• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:c704c1e017335d3774f419b35c963c1f' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p><span style=\"color: #000000\"><span style=\"font-size: 10pt\" lang=\"TH\">อยุธยามีพื้นฐานทางเศรษฐกิจดี</span><span style=\"font-size: 10pt\">  <span lang=\"TH\">มาตั้งแต่แรกตั้งอาณาจักรเนื่องจากตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการทำการเกษตร และการค้ากับต่างประเทศ</span> </span><span style=\"font-family: Arial\"><o:p></o:p></span></span><span style=\"color: #000000\"><span style=\"font-size: 10pt\">      1. <span lang=\"TH\">เกษตรกรรม อยุธยาตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ป่าสัก และลพบุรี พื้นดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงและเหมาะต่อการเพาะปลูกโดยเฉพาะการปลูกข้าว</span>  <span lang=\"TH\">ข้าวจึงเป็นผลิตผลที่สำคัญของอาณาจักร ในการปลูกข้าวนั้นประชากรส่วนใหญ่จะทำในลักษณะพอยังชีพมีการใช้เทคโนโลยีอย่างง่ายๆ โดยใช้แรงงานคนและสัตว์เป็นหลัก แต่เนื่องจากสภาพพื้นที่มีความเหมาะสมจึงมีผลผลิตค่อนข้างมากที่จะส่งส่วยให้กับรัฐซึ่งทางรัฐเองก็จะนำไปหาผลประโยชน์อีกทางหนึ่ง นอกจากข้าวแล้วประชากรยังมีการผลิตในทางการเกษตรอีกหลายประเภท เช่น ทำสวน ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ และการประมง ซึ่งผู้ปกครองเอง ก็เห็นความสำคัญของการประกอบอาชีพเกษตรดังกล่าว จึงมีนโยบายสนับสนุนด้วยวิธีการต่างๆ เช่น สนับสนุนให้ราษฎรเข้าไปทำกินในที่ดินว่างเปล่า ตรากฎหมายคุ้มครองผลผลิตของราษฎร เป็นต้น กระบวนการผลิตทางการเกษตรนั้น</span>  <span lang=\"TH\">ประชากรทั่วไปจะผลิตโดยใช้แรงงานครอบครัวและชุมชนตามประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมา ส่วนการผลิตของพระมหากษัตริย์ ขุนนางจะผลิตโดยใช้การเกณฑ์แรงงานไพร่และทาส กระบวนการผลิตดังกล่าวก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมของท้องถิ่นหลายประการ เช่น การลงแขก การประกอบพิธีกรรม พืชมงคล และการทำขวัญไร่นา เป็นต้น</span><br />\n           <span lang=\"TH\">การเกษตรเป็นเศรษฐกิจหลักที่ทำให้อยุธยามีความรุ่งเรือง บ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้า ทำให้อยุธยาขยายอาณาเขตประเทศออกไปอย่างกว้างขวางและสามารถเอาชนะอาณาจักรน้อยใหญ่ในดินแดนสุวรรณภูมิได้</span></span><span style=\"font-family: Arial\"><o:p></o:p></span></span><span style=\"color: #000000\"><span style=\"font-size: 10pt\">     2. <span lang=\"TH\">อุตสาหกรรม ผลิตผลทางอุตสาหกรรมของอยุธยา ส่วนใหญ่ คือ อุตสาหกรรมในครัวเรือน ผลิตเครื่องใช้ไม้สอยอย่างง่ายๆ รวมไปถึงเครื่องครัวเรือนของชุมชนชั้นสูงและในราชสำนัก เช่น เสื้อผ้า เครื่องจักรสาน เครื่องเหล็ก เครื่องแกะสลัก