• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:f02e0c280dfbf1b6dfa308751f5135fa' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p><strong><span style=\"font-size: large; color: #333399\">ปะการัง<br />\n</span></strong></p>\n<table align=\"center\" cellPadding=\"5\">\n<tbody>\n<tr>\n<td bgColor=\"#ffffff\" align=\"center\" style=\"border: #cccccc 1pt solid\"><a target=\"_blank\" href=\"http://null/news_pic/p26943951026.jpg\"><strong><span style=\"font-size: large; color: #ffffff\"></span></strong></a><img src=\"http://www.kroobannok.com/news_pic/p26943951026.jpg\" /></td>\n</tr>\n<tr>\n<td></td>\n</tr>\n</tbody>\n</table>\n<p><span style=\"font-size: small; color: #000000\"><b>.....</b> <img border=\"0\" src=\"/sites/all/modules/tinymce/tinymce/jscripts/tiny_mce/plugins/emotions/images/smiley-cool.gif\" alt=\"Cool\" title=\"Cool\" /><img border=\"0\" src=\"/sites/all/modules/tinymce/tinymce/jscripts/tiny_mce/plugins/emotions/images/smiley-smile.gif\" alt=\"Smile\" title=\"Smile\" /><img border=\"0\" src=\"/sites/all/modules/tinymce/tinymce/jscripts/tiny_mce/plugins/emotions/images/smiley-wink.gif\" alt=\"Wink\" title=\"Wink\" /> </span><span style=\"font-size: small; color: #000000\"></span></p>\n<p>\n<span style=\"background-color: #ff00ff\"><strong>ปะการัง </strong><br />\n</span>ปะการัง เป็นสัตว์จำพวกไม่มีกระดูกสันหลังอาศัยอยู่ในโครงสร้างหินปูน มีลักษณะการดำรงชีพ ๒ แบบ คือ อยู่ตัวเดียว หรืออยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม ปะการังพวกที่เจริญเติบโตในน้ำลึกจะมีลักษณะเป็นก้อนขนาดไม่ใหญ่ ส่วนปะการังที่เจริญได้ดีจะอยู่ในเขตน้ำตื้นจนถึงน้ำลึก ๕๐ เมตร มีการเจริญเติบโตแบบรวมเป็นกลุ่มจะเกิดเป็นแนวปะการังขนาดใหญ่ ปะการังแต่ละตัวที่มารวมกัน จะสร้างโครงสร้างในรูปของหินปูนเป็นรูปร่างต่างๆ กัน แล้วแต่ชนิดของปะการังนั้นๆ การเจริญเติบโตของปะการังค่อนข้างช้ามาก ทั้งนี้ ขึ้นกับปัจจัยสภาพแวดล้อมที่สำคัญ ได้แก่ อุณหภูมิของน้ำ และแสงสว่าง โดยจะเจริญเติบโตได้ดีในบริเวณที่มีน้ำสะอาด สภาพท้องทะเลค่อนข้างแข็งหรือมีการเปลี่ยนแปลงน้อยความเค็มของน้ำค่อนข้างสูง มีแสงสว่างมากพอควร อุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ ๒๐-๒๙ องศาเซลเซียส </p>\n<p>ปะการังเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญบริเวณชายฝั่งทะเล เป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์จำนวนมาก อีกทั้งเป็นแหล่งอาหารเพื่อการเจริญเติบโต เป็นแหล่งเพาะพันธุ์วางไข่และหลบภัย ปะการังมีความสำคัญต่อระบบนิเวศทางทะเล การประมง และมีส่วนช่วยรักษาสภาพสมดุลธรรมชาติของชายฝั่ง ช่วยลดความรุนแรงของคลื่นที่กระทบต่อชายฝั่งความสวยงามของแนวปะการังช่วยในด้านพักผ่อนหย่อนใจและเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวได้อย่างดี สามารถนำรายได้มาสู่ท้องถิ่น รวมทั้งในปัจจุบัน ได้มีการค้นคว้าเพื่อสกัดสารเคมีต่างๆ จากปะการัง สัตว์ และพืชที่อยู่ในแนวปะการัง เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ แต่ถ้าหากปะการังถูกทำลายหรือตายไปจะต้องใช้เวลานานมากกว่าที่จะฟื้นตัวขึ้นมาได้ </p>\n<p>\n<strong>การอนุรักษ์ปะการัง</strong> เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจกัน และจะต้องรู้จักใช้อย่างถูกวิธีการ รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดการทำลาย เพื่อจะได้รับประโยชน์จากมรดกทางธรรมชาติที่มีอยู่อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะประชาชนในท้องถิ่นจะสามารถมีส่วนร่วมกับส่วนราชการ หรือรวมตัวกัน เพื่อดูแลรักษาแนวปะการังในท้องถิ่นของตนให้คงอยู่ได้ ในการจัดการปะการังอาจดำเนินการดังนี้ คือ </p>\n<p>๑. ทำการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในแนวปะการัง พร้อมทั้งจัดทำแผนที่รายละเอียดแสดงบริเวณปะการัง ซึ่งแบ่งเป็น ๔ เขต ได้แก่ เขตการดูแลของท้องถิ่น เขตการใช้ประโยชน์เพื่อการท่องเที่ยวและนันทนาการ เขตอนุรักษ์เพื่อความสมดุลของระบบนิเวศ และการวิจัย โดยกำหนดมาตรการในการบริหารการจัดการปะการังในแต่ละเขต เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์และควบคุมการดำเนินกิจกรรมให้สอดคล้องกับมาตรการที่กำหนดไว้ <br />\n๒. ติดตั้งทุ่นผูกเรือในเขตการใช้ประโยชน์ในแนวปะการังที่มีความสำคัญสูง สำหรับให้จอดเรือ โดยไม่ให้ทิ้งสมอ <br />\n๓. ห้ามการจับปลาทุกประเภทในบางบริเวณเพื่อให้มีปลาเข้ามาหลบในบริเวณนั้นมากขึ้น <br />\n๔. นำเรือท้องกระจกเพื่อให้ดูปะการัง <br />\n๕. ประชาสัมพันธ์ให้มีการตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรปะการัง โดยให้มีการศึกษาและเผยแพร่ความรู้และคุณค่าของปะการังให้กับบุคคลทุกประเภท ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ในการป้องกันและฟื้นฟูปะการัง <br />\n๖. ส่งเสริมให้กลุ่มชุมชน องค์กรเอกชน สมาคมหรือชมรมการท่องเที่ยว ร่วมกันจัดกิจกรรมในเรื่องการรักษาความสะอาด เพื่อการคุ้มครองปะการัง </p>\n<p>ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนและเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน ทั้งในด้านการนำมาใช้ประโยชน์และการสงวนรักษา ทรัพยากรธรรมชาติประกอบด้วยเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมากมาย ซึ่งในแต่ละเรื่องมีปัญหาที่ยุ่งยาก ซับซ้อน การพัฒนาประเทศในระยะที่ผ่านมาช่วง ๓๐ ปี ประสบกับปัญหาการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติที่รุนแรงเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ อันเนื่องมาจากเหตุผลหลายประการ ได้แก่ การเพิ่มจำนวนประชากร การเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็ว การเร่งรัดพัฒนาการเกษตรและอุตสาหกรรม ตลอดจนการนำเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมมาใช้ในการผลิต ซึ่งส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติที่เคยอุดมสมบูรณ์กลับอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรม จนกลายเป็นข้อจำกัดของการพัฒนาในระยะต่อไป ดังปรากฏเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ที่ใช้ประโยชน์อยู่ทุกวัน นับวันจะร่อยหรอหมดสิ้นไปและอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ รวมทั้งยังมีปัญหาขัดขัดแย้งในการใช้ประโยชน์อีกด้วย สำหรับปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลังทวีความรุนแรงอย่างยิ่ง คือ ความเสื่อมโทรมของแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ อันเนื่องมาจากการใช้กันอย่างเกินขอบเขตและการใช้อย่างไม่เหมาะสมจนสภาพทางธรรมชาติไม่สามารถรองรับหรือปรับตัวให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้ </p>\n<p>ปัจจุบันเป็นที่เข้าใจอย่างชัดแจ้งแล้วว่าการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฉลาดนั้น จะต้องคำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ในเวลาเดียวกันด้วย เพราะการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติชนิดหนึ่ง อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติอีกชนิดหนึ่งได้ และเพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่องและยาวนาน หรือเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างยั่งยืนจึงจำเป็นจะต้องมีการบริหารการจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเนื่องจากการพัฒนาจะต้องพึ่งทรัพยากรและทรัพยากรก็เป็นองค์ประกอบสำคัญของสิ่งแวดล้อม การพัฒนาและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ จึงควรอยู่บนรากฐานของความถูกต้องและเหมาะสมตามหลักวิชาการ โดยคำนึงถึงสภาพที่สมดุลหรือขีดความสามารถในการรองรับของพื้นที่ และโดยที่ปัจจุบัน ปัญหาอันเกิดจากการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เป็นปัญหาที่สำคัญและเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ซึ่งจำเป็นจะต้องดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหา ตลอดจนควบคุมและส่งเสริมให้การกระทำใดๆ มีผลกระทบในทางเสียหายน้อยที่สุด จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญ รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ ทั้งนี้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ จะต้องคำนึงถึงความต้องการทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตลอดจนสถานภาพของทรัพยากรด้วย เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติให้คุ้มค่ามากที่สุด ประหยัดที่สุด สูญเสียน้อยที่สุด และใช้ได้อย่างต่อเนื่อง การพัฒนาที่ยั่งยืนจึงเป็นการนำขบวนการอนุรักษ์และพัฒนามาผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อให้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด ได้เอื้ออำนวยประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้มากที่สุดและมีผลต่อเนื่องต่อไป หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ต้องหาทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด เพื่อให้การอนุรักษ์และการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติสามารถดำเนินการควบคู่กันไปได้อย่างยั่งยืน </p>\n<p>ดูเพิ่มเติมเรื่อง ระบบนิเวศและความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับสิ่งมีชีวิต แล่ม ๑๗ และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เล่ม ๑๙\n</p>\n<p>\nที่มา <strong>สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 21</strong>\n</p>\n<p></p>\n', created = 1714662924, expire = 1714749324, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:f02e0c280dfbf1b6dfa308751f5135fa' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับปะการัง

ปะการัง

..... CoolSmileWink

ปะการัง
ปะการัง เป็นสัตว์จำพวกไม่มีกระดูกสันหลังอาศัยอยู่ในโครงสร้างหินปูน มีลักษณะการดำรงชีพ ๒ แบบ คือ อยู่ตัวเดียว หรืออยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม ปะการังพวกที่เจริญเติบโตในน้ำลึกจะมีลักษณะเป็นก้อนขนาดไม่ใหญ่ ส่วนปะการังที่เจริญได้ดีจะอยู่ในเขตน้ำตื้นจนถึงน้ำลึก ๕๐ เมตร มีการเจริญเติบโตแบบรวมเป็นกลุ่มจะเกิดเป็นแนวปะการังขนาดใหญ่ ปะการังแต่ละตัวที่มารวมกัน จะสร้างโครงสร้างในรูปของหินปูนเป็นรูปร่างต่างๆ กัน แล้วแต่ชนิดของปะการังนั้นๆ การเจริญเติบโตของปะการังค่อนข้างช้ามาก ทั้งนี้ ขึ้นกับปัจจัยสภาพแวดล้อมที่สำคัญ ได้แก่ อุณหภูมิของน้ำ และแสงสว่าง โดยจะเจริญเติบโตได้ดีในบริเวณที่มีน้ำสะอาด สภาพท้องทะเลค่อนข้างแข็งหรือมีการเปลี่ยนแปลงน้อยความเค็มของน้ำค่อนข้างสูง มีแสงสว่างมากพอควร อุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ ๒๐-๒๙ องศาเซลเซียส

ปะการังเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญบริเวณชายฝั่งทะเล เป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์จำนวนมาก อีกทั้งเป็นแหล่งอาหารเพื่อการเจริญเติบโต เป็นแหล่งเพาะพันธุ์วางไข่และหลบภัย ปะการังมีความสำคัญต่อระบบนิเวศทางทะเล การประมง และมีส่วนช่วยรักษาสภาพสมดุลธรรมชาติของชายฝั่ง ช่วยลดความรุนแรงของคลื่นที่กระทบต่อชายฝั่งความสวยงามของแนวปะการังช่วยในด้านพักผ่อนหย่อนใจและเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวได้อย่างดี สามารถนำรายได้มาสู่ท้องถิ่น รวมทั้งในปัจจุบัน ได้มีการค้นคว้าเพื่อสกัดสารเคมีต่างๆ จากปะการัง สัตว์ และพืชที่อยู่ในแนวปะการัง เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ แต่ถ้าหากปะการังถูกทำลายหรือตายไปจะต้องใช้เวลานานมากกว่าที่จะฟื้นตัวขึ้นมาได้

การอนุรักษ์ปะการัง เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจกัน และจะต้องรู้จักใช้อย่างถูกวิธีการ รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดการทำลาย เพื่อจะได้รับประโยชน์จากมรดกทางธรรมชาติที่มีอยู่อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะประชาชนในท้องถิ่นจะสามารถมีส่วนร่วมกับส่วนราชการ หรือรวมตัวกัน เพื่อดูแลรักษาแนวปะการังในท้องถิ่นของตนให้คงอยู่ได้ ในการจัดการปะการังอาจดำเนินการดังนี้ คือ

