user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('ตรวจสอบผลงานประเภทบุคคล จ.สุราษฎร์ธานี', 'node/16761', '', '3.145.119.222', 0, '668266cc316013e4379874b04305f0e3', 127, 1716086637) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

มารู้จักยาปฏิชีวนะกันเถอะ!!

  • รูปยา ยาปฏิชีวะนะ

                 ที่มา: http://www.cmteens.com/media/userfiles/96/forwardmail/20090903010142-361.jpg

 ยาปฏิชีวนะคืออะไร...                     ยาปฏิชีวนะมาจากคำว่า antibiotic ในภาษาอังกฤษ แปลตรงตัวว่าสารต่อต้านการดำรงชีวิตโดยข้อเท็จจริงหมายถึงสารที่ผลิตตามธรรมชาติโดยสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่เรียกว่า จุลินทรีย์ประเภทหนึ่งแล้วมีอำนาจยับยั้งหรือทำลายชีวิตของจุลินทรีย์อีกประเภทหนึ่งอันเป็นลักษณะของการรักษาสมดุลย์ระบบนิเวศน์ของสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ เช่น ยาปฏิชีวนะชื่อว่าเพนนิซิลลินผลิตโดยเชื้อราชนิดหนึ่งแล้วมีผลทำลายชีวิตของเชื้อแบคทีเรียอื่นที่อยู่ใกล้เคียง มนุษย์นำประโยชน์ตรงนี้มาประยุกต์เป็นยารักษาโรคติดเชื้อ ซึ่งคำว่าโรคติดเชื้อนี้แปลเอาความได้ว่าเป็นความเจ็บป่วยที่เกิดจากการรุกรานของเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย มนุษย์จะคัดแยกสารปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ต่อต้านการดำรงชีวิตของเชื้อต้นเหตุโรคมาปรุงแต่งเป็นรูปแบบยาเตรียมต่างๆเช่น ยาเม็ด ยาแคปซูล ยาฉีด แล้วให้กับผู้ป่วยเมื่อเกิดโรคติดเชื้อที่คาดว่าหรือพิสูจน์ว่าเกิดจากเชื้อต้นเหตุดังกล่าว ยาปฏิชีวนะที่นิยมใช้กันมักจะมีชื่อทั่วไปที่ลงท้ายด้วยคำว่ามัยซินเช่น อีริโทรมัยซิน คลาริโทรมัยซิน เจนตามัยซิน ลงท้ายด้วยคำว่าซิลลิน เช่น เพนนิซิลลิน  แอมพิซิลลิน อะม็อกซิซิลลิน ลงท้ายด้วยคำว่าซัยคลิน เช่น เตตร้าซัยคลิน ด้อกซี่ซัยคลิน เป็นต้น แต่มียาปฏิชีวนะหลายตัวที่อยู่นอกเหนือกฏเกณฑ์นี้ เช่น คลอแรมเฟนิคอล เซฟาโซลิน ไรแฟมปิซิน เป็นต้น

        อย่างไรก็ดีร่างกายมนุษย์จะมีกลไกต่างๆ ที่ใช้ป้องกันตนเองจากการรุกรานของจุลินทรีย์กลไกที่สำคัญนั้นได้แก่ ผิวหนังซึ่งจะเป็นเกราะป้องกันการแทรกซึมเข้าของเชื้อโรค สารขับหลั่งและจุลินทรีย์บางประเภทบนผิวหนังซึ่งจะคอยยับยั้งการเจริญของเชื้อโรค สารขับหลั่งในทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจและทางเดินระบบสืบพันธุ์จะคอยดักจับ ทำลาย หรือยับยั้งการเจริญของเชื้อโรค การไอ การกลืนและการบีบตัวของลำไส้หรือเซลที่คอยพัดโบกทางเดินของระบบต่างๆ จะพยายามกำจัดสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคออกจากร่างกาย เซลชนิดหนึ่งในอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ จะทำตนเสมือนหนึ่งพนักงานเทศบาลคอยดักจับและย่อย
สลายเชื้อโรคหรือเศษหักพังของเซล กระบวนการอักเสบก็เป็นการตอบสนองของร่างกายต่อสิ่งแปลกปลอม สารเคมี หรือแม้แต่การบอบช้ำของเนื้อเยื่อ การอักเสบจะจำกัดหรือทำลายตัวต้นเหตุออกไปเพื่อให้เนื้อเยื่อเหล่านั้นสามารถฟื้นฟูกลับสู่สภาพปกติได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในสภาวะปกติของร่างกายแล้วมนุษย์มีวิธีการต่อสู้โดยธรรมชาติต่อเชื้อโรคอยู่แล้วหลายประการในบางกรณี อาจจะมีปัจจัยบางอย่างที่บั่นทอนกลไกป้องกันตนดังกล่าวของร่างกายซึ่งทำให้เรามีโอกาสพ่ายแพ้ต่อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคได้ ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่       

