สมัยกรุงธนบุรี*

สมัยกรุงธนบุรีTongue out
หลังจากได้กอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนจากพม่าได้แล้ว พระเจ้าตากสินทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาถูกพม่าเผาผลาญเสียหายมาก ยากที่จะฟื้นฟูให้เหมือนเดิม พระองค์จึงย้ายเมืองหลวง มาอยู่ที่กรุงธนบุรี แล้วปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์
ทรงพระนามว่า “ พระบรมราชาธิราชที่ ๔ " (แต่ประชาชนนิยมเรียกว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชหรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี) ครองกรุง
ธนบุรีอยู่ ๑๕ ปี นับว่าเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวที่ปกครองกรุงธนบุรี การตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี

                  สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้
๑.กรุงศรีอยุธยาชำรุดเสียหายมากจนไม่สามารถจะบูรณะปฏิสังขรณืให้ดีเหมือนเดิมได้
กำลังรี้พลของพระองค์มีน้อยจึงไม่สามารถรักษากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองใหญ่ได้
๒.ทำเลที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาทำให้ข้าศึกโจมตีได้ง่าย
๓.ข้าศึกรู้เส้นทางการเข้าตีกรุงศรีอยุธยาดี

ส่วนสาเหตุที่พระเจ้าตากสินทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงเนื่องจากทำเลที่ตั้งกกรุงธนบุรีอยู่ใกล้ทะเล ถ้าเกิดมีศึกมาแล้วตั้งรับไม่ไหวก็สามารถหลบหนี ไปตั้งมั่นทางเรือได้กรุงธนบุรีเป็นเมืองเล็ก จึงเหมาะกับกำลังคนที่มีอยู่พอจะรักษาเมืองได้กรุงธนบุรีมีป้อมปราการที่สร้างไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาหลงเหลืออยู่ ซึ่งพอจะใช้เป็นเครื่องป้องกันเมืองได้ในระยะแรก

เศรษฐกิจสมัยธนบุรีCool

                 หลังจาการกู้เอกราชสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี งานที่ทรงจัดทำต่อไปคือการรวบรวมผู้คนให้มา

อยู่รวมกันเพื่อเป็นกำลังของชาติต่อไป  การที่มีคนมารวมอยู่มากขึ้นก่อให้เกิดปัญหา ทรงได้แก้ไขดังนี้                          

                    1. ในระยะแรกของการครองราชย์ เป็นภาวะที่พ้นจากการศึกสงคราม    ราษฎรยังไม่ได้ทำนา ทรงแก้ไขการขาดแคลน
เฉพาะหน้าด้วยการใช้ราชทรัพย์ส่วยพระองค์ซื้อข้าวสารจากพ่อค้าจีน เพื่อแจกจ่าย

ให้แก่บรรดาข้าราชการ ทหาร และพลเรือนทั้งไทยและจีนคนละ 1 ถังต่อ  20 วัน      นอกจากนี้ทรงแจกจ่ายอาหารให้พลเรือนที่
อดอยากด้วย
*             

                    2. ทรงโปรดให้ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยทำนาปีละ  2 ครั้ง   ( เพื่อแก้ปัญหาความขาดแคลนข้าว)
ทรงให้ข้าราชการและพลเรือนทั้งหลายจับหนูมาส่งกรมพระนครบาล เพื่อปราบการระบาดของหนูในยุ้งฉาง

                    3. ทรงใช้การส่งเสริมการค้ากับต่างประเทศ  ส่งสำเภาหลวงออกไปทำการค้ากับนานาประเทศทางตะวันออกไปถึง
เมืองจีน
  ทางตะวันตกไปถึงอินเดียเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับท้องพระคลัง รวมทั้งมีชาวต่าง 
-ประเทศมาติดต่อค้าขายเป็นอันมาก เช่น จีน  ชวา  แขกมัวร์ ( ชาวอาหรับ )

                    4. ทรงปราบปรามโจรผู้ร้ายที่ปล้นสะดมในฤดูที่เก็บเกี่ยว สมเด็จพระเจ้าตากทรงดำเนินการ

แก้ไขโดยจัดกองทหารออกลาดตระเวนตรวจตราและใช้มาตราการขั้นเด็ดขาดแก่ผู้ประพฤติตนเป็นโจรผู้ร้าย

                     5. การหารายได้จากภาษีอากร ส่วย  และเครื่องบรรณาการต่างๆจากหัวเมืองชั้นใน  หัวเมืองชั้นนอก และหัวเมือง
ประเทศราช

                     6. เพิ่มพูนรายได้แผ่นดินด้วยการเปิดโอกาสให้มีการประมูลผูกขาดเก็บค่าภาคหลวง ขุดทรัพย์ที่มีคนฝังเอาไว้ใน
กรุงศรีอยุธยา ที่ฝังไว้ในขณะหลบหนีพม่า

                       อย่างไรก็ตาม การแก้ไขเศรษฐกิจและสภาพบ้านเมือง ยังมีปัญหาอยู่บ้าง ดังที่บาดหลวงชาวฝรั่งเศสชื่อ 
มอรซิเยอร์ เลอบอง   ซึ่งเข้ามาในเมืองไทยเมื่อ พ
.. 2314   จดบันทึกไว้ในช่วงพ.. 2318ดังนี้

