• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:baec1fd6fef3ef76ea8cd9789b2f09ac' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p align=\"center\">\n<iframe height=\"1\" scrolling=\"no\" width=\"1\" frameBorder=\"0\" src=\"/truehitsstat.php?pagename=เทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น\" marginHeight=\"0\" marginWidth=\"0\"></iframe>\n</p>\n<p align=\"center\">\n<img border=\"0\" width=\"464\" src=\"/library/ipst/roomnet/roomnet46/IT46_9/clip0002.jpg\" height=\"58\" />\n</p>\n<p>\n<b><a href=\"/node/4042\"><img border=\"0\" width=\"60\" src=\"/files/u9/home.jpg\" height=\"60\" /></a> <a href=\"/node/40414\"><img border=\"0\" width=\"123\" src=\"/files/u9/sec01-002.gif\" height=\"35\" /></a></b>\n</p>\n<p>\n <img border=\"0\" width=\"16\" src=\"/library/ipst/roomnet/roomnet46/IT46_2/cicon11.gif\" height=\"16\" /> <strong>ทางด่วนข้อมูลสารสนเทศ</strong>\n</p>\n<p>\n     ทางด่วนข้อมูลสารสนเทศ ( information superhighway) เป็นชื่อที่อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา อัลกอร์ (Al Gore) ใช้ในการประชาสัมพันธ์หาเสียงเลือกตั้ง ปี 2544 โดยเน้นว่าสหรัฐอเมริกาจะต้องสร้างทางด่วนข้อมูลสารสนเทศให้ครอบคลุมทั่วประเทศโดยเร็ว ทางด่วนในความหมายนี้คือเส้นทางที่ให้ข้อมูลข่าวสารวิ่งไปได้มากและรวดเร็ว สามารถรองรับการส่งสัญญาณข้อมูลข่าวสารทั้งสัญญาณโทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรืองานประยุกต์อื่นๆ ได้มาก โดยมีความต้องการให้สถานีโทรทัศน์มากกว่า 500 แห่งและสถานีวิทยุมากกว่า 1,000 แห่ง ส่งกระจายสัญญาณไปในทางด่วนสารสนเทศ ระบบข้อมูลข่าวสารที่ส่งนี้เป็นแบบปฏิสัมพันธ์ (interactive) กล่าวคือสามารถโต้ตอบซึ่งกันและกันหรือมีส่วนร่วมได้ \n</p>\n<p>\n     ลักษณะของทางด่วนสารสนเทศเหมือนกับระบบถนนที่มีถนนสายหลัก สายรอง ซอยเชื่อมเข้าสู่บ้านเรือน โดยใช้เส้นใยนำแสงเป็นสายหลัก และใช้สื่ออื่นประกอบ เช่น คลื่นไมโครเวฟ ช่องสัญญาณสื่อสารผ่านดาวเทียม เส้นลวดทองแดง สายสัญญาณที่ต่อเชื่อมเข้าบ้านเรือน ร้านค้า หรือสำนักงานจะเป็นสายสัญญาณที่รองรับข้อมูลจำนวนมากได้ หากทางด่วนสารสนเทศเป็นไปอย่างสมบูรณ์ จะมีการประยุกต์ใช้งานบนเส้นทางด่วนมากมาย การพัฒนางานประยุกต์เป็นไปได้มากและมีรูปธรรมที่เด่นชัด ดังนี้\n</p>\n<p>\n     1. <strong>ระบบโทรทัศน์ (television on demand)</strong> มีการส่งกระจายสัญญาณโทรทัศน์ไปในเครือข่ายเพื่อให้บริการแก่ผู้ชมที่บ้าน ระบบทีวีสามารถเพิ่มขีดความสามารถให้ผู้ชมเลือกชมรายการตามต้องการได้ทุกขณะเวลา บางรายการเป็นการให้ผู้ชมทางบ้านโต้ตอบหรือมีส่วนร่วมด้วย เช่น รายการเกมโชว์ รายการตอบคำถาม\n</p>\n<p>\n     2. <strong>ระบบวิทยุ (radio on demand)</strong> มีการส่งกระจายข่าวสารทางเสียงไปยังทางด่วนสารสนเทศที่ผู้ฟังทางบ้านเลือกฟังได้ สัญญาณที่ส่งเป็นสัญญาณดิจิทัลจึงมีคุณภาพดี และยังเสริมบริการต่างๆ เข้าไปได้มาก เช่น ให้ผู้ฟังฝึกร้องเพลง หรือที่เรียกว่า คาราโอเกะ ให้ผู้ฟังโต้ตอบในรายการตอบปัญหา