สมุทรโฆษคำฉันท์

สมุทรโฆษคำฉันท์

       สมุทรโฆษคำฉันท์ เป็นวรรณคดีมรดกอีกเรื่องหนึ่งที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็น "ยอดแห่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์" กวีเอกของไทย ๓ ท่านได้แต่งเรื่องนี้ เริ่มต้นด้วยพระมหาราชครูรับกระแสพระราชดำรัสจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราชให้แต่งในรัชสมัยของพระองค์ (พ.ศ. ๒๑๙๙ - ๒๒๓๑) พระมหาราชครูแต่งตอนที่ ๑ และตอนที่ ๒ พอใกล้จะจบตอนที่ ๒
พระมหาราชครูได้ถึงแก่อนิจกรรม ดังนั้น สมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงทรงพระราชนิพนธ์ต่อ แต่ก็ยังไม่จบ ทิ้งไว้จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสทรงพระนิพนธ์ต่อจนจบเรื่องครบทั้ง ๔ ตอน เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๒              

        สมุทรโฆษคำฉันท์ มีจุดประสงค์แต่งขึ้นเพื่อใช้เป็นบทพากย์หนัง เนื้อเรื่องได้มาจากสมุทรโฆษชาดกในปัญญาสชาดก
กล่าวถึงการผจญภัยที่สนุกสนานตื่นเต้นของพระสมุทรโฆษและนางพินทุมดี ที่ได้พระขรรค์วิเศษพาเหาะไปเที่ยวยังที่ต่างๆได้         ครั้นพระขรรค์ถูกลักไป ทั้งสองก็ต้องพลัดพรากจากกัน ต่างผจญภัยต่อไปอีกจนสามารถกลับนครได้ เรื่องราวที่สนุกสนานตื่นเต้นนี้เหมาะสมกับการเล่นหนังให้คนทั่วไปชม
        นอกจากนี้ จิตรกรไทยได้นำไปวาดภาพลงบนผนังโบสถ์ เช่น ที่พระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามและวัดดุสิตาราม กรุงเทพมหานคร เป็นต้น   

ผู้แต่ง   ผู้แต่งพระมหาราชครู  สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

ประวัติ 
      สมุทรโฆษคำฉันท์เกิดขึ้นโดยพระราชประสงค์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชรับสั่งให้พระมหาราชครูแต่งขึ้นเพื่อใช้เล่นหนังใหญ่
ในคราวเฉลิมพระเกียรติพระชนมพรรษาครบเบญจเพส เมื่อ พ.ศ.๒๐๙๙ พระมหาราชครูแต่งไม่ทันจบก็ถึงแก่อนิจกรรมเสียก่อน แต่งได้เพียง "พระเสด็จด้วยน้อง ลิลาศ ลุอาศรมอาส นเทพบุตรอันบล"เป็นตอนพระสมุทรโฆษและนางพินทุมดีเสด็จไปแก้บนพระนานายณ์มหาราชทรงพระราชนิพนธ์ต่อมาก็ไม่จบอีก ทรงเริ่มต้นตั้งแต่ "พิศพระกุฏีอา ศรมสถานตระการกล"และยุติลงเพียง "ตนกูตายก็จะตายผู้เดี่ยวใครจะดูแล โอ้แก้วกับตนกู ฤเห็น "ซึ่งเป็นคำคร่ำครวญของพิทยธรชื่อรณาภิมุข ที่บาดเจ็บเพราะถูกอาวุธของพิทธยาชื่อรณบุตร  เรื่องนี้จึงค้างอยู่อีกครั้งหนึ้ง ส่วนในตอนจบเป็นพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯทรงนิพนธ์เสร็จเมื่อ พ.ศ.๒๓๘๓ ตามคำอาราธนา ของกรมหลวสงไกสรวิชิต และกรมหลวงวงศาธิราชสนิทเริ่มตั้งแต่ "พิทยาธรทุกข์ลำเค็ญครวญคร่ำร่ำเข็ญ บรู้กี่ส่ำแสนศัลย์