  •    ภาวะเม็ดเลือดขาวลดต่ำ และความบกพร่องอื่นๆ เกี่ยวกับระบบเลือด 
  • ภาวะทุพโภชนาการหรือขาดอาหาร 
  • สุขภาพพลานามัยที่ทรุดโทรม 
  • โรคเบาหวาน หรือโรคเรื้อรังอื่นๆ
  • วัยสูงอายุ
  • การกดระบบภูมิต้านทานจากยาบางประเภท เช่น ยากดภูมิต้านทาน ยารักษามะเร็ง และสารประกอบประเภท สเตอรอยด์ เป็นต้น
  • การทำลายจุลินทรีย์ปกติในช่องทางเดินของระบบอวัยวะต่างๆ โดยการใช้ยาต้านจุลชีพอื่น
  •   

    ที่มา:http://images.businessweek.com/ss/07/02/0216_innovations/image/antibiotic.jpg 

    EmbarassedTongue out

    ผลเสียและอันตรายจากการใช้ยาปฏิชีวนะ...

           เนื่องจากยาปฏิชีวนะเป็นสารแปลกปลอมที่เรานำเข้าสู่ร่างกาย ดังนั้นจึงก่อให้เกิดผลเสียและอันตรายต่อร่างกายได้หลายประการ มีทั้งที่เป็นผลเสียที่เกิดจากคุณสมบัติเฉพาะของยาปฏิชีวนะแต่ละตัวและที่เป็นผลเสียโดยรวมของยาปฏิชีวนะทั้งหมด ผลเสียเฉพาะตัวนั้นมีรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย แต่ผลเสียโดยรวมนั้นมีอยู่ 3 ประการ คือ

      1.การแพ้ยา เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้จากการใช้ยาปฏิชีวนะแทบทุกตัว แต่มีโอกาสมากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่กรณี การแพ้ยาเป็นผลจากการตอบโต้ของภูมิต้านทานร่างกายต่อยาปฏิชีวนะอย่างเกินเหตุ มีอาการได้ตั้งแต่ขั้นเบาเช่น มีผื่นตามผิวหนัง เป็นไข้ ลมพิษ เป็นต้น จนถึงขั้นสาหัสซึ่งเป็นการแพ้อย่างอย่างฉับพลันรุนแรงที่เกิดขึ้นกับระบบต่างๆ ของร่างกาย จนทำให้เกิดสภาวะช้อคและเสียชีวิตได้โดยทั่วไปถ้าหากเกิดอาการแพ้ที่อาการรุนแรงกว่าการมีผื่นตามผิวหนังแล้วมักจะหยุดการใช้ยาปฏิชีวนะนั้นหรือเปลี่ยนไปใช้ยาอื่นที่มีผลรักษาเหมือนกันแทน ปัจจุบันการแพ้ยาเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งของการรักษาโรคติดเชื้อเนื่องจากเรามีโอกาสถูกกระตุ้นให้สร้างภูมิต้านทานต่อยาปฏิชีวนะได้โดยไม่รู้ตัว เช่น จากการบริโภคผลิตภัณฑ์นมหรือเนื้อสัตว์ที่มียาปฏิชีวนะปนเปื้อนอยู่

