพคเกตกลับคือเมื่อถึงจุดหมายแล้ว จึงเป็นการใช้ทรัพยาการ (resource) ได้อย่างคุ้มค่าที่สุด·         ISDN บริการ Integrated Services Digital Network (ISDN) เป็นระบบเครือข่ายแบบดิจิตอลซึ่งสามารถทำการส่งได้ทั้งข้อมูล เสียง และภาพ อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถเชื่อมเข้ากับ ISDN ได้โดยตรงผ่านทางตัวเชื่อมแบบดิจิตอล ทำให้ไม่จำเป็นต้องผ่านการแปลงระหว่างสัญญาณอนาลอกและดิจิตอลด้วยโมเด็มอีก อนกจากนี้แต่ละช่องทาง (channel) ของ ISDNยังมีความเร็วสูงถึง 64 Kbpsบริการของ ISDN จะสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือo        Narrow Band ISDN (ISDN-N) เป็นโครงข่ายที่พัฒนาเพิ่มเติมจากระบบโทรศัพท์เดิม โดยใช้สัญญาณดิจิตอลในการสื่อสารแทนการใช้สัญญาณอานลอกผ่านคู่สายที่มีอยู่เดิม สามารถแบ่งได้เป็น§         Basic Rate Interface (BRI) เป็นการเชื่อมต่อขั้นพื้นฐานของ ISDN โดยภายในหนึ่งคู่สาย (หนือหนึ่งหมายเลยโทรศัพท์) จะมีช่องสัญญาณอยู่ 3 ช่อง ประกอบด้วยช่องสัญญาณแบบ B (Bearer) ซึ่งสามารถส่งได้ทั้งข้อมูลและเสียงด้วยความเร็ว 64 ต่อช่อง จำนวน 2 ช่อง และช่องสัญญาณแบบ D (Data) ซึ่งใช้ควบคุมช่องสัญญาณแบบ B จะส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 16 Kbps จำนวน 1 ช่อง (2B+D) §         Primary Rate Interface (PRI) จะเป็นการสื่อสารแบบความเร็วสูง โดยประกอบด้วย Bearer Channel จำนวน 23 ช่อง และ Data Channel ขนาดความเร็ว 64 Kbps อีก 1 ช่อง ทำให้ได้ความเร็วสูงถึง 1.544 Mbps มีใช้ในสหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีมาตรฐานแบบ 30 Bearer บวกกับ 1 Data Channel สำหรับความเร็ว 2.048 Mpbs ซึ่งใช้กันในยุโรปและไทยo        Broadband ISDN (ISDN-B) เป็นระบบ ISDN ที่ขยายขีดความสามารถโดยใช้โปรโตคอล ATM (Asynchronous Transfer Mode) ทำให้สามารถส่งสัญญาณได้ด้วยความเร็วตั้งแต่ 45 Mbps จนถึง 1 Gbps (Gigabit/Second) จึงสามารถใช้ในการส่งข้อมูลภาพและเสียงได้อย่างสมบูรณ์ ·         ATM เครือข่ายแบบเอทีเอ็ม (Asynchronous Transfer Mode) เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังได้รับการสนฝจอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีความสามารถในการรับรองการจัดหา bandwidth ทำให้เหมาะกับการใช้งานแอพพลิเคชั่นใหม่ ๆ เช่น multimedia ซึ่งต้องการทำการส่งผ่านข้อมูลจำนวนมากที่สัมพันธ์ รวมทั้งยังเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ได้ทั้ง LAN และ WAN อีกด้วยเครือข่าย ATM สามารถใช้กับสายเคเบิลที่มีอยู่แล้วที่ไม่ใช่สาย Fiber ได้ โดยเพียงแต่เปลี่ยน adapter และ swiches ความเร็วจะอยู่ระหว่าง 25   DSL คืออะไร          DSL ย่อมาจาก Digital Subscriber Line หมายถึงเทคโนโลยีโมเด็ม ที่ใช้คู่สายทองแดงธรรมดา ปรับให้กลายเป็นสื่อสัญญาณดิจิตอลความเร็วสูง โดยมีการเข้ารหัสสัญญาณข้อมูล (Modulation) ในย่านความถี่ที่สูงกว่าการใช้งานโทรศัพท์โดยทั่วไป ทำให้สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ในขณะที่ใช้งานโทรศัพท์ สำหรับเทคโนโลยีในตระกูล DSL อยู่หลายประเภท เช่น

