เศรษฐกิจและการค้าในสมัยอยุธยา

เศรษฐกิจและการค้า  
             อาชีพหลักของชาวอยุธยาคือเกษตรกรรม โดยข้าวเป็นผลิตผลที่สำคัญของประชากรในประเทศ และ ยังเป็นสินค้าสำคัญ อย่างหนึ่งที่ชาวอยุธยาส่งออก ไปยัง ตลาดโลก เนื่องจากเป็นศูนย์กลางการค้าขาย ที่สำคัญ ดังนั้น อยุธยาจึงมีรายได้ จากการค้า ทั้งจากการส่งสำเภาไปค้าขายกับต่างประเทศ และ จากการเป็นพ่อค้าคนกลางโดยทางราชสำนัก ตั้งพระคลังสินค้าขึ้นมาผูกขาดสินค้าสำคัญบางประเภทซึ่งพ่อค้าต่างชาติ จะต้องซื้อขายกับราชสำนักเท่านั้น             การค้าขายต่างประเทศอยู่ภายใต้กรมพระคลัง มีออกยาศรีธรรมราชเป็นผู้ควบคุมดูแล ในระยะแรกนั้นมีการแบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย  คือ๑.กรมท่าขวา   สังกัดออก พระจุฬาราชมนตรีขุนนางแขก ซึ่งจะดูแลการค้ากับโลกตะวันตก ๒.กรมท่ากรมท่าซ้าย สังกัด พระยาโชดึกราชเศรษฐีขุนนางจีนซึ่งจะดูแลการค้าขายฝ่ายตะวันออก              ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนปลายเมื่อมีชาวยุโรป เข้ามา ติดต่อค้าขายมากขึ้นจึงเกิดมีกรมท่ากลางขึ้น มาอีกกรมหนึ่ง มีขุนนางฝรั่งดูแล พระมหากษัตริย์และขุนนางมีสำเภาค้าขายกับต่างประเทศโดยส่วนมาก มีนายจีนรับจ้างเป็นนายเรือและลูกเรือ  สินค้าส่งออกของอยุธยาคือผลิตผลทางการ เกษตร    เครื่องสังคโลก  และผลิตผลจากป่า เช่น งาช้าง หนังสัตว์ ไม้ เครื่องเทศ และ แร่ธาตุ เป็นต้น  รายได้หลักของราชสำนัก อีกส่วนหนึ่ง มาจากบรรณาการ ส่วย และ ภาษี อากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีที่ค้าขายกับ ต่างประเทศ ด้านการค้าภายในมีย่านการ ค้า และ ตลาดใหญ่น้อยตั้งอยู่ทั้งในเมืองและนอกเมือง ทำหน้าที่เป็น ศูนย์กลางแลกเปลี่ยน สินค้า

              ตลาดในอยุธยามี ๒ ประเภท คือ 

            ๑.ตลาดน้ำขนาดใหญ่มีอยู่ ๔ แห

            ๒.ตลาดบก อีกราว ๗๒ แห่ง อยู่นอกเมือง ๓๒ แห่ง อยู่ในเมือง ๔๐ แห่ง

             ย่านการค้าและตลาดแหล่งนี้ มีทั้งตลาดขาย ของสดเช้าเย็น ตลาดขายสิ่งจำเป็นสำหรับสำหรับการดำรงชีวิต(ของชำ) และสินค้าที่เป็น เอกลักษณ์ของย่านไม่เหมือนกับที่อื่น ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ อยุธยามีการติดต่อสัมพันธ์กับต่างชาติ ทั้งประเทศเอเซียด้วยกันและประเทศตะวันตก  ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่พม่า มอญ  ลาว ญวน และมลายู ส่วนมาก เกี่ยวข้องกันทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจการค้า ในฐานะบ้านพี่เมืองน้อง เครือญาติ หรือในฐานะเมืองประเทศราช ซึ่งบางครั้งก็ต้องทำสงคราม เพื่อแย่งชิงความ เป็นใหญ่เหนือแผ่นดิน ของกันและกัน

                กรณีนี้ประเทศคู่สงครามของอยุธยา คือพม่าซึ่งปรากฏหลักฐานว่ามีการรบกันถึง ๒๔ ครั้ง ในเวลา ๒๓๐ ปีโดยมี มอญ และ เชียงใหม่เป็นตัวแปรในฐานะรัฐกันชน ความสัมพันธ์กับประเทศในภูมิภาคเอเซียอื่นๆ เช่น จีนญี่ปุ่น อินเดีย และ เปอร์เซีย   มัก จะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในด้านวัฒนธรรมและ การค้าขาย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวจีนและเปอร์เซีย ได้เข้ามารับราชการ ใน กรมคลัง ดูแลเรื่องการค้าขายกับต่างประเทศให้ราชสำนักอยุธยา