      2.การดื้อยา ในกรณีนี้หมายถึงการดื้อของเชื้อโรคต่อยา เป็นภาวะที่เชื้อโรคสามารถทนทานต่อฤทธิ์ของยาซึ่งเคยใช้ได้ผลกับมันมาก่อน อาจเกิดขึ้นอย่างช้าๆ หรือรวดเร็วก็ได้ในระหว่างการใช้ยาปฏิชีวนะโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ใช้ยาติดต่อกันนานๆ ในทางปฏิบัติเราควรจะตั้งข้อสังเกตุว่าเชื้อโรคเกิดดื้อยาถ้าพบว่าเมื่อใช้ยาปฏิชีวนะแล้วอาการของโรคติดเชื้อไม่ดีขึ้นหรือกลับมีสภาพเลวลง ส่วนใหญ่การดื้อยาเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของเชื้อโรคทำให้มันกลายพันธุ์เป็นชนิดที่สามารถทนทานต่อยาได้ และโดยทั่วไปเชื้อโรคซึ่งดื้อต่อยาปฏิชีวนะตัวใดตัวหนึ่งมักจะพลอยดื้อต่อยาปฏิชีวนะอื่นที่อยู่ในประเภทเดียวกันหรือมีสูตรโครงสร้างคล้ายคลึงกันซึ่งทำให้จำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้ยาปฏิชีวนะประเภทอื่นหรือที่มีสูตรโครงสร้างต่างออกไป

      3.การติดเชื้อแทรกซ้อน เป็นสภาวะการติดเชื้อที่เกิดขึ้นเมื่อสมดุลย์ของจุลินทรีย์ซึ่งมีอยู่ตามปกติในร่างกายถูกกระทบกระเทือนหรือทำลายไป ในสภาพปกติจุลินทรีย์เหล่านี้บางชนิดมีประโยชน์โดยทำหน้าที่เหมือนองครักษ์พิทักษ์ร่างกายคอยปรามจุลินทรีย์ชนิดอื่นที่ก่อโรคให้สงบ การใช้ยาปฏิชีวนะนั้นในบางกรณีนอกจากจะทำลายเชื้อต้นเหตุโรคแล้วยังพลอยทำให้จุลินทรีย์ชนิดนี้ถูกทำลายไปด้วย ซึ่งทำให้จุลินทรีย์ชนิดที่ทนทานต่อยาซึ่งหลงเหลืออยู่มีโอกาสแบ่งตัวขยายพันธุ์มากขึ้นและก่อให้เกิดการติดเชื้อชนิดใหม่ การติดเชื้อแทรกซ้อนอาจสังเกตุได้จากอาการของโรคที่เปลี่ยนไปจากลักษณะเดิมที่เคยเป็นอยู่แต่แรก เช่น การติดเชื้อเดิมทำให้เจ็บคอ แต่ครั้นเมื่อใช้ยาปฏิชีวนะไประยะหนึ่งอาการเจ็บคออาจทุเลาลงแต่กลับมีอาการท้องเสียรุนแรงหรืออักเสบในช่องคลอด เป็นต้น สภาวะการติดเชื้อแทรกซ้อนนี้อาจเกิดได้ง่ายเมื่อใช้ยาปฏิชีวนะที่มีขอบเขตทำลายเชื้อกว้างขวางโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ใช้เป็นเวลานาน และมักเป็นปัญหาต่อการรักษาเนื่องจากเชื้อต้นเหตุโรคติดเชื้อใหม่นั้นมักเป็นสายพันธุ์ที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะที่ใช้กันทั่วไป วิธีที่ควรปฏิบัติเมื่อเกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนคือหยุดใช้ยาปฏิชีวนะที่กำลังใช้อยู่พร้อมกับพยายามจำแนกเชื้อที่เป็นต้นเหตุการณ์ติดเชื้อแทรกซ้อนนั้นให้ถูกต้อง แล้วรีบรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอื่นที่สามารถทำลายเชื้อดังกล่าวได้ดี

      การใช้ยาปฏิชีวนะที่ถูกต้อง

      ข้อแนะนำสำหรับผู้ทานยาปฏิชีวนะ   

      1.  ยาปฏิชีวนะไม่ใช่ยาลดไข้ หรือแก้ไข้ ต้องให้แพทย์เท่านั้นเป็นผู้สั่ง ถ้ามีการทานยาปฏิชีวนะอื่นอยู่ ให้แจ้งแพทย์ที่กำลังตรวจรักษาทราบด้วย   

      2.  ควรรับประทานเวลาท้องว่าง คือก่อนอาหาร 1 ชั่วโมงหรือหลังอาหาร 2 ชั่วโมง เพราะยาชนิดนี้ถูกสลายได้ง่ายด้วยกรดในกระเพาะอาหาร