                    จนถึงเวลาเดี๋ยวนี้ อาหารการกินในเมืองนี้ยังแพงมาก เพราะบ้านเมืองไม่เป็นอันทำมาหากินมาเป็นเวลา ๑๕ ปีแล้ว และในเวลานี้ยังหาสงบทีเดียวไม่”*

                      สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกังวลพระทัยเรื่องนี้เคยทรงตรัสว่า

               บุทคลผู้ใดเป็นอาทิคือเทวดา บุทคลผู้มีฤทธิ์มาประสิทธิ์มากระทำให้ข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ขึ้น ให้สัตว์โลกเป็นสุขได้
แม้นผู้นั้นจะปรารถนาพระพาหาแห่งเราข้างหนึ่ง ก็อาจตัดบริจาคแก่ผู้นั้นได้
”* *

 การปกครองสมัยธนบุรี (พ.ศ.2310-2325)Money mouth

การปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยาได้สิ้นสุดลงใน พ.ศ. 2310 เมื่อพม่าสามารถยึดกรุงศรีอยุธยาไว้ได้ แต่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ก็ทรงกู้เอกราชกลับคืนมาได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว โดยที่ปรงปราบปรามบรรดาผู้นำกลุ่มอิสระต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยา และสามารถรวบรวมอาณาจักรไทยให้เป็นปึกแผ่นไว้ได้ จากนั้นได้ทรงสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์และย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี สำหรับการปกครองสมัยกรุงธนบุรียังคงใช้รูปแบบการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นหลัก

สภาพสังคมไทยสมัยกรุงธนบุรีEmbarassed

ตลอดระยะเวลาที่บ้านเมืองไม่สงบ สภาพเศรษฐกิจและสังคมก็ตกต่ำลงอย่างมาก เพราะพลเมืองไม่เป็นอันทำมาหากิน เมื่อกู้เอกราชได้แล้ว ความอดอยากหิวโหยก็ยังคงมีอยู่ เป็นเหตุให้มีโจรผู้ร้ายชุกชุม และเกิดโรคระบาดขึ้นด้วย ดังนั้น ผู้คนจึงล้มตายไปเป็นจำนวนมากขึ้นด้วย สภาพหัวเมืองต่างๆ ของกรุงธนบุรีจึงเหมือนเมืองร้าง
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงแก้ไขความอดอยากของราษฎรโดยพระองค์ทรงสละพระราชทรัพย์ ซื้อข้าวสารในราคาแพง จากพ่อค้าต่างเมือง เพื่อนำมาแจกจ่ายให้กับราษฎรที่อดอยาก นอกจานั้น ยังได้พระราชทานเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มอีกด้วย จากการที่พระองค์ทรงแก้ไขทุพภิกภัยด้วยวิธีนี้ มีผลคือ บรรดาพ่อค้าทั้งหลายเมื่อทราบว่าทางกรุงธนบุรีให้ราคาสินค้าที่สูงต่างก็พากันมาค้าขายกับกรุงธนบุรีมากขึ้น จึงทำให้พ่อค้าแข่งขันทำการค้า เพราะเกิดภาวะสินค้าล้นตลาดราคาสินค้าก็ถูกลง บรรดาราษฎรที่หลบซ่อนอยู่ตามที่ต่างๆ เมื่อทราบว่า พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทะนุบำรุงราษฎรด้วยพระเมตตาเช่นนี้ จึงพากันกลับคืนสู่ภูมิลำเนาเดิม บ้านเมืองจึงเข้าสู่ภาวะปกติอีกครั้ง

ในสมัยกรุงธนบุรีได้มีประชาชนทำการขุดทรัพย์สมบัติจากแหล่งที่ซ่อนทรัพย์ในกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ผู้คนได้นำมาซ่อนไว้ ในการขุดแต่ละครั้งจะได้ทรัพย์สินเงินทองมากมาย แต่ก็ทำให้โบราณสถาน โบราณวัตถุ ถูกทำลายลง ทางการจึงจัดเจ้าหน้าที่ให้คอยดูแล และห้ามประชาชนขุดทรัพย์สินโดยพลการ ต้องได้รับอนุญาตเสียก่อน จึงจะขุดได้ แต่ทางการก็จัดเก็บภาษีจากผู้ขุดด้วย นอกจากนั้น ทางการยังจะมีรายได้จากการติดต่อค้าขายจากต่างประเทศ โดยมีเรือจากต่างประเทศต่างๆ เข้ามาค้าขายมากมาย ไทยก็ส่งสำเภาหลวงถึงหนึ่งลำออกไปค้าขายด้วย ผลกำไรที่ได้จากการค้าขายนี้ ได้ช่วยบรรเทาเรื่องการเสียภาษีอากรของราษฎรได้มาก จึงทำให้สภาพสังคมในสมัยกรุงธนบุรีดีขึ้น

 

สร้างโดย: 

Sirinatt M.4/2 No.8

รูปภาพของ silavacharee

Kiss  บอกชื่อเป็นภาษาไทยนะจ๊ะ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 339 คน กำลังออนไลน์