  • ADSL: Asymmetric Digital Subscriber Line
  • HDSL: High bit rate Digital Subscriber Line
  • IDSL: ISDN Digital Subscriber Line
  • RADSL: Rate Adaptive Digital Subscriber Line
  • SDSL: Symmetric Digital Subscriber Line
  • VDSL: Very high bit rate Digital Subscriber Line

ซึ่งแต่ละเทคโนโลยี DSL จะมีความสามารถในการรับ-ส่งข้อมูลแตกต่างกันออกไป โดยมีความแตกต่างกันในลักษณะดังนี้

  1. ความเร็วในการรับ (down) ส่ง (up) ข้อมูล
  2. Mode การรับ-ส่งข้อมูล
    เพื่อความเหมาะสมในการใช้งานจริง การเลือกเทคโนโลยีในการรับ-ส่งข้อมูลจึงเป็นสิ่งจำเป็น ตัวอย่างเช่น การรับ-ส่งข้อมูลของบริษัทระหว่างสาขา จะมีการรับ และส่งข้อมูลในการอัตราที่ต้องการความเร็วพอๆ กัน แต่สำหรับผู้ใช้ตามบ้านมักจะต้องการการรับข้อมูลในการอัตราความเร็วมากกว่าการส่งข้อมูล
  3. ระยะทางในการรับ-ส่งข้อมูล
    ซึ่งจะมีผลโดยตรงกับความเร็วในการส่งข้อมูล เช่น เทคโนโลยี VDSL สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วถึง 52 Mbps แต่จำกัดในเรื่องระยะทางเพียง 1 km เท่านั้น แต่สำหรับ ADSL สามารถส่งข้อมูลได้เร็วเพียง 8 Mbps แต่สามารถส่งสัญญาณได้ไกลถึง 5 km เป็นต้น
  4. จำนวนสายที่ใช้
    ตัวอย่างช่น เทคโนโลยี HDSL จะใช้สายในการรับ-ส่งข้อมูลถึง 4 สาย หรือ 2 คู่ แต่เทคโนโลยีอื่นๆ ได้พัฒนาให้ใช้สายเพียง 1 คู่หรือ 2 สายเท่านั้น
  5. ความสามารถในการใช้สายโทรศัพท์ระหว่างการรับ-ส่งข้อมูล
    เทคโนโลยีที่สามารถใช้งานโทรศัพท์ได้ระหว่างการใช้งานอินเตอร์เน็ตคือ เทคโนโลยี ADSL และ VDSL

