user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('บัญชีผู้ใช้', 'user/login', '', '3.17.173.211', 0, 'a8b9c6db24ad0fe0ec96c33ce55394a8', 154, 1716106875) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

ข่า

 

 

 

 

 

ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์

ชื่อวิทยาศาสตร์

Alpinia galanga (Linn.) Swartz.,

Languas galanga (Linn.) Stuntz.

ชื่อวงศ์

Zingiberaceae

ชื่ออังกฤษ

Galangal, False galangal, Greater galanga

ชื่อท้องถิ่น

กฏุกกโรหิณี, ข่าหยวก, ข่าหลวง, สะเอเชย, เสะเออเคย

 

 

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์

1.  ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้

                    ข่ามีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ โดยพบสารออกฤทธิ์ คือ cineole (1, 2), camphor (2, 3) และ eugenol (4)

2.  ฤทธิ์ขับน้ำดี

                    ข่ามี eugenol (5) ซึ่งมีฤทธิ์ขับน้ำดี จึงช่วยย่อยอาหารได้

3.  ฤทธิ์ขับลม

                    ข่ามีน้ำมันหอมระเหย (6) ซึ่งมีฤทธิ์ขับลม

4.  ฤทธิ์ลดการอักเสบ                     

ข่ามีสารออกฤทธิ์ คือ 1'-acetoxychavicol acetate (7), 1'-acetoxyeugenol acetate (7) และ eugenol (8) ช่วยลดการอักเสบ (7, 8) และตำรับที่มีข่าเป็นส่วนประกอบมีฤทธิ์ลดอักเสบได้ (9, 10)

5.   ฤทธิ์ยับยั้งแผลในกระเพาะอาหาร

    ข่ามีสารออกฤทธิ์คือ 1'-acetoxychavicol acetate (11, 12) และ 1'-acetoxyeugenol acetate (11) จึงช่วยยับยั้งแผลในกระเพาะอาหารได้ (11, 12) 6.  ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

                    สารสกัดข่าด้วยไดเอทิลอีเธอร์ ปิโตรเลียมอีเธอร์ และน้ำกลั่นสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli (13) ที่เป็นสาเหตุของอาการแน่นจุกเสียดท้องได้ โดยพบ eugenol (14) เป็นสารสำคัญในการออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

7.  ฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา

                    สารสกัดข่าด้วยน้ำกลั่น (15, 16) เมทานอล (16) ไดคลอโรมีเทน (16) เฮกเซน (16) หรืออัลกอฮอล์ (17) สามารถฆ่าเชื้อรา คือ Microsporum gypseum (15-22), Trichophyton rubrum (15-19) และ Trichophyton mentagrophyte (15-17, 20-23) ที่เป็นสาเหตุของโรคกลากเกลื้อนได้ โดยพบ 1'-acetoxychavicol acetate และ 1'-acetoxyeugenol acetate (23) เป็นสารสำคัญในการออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา

8.  การทดลองทางคลินิกใช้รักษากลากเกลื้อน

                    ได้มีการศึกษาการรักษากลากโดยใช้ข่าเปรียบเทียบกับ tolnaftate พบว่าได้ผล (24)

                9. หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ

 

                     9.1  การทดสอบความเป็นพิษ

                                    เมื่อฉีดสารสกัด 50% เอทานอลจากเหง้าข่าเข้าช่องท้องหนูถีบจักร พบว่าขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง (LD50) เท่ากับ      1 ./กก. (25) และ 188 มก./กก.(26) เมื่อฉีดน้ำมันหอมระเหยจากเหง้าข่าเข้าช่องท้องหนูตะเภา พบว่ามีค่า LD50 เท่ากับ 0.68 มล./กก. (27) และเมื่อฉีดสารสกัดอัลกอฮอล์จากเหง้าข่าขนาด 100 มล./กก. เข้าช่องท้องหนูถีบจักรติดต่อกัน 7 วัน (17) หรือให้สารสกัด 50% เอทานอลทางปากหรือฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนูถีบจักร (28) พบว่าไม่เป็นพิษ  จากการทดสอบพิษเฉียบพลันโดยป้อนสารสกัด 95% เอทานอลจากเหง้าข่าให้หนูถีบจักรในขนาด 0.5, 1 และ 3 ./กก. พบว่าไม่มีสัตว์ทดลองตาย แต่เมื่อให้สารสกัดเดียวกันนี้กับน้ำดื่มในขนาด 100 มก./กก. ติดต่อกัน 3 เดือน    ทำให้หนูถีบจักรตาย 15% (29)

