ปริศนาคำทาย

ปริศนาคำปริศนาคำทาย

 
หมายถึง ถ้อยคำที่ยกขึ้นเป็นเงื่อนงำ เพื่อให้แก้ ให้ทาย การเล่นทายกัน ใช้ถ้อยคำธรรมดาเป็นภาษาร้อยแก้ว หรือจะมีสัมผัสแบบภาษาร้อยกรองก็ได้ ภาษาที่ใช้นั้นเป็นภาษาสั้น ๆ ง่าย ๆ กระชับความ แต่ยากแก่การตีความในตัวปริศนาอยู่บ้าง มักนิยมกันในหมู่เด็ก ๆ หรือผู้ใหญ่ ยกคำทายเพื่อมาทายกัน เป็นการฝึกสมอง ลองภูมิปัญญา ช่วยฝึกความคิด ก่อให้เกิดการเรียนรู้ ความเข้าใจ และเกิดความสนุกขบขัน บันเทิงใจด้วย นอกจากจะนี้ ยังฝึกให้เด็ก ๆ รู้จักจำ รู้จักสังเกต เป็นวิธีการสอนเด็กที่ชาญฉลาดอย่างยิ่ง ในสมัยโบราณ การลองภูมิปัญญาว่าผู้นั้นจะมีความเฉลียวฉลาดหรือไม่เพียงไร วิธีหนึ่งก็คือ การทายปริศนาหรือการทายปัญหาดังนั้นการเล่นปริศนาคำทาย จึงเป็นที่นิยมกันมาจนถึงปัจจุบันนี้
ปริศนาคำทาย วิธีเล่นคือผู้ทายจะเริ่มต้นการทายด้วยคำขึ้นต้นว่า "อะไรเอ่ย" ต่อจากนั้นก็จะเริ่มทายถึงสิ่งของ คน ต้นไม้ ผักสด ผลไม้ สัตว์ ฯลฯ โดยนำลักษณะเด่นหรือนำไปเปรียบเทียบกับสิ่งอื่นที่ใกล้เคียงกันเป็นการชี้แนะเพื่อให้ทายถูก อาจมีปัญหาเชาวน์ ซึ่งผู้ตอบจะต้องมีความรู้รอบตัว และมีความจำอย่างดีว่า คำตอบนั้นคืออะไร ถ้าทายถูกจะเป็นผู้ตั้งปัญหา ถ้าทายผิดจะต้องตอบปัญหาใหม่ หรือผู้ถามจะถามคนเดียวต่อไปเรื่อย ๆ ก็ได้
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็นิยมทายปริศนากัน แต่มักจะแต่งเป็นโคลงหรือกลอนให้มีความไพเราะไปในทางภาษาหนังสือ เป็นการทายในหมู่ชนชั้น ที่ได้รับการศึกษา ซึ่งต่างจากการทายปริศนาตามหมู่บ้านหรือตามประสาชาวบ้าน เช่น
 วัดหนึ่งนามเรียกคล้าย เวลา ราตรีต่อทิวา นั่นไซร้ มีนามซึ่งชนสา- มัญเรียก แปลว่าวัดซึ่งไร้ ร่มไม้ชายคา
 (เฉลย – วัดแจ้ง หรือ วัดอรุณ)
  เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธมกุฎราชกุมาร พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในบางโอกาส สำหรับให้ข้าราชบริพารส่วนพระองค์คิดทายกันเล่น หรือภายในแวดวงข้าราชสำนักสมัยนั้น เช่นในงานฤดูหนาวประจำปีที่วัดเบญจมบพิตรในสมัยนั้น จัดว่าเป็นงานที่สนุกสนานที่สุด เป็นงานที่เจ้านายเชื้อพระวงศ์มาออกร้านกันมาก การเล่นทายปัญหาหรือปริศนานับว่าเป็นจุดสำคัญที่สุดของงาน
รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชนิพนธ์ปัญหาร่วมด้วย จึงมีข้าราชบริพารสนใจตอบหรือทายกันมาก และมีรางวัลสมนาคุณให้แก่ผู้ที่ตอบหรือทายถูกอีกด้วย การเล่นทายปัญหาในวัดเบญจมบพิตรนี้ ในขั้นแรกเรียกว่าเป็นการทาย “ผะหมี” ซึ่งเป็นการเล่นอย่างแพร่หลายในหมู่ นักปราชญ์ราชบัณฑิตและกวีในประเทศจีน

ลักษณะของปริศนาคำทาย
  นิยมใช้คำคล้องจองกันโดยไม่กำหนดจำนวนคำในแต่ละวรรค เป็นข้อความสั้น ๆ กะทัดรัดหรืออาจผูกเป็นปริศนากลอน ซึ่งบ่งบอกถึงความเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอนทำให้จำได้ง่าย
เนื้อหานั้นมักจะนำมาจากสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา เช่น ของใช้ คน สัตว์ ผัก พืช เวลา สถานที่ เครื่องใช้ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ เชาว์ปัญญา ฯลฯ ซึ่งผู้ผูกปริศนาจะต้องเป็นคนช่างสังเกต แล้วนำเอาสิ่งที่สังเกตเห็นมาผูกปริศนาให้ผู้อื่นใช้ปัญญาเพื่อแก้หรือทาย
จำนวนข้อความคำถามจะมีความสั้นยาวไม่เท่ากัน คือ อาจจะมีเพียงตอนเดียว สองตอน สามตอน หรือมากกว่านี้ แต่ข้อความทุกตอนจะเป็นการบอกคำตอบอยู่ในตัวเป็นนัยๆ ซึ่งเมื่อนำคำตอบมารวมกันจะเป็นลักษณะของสิ่งที่ทายนั่นเอง
ไม่นิยมถามตรง ๆ แต่จะใช้สิ่งเปรียบเทียบ
มีการท้าทายให้ผู้ไขปริศนาพยายามคิด

ประโยชน์ที่ได้รับ
1.ผู้เล่นได้รับความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ขบขัน เป็นการพัฒนาจิตใจให้แจ่มใส
2.ฝึกให้ผู้เล่นเป็นผู้มีนิสัยช่างสังเกต ช่างคิด ฉลาดเฉลียวในการฝึกปัญญาของผู้เล่น
3.ผู้เล่นจะได้รับความรู้ด้านต่าง ๆ เช่น สำนวนภาษา สังคมวิทยา และธรรมชาติวิทยา
4.เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
5.เป็นการสร้างความสามัคคีสร้างมนุษยสัมพันธ์ในหมู่ผู้เล่นอีกด้วย
6.เป็นการพัฒนาการใช้ภาษา
7.เป็นการฝึกให้มีไหวพริบ เชาวน์ ปัญญาดี ทายเปรียบกับสิ่งมีชีวิต

http://www.thaigoodview.com/node/49971 = ปริศนาคำทายเกี่ยวกับต้นไม้และพืช

http://www.thaigoodview.com/node/50313 แนะนำหนังสือปริศนาคำทาย

สร้างโดย: 
natchaya

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 454 คน กำลังออนไลน์