ประเภทของ DSL

ADSL
            ADSL ( Asymmetric Digital Subscriber Line ) เป็นรูปแบบของ DSL ซึ่งกำลังจะมีการใช้งานอย่างกว้างขวางตามที่อยู่อาศัยและธุรกิจต่าง ๆ ADSL ได้รับการเรียกว่า “asymmetric (อสมมาตร) เพราะใช้การติดต่อแบบสองทางหรือ duplex bandwidth ได้มีการจัดแบ่ง bandwidth ส่วนใหญ่ให้กับการส่งข้อมูลไปยังผู้ใช้ปลายทาง ( downstream ) และมีเพียง bandwidth ส่วนน้อยในการรับข่าวสารจากผู้ใช้ปลายทางกลับมา ( upstream ) เนื่องจากว่าระบบอินเตอร์เน็ตและเว็บประเภทกราฟฟิคหรือมัลติมีเดีย มีความต้องการ bandwidth มากในการส่งไปยังผู้ใช้ แต่ผู้ใช้เรียกหรือตอบสนองไม่ต้องการ bandwidth มากนัก การใช้ ADSL สามารถส่งข้อมูลด้าน downstream ได้ถึง 6.1 megabits ต่อวินาที และรับข้อมูลด้าน upstream ได้ถึง 640 Kbps การใช้ bandwidth ด้าน downstream สูง หมายถึงสายโทรศัพท์ สามารถทำภาพเคลื่อนไหว เสียง และภาพ 3 มิติมายัง เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือโทรทัศน์ได้ ส่วน bandwidth ขนาดเล็กที่มีการจัดแบ่ง เพื่อให้สามารถใช้โทรศัพท์ได้โดยไม่ต้องมีการแบ่งสาย            ADSL เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการส่งข้อมูลแบบดิจิตอล ที่ขนาด bandwidth สูง สำหรับสายโทรศัพท์บ้านและธุรกิจ ADSL มีข้อแตกต่าง จากโทรศัพท์ธรรมดา เนื่องจาก ADSL ให้การติดต่อแบบต่อเนื่อง โดย ADSL มีลักษณะอสมมาตร (asymmetric) จากการแบ่งช่อง ส่งข้อมูลให้การส่งไปยัง ผู้ใช้มากและมีช่องรับข้อมูลน้อย ADSL สามารถทำงานร่วมกับระบบอนาล็อก (เสียง) ในสายเดียวกัน ตามปกติ ADSL ใช้อัตราการส่งไปยังผู้ใช้ปลายทาง (downstream data rate) ตั้งแต่ S/2 Kbps ถึง 6 Mbps รูปแบบของ ADSL ที่รู้จักในชื่อ Universal ADSL หรือ glite ได้รับการกำหนดเบื้องต้นโดย ITU-TS
            ADSL ได้รับการออกแบบให้ใช้ประโยชน์ จากการติดต่อทางเดียว สำหรับการสื่อสารแบบมัลติมีเดีย ซึ่งมีความต้องการในการส่งข้อมูล ไปผู้ใช้มาก และรับข้อมูลการควบคุม เพียงเล็กน้อย การทดลองใช้กับผู้ใช้จริงของ ADSL ในสหรัฐ ได้ทดลองในช่วง 1996 ถึง 1998 และการติดตั้งเพื่อใช้งานในสหรัฐได้เริ่มในปี 2000 ADSL ซึ่งเป็นรูปแบบ อีกแบบหนึ่งของ DSL คาดว่าจะได้รับการใช้งานโดยทั่วไปในเขตเมือง
 

CDSL
CDSL ( consumer DSL ) เป็นเวอร์ชันการค้าของ DSL ซึ่งช้ากว่า ADSL (มีอัตรา downstream 1 Mbps) แต่มีความเหนือกว่าในเรื่องไม่ต้องการติดตั้งตัวแบ่ง (Splitter) ที่ผู้ใช้ ซึ่งมี Rockwell เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและมีการทำ Chipset และ CDSL ใช้เทคโนโลยีตัวกลางของตัวเอง

Free DSL
Free DSL เป็นบริษัทที่ให้บริการอุปกรณ์และการติดตั้ง ADSL และโดยไม่มีค่าบริการรายเดือนแต่ผู้ใช้ต้องให้ข้อมูลส่วนตัว

G.Lite หรือ DSL Lite
G.Lite (ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ DSL Lite, splitterless ADSL และ Universal DSL ) ช้ากว่า ADSL โดยที่ไม่ต้องมีการติดตั้งตัวแบ่ง ( splitter ) ที่ผู้ใช้แต่ใช้การจัดการแบบทางไกล (Remote) จากศูนย์บริการทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายลงไป G.Lite ตามมาตรฐาน G .-922.2 ของ ITU-T มีอัตราข้อมูลจาก 1.544 Mbps ถึง 6 Mbps ด้าน downstream และ 128 Kbps ถึง 384 Kbps ด้าน upstream G.Lite คาดหวังว่าจะได้รับการติดตั้งอย่างกว้างในรูปแบบของ DSL