ลักษณะการแต่ง    ทำนองแต่ง แต่งด้วยกาพย์และฉันท์ ตอนจบเป็นโคลงสี่สุภาพ ๔ บท

เรื่องย่อ 
         พระพุทธเจ้าเสวยพระราชเป็นพระสมุทรโฆษ โอรสท้าวพินทุทัต กับนางเทพธิดาแห่งเมืองพรหมบุรี มีพระชายาทรงพระนามว่า  นางสุรสุดา พระสมุทรโฆษตรัสลาพระบิดาพรพระมารดาและพระชายาเสด็จประพาสป่าเพื่อคล้องช้าง ขณะพระสมุทรโฆษประทับที่ต้นโพธิ์
ได้ตรัสสดุดีและขอพรเทพารักษ์ แล้วบรรทมหลับไป เทพรารักษ์ทรงพระเมตตาพาไปอุ้มสมนางพินทุมดี  พระราชธิดาท้าวสีหนรคุปต์     กับนางกนกพดี แห่งรมยบุรี จวนสว่างจึงทรงนำกลับมาไว้ที่เดิม  พระสมุทรโฆษกับนางพินทุมดีทรงครวญถึงกัน พอดีท้าวสีหนครุปต์   ทรงประกาศพิธีสยุมพรนางพิมทุมดี   พระสมุทรโฆษจึงเสด็จเข้าเมืองรมยบุรี พระสมุทรโฆษทรงประลองศรมีชัยในพิธีสยุพร ได้อภิเษกสมรสกับนางพิมทุมดี    วันหนึ่งพระสมุทรโฆษเสด็จประพาสสวน ทรงเมตตาพยาบาลรณาภิมุขซึ่งถูกรณบุตรพิทยาธรอีกตนหนึ่งทำร้ายบาดเจ็บเพราะแย่งนางนารีผลกัน และถูกชิงนางไป  รณาภิมูขถวายพระขรรค์วิเศษเป็นการตอบแทน พระสมุทรโฆษทรงใช้พระขรรค์นั้นพานางทิมทุมดีเหาะเสด็จประพาสป่าหิมพานต์                                                                                                            ต่อมาพิทยาธรอีกตนหนึ่งลักพระขรรค์ไป พระสมุทรโฆษทรงพานางเสโจประพาส  โดยพระบาทกลับเมือง ทรงข้ามแม่น้ำใหญ่โดยเกาะขอนไม้และเกิดพังกลางแม่น้ำ  นางพิมทุมดีทรงขึ้นฝั่งได้ นางมณีเมฆขลาและพระอินทร์ช่วยให้พระสมุทรโฆษขึ้นฝั่งและให้พิทยาธรนำ    พระขรรค์วิเศษมาคืน พระสมุทรโฆษทรงตามหานางพิมทุมดีจนพบ ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จกลับเมือง และได้รับเวนราชสมบัติ
  
     

          สมุทรโฆษคำฉันท์ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรในรัชกาลที่ ๖ ว่า เป็นยอดแห่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์ ทั้งนี้นอกจากความไพเราะเพราะพริ้งของฉันท์แต่ละบทแล้ว ยังประกอบด้วยรสวรรณคดีครบถ้วน  เช่น  บทโคลงลานาง บทรำพันสวาท บทสังวาส  บทรบ บทโศก บทชมบ้านเมือง บทชมธรรมชาติ บทชมกระบวนทัพ และแทรกคติธรรมไว้ด้วย เช่น ความรักอันมั่งคง ความเมตตากรุณา และความเพียร เป็นต้น สมุทรโฆษคำฉันท์มีประวัติความเป็นมาน่าอัศจรรย์นัก ที่ต้องใช้กวีแต่งต่อเนื่องกัน ๓ ท่าน  และใช้เวลาถึง ๓ แผ่นดิน คือ ตั้งแต่ กรุงศรีอยุธยา มาเสร็จลงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ กวีทั้งสามไม่ได้ร่วมแต่งพร้อมกัน แต่งต่อช่วงกัน           แต่สามารถรักษาระดับรสกวีนิพนธ์ไว้เท่าเทียนและกลมกลืนกันไว้สนิท   สมุทรโฆษคำฉันท์ดำเนินเรื่องตามสมุทรโฆษชาดก ซึ่งเป็นชาดกทางพุทธศาสนาเรื่องหนึ่ง ในปัญญาสชาดก(ชาดก๕๐ เรื่อง )ตอนที่พระมหาราชครู และสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงแต่งมีเรื่องแทรกผิดแผกไปจากชาดกบ้าง เช่น กำหนดให้พระสมุทรโฆษมีชายา คือ นางสุรสุดาอยู่ก่อนจึงไปหานางพิมทุมดี บทอุ้มสม และสงครามชิงนางพิมทุมดี   เหตุการณ์กล่าวไม่ปรากฏในชาดก ส่วนที่สมเด็จพระมาสมณเจ้าฯทรงนิพนธ์เป็นไปตามชาดกอย่างใกล้ชิดในด้านภาษาเป็นที่เป็นของพระมหาสมณเจ้าฯ ใช้คำบาลีมากว่าคำสันสกฤต

ตัวอย่างคำประพันธ์
                    เยาวยอดยุพินทร์พิน         ทุมดีสุดาพงา
                คืออัครชายา                     ยุพเยศยโศธร 
                   พระผู้บำเพ็ญโพธิ์             สมุทรโฆษธิเบศร
                 คือพุทธชินวร                   วิสุทธิเทพเจษฎา 
                   โผอนเอาตำนานเนิ่น         ดำเนิรธรรมเทศนา 
                 บัญญัติบัญญาสชา            ดกเสร็จสมเด็จแสดง

- เล่าว่าในอนาคตชาติของนางพินทุมดีคือ นางพิมพาและพระสมุทรโฆษคือ พระพุทธเจ้า

 

  

สร้างโดย: 
นส.อารียาและอ.เกวลิน โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 198 คน กำลังออนไลน์