• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:f60de5545a57b4dd0246558eaf0f707a' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p> ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในสมัยรัชกาลที่ 4 ตอนความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนสมัยใหม่ </p>\n<p>หลังจากที่ไทยได้ยกเลิก “การส่งบรรณาการเพื่อการค้า” กับจีนในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2396 การติดต่ออย่างเป็นทางการระหว่างไทยกับจีนก็ได้ยุติลง แต่การค้าขายและการติดต่อในระดับประชาชนยังคงดำเนินต่อ มีคนจีนอพยพมาประกอบอาชีพในประเทศไทยมากขึ้น ทั้งนี้เพราะในประเทศจีนเอง จักรพรรดิแมนจูของราชวงศ์ชิงอ่อนแอ ทำสงครามแพ้อังกฤษและฝรั่งเศสและมหาอำนาจตะวันตกอื่น ๆ อีกทั้งต้องปราบปรามกบฏภายในหลายครั้ง เกิดสภาพข้าวยากหมากแพงในจีนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคใต้ ชาวจีนจึงหาทางอพยพไปหางานนอกประเทศ อีกทั้งการคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศไทยกับเมืองท่าของจีนตอนใต้ได้พัฒนาขึ้น มีเรือกลไฟของบริษัท Bangkok Passenger Steamer Company แล่นรับส่งผู้โดยสารเป็นประจำระหว่างเมืองซัวเถาและเมืองท่าอื่น ๆ ทางตอนใต้ของจีนกับกรุงเทพตั้งแต่ พ.ศ. 2429 ทำให้คนจีนอพยพมาอยู่เมืองไทยมากขึ้น</p>\n<p>ชุมชนจีนโพ้นทะเลในสยามหรือประเทศไทยนั้นมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ทั้งนี้เพราะชาวจีนได้อพยพหลบหนีความแร้นแค้น ตลอดจนความอดอยากหิวโหยและภยันตรายต่าง ๆ จากอำเภอชานโถว (ซัวเถา) เฉาโจว (แต้จิ๋ว) โผ่วเล้ง และเท่งไฮ้ในมณฑลกว่างตง มาแสวงหาความสงบสันติและความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มน้ำเจ้าพระยาในประเทศไทย ด้วยเสื่อผืนเดียวและหมอนหนึ่งใบ ชาวจีนอพยพเหล่านี้ละทิ้งครอบครัวรวมทั้งภรรยาและบุตรมาแสวงหาโชคและชีวิต ที่ดีกว่า หลายคนประสบความสำเร็จจากความอุตสาหพยายามและอดทน จากแรงงานขนข้าวสารมาเป็นหัวหน้าคนงานและเจ้าของโรงสีในบั้นปลาย หรือจากพ่อค้าหาบเร่มาขายของในร้านชำเล็ก ๆ และกลายมาเป็นเจ้าของห้างที่นำสินค้าจากต่างประเทศ บางคนแต่งงานกับผู้หญิงไทย แต่ก็รับภรรยาและลูก ๆ จากหมู่บ้านในจีนให้มาอยู่ด้วยกันในครอบครัวที่กรุงเทพฯ ชาวจีนอพยพเหล่านี้มักได้รับการอุปถัมภ์จากคนจีนอพยพรุ่นก่อน ๆ ที่มีสกุลเดียวกัน หรือมาจากหมู่บ้านอำเภอเดียวกันในจีน ความอุปถัมภ์ช่วยเหลือทั้งในด้านการงานและการเงิน ทำให้ชาวจีนอพยพสามารถหลุดพ้นจากความยากจนและสร้างฐานะได้ในเวลาไม่นาน หลายคนส่งเงินกลับไปช่วยเหลือญาติพี่น้องในประเทศจีน และติดตามข่าวสารทั้งทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองจีน</p>\n<p>ความอ่อนแอของราชวงศ์ชิงภายใต้จักรพรรดิชาวแมนจูและความอัปยศจากความพ่ายแพ้ ในสงครามกับจักรวรรดินิยมตะวันตก ทำให้ชาวจีนโพ้นทะเลในที่ต่าง ๆ เห็นว่าต้องเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในจีน ดร. ซุนยัตเซน เป็น ผู้เรียกร้องให้โค่นล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชภายใต้ราชาวงศ์ชิง และสถาปนาสาธารณรัฐจีนที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ดร. ซุนยัตเซนได้เดินทางมายังชุมชนจีนโพ้นทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป เพื่อเผยแพร่ความคิด แสวงหาการสนับสนุน ดร. ซุนยัตเซน ได้เดินทางมาเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศไทย 4 ครั้ง</p>\n<p>ประมาณเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2446 ในปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ดร. ซุนยัตเซนได้เดินทางจากเวียดนามมาถึงกรุงเทพฯ นับเป็นการเดินทางมายังประเทศไทยครั้งแรก ดร. ซุนยัตเซน ได้พบผู้นำจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย เช่น เซียวฝอเฉิง และเฉินยี่หรู เพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะและเผยแพร่แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใน จีน ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2446 ดร.ซุนยัตเซน ได้ออกเดินทางจากกรุงเทพฯไปญี่ปุ่น</p>\n<p>อีกสองปีต่อมาในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2448 ดร.