HDSL
HDSL ( High bit-rate DSL ) เป็นประเภท DSL ล่าสุดที่มีการใช้กว้างขวางซึ่งสามารถใช้สำหรับการส่งแบบ wideband digital ภายในบริษัท และระหว่างศูนย์บริการกับผู้ใช้ คุณสมบัติหลักของ HDSL คือ มีความสามารถ ซึ่งหมายถึง bandwidth ที่ใช้ทั้ง 2 ทิศทางเท่ากัน ด้วยเหตุผลนี้อัตราข้อมูลส่ง จึงต่ำกว่า ADSL และ HDSL สามารถใช้สายโทรศัพท์ Twisted-pair เท่ากับสาย T 1 ในอเมริกาเหนือและ E 1 ในยุโรป (2 , 320 Kbps )

IDSL
IDSL ( ISDN DSL ) เป็นการเรียกชื่อที่ไม่ถูกต้อง เพราะ IDSL มีความใกล้เคียงกับ ISDN ในด้านอัตราข้อมูลและบริการที่ 128 Kbps

RADSL
RADSL ( Rate-Adaptive DSL ) เป็นเทคโนโลยี แบบ ADSL จาก Westell โดยใช้ซอฟต์แวร์ ในการขออัตราของสัญญาณที่สามารถส่งบนสายโทรศัพท์ของผู้ใช้ ้และจัดอัตราการส่ง ระบบ Westell Flexcop 2 สามารถใช้ RADSL ปรับอัตราจาก 640 Kbps เป็น 2.2 Mbps ด้าน downstream และปรับอัตราข้อมูลจาก 272 Kbps เป็น 1.088 Mbps ด้าน upstream

SDSL
SDSL ( Symmetric DSL ) เหมือนกับ HDSL โดยสายโทรศัพท์แบบ Twisted-pair สามารถส่ง 1.544 Mbps (เอเมริกาและแคนาดา) หรือ 2.048 Mbps (ยุโรป) และการจัดแบ่ง bandwidth ทั้ง 2 ทิศทางเท่ากัน

UDSL
UDSL ( Unidirectional DSL ) เป็นรูปแบบที่เสนอโดยบริษัทยุโรป และเป็น HDSL แบบทิศทางเดียว

VDSL
VDSL (Very high rate DSL) เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีที่จะให้อัตราข้อมูลสูงในระยะสั้น (ระหว่าง 5.1 ถึง 5.5 Mbps ในระยะ 1000 ฟุต หรือ 300 เมตร) เทคโนโลยีการส่ง ( CAD, DMT หรืออื่น ๆ) ยังไม่มีข้อสรุป ส่วนมาตรฐานกำลังอยู่ในระหว่างการจัดทำ

X2/DSL
X2/DSL เป็นโมเด็มจาก 3 COM ที่สนับสนุนโมเด็ม 56 Kbps แต่อัพเกรดด้วยการติดตั้งซอฟต์แวร์ สำหรับ ADSL เมื่อ ADSL ไปถึงพื้นที่ของผู้ใช้   ตัวอย่างการประยุกต์เทคโนโลยี DSL ไปใช้งาน

  • Broadcast Audio & TV
    ดูรายการถ่ายทอดสดผ่าน TV, คอมพิวเตอร์
  • Distance Learning
    การเรียนการสอนผ่านอินเตอร์เน็ต แบบ Interactive
  • Interactive Network
    เล่นเกมส์ online
  • Online Shopping
    Shopping แบบ online
  • VDO Conference
    การประชุมทางไกล การอบรมทางไกล
  • Video & Music on Demand
    ดูหนัง ฟังเพลงแบบ online สามารถเลือกได้ตามใจคุณ
  • VPN : Virtual Private Network
    การรับส่ง ติดต่อข้อมูลระหว่างสาขา

