มงคลที่ 38 จิตเกษม

                                                                    มงคลที่ 38 จิตเกษม

                                                        

     แหล่งที่มา : http://www.pantown.com/board.php?id=20159&area=3&name=board1&topic=3&action=view

 

จิตเกษม เปรมปรีดิ์ ดีตลอด
เป็นจิตปลอด จากโอฆ ในโลกสาม
เครื่องผูกมัด สลัดหมด แสนงดงาม
เข้าถึงความ สุขสันต์ นิรันดร

 ภัยของมนุษย์
     ทันทีที่เกิดลืมตามาดูโลก เราก็ต้องผจญกับภัยต่างๆ นานาชนิดที่พร้อมจะเอาให้ถึงตายอยู่ทุกวินาที เหมือนว่ายน้ำท่ามกลาง
ความมืดอยู่กลางทะเลมหาโหด ภัยทั้งหลายเหล่านี้แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
 1.ภัยภายใน พอเกิดมาเราก็มีภัยชนิดนี้มาผจญคอยดักอยู่ตลอดเวลารุมล้อมรอบตัว
     ข้างหลัง  คือ   ชาติภัย ภัยจากการเกิด
     ข้างขวา  คือ   ชราภัย ภัยจากความแก่
     ข้างซ้าย  คือ   พยาธิภัย ภัยจากความเจ็บ
     ข้างหน้า  คือ   มรณภัย ภัยจากความตาย
 ภัยเหล่านี้รุมล้อมเราทั้งซ้ายขวาหน้าหลัง ทุกด้านเลยทีเดียว ใคร ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้
 2.ภัยภายนอก มีอยู่นับไม่ถ้วน เช่น
 - ภัยจากคน เช่น ผัวร้าย เมียเลว ลูกชั่ว เพื่อนที่ไม่ดี คนพาล คนเกเร นับไม่ถ้วน
 - ภัยจากธรรมชาติเช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ฟ้าผ่า
 - ภัยจากบาปกรรมตามทัน ถูกล้างผลาญทุกรูปแบบ ไปลักขโมย โกงเขาเขาจับได้ถูกขังคุกลงโทษกัน ก็สารพัดล่ะ ฯลฯ

 
ทำไมเราจึงต้องพบกับภัยเหล่านี้
     การที่เราต้องตกอยู่ท่ามกลางวงล้อมของภัยทั้งหลาย ดิ้นกันไม่หลุดเกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิด ก็ยังต้องรับทุกข์รับภัยกันอยู่ไม่รู้
กี่แสนกี่ล้านๆๆๆ ชาติมาแล้ว ทั้งนี้ก็เพราะถูกผูกด้วย “โยคะ” แปลว่า เครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพมีอยู่ 4 ประการ ได้แก่
 1.กามโยคะ คือ ความยินดีพอใจในกามคุณ อยากฟังเพลงเพราะๆ อยากทานอาหารอร่อยๆ ได้สวมใส่เสื้อผ้าสวยๆ นุ่มนวลสวม
ใส่สบาย อยากเห็นรูปสวยๆ ได้สัมผัสที่นุ่มนวล ได้แฟนสวยๆ มีสมบัติเยอะๆ ความใคร่ทั้งหลายเหล่านี้เป็นเหมือนเชือกเกลียว
แรกที่ผูกมัดตัวเราไว้
 2.ภวโยคะ คือ ความยินดีพอใจในรูปฌานและอรูปฌาน คนที่พ้นเชือกเกลียวแรก พ้นกามโยคะมาได้ ก็มาเจอเชือกเกลียวที่ 2 นี้
คือ เมื่อได้เจอความสุขจากการที่ใจเริ่มสงบ ทำสมาธิจนได้รูปฌานหรืออรูปฌานก็พอใจยินดีติดอยู่ในความสุขจากอารมณ์ของฌาน
ตายไปก็ไปเกิดเป็นรูปพรหม หรือ อรูปพรหม ซึ่งก็ยังไม่พ้นภัย หมดบุญก็ต้องลงมาเกิดเจอภัยกันอีก นี่เป็นเหมือนเชือกเกลียวที่ 2
 3.ทิฏฐิโยคะ คือ ความยึดถือความคิดเห็นที่ผิดๆ ของตนเอง เช่น เห็นว่าพ่อแม่ไม่มีพระคุณต่อตนบ้าง เห็นว่าโลกนี้โลกหน้าไม่มีจริงบ้าง เห็นว่าตนเองจะพ้นทุกข์ได้ด้วยการบวงสรวงอ้อนวอนบ้าง ใจยังมืดอยู่ยังไปหลงผิด ความเห็นผิดๆ อยู่ สิ่งนี้ก็เลยเป็นเหมือนเชือกเกลียวที่ 3
 4.อวิชชาโยคะ คือ ความไม่รู้แจ้งในพระสัทธรรม ความสว่างของใจยังไม่พอ ยังไม่เห็นอริยสัจ 4 ไม่เห็นทางพ้นทุกข์พ้นภัย นี่ก็เป็น
เหมือนเชือกเกลียวที่ 4
   ทั้ง 4 อย่างนี้เป็นเหมือนเชือก 4 เกลียวที่ผูกมัดตัวเราไว้กับภพ ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารโดยไม่รู้จบสิ้น ทำให้ต้องมาพบกับภัยทั้งหลาย ดิ้นกันไม่หลุดทีเดียว