ซุนยัตเซน ได้ก่อตั้งสมาคมปฏิวัติ “ถงหมิงฮุ่ย” ที่ประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ เพื่อเป็นฐานในการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในจีน โดยประกาศหลักการ “ไตรประชา” คือ ประชาชาติ (หมิงจู่) ประชาสิทธิ (หมินฉวน) และประชาชีพ (หมินเซิง) และได้เดินทางไปจัดตั้ง “ถงหมิงฮุ่ย” ในชุมชนจีนโพ้นทะเลในเวียดนามและที่อื่น ๆ ต่อมาราวต้นปี พ.ศ. 2449 ดร. ซุนยัตเซน ได้เดินทางมายังประเทศไทยเป็นครั้งที่ 2 และพำนักกับ “หลินเหวินอิง” ชาวจีนโพ้นทะเลในไทย เพื่อพบปะกับผู้นำชาวจีนโพ้นทะเลในไทย รวมทั้งนายเซียวฝอเฉิง (เซียวฮุดเสง สีบุญเรือง) ขอความสนับสนุนต่อการปฏิวัติต่อการเปลี่ยนแปลงในจีน และได้ก่อตั้ง “ถงหมิงฮุ่ย” สาขาสยามด้วย โดยมี เซียวฝอเฉิง (เซียว ฮุดเสง สีบุญเรือง) เป็นหัวหน้าสาขา</p>\n<p>ราวต้นปี พ.ศ. 2451 ดร. ซุนยัตเซน ได้เดินทางมายังประเทศไทยเป็นครั้งที่ 3 เพื่อรวบรวมเงินสนับสนุนเพื่อไปทำการปฏิวัติ และออกเดินทางต่อไปยังเวียดนาม สิงคโปร์ ปีนัง ต่อมาในวันที่ 20 พฤศจิกายน ดร. ซุนยัตเซน ได้เดินทางจากสิงคโปร์เข้ามายังประเทศไทยเป็นครั้งที่ 4 และได้รับการต้อนรับจากสมาชิกถงหมินฮุ่ยอย่างอบอุ่น ดร. ซุนยัตเซน ได้แสดงปาฐกถาเพื่อแสวงหาการสนับสนุนในซอยแห่งหนึ่งย่านเยาวราชข้าง ๆ โรงภาพยนตร์ศรีราชวงศ์ ในเวลาต่อมา คนจีนโพ้นทะเลในไทยขนานนามซอยดังกล่าวว่า “ซอยปาฐกถา” หลังจากพำนักในไทยนาน 24 วัน ดร. ซุนยัตเซน ได้ออกจากประเทศไทยเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2451</p>\n<p>ชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทยได้รวบรวมเงินบริจาคส่งไปให้ ดร. ซุนยัตเซน เพื่อทำการปฏิวัติเป็นจำนวนเงินหลายพันหลายหมื่นหยวน กระแสชาตินิยมในหมู่ชาวจีนโพ้นทะเลได้ทวีความเข้มข้น ทางการของไทยค่อนข้างกังวลต่อบทบาททางการเมืองของจีนโพ้นทะเล จึงพยายามกดดันและจำกัดบทบาทของ ดร. ซุนยัตเซน ต่อมาใน พ.ศ. 2452 รัฐบาลราชวงศ์แมนจูของจีนได้ออกกฎหมายสัญชาติฉบับแรกขึ้นเพื่อให้ชาวจีนถือ สัญชาติตามสายเลือด โดยไม่คำนึงถึงสถานที่เกิดหรือสัญชาติอื่น นโยบายดังกล่าวได้ทำให้ชาวจีนโพ้นทะเลมีความรู้สึกชาตินิยมมากขึ้นและพยายาม รักษาเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่มของตนเอง โดยการแยกตัวออกมาอยู่เฉพาะกลุ่ม อีกทั้งตั้งสมาคมการค้าและโรงเรียนสอนภาษาจีน ตลอดจนหนังสือพิมพ์ภาษาจีนขึ้นในไทย</p>\n<p>ความรู้สึกชาตินิยอมที่รุนแรงได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยกับคนจีนใน ประเทศไทยเริ่มตึงเครียด คนไทยไม่พอใจและต่อต้านการที่คนจีนติดธงก๊กหมินตั่ง หรือติดรูป ดร. ซุนยัตเซน ไว้ตามบ้านเรือนและร้านค้า เพราะไม่ปรารถนาให้คนชาติอื่นรวมทั้งคนจีนแสดงว่ามีอิทธิพลเหนือดินแดนไทย เมื่อคนจีนพากันนัดหยุดงานและธุรกิจการค้าในปลายรัชกาลที่ 5 ระหว่างวันที่ 1 – 3 มิถุนายน 2453 เพื่อประท้วงการที่รัฐบาลออกกฎหมายเพิ่มค่าภาษีรัชชูปการคนต่างด้าว ก็ยิ่งทำให้ความตึงเครียดในความรู้สึกระหว่างคนไทยและคนจีนทวียิ่งขึ้น</p>\n<p>ในปี พ.ศ. 2454 หรือ ค.ศ. 1911 ได้มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในจีน นั่นคือ การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ภายใต้ราชวงศ์ ชิงของแมนจู มาเป็นการปกครองในระบอบสาธารณรัฐ ซึ่งนำโดย ดร. ซุนยัตเซน และต่อมาได้กลายเป็นประธานาธิบดีคนแรกของ “จีนใหม่” หรือ สาธารณรัฐจีน แนวคิดชาตินิยมตามหลักการ “ไตรประชา” (ซานหมินจู่อี้) ของ ดร. ซุนยัตเซน ได้แพร่หลายเข้ามาสู่ชาวจีนโพ้นทะเลในดินแดนต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทย ก๊กหมินตั่งได้รับการจัดตั้งขึ้นมาแทนถงหมินฮุ่ย และเผยแพร่ความคิดประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐในหมู่ชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย หลังการสิ้นพระชนม์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี พระองค์ทรงเป็นนักชาตินิยมและทรงตระหนักว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยส่วนใหญ่อยู่ในมือของคนจีน อีกทั้งคนจีนยังเพิ่มการเคลื่อนไหวทางการเมือง ซึ่งอาจไม่เป็นผลดีต่อไทยได้ พระองค์จึงพยายามปลุกความรักชาติภาคภูมิในชาติและความเป็นไทยในพระราชนิพนธ์ ต่าง ๆ ของพระองค์ เช่น เรื่องเมืองไทยจงตื่นเถิด พวกยิวแห่งบูรพาทิศและโคลนติดล้อ</p>\n<p>นอกจากนั้นพระองค์ยังได้ดำเนินมาตรการต่าง ๆ ที่ค่อนข้างเข้มงวดต่อคนจีน เช่น ตราพระราชบัญญัติแปลงชาติ ร.