• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:b33743f7f2a21955037b8d6d8d143ad8' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p>\n ขนมพอผสมกับน้ำยา  : ที่มาของสำนวนคำพังเพยนี้เข้าใจว่ามาจาก  &quot; ขนมจีนน้ำยา &quot;  ที่เราเคยรับประทานกันมาแล้ว  คือ  ขนมจีนกับน้ำยาจะต้องผสมให้เข้ากันหรือได้ส่วนพอเหมาะ  จึงจะรับประทานอร่อยเรียกว่าเวลาตักน้ำยาราดขนมลงบนขนมจีน  ต้องกะส่วนให้พอลงคลุกผสมกับขนมจีนได้พอเหมาะ  หรือให้มีสัดส่วนเข้ากันพอดีทั้งสองฝ่าย  เมื่อรับประทานแล้วเกิดอร่อยไม่ใช่ว่าขนมจีนอร่อย  หรือน้ำยาอร่อยแต่อร่อยด้วยกันทั้งสองอย่าง  เรียกว่า  &quot; พอดีกัน &quot;  จึงเกิดเป็นสำนวนที่ตีความหมายเอาว่า  ทั้งสองฝ่ายต่างพอดีกัน  จะว่าข้างไหนดีก็ไม่ได้.\n</p>\n<p align=\"center\">\n<img border=\"0\" width=\"600\" src=\"/files/u20074/S02.jpg\" height=\"386\" />\n</p>\n<p align=\"center\">\n<a href=\"http://www.siamtower.com/supasit/p02.html\">http://www.siamtower.com/supasit/p02.html</a> \n</p>\n<p>\n<br />\n ขี่ช้างจับตั๊กแตน  :  หมายความว่า  ลงทุนเสียมากมายเพื่อทำงานเล็ก ๆ เท่านั้น  เป็นทำนองว่าผลประโยชน์ที่ได้ไม่คุ้มกับที่ลงทุน  หรือทำให้เป็นการใหญ่โตเลย  หรือแปลความหมายสั้น ๆ &quot; ทำงานใหญ่เกินตัว &quot; \n</p>\n<p align=\"left\">\n ขี่ช้างอย่าวางของ  : เป็นสำนวนเปรียบเทียบเตือนใจว่าการที่มีลูกน้อง  หรือมีผู้น้อยอยู่ในความปกครอง  บังคับบัญชาของเรา  ก็อย่าประมาทละเลยเสีย  ต้องหมั่นกวดขันกำชับ  เปรียบได้กับคนขี่ช้างต้องคอยถือขอสับช้างบังคับช้างไว้อยู่ตลอดเวลา  ถ้าวางของหรือไม่ใช้ขอคอยสับไว้  ช้างก็อาจพาลเกเรไม่ทำงานได้.\n</p>\n<p align=\"left\">\n<br />\n ขี้ก้อนใหญ่ให้เด็กเห็น  :  สำนวนนี้หมายถึง  การทำอะไรที่เป็นเรื่องไม่ดี  เป็นเรื่องชั่วร้ายเลวทรามหรือการทุจริต  โดยไม่มีความละอายใจให้ผู้อื่นเห็น  โดยเฉพาะหมายถึงผู้ใหญ่ที่ทำให้ผู้น้อยเห็นอย่างชัดแจ้ง.\n</p>\n<p align=\"left\">\n<br />\n เข้าเมืองตาหลิ่ว  ต้องหลิ่วตาตาม  :  แปลตามประโยคสำนวนก็ว่า  เข้าเมืองตาบอดข้างเดียว  ถึงแม้ตาเราไม่บอด  ก็ต้องทำตาบอดข้างเดียวตามเขาไปด้วย  ( ตาหลิ่ว  ในที่นี้หมายถึงตาบอดข้างเดียวหรือคนตาเดียว  ไม่ใช่หมายถึงทำตาหลิ่ว  หรือหลิ่วตา )  หมายความว่า  ที่แห่งใดเขาประพฤติตามเขาไปด้วย  อย่าไปประพฤติขัดแย้งกับเขา.\n</p>\n<p align=\"center\">\n<img border=\"0\" width=\"325\" src=\"/files/u20074/05.jpg\" height=\"292\" /> \n</p>\n<p align=\"center\">\n<a href=\"http://thaiidiom.kapook.com/wp-content/uploads/2009/02/05.jpg\">http://thaiidiom.kapook.com/wp-content/uploads/2009/02/05.jpg</a>\n</p>\n<p align=\"left\">\n<br />\n ขว้างงูไม่พ้นคอ  : หมายความว่า  มีภาระหรือมีเรื่องเดือดร้อน  ทั้งของตนเองและที่เกี่ยวข้องอยู่  แต่ไม่สามารถจะแก้ไขให้รอดพ้นไปได้.