เครื่องประดับ การผลิตเครื่องทองรูปพรรณ อุตสาหกรรมที่สำคัญอีกอย่างก็ คือ การทำเครื่องปั้นดินเผา เครื่องเคลือบ ดังปรากฏหลักฐานว่ามีการพบเตาเผาภาชนะหลายเตาในบริเวณ แม่น้ำน้อย นอกจากนี้มีอุตสาหกรรมการต่อเรือขนาดเล็ก และเรือขนาดใหญ่ เพื่อใช้บรรทุกสินค้า</span></span><span style=\"font-family: Arial\"><o:p></o:p></span></span><span style=\"color: #000000\"><span style=\"font-size: 10pt\">     3. <span lang=\"TH\">การค้า จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่า อยุธยามีบทบาทสำคัญทั้งในแง่ของการเป็นอาณาจักรการค้า ซึ่งได้สร้างความมั่งคั่งให้กับอาณาจักรอย่างต่อเนื่องทั้งนี้เพราะสภาพที่ตั้งของอยุธยา เหมาะสมกับการค้าขายทั้งภายใจอาณาจักร และระหว่างประเทศ</span><br />\n             3.1  <span lang=\"TH\">การค้าขายภายในอาณาจักร</span>  <span lang=\"TH\">ด้วยสภาพที่ตั้งของอยุธยาอยู่บริเวณใกล้ปากแม่น้ำเจ้าพระยา และอยู่บริเวณที่แม่น้ำสำคัญหลายสายไหลผ่าน</span>  <span lang=\"TH\">ดังนั้นจึงเป็นชุมชนทางการค้าที่พ่อค้าจากหัวเมืองทางเหนือ จะนำสินค้าของป่ามาแลกเปลี่ยนกับสินค้าที่มาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากพ่อค้าจีนที่เดินทางเข้ามาจอดเรือซื้อขายบริเวณปากน้ำเจ้าพระยาสินค้าเหล่านี้จะมีการค้าขายโดยผ่านพระคลังสินค้าซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ทำให้รัฐได้ผลประโยชน์จากการเป็นพ่อค้าคนกลางในการแสวงหาผลประโยชน์ดังกล่าว</span>  <span lang=\"TH\">ความสำคัญของการค้าทำให้รัฐได้ส่งเสริมการค้าด้วยวิธีการต่างๆ ตลอดจนออกกฎหมายควบคุมการค้า  เพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจดังกล่าวดำเนินไปได้ด้วยดี</span>  <span lang=\"TH\">อย่างไรก็ตามแม้ว่าภาครัฐจะสนับสนุนการค้า แต่ประชากรทั่วไปก็ไม่ได้รับผลประโยชน์มากนักเนื่องจากยังคงค้าขายที่เน้นการแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่ตนเองต้องการมากกว่าจะแสวงหากำไร และผลประโยชน์โดยตรง ดังนั้นผู้ที่ได้ประโยชน์จากการค้าจึงจำกัดอยู่เฉพาะขุนนาง เจ้านาย ตลอดจนชาวต่างชาติ ผู้ที่เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในเรื่องดังกล่าว</span> <br />\n             3.2  <span lang=\"TH\">การค้าขายระหว่างประเทศ อยุธยานับว่ามีชัยภูมิเหมาะสมกับการค้าระหว่างประเทศเนื่องจากเป็นเมืองท่าที่อยู่กึ่งกลางเส้นทางการเดินเรือค้าขายระหว่างประเทศจีนกับประเทศอินเดีย ประกอบกับความเข้มแข็งของอำนาจทางการเมืองทำให้อยุธยาไม่มีคู่แข่งการค้าและยังเป็นศูนย์รวมของสินค้าจากเมืองท่าต่างๆ</span>  <span lang=\"TH\">ที่อยู่ใต้อิทธิพลทางการเมืองของอยุธยาด้วยปัจจัยดังกล่าวทำให้อยุธยา กลายเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างจีนกับอินเดีย</span><br />\n                   <span