ศัลยกรรมแก้ไขรอยแผลเป็น

 

                

 

          ผู้ที่ต้องการปรับ รอยแผล ที่เกิดขึ้นกับผิวหนังทุกส่วนของร่างกาย ให้ดูดีขึ้น โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ซึ่งเป็นจุดเด่น และอาจจะเป็นจุดที่ทำให้ ผู้มีบาดแผลนั้นขาดความมั่นใจ หรือมีผลต่อการทำงาน แผลเป็นที่เกิดขึ้นนั้น มักจะเกิดจากการเกิดอุบัติเหตุ หลุมสิว หรือจากการทำผ่าตัด

 

มีสาเหตุหลายอย่าง ที่ทำให้แผลเป็นมองเห็นได้ชัดเจน สาเหตุหลักๆก็คือ

- บาดแผลที่เกิดขึ้น ว่ามีความรุนแรง ความบอบช้ำของผิวเนื้อ

- วิธีการเย็บ และตกแต่งบาดแผล ที่เหมาะสมกับลักษณะบาดแผล

- คุณภาพของการหาย ของผิวหนังของคนไข้แต่ละคน

ถ้าหากมีสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง หรือ มีหลายสาเหตุร่วมกัน แล้วการหายของแผลก็อาจจะมีปัญหา ทำให้เห็นได้ชัด ไม่น่าดู

แหล่งที่มา : http://www.clinicneo.co.th/img/column/DB/224_0.jpg

แผลเป็นที่มีปัญหาแยกตามลักษณะได้ดังนี้

1. ปัญหาแผลนูน มักจะเกิดจาก 2 ภาวะ คือ

     1.) แผลคีลอยด์ ( Keloid )
จะเป็นแผลที่นูนออกนอกขอบเขตของแผลเดิมมาก มีอาการคัน มักเกิดบริเวณหน้าอก อาจเริ่มจากการเป็นสิวที่ร่องอก บริเวณหัวไหล่จากการฉีดวัคซีน ติ่งหูหลังการเจาะหู หรือเป็นบริเวณอื่นๆ หลังการผ่าตัดคลอดลูก เป็นต้น สาเหตุเป็นจากหลายปัจจัย ส่วนหนึ่งเป็นจากกรรมพันธ์ คีลอยด์ไม่สามารถหายเองได้

     2.) แผลเป็นนูนที่เกิดจากปฏิกิริยาของร่างกายเพื่อให้แผลหาย ( Hypertrophic Scar )
แต่ละคนมีปฏิกิริยาดังกล่าวมากน้อยแตกแต่งกัน มักเกิดในช่วงแรกหลังการผ่าตัด จะเห็นนูนพร้อมกับมีสีแดงชมพู ประมาณ 3 สัปดาห์หลังเกิดแผล ความนูนจะลดลง สีแดงอาจเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและค่อยๆจางเมื่อเวลาผ่านไป ในบางรายการนูนอาจเกิดขึ้นใหม่หลัง 2-3 เดือน แต่ส่วนมากจะอยู่ในขอบเขตของแผล ไม่นูนยื่นแบบคีลอยด์ อาการคันเกิดได้บ้างแต่จะน้อยกว่าคีลอยด์ แผลเป็นนูนสามารถหายได้เองหลัง 1 ปี แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าลักษณะแบบใดที่ควรรอให้หายเองหรือควรจะทำการศัลยกรรมแก้ไข

2. แผลเป็นหลุม ( Depressed Scar )
ที่พบบ่อยเกิดจากการเป็นสิว หลังเกิดการอักเสบ หรือจากการเป็นฝีอีสุกอีใส เนื้อเยื่อผิวที่มีหลายชั้นถูกทำลายลึก จนไม่สามารถสร้างชั้นผิวได้ครบเหมือนผิวด้านข้าง จึงเห็นเป็นลักษณะหลุม

3. แผลยืดกว้างออกจากรอยเย็บเดิม ( Widening Scar )
ส่วนหนึ่งเกิดจากเทคนิคการเย็บแผล ที่ขอบแผลไม่แนบสนิทไม่ปราณีต หรือ เย็บได้ไม่แข็งแรงพอ ,เมื่อมีการขยับของผิวบริเวรแผล แผลก็จะแยกและยืดออก แผลลักษณะนี้พบได้บ่อยเช่นกัน

4. แผลที่มีสีไม่เหมือนสีผิวปกติที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับแผล ( Hypopigmented , Hyperpigmented Scar )
ทำให้แผลเห็นชัด ปัญหาสีที่เกิดมีได้ที่เป็นสีแดง น้ำตาล และขาว

5. แผลที่มีการดึงรั้ง หรือ เหลื่อมล้ำ ของเนื้อ ( Scar Contracture , Malalignment Scar )
มักเกิดจาก การเย็บเนื้อได้ไม่ตรงกัน หรือแผลมีความรุนแรง จนมีเนื้อหายไปแต่ไม่ได้รับการแก้ไขที่ถูกต้อง

6. แผลที่มีหลายๆปัญหาดังกล่าวร่วมกัน
 

 

กรณี แผลคีลอยด์ ( Keloid )


          ส่วนมากจะแนะนำให้ใช้การฉีดสเตรียรอยด์ มีบางกรณีเท่านั้นที่เลือกใช้การ ผ่าตัด ร่วม เช่น คีลอยด์บริเวณติ่งหู เป็นต้น
นอกเหนือจากแผลคีลอยด์ จะมีหลักการและขั้นตอนวิธีต่างๆกันดังนี้