\n</p>\n<p align=\"left\">\n<br />\n ข้างนอกสุกใสข้างในเป็นโพรง  :  สำนวนนี่เปรียบเทียบได้สองทาง  ทางหนึ่งก็หมายถึงสิ่งที่แลดูภายนอกเป็นของดีหรือของแท้  แต่แท้จริงแล้วกลับไม่ใช่ของดี  หรือของแท้นัก  อีกทางหนึ่งก็เปรียบได้กับสตรีที่งามแต่รูป  แต่กิริยาและความประพฤติไม่ดี  หรืองามเหมือนรูป  ซึ่งตรงกันข้ามกับอีกสำนวนหนึ่งที่ว่า  &quot; ข้างนอกขรุขระ  ข้างในต๊ะติ๊งโหน่ง &quot;\n</p>\n<p align=\"left\">\n<br />\n ข้างนอกขรุขระข้างในต๊ะติ๊งโหน่ง  :  สำนวนตรงข้ามกับ  &quot; ข้างนอกสุกใส &quot;  คือดูแต่ภายนอกไม่งาม  แต่แท้จริงกลับเป็นของแท้ของงาม สตรีที่มีรูปร่างขี้ริ้วไม่งดงาม แต่กิริยามารยาทเรียบร้อย จิตใจก็ดีงาม ตรงข้ามกับรูปร่าง.\n</p>\n<p align=\"left\">\n<br />\n ข้าวใหม่ปลามัน  :  คนในสมัยโบราณถือว่า &quot; ข้าวใหม่ปลามัน &quot; คือข้าวที่เก็บเกี่ยวในครึ่งปีหลัง  เป็นข้าวที่ดีกว่าข้าวเก่า  และปลาเป็นอาหารคู่กับข้าว  &quot; ปลามัน &quot; หมายถึงปลาในฟดุน้ำลดมีมันมาก  รับประทานอร่อย  จึงมาผูกเป็นสำนวนพังเพยเปรียบเทียบเช่น สามีภรรยาที่เพิ่งจะแต่งงานกันใหม่ ๆ ย่อมจะอยู่ในระหว่างกำลังเสพสุขสมรสมีรสชาติ.\n</p>\n<p align=\"left\">\n<br />\n เขียนด้วยมือลบด้วยเท้า  :  สำนวนนี้  เวลาพูดมักจะใช้คำตรง ๆ ว่า &quot; เขียนด้วยมือลบด้วยตีน &quot; เป็นความเปรียบเปรยถึง  คนที่แต่แรกทำความดีจนเป็นที่เชื่อถือไว้แล้ว แต่ภายหลัง กลับทำความชั่วลบล้างความดีของตนเสียง่าย ๆ หรือเปรียบอีกทางหนึ่งถึงคนที่ออกคำสั่ง หรือให้สัญญาไว้แต่แรกอย่างหนึ่ง แล้วปุบปับกลับเปลี่ยนแปลงคำสั่งหรือสัญญานั้นเสีย ให้อยู่ในลักษณะตรงข้ามโดยไม่มีเหตุผล.\n</p>\n<p style=\"text-align: center\">\n<img border=\"0\" width=\"300\" src=\"/files/u20074/289072033sb.jpg\" height=\"214\" />\n</p>\n<p align=\"center\">\n <a href=\"http://img259.imageshack.us/img259/231/289072033sb.jpg\">http://img259.imageshack.us/img259/231/289072033sb.jpg</a>\n</p>\n<p align=\"left\">\n<br />\n เขียนเสือให้วัวกลัว  : ตามธรรมชาติ เท่าที่รู้จักกันอยู่ว่า วัวเป็นสัตว์ที่กลัวเสืออยู่มาก แม้จะมีรูปร่างใหญ่โตกว่าเสือก็ตามแต่ และวัวมักจะเป็นเหยื่อเสือเสียส่วนมาก เขาจึงเอามาเป็นสำนวนพังเพยเปรียบเทียบถึง การที่ทำอะไรอย่างหนึ่งเพื่อให้เป็นการข่มขู่อีกฝ่ายหนึ่งไว้ก่อนให้กลัว เรียกว่า &quot; เขียนเสือให้วัวกลัว &quot;.\n</p>\n<p align=\"left\">\n<br />\n ขมินกับปูน  :  สำนวนนี้หมายถึง คนที่ไม่ลงลอยกัน หรือ รสนิยมเข้ากันไม่ได้ เมื่ออยู่ใกล้กัน ก็มักเป็นปากเสียงทะเลาะวิวาทกัน เปรียบดังขมิ้นกับปูนที่กินกับหมาก.\n</p>\n<p align=\"right\">\n<a href=\"/node/42806\"><img border=\"0\" width=\"193\" src=\"/files/u20074/icon_home.gif\" height=\"138\" style=\"width: 113px; height: 59px\" /></a>\n</p>\n', created = 1715795208, expire = 1715881608, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:b33743f7f2a21955037b8d6d8d143ad8' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

