ที่มาของเรื่องขุนช้างขุนแผน

          สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า  เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน  มีเค้าว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นระหว่าง  พ.ศ. ๒๐๓๔-๒๐๗๒ ในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ แห่งกรุงศรีอยุธยาและกลายเป็นนิทานเล่าสืบต่อกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปีก่อนที่จะนำมาแต่งเป็นกลอนเสภาในภายหลัง
          สุจิตต์  วงษ์เทศ (๒๕๔๒) ได้ศึกษาเรื่องขุนช้างขุนแผนเพิ่มเติมจากเอกสารโบราณหลายแห่งโดยเฉพาะชื่อ "ขุนแผน" นั้นเป็นชื่อที่พรายแก้วได้รับพระราชทานจากพระพันวษา  หลังจากพรายแก้วตีเมืองเชียงทองได้คำว่า "แผน" จึงน่ากลายเสียงมาจากคำว่า "แถน" ซึ่งน่าจะหมายถึง "ผีฟ้า" ของกลุ่มตระกูลไทย  สาวมาแต่ถึงยุคดึกดำบรรพ์นอกจากนี้คำว่า "ขุนแผน" ยังไปปรากฏในโรงการแช่งน้ำสมัยกรุงศรีอยุธยาโดยเรียก "พระพรหม" ว่า "ขุนแผน" ซึ่งหมายถึงผู้สร้างโลก
          ดังนั้นการตั้งชื่อตัวละครว่า "ขุนแผน" จึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญแต่เป็นเจตนาที่ยกย่องตัวละครตัวนี้ให้ยิ่งใหญ่  ซึ่งสุจิตต์  วงษ์เทศ  ยังอ้างถึงค่าให้การของชาวกรุงเก่า (แปลจากฉบับหลวงที่ได้มาจากเมืองพม่า) จารึกสุโขทัยหลักที่ ๒ (จารึกวัดศรีชุม) สรุปได้ว่าขุนแผนได้รับการยกย่องให้อยู่ในฐานะสูงมากเพราะแม้แต่ดาบฟ้าฟื้นของขุนแผนซึ่งขุนแผนในวัยชราได้ทูลถวายสมเด็จพระพันวษาก็ยังได้รับการอัญเชิญตามเสด็จคู่กับพระแสงขรรค์ไชยศรีโดยพระราชทานว่า "พระแสงปราบศัตรู" นั้นย่อมแสดงว่าเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนไม่ใช่นิทานธรรมดาแต่ในสมัยก่อนน่าจะเป็นนิทานศักดิ์สิทธิ์  นอกจากนี้สุจิตต์  วงษ์เทศ  ยังได้สืบค้นหลักฐานเพื่อยืนยันว่าเรื่องขุนช้างขุนแผนไม่ใช่เรื่องจริงแต่เป็นนิทาน  ซึ่งต่อมาภายหลังมีผู้แต่งเติมต่อให้เรื่องชวามีชีวิตชีวาสมจริงจนอ่านแล้วเหมือนเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ไทย
          เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นเสภาเพียงเรื่องเดียวที่นิยมใช้ขับกินในงานประเพณีต่างๆ  เช่น  งานโกนจุก  เนื่องจากเป็นนิทานที่ชาวกรุงเก่าชื่นชอบเพราะเป็นเรื่องสนุก  จับใจและเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง
          ในสมัยก่อนนั้นการขับเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนน่าขับเป็นบทๆ  หรือเป็นตอนๆ  สลับกับการเล่าบทได้ที่จำได้แล้วก็จะไม่ถ้าเป็นต้องดูหรืออ่านบทอีกประกอบกับเป็นของหวงที่ปกปิดกันจึงทำให้เสภาสำนวนกรุงเก่าไม่เหลือในรูปแบบของลายลักษณ์  แต่คงเหลือไว้ในความทรงจำเท่านั้น ต่อมาจึงมีการชำระและแต่งเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนขึ้นใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นระหว่างรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
          การรวมบทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีเพียง ๓๘ เล่มสมุดไทย  โดยมีตอนพลายเพชรพลายบัวรวมอยู่ด้วยจึงรวบรวงบทเสภาที่เก่าและใหม่เป็น ๔๒ เล่มสมุดไทย ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  หมอสมิธได้จัดพิมพ์บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นครั้งแรกเมื่อปีวอก  จุลศักราช ๑๒๓๔ ส่งผลให้คนขับเสภาสำนวนกรุงเก่าเหลือน้อยลง  เนื่องจากหันมาขับเสภาสำนวนหลวงแทนเพราะหาซื้อบทเสภาสำนวนหลวงได้ง่าย
          ภายหลังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพและพระราชวงศ์เธอกรมหมื่นกวีพจน์สุปรีชา  ได้ร่วมกันตรวจชำระเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนที่หลงเหลืออยู่หลายสำนวนแล้วจัดพิมพ์ขึ้นใหม่เป็นฉบับพระสมุดวชิรญาณในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ รวมทั้งสิ้น ๔๓ ตอน
ความแพร่หลายของเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนนั้นนอกจากจะจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มหลายครั้งแล้วก็ยังปรากฏในรูปแบบของบทละคร  บทภาพยนตร์และบทเพลงรักด้วย  ทั้งนี้เป็นเพราะความสมจริงที่มีชีวิตชีวาน่าประทับใจของเรื่องและตังละครทำให้เรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นที่นิยมในหมู่ชาวไทยทุกเพศ  ทุกวัยมาตั้งแต่อดีต  ด้วยเหตุผลตามที่สมเด็จฯ  เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  ทรงมีหลายพระหัตถ์ทูลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า " คนที่ชอบเรื่องขุนช้างขุนแผนเพราะเป็นเรื่องจริงนั้นก็ถูกส่วนหนึ่งแต่เห็นจะเป็นเรื่องเรื่องที่ไม่จริงตามใจหวัง  ทำให้ผู้ฟังวับหวามด้วยอีกส่วนหนึ่ง  เรื่องขวางน้ำใจอยู่ดังนี้ของเรามีอยู่เรื่องเดียวเท่านั้น  ประกอบกับคำแต่งเหมือนเรื่องของจิงจังจึงชอบกันไม่รู้จืด" (วิจารณ์เรื่องตำนานเสภาอ้างจาก  สุจิตต์  วงษ์เทศ  ๒๕๒๘)

         

         

         

   

สร้างโดย: 
นางสาวรัชนี ทองถาวรีย์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 448 คน กำลังออนไลน์