lang=\"TH\">สำหรับการค้าขายกับอยุธยากับประเทศในแถบเอเชีย</span>  <span lang=\"TH\">อยุธยาจะค้าขายกับจีน และอินเดียเป็นหลัก  นอกจากนั้นก็ค้าขายกับชาวอาหรับ</span>  <span lang=\"TH\">เปอร์เซีย  ส่วนการค้ากับต่างชาติตะวันตกนั้นโปรตุเกส</span>  <span lang=\"TH\">เป็นชาติแรกที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยาราวพุทธศตวรรษที่ </span>21 <span lang=\"TH\">ต่อจากนั้นก็ชาติอื่นๆ เช่น สเปน  ฮอลันดา  อังกฤษ  และฝรั่งเศส</span>  <span lang=\"TH\">เดินทางเข้ามาค้าขายซึ่งรุ่งเรืองมากในสมัยราชวงศ์ปราสาททอง</span>  <span lang=\"TH\">แต่เมื่อถึงรัชสมัยของราชวงศ์บ้านพลูหลวง</span>  <span lang=\"TH\">การค้ากับชาติตะวันตกก็ซบเซาลง</span><br />\n                   <span lang=\"TH\">การดำเนินกิจกรรมค้าขายกับต่างชาตินั้น รัฐจะเป็นผู้จัดการโดยหน่วยงาน</span> “<span lang=\"TH\">พระคลังสินค้า</span>”  <span lang=\"TH\">ซึ่งมีกรมท่าซ้ายดูแลรับผิดชอบการค้ากับอินเดีย และชาติอาหรับ เปอร์เซีย ส่วนกรมท่าขวาดูแลค้าขายกับจีน  และกรมท่ากลางค้าขายกับชาติตะวันตก หน่วยงานของรัฐจะดำเนินการค้าขายโดยการผูกขาดสินค้า คือ สินค้าบางอย่าง เช่น อาวุธ และสินค้าที่รัฐเห็นว่าจะขายต่อได้กำไรรัฐจะผูกขาดซื้อไว้ ส่วนสินค้าออก เช่น  ข้าว และของป่า รัฐจะกำหนดให้เป็นสินค้าต้องห้ามต้องซื้อผ่านรัฐเท่านั้น</span>  <span lang=\"TH\">การที่รัฐดำเนินธุรกิจแบบผูกขาดสินค้าและยังเรียกเก็บภาษี การค้าจากเรือของชาวต่างชาติ ทำให้รัฐบาลได้ผลประโยชน์อย่างมหาศาลจากกิจกรรมดังกล่าว  </span></span><span style=\"font-family: Arial\"><o:p></o:p></span></span><span style=\"color: #000000\"><span style=\"font-size: 10pt\">                  <span lang=\"TH\">จะเห็นได้ว่าการค้าส่งผลให้อยุธยามีความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจเกิดการขยายตัวของชุมชน การแลกเปลี่ยนสินค้า  การพัฒนาทางด้านสังคม นำไปสู่ความมั่นคงเข้มแข็งของอาณาจักรอยุธยา</span></span><span style=\"font-family: Arial\"><o:p></o:p></span></span><span style=\"color: black; font-family: Verdana\"><o:p><span style=\"font-size: small\"> </span></o:p></span></p>\n', created = 1716272852, expire = 1716359252, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:c704c1e017335d3774f419b35c963c1f' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

พัฒนาการด้านเศรษฐกิจสมัยอยุธยา