ศ. 130 (พ.ศ. 2454) พระราชบัญญัติเนรเทศ ร.ศ. 131 (พ.ศ. 2455) ซึ่งให้อำนาจแก่รัฐบาลในการเนรเทศคนต่างด้าวที่เป็นภัยต่อบ้านเมือง และพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2456 เป็นต้นต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 2458 ความตึงเครียดระหว่างคนไทยและคนจีนก็ลดลง อีกทั้งพระองค์ทรงมีพระประสงค์ให้มีการผสมกลมกลืนระหว่างคนไทยและจีนตาม ธรรมชาติมากกว่าการบีบบังคับด้วยกฎหมาย การแต่งงานระหว่างคนไทยและคนจีนจึงมีมากขึ้น มีการผสมกลมกลืนมากขึ้น ซึ่งช่วยลดความตึงเครียดระหว่างกัน คนไทยเชื้อสายจีนในรุ่นที่ 2 และ 3 เริ่มมีจำนวนมากกว่าจีนโพ้นทะเลที่อพยพมาจากประเทศจีน</p>\n<p>เมื่อประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขใน พ.ศ. 2475 รัฐบาลสาธารณรัฐจีนที่นานกิงได้พยายามติดต่อเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์ทางการ ทูต ได้มีการเจรจาหลายครั้งแต่ไม่อาจตกลงกันได้ ด้วยไทยเกรงว่ารัฐบาลจีนอาจแทรกแซงกิจการภายในของไทย โดยอาศัยชาวจีนโพ้นทะเลในไทยซึ่งมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจอยู่ค่อนข้างมากในขณะ นั้น ดังนั้น ไทยกับสาธารณรัฐจีนจึงมิได้มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตต่อกัน จนกระทั่งจีนถูกญี่ปุ่นรุกรานใน พ.ศ. 2480</p>\n<p>ความขัดแย้งภายในแผ่นดินใหญ่จีนก็ส่งผลกระทบต่อชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย การต่อสู้แย่งชิงอำนาจทางการเมืองระหว่างจีนก๊กหมินตั่ง (จีนชาตินิยม หรือ จีนคณะชาติ) ซึ่งตั้งรัฐบาลที่นานกิง โดยมีเจียงไคเชคเป็นประธานาธิบดี กับจีนกุงฉานตั่ง หรือพรรคคอมมิวนิสต์จีนภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตง มีการแข่งขันกันขยายอิทธิพลในหมู่ชาวจีนโพ้นทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียนที่สอนภาษาจีน รัฐบาลไทยได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงในชุมชนจีนโพ้นทะเลในประเทศไทยอย่างใกล้ ชิด ต่อมาเมื่อจีนถูกญี่ปุ่นรุกราน ใน พ.ศ. 2480 จีนโพ้นทะเลในไทยได้มีบทบาทสำคัญในการต่อต้านญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อญี่ปุ่นยึดครองประเทศไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ตั้งแต่ พ.ศ. 2484 จนถึง พ.ศ. 2488 ในขณะเดียวกัน “ขบวนการเสรีไทย” ซึ่งเป็นขบวนการใต้ดินภายใต้การนำของนายปรีดี พนมยงค์ ก็ต่อต้านการยึดครองของญี่ปุ่น </p>\n<p>สร้างโดย นายเจนณรงค์ หงษ์ศรี เลขที่34 ชั้นม.6/1 โรงเรียนศีลาจารพิพัฒน์ </p>\n<p>ที่มา <a href=\"http://www.thaizhong.org/thaizhong/index.php/relathaichina-m/167-special-art2.html\" title=\"http://www.thaizhong.org/thaizhong/index.php/relathaichina-m/167-special-art2.html\">http://www.thaizhong.org/thaizhong/index.php/relathaichina-m/167-special...</a> </p>\n', created = 1716252416, expire = 1716338816, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:f60de5545a57b4dd0246558eaf0f707a' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:7bfd14b0151bd852a700a35f1d9bf73b' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p>\n<img border=\"0\" src=\"/sites/all/modules/tinymce/tinymce/jscripts/tiny_mce/plugins/emotions/images/smiley-kiss.gif\" alt=\"Kiss\" title=\"Kiss\" />  ดีใจจังที่เพื่อนทำให้แล้วผ่าน แบ่งคะแนนให้\n</p>\n<p>\nเกษวรางค์  ด้วยถ้าจะดีนะจ๊ะ\n</p>\n', created = 1716252416, expire = 1716338816, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:7bfd14b0151bd852a700a35f1d9bf73b' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในสมัยรัชกาลที่ 4 ตอนความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนสมัยใหม่