สำนวนหมวดอักษร ข

 ขนมพอผสมกับน้ำยา  : ที่มาของสำนวนคำพังเพยนี้เข้าใจว่ามาจาก  " ขนมจีนน้ำยา "  ที่เราเคยรับประทานกันมาแล้ว  คือ  ขนมจีนกับน้ำยาจะต้องผสมให้เข้ากันหรือได้ส่วนพอเหมาะ  จึงจะรับประทานอร่อยเรียกว่าเวลาตักน้ำยาราดขนมลงบนขนมจีน  ต้องกะส่วนให้พอลงคลุกผสมกับขนมจีนได้พอเหมาะ  หรือให้มีสัดส่วนเข้ากันพอดีทั้งสองฝ่าย  เมื่อรับประทานแล้วเกิดอร่อยไม่ใช่ว่าขนมจีนอร่อย  หรือน้ำยาอร่อยแต่อร่อยด้วยกันทั้งสองอย่าง  เรียกว่า  " พอดีกัน "  จึงเกิดเป็นสำนวนที่ตีความหมายเอาว่า  ทั้งสองฝ่ายต่างพอดีกัน  จะว่าข้างไหนดีก็ไม่ได้.

http://www.siamtower.com/supasit/p02.html 


 ขี่ช้างจับตั๊กแตน  :  หมายความว่า  ลงทุนเสียมากมายเพื่อทำงานเล็ก ๆ เท่านั้น  เป็นทำนองว่าผลประโยชน์ที่ได้ไม่คุ้มกับที่ลงทุน  หรือทำให้เป็นการใหญ่โตเลย  หรือแปลความหมายสั้น ๆ " ทำงานใหญ่เกินตัว " 

 ขี่ช้างอย่าวางของ  : เป็นสำนวนเปรียบเทียบเตือนใจว่าการที่มีลูกน้อง  หรือมีผู้น้อยอยู่ในความปกครอง  บังคับบัญชาของเรา  ก็อย่าประมาทละเลยเสีย  ต้องหมั่นกวดขันกำชับ  เปรียบได้กับคนขี่ช้างต้องคอยถือขอสับช้างบังคับช้างไว้อยู่ตลอดเวลา  ถ้าวางของหรือไม่ใช้ขอคอยสับไว้  ช้างก็อาจพาลเกเรไม่ทำงานได้.


 ขี้ก้อนใหญ่ให้เด็กเห็น  :  สำนวนนี้หมายถึง  การทำอะไรที่เป็นเรื่องไม่ดี  เป็นเรื่องชั่วร้ายเลวทรามหรือการทุจริต  โดยไม่มีความละอายใจให้ผู้อื่นเห็น  โดยเฉพาะหมายถึงผู้ใหญ่ที่ทำให้ผู้น้อยเห็นอย่างชัดแจ้ง.


 เข้าเมืองตาหลิ่ว  ต้องหลิ่วตาตาม  :  แปลตามประโยคสำนวนก็ว่า  เข้าเมืองตาบอดข้างเดียว  ถึงแม้ตาเราไม่บอด  ก็ต้องทำตาบอดข้างเดียวตามเขาไปด้วย  ( ตาหลิ่ว  ในที่นี้หมายถึงตาบอดข้างเดียวหรือคนตาเดียว  ไม่ใช่หมายถึงทำตาหลิ่ว  หรือหลิ่วตา )  หมายความว่า  ที่แห่งใดเขาประพฤติตามเขาไปด้วย  อย่าไปประพฤติขัดแย้งกับเขา.