อยุธยามีพื้นฐานทางเศรษฐกิจดี  มาตั้งแต่แรกตั้งอาณาจักรเนื่องจากตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการทำการเกษตร และการค้ากับต่างประเทศ       1. เกษตรกรรม อยุธยาตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ป่าสัก และลพบุรี พื้นดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงและเหมาะต่อการเพาะปลูกโดยเฉพาะการปลูกข้าว  ข้าวจึงเป็นผลิตผลที่สำคัญของอาณาจักร ในการปลูกข้าวนั้นประชากรส่วนใหญ่จะทำในลักษณะพอยังชีพมีการใช้เทคโนโลยีอย่างง่ายๆ โดยใช้แรงงานคนและสัตว์เป็นหลัก แต่เนื่องจากสภาพพื้นที่มีความเหมาะสมจึงมีผลผลิตค่อนข้างมากที่จะส่งส่วยให้กับรัฐซึ่งทางรัฐเองก็จะนำไปหาผลประโยชน์อีกทางหนึ่ง นอกจากข้าวแล้วประชากรยังมีการผลิตในทางการเกษตรอีกหลายประเภท เช่น ทำสวน ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ และการประมง ซึ่งผู้ปกครองเอง ก็เห็นความสำคัญของการประกอบอาชีพเกษตรดังกล่าว จึงมีนโยบายสนับสนุนด้วยวิธีการต่างๆ เช่น สนับสนุนให้ราษฎรเข้าไปทำกินในที่ดินว่างเปล่า ตรากฎหมายคุ้มครองผลผลิตของราษฎร เป็นต้น กระบวนการผลิตทางการเกษตรนั้น  ประชากรทั่วไปจะผลิตโดยใช้แรงงานครอบครัวและชุมชนตามประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมา ส่วนการผลิตของพระมหากษัตริย์ ขุนนางจะผลิตโดยใช้การเกณฑ์แรงงานไพร่และทาส กระบวนการผลิตดังกล่าวก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมของท้องถิ่นหลายประการ เช่น การลงแขก การประกอบพิธีกรรม พืชมงคล และการทำขวัญไร่นา เป็นต้น
           การเกษตรเป็นเศรษฐกิจหลักที่ทำให้อยุธยามีความรุ่งเรือง บ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้า ทำให้อยุธยาขยายอาณาเขตประเทศออกไปอย่างกว้างขวางและสามารถเอาชนะอาณาจักรน้อยใหญ่ในดินแดนสุวรรณภูมิได้
     2. อุตสาหกรรม ผลิตผลทางอุตสาหกรรมของอยุธยา ส่วนใหญ่ คือ อุตสาหกรรมในครัวเรือน ผลิตเครื่องใช้ไม้สอยอย่างง่ายๆ รวมไปถึงเครื่องครัวเรือนของชุมชนชั้นสูงและในราชสำนัก เช่น เสื้อผ้า เครื่องจักรสาน เครื่องเหล็ก เครื่องแกะสลัก เครื่องประดับ การผลิตเครื่องทองรูปพรรณ อุตสาหกรรมที่สำคัญอีกอย่างก็ คือ การทำเครื่องปั้นดินเผา เครื่องเคลือบ ดังปรากฏหลักฐานว่ามีการพบเตาเผาภาชนะหลายเตาในบริเวณ แม่น้ำน้อย นอกจากนี้มีอุตสาหกรรมการต่อเรือขนาดเล็ก และเรือขนาดใหญ่ เพื่อใช้บรรทุกสินค้า     3. การค้า จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่า อยุธยามีบทบาทสำคัญทั้งในแง่ของการเป็นอาณาจักรการค้า ซึ่งได้สร้างความมั่งคั่งให้กับอาณาจักรอย่างต่อเนื่องทั้งนี้เพราะสภาพที่ตั้งของอยุธยา เหมาะสมกับการค้าขายทั้งภายใจอาณาจักร และระหว่างประเทศ
             3.1  การค้าขายภายในอาณาจักร  ด้วยสภาพที่ตั้งของอยุธยาอยู่บริเวณใกล้ปากแม่น้ำเจ้าพระยา และอยู่บริเวณที่แม่น้ำสำคัญหลายสายไหลผ่าน  ดังนั้นจึงเป็นชุมชนทางการค้าที่พ่อค้าจากหัวเมืองทางเหนือ จะนำสินค้าของป่ามาแลกเปลี่ยนกับสินค้าที่มาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากพ่อค้าจีนที่เดินทางเข้ามาจอดเรือซื้อขายบริเวณปากน้ำเจ้าพระยาสินค้าเหล่านี้จะมีการค้าขายโดยผ่านพระคลังสินค้าซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ทำให้รัฐได้ผลประโยชน์จากการเป็นพ่อค้าคนกลางในการแสวงหาผลประโยชน์ดังกล่าว  