ตลอดจนมีรายการสดที่รับปรึกษาปัญหาต่างๆ\n</p>\n<p>\n     3. <strong>การประชุมทางวีดิทัศน์ (video conference)</strong> เป็นพัฒนาการจากระบบโทรศัพท์ที่มีแต่เสียง แต่เมื่อช่องสัญญาณขยายใหญ่ขึ้นมากก็มีระบบพูดคุยผ่านทางด่วนสารสนเทศที่เห็นภาพ และมองเห็นสิ่งแวดล้อมต่างๆ รอบตัวคู่สนทนาทำให้เสมือนอยู่ใกล้กัน สามารถนำมาประยุกต์ในเรื่องการประชุมจากที่ห่างไกลได้\n</p>\n<p>\n     4. <strong>โทรศึกษาและโทรเวช (tele-education and tele-medicine)</strong> เมื่อทางด่วนข้อมูลข่าวสารดีขึ้น ระบบการทำงานระยะไกลก็ทำได้ดี ในสถาบันการศึกษาอาจให้บริการการเรียนการสอนในที่ห่างไกลที่เรียกว่า โทรศึกษา ผู้เรียนอยู่ที่ใดก็สามารถเลือกเรียนวิชาได้ตามต้องการ นอกจากนั้นในทางการแพทย์ ผู้ป่วยในที่ห่างไกลก็สามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือส่งข้อมูลเพื่อให้การรักษาพยาบาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพที่เรียกว่าโทรเวช\n</p>\n<p>\n     5. <strong>ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) </strong>การเลือกซื้อทางไกลเป็นหนทางหนึ่งที่ร้านค้าสามารถให้บริการโดยนำรายการสินค้า รูปภาพ หรือถ่ายทำเป็นภาพยนตร์ เพื่อให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลได้เห็นสินค้า ที่เรียกว่าระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้ซื้อสามารถเลือกซื้อ เลือกชมสินค้าที่พอใจโดยสามารถเปรียบเทียบคุณภาพและราคาจากร้านจำนวนมากจนเป็นพอใจแล้วจึงสั่งซื้อสินค้าผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์\n</p>\n<p align=\"center\">\n<img border=\"0\" width=\"340\" src=\"/library/ipst/roomnet/roomnet46/IT46_9/clip0020.jpg\" alt=\"clip0020\" height=\"244\" /><br />\nตัวอย่างการเลือกซื้อทางไกล\n</p>\n<p>\n     6. <strong>ห้องสมุดเสมือน (virtual library)</strong> ผู้ใช้บริการห้องสมุดสามารถค้นหาเอกสารสิ่งพิมพ์ที่ตนต้องการ โดยเรียกค้นผ่านเครือข่ายที่มีทางด่วนสารสนเทศเป็นตัวเชื่อม ระบบการเรียกค้นข้อมูลนี้ทำให้เกิดความสะดวก ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง และได้รับข้อมูลข่าวสารที่ตรงกับความต้องการในเวลาอันรวดเร็ว\n</p>\n<p>\n     7. <strong>ระบบการพิมพ์หรือการบริการหนังสือพิมพ์บนเครือข่าย (online printing service)</strong> สำนักพิมพ์หรือสำนักข่าวต่างๆ เป็นผู้รวบรวมข่าว มีนักข่าวอยู่ทั่วทุกมุมโลก เมื่อได้ข่าวสารก็ส่งข่าวสารมาที่สำนักพิมพ์ สำนักพิมพ์จัดการข่าวสารโดยพิมพ์ไว้ในรูปข้อมูลที่ให้ผู้เป็นสมาชิกเรียกดูได้เสมือนการบอกรับหนังสือพิมพ์ ขณะเดียวกันเทคโนโลยีการพิมพ์ดีขึ้นมากจนเครื่องถ่ายเอกสารสมัยใหม่สามารถรับข้อมูลมาพิมพ์ได้โดยตรง ดังนั้นสำนักพิมพ์อาจมีจุดขายหนังสือพิมพ์ที่เชื่อมต่อกับสำนักพิมพ์ เมื่อผู้ซื้อต้องการหนังสือพิมพ์ก็เพียงแต่หยอดเหรียญตามต้องการ เครื่องจะดึงข้อมูลจากสำนักพิมพ์มาพิมพ์ให้โดยทันที ข้อมูลข่าวสารที่ได้จะใหม่เสมอ\n</p>\n', created = 1715210197, expire = 1715296597, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:baec1fd6fef3ef76ea8cd9789b2f09ac' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