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในสมัยรัชกาลที่ 4 ตอนความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนสมัยใหม่

หลังจากที่ไทยได้ยกเลิก “การส่งบรรณาการเพื่อการค้า” กับจีนในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2396 การติดต่ออย่างเป็นทางการระหว่างไทยกับจีนก็ได้ยุติลง แต่การค้าขายและการติดต่อในระดับประชาชนยังคงดำเนินต่อ มีคนจีนอพยพมาประกอบอาชีพในประเทศไทยมากขึ้น ทั้งนี้เพราะในประเทศจีนเอง จักรพรรดิแมนจูของราชวงศ์ชิงอ่อนแอ ทำสงครามแพ้อังกฤษและฝรั่งเศสและมหาอำนาจตะวันตกอื่น ๆ อีกทั้งต้องปราบปรามกบฏภายในหลายครั้ง เกิดสภาพข้าวยากหมากแพงในจีนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคใต้ ชาวจีนจึงหาทางอพยพไปหางานนอกประเทศ อีกทั้งการคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศไทยกับเมืองท่าของจีนตอนใต้ได้พัฒนาขึ้น มีเรือกลไฟของบริษัท Bangkok Passenger Steamer Company แล่นรับส่งผู้โดยสารเป็นประจำระหว่างเมืองซัวเถาและเมืองท่าอื่น ๆ ทางตอนใต้ของจีนกับกรุงเทพตั้งแต่ พ.ศ. 2429 ทำให้คนจีนอพยพมาอยู่เมืองไทยมากขึ้น

