Prokaryotic Cell

 

 

 

 Prokaryotic cell

 

http://micro.magnet.fsu.edu/cells/procaryotes/images/procaryote.jpg

 

     เซลล์โปรคาริโอต ( Prokaryotic Cell ) เป็นเซลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส  จึงทำให้ไม่มีออร์แกเนลล์ ( Organelle ) ที่มีเยื่อหุ้มอยู่

ด้วย

ลักษณะสำคัญ

     1) ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเครียสดีเอ็นเอหรือโครโมโซมอยู่ในไซโทพลาซึม เมื่อดูด้วยกล้องบจุลทรรศน์จะเห็นว่าเซลล์ไม่มีนิวเครียส

         ที่ชัดเจน ยกเว้นในระยะที่เซลล์มีการแบ่งตัวดีเอ็นเอหรือโครโมโซมจะจับกลุ่มกันหนาแน่นทำให้มองเห็นทึบแสง เรียกว่า

         นิวคลีออยด์

     2) ปกติมีดีเอ็นเอเพียงหนึ่งโมเลกุลและไม่มีสารพวก ฮิสโทน ปน การรเจริญเพิ่มจำนวนจจึงเป็นไปในรูปแบบจากหนึ่งเป็นสอง

         คล้ายๆแบ่งครึ่งหรือแบ่งท่อนแต่จะไม่มีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส บางกรรณีอาจมีการสับเปลี่ยนยีนบางส่วนได้คล้ายๆ กัน

         กับการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

     3) ส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ปกติจะไม่มีสารพวกสเตียรอล

     4) เยื่อหุ้มของโครงสร้างต่างๆภายในไซโทรพลาซึมจะเป็นแบบง่ายๆ เช่น เยื่อหุ้มของโซโซม 

     5) มีไรโบโซมชนิดที่มีขนาดเล็ก

     6) ไม่มี organelle ที่มีเยื่อหุ้มแบบง่ายๆภายในไซโทรพลาซึม

     7) ระบบหายใจที่ใช้ออกซิเจนจะเกิดที่เยื่อหุ้มเซลล์หรือโซโซม

     8) พวกโปรคาริโอตบางชนิดที่สามารถสังเคราะห์แสงได้ ส่วนโครงสร้างที่จะช่วยสังเคราะห์แสงจะอยู่ในเยื่อหุ้มภายใน

         ไม่มีคลอโรพลาสต์

     9) โครงสร้างที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของเซลล์พวกที่เคลื่อนไหวได้จะเป็นแฟลเจลลัม ซึ่งมีขนาดเล็กมากและไม่มีอะไรหุ้ม

    10) เซลล์ทั่วๆไปมีขนาดเล็ก มักมีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 2 ไมครอน

    11) ผนังเซลล์มีเพปทิโดไกลแคน ยกเว้นพวก ไมโคพลาสมา

 

โครงสร้างของเซลล์

    1) ผนังเซลล์ ( Cell Wall ) เป็นส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์อยู่อีกทีหนึ่ง โครงสร้างนี้ไม่มีชีวิต สร้างขึ้นจากโปรโตพลาสต์ มีความหนา

ประมาณ 10 นาโนเมตร ทำหน้าที่ให้ความแข็งแรงกับเซลล์และช่วยให้เซลล์คงรูปร่างได้ทั้งแบคทีเรียและสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน

สารที่ประกอบขึ้นเป็นผนังเซลล์ คือ เปปติโดไกลแคน ( Peptidoglycan ) ภายนอกผนังเซลล์อาจมี Sheath หรือ Capsule หุ้ม

กรณีของ Sheath เป็นโครงสร้างของสารที่เซลล์ขับออกมาเพื่อป้องกันความแห้งแล้งและเพื่อการลื่นไถล ( gliding ) ไปตามพื้นผิวที่

สัมผัส อาจใส หรืออาจมีสีแดงถ้าสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยมี pH ค่อนข้างต่ำ แต่ถ้าสภาพแวดล้อมมีค่า pH สูงจะมีสีน้ำเงิน แต่ถ้าอยู่

อาศัยมีความเค็มสูงกว่าปกติ Sheath จะมีสีน้ำตาลหรือเหลือง

     2) เยื่อหุ้มเซลล์ ( Cell Membrance ) ประกอบด้วยเยื่อบางๆ 2 ชั้นประกบกันเยื่อหุ้มเซลล์บางส่วนจะยื่นเข้าไปในเซลล์ เรียกว่า

มีโซโซม ( Mesosome ) เอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาออกซิเดชั่นจะอยู่ที่นี้และในระยะที่มีการแบ่งเซลล์สายของ DNA จะมาเกาะ

ดังนั้นหน้าที่ของ โครงสร้างนี้จึงเกี่ยวข้องกับการจำลองตัวเองของ DNA และการหายใจของเซลล์

     3) นิวคลีออยด์ ( Nucleoid ) เป็นบริเวณที่มีสีจางๆ มักอยู่ตรงกลางเซลล์บริเวณนี้เป็นที่อยู่ของโครโมโซมของแบคทีเรีย ซึ่ง

ประกอบด้วย โมเลกุลของ DNA ที่มีลักษณะเป็นวงกลม ความหนาของสาย DNA ประมาณ 3-5 นาโนเมตร

     4) ไรโบโซม ( Ribosome ) มีขนาด 70S ลักษณะกลมเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20-30 นาโนเมตร ทำหน้าที่สังเคราะห์

โปรตีนให้กับเซลล์

     5) แฟลกเจลลัม ( Flagellum ) เป็นโครงสร้างที่ช่วยในการเคลื่อนที่พบเฉพาะในแบคทีเรียบางกลุ่มแต่ไม่พบในเซลล์ของ

สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน

     6) ไพลัส ( Pillus ) เป็นโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับการเกาะติดกันของเซลล์เมื่อเซลล์มาเรียงต่อกันเป็นสาย

     7) เอนโดสปอร์ ( Endospore ) เป็นโครงสร้างที่มี dipicolinic acid และ แคลเซียมอิออนเป็นส่วนประกอบ โครงสร้างนี้

ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายให้กับเซลล์

 

    

 

สร้างโดย: 
อาจารย์กวิสรา ชาลาภคำ และ นางสาวกมลวรรณ ไชยศรีษะ โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 510 คน กำลังออนไลน์