 

http://thaiidiom.kapook.com/wp-content/uploads/2009/02/05.jpg


 ขว้างงูไม่พ้นคอ  : หมายความว่า  มีภาระหรือมีเรื่องเดือดร้อน  ทั้งของตนเองและที่เกี่ยวข้องอยู่  แต่ไม่สามารถจะแก้ไขให้รอดพ้นไปได้.


 ข้างนอกสุกใสข้างในเป็นโพรง  :  สำนวนนี่เปรียบเทียบได้สองทาง  ทางหนึ่งก็หมายถึงสิ่งที่แลดูภายนอกเป็นของดีหรือของแท้  แต่แท้จริงแล้วกลับไม่ใช่ของดี  หรือของแท้นัก  อีกทางหนึ่งก็เปรียบได้กับสตรีที่งามแต่รูป  แต่กิริยาและความประพฤติไม่ดี  หรืองามเหมือนรูป  ซึ่งตรงกันข้ามกับอีกสำนวนหนึ่งที่ว่า  " ข้างนอกขรุขระ  ข้างในต๊ะติ๊งโหน่ง "


 ข้างนอกขรุขระข้างในต๊ะติ๊งโหน่ง  :  สำนวนตรงข้ามกับ  " ข้างนอกสุกใส "  คือดูแต่ภายนอกไม่งาม  แต่แท้จริงกลับเป็นของแท้ของงาม สตรีที่มีรูปร่างขี้ริ้วไม่งดงาม แต่กิริยามารยาทเรียบร้อย จิตใจก็ดีงาม ตรงข้ามกับรูปร่าง.


 ข้าวใหม่ปลามัน  :  คนในสมัยโบราณถือว่า " ข้าวใหม่ปลามัน " คือข้าวที่เก็บเกี่ยวในครึ่งปีหลัง  เป็นข้าวที่ดีกว่าข้าวเก่า  และปลาเป็นอาหารคู่กับข้าว  " ปลามัน " หมายถึงปลาในฟดุน้ำลดมีมันมาก  รับประทานอร่อย  จึงมาผูกเป็นสำนวนพังเพยเปรียบเทียบเช่น สามีภรรยาที่เพิ่งจะแต่งงานกันใหม่ ๆ ย่อมจะอยู่ในระหว่างกำลังเสพสุขสมรสมีรสชาติ.


 เขียนด้วยมือลบด้วยเท้า  :  สำนวนนี้  เวลาพูดมักจะใช้คำตรง ๆ ว่า " เขียนด้วยมือลบด้วยตีน " เป็นความเปรียบเปรยถึง  คนที่แต่แรกทำความดีจนเป็นที่เชื่อถือไว้แล้ว แต่ภายหลัง กลับทำความชั่วลบล้างความดีของตนเสียง่าย ๆ หรือเปรียบอีกทางหนึ่งถึงคนที่ออกคำสั่ง หรือให้สัญญาไว้แต่แรกอย่างหนึ่ง แล้วปุบปับกลับเปลี่ยนแปลงคำสั่งหรือสัญญานั้นเสีย ให้อยู่ในลักษณะตรงข้ามโดยไม่มีเหตุผล.

 http://img259.imageshack.us/img259/231/289072033sb.jpg


 เขียนเสือให้วัวกลัว  : ตามธรรมชาติ เท่าที่รู้จักกันอยู่ว่า วัวเป็นสัตว์ที่กลัวเสืออยู่มาก แม้จะมีรูปร่างใหญ่โตกว่าเสือก็ตามแต่ และวัวมักจะเป็นเหยื่อเสือเสียส่วนมาก เขาจึงเอามาเป็นสำนวนพังเพยเปรียบเทียบถึง การที่ทำอะไรอย่างหนึ่งเพื่อให้เป็นการข่มขู่อีกฝ่ายหนึ่งไว้ก่อนให้กลัว เรียกว่า " เขียนเสือให้วัวกลัว ".


 ขมินกับปูน  :  สำนวนนี้หมายถึง คนที่ไม่ลงลอยกัน หรือ รสนิยมเข้ากันไม่ได้ เมื่ออยู่ใกล้กัน ก็มักเป็นปากเสียงทะเลาะวิวาทกัน เปรียบดังขมิ้นกับปูนที่กินกับหมาก.

สร้างโดย: 
นส ธนภรณ์ และครูสรไกร

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 271 คน กำลังออนไลน์