๑. ทำการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในแนวปะการัง พร้อมทั้งจัดทำแผนที่รายละเอียดแสดงบริเวณปะการัง ซึ่งแบ่งเป็น ๔ เขต ได้แก่ เขตการดูแลของท้องถิ่น เขตการใช้ประโยชน์เพื่อการท่องเที่ยวและนันทนาการ เขตอนุรักษ์เพื่อความสมดุลของระบบนิเวศ และการวิจัย โดยกำหนดมาตรการในการบริหารการจัดการปะการังในแต่ละเขต เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์และควบคุมการดำเนินกิจกรรมให้สอดคล้องกับมาตรการที่กำหนดไว้
๒. ติดตั้งทุ่นผูกเรือในเขตการใช้ประโยชน์ในแนวปะการังที่มีความสำคัญสูง สำหรับให้จอดเรือ โดยไม่ให้ทิ้งสมอ
๓. ห้ามการจับปลาทุกประเภทในบางบริเวณเพื่อให้มีปลาเข้ามาหลบในบริเวณนั้นมากขึ้น
๔. นำเรือท้องกระจกเพื่อให้ดูปะการัง
๕. ประชาสัมพันธ์ให้มีการตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรปะการัง โดยให้มีการศึกษาและเผยแพร่ความรู้และคุณค่าของปะการังให้กับบุคคลทุกประเภท ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ในการป้องกันและฟื้นฟูปะการัง
๖. ส่งเสริมให้กลุ่มชุมชน องค์กรเอกชน สมาคมหรือชมรมการท่องเที่ยว ร่วมกันจัดกิจกรรมในเรื่องการรักษาความสะอาด เพื่อการคุ้มครองปะการัง

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนและเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน ทั้งในด้านการนำมาใช้ประโยชน์และการสงวนรักษา ทรัพยากรธรรมชาติประกอบด้วยเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมากมาย ซึ่งในแต่ละเรื่องมีปัญหาที่ยุ่งยาก ซับซ้อน การพัฒนาประเทศในระยะที่ผ่านมาช่วง ๓๐ ปี ประสบกับปัญหาการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติที่รุนแรงเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ อันเนื่องมาจากเหตุผลหลายประการ ได้แก่ การเพิ่มจำนวนประชากร การเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็ว การเร่งรัดพัฒนาการเกษตรและอุตสาหกรรม ตลอดจนการนำเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมมาใช้ในการผลิต ซึ่งส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติที่เคยอุดมสมบูรณ์กลับอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรม จนกลายเป็นข้อจำกัดของการพัฒนาในระยะต่อไป ดังปรากฏเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ที่ใช้ประโยชน์อยู่ทุกวัน นับวันจะร่อยหรอหมดสิ้นไปและอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ รวมทั้งยังมีปัญหาขัดขัดแย้งในการใช้ประโยชน์อีกด้วย สำหรับปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลังทวีความรุนแรงอย่างยิ่ง คือ ความเสื่อมโทรมของแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ อันเนื่องมาจากการใช้กันอย่างเกินขอบเขตและการใช้อย่างไม่เหมาะสมจนสภาพทางธรรมชาติไม่สามารถรองรับหรือปรับตัวให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้

ปัจจุบันเป็นที่เข้าใจอย่างชัดแจ้งแล้วว่าการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฉลาดนั้น จะต้องคำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ในเวลาเดียวกันด้วย เพราะการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติชนิดหนึ่ง อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติอีกชนิดหนึ่งได้ และเพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่องและยาวนาน หรือเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างยั่งยืนจึงจำเป็นจะต้องมีการบริหารการจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเนื่องจากการพัฒนาจะต้องพึ่งทรัพยากรและทรัพยากรก็เป็นองค์ประกอบสำคัญของสิ่งแวดล้อม การพัฒนาและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ จึงควรอยู่บนรากฐานของความถูกต้องและเหมาะสมตามหลักวิชาการ โดยคำนึงถึงสภาพที่สมดุลหรือขีดความสามารถในการรองรับของพื้นที่ และโดยที่ปัจจุบัน ปัญหาอันเกิดจากการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เป็นปัญหาที่สำคัญและเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ซึ่งจำเป็นจะต้องดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหา ตลอดจนควบคุมและส่งเสริมให้การกระทำใดๆ มีผลกระทบในทางเสียหายน้อยที่สุด จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญ รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ ทั้งนี้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ จะต้องคำนึงถึงความต้องการทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตลอดจนสถานภาพของทรัพยากรด้วย เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติให้คุ้มค่ามากที่สุด ประหยัดที่สุด สูญเสียน้อยที่สุด และใช้ได้อย่างต่อเนื่อง การพัฒนาที่ยั่งยืนจึงเป็นการนำขบวนการอนุรักษ์และพัฒนามาผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อให้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด ได้เอื้ออำนวยประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้มากที่สุดและมีผลต่อเนื่องต่อไป หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ต้องหาทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด เพื่อให้การอนุรักษ์และการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติสามารถดำเนินการควบคู่กันไปได้อย่างยั่งยืน

ดูเพิ่มเติมเรื่อง ระบบนิเวศและความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับสิ่งมีชีวิต แล่ม ๑๗ และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เล่ม ๑๙

ที่มา สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 21

สร้างโดย: 
กวิสรา

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 517 คน กำลังออนไลน์