เครือข่ายครอบคลุมบริเวณเมืองใหญ่ หรือ แมน (อังกฤษ: Metropolitan Area Networks, MANs) คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มากจะมีขนาดครอบคลุมเมืองหรือบริเวณมหาวิทยาลัย ระบบโครงสร้างพื้นฐานโดยปกติแล้วจะเป็นระบบไร้สายเช่นการใช้คลื่นไมโครเวฟหรือใช้ใยแก้วนำแสง เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างสถานที่ต่างๆเข้าด้วยกันตัวอย่างการใช้งานจริง เช่น ภายในมหาวิทยาลัยหรือในสถานศึกษา จะมีระบบแมนเพื่อเชื่อมต่อระบบแลนของแต่ละคณะวิชาเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียวกันในวงกว้างเทคโนโลยีที่ใช้ในเครือข่ายแมนได้แก่ ATM, FDDI และ SMDSระบบเครือข่ายแมนที่จะเกิดในอนาคตอันใกล้ คือระบบที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ภายในเมืองเข้าด้วยกันโดยผ่านเทคโนโลยี Wi-Max  อินเตอร์เน็ต (INTERNET) อินเตอร์เน็ตคือตัวอย่างหนึ่งของทางด่วนสารสนเทศที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และเป็นทางด่วนที่ได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปถึงศักยภาพในการเติบโตเป็นชุมชนขนาดใหญ่ของอินเตอร์เน็ต โดยปัจจุบันนี้อินเตอร์เน็ตมีการเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์นับล้านระบบและมีผู้ใช้หลายสิบล้านคน ซึ่งเทียบประชากรอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันได้กับประชากรของประเทศไทยทั้งประเทศ และที่สำคัญก็คือรายได้เฉลี่ยของประชากรอินเตอร์เน็ต จะสูงกว่ารายได้เฉลี่ยของประชากรประเทศใด ๆ ในโลก อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายซึ่งเป็นที่รวมของเครือข่ายย่อย ๆ หรือกล่าวได้ว่าเป็น ครือข่ายของเครือข่าย (Network of Network) ซึ่งสื่อสารกันได้โดยใช้โปรโตคอลแบบทีซีพี/ไอพี (TCP/IP) ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันเมื่อนำมาใช้ในเครือข่ายแล้วสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ เหตุการณ์สำคัญ ๆ บนอินเตอร์เน็ต อินเตอร์เน็ตเริ่มใช้งานในปีค.ศ.1969 ภายใต้ชื่อเรียกว่า อาร์พาเน็ต (APRANET หรือ Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นเครือข่ายทดลองตั้งขึ้นเชื่อมระหว่างศูนย์ปฏิบัติการวิจัยของทหาร ในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา (Department of Defense หรือ DOD) กับศูนย์ปฏิบัติการวิจัยของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ระบบอาร์พาเน็ตเป็นเครือข่ายที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากมหาวิทยาลัย วิทยาลัย หน่วยงานของรัฐและเอกชนต่าง ๆ มากมาย สิ่งที่น่าสนใจของระบบอินเตอร์เน็ตคือการถูกออกแบบมาให้ไม่ต้องมีศูนย์กลางของการติดต่อ ซึ่งการไม่มีศูนย์กลางควบคุมนี้ ทำให้มีผู้เข้ามาร่วมใช้อินเตอร์เน็ตมากมาย ระบบจึงเติบโตขึ้นโดยไม่มีขีดจำกัด จนกระทั่งปัจจุบันนี้เริ่มเกิดปัญหาช่องทางการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตติดขัดบ้างแล้ว เช่น จดหมายอินเตอร์เน็ตที่เคยส่งได้ทันที ก็ต้องรอเป็นชั่วโมงเพราะไม่มีช่องทางการสื่อสารเพียงพอ เป็นต้น บริการอินเตอร์เน็ตแบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ o                                                        บริการด้านการสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูล เป็นบริการซึ่งเกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารกันระหว่างผู้ใช้ การเข้าใช้งานเครื่องซึ่งอยู่ห่างออกไป การขนถ่ายไฟล์ และการแลกเปลี่ยนความเห็นหรือความรู้ระหว่างผู้ใช้ เช่น §                                                                                 จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ §                                                                                 เทลเน็ต (Telnet) §                                                                                 ขนถ่ายไฟล์ §                                                                                 ยูสเน็ต (Usenet) §                                                                                 การพูดคุยออนไลน์ (Talk) §                                                                                 บริการเกมออนไลน์ o                                                        บริการค้นหาข้อมูล อินเตอร์เน็ตช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากในอินเตอร์เน็ตมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ จัดเก็บข้อมูลเพื่อเผยแพร่ไว้มากมาย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการค้นหาข้อมูลได้มาก บริการเหล่านี้ เช่น §                                                                                 Archie §                                                                                 WAIS ( Wide Area Information Service ) §                                                                                 Gopher §                                                                                 Veronica §                                                                                 Mailing List §                                                                                 WWW ( World Wide Web ) ระบบการแทนชื่อในอินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ในอินเตอร์เน็ตติดต่อกันโดยใช้โปรโตคอลแบบ ทีซีพี (Transmission Control) และไอพี (Internet Protocal) ซี่งเรียกรวม ๆ กันว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP) และมีการใช้หลักการเครือข่ายแบบเพคเกตสวิทช์ (packet - switching network) นั่นคือเพคเกตหรือกลุ่มข้อมูลจะถูกแบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ และส่งไปยังปลายทางโดยใช้เส้นทางต่าง ๆ กัน ตามแต่ปลายทางที่กำหนด โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่ายจะต้องมีหมายเลขประจำตัวเครื่องให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ อ้างอิงถึงกันได้ หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ในอินเตอร์เน็ตเรียกว่า หมายเลขไอพี (IP address) โดยคำว่าไอพีมาย่อมาจาก อินเตอร์เน็ตโปรโตคอล (Internet Protocal) หมายเลขไอพีจะเป็นหมายเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต หมายเลขชุดนี้จะถูกแบ่งเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิต เท่า ๆ กัน ในการอ้างถึงก็จะแปลงเลขนั้นเป็นเลขฐานสิบเพื่อความสะดวกให้ผู้ใช้อ้างถึงได้ง่าย ดังนั้นตัวเลขในแต่ละส่วนนี้จะมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 255 เท่านั้น เช่น 192.10.1.101 เป็นต้น จะเห็นได้ว่าหมายเลขไอพีจดจำได้ยาก ถ้าเครื่องในเครือข่ายมีจำนวนมากก็จะทำให้สับสนได้ง่าย จึงได้มีการแก้ปัญหาโดยตั้งชื่อที่เป็นตัวอักษรขึ้นมาแทนหมายเลขไอพี เพื่อช่วยในการจดจำ นอกจากนี้ ในกรณีที่เครื่องเสียหรือต้องการเปลี่ยนเครื่องที่ให้บริการจากเครื่องที่มีหมายเลขไอพีเป็น 192.100.10.23 เป็น 192.100.10.25 ผู้ดูแลระบบก็เพียงแต่แก้ไขข้อมูลในฐานข้อมูลให้เครื่องใหม่ใช่ชื่อของเครื่องเดิมเท่านั้น เครื่องใหม่ก็จะสามารถให้บริการได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องย้ายฮาร์ดแวร์แต่อย่างไร และผู้ใช้ยังคงใช้งานได้เหมือนเดิมโดยที่ไม่ต้องแก้ไขอะไรทั้งสิ้น ผู้ที่ต้องการติดตั้งโฮสต์คอมพิวเตอร์ (Host Computer) เพื่อเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต และให้บริการต่าง ๆ สามารถขอหมายเลขไอพีได้จาก Internet Nretwork Information Center ของ Network Solution Incorporated (NSI) ที่รัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนบริษัทที่ให้บริการอินเตอร์เน็ตเรียกว่า หน่วยงานไอเอสพี (Internet Service Provider หรือ ISP) การแทนหมายเลขไอพีด้วยชื่อคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการนั้น เรียกว่า ระบบชื่อโดเมน (Domain Name System) หรือ ดีเอ็นเอส (DNS) โดยจะจัดเก็บชื่อและหมายเลขไอพีลงในฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่พิเศษเรียกว่าเซิร์ฟเวอร์ชื่อ ดเมน (Domain Name Server ) หน่วยงาน InterNIC ( Internet Network Information Center ) ได้กำหนดรหัส โดเมนระดับบนสุด (Top - Level Domain Name ) ให้เป็นมาตรฐานใช้ร่วมกันสำหรับหน่วยงาน และประเทศต่าง ๆ โดยโครงสร้างข้อมูลชื่อโดเมนระดับบนสุดจะบอกถึงประเภทขององค์กร หรือชื่อประเทศที่เครือข่ายตั้งอยู่ ดังตาราง

