ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยอยุธยา

 

 

.สมัยอยุธยา

อยุธยาเหมาะสมต่อการเป็นเมืองท่าค้าขาย รวมทั้งความมั่นคงในการปกครอง

จึงทำให้อยุธยามีอิทธิพลเหนือรัฐใกล้เคียง ปัจจัยดังกล่าวจึงทำให้อยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้านานาชาติ

ที่รุ่งเรืองโดยเฉพาะสมัยพระนารายณ์

ความสัมพันธ์กับล้านนา

มีลักษณะเป็นการทำสงครามมากกว่าการเป็นไมตรีต่อกัน สงครามระหว่างอยุธยาและล้านนา

ได้เกิดขึ้นหลายครั้งในรัชสมัยพระยาติโลกราชแห่งล้านนากับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา

ความสัมพันธ์กับลาว(ล้านช้าง)

ไทยกับลาวมีความสัมพันธ์กันมาแต่โบราณ มีลักษณะเป็นมิตรไมตรีที่ดีต่อกัน

หลักฐานสำคัญที่แสดงถึงสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างไทยกับลาวก็คือ

การร่วมกันสร้างพระธาตุศรีสองรัก ปัจจุบันพระธาตุศรีสองรักอยู่ที่ อ.ด่านซ้าย จ.เลย

ความสัมพันธ์กับพม่า

ไทยกับพม่าส่วนใหญ่เป็นการแข่งอิทธิพลและการขยายอำนาจจึงทำให้เกิดสงคราม

กันตลอดเวลาสาเหตุสำคัญมาจากที่พม่าต้องการขยายอำนาจ

เข้ามาในอาณาจักรอยุธยาจึงทำให้อยุธยาตกเป็นประเทศราชของพม่าถึง 2 ครั้ง

ด้วยกัน นอกจากการทำสงครามแล้วไทยกับพม่าก็ยังมีการติดต่อค้าขายกัน

ในบางครั้งการทำสงครามระหว่างไทยกับพม่ามีสาเหตุจากการที่ไทยจับเรือสำเภาของพม่า

ที่ไปค้าขายที่เมืองมะริดซึ่งเป็นเมืองท่าที่สำคัญของไทยจึงทำให้พม่าไม่พอใจ

ความสัมพันธ์กับเขมร

เขมรเคยมีอิทธิพลในดินแดนไทย ทำให้เขมรมีความสัมพันธ์กับไทยในฐานะเมืองประเทศราช

 ตลอดสมัยอยุธยามีผลทำให้ไทยได้รับอิทธิพลจากเขมรในด้านต่างๆ ได้แก่

 1.ด้านการปกครอง  – ไทยได้รับแนวความคิดที่กษัตริย์ทรงมีฐานะเป็นสมมติเทพจากเขมรเข้ามาด้วย

 2.ไทยได้รับขนบธรรมเนียมประเพณีมาจากเขมร เช่น พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา

 3.ด้านประติมากรรม – การหล่อพระพุทธรูปยุคอู่ทอง

 เป็นการหล่อพระพุทธรูปสมัยอยุธยายุคแรกของไทยก็ได้แบบอย่างมาจากเขมร

 4.ด้านวรรณคดี     – ไทยนิยมใช้ภาษาขอมและภาษาบาลีสันสกฤตในวรรณคดีต่างๆ

ความสัมพันธ์กับหัวเมืองมลายู

ในสมัยอยุธยาตอนต้นได้มีการติดต่อกับหัวเมืองต่างๆทางใต้ของไทย

หัวเมืองมลายูมีฐานะเป็นประเทศราชของไทยจึงมีหน้าที่ส่งเครื่องราชบรรณการพร้อมกับ

ต้นไม้เงินต้นไม้ทองมาถวายกษัตริย์ไทย 3 ปีต่อครั้ง อยุธยาจะดูแลความสงบเรียบร้อยของหัวเมืองมลายู

หากหัวเมืองมลายูได้รับความเดือดร้อน อยุธยามีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ

ความสัมพันธ์กับญวน

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญวนมักจะเป็นเรื่องของการแข่งขันกันมีอิทธิพลในเขมร

แต่บางครั้งก็เป็นมิตรไมตรีต่อกัน

เมื่อญวนรบกันเองไทยสามารถขยายอิทธิพลและมีอำนาจในเขมรได้อย่างสะดวก

 แต่เมื่อญวนรวมกำลังกันได้ก็จะขยายอำนาจเข้าไปในเขมร ทำให้เกิดสงครามกับไทยได้

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลายๆครั้ง

ความสัมพันธืกับชาติในเอเชีย

1.ความสัมพันธ์กับจีน

รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับจีนเป็นความสัมพันธ์ในรูปแบบรัฐบรรณาการ

ในระบบความสัมพันธ์แบบรัฐบรรณาการนั้น

 จักรพรรดิจีนถือว่าอยุธยา คือประเทศราชของจักรวรรดิจีน

แต่สำหรับอยุธยาแล้วถือว่าความสัมพันธ์กับจีนเป็นรูปแบบของการค้า

การค้าและการทูตระหว่างจีนกับอยุธยา เป็นผลให้ชาวจีนเข้ามาตั้งรกรากเป็นชุมชนขึ้นที่