ทางด่วนข้อมูลสารสนเทศ

รูปภาพของ ssspoonsak

  ทางด่วนข้อมูลสารสนเทศ

     ทางด่วนข้อมูลสารสนเทศ ( information superhighway) เป็นชื่อที่อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา อัลกอร์ (Al Gore) ใช้ในการประชาสัมพันธ์หาเสียงเลือกตั้ง ปี 2544 โดยเน้นว่าสหรัฐอเมริกาจะต้องสร้างทางด่วนข้อมูลสารสนเทศให้ครอบคลุมทั่วประเทศโดยเร็ว ทางด่วนในความหมายนี้คือเส้นทางที่ให้ข้อมูลข่าวสารวิ่งไปได้มากและรวดเร็ว สามารถรองรับการส่งสัญญาณข้อมูลข่าวสารทั้งสัญญาณโทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรืองานประยุกต์อื่นๆ ได้มาก โดยมีความต้องการให้สถานีโทรทัศน์มากกว่า 500 แห่งและสถานีวิทยุมากกว่า 1,000 แห่ง ส่งกระจายสัญญาณไปในทางด่วนสารสนเทศ ระบบข้อมูลข่าวสารที่ส่งนี้เป็นแบบปฏิสัมพันธ์ (interactive) กล่าวคือสามารถโต้ตอบซึ่งกันและกันหรือมีส่วนร่วมได้ 

     ลักษณะของทางด่วนสารสนเทศเหมือนกับระบบถนนที่มีถนนสายหลัก สายรอง ซอยเชื่อมเข้าสู่บ้านเรือน โดยใช้เส้นใยนำแสงเป็นสายหลัก และใช้สื่ออื่นประกอบ เช่น คลื่นไมโครเวฟ ช่องสัญญาณสื่อสารผ่านดาวเทียม เส้นลวดทองแดง สายสัญญาณที่ต่อเชื่อมเข้าบ้านเรือน ร้านค้า หรือสำนักงานจะเป็นสายสัญญาณที่รองรับข้อมูลจำนวนมากได้ หากทางด่วนสารสนเทศเป็นไปอย่างสมบูรณ์ จะมีการประยุกต์ใช้งานบนเส้นทางด่วนมากมาย การพัฒนางานประยุกต์เป็นไปได้มากและมีรูปธรรมที่เด่นชัด ดังนี้

     1. ระบบโทรทัศน์ (television on demand) มีการส่งกระจายสัญญาณโทรทัศน์ไปในเครือข่ายเพื่อให้บริการแก่ผู้ชมที่บ้าน ระบบทีวีสามารถเพิ่มขีดความสามารถให้ผู้ชมเลือกชมรายการตามต้องการได้ทุกขณะเวลา บางรายการเป็นการให้ผู้ชมทางบ้านโต้ตอบหรือมีส่วนร่วมด้วย เช่น รายการเกมโชว์ รายการตอบคำถาม

     2. ระบบวิทยุ (radio on demand) มีการส่งกระจายข่าวสารทางเสียงไปยังทางด่วนสารสนเทศที่ผู้ฟังทางบ้านเลือกฟังได้ สัญญาณที่ส่งเป็นสัญญาณดิจิทัลจึงมีคุณภาพดี และยังเสริมบริการต่างๆ เข้าไปได้มาก เช่น ให้ผู้ฟังฝึกร้องเพลง หรือที่เรียกว่า คาราโอเกะ ให้ผู้ฟังโต้ตอบในรายการตอบปัญหา ตลอดจนมีรายการสดที่รับปรึกษาปัญหาต่างๆ