ชุมชนจีนโพ้นทะเลในสยามหรือประเทศไทยนั้นมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ทั้งนี้เพราะชาวจีนได้อพยพหลบหนีความแร้นแค้น ตลอดจนความอดอยากหิวโหยและภยันตรายต่าง ๆ จากอำเภอชานโถว (ซัวเถา) เฉาโจว (แต้จิ๋ว) โผ่วเล้ง และเท่งไฮ้ในมณฑลกว่างตง มาแสวงหาความสงบสันติและความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มน้ำเจ้าพระยาในประเทศไทย ด้วยเสื่อผืนเดียวและหมอนหนึ่งใบ ชาวจีนอพยพเหล่านี้ละทิ้งครอบครัวรวมทั้งภรรยาและบุตรมาแสวงหาโชคและชีวิต ที่ดีกว่า หลายคนประสบความสำเร็จจากความอุตสาหพยายามและอดทน จากแรงงานขนข้าวสารมาเป็นหัวหน้าคนงานและเจ้าของโรงสีในบั้นปลาย หรือจากพ่อค้าหาบเร่มาขายของในร้านชำเล็ก ๆ และกลายมาเป็นเจ้าของห้างที่นำสินค้าจากต่างประเทศ บางคนแต่งงานกับผู้หญิงไทย แต่ก็รับภรรยาและลูก ๆ จากหมู่บ้านในจีนให้มาอยู่ด้วยกันในครอบครัวที่กรุงเทพฯ ชาวจีนอพยพเหล่านี้มักได้รับการอุปถัมภ์จากคนจีนอพยพรุ่นก่อน ๆ ที่มีสกุลเดียวกัน หรือมาจากหมู่บ้านอำเภอเดียวกันในจีน ความอุปถัมภ์ช่วยเหลือทั้งในด้านการงานและการเงิน ทำให้ชาวจีนอพยพสามารถหลุดพ้นจากความยากจนและสร้างฐานะได้ในเวลาไม่นาน หลายคนส่งเงินกลับไปช่วยเหลือญาติพี่น้องในประเทศจีน และติดตามข่าวสารทั้งทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองจีน

ความอ่อนแอของราชวงศ์ชิงภายใต้จักรพรรดิชาวแมนจูและความอัปยศจากความพ่ายแพ้ ในสงครามกับจักรวรรดินิยมตะวันตก ทำให้ชาวจีนโพ้นทะเลในที่ต่าง ๆ เห็นว่าต้องเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในจีน ดร. ซุนยัตเซน เป็น ผู้เรียกร้องให้โค่นล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชภายใต้ราชาวงศ์ชิง และสถาปนาสาธารณรัฐจีนที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ดร. ซุนยัตเซนได้เดินทางมายังชุมชนจีนโพ้นทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป เพื่อเผยแพร่ความคิด แสวงหาการสนับสนุน ดร. ซุนยัตเซน ได้เดินทางมาเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศไทย 4 ครั้ง

ประมาณเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2446 ในปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ดร. ซุนยัตเซนได้เดินทางจากเวียดนามมาถึงกรุงเทพฯ นับเป็นการเดินทางมายังประเทศไทยครั้งแรก ดร. ซุนยัตเซน ได้พบผู้นำจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย เช่น เซียวฝอเฉิง และเฉินยี่หรู เพื่อแลกเปลี่ยนทัศนะและเผยแพร่แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใน จีน ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2446 ดร.ซุนยัตเซน ได้ออกเดินทางจากกรุงเทพฯไปญี่ปุ่น

อีกสองปีต่อมาในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2448 ดร.ซุนยัตเซน ได้ก่อตั้งสมาคมปฏิวัติ “ถงหมิงฮุ่ย” ที่ประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ เพื่อเป็นฐานในการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในจีน โดยประกาศหลักการ “ไตรประชา” คือ ประชาชาติ (หมิงจู่) ประชาสิทธิ (หมินฉวน) และประชาชีพ (หมินเซิง) และได้เดินทางไปจัดตั้ง “ถงหมิงฮุ่ย” ในชุมชนจีนโพ้นทะเลในเวียดนามและที่อื่น ๆ ต่อมาราวต้นปี พ.ศ. 2449 ดร. ซุนยัตเซน ได้เดินทางมายังประเทศไทยเป็นครั้งที่ 2 และพำนักกับ “หลินเหวินอิง” ชาวจีนโพ้นทะเลในไทย เพื่อพบปะกับผู้นำชาวจีนโพ้นทะเลในไทย รวมทั้งนายเซียวฝอเฉิง (เซียวฮุดเสง สีบุญเรือง) ขอความสนับสนุนต่อการปฏิวัติต่อการเปลี่ยนแปลงในจีน และได้ก่อตั้ง “ถงหมิงฮุ่ย” สาขาสยามด้วย โดยมี เซียวฝอเฉิง (เซียว ฮุดเสง สีบุญเรือง) เป็นหัวหน้าสาขา

ราวต้นปี พ.ศ. 2451 ดร. ซุนยัตเซน ได้เดินทางมายังประเทศไทยเป็นครั้งที่ 3 เพื่อรวบรวมเงินสนับสนุนเพื่อไปทำการปฏิวัติ และออกเดินทางต่อไปยังเวียดนาม สิงคโปร์ ปีนัง ต่อมาในวันที่ 20 พฤศจิกายน ดร. ซุนยัตเซน ได้เดินทางจากสิงคโปร์เข้ามายังประเทศไทยเป็นครั้งที่ 4 และได้รับการต้อนรับจากสมาชิกถงหมินฮุ่ยอย่างอบอุ่น ดร. ซุนยัตเซน ได้แสดงปาฐกถาเพื่อแสวงหาการสนับสนุนในซอยแห่งหนึ่งย่านเยาวราชข้าง ๆ โรงภาพยนตร์ศรีราชวงศ์ ในเวลาต่อมา คนจีนโพ้นทะเลในไทยขนานนามซอยดังกล่าวว่า “ซอยปาฐกถา” หลังจากพำนักในไทยนาน 24 วัน ดร. ซุนยัตเซน ได้ออกจากประเทศไทยเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2451

ชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทยได้รวบรวมเงินบริจาคส่งไปให้ ดร. ซุนยัตเซน เพื่อทำการปฏิวัติเป็นจำนวนเงินหลายพันหลายหมื่นหยวน กระแสชาตินิยมในหมู่ชาวจีนโพ้นทะเลได้ทวีความเข้มข้น ทางการของไทยค่อนข้างกังวลต่อบทบาททางการเมืองของจีนโพ้นทะเล จึงพยายามกดดันและจำกัดบทบาทของ ดร. ซุนยัตเซน ต่อมาใน พ.ศ. 2452 รัฐบาลราชวงศ์แมนจูของจีนได้ออกกฎหมายสัญชาติฉบับแรกขึ้นเพื่อให้ชาวจีนถือ สัญชาติตามสายเลือด โดยไม่คำนึงถึงสถานที่เกิดหรือสัญชาติอื่น นโยบายดังกล่าวได้ทำให้ชาวจีนโพ้นทะเลมีความรู้สึกชาตินิยมมากขึ้นและพยายาม รักษาเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่มของตนเอง โดยการแยกตัวออกมาอยู่เฉพาะกลุ่ม อีกทั้งตั้งสมาคมการค้าและโรงเรียนสอนภาษาจีน ตลอดจนหนังสือพิมพ์ภาษาจีนขึ้นในไทย

ความรู้สึกชาตินิยอมที่รุนแรงได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยกับคนจีนใน ประเทศไทยเริ่มตึงเครียด คนไทยไม่พอใจและต่อต้านการที่คนจีนติดธงก๊กหมินตั่ง หรือติดรูป ดร. ซุนยัตเซน ไว้ตามบ้านเรือนและร้านค้า เพราะไม่ปรารถนาให้คนชาติอื่นรวมทั้งคนจีนแสดงว่ามีอิทธิพลเหนือดินแดนไทย เมื่อคนจีนพากันนัดหยุดงานและธุรกิจการค้าในปลายรัชกาลที่ 5 ระหว่างวันที่ 1 – 3 มิถุนายน 2453 เพื่อประท้วงการที่รัฐบาลออกกฎหมายเพิ่มค่าภาษีรัชชูปการคนต่างด้าว ก็ยิ่งทำให้ความตึงเครียดในความรู้สึกระหว่างคนไทยและคนจีนทวียิ่งขึ้น

ในปี พ.ศ. 2454 หรือ ค.ศ. 1911 ได้มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในจีน นั่นคือ การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ภายใต้ราชวงศ์ ชิงของแมนจู มาเป็นการปกครองในระบอบสาธารณรัฐ ซึ่งนำโดย ดร. ซุนยัตเซน และต่อมาได้กลายเป็นประธานาธิบดีคนแรกของ “จีนใหม่” หรือ สาธารณรัฐจีน แนวคิดชาตินิยมตามหลักการ “ไตรประชา” (ซานหมินจู่อี้) ของ ดร. ซุนยัตเซน ได้แพร่หลายเข้ามาสู่ชาวจีนโพ้นทะเลในดินแดนต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทย ก๊กหมินตั่งได้รับการจัดตั้งขึ้นมาแทนถงหมินฮุ่ย และเผยแพร่ความคิดประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐในหมู่ชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย หลังการสิ้นพระชนม์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี พระองค์ทรงเป็นนักชาตินิยมและทรงตระหนักว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยส่วนใหญ่อยู่ในมือของคนจีน อีกทั้งคนจีนยังเพิ่มการเคลื่อนไหวทางการเมือง ซึ่งอาจไม่เป็นผลดีต่อไทยได้ พระองค์จึงพยายามปลุกความรักชาติภาคภูมิในชาติและความเป็นไทยในพระราชนิพนธ์ ต่าง ๆ ของพระองค์ เช่น เรื่องเมืองไทยจงตื่นเถิด พวกยิวแห่งบูรพาทิศและโคลนติดล้อ