จิตเกษมคืออะไร?
 เกษม แปลว่า ปลอดภัย พ้นภัย สิ้นกิเลส มีความสุข
 จิตเกษม จึงหมายถึง สภาพจิตที่หมดกิเลสแล้ว โยคะเครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพ เชือกทั้ง ๔ เกลียว ได้ถูกฟันขาดสะบั้นโดยสิ้นเชิง จิตเป็นอิสระเสรี ทำให้คล่องตัวไม่ติดขัด ไม่อึดอัดอีกต่อไป ไม่มีภัยใดๆ มาบีบคั้นได้อีก จึงมีความสุขอย่างแท้จริง พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดผู้ที่จะมีจิตเกษมได้อย่างแท้จริง คือผู้ที่มีใจจรดนิ่งแช่อิ่มอยู่ในพระนิพพานตลอดเวลา ซึ่งก็ได้แก่ พระอรหันต์นั่นเอง จิตของพระอรหันต์นั้น นอกจากจะหมดกิเลสแล้ว ก็ยังทำให้มีความรู้ความสามารถพิเศษอีกหลายประการ เช่น


 วิชชา 3
 วิชชา 3 คือ ความรู้แจ้ง ความรู้พิเศษอันลึกซึ้งด้วยปัญญา ได้แก่ ญาณ คือ ความหยั่งรู้ ซึ่งเกิดจากการทำสมาธิสุดยอดเข้าถึงธรรมกายคือ
 1.ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ระลึกชาติตัวเองได้
 2.จุตูปปาตญาณ คือ ตาทิพย์ ระลึกชาติคนอื่นได้
 3.อาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้หมดกิเลส

อภิญญา 6
 อภิญญา 6 คือ ความรู้อันยิ่งยวด เหนือความรู้จากการตรองด้วยหลักเหตุผลธรรมดา ได้แก่
 1.อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้ เช่น เหาะเหินเดินอากาศ แปลงกายเป็นสิ่งต่างๆ ย่อ-ขยายตัวได้ หายตัวได้ ฯลฯ
 2.ทิพยโสต มีหูทิพย์
 3.เจโตปริยญาณ รู้วาระจิตคนอื่น รู้ว่าเขากำลังคิดอะไร
 4.ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้
 5.จุตูปปาตญาณ (ทิพยจักษุ) มีตาทิพย์
 6.อาสวักขยญาณ ทำกิเลสให้สิ้นไปได้
 ในอภิญญา 6 นี้ 5 ข้อแรกเป็นโลกียอภิญญา ข้อที่ 6 เป็นโลกุตรอภิญญา คุณวิเศษเหล่านี้ เป็นผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติธรรมด้วยตัวเอง ไม่ใช่เกิดขึ้นเพียงด้วยการบอกเล่าหรือสั่งสอนกัน ผู้ปฏิบัติธรรมถึงขั้นนั้นๆ แล้วจึงจะประจักษ์แจ้งด้วยตนเอง

ปฏิสัมภิทาญาณ 4
 ปฏิสัมภิทาญาณ 4 คือ ความสามารถพิเศษในการสั่งสอนคนอื่น ได้แก่
 1.อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ เห็นข้อธรรมใดก็สามารถอธิบายขยายความออกไปได้โดยพิสดาร
 2.ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม สามารถสรุปข้อความได้อย่างกระชับเก็บความสำคัญได้หมด
 3.นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ คือ แตกฉานเรื่องภาษาทุกภาษาทั้งภาษาของมนุษย์และสัตว์ สาารถเข้าใจได้
 4.ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ มีไหวพริบปฏิภาณดี สามารถอธิบายแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้ดี ตอบคำซักถามได้แจ่มแจ้ง

 การปฏิบัติธรรมมีอานิสงส์มากมายถึงปานนี้ เราทุกคนจึงควรตั้งใจฝึกฝนตนเองตามมงคลต่างๆ ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ทำอย่างเอาจริงเอาจังตั้งใจ ไม่ช้าเราก็จะเป็นผู้รู้จริงทำได้จริงผู้หนึ่ง มีจิตเกษมปลอดภัยจากภัยต่างๆ และมีความรู้พิเศษสุดยอด ตามเยี่ยงอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหล่าพระอรหันต์สาวกทั้งหลายได้

                                       

“เกิดมาว่าจะหาแก้ว พบแล้วไม่กำ จะเกิดมาทำอะไร อ้ายที่อยากมันก็หลอก อ้ายที่หยอกมันก็ลวง ทำให้จิตเป็นห่วงเป็นใย เลิกอยากลาหยอก รีบออกจากกาม เดินตามขันธ์สามเรื่อยไป เสร็จกิจสิบหก ไม่ตกกันดาร จะเรียกว่านิพพานก็ได้” (โอวาทพระมงคลเทพมุนี หลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ)

                                          

              แหล่งที่มา : http://www.dmc.tv/forum/uploads/monthly_07_2009/post-4320-1248017627.jpg

                                                                                

                                                                    สารบัญ คลิกที่นี่

สร้างโดย: 
นางปาลิดา สวนชังและนางสาวนันทิชา เรืองวินิตวงศ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 432 คน กำลังออนไลน์