     3. การประชุมทางวีดิทัศน์ (video conference) เป็นพัฒนาการจากระบบโทรศัพท์ที่มีแต่เสียง แต่เมื่อช่องสัญญาณขยายใหญ่ขึ้นมากก็มีระบบพูดคุยผ่านทางด่วนสารสนเทศที่เห็นภาพ และมองเห็นสิ่งแวดล้อมต่างๆ รอบตัวคู่สนทนาทำให้เสมือนอยู่ใกล้กัน สามารถนำมาประยุกต์ในเรื่องการประชุมจากที่ห่างไกลได้

     4. โทรศึกษาและโทรเวช (tele-education and tele-medicine) เมื่อทางด่วนข้อมูลข่าวสารดีขึ้น ระบบการทำงานระยะไกลก็ทำได้ดี ในสถาบันการศึกษาอาจให้บริการการเรียนการสอนในที่ห่างไกลที่เรียกว่า โทรศึกษา ผู้เรียนอยู่ที่ใดก็สามารถเลือกเรียนวิชาได้ตามต้องการ นอกจากนั้นในทางการแพทย์ ผู้ป่วยในที่ห่างไกลก็สามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือส่งข้อมูลเพื่อให้การรักษาพยาบาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพที่เรียกว่าโทรเวช

     5. ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) การเลือกซื้อทางไกลเป็นหนทางหนึ่งที่ร้านค้าสามารถให้บริการโดยนำรายการสินค้า รูปภาพ หรือถ่ายทำเป็นภาพยนตร์ เพื่อให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลได้เห็นสินค้า ที่เรียกว่าระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้ซื้อสามารถเลือกซื้อ เลือกชมสินค้าที่พอใจโดยสามารถเปรียบเทียบคุณภาพและราคาจากร้านจำนวนมากจนเป็นพอใจแล้วจึงสั่งซื้อสินค้าผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์

clip0020
ตัวอย่างการเลือกซื้อทางไกล

     6. ห้องสมุดเสมือน (virtual library) ผู้ใช้บริการห้องสมุดสามารถค้นหาเอกสารสิ่งพิมพ์ที่ตนต้องการ โดยเรียกค้นผ่านเครือข่ายที่มีทางด่วนสารสนเทศเป็นตัวเชื่อม ระบบการเรียกค้นข้อมูลนี้ทำให้เกิดความสะดวก ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง และได้รับข้อมูลข่าวสารที่ตรงกับความต้องการในเวลาอันรวดเร็ว

     7. ระบบการพิมพ์หรือการบริการหนังสือพิมพ์บนเครือข่าย (online printing service) สำนักพิมพ์หรือสำนักข่าวต่างๆ เป็นผู้รวบรวมข่าว มีนักข่าวอยู่ทั่วทุกมุมโลก เมื่อได้ข่าวสารก็ส่งข่าวสารมาที่สำนักพิมพ์ สำนักพิมพ์จัดการข่าวสารโดยพิมพ์ไว้ในรูปข้อมูลที่ให้ผู้เป็นสมาชิกเรียกดูได้เสมือนการบอกรับหนังสือพิมพ์ ขณะเดียวกันเทคโนโลยีการพิมพ์ดีขึ้นมากจนเครื่องถ่ายเอกสารสมัยใหม่สามารถรับข้อมูลมาพิมพ์ได้โดยตรง ดังนั้นสำนักพิมพ์อาจมีจุดขายหนังสือพิมพ์ที่เชื่อมต่อกับสำนักพิมพ์ เมื่อผู้ซื้อต้องการหนังสือพิมพ์ก็เพียงแต่หยอดเหรียญตามต้องการ เครื่องจะดึงข้อมูลจากสำนักพิมพ์มาพิมพ์ให้โดยทันที ข้อมูลข่าวสารที่ได้จะใหม่เสมอ

สร้างโดย: 
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 520 คน กำลังออนไลน์