18.4การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี DNA

รูปภาพของ msw6628

18.4.2 การประยุกต์ใช้ในเชิงนิติวิทยาสาสตร์
DNAเป็นสารพันธุกรรม ซึ่งDNAของคนๆเดียวกันไม่ว่าจะมาจากเซลล์ส่วนใดของร่างกายจะมีรูปแบบที่เหมือนกัน ดังนั้น DNA จึงเป็นเหมือนสิ่งบอกให้รู้ว่าคนๆนั้นเป็นใคร และแตกต่างจากคนอื่นๆอย่างไร
โดยทั่วไปแล้วการที่จะบอกได้ว่าคนๆนั้นเป็นใคร จะพิจารณาจากรูปร่างหน้าตา วัน เดือน ปีเกิด ตามข้อมูลในบัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทาง และถ้าจะให้ชัดเจนยิ่งขึ้นอาจดูจากรอยแผลเป็น และลายพิมพ์นิ้วมือ อย่างไรก็ตามลักษณะดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามอายุ หรือจากอุบัติเหตุ หรือจากสารเคมี นอกจากนี้ลายพิมพ์นิ้วมือไม่สามารถบอกความสัมพันธ์ทางสายเลือด ได้ว่าลายพิมพ์
นิ้วมือของลูกนั้นส่วนใดที่ได้มาจากพ่อหรือแม่ แต่ลายพิมพ์ DNAสร้างมาจากDNAที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อและแม่อย่างละครึ่ง และเปลี่ยนแปลงไม่ได้ จึงมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะบุคคล ซึ่งทำให้สามารถบอกความแตกต่างของบุลคลได็ ความแตกต่างที่มีความจำเพาะของแต่ละบุคคลนี้เอง เราจึงนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน เช่น การพิสูจน์ตัวบุคคล การพิสูจน์ความสัมพันธุ์ทางสายเลือด
การตรวจทางนิติเวชศาสตร์เพื่อหาผู้กระทำความผิด เป็นต้น และจากความแตกต่างที่มีความจำเพาะของแต่ละบุคคล จึงทำให้บุคคลมีรูปแบบของDNAที่แตกต่างกัน เมื่อใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การใช้ RFLP marker ตรวจสอบจะเกิดเป็นแถบ DNA รูปแบบของแถบ DNA(DNA BAND) ที่เป็นความแตกต่างของขนาดชิ้น DNA ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล เรียกว่าลายพิมพ์ DNA (DNA fingerprint) เฉพาะโอกาสที่คนสิงคน
(ที่ไม่ใช่ฝาแฝดแท้)จะมีรูปแบบของลายพิมพ์ดีเอ็นเอเหมือนกันมีน้อยมาก
ได้มีการใช้ DNA เพื่อตรวจพิสูจน์ความเกี่ยวพันในคดีอาญาที่รุนแรง เช่น ฆาตกรรม ทำร้ายร่างกาย ซึ่งสามารถใช้เป็นหลักฐานสำคัญอย่างหนึ่งประกอบการพิจาณรคดีทางศาล ตัวอย่าง เช่น ในคดีฆาตกรรมคดีหนึ่ง ได้นำคราบเลือดของฆาตกรที่พบในสถานที่เกิดเหตุและเลือดของผู้ต้องสงสัยจำนวน 7 คน มาทำลายพิมพ์ DNA และนำมาเปรียบเทียบกัน
เมื่อนำลายพิมพ์ DNA ของผู้ต้องสงสัยมาเปรียบกับลายพิมพ์ DNA ของคราบเลือดฆาตกร พบว่าเป็นดังนี้

ลายพิมพ์ DNA ของผู้ต้องสงสัยมาเปรียบกับลายพิมพ์ DNA ของคราบเลือดฆาตกร
ในประเทศไทย การตรวจลายพิมพ์DNA เริ่มโดยกลุ่มนักวิจัยจากหลายสถาบันร่วมกันทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยตรวจพิสูจน์ความสัมพันธุ์ทางสายเลือด การหาคนร้ายในคดีฆาตกรรม การสืบหาทายาทที่แท้จริงในกองมรดก นอกจากนี้ยังนำมาใช้ในการตรวจคนเข้าเมืองให้ถูกต้อง กรณีการให้สัญชาติแก่ชาวเขาและชนกลุ่มน้อย เพื่อสืบสาวว่าบรรพบุรุษเป็นชาวเขาที่ตั้งรกรากอยู่ในประเทศไทยหรือเป็นชาวเขาต่างด้าวที่อพยพเข้ามา
ซึ่งมีผลต่อการพิสูจน์ชาติพันธุ์และการใช้สิทธิในการอาศัยอยู่บนแผ่นดินไทยด้วย นอกจากนี้ยังมีแนวโน้ม ว่าในอนาคตอาจมีการนำเอาลายพิมพ์ DNAมาประยุกต์ใช้แทนการใช้ลายนิ้วมือเพื่อทำบัตรประชาชน ทำให้สืบหาตัวบุคคลได้ถูกต้อง รวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีสืบหาตัวบุคคลที่เสียงชีวิตในสภาพที่บอกไม่ได้ว่าเป็นใคร เช่น กรณีเครื่องบินตกหรือไฟไม้
ปัจจุบันประเทศไทยมีหน่วยงานที่มีห้องปฎิบัติการที่ตรวจลายพิมพ์ DNA เช่น สถาบันนิติเวช กองพิสูจน์หลักฐาน สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โรงพยาบาลต่างไ เช่น โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลเชียงใหม่ และสถาบันนิติวิทยาศาสตรื กระทรวงยุติธรรม เป็นต้น

สุดยอดเลยครับผมว่าอีกหน่อยเทคโนโลยีพวกนี้ต้องพัฒนาต่อยอดกลายไปเป็นสินค้าที่จำเป็นในอนาคตแน่ๆ

ยอดเลยครับแต่ล่ะข้อความ.......สุดๆึคับ สู้ๆนะคับ ความรู้จริงๆ

รูปภาพของ mswsompoch

ตรวจงานให้แล้วนะครับTongue out

ภาพไม่ได้บอกแหล่งที่มานะครับ แก้ไขด้วย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 417 คน กำลังออนไลน์