ความสำคัญของการค้าทำให้รัฐได้ส่งเสริมการค้าด้วยวิธีการต่างๆ ตลอดจนออกกฎหมายควบคุมการค้า  เพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจดังกล่าวดำเนินไปได้ด้วยดี  อย่างไรก็ตามแม้ว่าภาครัฐจะสนับสนุนการค้า แต่ประชากรทั่วไปก็ไม่ได้รับผลประโยชน์มากนักเนื่องจากยังคงค้าขายที่เน้นการแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่ตนเองต้องการมากกว่าจะแสวงหากำไร และผลประโยชน์โดยตรง ดังนั้นผู้ที่ได้ประโยชน์จากการค้าจึงจำกัดอยู่เฉพาะขุนนาง เจ้านาย ตลอดจนชาวต่างชาติ ผู้ที่เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในเรื่องดังกล่าว
             3.2  การค้าขายระหว่างประเทศ อยุธยานับว่ามีชัยภูมิเหมาะสมกับการค้าระหว่างประเทศเนื่องจากเป็นเมืองท่าที่อยู่กึ่งกลางเส้นทางการเดินเรือค้าขายระหว่างประเทศจีนกับประเทศอินเดีย ประกอบกับความเข้มแข็งของอำนาจทางการเมืองทำให้อยุธยาไม่มีคู่แข่งการค้าและยังเป็นศูนย์รวมของสินค้าจากเมืองท่าต่างๆ  ที่อยู่ใต้อิทธิพลทางการเมืองของอยุธยาด้วยปัจจัยดังกล่าวทำให้อยุธยา กลายเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างจีนกับอินเดีย
                   สำหรับการค้าขายกับอยุธยากับประเทศในแถบเอเชีย  อยุธยาจะค้าขายกับจีน และอินเดียเป็นหลัก  นอกจากนั้นก็ค้าขายกับชาวอาหรับ  เปอร์เซีย  ส่วนการค้ากับต่างชาติตะวันตกนั้นโปรตุเกส  เป็นชาติแรกที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยาราวพุทธศตวรรษที่ 21 ต่อจากนั้นก็ชาติอื่นๆ เช่น สเปน  ฮอลันดา  อังกฤษ  และฝรั่งเศส  เดินทางเข้ามาค้าขายซึ่งรุ่งเรืองมากในสมัยราชวงศ์ปราสาททอง  แต่เมื่อถึงรัชสมัยของราชวงศ์บ้านพลูหลวง  การค้ากับชาติตะวันตกก็ซบเซาลง
                   การดำเนินกิจกรรมค้าขายกับต่างชาตินั้น รัฐจะเป็นผู้จัดการโดยหน่วยงาน “พระคลังสินค้า”  ซึ่งมีกรมท่าซ้ายดูแลรับผิดชอบการค้ากับอินเดีย และชาติอาหรับ เปอร์เซีย ส่วนกรมท่าขวาดูแลค้าขายกับจีน  และกรมท่ากลางค้าขายกับชาติตะวันตก หน่วยงานของรัฐจะดำเนินการค้าขายโดยการผูกขาดสินค้า คือ สินค้าบางอย่าง เช่น อาวุธ และสินค้าที่รัฐเห็นว่าจะขายต่อได้กำไรรัฐจะผูกขาดซื้อไว้ ส่วนสินค้าออก เช่น  ข้าว และของป่า รัฐจะกำหนดให้เป็นสินค้าต้องห้ามต้องซื้อผ่านรัฐเท่านั้น  การที่รัฐดำเนินธุรกิจแบบผูกขาดสินค้าและยังเรียกเก็บภาษี การค้าจากเรือของชาวต่างชาติ ทำให้รัฐบาลได้ผลประโยชน์อย่างมหาศาลจากกิจกรรมดังกล่าว  
                  จะเห็นได้ว่าการค้าส่งผลให้อยุธยามีความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจเกิดการขยายตัวของชุมชน การแลกเปลี่ยนสินค้า  การพัฒนาทางด้านสังคม นำไปสู่ความมั่นคงเข้มแข็งของอาณาจักรอยุธยา 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 404 คน กำลังออนไลน์