กรุงศรีอยุธยาส่วนใหญ่เป็นพวกพ่อค้า มีความรู้ความชำนาญด้านการค้าและการเดินเรือ

2.ความสัมพันธ์กับญี่ปุ่น

ช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 อยุธยาได้ติดต่อกับริวกิว (ปัจจุบันคือโอกินาวาของญี่ปุ่น)

มีการแลกเปลี่ยนคณะทูต ของกำนัลและการค้าได้เข้ามาในรูปของการทูต

ช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 22 ญี่ปุ่นกลายเป็นตลาดการค้าที่สำคัญของอยุธยา

เรือสำเภาญี่ปุ่นที่จะเดินทางค้าขายจะต้องได้รับใบอนุญาตเรียกว่า ใบเบิกร่องก่อน

ปลายพุทธศตวรรษที่ 22 อยุธยากับญี่ปุ่นไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตต่อกัน

เพราะญี่ปุ่นประกาศปิดประเทศ ห้ามคนญี่ปุ่นออกนอกประเทศ

 อนุญาตให้เฉพาะฮอลันดาและจีนเท่านั้น แต่การค้าระหว่างอยุธยากับญี่ปุ่นยังคงดำเนินต่อไป

3.ความสัมพันธ์กับประเทศในเอเชียตะวันตก

พ่อค้าที่มีอิทธิพลและบทบาททางการค้าสูงมาก คือ พวกมัวร์

ซึ่งเป็นชื่อเรียกชาวอินเดียมุสลิม ชาวเปอร์เชียหรืออิหร่าน ชาวตุรกี

 และชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลาม ชาวมัวร์ตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชมใหญ่ที่กรุงศรีอยุธยา

ทำให้มีการผสมผสานทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมระหว่างชาวมัวร์กับคนอยุธยา

ความสัมพันธ์กับชาติตะวันตก

1.ความสัมพันธ์กับโปรตุเกส

โปรตุเกสเป็นชาวยุโรปชาติแรกที่เข้ามาติดต่อกับอยุธยา โดยจุดมุ่งหมายสำคัญ

คือ ต้องการผลประโยชน์ทางการค้าและเผยแผ่ศาสนา

โปรตุเกสขายปืนและอาวุธสงครามให้แก่อยุธยาเป็นการแลกเปลี่ยนกับสิทธิในการค้า

2.ความสัมพันธ์กับสเปน

สัมพันธภาพระหว่างไทยกับสเปนไม่ราบรื่นและขาดความต่อเนื่อง

เพราะว่าสเปนสนับสนุนให้เขมรเป็นอิสระจากอยุธยา

 โดยหวังจะใช้เป็นศูนย์กลางการค้าและเป็นแหล่งเผยแผ่ศาสนาคริสต์

จึงบาดหมางกับไทยชาวสเปนไม่ได้ตั้งรกรากในกรุงศรีอยุธยาจึงไม่ได้มีอิทธิพล

ทางวัฒนธรรมหลงเหลือให้เห็นเด่นชัด

3.ความสัมพันธ์กับฮอลันดา

ฮอลันดาเข้ามาติดต่อกับกรุงศรีอยุธยาจุดมุ่งหมายสำคัญของฮอลันดา

คือ ความต้องการซื้อสินค้าจากจีนและหาช่องทางเข้าไปค้าขายในจีน

โดยอาศัยเรือสำเภาของไทย แต่ไทยยินดีต้อนรับเฉพาะเรื่องที่ชาวฮอลันดาเข้ามาค้าขายเท่านั้น

 ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 23 การค้าของฮอลันดาที่กรุงศรีอยุธยาค่อยๆลดความสำคัญลง

เพราะมีอุปสรรคนานาประการ เช่น การเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้า ความผันผวนทางการเมือง

4.ความสัมพันธ์กับอังกฤษ

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอังกฤษซบเซา และหยุดชะงักลงเนื่องจากอังกฤษ

พยายามจะยึดเมืองมะริดแต่ถูกขับไล่ออกไป

 จึงทำให้อยุธยากับอังกฤษประกาศสงครามต่อกัน แม้สงครามจะไม่เกิด

แต่ก็ทำให้เหินห่างกันไปและยุติลงอย่างเด็ดขาด

5.ความสัมพันธ์กับฝรั่งเศส

ความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสเป็นระยะเวลาค่อนข้างสั้น จุดมุ่งหมายหลักของฝรั่งเศสอยู่ที่การติดต่อการค้ากับไทยและพยายามโน้มน้าวคนไทยให้นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก แต่ฝ่ายไทยให้ความสนใจในเรื่องการค้าและความสัมพันธ์ทางการทูตมากกว่า

อ้างอิง

www.google.com

Smile

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 383 คน กำลังออนไลน์