เคล็ดลับ"คนเก่ง" จากแอดมิชชั่น" ปี 50

รูปภาพของ admin

น.ส.กรณิศ ศักดิ์ศรชัย หรือน้อง "แตงไท" นักเรียนจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำคะแนนได้ 88.26 คะแนน เป็นอันดับ 1 ของคณะยอดฮิตอย่างคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ "การเตรียมตัวสอบ ไม่ได้เตรียมตัวนาน อ่านหนังสือในช่วงใกล้สอบ ซึ่งจริงๆ แล้ว แตงไทเรียนสายวิทย์มาตั้งแต่ ม.4 แต่เพิ่งมาเปลี่ยนเป็นสายศิลป์ในช่วง ม.6 เทอม 2 เนื่องจากที่เลือกเรียนวิทย์ เพราะคิดว่าน่าจะมีทางเลือกที่กว้างกว่าสายศิลป์ แต่เมื่อเรียนไปแล้วกลับรู้สึกว่าไม่ชอบ จึงขอย้ายมาเรียนสายศิลป์แทน"

จากประสบการณ์ตรงของตัวเอง "แตงไท" จึงอยากฝากถึงน้องๆ ว่า "อยากให้ทุกคนพยายามค้นหาตัวเองว่าชอบ หรืออยากจะก้าวเดินต่อไปในด้านไหน และเลือกเรียนให้ตรงกับความต้องการและความถนัดของตัวเอง ในส่วนของการเรียนนั้น สำคัญคือจะต้องตั้งใจเรียนในห้องเรียน เมื่อมีข้อสงสัยหรือติดขัดก็ให้ถามอาจารย์ หรืออาจกวดวิชาเพิ่มเติมบ้างในบางวิชาที่ไม่เข้าใจจริงๆ"

ขณะที่น้อง "ชัย"นายพรชัย แก้วทรัพย์ศักดิ์ นักเรียจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ทำคะแนนสูงสุดเป็นอันดับ 1 ของคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ด้วยคะแนน 86.93 คะแนน เปิดเผยเคล็ดลับในการเรียนว่า "ปกติตั้งใจเรียนในห้องเรียนอยู่แล้ว เพื่อจะได้ไม่ต้องมาเหนื่อยมุ่งอ่านหนังสือหนักๆ ในช่วงใกล้สอบ แต่ในช่วงใกล้สอบก็จะกลับมาทบทวนอีกครั้ง พร้อมทั้งจะนำข้อสอบเก่าๆ มาทดลองทำ และจะมีเรียนพิเศษเสริมในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์

"ชัย" เล่าว่า อนาคตอยากเป็นครูสอนวิทยาศาสตร์ เพราะชอบเรียนเคมี ไม่ค่อยชอบวิชาฟิสิกส์ และชีวะ อีกทั้งปัจจุบันมีปัญหาที่ครูในสายวิทยาศาสตร์ยังขาดแคลนอยู่มากด้วย

น้อง "ขนุน"น.ส.มนพร พงศ์พงัน นักเรียนจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รั้งตำแหน่งนักเรียนที่ทำคะแนนได้สูงสุดเป็นอันดับ 1 ของคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ด้วยคะแนน 85.65 คะแนน ฝากมาถึงน้องๆ ด้วยว่า "ในช่วงที่เรียนชั้น ม.ปลาย ต้องพยายามค้นหาตัวเองว่าชอบและถนัด อยากเรียนต่อด้านไหน เมื่อเราชอบและสนใจก็จะทำให้เรียนได้ดี ส่วนการเรียนพิเศษ กวดวิชาเพิ่มเติมอาจสำคัญสำหรับคนที่ไม่อยากอ่านหนังสือเอง แต่ส่วนตัวจะสนใจเรียนในห้อง และทบทวนด้วยตนเอง จะเรียนพิเศษบ้างเพื่อไม่ให้ว่าง และเพื่อให้ตัวเองได้อยู่กับตำราเรียน ส่วนตัวเวลาใกล้สอบก็จะทำตำราเอง เพื่อติวกับเพื่อนๆ เช่นวิชาสังคม จะนำสิ่งที่จดเอาไว้ มาอ่านเฉพาะที่สำคัญๆ หรือโน้ตย่อมาอ่านเอง และรวมกลุ่มแบ่งกันติวกับเพื่อน อาจแบ่งกันรับผิดชอบกันคนละ 1-2 วิชา ก็จะทำให้ไม่ต้องมาอ่านใหม่ทั้งหมด"

สำหรับระบบแอดมิชชั่น "ขนุน" ชี้ว่าไม่สามารถลดการเรียนพิเศษลงได้ แต่กลับจะยิ่งทำให้นักเรียนต้องเรียนพิเศษมากขึ้นด้วย บางคนอาจต้องเรียนตั้งแต่ ม.4-6 เพื่อให้ผลการเรียนเฉลี่ยดีขึ้น อย่างไรก็ตามขนุนฝากถึงน้องๆ ที่เข้าสู่ระบบแอดมิชชั่นในปีต่อๆ ไปว่า การเรียนต้องเริ่มแต่เนิ่นๆ ไม่เครียดที่เดียวก่อนสอบ ไม่ฟิตจัดจนโอเวอร์เกินไป เวลาที่เรียนในห้องต้องตั้งใจเรียนให้มากสุด พยายามทำความเข้าใจว่าอาจารย์สอนอะไร และต้องมีเป้าหมายหลักในชีวิต เพื่อที่จะได้มุ่งมั่นไปให้ถึง"

ยอดฝีมืออีกคน "กันต์"นายกฤชบดี จ่ายเจริญ ว่าที่หนุ่มสถาปัตย์ นักเรียนจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน ได้คะแนน 85.12 คะแนน สูงสุดของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า " ตัวเองเรียกได้ว่าเป็นนักกิจกรรมตัวยงคนหนึ่ง แต่ก็พยายามว่า ในการทำกิจกรรมอะไรนั้นจะต้องไม่ให้กระทบกับการเรียน หรือกระทบก็ให้น้อยที่สุด

"ชีวิต ม.ปลายจะให้เรียนอย่างเดียวไม่ได้ แต่ถ้าอยู่ในห้องเรียนต้องให้ความสนใจ แบ่งเวลาให้ดี ค่อยๆ ทบทวนตำราเรียนไปเรื่อยๆ ไม่ใช่มาคอยอ่านหนังสือหนักๆ ในช่วงสอบ เพราะจะทำให้เครียดมาก สำคัญที่สุดคือจะต้องรู้ว่าตัวเองชอบอะไร ดังนั้นอยากฝากถึงน้องๆ ให้พยายามค้นหา ให้รู้ว่าตัวเองชอบอะไร อยากเรียนด้านไหน เพราะหากเราไปเลือกเรียนในสิ่งไม่ที่ชอบก็ย่อมทำไม่ได้ดี"

แหล่างที่มา www.tttonline.net

สร้างโดย: 
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 465 คน กำลังออนไลน์