      3. ไม่ควรรับประทานร่วมกับน้ำผลไม้ เพราะมีฤทธิ์เป็นกรด การใช้ยากลุ่มนี้อาจเกิดการแพ้ยาได้ง่าย อาการมีตั้งแต่น้อยจนรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ผู้ที่เคยแพ้ยาตัวใดควรจำชื่อไว้ให้แม่นยำและแจ้ง ให้แพทย์ทราบทุกครั้ง    

      4. แม่ที่กำลังให้นมลูก ต้องแจ้งหมอให้ทราบด้วย เพราะยาอาจส่งผ่านไปทางน้ำนมให้ลูกได้ด้วย    

      5.  ยาปฏิชีวนะไม่เป็นยาแก้อักเสบ และยาปฏิชีวนะมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น ไม่ได้ฆ่าเชื้อไวรัส ถ้ามีเชื่อไวรัสก็ใช้ยาปฏิชีวนะไม่ได้ ต้องทำให้ร่างกายมีความแข็งแรงและต่อสู้กับโรคให้หายเอง              

              นอกจากนี้ แบคทีเรียสามารถขยายการดื้อยา ด้วยการส่งผ่านชิ้นส่วนสารพันธุกรรมไปให้แบคทีเรียอื่นที่อยู่ใกล้กันได้ ดังนั้นเราจึงควรระมัดระวังเรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะให้ดีนะคะ หวังว่าเราๆ ทุกคนจะช่วยกันกระจายความรู้เรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะ และช่วยกันลดจำนวนผู้ป่วยที่การดื้อยาปฏิชีวนะได้ เพราะปัจจุบันปัจจุบันประเทศไทยมีอัตราเชื้อแบคทีเรียดื้อยา สูงที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง


      ยาปฏิชีวนะ เป็นยาซึ่งสกัดได้จากราพันธุ์ต่าง ๆ มีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ยาปฏิชีวนะมีหลายกลุ่ม ตัวอย่างเช่น กลุ่มเพนิซิลลิน อีรีโทรมัยซิน เตตราซัยคลิน คลอแรมเฟนิคอล สเตรปโตมัยซิน นอกจากนี้ยาปฏิชีวนะยังรวมถึงยาที่สังเคราะห์ขึ้นตามกระบวนการทางเคมี เช่น ยาประเภทซัลโฟนาไมด์ เป็นต้น

    ยากลุ่มเพนิซิลลิน เป็นยาปฏิชีวนะที่ได้จากเชื้อราชนิดหนึ่ง ยาในกลุ่มนี้มีหลายชนิด ที่รู้จักกันทั่วไปได้แก่ เพนิซิลลิน จี เพนิซิลลิน วี และแอมพิซิลลิน อันตรายที่เกิดจากการใช้ยากลุ่มเพนิซิลลินจะเป็นไปในรูปของการแพ้ยา ซึ่งอาการแพ้ยาจะพบในการใช้ยาแบบฉีดและแบบทามากกว่าแบบรับประทาน

    เพนิซิลลิน จี ใช้ได้ผลดีกับโรคติดเชื้อบางชนิด เช่น โรคติดเชื้อที่ผิวหนัง โรคเจ็บคอ หนองใน ปอดบวม บากทะยัก ฯลฯ อาการแก้ที่เกิดขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการเป็นลมพิษ ผื่นคันตามตัว แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หอบ ใจสั่น หน้ามืด บางคนอาจเกิดอาการช็อคได้

    เพนิซิลลิน วี ใช้รักษาโรคติดเชื้อเช่นเดียวกับเพนิซิลลิน จี และอาการแพ้ก็เช่นเดียวกับเพนิซิลลิน จี คือ อาการลมพิษ แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก หอบ ใจสั่น หน้ามืด เป็นต้น การกินเพนิซิลลิน วี ต้องรับประทานตอนท้องว่างคือ ก่อนรับประทานอาหารประมาณครึ่งชั่วโมง

    แอมพิซิลลิน ใช้รักษาโรคไข้รากสาดหรือไข้ทัยฟอยด์ คนไข้ที่มีประวัติแพ้เพนิซิลลินมาก่อน ห้ามใช้แอมพิซิลลินโดยเด็ดขาด อาการไม่พึงประสงค์เมื่อใช้แอมพิซิลลินคือ จะเกิดผื่นแดงตามตัวแต่ไม่คัน ไม่ต้องตกใจเพราะไม่ใช่อาการแพ้ยา