นอกจากนั้นพระองค์ยังได้ดำเนินมาตรการต่าง ๆ ที่ค่อนข้างเข้มงวดต่อคนจีน เช่น ตราพระราชบัญญัติแปลงชาติ ร.ศ. 130 (พ.ศ. 2454) พระราชบัญญัติเนรเทศ ร.ศ. 131 (พ.ศ. 2455) ซึ่งให้อำนาจแก่รัฐบาลในการเนรเทศคนต่างด้าวที่เป็นภัยต่อบ้านเมือง และพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2456 เป็นต้นต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 2458 ความตึงเครียดระหว่างคนไทยและคนจีนก็ลดลง อีกทั้งพระองค์ทรงมีพระประสงค์ให้มีการผสมกลมกลืนระหว่างคนไทยและจีนตาม ธรรมชาติมากกว่าการบีบบังคับด้วยกฎหมาย การแต่งงานระหว่างคนไทยและคนจีนจึงมีมากขึ้น มีการผสมกลมกลืนมากขึ้น ซึ่งช่วยลดความตึงเครียดระหว่างกัน คนไทยเชื้อสายจีนในรุ่นที่ 2 และ 3 เริ่มมีจำนวนมากกว่าจีนโพ้นทะเลที่อพยพมาจากประเทศจีน

เมื่อประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขใน พ.ศ. 2475 รัฐบาลสาธารณรัฐจีนที่นานกิงได้พยายามติดต่อเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์ทางการ ทูต ได้มีการเจรจาหลายครั้งแต่ไม่อาจตกลงกันได้ ด้วยไทยเกรงว่ารัฐบาลจีนอาจแทรกแซงกิจการภายในของไทย โดยอาศัยชาวจีนโพ้นทะเลในไทยซึ่งมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจอยู่ค่อนข้างมากในขณะ นั้น ดังนั้น ไทยกับสาธารณรัฐจีนจึงมิได้มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตต่อกัน จนกระทั่งจีนถูกญี่ปุ่นรุกรานใน พ.ศ. 2480

ความขัดแย้งภายในแผ่นดินใหญ่จีนก็ส่งผลกระทบต่อชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย การต่อสู้แย่งชิงอำนาจทางการเมืองระหว่างจีนก๊กหมินตั่ง (จีนชาตินิยม หรือ จีนคณะชาติ) ซึ่งตั้งรัฐบาลที่นานกิง โดยมีเจียงไคเชคเป็นประธานาธิบดี กับจีนกุงฉานตั่ง หรือพรรคคอมมิวนิสต์จีนภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตง มีการแข่งขันกันขยายอิทธิพลในหมู่ชาวจีนโพ้นทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียนที่สอนภาษาจีน รัฐบาลไทยได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงในชุมชนจีนโพ้นทะเลในประเทศไทยอย่างใกล้ ชิด ต่อมาเมื่อจีนถูกญี่ปุ่นรุกราน ใน พ.ศ. 2480 จีนโพ้นทะเลในไทยได้มีบทบาทสำคัญในการต่อต้านญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อญี่ปุ่นยึดครองประเทศไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ตั้งแต่ พ.ศ. 2484 จนถึง พ.ศ. 2488 ในขณะเดียวกัน “ขบวนการเสรีไทย” ซึ่งเป็นขบวนการใต้ดินภายใต้การนำของนายปรีดี พนมยงค์ ก็ต่อต้านการยึดครองของญี่ปุ่น

สร้างโดย นายเจนณรงค์ หงษ์ศรี เลขที่34 ชั้นม.6/1 โรงเรียนศีลาจารพิพัฒน์

ที่มา http://www.thaizhong.org/thaizhong/index.php/relathaichina-m/167-special...

รูปภาพของ silavacharee

Kiss  ดีใจจังที่เพื่อนทำให้แล้วผ่าน แบ่งคะแนนให้

เกษวรางค์  ด้วยถ้าจะดีนะจ๊ะ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 378 คน กำลังออนไลน์