รหัสโดเมน ใช้สำหรับ ตัวอย่าง
com กลุ่มธุรกิจการค้า (Commercial organization) sun.com
edu สถาบันการศึกษา (Education institution) ucla.edu
gov หน่วยงานของรัฐบาลที่ไม่ใช่หน่วยงานทางทหาร (Government agency) nasa.gov
mil หน่วยงานทางทหาร (Department of Defence of Military sites) army.mil
net หน่วยงานเกี่ยวกับเครือข่าย (Network resource) isp.net
org หน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไร (Provate organization) unesco.org

รหัสโดเมนแทนประเภทของหน่วยงาน ในกรณีที่เครือข่ายนั้นอยู่นอกประเทศสหรัฐอเมริกา จะใช้ชื่อย่อของประเทศเป็นชื่อโดเมนระดับบนสุด ดังตัวอย่างในตาราง

รหัสโดเมน ประเทศ
au ออสเตรเลีย
at ออสเตรีย
ca แคนาดา
dk เดนมาร์ค
ie ไอร์แลนด์
jp ญี่ปุ่น
th ไทย
uk อังกฤษ

รหัสโดเมนแทนชื่อประเทศ สำหรับในประเทศไทยจะมีโดเมนระดับบนสุดคือ th และมีรหัสโดเมนย่อยแทนประเภทของหน่วยงานอยู่ 3 กลุ่ม คือ

รหัสโดเมน ใช้สำหรับ ตัวอย่าง
or กลุ่มธุรกิจการค้า nectec.or.th
ac สถาบันการศึกษา chandra.ac.th
go หน่วยงานของรัฐบาล mua.go.th

รหัสโดเมนย่อยในประทศไทย จำนวนเครือข่ายที่มีการจดทะเบียนชื่อโดเมนในเดือนมกราคมปี 1997 มียอดสูงถึง 16 ล้านเครื่อง นอกจากนี้ เนื่องจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของอินเตอร์เน็ต ทำให้การแบ่งชื่อโดเมนตามประเภทขององค์กรเริ่มไม่เพียงพอ จึงกำลังมีการพิจารณาที่จะเพิ่มชื่อโดเมนระดับบนสุดเพิ่มขึ้นอีก 7 ชื่อ ดังตาราง

รหัสโดเมน ใช้สำหรับ
firm องค์การธุรกิจ
store บริษัทที่มีการขายสินค้า
web สำหรับไซต์ที่เน้นทางด้าน
art สำหรับไซต์ทางวัฒนธรรม
info บริการสารสนเทศ
nom สำหรับไซต์เฉพาะบุคคล
rec สำหรับไซต์ด้านความบันเทิง

รหัสโดเทนแทนประเภทของหน่วยงานชุดใหม่

 

สร้างโดย: 
วรรณพร เจริญแสนสวย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 455 คน กำลังออนไลน์