    ยาอีริโทรมัยซิน อีริโทรมัยซินสเตียเรต อีริโทรมัยซินเอสโตเลต เป็นยาปฏิชีวนะ ใช้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคคอตีบ ไอกรนและใช้แทนเพนิซิลลิน ในกรณีที่ผู้ป่วยมีประวัติแพ้ยาเพนิซิลลิน เมื่อกินยากลุ่มนี้อาจเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนและท้องเดิน ถ้าฉีดเข้ากล้ามเนื้อในรูปของอีริโทรมัยซินเอสเตเลต โดยใช้ติดต่อกันนานประมาณ 10-20 วัน อาจทำให้ตับอักเสบได้

    ยาในกลุ่มเตตราซัยคลิน เป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้ได้ผลดีกับโรคติดเชื้อบางชนิด เช่น โรคปอดบวมในผู้ใหญ่ อหิวาต์ บาดแผลหรือฝีที่ผิวหนัง ริดสีดวงตา ฯลฯ ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ เตตราซัยคลิน คลอแรมเฟนิคอล ตอกซีซัยคลิน ไมโนซัยคลิน   
     
    เหตุผลที่จะศึกษาเรื่องนี้เพราะ  ตอนทำข้อสอบวิทยาศาสตร์ในเว็บเมื่อเทอมที่แล้ว มันมีคำถามเกี่ยวกับกลุ่มยาเพนิซิลลิน แล้วก็เลยสงสัยว่ามันคืออะไรจนได้รู้ว่า มันเป็นกลุ่มยาปฏิชีวนะกลุ่มหนึ่ง ซึ่งยาปฏิชีวนะในปัจจุบันก็มีความสำคัญมาก เลยคิดที่จะศึกษาเรื่องนี้ค่ะ 

       

    ที่มาของข้อมูล ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่

             -http://www.pharm.chula.ac.th/Surachai/academic/CNS-Drgs/radio07.htm            

             -http://sites.google.com/site/farijouehaircolor/sara-khwam-ru-sukhphaph-kab-farijoue/kar-than-ya-ptichiw

            -http://www.ku.ac.th/emagazine/september44/know/

    medicine2.html

      WinkSmileKissEmbarassed

       

เนื้อหาดีมากป๊อบคุง

ทำให้ได้รู้เรื่องที่สงสัยมานานเยอะเลย

ขอบคุณมากค่ ^^

เนื้อหาดีมากๆเลยค่ะ

เป็นประโยชน์ๆ แต่งบล๊อกได้เรียบร้อยค่ะ

รูปภาพของ Knw32568

เนื้อหาเยอะมาก

:-)

ขอบคุณนะ

ฝาก : http://www.thaigoodview.com/node/40937

 

รูปภาพของ knw_32290

เนื้อหาน่าสนใจสุดขั้ว วว ว ว

;]]

 

http://www.thaigoodview.com/node/41235

ฝากคับ บฝาก*

 

:: Virunpat Thokondee :: PATLOM* [3/5]



เนื้อหาดี

มีสาระ 

น่าอ่านมาก

ช่วยไปเม้นบอล็กให้ด้วยนะคะ

 http://www.thaigoodview.com/node/41014

ขอบคุนคะ 

รูปภาพของ virat

ทำไมถึง คิดที่จะศึกษาเรื่องนี้  บอกแรงบันดาใจให้ทราบหน่วย เนื้อหาดี แต่ต้อง ยกตัวอย่างยา ในลักษณะนี้ด้วยนะ

รูปภาพของ knw32154

เนื้อหามีภาพประกอบ' น่าอ่านจ้า

:))

เนื้อหาละเอียด

 

 

รูปภาพของ knw32150

เนื้อหาเยอะ รูปภาพสวยๆ

 

 

 

รูปภาพของ knw32574

เนื้อหาละเอียดดีค่ะ  ยาสีสันน่ากินจัง -0-

 

อิอิ

รูปภาพของ Knw32568

เนื้อหาเยอะเว่ออออ อ่าา

อ่านเสร็จเป็นเภสัชพอดี

ขอบคุณนะ 

โอโห

เนื้อหาเยอะมากกกกกกกก

สียาได้อีก สดใส ๆ (เกี่ยวมั้ย--*)

5555

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 256 คน กำลังออนไลน์