บทเห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์

บทเห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์

             เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์เป็นกวีที่ยิ่งใหญ่ในสมัยอยุธยา พระนามเดิมคือ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศรไชยเชษฐ์สุริย์วงศ์ เรียกกันทั่วไปว่า "เจ้าฟ้ากุ้ง"   เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าฟ้ากรมขุนเสนาพิทักษ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๗๖
 "เจ้าฟ้ากุ้ง" ทรงพระนิพนธ์บทร้อยกรองไว้หลายเรื่อง ซึ่งบทที่ได้รับยกย่องว่าดีที่สุดคือบทเห่เรือ ซึ่งมีความดีเด่นด้านการคิดสร้างสรรค์รูปแบบแปลกใหม่   ทรงใช้กาพย์และโคลงคู่กันคล้ายกาพย์ห่อโคลง และทรงเปลี่ยนแปลงวิธีแต่ง ใหม่โดยแบ่งเนื้อเรื่องออกเป็นตอนๆ แต่ละตอนใช้โคลง ๑ บท   แล้วแต่งกาพย์เลียนความขยายความอีกจำนวนหนึ่ง แล้วจึงเริ่มต้นตอนต่อไปด้วยโคลง แล้วขยายความด้วยกาพย์ต่อไปอีก รูปแบบที่เจ้าฟ้ากุ้งทรงคิดขึ้นนี้    กวีรุ่นหลังยึดถือเป็นแบบฉบับ เช่น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น   นอกจากนี้ บทเห่เรือของเจ้าฟ้ากุ้งยังใช้เห่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ และในกระบวนพยุหยาตรา ทางชลมารคในปัจจุบันด้วย 

 

http://school.obec.go.th/thai_rajpracha30/Images2/1_h2.jpg


           เนื้อหาของบทเห่เรือคือ การชมเรือพระที่นั่ง และการเคลื่อนขบวนเรือตามลำน้ำที่มีธรรมชาติสวยงาม โดยนำมาเปรียบกับความรักนาง และความรู้สึกเป็นทุกข์ เนื่องด้วยการพรากจากนางตามธรรมเนียมของการแต่งนิราศ 
          การใช้ภาษาของเจ้าฟ้ากุ้งมีความไพเราะสละสลวยจับใจ คนไทยจำนวนมากมีความซาบซึ้งและจดจำบทเห่เรือของเจ้าฟ้ากุ้งได้อย่างขึ้นใจ
          สมัยอยุธยาตอนปลาย บทละครได้รับความนิยมอย่างเห็นได้ชัดกว่าสมัยก่อนๆ ตามจดหมายเหตุของลาลูแบร์ กล่าวว่า            ในกรุงศรีอยุธยา ละครเป็นมหรสพที่เล่นกันเป็นปกติ รวมทั้งโขน และระบำ บทละครสมัยอยุธยาเรียกกันทั่วไปว่า "บทละครครั้งกรุงเก่า" ส่วนมากไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งและปีที่แต่ง เช่น เรื่องรามเกียรติ์ การเกษ(การะเกด) คาวี มโนห์รา สังข์ทอง เป็นต้น
          ส่วนบทละครเรื่องดาหลัง ที่ใช้เล่นในพระบรมมหาราชวังนั้น เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลทรงพระนิพนธ์ และเรื่องอิเหนา เจ้าฟ้าหญิงมงกุฎทรงพระนิพนธ์ ทั้งสองเรื่องแต่งในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