    9.2  พิษต่อเซลล์

                                   สารสกัดเมทานอลจากเหง้าข่าที่ความเข้มข้น 20 มคก./มล. เป็นพิษต่อเซลล์ Raji (30) สาร galanolactone และ (E)-8(17)-epoxylabd-12-ene-15,16-dial จากเหง้าข่าเป็นพิษอย่างอ่อนต่อเซลล์ 9KB (31) ขณะที่สารสกัด 50% เอทานอลจากเหง้าข่าไม่เป็นพิษต่อเซลล์นี้ (25, 26)                   9.3  ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์

                                                  สารสกัดเหง้าข่าด้วยน้ำและน้ำร้อน ขนาด 0.5 มล./จานเพาะเชื้อ และเหง้าข่าสด ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อเชื้อ Bacillus subtilis H-17 (Rec+) และ M-45  (Rec-) (32) ทิงเจอร์ ขนาด 80 มคล./จานเพาะเชื้อ ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ต่อเชื้อ Salmonella typhimurium TA 98, 100 (33)

 

การใช้ข่ารักษาอาการแน่นจุกเสียด

1.  ใช้เหง้าสด 5 กรัม    หรือเหง้าแห้ง 2 กรัม ต้มกับน้ำจนเดือด รินน้ำดื่ม (34) 2. 

กวนหัวข่าแก่ตำละเอียดกับน้ำปูนใส 2 แก้ว นำมาดื่ม (35)

 

การใช้ข่ารักษากลาก, เกลื้อน

1.  ใช้เหง้าสดกับเหล้าโรง หรือน้ำส้มสายชู หรือเหง้าสดตำแช่แอลกอฮอล์ทา (34)2. 

เอาข่าปอกเปลือกนิดหน่อย จุ่มเหล้าแล้วเอามาทาบริเวณที่เป็นเกลื้อน ทาแรงๆ ทำเช่นนี้ 4-5 วัน ก็จะหาย (36)

3.  เอาหัวข่าแก่ๆ ล้างให้สะอาดฝานเป็นแว่นบางๆ หรือทุบพอแตก นำไปแช่เหล้าขาวทิ้งไว้สัก 1 คืน ทำความสะอาดขัดถูบริเวณที่เป็นเกลื้อนจนพอแดง และแสบ ;  แล้วเอาข่าที่แช่ไว้มาทาเฉพาะที่ๆ เป็นเกลื้อน ;  จะรู้สึกแสบๆ เย็นๆ ;  ทาเช้าและเย็นหลังอาบน้ำทุกวัน ประมาณ          2 สัปดาห์ เกลื้อนจะจางลงและหายไปในที่สุด (37) 4. 

เอาหัวข่าล้างให้สะอาด ฝานเป็นแผ่นบางๆ นำไปแช่เหล้า 35 ดีกรี ประมาณ 5 นาที แล้วทาที่มีผื่นคัน ;  อาการจะหายไป และถ้าแช่ค้างคืนจะใช้รักษาเกลื้อนได้ดี (38)

5.  ใช้ข่าสดตัดท่อนละ 1 นิ้ว ทุบให้แตกพอช้ำอย่าถึงกับละเอียด ใส่ถ้วยแช่เหล้าโรงประมาณ 1/4 ถ้วยชา ใช้สำลีชุบทาวันละครั้ง (39) 6. 

ใช้หัวข่าแก่ๆ นำมาตำพอแหลก แล้วผสมเหล้าหรืออัลกอฮอล์ แช่ไว้ 1 คืน ใช้ทาแก้เกลื้อน หรือกลาก (40, 41)

 

 

กลับหน้าหลัก

สร้างโดย: 
pim

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 377 คน กำลังออนไลน์