                ในงานศิลปกรรมสมัยอยุธยา ก็มีอิทธิพลของศิลปะจีน อินเดีย และเปอร์เซีย ปรากฏให้ เห็นอยู่ไม่น้อย   สำหรับประเทศตะวันตกนั้น อยุธยาติดต่อกับชาวโปรตุเกส เป็นชาติแรก ในรัชกาลสมเด็จ พระรามาธิบดีที่ ๒ ในราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๑  หลังจากนั้น ก็ได้ มีชาวตะวันตกชาติอื่นๆ ตามเข้ามาได้แก่ สเปน ฮอลันดา อังกฤษ และ ฝรั่งเศส เป็นต้น             

               การเข้ามาอยุธยาของชาวตะวันตก  มีจุดประสงค์มุ่งหมายเพื่อทำการค้าขาย และเผย แพร่ คริสต์ศาสนาเป็นสำคัญแต่บางครั้ง ก็กระทบกระเทือนต่ออธิปไตยของอยุธยาอยู่บ้าง พระมหากษัตริย์อยุธยาทรงระมัดระวัง ในการดำเนินนโยบายการต่างประเทศ พระองค์ทรง ผูกมิตรกับทุกชาติ ที่เข้ามาติดต่อ เพื่อให้มีการคานอำนาจซึ่งกันและกัน นอกจากผลดีด้านเศรษฐกิจแล้ว การติดต่อกับประเทศตะวันตก ทำให้อยุธยาได้เรียนรู้วิทยาการ และ เทคโนโลยี่สมัยใหม่ เป็นต้น

              ว่าการทหาร  การสร้างป้อมและกำแพงเมือง อย่างยุโรป การใช้ปืนในการทำสงคราม ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ การ ประปา และการจัดสวน เป็นต้น โดยชาวตะวันตกบางกลุ่มได้เข้ามารับราชการรับใช้ราชสำนัก เป็นทหารอาสาเป็นทหารรับจ้าง เป็นราชองครักษ์และเป็นวิศวกร พระมหากษัตริย์ทรง อนุญาตและมอบ ที่ดิน ให้ชาวต่างชาติ ตั้งหมู่บ้าน ตั้งสถานีการค้า และ สร้างศาสนสถาน เพื่อประกอบพิธีกรรมได้อย่างอิสระ  หมู่บ้านของชาวต่างชาติ ส่วนมาก ตั้งอยู่นอกตัวเมือง มีเฉพาะชาวจีน ชาวฮินดู และแขกเพียงบางกลุ่มซึ่งมีความสัมพันธ์ ใกล้ชิดกับราชสำนักมาแต่เดิมเท่านั้นที่ทรงอนุญาตให้สร้าง บ้านเรือน อยู่ ภายในเมือง

รายได้ของรัฐ สันนิฐานว่าในสมัยอยุธยาตอนต้น รัฐบาลคงมีรายได้ประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้จังกอบ คือ ค่าผ่านด่านขนอน ทางบกทางน้ำ เรียกเก็บจากสินค้าของราษฎร
โดยเก็บชักส่วนสินค้าไว้ในอัตรา 1 ชัก 10หรือเก็บเป็นเงินตามอัตราขนาดยานพาหนะ
ที่ขนสินค้าผ่านด่าน
 อากร คือ การเก็บชักส่วนผลประโยชน์ที่ราษฎรได้จากการประกอบอาชีพอื่นๆ
ที่มิใช่การค้าขายโดยตรง เช่น ทำนา ทำสวน ทำไร่ ผู้ที่ทำนาจะเสียหางข้าวให้แก่รัฐ
และจะต้องนำมาส่งเอง หรือเงินที่พ่อค้าเสียให้แก่รัฐบาลในการได้รับสิทธิต่าง ๆ เช่น
อนุญาตให้เก็บของป่า จับปลาในน้ำ และต้มกลั่นสุรา เป็นต้น อัตราคงที่ประมาณ
1 ใน 10 ของผลประโยชน์ที่ราษฎรทำมาหาได้
ส่วย คือ เครื่องราชบรรณาการที่ได้จากประเทศราชฤชา คือ เงินค่าธรรมเนียมที่รัฐเรียกเก็บจากราษฎรเฉพาะรายในกิจการที่ทาง
ราชการจัดให้เช่นการออกโฉนดตราสารหรือเงินปรับไหมที่ฝ่ายแพ้คดีจะต้องชดใช้
ให้แก่ฝ่ายชนะ รัฐบาลจะเก็บให้ครึ่งหนึ่งเป็นค่าฤชา ซึ่งเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "เงิน
พินัยหลวง"

รายได้จากการค้ากับต่างประเทศ ได้แก่ ผลกำไร ภาษีสินค้าขาเข้า และภาษี
สินค้าขาออก

รูปภาพของ silavacharee

Kiss

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 490 คน กำลังออนไลน์