เรื่อย่อ                                                                                                                                                     

      กล่าวถึงขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งประกอบด้วยเรือพระที่นั่งกิ่ง  และเรือที่มีโขนเรือเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ คือ  เรือครุฑยุดนาค
เรือไกรสรมุข เรือสมรรถชัย เรือสุวรรณหงษ์ เรือชัย เรือคชสีห์ เรือม้า เรือสิงห์ เรือนาคา (วาสุกรี) เรือมังกร เรือเลียงผา เรืออินทรี 
เห่ชมปลา กล่าวพรรณนาชมปลาต่าง ๆ มี ปลานวลจันทร์ คางเบือน ตะเพียน กระแห แก้มช้ำ ปลาทุก น้ำเงิน ปลากราย หางไก่       ปลาสร้อย เนื้ออ่อน ปลาเสือ แมลงภู่  หวีเกศ ชะแวง ชะวาด ปลาแปบ 
เห่ชมไม้ เมื่อเรือแล่นเลียบชายฝั่ง ชมไม้ที่เห็นตามชายฝั่ง ซึ่งมี นางแย้ม จำปา ประยงค์ พุดจีบ พิกุล สุกรม สายหยุด พุทธชาด บุนนาค เต็ง แต้ว แก้ว กาหลง มะลิวัลย์ ลำดวน 
เห่ชมนก เมื่อใกล้พลบค่ำเห็นนกบินกลับรัง ก็ชมนกต่าง ๆ มี นกยูง สร้อยทอง สาลิกา นางนวล แก้ว ไก่ฟ้า แขกเต้า ดุเหว่า โนรี สัตวา
และจบลงด้วยบทเห่ครวญ เป็นการคร่ำครวญ คิดถึงนางที่เป็นที่รักในยามค่ำคืน
 การดำเนินเรื่อง  ดำเนินเรื่องได้สัมพันธ์กับเวลาใน ๑ วัน  คือ  เช้าชมกระบวนเรือ  สายชมปลา  บ่ายชมไม้ เย็นชมนก  กลางคืนเป็นบทครวญสวาท
      การพรรณนาความ ตอนชมปลา ชมไม้ ชมนก มีการพรรณนาพาดพิงไปถึงหญิงที่รัก เข้าทำนองเดียวกับนิราศ
ประเพณีการเห่เรือ  มีมาแต่โบราณ แบ่งเป็น ๒ ประเภท  คือ  เห่เรือหลวง  และเห่เรือเล่น  เห่เรือหลวงเป็นการเห่เรือในราชพิธี 
ส่วนเห่เรือเล่น ใช้เห่ในเวลาเล่นเรือเที่ยวเตร่  กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร เดิมเป็นเห่เรือเล่น  ต่อมาในรัชกาลที่ ๔  ใช้เป็นบทเห่เรือหลวง 

  

http://www.sahavicha.com/UserFiles/Image/logoweb(1).jpg ภาพที่ ๑

http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK21/pictures/m21-59.jpg ภาพที่ ๒


     ตำนานการเห่เรือ  สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าการเห่เรือของไทยน่าจะได้แบบมาจากอินเดีย  แต่ของอินเดียใช้เป็นมนต์ในตำราไสยศาสตร์ 
บูชาพระราม  ของไทยใช้การเห่เรือบอกจังหวะฝีพายให้พายพร้อมกันเป็นการผ่อนแรงและให้ความเพลิดเพลิน
         ลำนำการเห่เรือ  มี ๓ ลำนำ คือ
          ๑. ช้าละวะเห่  มาจาก  ช้าแลว่าเห่  เป็นการเห่ทำนองช้า  ใช้เห่เมื่อเรือเริ่มออกจากท่าและเมื่อพายเรือตามกระแสน้ำ
          ๒. มูลเห่  เป็นการเห่ทำนองเร็ว ๆ ใช้เห่หลังจากช้าละวะเห่แล้ว ประมาณ ๒-๓ บท และใช้เห่เรือตอนเรือทวนน้ำ
          ๓. สวะเห่  ใช้เห่เมื่อเรืจะเทียบท่า
คุณค่าที่ได้รับ
    คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์
       ๑. รูปแบบสอดคล้องกับเนื้อหา
       ๒. ดีเด่นทางด้านการพรรณนาให้เห็นภาพ และให้อารมณ์ความรู้สึกดี
       ๓. ศิลปะการแต่งดี  มีกลวิธีพรรณนาโดยใช้การอุปมา  การเล่นคำ  การใช้คำที่แนะให้เห็นภาพ คำที่นำให้นึกถึงเสียง  คำที่แสดงอารมณ์ต่าง ๆ ได้ดี
    คุณค่าทางด้านสังคม
       ๑. สะท้อนภาพชีวิตของคนไทยในปลายกรุงศรีอยุธยาที่ใช้การสัญจรทางน้ำเป็นสำคัญ เนื่องจากประเทศไทยมีแม่น้ำลำคลองมาก
       ๒. ให้ความรู้เกี่ยวกับขบวนพยุหยาตราทางชลมารค  และประเพณีการเห่เรือ
       ๓. สะท้อนให้เห็นขนบธรรมเนียมประเพณี  ต่านิยม  และความเชื่อของคนไทย เช่น ค่านิยมเกี่ยวกับความงามของสตรีว่าจะต้องงามพร้อมทั้งรูปทรง  มารยาท  ยิ้มแย้มแจ่มใส  และพูดจาไพเราะ  ความเชื่อเรื่องเวรกรรมตามหลักพระพุทธศาสนา เป็นต้น

http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/samutprakan/malai_s/cultureofayudthaya/picture/a50.jpeg

  

สร้างโดย: 
นส.อารียาและอ.เกวลิน โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 272 คน กำลังออนไลน์