1. ตัดแผลทั้งหมดออก แล้วทำการเย็บใหม่ ( Scar Excision ) ด้วย วิธีเย็บที่เหมาะสม มีความแข็งแรง เพื่อป้องกันการยืดของแผล และ เย็บอย่างละเอียดปราณีต เพื่อให้แผลหายได้ดีและเร็วที่สุด แผลใหม่ที่เย็บจะเป็นเส้นบางเท่าเส้นผม และขอบแผลแนบสนิทเสมอกัน นอกจากการเย็บแบบแนวเส้นตรง บางแผลจำเป็นต้องตัดและเย็บแผลแบบพิเศษ เป็นลักษณะรูปฟันปลาเล็กๆ เพื่อให้แผลหายได้ดีขึ้นกว่าวิธีเย็บปกติ

2. ตัดบางส่วน ของแผลที่มีปัญหาออก แล้วทำการเย็บบริเวณดังกล่าว ( Serail Scar Excision ) และเมื่อแผลหายดีแล้ว จึงทำการตัดส่วนที่เหลือของแผลเป็นออกอีกครั้งจนหมด มักใช้ใน แผลเป็น ที่มีขนาดใหญ่มาก ไม่สามารถตัดครั้งเดียวได้หมด

3. ตัดแผลร่วมกับการกรอผิวบริเวณแผลหรือด้านข้างของแผล เพื่อให้ผิวหนังใหม่ขึ้นคลุมแผล ลดความเด่นชัดของรอยเย็บใหม่

4. ใช้การกรอ ( Dermabrasion ) ไม่ว่าจะเป็น การใช้สารเคมี ( Chemical peel ) เครื่องมือเฉพาะ หรือเลเซอร์ ( Laser ) ได้ผลดีในรายที่แผลมีลักษณะเป็นหลุม ร่อง

5. ในกรณีที่ตัดแผลออกหมดแล้ว ไม่สามารถเย็บใหม่ได้เนื่องจากแผลมีขนาดใหญ่ หรืออยู่ในบริเวณที่มีความตึงมาก แพทย์จะเลือกใช้วิธีดังต่อไปนี้

o ใช้ผิวหนังบริเวณอื่นมาทดแทน ( Skin Graft , Flap ) เช่น ผิวหนังบริเวณต้นขา ขาหนีบ หรือใช้เนื้อเยื่อบริเวณใดก็ตามที่สามารถทำการตัดต่อเส้นเลือดได้ แต่มีข้อจำกัดดังนี้คือคุณสมบัติต่างๆของผิวย่อมไม่เหมือนกัน เช่น สี ความหนา เส้นขน ความรู้สึก

o ใช้ถุงน้ำเกลือทำการขยายเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง ( Tisssue Expansion Surgery ) เป็นการผ่าตัดขั้นตอนแรกก่อน ขั้นตอนที่ 2 จึงจะตัดแผลออกพร้อมกับใช้เนื้อเยื่อผิวหนังที่ยืดแล้วมาเย็บเข้าหากันแทนที่ส่วนที่ถูกตัดออก
ผลที่ได้หลัง จากการตกแต่งรอย แผลเป็น จะเป็นการปรับสภาพของแผลจากที่เคยเห็นได้ชัด พรางให้กลมกลืนกับเนื้อเยื่อข้างเคียง หรือจากแผลกว้างให้เหลือเป็นเพียงเส้นบางๆ
          ระยะแรกแผลยังอาจมองเห็นได้ชัด จากขอบรอบแผลที่แก้ไข มีสีชมพู (แต่ตัวแผลจะเป็นเพียงรอยเส้นบางๆเท่าเส้นผม) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาการหายตามปกติธรรมชาติของร่างกาย แต่เมื่อเวลาผ่านไปร่างกายจะปรับให้สีที่ขอบแผลจางลง

 

หลังการผ่าตัด

1. อาบน้ำ ล้างหน้า ถูสบู่ถูกบริเวณแผลได้ทันที

2. หลบเลี่ยงการถูกแดดบริเวณแผล โดยเฉพาะในช่วง 3 สัปดาห์แรกหลังทำผ่าตัด หรือใช้โลชั่นกันแดดที่มีค่า SPF มากกว่าหรือเท่ากับ 30 ทาบริเวณแผล

3. ในบางตำแหน่งที่มีการขยับเขยื้อนมาก เช่น บริเวณรอบปาก อาจจะใช้เทปปิดยึดบริเวณแผลเพื่อกันไม่ให้แผลยืดออก

4. ระยะเวลาตัดไหม มีดังนี้

- บริเวณหน้า 5 วัน

- บริเวณแขน 7 วัน

- บริเวณลำตัวและขา 10-14 วัน

 

• การแก้ไขแผลเป็น เป็นการแก้ไขให้แผลเป็นที่เห็นชัด ให้รอยแผลดีขึ้น รอยแผลจะไม่มีการหายไปจนมองไม่เห็น ผลที่ดีที่สุดหลังแก้ไขที่เป็นไปได้ ก็จะเป็นเพียงรอยแผลบางเท่าเส้นผมและเป็นรอยจางๆ มองเห็นได้ไม่ชัด ต้องตั้งใจสังเกต และผลการรักษาในแต่ละคนจะแตกต่างกันได้ จากความสามารถในการหายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน

• หลังการแก้ไขแผลเป็น(จนแผลหายเต็มที่แล้ว) ลักษณะแผลเป็นสุดท้ายจะดูดีขึ้นกว่าก่อนแก้ไข แต่การหายหลังแก้ไขอาจจะดีไม่เท่ากันทั้งหมดของแนวแผล ดังนั้นบางครั้งอาจที่จะต้องมีการแก้ไขรอยแผลบางส่วนซ้ำเพิ่มอีกเล็กน้อย

สร้างโดย: 
น.ส.จริยา วัฒนาพงษากุล และ คุรครูขนิษฐา ยั่งยืน โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กทม.

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 473 คน กำลังออนไลน์